อธิบายโพธิปักขิยธรรมตามพุทธวัจน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ท่ามกลาง, 20 มีนาคม 2012.

  1. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    [FONT=&quot]พุทธวัจน: [/FONT][FONT=&quot]มรรค[/FONT][FONT=&quot]๘[/FONT][FONT=&quot]สมบูรณ์[/FONT][FONT=&quot]เกิดขึ้นบริบูรณ์โดยทันที[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อเห็นองค์ประกอบของผัสสะตามเป็นจริง

    [/FONT]ขอให้ลองอ่านพระสูตรนี้ดูโดยละเอียด เพราะอธิบายทั้งสัมมาทิฏฐิ มรรคสมังคี และโพธิปักขิยธรรมทั้งหมด พูดถึงอวิชชา วิชชา วิมุตติ สมถะและวิปัสสนา ซึ่งทุกอย่างจะต้องไม่เนื่องด้วยตัณหา ไม่เนื่องด้วยตัวตน จึงจะจัดเป็นโลกุตตระธรรม เป็นธรรมะเพื่อปล่อยวางความยึดติด เป็นคำสอนขององค์พุทธะ
    [FONT=&quot]

    มรรค[/FONT]
    [FONT=&quot]๘[/FONT][FONT=&quot]สมบูรณ์[/FONT][FONT=&quot]เกิดขึ้นบริบูรณ์โดยทันที[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อเห็นองค์ประกอบของผัสสะตามเป็นจริง[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]....[/FONT][FONT=&quot]ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง [/FONT][FONT=&quot]จักษุ[/FONT][FONT=&quot]ตามที่เป็นจริง[/FONT][FONT=&quot]. เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง [/FONT][FONT=&quot]รูปทั้งหลาย[/FONT][FONT=&quot]ตามที่เป็นจริง[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง [/FONT][FONT=&quot]จักขุวิญญาณ[/FONT][FONT=&quot]ตามที่เป็นจริง[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง [/FONT][FONT=&quot]จักขุสัมผัส[/FONT][FONT=&quot]ตามที่เป็นจริง[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]เมื่อ รู้เมื่อเห็นซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตามไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริงแล้ว [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุ[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ไม่กำหนัดในจักขุวิญญาณ[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]และไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว[/FONT][FONT=&quot]ไม่ลุ่มหลงแล้ว[/FONT][FONT=&quot]ตามเห็นอาทีนวะ[/FONT][FONT=&quot](โทษของสิ่งเหล่านั้น) [/FONT][FONT=&quot]อยู่เนืองๆ[/FONT][FONT=&quot],[/FONT][FONT=&quot] ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย[/FONT][FONT=&quot]ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]และ[/FONT][FONT=&quot]ตัณหา[/FONT][FONT=&quot]อัน เป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่าง ยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความกระวนกระวาย[/FONT][FONT=&quot](ทรถ) แม้ [/FONT][FONT=&quot]ทางกาย[/FONT][FONT=&quot]อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ความกระวนกระวาย[/FONT][FONT=&quot]แม้ [/FONT][FONT=&quot]ทางจิต[/FONT][FONT=&quot]อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความแผดเผา[/FONT][FONT=&quot](สนฺตาป) แม้ทางกายอันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ความแผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความเร่าร้อน[/FONT][FONT=&quot](ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ความเร่าร้อน แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot]. บุคคลนั้นย่อม [/FONT][FONT=&quot]เสวยซึ่งความสุข[/FONT][FONT=&quot]อันเป็นไป [/FONT][FONT=&quot]ทางกาย[/FONT][FONT=&quot] ด้วย[/FONT][FONT=&quot]. ซึ่งความสุขอันเป็นไป [/FONT][FONT=&quot]ทางจิต[/FONT][FONT=&quot]ด้วย[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว [/FONT][FONT=&quot]ทิฏฐิ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความดำริ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความพยายาม[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]สติ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot] สมาธิ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ[/FONT][FONT=&quot];[/FONT][FONT=&quot] ส่วน [/FONT][FONT=&quot]กายกรรม[/FONT][FONT=&quot]วจีกรรม[/FONT][FONT=&quot]และ [/FONT][FONT=&quot]อาชีวะ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา เป็นธรรมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว[/FONT][FONT=&quot]. ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า [/FONT][FONT=&quot]อริยอัฏฐังคิกมรรค[/FONT][FONT=&quot]นี้ ของเขานั้น ย่อม [/FONT][FONT=&quot]ถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot] สติปัฏฐาน[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]สัมมัปปธาน[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]อิทธิบาท[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]อินทรีย์[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]พละ[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]โพชฌงค์[/FONT][FONT=&quot] แม้ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]ธรรมทั้งสองคือ[/FONT][FONT=&quot]สมถะ[/FONT][FONT=&quot]และ[/FONT][FONT=&quot]วิปัสสนา[/FONT][FONT=&quot]ของเขานั้น[/FONT][FONT=&quot]ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]บุคคลนั้น ย่อม [/FONT][FONT=&quot]กำหนดรู้[/FONT][FONT=&quot]ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ย่อม[/FONT][FONT=&quot]ละ[/FONT][FONT=&quot]ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ย่อม[/FONT][FONT=&quot]ทำให้เจริญ[/FONT][FONT=&quot]ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ย่อม [/FONT][FONT=&quot]ทำให้แจ้ง[/FONT][FONT=&quot]ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]ก็ [/FONT][FONT=&quot]ธรรมเหล่าไหนเล่า[/FONT][FONT=&quot]เป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]? [/FONT][FONT=&quot]คำตอบ พึงมีว่า [/FONT][FONT=&quot]ปัญจุปาทานขันธ์[/FONT][FONT=&quot]ทั้งหลาย กล่าวคืออุปาทาน[/FONT][FONT=&quot]ขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือ สังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ[/FONT][FONT=&quot] : ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]ก็ [/FONT][FONT=&quot]ธรรมเหล่าไหนเล่า[/FONT][FONT=&quot]เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วย[/FONT][FONT=&quot]ปัญญา[/FONT]
    [FONT=&quot]อันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]? [/FONT][FONT=&quot]คำตอบ พึงมีว่า [/FONT][FONT=&quot]อวิชชา[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]ภวตัณหา[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]: [/FONT][FONT=&quot]ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]ก็ ธ[/FONT][FONT=&quot]รรมเหล่าไหนเล่า[/FONT][FONT=&quot]เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]? [/FONT][FONT=&quot]คำตอบ พึงมีว่า [/FONT][FONT=&quot]สมถะ[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]วิปัสสนา[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]: [/FONT][FONT=&quot]ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]ก็ [/FONT][FONT=&quot]ธรรมเหล่าไหนเล่า[/FONT][FONT=&quot]เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]? [/FONT][FONT=&quot]คำตอบ พึงมีว่า [/FONT][FONT=&quot]วิชชา[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]วิมุตติ[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]: [/FONT][FONT=&quot]ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot](ในกรณีที่เกี่ยวกับ [/FONT][FONT=&quot]โสต[/FONT][FONT=&quot]ฆาน[/FONT][FONT=&quot]ชิวหา[/FONT][FONT=&quot]กาย[/FONT][FONT=&quot]มโน[/FONT][FONT=&quot]และ [/FONT][FONT=&quot]สหคตธรรมแห่งอายตนะมีโสตเป็นต้น[/FONT][FONT=&quot]ก็ มีเนื้อความเหมือนกับที่กล่าวแล้วในกรณีแห่ง จักษุและสหคตธรรมของจักษุ ดังที่กล่าวข้างบนนี้ทุกประการ พึงขยายความเอาเองให้เต็มตามนั้น[/FONT][FONT=&quot]).[/FONT]

    [FONT=&quot]- อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑.

    [/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  2. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    [FONT=&quot]** การใช้ภาษามีผลต่อความเข้าใจของผู้ฟังผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง **

    พระไตรปิฎกเมื่อได้รับการแปลมาเป็นภาษาไทย ก็มีการใช้คำบางคำที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ไปกระตุ้นตัณหาของ ผู้อ่านผู้ฟัง ตัวอย่างเช่น คำว่า [/FONT][FONT=&quot]"ละ" ในหลายๆ พระสูตร คำนี้มีความหมายว่า สละ หรือปล่อยวาง(=ไม่แบก ไม่เอามาเป็นภาระ ไม่ใส่ใจ) แต่ชาวพุทธกลับไปแปลว่า ต้องกำจัด หรือต้องไม่มี

    [/FONT][FONT=&quot]ผู้ปฏิบัติจำนวนไม่น้อยจึงไปพยายามเฝ้ารู้ เพื่อคอยละคอยวางอารมณ์ สภาวะธรรมที่ผ่านเข้ามา แต่ความเป็นจริงแล้ว การกระทำดังกล่าวถือว่าตรงกันข้ามกับสิ่งที่องค์พุทธะทรงสอน เพราะเป็นการเอากายและจิตมาเป็นภาระ ต้องคอยประคองระวังรักษาจิตอยู่ตลอด[/FONT]

    [FONT=&quot]ทางที่ถูกต้อง คือ กายและจิตจะเป็นอย่างไรก็ช่าง เพราะการปล่อยวาง ก็คือ การไม่ต้องไปยุ่งกับมัน การไม่มีตัวตนไปข้องเกี่ยว เป็นการยอมรับในกฏไตรลักษณ์ ยอมรับในความไม่เที่ยง(อนิจจัง) ของทุกสรรพสิ่ง ลดความยึดติดในกายและจิต(ว่าเป็นเรา เป็นของเรา)[/FONT] ลดภาระทางจิต
    [FONT=&quot]
    หรือคำว่า ”รู้ชัด” หรือคำว่า “กำหนดรู้” ควรใช้คำว่า “รู้” เฉยๆ หรือใช้คำว่า “ระลึกรู้” แทนจะเหมาะสมกว่า เพราะคำว่า “รู้ชัด” หรือ “กำหนดรู้” จะกระตุ้นตัณหาให้อยากรู้ จะต้องรู้ มีเจตนากรรม ส่งเสริมอวิชชาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์[/FONT]

    [FONT=&quot]ซึ่งแม้แต่คำว่า “อวิชชา” หากแปลว่า ความไม่รู้เพียงอย่างเดียว ก็จะกระตุ้นความอยากรู้ว่าต้องรู้อะไรเพิ่ม แต่หากเติมวงเล็บต่อท้ายไปจะเข้าใจพุทธประสงค์ที่แท้จริง คือ อวิชชา(ความไม่รู้ [/FONT][FONT=&quot]-- ว่าทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา ไม่ควรสนใจ) [/FONT]หรือตัวหลงรู้ คือ รู้แล้วตามรู้ไป ดังนั้นจึงควรปลงตัวรู้เอง ไม่ใช่เอารู้ไปปลงสิ่งที่ถูกรู้ ให้สักแต่ว่ารู้ ไม่เน้นรู้เน้นเห็น ไม่มีเราในรู้และไม่ต้องไปคอยรู้ ปล่อยให้มันรู้ของมันเอง

    เมื่อไม่เน้นรู้ไม่เฝ้ารู้แล้ว ก็เป็นการลดตัวเข้าไปกระทบ ลดตัวรับรู้ผัสสะ ตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทที่ต้นขั้วอย่างแท้จริง

    เช่นเดียวกับคำว่า "อนิจจสัญญา" เมื่อแปลมาเป็น "ตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ" หรือ "วิปัสสนา" เมื่อแปลเป็น "รู้ชัดตามความเป็นจริง" [FONT=&quot]กลับทำให้ผู้ปฏิบัติจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่า จะให้ไปคอยที่จะสังเกตอะไรสักอย่าง เพื่อจะดูการเกิดดับของอะไรบางอย่าง และมีการบอกการสอนให้ปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อกันมาในรุ่นหลังๆ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]แต่ถ้าลองคิดให้ดีแล้ว จะพบความผิดปกติในคำสอนนี้ เพราะสิ่งที่มันไม่เที่ยง(อนิจจัง) มีความแปรปรวนเปลี่ยนไปเป็นปกติอยู่ตลอด คงจะต้องปวดหัวเหมือนกันที่จะไปคอยดูคอยรู้มัน หรือสิ่งที่มิใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา(อนัตตา) แล้วทำไมจะต้องไปคอยสนใจมันด้วย[/FONT]

    [FONT=&quot]พระองค์จึงทรงให้หลักมหาประเทศไว้ เพื่อเป็นหลักวินิจฉัยธรรมว่า ธรรมและวินัยที่สืบต่อกันมานั้นถูกต้องเพียงใด และเพื่อป้องกันการตีความพระสูตรไปแบบผิดๆ

    [/FONT]เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  3. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    ** ทำไมต้องมีหลักมหาประเทศ **

    หลักมหาประเทศ ๔ คือ หลักวินิจฉัยธรรม
    มหาประเทศ ๔-หลักวินิจฉัยธรรม | ธรรมประทีป ๙

    เพื่อใช้ตัดสินว่าธรรมวินัยใดข้อใดใช่หรือไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า โดยให้เทียบเคียงกับธรรมและวินัยที่มีอยู่เดิม ถ้าสอดรับกันแสดงว่าทรงจำกันมาถูกต้อง นอกจากนั้นยังควรใช้เป็นหลักเกณฑ์เพื่อป้องกันการตีความพระสูตรไปผิดๆ

    การจะเทียบธรรมและวินัยนั้น ควรเทียบที่แก่นเบื้องต้น นั่นคือ พระสัจธรรม และอริยสัจ๔ ดังนั้นหากตีความพระสูตรผิดเพี้ยนไปจากหลักทั้งสองนี้ ก็แสดงว่าเข้าใจผิดไปเอง

    กล่าวคือ การปฏิบัติจะต้องดับที่เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา เมื่อเหตุลดผลก็ลด เมื่อเหตุดับ ผลก็ดับ(นิโรธ) ต้องกำจัดความเป็นตัวตนลง ถ้าปฏิบัติเพื่อสนองตัณหาอยากให้จิตเป็นไปตามความต้องการแห่งตน มีอัตตาตัวตนเข้าไปคอยกระทำจิต เจริญกรรมซ้อนธาตุซ้อนขันธ์ ไม่ตรงต่อการปล่อยการวาง ก็คงไม่ใช่คำสอนขององค์พุทธะอย่างแน่นอน
     
  4. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    อ้างอิง: ข้อความจาก [​IMG]
    พระองค์ทรงตรัสว่าในอนาคต จะมีภิกษุที่ไม่สนใจศึกษาคำของพระองค์ ซึ่งมีความหมายลึกซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา
    </td> </tr> </tbody></table>
    [FONT=&quot]โลกุตระ [/FONT][FONT=&quot]= โลก + อุตระ[/FONT]
    [FONT=&quot]โลก [/FONT][FONT=&quot]= ปัญจุปาทานขันธ์ = อุปาทานในขันธ์ห้า = ความยึดติดในกายและจิตว่า เป็นตัวตนของเรา[/FONT]
    [FONT=&quot]อุตระ [/FONT][FONT=&quot]= เหนือ[/FONT]
    [FONT=&quot]โลกุตระ[/FONT][FONT=&quot] = เหนือโลก = นอกเหนืออุปาทานในขันธ์ห้า = ไม่เนื่องด้วยตัวตน[/FONT]
    [FONT=&quot]สุญญตา[/FONT][FONT=&quot] = ว่าง[/FONT]

    [FONT=&quot]บางคนเข้าใจว่าความไม่มีความนึกคิดปรุงแต่ง คือ "ว่าง" จึงนั่งสมาธิให้จิตสงบ ไปคอยรู้ลมหายใจ บ้างก็เดินจงกรมเอาจิตจดจ่อรู้จังหวะเท้ากระทบ เมื่อเกิดมีความคิดขึ้นมาก็รีบดึงจิตกลับมาจดจ่อที่ลมหายใจหรือที่เท้า โดยมีตัวตนเข้าไปรู้ คอยพิจารณา คอยกระทำจิตอยู่ตลอดเวลา[/FONT]

    [FONT=&quot]ความจริงแล้ว คำว่า "ว่าง" ที่ถูกต้องนั้น คือ ว่างจากตัวตน ไม่ใช่มีตัวตนไปคอยรู้ ไปคอยทำให้มันว่าง เราอาจใช้คำว่า "กลาง" แทนคำว่า "ว่าง" ก็ได้ นั่นคือ เป็นกลางกับทุกสภาวะธรรม หรือไม่มีเราไปคอยตัดสิน ไปคอยพอใจไม่พอใจ หรืออาจกล่าวว่า "ท่ามกลาง" หรือ "ว่างท่ามกลาง" ทุกสรรพสิ่งก็ได้ นั่นคือ สรรพสิ่งสรรพธาตุ กายและจิต มันก็มีของมันอย่างนั้น เพียงแต่ไม่ต้องมีเราไปคอยสนใจมันก็เท่านั้น (“โลก” มีเพราะมี “เรา” หากไม่มีเราแล้ว โลกก็ว่างเปล่าจากความหมาย)[/FONT]

    [FONT=&quot]จะเห็นได้ว่าคำสอนขององค์พุทธะจึงสรุปลงสู่ความไม่ยึดติด ทรงสอนให้ปล่อยวาง ไม่ให้มีตัวตนไปข้องเกี่ยว ให้ยุติตัวตน ไม่ใช่อุปโลกตัวตนไปคอยยุติอะไร จุดนี้สำคัญมาก จัดเป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าเข้าใจผิด ก็จะประพฤติผิดไปคนละทิศเลย[/FONT]

    [FONT=&quot]ทุกครั้งที่กระทำตามตัณหา(ซึ่งเป็น”เหตุแห่งทุกข์”) ก็คือ การอุปโลกตัวตนสร้างเจตนากรรม ตอกย้ำกรรมอนุสัย เพิ่มความยึดติดในกายและจิตให้มากขึ้น หรือ “ทุกข์” เพิ่มขึ้นนั่นเอง พระองค์จึงทรงสอนว่าจะดับทุกข์ ให้ดับที่เหตุ เมื่อเหตุลดผลก็ลด เมื่อเหตุดับ ผลก็ดับ(นิโรธหรือนิพพาน) นั่นเอง[/FONT]

    [FONT=&quot]การที่พระองค์ทรงเตือนว่าจะมีการแต่งคำสอนใหม่เป็นคำสอนของสาวก เป็นเรื่องนอกแนว(จากสุญญตา) บัดนี้ก็เป็นความจริงขึ้นมาแล้ว เพราะทุกวันนี้[/FONT][FONT=&quot]ผู้ ปฏิบัติจำนวนมากคอยประคองระวังรักษาจิต เมื่อจิตสงบจิตดีก็พอใจ จิตไม่สงบจิตไม่ดีก็ไม่พอใจ จากนั้นก็ไปคอยกระทำจิตให้กลับมาสงบมาดีตามความเข้าใจผิดๆ ของตน โดยไม่แจ้งว่านั่นเป็นการกระทำตามตัณหา (ซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์) อยากให้จิตเป็นไปตามความต้องการแห่งตน เป็นไปด้วยโมหะความหลงสำคัญว่าจิตเป็นของเรา ตอกย้ำอัตตาตัวตนให้เพิ่มขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับคำสอนขององค์พุทธะอย่างสิ้นเชิงและยังบอกต่อสอนต่อกันไป เป็นเหตุเสื่อมแห่งศาสนาอย่างแท้จริง[/FONT]
    [FONT=&quot]
    ธรรมะที่แนะนำ[/FONT][FONT=&quot]: ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์ในปัจจุบัน[/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรมะที่แนะนำ[/FONT][FONT=&quot]: เมื่อเข้าใจผิด ก็ประพฤติผิด[/FONT]

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  5. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    ** ตัวอย่างธรรมะจากพุทธวัจน **

    ธรรมะกำจัดความเป็นตัวตน

    พุทธวัจน: เมื่อ "เธอ" ไม่มี
    เมื่อ 'เธอ' ไม่มี.pdf

    อาจเคยได้ยินผู้ที่บรรลุธรรมได้เร็วที่สุดพระองค์หนึ่ง นั่นคือ พาหิยะ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ท่านพาหิยะ โดยย่อ คือ ไม่ว่าจะเห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส หรือรับรู้ธรรมารมณ์ ก็ให้"สักแต่ว่ารู้" แล้วจะไม่มีตัวตนไปทุกข์

    แต่อ่านแล้วอาจมองข้ามแก่นของพระสูตรบทนี้ไป เพราะไม่เข้าใจว่า"สักแต่ว่ารู้"คืออะไร

    สักแต่ว่ารู้ ก็คือ จะรู้อะไรก็ไม่ต้องเน้นรู้ ไม่ต้องไปคอยสนใจ ไม่ต้องมี"เรา"ไปวิพากษ์วิจารณ์ มี"เรา"ไปคอยให้พิจารณาให้ค่าให้ความหมาย มี"เรา"ไปพอใจหรือไม่พอใจ

    สรรพสัตว์เมื่อหลงยึดติดว่าจิตเป็นของเราแล้ว ก็ย่อมหวงห่วงรักษาจิต เมื่อจิตดีจิตสงบก็พอใจ อยากยึดให้อยู่นานๆ เมื่อจิตไม่ดีไม่สงบก็ไม่พอใจ อยากผลักไสให้หมดไปเร็วๆ โดยไม่แจ้งในสัจธรรมว่าทุกอย่างไม่เที่ยง จิตเองก็เช่นกัน ย่อมมีสงบมีไม่สงบ มีจิตดีจิตไม่ดีเป็นธรรมดา ถ้ายึดมั่นถือมั่นในจิตก็ต้องหลงฟูหลงแฟบตามจิตไม่รู้จักจบสิ้น

    ผู้ปฏิบัติจำนวนไม่น้อยเมื่อจิตไม่สงบก็ไม่พอใจ จะมีการพยายามกระทำจิตให้กลับมาสงบ มีอัตตาตัวตนเข้าไปกระทำจิตอยู่ตลอด เป็นไปด้วยโมหะความหลงว่าจิตเป็นของเรา เป็นการสนองตัณหา

    ทางที่ถูกต้อง คือ อย่าให้ตัณหามันหลอก จิตจะดีจะไม่ดีก็ช่างมัน เนื่องจากจิตไม่ใช่ของเรา ดังนั้นก็ไม่ควรอยากให้จิตดีขึ้นหรือเลวลงแต่ประการใด ไม่ต้องจดจ่อ คอยดู คอยรู้อาการ หยุดตอกย้ำเจตนากรรมใส่ธาตุใส่ขันธ์ ลดตัวตนคอยกระทำคอยรักษาจิต จึงจะตรงกับ "สัทธานุสารี" ที่ว่ามีความเชื่อน้อมไปว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เที่ยง(อนิจจัง) มีแปรปรวนเป็นปกติเสียที จะได้ปฏิบัติแล้วลดละอัตตาตัวตนลง ไม่ทำตามตัณหา เป็นการปล่อยวางจิต และตรงต่อนิพพานเสียที
     
  6. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์ในปัจจุบัน

    พุทธวัจน: ขันธ์ห้าไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา

    องค์พุทธะทรงชี้ว่าขันธ์ห้าไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะถ้าขันธ์ห้า(กายและจิต) เป็นตัวตนของเราแล้ว เราย่อมสั่งกายและจิตให้เป็นไปตามปรารถนาของเราได้ เช่น ให้กายอย่าป่วย ให้จิตสุขทั้งวัน เป็นต้น แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะทุกสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง(อนิจจัง) นั่นเอง

    กระนั้นเองชาวพุทธจำนวนไม่น้อยก็ยังฝืนทำตรงกันข้ามกับคำสอนของพระองค์ พยายามปฏิบัติให้จิตว่าง จิตดี จิตสงบ ตามความต้องการ(ตัณหา) แห่งตน ถ้ากายและจิตจะต้องดีเสียก่อนจึงจะพ้นทุกข์ คนที่พิการแขนขาดก็คงต้องรอให้แขนงอกออกมาก่อนจึงจะไม่ทุกข์กระมัง

    ทางที่ถูกต้อง คือ ให้ปล่อยให้ปลงสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปขัดแย้งกับอนิจจัง เพราะมีแต่แพ้กับแพ้ และทุกข์กับทุกข์เท่านั้น ไม่ต้องไปเอาแพ้เอาชนะกับจิต จิตจะสงบไม่สงบ จิตจะดีไม่ดีก็ช่าง แค่นี้ก็ตรงกับการปล่อยการวางแล้ว และข้อดีที่สุดก็คือ พ้นทุกข์ในปัจจุบันเดี๋ยวนั้นเลย

    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง: จะดับทุกข์ ต้องดับที่เหตุ
    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง: เมื่อประพฤติถูกทาง กิริยาที่ไปนิพพาน เบาสบายเหมือนไม้ลอยตามน้ำ

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย ๔๒๑๙๐
    www.rombodhidharma.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...