อธิบายลักษณะภพภูมิอย่างละเอียด ทั้ง 31 ภพภูมิ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 20 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    [​IMG]


    สรุปภูมิวิลาสินี (บางส่วน) ตอนที่ 1
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>"นิรยภูมิ"(หน้า ๑๑๑)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้วจะกลับมาเกิด เป็นมนุษย์อีกมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ ไปแล้ว ย่อมกลับไปเกิดในนรกมีประมาณมากกว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้วจะกลับมาเกิด เป็นมนุษย์อีกมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรก ไปแล้ว ย่อมกลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้วจะกลับมาเกิด เป็นเทพยดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรก ไปแล้ว ย่อมกลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>"เปตติวัสยภูมิ"(หน้า ๑๕๔)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่ตายจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิด เป็นมนุษย์อีกมีน้อย โดยที่แท้สัตว์ที่ตายจาก มนุษย์ไปแล้ว ย่อมไปเกิดในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว จะกลับมาเกิด เป็นมนุษย์มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ที่จุติจาก เปรตวิสัยไปแล้ว ย่อมกลับไปเกิด ณ เปรตวิสัย ในนรก ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน มีประมาณมากกว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว จะไปเกิด เป็นเทพยดา มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ที่จุติจาก เปรตวิสัยไปแล้ว ย่อมกลับไปเกิด ในนรก ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>"ติรัจฉานภูมิ" (หน้า ๑๘๕)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิด เป็นมนุษย์อีกมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติ จากมนุษย์ไปแล้ว ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ เดียรัจฉาน มีประมาณมากกว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไปแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติ จากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานนั้นแล้ว กลับไปเกิด ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอีก หรือไปเกิดในนรก ไปเกิดในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไปแล้ว จะไปเกิดเป็นเทพยดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติ จากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไปแล้ว ย่อมไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>"มนุสสภูมิ" (หน้า ๒๔๓)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติตายจากโลกมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกนั้นมีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติตายจากมนุษย์ไปแล้วนั้น พากันไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติตายจากโลกมนุษย์ไปแล้ว จะไปเกิดเป็นพวกเทวดานั้น มีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติตายจากมนุษย์ไปแล้วนั้น พากันไปเกิดในนรกในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#666699 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#e7e0d3><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: medium none">(สำหรับ "เทวภูมิ" นั้นท่านยกไว้ตามข้างล่าง แต่ "พรหมภูมิ" ดูเหมือนท่านไม่ได้ยกอะไร ทำนองนี้มาให้ดู เท่าที่ลองเปิดๆ หาดูนะคะ :> แต่มีสรุปกว้างๆ ให้เห็นภาพโดยรวมทั้งหมด ข้อความบางส่วนจะคล้ายๆ กับตรงข้างบน แต่ก็คัดมาให้ได้อ่านกันให้ละเอียดจุใจ ทุกภพภูมิอีกทีดังต่อไปนี้ค่ะ- deedi)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>"เอกธัมมาทิบาลี"

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    (อังคุตรนิกาย เอกนิบาต ข้อ ๒๐๕ หน้า ๔๖ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่จุติจาก มนุษย์ ไปแล้ว จะกลับมา เกิดเป็นมนุษย์อีก มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว ไปเกิดในนรก ไปเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ไปเกิดในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่จุติจาก มนุษย์ ไปแล้ว ไปเกิดเป็นเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว ไปเกิดในนรก ไปเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ไปเกิดในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่จุติจาก เทพยดา ไปแล้ว จักกลับไปเกิด เป็นเทพยดาอีก มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจาก เทพยดาไปแล้ว ไปเกิดในนรก ไปเกิดในกำเนิด เดียรัจฉาน ไปเกิดในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่จุติจาก เทพยดา แล้ว จักได้มาเกิดเป็น มนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากเทพยดาแล้ว ไปเกิดในนรก ไปเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ไปเกิดในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่จุติจาก นรก แล้ว จักมาเกิดเป็นมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกแล้ว กลับเกิดในนรก ไปเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ไปเกิดในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากนรกแล้ว ไปเกิดเป็นเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกแล้ว กลับมาเกิด ในนรก ไปเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ไปเกิดในเปรต วิสัย มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่จุติจาก กำเนิดเดียรัจฉาน แล้ว จักได้มาเกิด เป็นมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากกำเนิด เดียรัจฉานแล้ว ไปเกิดในนรก กลับเกิดในกำเนิด เดียรัจฉาน ไปเกิดในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดียรัจฉานแล้ว ไปเกิดเป็น เทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากกำเนิด เดียรัจฉานแล้ว ไปเกิดในนรก กลับเกิดในกำเนิด เดียรัจฉาน ไปเกิดในเปรตวิสัย มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่จุติจาก เปรตวิสัย แล้ว จักได้มาเกิดเป็น มนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยแล้ว ไปเกิดในนรก ไปเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน กลับเกิด ในเปรตวิสัยอีก มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว ไปเกิดเป็นเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยแล้ว ไปเกิด ในนรก ไปเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน กลับเกิดใน เปรตวิสัยอีก มีประมาณมากกว่า โดยแท้แล
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! สัตว์ที่เกิดบนบก มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เกิดน้ำ มีประมาณกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไปเกิดในกำเนิดอื่นนอกจากกำเนิดมนุษย์ มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบท มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไปเกิดในปัจจันตชนบท ในพวกชาวมิลักขะ ที่โง่เขลา มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า ไม่เงอะงะ สามารถที่จะ รู้อรรถแห่งคำที่เป็นสุภาษิตและคำที่เป็นทุพภาษิต ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่โง่เง่า เงอะงะ ไม่สามารถ ที่จะรู้อรรถแห่งคำที่เป็นสุภาษิต และคำที่เป็น ทุพภาษิตได้ มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่ประกอบด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา หลงใหล มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่มีโอกาสได้เห็นพระตถาคตเจ้า มีส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้เห็นพระตถาคตเจ้า มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่ได้ฟังพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตเจ้าประกาศไว้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตเจ้าประกาศไว้ มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ทรงจำไว้ไม่ได้ มีประมาณมากมาก โดยแท้
    สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรม ที่ตนทรงจำไว้ได้ดี มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรม ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรมนั้น มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่สลดใจ ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่สลดใจ ในฐานะเป็นที่ตั้ง แห่งความสลดใจ มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่สลดใจ แล้วเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจแล้ว ไม่เริ่มตั้ง ความเพียรโดยแยบคาย มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่กระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์กระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิต มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    สัตว์ที่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส มีประมาณมากกว่า โดยแท้
    เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีสวนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ มีประมาณเพียง เล็กน้อยเท่านั้น แต่ในชมพูทวีปนี้ มีที่ดอน ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งขวากตอและหนาม เป็นที่มีภูเขาระเกะระกะ มีประมาณมากกว่า โดยแท้ฉะนั้น
    เพราะเหตุฉะนี้แล เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ให้จงได้"
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ขอให้เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกดังนี้เถิด
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#666699 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#e7e0d3><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: medium none">(ท่านผู้แต่ง ได้กล่าวสรุปไว้ท้ายเล่มว่าท่านบรรยาย ชักแม่น้ำทั้งห้ามาให้เห็นทุกภพภูมิ และปฏิปทาอันจะทำให้ไปเกิดหรือจุติ ตามภพภูมิต่างๆ นั้น เป็นการเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในสังสารวัฏ จะออกไปได้ก็ต้อง ข้ามพ้นจากทุกอย่างนี้ไปสู่โลกุตตรภูมิ ดังที่จะคัดลอกมาข้างล่างนี้ค่ะ- deedi)

    </TD></TR></TBODY></TABLE></I>
    ศาสนธรรมคำสั่งสอนแห่งองค์สมเด็จ พระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เราเคารพบูชากัน ทุกวันนี้ ย่อมทรงไว้ซึ่งความวิเศษประเสริฐสุดดี โดยสามารถที่จะชี้ปฏิปทาทางดำเนินไป ให้แก่ประชาสัตว์ทั้งหลายได้โดยตลอด ปลอดโปร่ง
    บัดนี้ เพื่อความโล่งใจ และเพื่อให้ท่านทั้งหลาย จำได้ง่าย จักขอนำเอาเนื้อความทั้งหลาย มาประมวลลงสั้นๆ ไว้ในที่นี้อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
    สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ได้ทรงมีพระพุทธฎีกาชี้แจงปฏิปทาทั้งหลาย ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ ๒ ประเภท คือ
    ๑. ชี้แจงปฏิปทาทางดำเนินไปสู่ภูมิต่างๆ ซึ่งปรากฏอยู่ภายในวัฏสงสาร อันได้แก่ปฏิปทา ทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
    นิรยภูมิปฏิปทา ชี้ทางไปสู่นิรยภูมิ คือ โลกนรก ซึ่งเป็นโลกที่ปราศจาก ความสุข มีแต่ความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส โดยส่วนเดียว
    เปตติวิสยภูมิปฏิปทา ชี้ทางไปสู่เปตติวิสัยภูมิ คือโลกเปรตอสุรกาย ซึ่งเป็นโลกที่ห่างไกลจากสุข มีแต่ความทุกข์ทรมาณ เพราะความอดอยากหิวกระหายเป็นส่วนมาก
    ดิรัจฉานภูมิปฏิปทา ชี้ทางไปสู่ดิรัจฉานภูมิ คือ โลกสัตว์เดียรัจฉาน ซึ่งเป็นโลกของสัตว์ผู้อาภัพอับวาสนา โดยไม่สามารถที่จะรับรสพระสัทธรรมเทศนาได้ เพราะเป็นโลกของสัตว์ที่มีสันดานขวางจาก พระอมตธรรม กล่าวคือ มรรค ผล นิพพาน
    มนุสสภูมิปฏิปทา ชี้ทางมาสู่มนุสสภูมิ คือ โลกมนุษย์ ซึ่งเป็นโลกที่ ค่อนข้างจะสุขสบายและประเสริฐกว่าบรรดา โลกอบาย โลกที่สัตว์ผู้มาอุบัติเกิดเป็นคนใน ในมนุษยโลกนี้ ซึ่งมีสันดานดีและมีอุจจมนัส คือเป็นสัตว์ที่มีใจสูง สามารถที่จะรับรส พระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า และอาจถือเอาอมตธรรม คือ มรรค ผล นิพพาน มาเป็นสมบัติของตนได้ เป็นส่วนมาก
    เทวภูมิปฏิปทา ชี้ทางไปสู่เทวภูมิ คือสวรรคเทวโลก ซึ่งเป็นโลก ที่ปราศจากความทุกข์ มีแต่ความสุขชื่นบาน เริงสราญโดยส่วนเดียว ทั้งนี้ ก็เพราะสวรรคเทวโลก นี้เป็นแดนสุขาวดี มีความสุขด้วยกามคุณารมณ์ อย่างมากมาย เต็มไปด้วยทิพยสมบัติหลายอย่าง สุดจะพรรณนา
    พรหมภูมิปฏิปทา ชี้ทางไปสู่พรหมภูมิ คือเบื้องบนพรหมโลก ซึ่งเป็นโลกที่เต็มไปด้วยปณีตสุข มีแต่ความสุขชั้นสูง เป็นสุขอันละเอียดประณีตยิ่งกว่าความสุขด้วย กามคุณารมณ์ของเหล่าเทพยดาในเทวภูมิ
    ครั้นชี้แจงถึงภูมิต่างๆ อันปรากฏมีอยู่ภายในวัฏสงสาร ซึ่งยากแก่การรู้เห็นแห่งคนธรรมดาสามัญทั้งหลาย เช่นนี้แล้ว สมเด็จพระชินสีห์เจ้ายังทรงชี้ปฏิปทา ทางออกจากภูมิต่างๆ ในวัฏสงสารอีกด้วย โดยการชี้ปฏิปทาที่ประเสริฐสุด นั่นคือ
    ๒. ชี้แจงทางปฏิปทาไปสู่ โลกุตตรภูมิ = ภูมิที่พ้นจากโลก ภูมิที่หลุดออกไปจากโลกต่างๆ ซึ่งได้นำเอามาตั้งชื่อไว้ ในที่นี้เพื่อให้เข้าใจง่ายว่า นิพพานปฏิปทา ชี้ทางไปสู่แดนพระนิพพาน ซึ่งเป็นแดนปราศจาก กองทุกข์ทั้งมวล และเป็นแดนที่ปราศจากความสุข อันเป็นโลกิยสุข ทั้งเป็นถิ่นที่มีแต่อมตสุข แสนประเสริฐวิเศษสุดยอดชั่วนิรันดร์

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2010
  2. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    นิรยภูมิ

    [​IMG]


    [​IMG]


    ภูมิวิลาสินี (บางส่วน) ตอนที่ 2
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
    "นิรยภูมิ"

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ประเภทนรก-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    นิรยภูมิ หรือโลกนรกนี้ เป็นโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ล้วนๆ เป็นโลกที่ปราศจากความสุขโดยสิ้นเชิง สัตว์ผู้ไปเกิด อยู่ในโลกนรกนี้ ไม่มีความสุขแต่สักนิดหนึ่งเลย เพราะฉะนั้น โลกนี้จึงได้ชื่อว่า นิรยภูมิ = โลกที่ไม่มี ความสุขสบาย
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-มหานรก ๘ ขุม-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    (เทวทูตสูตร อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย ข้อ ๕๒๑ หน้า ๓๔๐ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    นิรยภูมิ หรือโลกนรกประเภทใหญ่ที่สุด เรียกว่า มหานรก มีอยู่ทั้งหมด ๘ ขุม ด้วยกัน ตั้งซ้อนเรียงกันอยู่เป็นชั้นๆ ไป ห่างกันแต่ละชั้นประมาณ ๑๕๐๐๐ โยชน์ ดังนี้
    ๑. สัญชีวมหานรก สัญชีวนรก = นรกที่ไม่มีวันตาย คนใจบาปหยาบช้าลามก ตายไปตกนรกขุมนี้แล้ว เขาก็จะเป็นคล้ายๆ กับว่ามีตัวตน เป็น "กายสิทธิ์" คือไม่มีวันที่จะต้องตายกันเลย แม้ว่า จะได้รับการลงโทษอย่างสาหัสจนทนไม่ไหว ขาดใจตายไป ถึงกระนั้น ก็ต้องกลับมีชีวิตชีวากลับเป็นขึ้นมา รับทุกข์โทษ ต่อไปอีก เป็นๆ ตายๆ อยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในสัญชีวนรกนี้ มีประมาณ ๕๐๐ ปีนรก! ซึ่งเทียบกันกับเวลาของ มนุษยโลกเราดังนี้ คือ ๙ ล้านปีของมนุษยโลก เท่ากับ วันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเขา
    ๒. กาฬสุตตมหานรก เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ เขาย่อมถูกลงโทษ โดยนายนิรยบาลเอาด้ายดำมาตีเป็นเส้นเข้าตาม ร่างกาย แล้วก็เอาเลื่อยมาเลื่อย บางทีก็เอาขวานมาผ่า หรือเอามีดนรกมาเฉือนกรีด ตามเส้นด้ายดำที่ตีไว้ ไม่ให้ผิดรอยได้ ฉะนั้น นรกขุมนี้ จึงมีชื่อว่า กาฬสุตต- มหานรก = นรกที่ลงโทษตามเส้นด้ายดำ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในกาฬสุตตนรกนี้ ประมาณ ๑๐๐๐ ปี ซึ่งเทียบกับเวลาของมนุษยโลกเราดังนี้ คือ ๓๖ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเขา
    ๓. สังฆาฏมหานรก เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์โทษ โดยลูกภูเขาเหล็กนรกบดขยี้ร่างกาย ให้ได้รับทุกขเวทนา อยู่ตลอดเวลา ไม่มีเวลาสร่างว่างเว้น ฉะนั้น นรกขุมนี้ จึงมีชื่อว่า สังฆาฏมหานรก = นรกที่บดขยี้ร่างกายสัตว์ เหล่าสัตว์ในสังฆาฏมหานรกนี้ มีร่างกายวิกลวิการ ต่างๆ กัน และมีรูปร่างแปลกพิลึก เช่น บางตนมีหัวเป็น ควาย มีตัวเป็นคน บางตัวมีหัวเป็นหมา หมู เป็ด ไก่ แต่มีตัวเป็นคน เป็นต้น มีความวิปริตแห่งกายสุดที่จัก พรรณนาให้ถูกต้องหมดสิ้นได้ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในสังฆาฏนรกนี้ มีประมาณ ๒๐๐๐ ปี ซึ่งเทียบกับเวลาของมนุษยโลกเราดังนี้คือ ๑๔๕ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเขา
    ๔. โรรุวมหานรก เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์โทษอย่าง แสนสาหัส ต้องร้องครวญครางอยู่ตลอดเวลา ในนรกขุมนี้ จะได้ยินแต่เสียงร้องครวญครางอย่างน่าสมเพชเวทนา เป็นยิ่งนัก ฉะนั้น นรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า โรรุวมหานรก = นรก ที่เต็มไปด้วยเสียงร้องครวญคราง ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในโรรุวนรกนี้ มีประมาณ ๔๐๐๐ ปีนรก ซึ่งเทียบกับเวลาของมนุษยโลกเราดังนี้ คือ ๒๓๔ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของนรกขุมนี้
    ๕. มหาโรรุวมหานรก เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมถูกลงโทษโดยวิธี อันแสนจะทรมาณเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ต้องร้องโอดโอย ครวญครางเสียงดังกระหึ่มมากมายยิ่งนัก เสียงร้อง ครวญครางมากกว่ามหานรกขุมที่ ๔ ที่กล่าวมาแล้ว มากกว่ามาก ฉะนั้น นรกขุมนี้จึงชื่อว่า มหาโรรุวนรก = นรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องครวญครางมากมาย นรกขุมนี้ มีชื่ออีกอย่างว่า ชาลโรรุวนรก = นรกที่เต็มไป ด้วยเสียงร้องครวญครางเพราะเปลวไฟ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในมหาโรรุวนรกนี้ มีประมาณ ๘๐๐๐ ปีนรก ซึ่งเทียบกับเวลาของมนุษยโลกดังนี้ คือ ๙๒๑๖ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเขา
    ๖. ตาปนมหานรก เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์โทษ โดยวิธีการถูกย่างให้ได้รับความเร่าร้อน และนรกขุมนี้ ก็มีความเร่าร้อนเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้น นรกขุมนี้จึงชื่อว่า ตาปนนรก = นรกที่ทำสัตว์ให้เร่าร้อน ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในตาปนนรกนี้ มีประมาณ ๑๖๐๐๐ ปีนรก ซึ่งมีการเทียบกับเวลาของมนุษยโลก เราดังนี้ คือ ๑๘๔๒๑๒ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับ คืนหนึ่งของเขา
    ๗. มหาตาปนมหานรก เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์อันเกิด จากความร้อนแรงแห่งไฟนรกเป็นที่สุด ได้รับทุกข์เพราะ ความเร่าร้อนเหลือประมาณ ไม่มีความร้อนในที่ไหน จักเปรียบปานกับความร้อนในนรกขุมนี้ ฉะนั้น นรกขุมนี้ จึงชื่อว่า มหาตาปนนรก = นรกที่เต็มไปด้วยความ เร่าร้อนอย่างมากมายเหลือประมาณ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในมหาตาปนมหานรกนี้ มีประมาณ ครึ่งอันตรกัป ซึ่งนับเป็นเวลาที่นานไม่ใช่น้อยเลย
    ๘. อเวจีมหานรก เหล่าสัตว์ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์โทษ อย่างหนักที่สุด เพราะระหว่างแห่งเปลวไฟและความทุกข์ ไม่มีว่างแม้แต่สักนิดเลย ในนรกนี้ไม่มีการหยุดพักแม้แต่ สักชั่วระยะเวลาหนึ่ง สัตว์นรกต้องได้รับความทุกข์อย่าง หนักอยู่เสมอตลอดเวลา ไม่ใช่บางคราก็หนักบางคราก็ เบาเหมือนนรกขุมอื่นๆ เพราะฉะนั้น นรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า อเวจีนรก = นรกที่ปราศจากคลื่น คือความบางเบาแห่ง ความทุกข์ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในอเวจีมหานรกนี้ มีประมาณ ๑ อันตรกัป ซึ่งนับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าบรรดา มหานรกทั้งหมด
    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย มหานรกซึ่งเป็นนรกขุมใหญ่ มีอยู่ทั้งหมดด้วยกัน ๘ ขุมดังกล่าวมานี่แล ก็บรรดา มหานรกทั้ง ๘ นี้ หาได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกันไม่ ความจริงอยู่ห่างไกลกันมาก จะเรียกว่าขุมหนึ่งๆ เป็น โลกๆ หนึ่งก็เห็นจะได้
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>นรกบริวาร ๑๖ ขุม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    มหานรกแต่ละขอมุนอกจะมี ขุมใหญ่ ซึ่งคล้ายกับเป็นเมืองใหญ่เป็นประธานแล้ว ยังมีขุมเล็กเป็นบริวารล้อมรอบอีก ๔ ทิศ ทิศละ ๔ ขุม รวมทั้งหมดเป็น ๑๖ ขุมด้วยกัน นรกที่เป็นบริวารนี้ มีชื่อเรียกว่าอุสสุทนรก
    -อุสสุทนรก-
    อุสสุทนรก นี้ ล้อมรอบเป็นบริวารมหานรกทั้ง ๘ มหานรกๆ ละ ๑๖ ขุม เพราะฉะนั้น อุสสุทนรกนี้ จึงมีอยู่รวมด้วยกันทั้งหมดมากถึง ๑๒๘ ขุม คือ ๑. ล้อมรอบสัญชีวมหานรก ๑๖ ขุม ๒. ล้อมรอบกาฬสุตตมหานรก ๑๖ ขุม ๓. ล้อมรอบสังฆาฏมหานรก ๑๖ ขุม ๔. ล้อมรอบโรรุวมหานรก ๑๖ ขุม ๕. ล้อมรอบมหาโรรุวมหานรก ๑๖ ขุม ๖. ล้อมรอบตามปนมหานรก ๑๖ ขุม ๗. ล้อมรอบมหาตาปนมหานรก ๑๖ ขุม ๘. ล้อมรอบอเวจีมหานรก ๑๖ ขุม จึงรวมเป็นอุสสุทนรกทั้งสิ้น ๑๒๘ ขุม
    เฉพาะในที่นี้ จักขอกล่าวถึงอุสสุทนรกเพียง ๔ ขุม ซึ่งล้อมรอบเป็นบริวารในทิศบูรพาของมหานรกขุมที่ ๑ คือ สัญชีวมหานรกเท่านั้น เพราะอุสสุทนรกในทิศอื่นๆ ก็ดีและที่ล้อมรอบเป็นบริวาร ในมหานรกขุมอื่นๆ ก็ดี ก็มีชื่อเหมือนๆ กัน จะต่างกันก็แต่เพียงโทษหนักเบา เท่านั้น อุสสุทนรกทั้ง ๔ ที่ล้อมรอบเป็นบริวารมหานรก หรือนรกขุมใหญ่ซึ่งจะกล่าวถึงในที่นี้ มีชื่อตามลำดับ ดังต่อไปนี้
    ๑. คูถนรก ครั้นพ้นทุกข์โทษจากมหานรกขุมใหญ่แล้ว หากเศษบาป กรรมยังไม่สิ้น สัตว์นรกทั้งหลายก็เคลื่อนออกไปรับทุกข์ โทษอยู่ในนรกบริวารที่ใกล้ชิดมหานรกอันดับที่ ๑ นี้ อันเต็มไปด้วยหมู่หนอนเป็นอันมาก คอยแทะกัดกินเนื้อ สัตว์นรกอย่างเอร็ดอร่อย
    ๒. กุกกุฬนรก ครั้นพ้น จากกำแพงแห่งคูถนรกแล้ว หากเศษบาปกรรม ยังไม่สิ้น สัตว์นรกทั้งหลายก็ต้องเคลื่อนออกไปรับทุกข์ โทษ ในอุสสุทนรกอันดับที่ ๒ นี้ อันเต็มไปด้วยเถ้ารึงซึ่งรุ่มร้อนสำหรับเผาสัตว์นรกทั้งหลาย ให้ได้รับความทุกขเวทนาอันแรงกล้า
    ๓. อสิปัตตนรก ครั้งพ้น จากกำแพงแห่งกุกกุฬนรกแล้ว ก็ถึงบริเวณ อุสสุทนรกอันดับที่ ๓ นี้ ที่ต้นมะม่วงนรกใบดกครึ้ม ครั้นถูกลมกรรมพัดมาอย่างแรงใบก็กลายเป็นหอก เป็นดาบอันคมกล้าหลุดร่วงลงมาถูกกายเป็นแผล เหวอะหวะ บางทีก็กายขาดเป็นท่อนๆ ฯลฯ
    ๔. เวตรณีนรก ครั้นพ้น จากกำแพงอสิปัตตนรกแล้ว ก็ถึงบิรเวณ อุสสุทนรกอันดับที่ ๔ นี้ อันเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วย น้ำเค็มน้ำแสบตั้งอยู่ชั่วกัป มีเครือหวายหนามเหล็ก ล้อมอยู่โดยรอบเป็นขอบขัณฑ์ ในท่ามกลางนั้นปรากฏ เป็นดอกปทุมหลากหลาย เมื่อสัตว์นรกได้เห็นเข้า ก็เข้าใจว่าเป็นแม่น้ำอันเย็นสนิทน่าอาบ น่าดื่มนัก ก็รีบกระโจนลงไป เครือหวายเหล็กก็บาดร่างกาย ทำให้เป็นแผลในน้ำเค็ม
    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย อุสสุทนรกทั้ง ๔ นี้ ตั้งอยู่เรียง ลำดับกันไป ในทิศบูรพาเบื้องหน้าแห่งสัญชีวมหานรก แม้ในทิศอื่นอีก ๓ ทิศ คือ ทิศหลัง ทิศเบื้องขวา ทิศ เบื้องซ้าย ก็มีอุสสุทนรกทั้ง ๔ นี้ ตั้งอยู่เรียงลำดับไป เช่นเดียวกัน รวมอุสสุทนรกทั้ง ๔ ทิศที่ล้อมรอบสัญชีวนรก จึงเป็น ๑๖ ขุมพอดี ก็มหานรกมี ๘ ขุม แต่ละขุม มีอุสสุทนรกนี้ ล้อมรอบเป็นบริวารขุมละ ๑๖ จึงรวมเป็น อุสสุทนรกทั้งหมด ๑๒๘ ขุม
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ยมโลกนรก-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    สัตว์นรก ทั้งหลาย เมื่อได้เสวยทุกข์โทษในมหานรกและ อุสสุทนรกดังกล่าวมาแล้ว หากกรรมยังไม่สิ้น ก็จำต้อง ไปเสวยกรรมในนรกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ยมโลกนรก ก็ยมโลกนรกนี้ ตั้งอยู่ในสถานที่ต่อจาก อุสสุทนรกไป เป็นนรกบริวารของมหานรกทั้ง ๘ มหานรกแต่ละขุมนั้น มียมโลกนรกล้อมเป็นบริวาร อยู่ทิศเบื้องหน้า ๑๐ ขุม ทิศเบื้องหลัง ๑๐ ขุม ทิศขวา ๑๐ ขุม ทิศซ้าย ๑๐ ขุม รวมทั้ง ๔ ทิศ ก็เป็น ๔๐ ขุมพอดี
    มหานรกมีอยู่ ๘ ขุม ขุมหนึ่งๆ มียมโลกนรกล้อมรอบ เป็นบริวารชั้นนอก ๔๐ ขุม จึงรวมเป็นยมโลกนรก ทั้งหมด ๓๔๐ ขุม
    ในที่นี้จะขอกล่าวแต่เพียงยมโลกนรก ๑๐ ขุม ซี่งตั้งอยู่ ล้อมรอบเป็นบริวารแห่งสัญชีวมหานรก เพียงทิศเดียว เท่านั้น เพราะว่ายมโลกนรกในทิศอื่นๆ ก็ดี และยมโลก นรกที่ล้อมเป็นบริวารมหานรกอื่นๆ ก็ดี ก็มีชื่อและมี อาการเสวยทุกข์โทษเหมือนๆ กัน จะแตกต่างกันอยู่บ้าง ก็เพียงแต่ว่ามีการเสวยทุกข์โทษหนักเบา ตามชั้นแห่ง มหานรกนั้นๆ เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อทราบและเข้าใจได้ เพียง ๑๐ ขุมในทิศเดียว ก็เป็นอันทราบยมโลกนรก ในทิศอื่นและในชั้นอื่นทั้งหมด เพราะมีชื่อและมีลักษณะ เหมือนกัน
    ก็ยมโลกนรกทั้ง ๑๐ ขุมที่จะกล่าวในที่นี้ มีชื่อตามลำดับดังนี้
    ๑. โลหกุมภีนรก มีหม้อเหล็กขนาดใหญ่เท่าภูเขา เต็มไปด้วยน้ำแสบ น้ำร้อนเดือดพล่านอยู่ตลอดเวลา ตั้งอยู่บนเตาไฟนรก นายนิรยบาลร่างกายใหญ่โต จับสัตว์ผู้พลัดมาอยู่ที่นี่ ที่ข้อเท้าเอาหัวคว่ำลง แล้วหย่อนทิ้งลงไปเสียงดังซ่าใหญ่ ฯลฯ ทำอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายคาบ นับเป็นหมื่นๆ ปี กรรมที่นำมาให้เสวยทุกข์โทษในนรกขุมนี้ได้แก่ปาณาติบาต คือทำการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เช่นจับเอาสัตว์เป็นๆ มาใส่ลง ในหม้อน้ำร้อนให้ตายแล้วเอามากินเป็นอาหาร หรือมิฉะนั้น ก็ทำกรรมชั่วหยาบอื่นๆ ควรจะเสวยทุกข์ในมหานรกแล้ว แต่ภายหลังกลับสำนึกตน พยายามประกอบกองการกุศล บาปกรรมที่ติดอยู่ในจิตค่อยคลายลง จึงต้องได้รับโทษ เพียงตกมาในขุมนี้
    ๒. สิมพลีนรก ปรากฏเป็นป่าเต็มไปด้วยต้นงิ้วนรกทั้งหลาย ต้นงิ้วแต่ละ ต้น มีหนามเหล็กคมเป็นกรด ยาวประมาณ ๑๖ องคุลี ลุกเป็นเปลวไฟอยู่เสมอเป็นนิตย์ไม่มีวันที่จะดับไปเลย แม้สักชั่วระยะเวลาหนึ่ง ขุมนี้เต็มไปด้วยสัตว์นรกหญิง และสัตว์นรกชาย ที่ต้องมาเกิดในสิมพลีนรกนี้ ก็เพราะว่าเมื่อเขาเป็นมนุษย์ ได้ประพฤติล่วงกาเมสุมิจฉาจาร คือคบชู้ผิดศีลธรรม ประเพณี
    ๓. อสินขะนรก เหล่าสัตว์ที่อยู่ในนรกขุมนี้ มีรูปร่างพิกล เล็บมือเล็บเท้า ของตนซึ่งแหลมยาว กลับกลายเป็นอาวุธ เป็นหอก เป็นดาบ เป็นจอบ เป็นเสียมอันคมกล้า เสวยทุกขเวทนา ประหนึ่งเป็นบ้าวิกลจริต บ้างนั่ง บ้างยืน เอาเล็บมือถาก ตะกุยเนื้อหนังของตนกินเป็นภักษาหาร เป็นอยู่อย่างนี้ ตลอดกาลนาน สัตว์นรกเหล่านี้ เมื่อครั้งเขาเป็นมนุษย์มีใจเป็นคนพาล กระทำอทินนาทาน ชอบลักเล็กขโมยน้อย ลักขโมยของ ในสถานที่สาธารณะ ของที่เขาถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือลักขโมยของใช้เช่นเสื้อผ้า อาหาร เป็นต้น
    ๔. ตามโพทกะนรก ในนรกขุมนี้ มีหม้อเหล็กต้มน้ำทองแดงอยู่มากมาย มีน้ำทองแดงกำลังเดือดพลุ่งอยู่เสมอ พร้อมกับมี ก้อนกรวดก้อนหินปะปนอยู่ด้วยในหม้อเหล็กทุกๆ หม้อ นายนิรยบาลจับสัตว์บาปให้นอนหงาย เหนือแผ่นเหล็ก อันรุ่งเรืองด้วยเปลวไฟ แล้วเอาน้ำทองแดงพร้อมทั้ง ก้อนกรวดก้อนหิน ซึ่งกำลังเดือดพล่านในหม้อนรกนั้น กรอกเข้าไปในปาก ฯลฯ การที่สัตว์ต้องมาเสวยทุกขโทษอันน่ากลัวเห็นปานนี้ ก็เพราะในชาติก่อนเขาเป็นคนใจอ่อนมัวเมาประมาท ดื่มกินซึ่งสุราเมรัย แสดงอาการคล้ายคนบ้าวิกลจริต เป็นนิจศีล
    ๕. อโยคุฬะนรก ในนรกขุมนี้ เต็มไปด้วยก้อนเหล็กแดงเกลื่อนกลาดไปหมด ลุกเป็นไฟอยู่ทั้งนั้น เหล่าสัตว์นรกทั้งหลาย ล้วนมีแต่ ความหิวโหยทั้งสิ้น ครั้นเห็นก้อนเหล็กแดงก็ดีเนื้อดีใจ เพราะอกุศลบันดาลให้สัตว์นรกเหล่านั้นตาลาย เห็นก้อน เหล็กแดงกลายเป็นโภชนาหารไป จึงรีบวิ่งเข้าไปยื้อแย่ง กันกิน ฯลฯ การที่เขาจะมาเป็นสัตว์นรกที่นี่ ก็เพราะว่าในชาติก่อน เขาเหล่านั้นมีโลภเจตนาหนาแน่น แสดงตนว่าเป็นคน ใจบุญใจกุศล เที่ยวป่าวร้องเรี่ยไรเอาทรัพย์ของเขา มาว่า จะทำการกุศลสาธารณประโยชน์ ครั้นได้ทรัพย์ มาแล้วก็ยักยอกใช้สอยตามสะดวกสบายของตน การกุศลก็ทำบ้าง ไม่ทำบ้างตามที่อ้างไว้ บ้างทีก็ไม่ ทำเลย หลอกลวงคนอื่นได้ด้วยเล่ห์ นึกว่าตนเป็น คนฉลาด
    ๖. ปิสสกปัพพตะนรก ในนรกขุมนี้ มีภูเขานรกใหญ่ตั้งอยู่ทั้ง ๔ ทิศ เป็นภูเขา เคลื่อนที่ได้ไม่หยุดหย่อน กลิ้งบดสัตว์นรกทั้งหลายให้ บี้แบนกระดูกแตกป่นละเอียด ถึงแก่ความตายแล้วก็ กลับเป็นขึ้นมาใหม่ ให้ได้รับความทุกข์ทรมาณอยู่ อย่างนี้ ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น ที่ต้องมาทนทุกขเวทนาอยู่ในนรกขุมนี้ ก็เพราะในชาติ ก่อน สัตว์นรกทั้งหลายเหล่านั้น เคยเป็นนายบ้าน เป็น นายอำเภอ เป็นเจ้าบ้านผ่านเมือง แต่ประพฤติตนเป็น คนอันธพาล กดขี่ข่มเหงราษฎร ทำให้ประชาชนพลเมือง เดือดร้อน เช่น ทุบตีเขา เอาทรัพย์เขามาให้เกิดพิกัดอัตรา ที่กฏหมายกำหนด ไม่มีความกรุณาแก่คนทั้งหลาย
    ๗. ธุสะนรก สัตว์ที่มาเกิดในนรกขุมนี้ ล้วนแต่มีความหิวกระหายน้ำ ทั้งสิ้น วิ่งวุ่นกระเสือกกระสนไปทั่วทั้งนรก ครานั้น ก็ ปรากฏมีสระเต็มไปด้วยน้ำใสเย็นสะอาด สัตว์นรก ทั้งหลายเห็นเข้า ต่างก็ดีเนื้อดีใจ วิ่งมาถึงแล้วกระโดด ลงเพื่อจะกินจะอาบ แต่ครั้นได้กินดื่มเข้าไป ด้วยอำนาจ กรรมบันดาล พอน้ำนั้นตกถึงท้องก็กลายเป็นแกลบเป็น ข้าวลีบลุกเป็นเปลวไฟ แล้วไหม้ไส้ใหญ่น้อย ตับปอด เครื่องในอวัยวะเหล่านั้นก็ไหลออกมาทางทวารเบื้องล่าง ให้ได้รับความเจ็บปวด เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส ที่ต้องมาเสวยทุกข์โทษในนรกขุมนี้ ก็เพราะว่าในชาติก่อน ครั้งที่เป็นมนุษย์เขาเป็นคนคดโกง ไม่มีความซื่อสัตย์ เป็นพานิชย์พ่อค้า แม่ค้า มีโลภเจตนาหนาแน่นในดวงจิต เอาของชั่วปนของดี เอาของแท้ปนของเทียม แล้วหลอก ขายผู้อื่น ได้ทรัพย์มาโดยมิชอบ เช่นนี้เป็นต้น
    ๘. สีตโลสิตะนรก ในนรกขุมนี้ มีน้ำเย็นยะเยือกยิ่งกว่าความเย็นทั้งหลาย เมื่อสัตว์นรกทั้งหลายตกลงไปก็ต้องตายด้วยความเย็น ด้วยอำนาจอกุศลกรรม ก็ทำให้กลับเป็นขึ้นมาอีก ฯลฯ ที่ต้องมาเสวยทุกข์โทษในนรกขุมนี้ ก็เพราะในชาติก่อน เมื่อครั้งที่เขายังเป็นมนุษย์ เป็นผู้มีจิตใจไม่บริสุทธิ์ เป็นคนใจบาปหยาบช้า ไม่มีเมตตากรุณาในสันดาน เป็นคนใจพาลประกอบอกุศลกรรม เช่น จับสัตว์เป็นๆ โยนลงไปในบ่อในเหว ในสระน้ำ หรือมัดสัตว์ทิ้งน้ำ ให้จมน้ำตาย ทำเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ให้ได้รับความ ทุกข์และตายเพราะน้ำ เช่นนี้เป็นต้น
    ๙. สุนขะนรก ในนรกขุมนี้ เต็มไปด้วยสุนัขนรกทั้งหลาย มีอยู่มากมาย หลายฝูง แต่เมื่อจะจำแนกสุนัขหรือหมานรกเหล่านั้น ก็มีอยู่ ๕ จำพวกคือ หมานรกดำ หมานรกขาว หมานรก เหลือง หมานรกแดง หมานรกด่าง บรรดาหมานรกทั้งห้าจำพวกนี้ มีรูปร่างใหญ่โตและดู น่าเกรงกลัวเป็นนักหนา ส่งเสียงเห่าหอน เหมือนดังฟ้า ลั่นฟ้าร้องก้องทั่วนรกไปหมด คนบาปที่มาอุบัติเกิด ในนรกขุมนี้ ย่อมถูกหมานรกไล่ขบกัดอยู่ตลอดเวลา
    ๑๐. ยันตปาสาณะนรก ยมโลกนรก ขุมที่ ๑๐ ซึ่งเป็นขุมสุดท้าย ในนรกขุมนี้ ปรากฏว่ามีภูเขา ๒ ภูเขา แต่เป็นภูเขานรกแปลก ประหลาด คือ เป็นภูเขายนต์หันกระทบกันเสมอเป็น จังหวะไป ไม่ขาดระยะ พอสัตว์มาเกิดในนรกนี้แล้ว นายนิรยบาลผู้มีร่างกายกำยำล่ำสันใหญ่โต ก็จับ ศีรษะสัตว์นรกทั้งหลายโยนใส่เข้าไปในระหว่าง ภูเขายนต์ทั้ง ๒ การที่ต้องมาเกิดเป็นสัตว์นรกทนทุกข์อยู่ ณ ที่นี้ ก็เพราะเหตุว่าในชาติก่อนเขาเป็นมนุษย์หญิงชาย ผู้มีใจบาปหยาบช้าตีด่าคู่ครองของคนด้วยความโกรธ เช่นเป็นสามีเมื่อโกรธภรรยาแห่งตนขึ้นมา ก็ฆ่าตีเตะถีบ ประหัตประหารเอาด้วยกำลังชาย หรือไม่เช่นนั้น ตนเป็นภรรยา เมื่อโกรธขึ้นมาก็ด่าว่าสามี คว้าไม้ คว้ามีดไล่ตีไล่ฟัน แล้วก็เหหันประพฤตินอกใจ ไปคบชู้ คบหาเป็นสามีภรรยาของคนอื่นตามใจชอบ
    ท่านทั้งหลาย นรกที่กล่าวมานี้ คือ ยมโลกนรก ทั้ง ๑๐ ขุม ก็ยมโลกนรกทั้ง ๑๐ ขุมนี้ ตั้งอยู่ในลำดับ ถัดกันไป ต่อจากอุสสุทนรกทั้ง ๔ ในทิศบูรพาเบื้องหน้า แห่งสัญชีวนรก แม้ในทิศอื่นๆ อีก ๓ ทิศ คือ ทิศหลัง ทิศซ้ายทิศขวา ก็มียมโลกนรกนี้ปรากฏตั้งอยู่ต่อจาก อุสสุทนรกที่กล่าวแล้วทิศละ ๑๐ ขุมเช่นกัน และมีชื่อ กับทั้งมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงเป็นอันว่าใน สัญชีวมหานรกนี้ มียมโลกนรกล้อมรอบเป็นบริวาร ชั้นนอก ๔๐ ขุม นอกจากนี้ ยมโลกนรก ยังมีอยู่ใน มหานรกขุมอื่นอีกขุม ขุมละ ๔๐ ฉะนั้น จึงรวมทั้งหมด เป็นยมโลกนรก ๑๒๐ ขุมพอดี
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-โลกันตนรก-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    โลกันตนรก นี้ เป็นนรกขุมพิเศษ เป็นนรกขุมใหญ่ แปลกประหลาดกว่าบรรดานรกทั้งหลาย เพราะอยู่ นอกจักรวาล สถานที่ตั้งของนรกขุมนี้ อยู่ในระหว่าง โลกจักรวาล ๓ โลก ก็เหมือนกับดอกปทุมชาติ ๓ ดอก เอามาตั้งชิดติดกันเข้า ก็จะเกิดมีช่องว่างขึ้นในตอนกลาง จักรวาลต่างๆ ก็ตั้งชิดติดกันเช่นกับดอกปทุมชาติ ๓ ดอกนั้น บริเวณตรงช่องว่างนั่นเอง เป็นสถานที่ตั้ง แห่งโลกันตนรก ซึ่งแปลว่านรกที่อยู่สุดโลกจักรวาล
    ก็ในโลกันตนรกนั้น มีความมืดมนยิ่งนัก แสงดาว แสงเดือนและแสงตะวันส่องไปไม่ถึง เป็นสถานที่มืดมน อนธการ สามารถห้ามเสียงซึ่งความบังเกิดขึ้นแห่ง จักษุวิญญาณเปรียบปานดังคนหลับตาในคราวเดือนดับ ข้างแรมฉะนั้น การที่มีสภาพมืดมนมากเช่นนี้ ก็เพราะ อยู่นอกจักรวาลพ้นจากโลกสวรรค์โลกมนุษย์ ออกไปนั่นเอง
    สัตว์ที่ไปอุบัติเกิดในโลกันตนรกนี้ มีร่างกายใหญ่โตยิ่งนัก มีเล็บมือเล็บเท้ายาวนักหนา ต้องใช้เล็บมือเล็บเท้าเกาะ อยู่ตามชายเชิงจักรวาลห้อยโหนโยนตัวอยู่ชั่วนิรันดร์ เปรียบปานเหมือนเช่นกับค้างคาว ห้อยหัวอยู่บนกิ่งไม้ ฉะนั้น ครั้นได้ประสบการณ์ทรมานอย่างแสนสาหัส เช่นนี้ เขาก็ได้แต่รำพึงอยู่ในใจว่า "ทำไม ตูจึงมาอยู่ที่นี่ ชะรอยที่นี่ จะมีแต่ตูผู้เดียว ดอกกระมัง"
    ที่เขารำพึงออกมาเช่นนี้ ก็เพราะว่าสถานที่นั้นมันเป็น สถานที่มืดแสนมืด มองไม่เห็นเพื่อนสัตว์โลกันตนรก ด้วยกัน หรือมองไม่เห็นอะไรเลยนั่นเอง ตลอดเวลานาน เหล่าสัตว์นรกเหล่านั้นไม่ต้องทำอะไร มีแต่จะห้อยโหน โยนตัวเปะปะไป ด้วยความหิวโหยอย่างเหลือประมาณ ครั้นปีนป่ายตะกายไปถูกต้องมือของกันและกันเข้าแล้ว ก็สำคัญว่าพบปะอาหารจึงต่างก็ดีเนื้อดีใจ มีกิริยา ขวนขวายคว้าฉวยจับกุมกัน ต่างคนต่างก็จะตะครุบ กันกินเป็นอาหาร เมื่อต่างก็ปล้ำฟัดกัดกันอยู่อย่างนี้ ในไม่ช้าก็เผลอปล่อยมือที่เกาะอยู่ เลยพากันพลัดตก ลงไปข้างล่าง
    สถานที่เบื้องล่าง ซึ่งเขาพลัดตกลงมานั้น มันไม่ใช่ พื้นที่ธรรมดา โดยที่แท้เป็นทะเลน้ำกรดอันเย็นยะเยือก ซึ่งมีความเย็นอย่างร้ายกาจนัก ครั้นเขากอดคอพากันพลัด ตกลงมา พอถึงพื้นน้ำแล้ว บัดเดี๋ยวใจ ตัวตนร่างกาย ของเขาก็เปื่อยพังแหลกลงสิ้นไม่มีชิ้นดีเพราะฤทธิ์ น้ำกรดอันเยือกเย็นกัดเอา ให้เหลวแหลกละลาย ประดุจดังก้อนอุจจาระซึ่งตกลงไปในน้ำฉะนั้น เขาก็ถึงแต่ความสิ้นใจตายไปในบัดใจนั้นเอง แล้วก็กลับเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาเหมือนเก่า ให้รู้สึกหนาวเย็นเป็นกำลัง จึงรีบตะเกียกตะกาย ปีนป่ายขึ้นมาเกาะเชิงเขาจักรวาลด้วยความลำบาก ยากเย็น แล้วก็ห้อยโหนโยนตัวแสวงหาอาหาร ด้วยความหิวโหยต่อไปอีกตามเดิม ฯลฯ เฝ้าเวียนตายเวียนเกิด ด้วยความทุกข์ทรมาน อยู่อย่างนี้ ไม่มีวันสิ้นสุดชั่วพุทธันดรหนึ่ง จึงจะพ้นทุกข์โทษจากโลกันตนรกนี้
    มีเรื่องที่ควรทราบ ซึ่งจะกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ ก็คือว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเรา ท่านทั้งหลาย ได้ทรงมีพระมหากรุณาโปรด ประทานพระพุทธฎีกาไว้ว่า "รูปปติ โข ภิกขเว" เป็นอาทิ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ที่ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่าเป็นสิ่ง ที่จะต้องสลายไป เพราะความเย็นบ้าง เพราะความ ร้อนบ้าง" ดังนี้เป็นต้น
    จึงมีปัญหาว่า ที่ว่ารูปต้องสลายไป เพราะความเย็น นั้นคืออย่างไรกัน? ก็รูปของสัตว์ที่เกิดในโลกันตนรก นี่เอง ที่จะต้องแตกสลายฉิบหายไปเพราะความเย็น ฯลฯ
    สัตว์ทั้งหลายได้ก่อกรรมทำเข็ญอะไรไว้เล่า จึงต้อง มาตกอยู่ในโลกันตนรกนี้? สัตว์ทั้งหลายได้เคย ประกอบกรรมร้ายกาจหยาบช้าลามกนัก คือ ประทุษร้ายทรมานบิดามารดา เพราะปราศจาก กตัญญูกตเวที หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคล ไม่เชื่อ บุญบาป ไม่เชื่อนรกสวรรค์แล้วประกอบการ อันเป็นบาปอยู่เป็นนิตย์ อีกประการหนึ่ง ได้ประกอบ กรรมชั่วยิ่งนัก เช่นประทุษร้ายท่านผู้ทรงศีลทรงธรรม หรือกระทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นประจำ ทุกวัน อำนาจกุศลอันหนักเหล่านั้น จึงชักนำให้ ลงมาเกิดในโลกันตนรกนี้ ซึ่งมีปกติมืออยู่เป็นนิตย์ ต่อเมื่อมีองค์สมเด็จพระพิชิตมารสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาอุบัติตรัสในโลก จึงจะมีโอกาสปรากฏเป็น แสงสว่างขึ้นแวบหนึ่งประมาณชั่วฟ้าแลบ หรือชั่วระยะ มาตรว่าลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น นี่แหละคือสภาพ แห่งโลกันตนรก
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-จำนวนนรก-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เพื่อให้จำกันง่ายๆ บรรดานรกทั้งหมดที่กล่าวมา มีอยู่ทั้งหมด ๔๕๗ ขุม คือ
    ๑. มหานรก ๘ ขุม
    ๒. อุสสุทนรก ๑๒๘ ขุม
    ๓. ยมโลกนรก ๓๒๐ ขุม
    ๔. โลกันตนรก ๑ ขุม
    จบ "นิรยภูมิ" ตอนต่อไป "เปตติวิสยภูมิ" :>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2010
  3. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    เปตติวิสยภูมิ

    [​IMG]

    ปรภูมิวิลาสินี (บางส่วน) ตอนที่ 3
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
    "เปตติวิสยภูมิ"
    โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดย คุณdeedi [ 9 ส.ค. 2542 ])
    เป็นส่วนหนึ่งของกระทู้ที่ 000214 เรื่อง กรรมวิบากและภพภูมิ
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ประเภทแห่งเปรต-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เปตติวิสยภูมิ คือภูมิเปรตหรือโลกเปรตนี้ เป็นโลกที่ ห่างไกลจากความสุข ไม่มีสถานที่อยู่โดยเฉพาะ เหล่าสัตว์ที่ไปอุบัติเกิดในโลกเปรตนี้แล้ว ถึงแม้จะ มีความทุกข์น้อยกว่าสัตว์นรกทั้งหลายก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังนับได้ว่าเป็นผู้ห่างไกลจากความสุขอยู่ เป็นอันมาก เพราะฉะนั้น โลกเปรตนี้ จึงมีชื่อว่า เปตติวิสยภูมิ = โลกที่อยู่ของสัตว์ผู้ห่างไกลจาก ความสุข
    เมื่อกล่าวถึงชีวิตของเหล่าสัตว์ในภูมิแห่งเปรตนี้แล้ว ย่อมเป็นชีวิตที่น่าสมเพช โดยที่เขาเหล่านั้น ต้อง ทนทุกข์ทรมานเพราะความอดอยาก มีความหิวกระหาย อย่างแสนสาหัส สัตว์เปรตทั้งหลาย ย่อมประสบ ทุกขเวทนา เพราะความอดอยากอาหารเป็นส่วนมาก แท้จริงสัตว์ทั้งหลายในเปรตวิสัยนั้น บางพวกมิได้บริโภค โภชนาหารเลยตลอดเวลา ๒-๓ พุทธันดรก็มี ให้แสบร้อน ในไส้ในท้องแห่งตนยิ่งนัก เพราะถูกไฟในกายเผาไหม้ เสียนักหนา เปรียบดังว่าไฟอันไหม้อยู่ในโพรงไม้ฉะนั้น เปรตทั้งหลายย่อมเสวยทุกขเวทนาใหญ่ ความอดอยาก นั้นเหลือที่จะคณานับได้
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-เปรตเศษบาป-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เปรตชิ้นเนื้อ อีกคราวหนึ่ง องค์อรหันต์พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้เห็นชิ้นเนื้อลอยอยู่ในเวหาส พวกแร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างก็พากันโผถลาตามจิกทึ้งชิ้นเนื้อนั้น และชิ้นเนื้อนั้นก็ส่งเสียงร้องครวญครางอย่างน่าสงสาร จึงคิดว่าน่าอัศจรรย์เป็นนักหนา ต่อมาได้กราบทูลให้ ทรงทราบ ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสเล่า ประวัติเปรตตนนี้ว่า ในชาติก่อน เปรตชิ้นเนื้อตนนี้ เกิดเป็นมนุษย์ มีอาชีพ เป็นคนฆ่าโค ครั้นทำกาลกิริยาตายไปแล้ว ก็ไปตกนรก หมกไหม้อยู่ในขุมนรกอยู่นานนักหนา เมื่อหมดกรรม พ้นจากแดนนรกแล้ว เศษกรรมยังมี จึงต้องมาเกิด เป็นเปรตชิ้นเนื้อ เสวยทุกขเวทนาอันน่าทุเรศ เห็นปานนั้น
    เปรตก้อนเนื้อ คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระโมคคัลลานะเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นก้อนเนื้อลอยอยู่ในเวหาส เหล่าแร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างก็พากัน โผถลาตามจิกทึ้งก้อนเนื้อนั้นเป็นอลหม่าน และ ก้อนเนื้อนั้นก็ส่งเสียงร้องครวญครางอย่างน่าสงสาร สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ได้ตรัสเล่าประวัติ เปรตตนนี้ว่า ในชาติก่อน เปรตก้อนเนื้อตนนี้ เกิดเป็นมนุษย์ มีอาชีพเป็นคนฆ่านกขาย ครั้นทำกาลกิริยาตายไปแล้ว ก็ไปตกนรกหมกไหม้อยู่เป็นเวลานานนักหนา เมื่อหมด กรรมพ้นจากแดนนรกแล้ว เศษกรรมยังมี จึงต้องมาเกิด เป็นเปรตก้อนเนื้อ เสวยทุกขเวทนาอันน่าทุเรศ เห็นปานนั้น
    เปรตไม่มีผิวหนัง คราวหนึ่ง องค์พระอรหันต์โมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นบุรุษไม่มีผิวหนังลอยอยู่ในเวหาส เหล่าแร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างก็พากัน โผถลาตามจิกทึ้งบุรุษเปรตประหลาดนั้นเป็นอลหม่าน บุรุษเปรตผู้ไม่มีผิวหนัง ก็ได้แต่ส่งเสียงร้องครวญคราง โอดโอยอยู่ สมเด็จพระบรมครูเจ้า ได้ตรัสเล่าประวัติ เปรตตนนี้ว่า ในชาติก่อน เปรตผู้ไม่มีผิวหนังนี้ เกิดเป็นมนุษย์ มีอาชีพเป็นคนฆ่าแกะขาย ฆ่าแล้วถลกหนังไปขาย บางคราวก็ถลกหนังเสียทั้งเป็นๆ ครั้นเขาทำกาลกิริยา ตายไปแล้ว ก็ตกนรกหมกไหม้อยู่เป็นเวลานานนักหนา เมื่อหมดการพ้นจากแดนนรกแล้ว เศษกรรมยังมี จึงได้เกิดมาเป็นบุรุษเปรตไม่มีผิวหนัง เสวยทุกขเวทนา อันน่าทุเรศเห็นปานนั้น
    เปรตมีขนเป็นดาบ คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นบุรุษผู้มีขนเป็นดาบ ลอยอยู่ใน เวหาส ขนดาบของเขาได้หลุดลอยกระเด็นออกไป จากตัว แล้วก็กลับตกลงมาถูกต้องตัวเขาตลอดเวลา เขาก็ได้แต่ร้องครวญครางอย่างโอดโอยเป็นที่น่า แปลกประหลาดเป็นยิ่งนัก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเล่าประวัติเปรตตนนี้ว่า ในชาติก่อน เปรตผู้มีขนเป็นดาบนี้ เกิดเป็นคนมีอาชีพ เป็นคนฆ่าสุกรขาย ครั้นทำกาลกิริยาตายไปแล้ว ก็ตกนรกหมกไหม้อยู่เป็นเวลานานนักหนา เมื่อหมด กรรมพ้นจากแดนนรกแล้ว เศษกรรมยังมี จึงต้อง มาเกิดเป็นเปรตมีขนเป็นดาบ และถูกขนจัญไรแห่งตน ประทุษร้ายเอาตลอดเวลา ได้เสวยทุกขเวทนา อันน่าทุเรศเห็นปานนั้น
    เปรตมีขนเป็นหอก คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตบุรุษมีขนเป็นหอก ลอยอยู่ ในเวหาส ขนหอกของเขาหลุดลอยกระเด็นออกไป จากตัว แล้วก็กลับตกลงมาถูกต้องตัวเขาอยู่ตลอดเวลา เขาก็ได้แต่ส่งเสียงร้องครวญครางอย่างโอดโอย เป็นที่น่าแปลกประหลาดเป็นยิ่งนัก สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าประวัติเปรตตนนี้ว่า ในชาติก่อน เปรตผู้มีขนเป็นหอกนี้ เกิดเป็นมนุษย์ มีอาชีพเป็นคนฆ่าเนื้อขาย ครั้นทำกาลกิริยาตายแล้ว ก็ตกนรกหมกไหม้อยู่เป็นเวลานานนักหนา เมื่อหมด กรรมพ้นจากแดนนรกแล้ว เศษกรรมยังมี จึงต้อง มาเกิดเป็นเปรตมีขนเป็นหอก และถูกขนจัญไรแห่งตน ประทุษร้ายเอาตลอดเวลา ได้เสวยทุกขเวทนา อันน่าทุเรศเห็นปานนั้น
    เปรตมีขนเป็นลูกธนู คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตบุรุษมีขนเป็นลูกธนู ลอยอยู่ในเวหาส ขนลูกธนูของเขา ได้หลุดกระเด็น ลอยออกไปจากตัว แล้วก็กลับตกลงมาถูกต้องตัวเขา อยู่ตลอดเวลา เขาก็ได้แต่ส่งเสียงร้องครวญคราง อยู่อย่างเจ็บปวด เป็นที่น่าแปลกประหลาดเป็นยิ่งนัก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเล่าประวัติเปรตตนนี้ ว่า ในชาติก่อน เปรตผู้มีขนเป็นลูกธนูนี้ เขาเกิดเป็นมนุษย์ ผู้มีใจบาปหยาบช้า มีอาชีพเป็นเพชฌฆาตฆ่าคนอยู่ใน พระนครราชคฤห์นี้เอง เมื่อแตกกายทำลายขันธ์แล้ว ก็ตกนรกหมกไหม้อยู่ในนรกสิ้นกาลช้านาน ครั้นหมด กรรมพ้นจากแดนนรกแล้ว เศษกรรมยังมี จึงต้องมาเกิด เป็นเปรตมีขนเป็นลูกธนู และถูกขนจัญไรแห่งตน ประทุษร้ายตลอดเวลา ได้เสวยทุกขเวทนาอันน่าทุเรศ เห็นปานนั้น
    เปรตมีขนเป็นปฏัก คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตบุรุษมีขนเป็นปฏัก ลอยอยู่ ในเวหาส ขนปฏักของเขาได้ลอยกระเด็นออกไปจาก ตัวแล้ว ก็กลับตกลงมาถูกต้องตัวเขาอีกอยู่ตลอดเวลา เขาก็ได้แต่ร้องครวญครางอย่างเจ็บปวดรวดร้าว สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าประวัติ เปรตตนนี้ว่า ในชาติก่อน เปรตผู้มีขนเป็นปฏักนี้ เขาเกิดเป็นมนุษย์ มีอาชีพเป็นคนฝึกม้า ใช้ปฏักทิ่มแทงม้าและบางทีก็ แทงม้าตายคาปฏัก เมื่อแตกกายทำลายขันธ์แล้ว ก็ตกนรกหมกไหม้อยู่สิ้นกาลช้านาน ครั้นหมดกรรม จากแดนนรกแล้ว เศษกรรมยังมี จึงต้องมาเกิดเป็น เปรตมีขนเป็นปฏักและถูกขนจัญไรแห่งตนประทุษร้าย เอาตลอดเวลา ได้เสวยทุกขเวทนาอันน่าทุเรศ เห็นปานนั้น
    เปรตมีขนเป็นเข็ม คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตบุรุษมีขนเป็นเข็ม ลอยอยู่ ในเวหาส ขนเข็มของเขาได้ลอยกระเด็นออกไปจาก ตัว แล้วกลับตกลงมาแทงเข้าไปที่ศีรษะแล้วออกทาง ปาก แทงเข้าไปในปากแล้วออกทางอก แทงเข้าไป ในอกแล้วออกทางท้อง แทงเข้าไปในท้องแล้วออก ทางขาอ่อน แทงเข้าไปที่ขาอ่อนแล้วออกทางแข้ง แทงเข้าไปในแข้งแล้วออกทางเท้า เขาก็ได้แต่ส่งเสียง ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดเป็นยิ่งนัก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าประวัติเปรต ตนนี้ว่า ในชาติก่อน เปรตมีขนเป็นเข็มนี้ เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้มีวาจาไม่บริสุทธิ์ ประพฤติทุจริตทางวาจา คือ กล่าวส่อเสียดคนอื่นเป็นประจำ เมื่อแตกกาย ทำลายขันธ์ถึงแก่ความตายแล้ว ก็ตกนรกหมกไหม้ อยู่สิ้นกาลช้านาน ครั้นหมดกรรมพ้นจากแดนนรก แล้ว เศษกรรมยังมี จึงต้องเกิดมาเป็นเปรตมีขนเป็น เข็ม และถูกขนจัญไรแห่งตนประทุษร้ายเอาตลอดเวลา ได้เสวยทุกขเวทนาน่าทุเรศเห็นปานนั้น
    เปรตอัณฑภารี คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตบุรุษมีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อ ลอยอยู่ในเวหาส เปรตนั้น เมื่อเดินไปในอากาศ ก็แบกอัณฑะไว้บนบ่าอยู่ตลอดเวลา เมื่อจะนั่ง ก็นั่งทับอัณฑะอันใหญ่ของตนนั้น แล้วถูกแร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้างตามจิกตามทึ้งอยู่มากมาย เปรตบุรุษนั้น ก็ได้แต่ส่งเสียงร้องครวญคราง ด้วยความเจ็บปวดเป็นยิ่งนัก สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าประวัติเปรตตนนี้ว่า ในชาติก่อน เปรตผู้มีอัณฑะใหญ่นี้ เกิดเป็นมนุษย์ มีอาชีพเป็นผู้พิพากษาตัดสินอรรถคดีโกง เมื่อแตกกาย ทำลายขันธ์แล้ว ก็ตกนรกหมกไหม้อยู่สิ้นกาลช้านาน ครั้นหมดกรรมพ้นจากแดนนรกแล้ว เศษกรรมยังมี จึงต้องมาเกิดเป็นเปรตมีอัณฑะใหญ่และถูกแร้งกา นกตะกรุมรุมจิกทึ้งอยู่ตลอดเวลา ได้เสวยทุกขเวทนา อันน่าทุเรศเห็นปานนั้น
    เปรตในหลุมคูถ สมัยหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตบุรุษจมอยู่ในหลุมคูถ จนมิดศีรษะ เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่สุด สมเด็จพระมิ่งมงกุฏสัมมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสเล่าประวัติเปรต ตนนี้ว่า ในชาติก่อน เปรตผู้อยู่ในหลุมคูถนั้นเกิดเป็นมนุษย์ ผู้ประพฤติกามมิจฉา คือประพฤติผิดในทางกาย เป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น เมื่อตายแล้ว ได้ไปเกิด เป็นสัตว์นรก เสวยทุกข์โทษสิ้นกาลช้านาน ครั้นหมด กรรมพ้นจากขุมนรกแล้ว เศษกรรมชั่วยังมี จึงต้อง มาเกิดในเปตติวิสัยภูมิ เป็นเปรตอยู่ในหลุมคูถ ต้องทนทุกข์เห็นปานนั้น
    เปรตกินคูถ คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตบุรุษผู้จมอยู่ในหลุมคูถ ใช้มือทั้งสองกอบโกยกินคูถอยู่ตลอดเวลา เป็นที่น่า อัศจรรย์เป็นที่สุด สมเด็จพระมิ่งมงกุฏสัมมาสัมพุทธ เจ้า ได้ตรัสเล่าประวัติเปรตตนนี้ว่า ในชาติก่อนเขาเกิดเป็นมนุษย์ในวรรณะพราหมณ์ มีความคิดอันลามก นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ในพระศาสนา ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน เพื่อให้ไป ฉันภัตตาหารที่เรือนของตนแล้ว ปรารถนาจะแกล้ง เยาะเย้ย เมื่อพระภิกษุสงฆ์มายังเรือนตนตามคำนิมนต์ แล้ว จึงเอาคูถใส่จนเต็มรางแล้วใช้ให้คนไปบอกแก่ พระภิกษุสงฆ์ว่า "ท่านเจ้าขา ขอท่านทั้งหลายจงพากันฉันคูถ และจงนำ เอาไปให้พอแก่ความต้องการเถิด" เมื่อเขาดับขันธ์สิ้นชีวิตแล้ว ได้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เสวยทุกข์โทษสิ้นกาลช้านาน ครั้นหมดกรรมพ้นจาก ขุมนรกแล้ว เศษกรรมชั่วยังมี จึงต้องมาเกิดเป็นเปรต กินคูถอยู่เช่นนั้น
    เปรตหญิงไม่มีผิวหนัง สมัยหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตหญิงตนหนึ่ง ซึ่งไม่มีผิวหนัง ลอยอยู่ในเวหาส เหล่าแร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างโผถลารุมตามจิกทึ้งอยู่ตลอดเวลา … ในชาติก่อน เปรตนี้เกิดเป็นมนุษย์ มีจิตใจไม่บริสุทธิ์ ได้ประพฤตินอกใจสามี ไปคบชู้อยู่กับบุรุษอื่น เมื่อดับขันธ์ สิ้นชีวิตแล้วได้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เสวยทุกข์โทษสิ้น กาลนาน ครั้นหมดกรรมจากขุมนรกแล้ว เศษกรรมชั่ว ยังมี จึงต้องมาเกิดในเป็นเปรตนี้
    เปรตมังคุพิตถี สมัยหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตหญิงตนหนึ่ง ซึ่งมีกลิ่น เหม็นสาบเหม็นสางน่าเกลียดน่าขยะแขยงเป็นที่สุด ลอยอยู่ในเวหาส หมู่แร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างพากกันโผถลาตาจิกทึ้งอยู่ตลอดเวลา หญิงเปรต นั้นก็ให้แต่ส่งเสียงร้องครวญครางอยู่อย่างน่าสงสาร เป็นที่สุด … ในชาติก่อน เปรตหญิงนี้เกิดเป็นมนุษย์มีอาชีพไม่ บริสุทธิ์ คือ เป็นหญิงแม่มดอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้ เมื่อตายไปแล้วได้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เสวยทุกข์โทษ อยู่สิ้นกาลช้านาน ครั้นหมดกรรมพ้นจากขุมนรกแล้ว เศษกรรมชั่วยังมี จึงต้องมาเกิดในเป็นเปรตนี้
    เปรตมีน้ำเหลืองไหล สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะองค์อรหันต์ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตหญิงตนหนึ่ง ซึ่งมีน้ำเหลือง ไหลเยิ้มตลอดร่างกายเต็มไปด้วยถ่านเพลิงล่องลอย อยู่ในเวหาส มีหมู่แร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง รุมจิกทึ้งอยู่ตลอดเวลา … ในชาติก่อน เปรตหญิงตนนี้เกิดเป็นมนุษย์สูงศักดิ์ ได้เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีกาลิงคะ คราวหนึ่งเกิดความหึงหวงขึ้นมา จึงได้เอาเตาซึ่ง เต็มไปด้วยถ่านเพลิง เทสาดลงไปในร่างกายของ หญิงร่วมพระราชสวามีคนหนึ่ง เมื่อถึงกาลกิริยา แล้ว ได้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เสวยทุกข์โโทษอยู่ สิ้นกาลช้านาน ครั้นหมดกรรมจากนรก เศษบาป กรรมยังมี จึงต้องมาเกิดเป็นเปรตนี้
    เปรตหัวด้วน คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลนเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตตนหนึ่งซึ่งไม่มีศีรษะ มีตาและ ปากอยู่ที่อก ลอยอยู่ในเวหาส มีหมู่แร้ง กา และนกตะกรุม พากันรุมจิกรุมทึ่งอยู่ตลอดเวลา… ในชาติก่อน เปรตตนนี้เกิดเป็นมนุษย์ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ คือเป็นเพชฌฆาตผู้ฆ่าโจร เมื่อดับชีวิตได้ไปเกิดเป็นสัตว์ นรก ครั้นหมดกรรมจากขุมนรก เศษกรรมชั่วยังมี จึงต้องมาเกิดเป็นเปรตนี้
    เปรตบรรพชิต คราวหนึ่ง องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีทิพยจักษุ ได้เห็นเปรตซึ่งมีรูปร่างเป็นภิกษุ เปรตมี รูปร่างเป็นภิกษุณี เปรตมีรูปร่างเป็นสิกขมานา เปรต มีรูปร่างเป็นสามเณร และเปรตมีรูปร่างเป็นสามเณรี เปรตเหล่านี้ล่องลอยอยู่ในเวหาส บาตรก็ดี จีวรก็ดี ประคตเอวก็ดี ของเปรตเหล่านั้นลุกเป็นเปลวเพลิง โชติช่วงแผดเผาร่างกายอยู่ตลอดเวลา… ในชาติก่อน เปรตเหล่านั้น ได้เกิดเป็นมนุษย์มีโอกาส ประเสริฐสุด โดยได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ภิกษุณี สิกขามานา สามเณร และสามเณรี ในพระบวร พุทธศาสนาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระกัสสปะจอมมุนีเจ้า แต่เขาเหล่านั้นประพฤติผิด ธรรม ผิดวินัย มีอาจาระอันชั่วช้า ไม่นำพาต่อการ ที่จะปฏิบัติตามกระแสพุทธฎีกา เมื่อถึงกาลกิริยาแล้ว ก็ได้ไปเกิดเป็นสัตว์นรกอยู่สิ้นกาลช้านาน ครั้นหมดกรรม จากแดนนรก เศษกรรมชั่วยังมีจึงต้องมาเกิดเป็นเปรตนี้
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-เปรตมิจฉาทิฏฐิ-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เป็นเปรตประเภทที่ตายจากมนุษย์แล้ว ก็ตรงไปเกิดเป็นเปรตเลยทีเดียว
    บรรดาเปรตทั้งหลายที่กล่าวมานี้ ทั้งเปรตเศษบาปและ เปรตมิจฉาทิฏฐิ ต้องเสวยทุกขเวทนาทนทุกข์ทรมาน โดยใครจะช่วยเหลือด้วยประการใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น ญาติมิตรในถิ่นมนุษย์จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ก็ไม่ได้รับ เพราะมัวแต่ก้มหน้าก้มตาเสวยกรรมชั่วจน ไม่มีเวลา จิตใจยังไม่เลื่อมใสใคร่ที่จะรับส่วนบุญ ของใคร และเพราะเกิดเป็นเปรตด้วยอำนาจอกุศล กรรมและเศษบาปอกุศลกรรม จึงจำเป็นที่จะต้อง เสวยผลไปจนกว่าจะสิ้นกรรม ต่อเมื่อสิ้นกรรม ตายจากความเป็นเปรตที่ต้องทนทุกข์ทรมาน มาเกิดเป็นเปรตอีกประเภทหนึ่ง จึงจะคอยรับ ส่วนบุญได้ คือ
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-เปรตปรทัตตูปชีวี-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เปรตประเภทปรทัตตูปชีวีเปรตนี้ เป็นเปรตโชคดีจำพวก เดียวเท่านั้นที่จะสามารถรับส่วนบุญกุศลซึ่งพวกญาติมิตร อุทิศให้แต่โลกมนุษย์ได้ ทั้งนี้เพราะเปรตพวกนี้มีอกุศล อันเบาบาง จึงมีจิตยินดีที่จะอนุโมทนาส่วนกุศล โดยที่ตนมีความอยากข้าวและน้ำเป็นกำลัง จึงท่องเที่ยว เซซังไปมา นึกถึงหมู่ญาติของตนว่าใครอยู่ไหนบ้าง ครั้นนึกได้และพบเจอเข้า ก็จะคอยอยู่ใกล้ๆ คอยท่าโดย หวังว่าเมื่อไหร่ญาติจะทำบุญกุศลแล้วก็คงอุทิศให้ตนบ้าง ครั้นญาติมิตรทำบุญกุศลแต่ลืมอุทิศให้หรืออุทิศให้แต่ คนอื่น เขาก็เดินวนไปวนมา ใบหน้าหม่นหมองเศร้าสร้อย เพราะผิดหวัง บางทีน้อยใจถึงกับล้มซบสลบลงด้วยความ หิวโหยสุดประมาณ แล้วก็หวังรอคราวหน้าต่อไป
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-เปรตและอสุรกาย-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    มีสัตว์อีกประเภทหนึ่ง มีชีวิตความเป็นอยู่และการเสวย ทุกขเวทนาคล้ายคลึงกับสัตว์เปรตเป็นอันมาก ก็คือ อสุรกาย สัตว์ทั้งหลายที่กรรมชั่วชักนำให้ไปอุบัติเกิด เป็นสัตว์อสุรกายแล้ว ย่อมจะไม่มีความร่าเริงเลย เป็นอันขาด เรียกว่า อสุรกายภูมิ = ภูมิที่อยู่ของสัตว์ ซึ่งปราศจากความร่าเริงสนุกสนาน
    อสุรกายทั้งหลายมีชีวิตอยู่อย่างลำเค็ญเช่นเดียวกับ เหล่าเปรต เช่น บางอสุรกายมีสรีระร่างกายน่าทุเรศพิลึก ผ่ายผอมนักหนา แต่ว่าสูงชะลูดนับได้เป็นร้อยเป็นพันวา ขึ้นไป เนื้อและโลหิตในสรีระร่างไม่มีเลย มีแต่หนังหุ้ม กระดูก เป็นสัตว์ตายซาก ประดุจดังใบไม้แห้ง เหม็นสาบ เหม็นสางสุดประมาณ ดวงตาเล็กนักหนา เท่ากับตา แห่งปูที่เราเห็นในมนุษยโลกนี้เท่านั้น ตาของเขาตั้งอยู่ บนศีรษะตรงกระหม่อม เขามีมุขทวารช่องปากเล็กยิ่งนัก ประมาณเท่ารูเข็มเท่านั้น ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับดวงตานั่นเอง
    ความเป็นอยู่ก็แสนลำบากยากเข็ญ ต้องหิวกระหายอยู่ ตลอดเวลาเพราะการแสวงหาอาหารยากลำบากนัก เพราะตาเล็กเหลือเกิน ที่ตั้งก็บนศีรษะกลางกระหม่อม เมื่อเจออาหารแล้วจะบริโภคแต่ละครั้งแต่ละหน ก็แสนลำบากยากเย็น จึงต้องเอาหัวปักลงมาข้างล่าง เอาตีนชี้ฟ้า กว่าอาหารจะเข้าปากได้ก็แสนยากเย็นอีก เพราะปากเล็กเท่ารูเข็ม ต้องเสวยกรรม ทนทุกข์ทรมาน หิวกระหายอยู่อย่างนี้ เป็นเวลาหลายพันหลายหมื่นปี จนกว่าจะสิ้นอกุศลกรรมที่ทำไว้
    โดยมาก อกุศลกรรมที่ทำด้วยโลภเจตนาย่อมส่งผล ให้มาเกิดเป็นอสุรกาย เช่น ครั้งเป็นมนุษย์มีความโลภ ประจำดวงจิต ประกอบทุจริตด้วยการปล้นลักขโมย หรือฉ้อโกงทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ไม่รู้จักประกอบอาชีพ เห็นผู้อื่นมีทรัพย์ก็ริษยาปรารถนาจะทำลายล้างหรือ เอามาเป็นของตน หรือไม่ก็เป็นคนละโมบหน้ามืดจน ฉ้อโกงทรัพย์สินอันเป็นของสงฆ์ซึ่งคนอื่นเขามีศรัทธา อุทิศเป็นทานวัตรนับเข้าในสังฆทาน หรือมิฉะนั้น เห็นเขาขุดบ่อขุดสระ สร้างสาธารณสถาน ก็อยากจะได้ เอามาเป็นของตน เมื่อไม่ได้ ก็หาทางทำลายล้าง ไม่ให้ผู้อื่นบริโภคใช้สอย ด้วยน้ำจิตริษยาเป็นพาลชน
    ภูมิทั้งสองนี้ ใกล้ชิดติดกันมาก ฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกติดต่อ กันว่า เปรตอสุรกาย แต่ก็มีข้อแตกต่างพอจะสังเกตได้ ดังนี้
    ๑. ในเปตติวิสยภูมินั้น เปรตทั้งหลายนอกจากต้องเสวยผล กรรมชั่วที่ทำไว้ ในลักษณะต่างๆ ตามประเภทกรรมแล้ว ยังต้องประสบทุกขเวทนา เพราะความอยากอาหารเป็น ส่วนมาก ตลอดเวลามิได้บริโภคโภชนาหารเลย ต้องทุกข์ ทรมานเพราะความหิวโหยอย่างเหลือประมาณ จนกว่าจะ สิ้นกรรม
    ๒. ในอสุรกายภูมินั้น อสุรกายทั้งหลายย่อมประสบ ทุกขเวทนาเพราะความกระหายน้ำเป็นส่วนมาก มาเป็น อสุรกายเพราะวิบากแห่งอกุศล กระแสชลจะได้หยดถูก ปลายชิวหามาตรว่าจะให้เปียกสักนิดเป็นไม่มีเลย ตลอด เวลา ๒-๓ พุทธันดร บางทีเห็นบ่อบึงและมหานทีก็ยินดี ว่าจะได้ดื่มกินน้ำ พยายามตะเกียกตะกายไป แต่พอไป ถึงก็ไม่มีมหาชล น้ำในท้องนทีก็กลับกลายเป็นเพลิง รุ่งโรจน์โชตนาการเผาตน หรือบางทีก็กลายเป็นแผ่นศิลา อันแห้งผาก อสุรกายเหล่านั้น ก็มีจิตเหือดแห้งด้วย กระหายน้ำ ต้องเสวยทุกขเวทนาเพราะความกระหายน้ำ อยู่อย่างนี้ จนกว่าจะสิ้นอกุศลกรรมที่ทำไว้แต่ปางหลัง
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-บาปที่ให้เกิดเป็นเปรต-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
    ก. กายกรรมหรือการทำบาปทางกายมี ๓ คือ ฆ่าสัตว์ - ลักทรัพย์ - ประพฤติผิดในกาม
    ข. วจีกรรมหรือการทำบาปทางวาจามี ๔ คือ พูดเท็จ - พูดส่อเสียด - พูดคำหยาบ - พูดเพ้อเจ้อ
    ค. มโนกรรมหรือบาปทางใจมี ๓ คือ โลภอยากได้ของเขา - พยาบาทปองร้ายเขา - มิจฉาทิฏฐิเห็นผิดจากคลองธรรม
    ใครประพฤติอกุศล ๑๐ ประการนี้ ก็ได้ชื่อว่านำตน เดินไปตามปฏิปทาทางไปสู่โลกเปรตอสุรกายแล้ว หากอกุศลกรรมมากก็ไปเสวยผลในนรกก่อนแล้วจึง มาเสวยเศษกรรมชั่วเป็นเปรตอสุรกาย หากอกุศล กรรมเบาบางไม่ถึงขั้นต้องตกนรกก็ไม่ต้องผ่านแดน นรก ตรงไปเกิดเป็นเปรตอสุรกายเลยทีเดียว จบ "เปตติวิสยภูมิ"
    ตอนต่อไป "ติรัจฉานภูมิ" :>
    *********************************************
    จาก "ภูมิวิลาสินี" โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2010
  4. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    ติรัจฉานภูมิ

    [​IMG]


    ภูมิวิลาสินี (บางส่วน) ตอนที่ 4
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
    "ติรัจฉานภูมิ"

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ประเภทเดียรัจฉาน-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ติรัจฉานภูมิ หรือโลกแห่งสัตว์เดียรัจฉานนี้ เห็นได้ง่าย กว่าโลกนรกโลกเปรตอสุรกาย และสัตว์ทั้งหลายที่ไป อุบัติเกิดในภูมินี้ ย่อมพอจะมีความชื่นชมยินดีอยู่บ้าง ไม่ต้องเสวยทุกขเวทนาจนหน้าดำคร่ำเครียดอยู่ตลอด เวลาเหมือนสัตว์นรกและเปรตอสุรกาย โดยเหตุที่มี อกุศลเบาบาง แม้เขาจะประสบความลำบากยากแค้น ประการใดก็ดี ก็ยังมีเหตุที่จะให้ชื่นชมยินดีอยู่ ๓ ประการคือ ๑. การกิน ๒. การนอน ๓. การสืบพันธุ์
    เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพากันไปเกิดในภูมินี้ ย่อมมีความยินดีในเหตุทั้ง ๓ ประการดังกล่าว ฉะนั้น ภูมินี้จึงมีชื่อเรียกว่า ติรัจฉานภูมิ = โลกของสัตว์ ที่มีความยินดีในเหตุสามประการ
    อนึ่ง คำว่าติรัจฉานภูมินี้ ยังหมายความอีกอย่างหนึ่ง ก็ได้ คือหมายความว่า "โลกของสัตว์ผู้ไปโดยขวาง" ซึ่งมีอรรถาธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่ไปเกิดในภูมินี้ เวลา จะไปไหนมาไหน ต้องอยู่ตามขวาง อยู่ตามยาว ต้องคว่ำอกไป พึงเห็นสัตว์เดียรัจฉานอยู่ข้างๆ ตัว เวลานี้ เช่น เนื้อ หมู หมา เป็ด ไก่ เป็นอาทิ นอกจากร่างกายจะมีสภาวะไปอย่างขวางๆ ดังกล่าว ในส่วนจิตใจของเขาก็ยังขวางอีกด้วย คือ ขวางจาก มรรคผลนิพพาน สัตว์ทั้งหลายที่ไปเกิดในภูมินี้ ถึงจะพยายามทำดีสักเท่าไร จะมีจิตใจประเสริฐ เลิศล้นสักแค่ไหน มีวาสนาบารมีมาเพียงไร ก็ไม่สามารถ บรรลุมรรคผลนิพพานในชาติที่เป็นสัตว์เดียรัจฉานได้ เป็นอันขาด เพราะเป็นอาภัพสัตว์จัดอยู่ในพวก อบายภูมิ จึงไม่อาจที่จักได้บรรลุอมตสมบัติ จะได้ อย่างมากก็เพียงสวรรค์สมบัติเท่านั้น
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ติรัจฉาน-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อจะกล่าวโดยประเภท สัตว์เดียรัจฉานนั้นมีอยู่ ๔ ประเภทคือ
    ๑. อปทติรัจฉาน สัตว์เดียรัจฉานประเภทที่ไม่มีเท้า ไม่มีขา ได้แก่งู ปลาและไส้เดือน เป็นต้น
    ๒. ทวิปทติรัจฉาน สัตว์เดียรัจฉานประเภทที่มีขา ๒ ขา มีเท้า ๒ เท้า ได้แก่ แร้ง กา นกตะกรุม ไก่ เป็ด เป็นต้น
    ๓. จตุปทติรัจฉาน สัตว์เดียรัจฉานประเภทที่มีขา ๔ ขา มีเท้า ๔ เท้า ได้แก่ หมา แมว ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
    ๔. พหุปทติรัจฉาน สัตว์เดียรัจฉานประเภทที่มีขามาก มีเท้ามากกว่า ๔ เท้าขึ้นไป ได้แก่ มด ปลวก กิ้งกือ ตะเข็บ ตะขาบ เป็นต้น
    ติรัจฉานภูมิ เป็นภูมิที่ใกล้ชิดกับมนุษยภูมิคือโลกมนุษย์ เป็นที่สุด ดังนั้น พวกสัตว์เดียรัจฉาน จึงมีรูปร่างปรากฏ เป็นตัวเป็นตน มนุษย์หรือคนเราจึงสามารถเห็นได้ อยู่ร่วมกันได้ ไม่เหมือนสัตว์ในอบายภูมิเหล่าอื่น ในการกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์เดียรัจฉาน จึงจะกล่าวย่อๆ ดังนี้ ก. สถานที่ สัตว์ที่ไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานแล้ว ย่อมไม่อยู่เป็นที่ เพราะไม่มีที่อยู่ของตนโดยเฉพาะ เที่ยวอยู่ไปมาทั่วๆ ไป ในพื้นปฐพีนี้ ไม่เหมือนสัตว์นรกทั้งหลายที่มีที่อยู่ เป็นขุมๆ ข. ความเป็นอยู่ สัตว์เดียรัจฉาน มีความเป็นอยู่ลำบากยากเข็ญกว่า มนุษย์มากมายนัก เพราะเป็นสัตว์มีภัยแห่งชีวิตรอบด้าน ชีวิตของเขาจะอยู่รอดไปได้แต่ละวันนั้น แสนจะลำบาก ยากเย็น เป็นชีวิตที่ตกต่ำแสนจะอาภัพ ได้รับแต่ความ ไม่สบายรอบด้าน ต้องแสวงหาอาหารกินตลอดเวลา กว่าจะได้ก็ยากนักหนา
    เหล่าสัตว์ที่มาเกิดในติรัจฉานภูมินี้ ก็เพราะอำนาจแห่ง เศษบาปอกุศลที่ตนได้กระทำไว้แต่ปางก่อน เช่น คนหนึ่งๆ ทำบาปหนักไว้ ครั้นขาดใจตายไปตกนรก สิ้นกาลช้านาน เมื่อพ้นจากกรรมในนรกเศษบาปยัง ไม่สิ้น ก็ต้องไปเกิดเป็นเปรตอสุรกาย ทีนี้ ถึงแม้ว่าจะ หมดบาปจากเปรตอสุรกายแต่เศษบาปยังมีอยู่ ก็ต้องมากเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน จำพวกหนึ่ง อีกจำพวกหนึ่ง ครั้นสิ้นกรรมพ้นจากนรกแล้ว ก็มาเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานเลยทีเดียวโดยไม่ต้อง ผ่านแดนเปรตอสุรกาย จุติปฏิสนธิแห่งสัตว์ทั้งหลาย นั้นไม่แน่นอนยุติลงอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ย่อมเป็นไป สุดแต่กรรมจะบันดาลชักพา
    ทางไปติรัจฉานภูมิก็คือความประพฤติชั่วช้าลามก และการกระทำอันเป็นบาปหยาบช้า ซึ่งรวมเรียกว่า "อกุศลกรรม" นั่นเอง อกุศลกรรมชนิดเดียวกับ ที่เป็นเครื่องชักนำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรกเปรตอสุรกาย นั่นแหละ
    จบ "ติรัจฉานภูมิ"
    ตอนต่อไป "มนุสสภูมิ" :>
    *********************************************
    จาก "ภูมิวิลาสินี" โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2010
  5. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    มนุสสภูมิ

    [​IMG]



    ภูมิวิลาสินี (บางส่วน) ตอนที่ 5
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
    "มนุสสภูมิ"

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ประเภทแห่งมนุษย์-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    มนุสสภูมิ หรือโลกมนุษย์นี้ เป็นโลกที่อาศัยแห่งสัตว์ ผู้มีใจสูง เมื่อแยกคำออกมาก็เป็น มน + อุสส + ภูมิ มน = ใจ อุสส = สูง ภูมิ = ที่อาศัย รวมกันเป็น มนุสสภูมิ ก็แปลว่า ที่อาศัยของสัตว์ผู้มีใจสูง ซึ่งได้แก่ โลกมนุษย์ อันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งมนุษย์เรานี่เอง
    ที่ว่ามนุษย์เป็นผู้มีใจสูงนั้น ก็เพราะมีใจสูงส่งกล้าหาญ องอาจกล้าหาญในการประกอบกรรมต่างๆ ยิ่งนัก ขึ้นชื่อว่ากรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรือเป็น อกุศลกรรม สัตว์ในภูมิอื่นใด ที่จะใจกล้าสามารถกระทำ ให้เกินมนุษย์เป็นไม่มี
    กล่าวคือ ในกรณีแห่งอกุศลกรรม คือ กรรมที่ชั่วช้าลามก สัตว์ในมนุสสภูมิองอาจสามารถกระทำได้อย่างยอดเยี่ยม ตั้งแต่บาปกรรมที่มีโทษเล็กน้อย จนกระทั่งถึงบาปกรรม ที่มีโทษสูงสุดเป็นอุกฤษฏ์ อาทิเช่น ปาณาติบาตอกุศล กรรม มนุษย์ก็สามารถฆ่าได้ตั้งแต่สัตว์เล็กๆ เช่น กุ้ง ปู ปลา มาเป็นอาหารเป็นประจำ ไปจนถึงสัตว์ใหญ่ๆ ไปจน ถึงสัตว์ที่ว่าดุร้ายเป็นถึงเจ้าป่า เจ้าไพร เช่น เสือสมิง สมิงร้าย ควายป่า กระทิงเถื่อน ที่ว่าดุร้ายน่าเกรงขาม นักหนา ก็เคยปรากฏว่าถูกมนุษย์ใจหาญ ฆ่าให้ตายมา เสียมากต่อมากแล้ว นอกจากนั้น ยังฆ่ามนุษย์ด้วยกันเอง ด้วยโทสะก็ตาม ด้วยอาฆาตพยาบาทก็ตาม บางมนุษย์ ก็มีอาชีพเป็นเพชฌฆาตฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกันตั้งแต่ หนึ่งคนไปจนเป็นร้อยเป็นพันคน นอกจากนั้นมนุษย์ ยังอาจหาญฆ่าผู้มีพระคุณต่างๆ เช่น บิดามารดา ครูบาอาจารย์ อันเป็นบาปสูงสุดขนาดอนันตริยกรรม ได้ ฉะนั้น จึงได้นามว่า มนุษย์ = ผู้มีใจสูงในเชิง กล้าหาญที่จะประกอบอกุศลกรรม
    ในกรณีแห่งกุศลกรรม คือ กรรมที่ดีงามเป็นบุญเป็นคุณ สัตว์ที่มาอุบัติเกิดในมนุสสภูมินี้ ก็องอาจสามารถที่จะ กระทำได้อย่างยอดเยี่ยมอีกเช่นเดียวกัน เช่น การให้ ทาน มนุษย์ทั้งหลายก็กระทำกันเป็นประจำ ไม่ว่า จะเป็นชาติไหนภาษาไหน ทุกกาลทุกสมัย นอกจากจะ ให้ทานกับเพื่อนมนุษย์แล้ว ยังมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ทานแก่สัตว์ในภูมิอื่นอีกด้วย เช่น ให้อาหารเป็นทาน กับเป็ด ไก่ หมู หมา นอกจากนั้น ยังกระทำกองกุศล ซึ่งสูงขึ้นไปกว่าทานคือการรักษาศีล ในมนุษยโลก มีการรักษาศีลตามกำลังความสามารถของแต่ละ มนุษย์ บางมนุษย์มีศรัทธารักษาศีล ๕ บางมนุษย์ ใจกล้ารักษาศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือใจกล้าหาญสูงลิบ อุตส่าห์รักษาศีล ๒๒๗ เหล่าสัตว์ในภูมิอื่นใด จักมี น้ำใจกล้าหาญองอาจ รักษาศีลได้อย่างมนุษย์เป็น ไม่มีแน่ นอกจากจะมีน้ำใจอาจหาญสมาทานศีล ได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ในกุศลอันสูงส่งยิ่งกว่าศีล คือการบำเพ็ญภาวนา มนุษย์ผู้มีใจกล้าหาญก็พยายาม บำเพ็ญมาตลอดทุกยุคทุกสมัย มีน้ำใจรักใคร่ในการ บำเพ็ญสมถภาวนาจนได้สำเร็จฌานไปอุบัติเกิดเป็น พระพรหมผู้วิเศษ ณ พรหมโลกต่างๆ ดังนี้ก็มีอยู่เป็น อันมากเหลือที่จะคณนา ครั้นมาถึงกาลพิเศษ เหตุเป็นกาลที่มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ มาอุบัติตรัสในโลก ก็ทรงมิใช่ใครผู้ใดในภูมิอื่นเลย โดยที่แท้ ทรงเป็นมนุษย์อุบัติเกิดในมนุสสภูมินี่เอง ทรงมีพระวิริยะอย่างยอดเยี่ยม เมื่อมีพระมนัส มุ่งหมายพระบรมโพธิญาณ ก็ทรงมีพระทัยอาจหาญ บากบั่นแสวงหาสัจธรรม มิได้ทรงนำพาอาลัยถึง ความลำบากแห่งพระวรกาย จนกระทั่งได้บรรลุ พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ได้สำเร็จเป็นองค์เอก อัครบรมศาสดาจารย์ ต่อจากนั้นก็ทรงมีพระมหา กรุณาสั่งสอนมนุษย์ใจกล้าผู้เป็นสาวกทั้งหลาย ให้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา จนกระทั่งได้สำเร็จ มรรคผลเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา ตามกำลังแห่งวาสนาบารมี คือบางท่านก็ได้เป็น พระอรหันต์ เป็นพระอนาคามี เป็นพระสกิทาคามี บางท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน อย่างนี้ก็มีอยู่ มากมายนับไม่ถ้วนในมนุสสภูมิ อนึ่งเล่า พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มาอุบัติตรัสรู้แต่ลำพังพระองค์ เดียว ในกาลที่โลกว่างจากพระบวรพุทธศาสนา ก็มาอุบัติในมนุสสภูมินี้ด้วยเหมือนกัน จึงเป็นอันว่า มนุษย์นี้มีใจสูงในเชิงกล้าหาญประกอบการกุศล ตั้งแต่ขั้นต่ำที่สุดจนกระทั่งถึงกุศลขั้นอุกฤษฎ์ คือ สูงสุดขนาดเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังกล่าวมานี้ ฉะนั้น จึงได้นามว่า มนุษย์ = ผู้มีใจ สูงในเชิงกล้าหาญที่จะประกอบการกุศลกรรม
    เมื่อทั้งประกอบอกุศลกรรมและกุศลกรรมได้ชนิด สูงสุดทั้งสองด้านแล้วนั้น เมื่อกล่าวถึงชีวิตความ เป็นอยู่ เหล่ามนุษย์ในมนุสสภูมินี้ ย่อมมีชีวิตความ เป็นอยู่แตกต่างกันไปแต่ละมนุษย์แต่ละชีวิต ส่วนความพิสดารแห่งชีวิตจะแตกต่างกันเป็น ประการใดบ้างนั้น ก็เป็นที่ซาบซึ้งกันดีอยู่แล้ว จึงจะไม่กล่าวถึงในที่นี้อีก
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-บุคคล ๔ จำพวก-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    (สังยุตินิกาย สคาถวรรค ข้อ ๓๙๔ หน้า ๑๓๖ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    บุคคล ๔ จำพวก คือ
    ๑. บุคคลผู้มืดมาแล้วมืดไป
    ๒. บุคคลผู้มืดมาแล้วสว่างไป
    ๓. บุคคลผู้สว่างมาแล้วมืดไป
    ๔. บุคคลผู้สว่างมาแล้วสว่างไป
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-กรรมของมนุษย์-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ก่อนอื่น ต้องทราบว่า เรื่องกรรมของมนุษย์นั้น ย่อมเป็นปัญหาใหญ่ ผู้คนทั้งหลายมักสงสัยว่า เป็นคนเหมือนกันแต่ทำไมไม่เหมือนกัน บางคนดี บางคนบ้า บางคนเป็นคนสูง บางคนเป็นคนต่ำ บางคนรวย บางคนยากจน บางคนมีปัญญา บางคนไร้ปัญญาอับวาสนา เพราะอะไรกัน
    กรรม! กรรมที่มนุษย์ทั้งหลายได้เคยกระทำไว้ นั่นเอง เป็นตัวแบ่งแยกให้คนทั้งปวงแตกต่างกันไป เช่นนั้น เพราะสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็น ทายาทแห่งกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและ ประณีตได้ อย่าได้สงสัยอะไรเลย
    ปฏิปทาให้มีอายุสั้น ดูกรมาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรี ก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นคนมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นอยู่ในการ ประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ครั้นเขาตายย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หากเขาตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แล้ว ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง เขาจะเป็นคนมีอายุสั้น
    ปฏิปทาให้มีอายุยืน ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีอายุยืนคือสตรีก็ตาม บุรุษ ก็ตาม เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ครั้นเขาตายไป ย่อมจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หากไม่เข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง เขาจะเป็นคนมีอายุยืน
    ปฏิปทาให้มีโรคมาก ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีโรคมาก คือสตรีก็ตามบุรุษ ก็ตาม เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือด้วย ก้อนดิน ด้วยท่อนไม้หรือด้วยศาสตรา
    ปฏิปทาให้มีโรคน้อย ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีโรคน้อย คือสตรีก็ตามบุรุษ ก็ตาม เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้หรือด้วยศาสตรา
    ปฏิปทาให้มีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีผิวพรรณทรามคือสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธความร้ายและความขึ้งเครียดให้ปรากฏ
    ปฏิปทาให้มีผิวพรรณงาม ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีผิวพรรณงามคือสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความ แค้นเคือง ถูกคนอื่นเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธความร้าย และความขึ้งเครียดให้ปรากฏ
    ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดาน้อยก็คือสตรี ก็ตามบุรุษก็ตาม เป็นคนมีใจริษยา ย่อมมีใจริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิสสาริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
    ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดามาก ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดามากคือเป็นสตรี ก็ตามเป็นบุรุษก็ตาม เป็นคนมีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิสสาริษยาในลาภสักการะความ เคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชาของคนอื่น
    ปฏิปทาให้มีโภคะน้อย ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีโภคะน้อย คือจะเป็นสตรี ก็ตามเป็นบุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่อาศัย เครื่อง ตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์
    ปฏิปทาให้มีโภคะมาก ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีโภคะมาก คือจะเป็นสตรี ก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่ กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนาแก่คนที่ควรให้อาสนนะ ไม่ให้ทางแก่คน ที่ควรให้ทาง ไม่สักการะแก่คนที่ควรสักการะ ไม่เคารพ คนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ ควรบูชา
    ปฏิปทาให้เกิดในตระกูลสูง ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้เกิดในตระกูลสูง คือจะเป็น สตรีก็ตามเป็นบุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่ควรให้อาสนะ ให้ทางแก่คนที่ควร ให้ทาง สักการะแก่คนที่ควรสักการะ เคารพแก่คน ที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา
    ปฏิปทาให้มีปัญญาทราม ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีปัญญาทรามคือจะเป็น สตรีก็ตามเป็นบุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ไม่เคย เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ แล้วสอบถามว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
    ปฏิปทาให้มีปัญญาหลักแหลม ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีปัญญาหลักแหลม คือสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหา สมณะหรือพราหมณ์ แล้วสอบถามว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
    ดูกรมานพ! สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อม จำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและประณีตได้ ด้วยประการฉะนี้
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ปฏิปทาให้เกิดมาเป็นมนุษย์-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ก่อนที่มนุษย์ทั้งหลาย จะได้มีโอกาสกลับมาเกิดเป็น มนุษย์ เป็นคนในมนุสสภูมินี้อีกนั้น มิใช่ว่าอยู่ๆ แล้ว พอตายไปก็กลับมาเกิดเป็นคนได้อีกอย่างง่ายดาย โดยที่แท้ จักกลับมาเกิดเป็นคนอีกได้ ก็เพราะมีเหตุ มีปัจจัย นั่นก็คือ มนุษยธรรม = ธรรมของมนุษย์ หรือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ นั่นก็คือ เบญจศีล หรือปัญจสิกขาบทนั่นเอง
    จบ "มนุสสภูมิ"
    ตอนต่อไป "เทวภูมิ" :>
    *********************************************
    จาก "ภูมิวิลาสินี" โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2010
  6. tong5959

    tong5959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,056
    ค่าพลัง:
    +6,083
  7. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    เทวภูมิ

    [​IMG]


    ภูมิวิลาสินี (บางส่วน) ตอนที่ 6
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
    "เทวภูมิ"
    โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดย คุณdeedi [ 9 ส.ค. 2542 ])
    เป็นส่วนหนึ่งของกระทู้ที่ 000214 เรื่อง กรรมวิบากและภพภูมิ
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ประเภทแห่งเทพ-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เทวภูมิ หรือโลกของทวยเทพนี้ เป็นโลกที่อยู่อาศัยแห่ง สัตว์ซึ่งเป็นทิพย์ มีแสงรุ่งเรือง เพราะคำว่าทิพย์นี้ หมายถึงว่ามีแสงรุ่งเรือง พูดให้ฟังกันง่ายๆ ก็ว่าเป็นที่อยู่ ของเหล่าเทวดาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่สวรรค์ชั้นฟ้า แดนสุขาวดีนั่นเอง
    การอุบัติของทวยเทพนั้น คือ มนุษย์ทั้งหลายซึ่งรวมทั้ง สัตว์เหล่าอื่น บรรดาที่ได้ก่อสร้างบุญกุศลเอาไว้ บุญกุศล นั้นก็จะนำส่งให้มาอุบัติเกิดในเทวโลกสรวงสวรรค์ และ เมื่อจะเกิดนั้น ก็เป็นอุปปัตติเทพ คือเป็นเทพยดาผู้อุบัติขึ้น ไม่ต้องนอนในครรภ์มารดาเหมือนดั่งมนุษย์ หรืออยู่ใน ฟองไข่เหมือนเช่นสัตว์เดียรัจฉานบางจำพวก อุบัติเกิดขึ้น มีรูปร่างเป็นทิพย์ ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นเทพบุตรเทพธิดา เลยทีเดียว เมื่อเขาอุบัติเกิดขึ้น ณ สรวงสวรรค์นั้นแล้ว จะตั้งอยู่ในฐานะอะไร เป็นเทพประเภทไหน นั่นก็สุดแต่ สถานที่ที่ตนอุบัติขึ้น คือ
    หากตนได้สร้างบุญกุศลไว้น้อย ไม่สามารถจะมีวิมาน ของตนเองได้ ไปอุบัติเกิด ณ ที่ตักของเทพองค์ใด ก็ตั้ง อยู่ในฐานะเป็นบุตรธิดาของเทพองค์นั้น
    หากเป็นสตรีสร้างบุญกุศลไว้ ตายแล้วไปอุบัติเกิดขึ้น เหนือแท่นที่บรรทมของเทพองค์ใด ก็ต้องเป็นบาทบริจาริกาขององค์เทพนั้น
    หากตนสร้างกุศลไว้น้อย มีวาสนาจะได้เป็นเพียงพนักงาน ตกแต่งประดับประดาอาภรณ์วิภูษิตเครื่องต้นเครื่องทรง ของเทพองค์ใด ก็ย่อมไปอุบัติเกิด ณ ที่ใกล้ๆ แท่นที่ บรรทมของเทพองค์ผู้จะเป็นนาย
    หากตนได้สร้างบุญกุศลไว้น้อย มีวาสนาจะได้เป็นเพียง เทวดาประเภทรับใช้ เป็นบริวารของเทพผู้มีบุญองค์ใด ก็ย่อมไปอุบัติเกิด ณ ภายในประสาทพิมานของเทพ องค์นั้นผู้จะเป็นนาย
    หากว่าไม่ได้อุบัติเกิดในบริเวณวิมานของเทพองค์ใด ทั้งสิ้น แต่อุบัติเกิดในที่ว่างระหว่างแดนต่อแดน ไม่ทราบ ว่าจะเป็นบริวารของเทพผู้เป็นเจ้าของวิมานไหน ในกรณีนี้ องค์จอมเทพมเหศักดิ์ ผู้ทรงเป็นอธิบดียิ่งใหญ่กว่าทวยเทพ ทั้งปวงในเมืองฟ้านั้น ย่อมจะเสด็จมาแล้วทรงพิพากษา ตัดสิน วิธีวินิจฉัยคดีของพระองค์ท่าน คือ หากเทวดา ที่อุบัติเกิดใหม่นั้น เกิดใกล้วิมานของเทพองค์ใด ก็ทรงตัดสิน ให้เป็นบริวารของเทพองค์นั้น หาว่าทรงเห็นว่าสถานที่ ที่ เทวดาอุบัติเกิดใหม่นั้น ตั้งอยู่กึ่งกลางพอดี ก็ทรงดูที่พักตร์ ของเทวดาผู้อุบัติใหม่ ว่าหันหน้าเล็งไปทางวิมานของเทพ องค์ใด ก็ให้เป็นบริวารของเทพองค์นั้น แต่ถ้าหากว่าเทพ ผู้อุบัติเกิดมาใหม่นั้นไม่แลดูวิมานของเทพองค์ใดเลย เฉยอยู่อย่างนั้น ก็จะทรงตัดสินให้ไปเป็นบริวารของ พระองค์เอง เพื่อเป็นการตัดปัญหา
    หากว่าตนได้เคยสร้างบุญกุศลไว้มากพอ ก็ได้ไปอุบัติเกิด ณ วิมานของตนเอง เพราะมีปราสาทพิมานพร้อมทั้งเทพ บริวาร คอยต้อนรับอยู่แล้ว ไม่ต้องเป็นบุตรธิดาหรือเป็น เทวดารับใช้ของเทพผู้ใด เป็นอยู่อย่างสบายอิสรเสรี มีความสุขเสวยทิพยสมบัติ อยู่ ณ เมืองแมนแดนสวรรค์นั้น
    เมื่อจะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ ทวยเทพทั้งปวงในแดน สุขาวดี ย่อมมีรูปโฉมโนมพรรณเป็นทิพย์สวยงามนักหนา สรีระกายาเนื้อตัวบริสุทธิ์ สะอาดปราศจากมลทินโทษ โดยประการทั้งปวง จะได้มีกลิ่นอันเหม็นและกลิ่นอัน ร้ายในกายของเขา เช่นมนุษย์เรานี้แม้แต่สักนิดหนึ่งเป็น ไม่มีเลย และเขาจะเนรมิตกายให้ใหญ่และเล็กเท่าใด ก็ได้ดังจิตปรารถนา เพราะกายาแห่งเขานั้นเป็นทิพย์ เทวดาจำนวน ๑๐-๘๐ องค์อาจจะเนรมิตตนลง ให้อยู่ใน สถานที่อันเล็กน้อยประมาณเท่าปลายเส้นผม ก็ย่อมทำได้ ยกตัวอย่างเช่น ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเรา ท่าน ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ บางกาลหมู่เทวดาทั้งหลาย ได้พากันมาเฝ้าพระองค์ เพื่อสดับตรับฟังพระสัทธรรม เทศนา บางครามีประมาณมายมากนับจำนวนได้ถึง ๑๐๐๐๐ โกฏิ ถ้าว่า เมื่อไม่เนรมิตกายให้เล็กลงแล้ว ไหนเลยสถานที่จักมีพอ ฉะนั้น เขาจึงพากันเนรมิตกาย ลงให้เล็กนักหนา แล้วตั้งใจสดับพระธรรมเทศนา ได้โดยสะดวกดาย
    อนึ่ง เหล่าเทพยดาทั้งหลาย ย่อมบริโภคสุธาโภชนาหาร อันเป็นทิพย์ตามเทพวิสัย สุธาโภชนาหารที่เขาบริโภค เข้าไปแล้วนั้น ย่อมแห้งเหือดหายไปในกายของเขา จนหมดสิ้น จะได้ปรากฏเหลือเป็นมูตรคูถ ซี่งมีกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจ ดั่งเช่นมนุษย์ก็หาไม่ ตราบใดที่ยังมีชีวิต เป็นเทพอยู่บนสรวงสวรรค์ ตราบนั้น อุปัทวันตรายใดๆ อันเกิดแต่โรคภัยไข้เจ็บก็ดี หรือศาสตราวุธต่างๆ ก็ดี ที่จะมีเบียดเบียนบีฑาแม้แต่สักนิดหนึ่ง เป็นไม่มีเลย ย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสุขสำราญชื่นบานนักหนา ย่อมทรงผ้าผ่อนสรรพเครื่องประดับอลังการอันเป็นทิพย์ มีรัศมีรุ่งเรืองส่องสว่างเป็นยิ่งนัก โดยที่แท้ผ้าของเทพยดา ย่อมเป็นผ้าทิพย์ผืนเล็กนิดเดียวมีประมาณเท่าดอกปีบ เท่านั้น ครั้นเขาคลี่ออกปรารถนาจะนุ่งห่มนั้น ก็จะพลัน เป็นผ้าอัศจรรย์มีประมาณใหญ่ยาวและกว้าง พอแก่ร่าง ของเทพยดาผู้เป็นเจ้าของ
    อนึ่ง รัศมีทั้งผอง คือ รัศมีแห่งอาภรณ์วิภูษิตต่างๆ ก็ดี รัศมีแห่งประสาทพิมานที่ทวยเทพสถิตอยู่ก็ดี และรัศมีแห่งกายตัวของเทพยดาทั้งหลายเองก็ดี ย่อมส่องแสงสว่างรุ่งเรืองนัก เมื่อเทวโลกเต็มไปด้วย รัศมีรุ่งเรืองส่องสว่างเช่นนี้ ราตรีค่ำคืนอันมืดมัว ในสวรรคเทวโลกจึงไม่มีเหมือนอย่างมนุษยโลกเรานี้ มีแต่ทิวาวารปรากฏเป็นดุจกลางวันอยู่เป็นนิตยกาล ไม่มีกิจด้วยการตามประทีปแสงไฟใหญ่น้อยให้ เหนื่อยยาก ในเทวโลกก็ส่องสว่างไปเอง ด้วยอำนาจ แห่งรัศมีต่างๆ ดังกล่าวมา และรัศมีแห่งเงินทอง แก้วเก้าเนาวรัตน์อันเป็นทิพยสมบัติ ซึ่งเกิดจาก บุญญานุภาพอันเหล่าเทพยดาทั้งหลาย ได้พากัน สร้างสมอบรมมาแต่บางบรรพ์
    -สวรรค์มี ๖ ชั้น-
    ๑. จาตุมหาราชิกาเทวภูมิ ๒. ตาวตึงสเทวภูมิ ๓. ยามาเทวภูมิ ๔. ดุสิตเทวภูมิ ๕. นิมมานรตีเทวภูมิ ๖. ปรนิมมิตวสวัตตีเทวภูมิ
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-จาตุมหาราชิกาเทวภูมิ- สวรรค์ชั้นที่ ๑

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เทวภูมิอันดับที่ ๑ นี้ เป็นแดนสุขาวดี มีเทวราชผู้ยิ่งใหญ่ ๔ พระองค์ ทรงเป็นผู้ปกครองดูแล จึงได้ชื่อว่า จาตุมหาราชิการเทวภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพ ซึ่งมีท้าวจาตุมหาราชทรงเป็นอธิบดี
    เมืองสวรรค์ชั้นฟ้าจาตุมหาราชิกานี้ มีเมืองใหญ่เป็น เทพนครอยู่ถึง ๔ เทพนคร (ธตรฐมหาราช วิรุฬหกมหาราช วิรูปักษ์มหาราช เวสสุวัณมหาราช) แต่ละเทพนครมีป้อมปราการ กำแพงทองทิพย์เหลืองอร่ามงามนัก ประดับประดาไป ด้วยสัตตรัตนะแก้ว ๗ ประการ … ภายในเทพนครอัน กว้างใหญ่ไพศาลนั้น มีปราสาทแก้วซึ่งเป็นวิมานที่อยู่ ของเทพยดาชาวฟ้าทั้งหลายปรากฏตั้งเรียงรายอยู่ เรียงรายมากมาย พื้นภูมิภาคก็หาใช่เป็นพื้นแผ่นปฐพี เช่นมนุษยโลกเรา โดยที่แท้ เป็นพื้นแผ่นสุวรรณทองคำ มีสีเหลืองอร่ามรุ่งเรืองเลื่อมพรรณรายเรียบเสมอมี ครุวนาดุจหน้ากลอง และมีความวิเศษอ่อนนิ่มดังฟูกผ้า เมื่อฝูงเทพยดาทั้งหลายเหยียบลงไป ก็มีลักษณาการ อ่อนยุบลง แล้วก็เต็มขึ้นมาเช่นเดิม มิได้เห็นรอยเท้า ของเทพยดาทั้งหลายเหล่านั้นเลย
    สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเทวภูมินี้ นอกจากจะมีสมบัติ ทิพย์อันอำนวยความสุขนานาประการแล้ว ยังมีสระ โบกขรณีซึ่งมีน้ำใสยิ่งกว่าแก้ว เต็มไปด้วยปทุมชาติ นานาชนิด ส่งกลิ่นทิพย์หอมตลบอบอวลไปทั่วบริเวณ เป็นดั่งเช่นมีใครแสร้งเอาน้ำอบน้ำหอมไปประพรมไว้ ตลอดกาลฉะนั้น มีดอกไม้นานาพรรณสีสันวิจิตร ตระการตาและมีรุกขชาติต้นไม่สวรรค์อันแสน ประเสริฐนักหนา เพราะมีผลอันโอชารสยิ่ง และอันว่า มิ่งไม้ในสรวงสวรรค์นั้น ย่อมมีดอกมีผลเป็นทิพย์ ปรากฏให้เหล่าชาวสวรรค์ได้ชื่นชมอยู่ตลอดกาล ไม่มีวันร่วงโรยและหมดไปเลย
    ทางไปสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ก็คือต้องประกอบกรรมอันเป็นบุญเป็นกุศล เช่น ให้ทานรักษาศีลเป็นต้น นี่กล่าวอย่างกว้างๆ
    ทานสูตร (อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐ บาลีฉบับสยามรัฐ) "ดูกรสารีบุตร! ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวัง ให้ทาน มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน มุ่งการ สั่งสมทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้ เสวยผลแห่งทานนี้ เขาผู้นั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช"
    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร (อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ) "ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! บุคคลบางคน ในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณ ยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป แล้วเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา ชั้น จาตุมหาราช "ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ นั้น ได้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็น อดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ตาวติงสเทวภูมิ- สวรรค์ชั้นที่ ๒

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เทวภูมิ อันดับที่ ๒ นี้ เป็นแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นที่สถิต อยู่แห่งปวงเทพยดาชาวฟ้าผู้อุปปัตติเทพ มีเทพผู้เป็น อธิบดีมเหศักดิ์รวม ๓๓ องค์ โดยมีสมเด็จพระ อมรินทราชาทรงเป็นประธานาธิบดี จึงได้ชื่อว่า ตาวติงสเทวภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพ ซึ่งมีเทพสามสิบสามองค์ทรงเป็นประธานาธิบดี
    แดนสวรรค์นี้เรียกให้ฟังกันง่ายๆ ในหมู่ชาวเราว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตั้งอยู่เหนือจอมเขาสิเนรุราชบรรพต ปรากฏเป็นเทพนครใหญ่กว้างขวางนักหนา ปรางค์ ปราสาทล้วนแล้วไปด้วยแก้วอันเป็นทิพย์ แวดล้อมรอบเทวนครด้วยปราการกำแพงแก้วทิพย์ อีกเช่นกัน มีประตูกำแพงแก้วถึง ๑๐๐๐ ประตู เมื่อประตูเหล่านั้นเปิดออกแต่ละครั้ง ย่อมปรากฏเสียง ดังไพเราะเป็นยิ่งนัก ในท่ามกลางพระนครนั้น มีปราสาท พิมานอันมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลืออยู่วิมานหนึ่ง คือ ไพชยนตปราสาทพิมาน มีรูปทรงสูงเยี่ยม เอี่ยมอ่องไป ด้วยรัศมีสัตตรัตน์ เพราะประดับไปด้วยแก้ว ๗ ประการ งามสุดจะพรรณนา เป็นที่ประทับอยู่ แห่ง สมเด็จ พระอมรินทราธิราช
    สวนสวรรค์ แดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงเลื่องลือ รู้กันแพร่หลายทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ รู้กันว่าเป็น แดนที่อยู่อันแสนจะสนุกเป็นสุขสำราญ รื่นรมย์น่าชม น่าเที่ยวน่าทอดทัศนา ฉะนั้น จึงปรากฏว่า โยคี ฤๅษี สิทธิทั้งหลายผู้ได้ฌานอภิญญาก็ดี หรือแม้แต่พระ อริยเจ้าในพระบวรพุทธศาสนาผู้ได้บรรลุอภิญญา ประกอบด้วยอริยฤทธิ์ก็ดี ย่อมถือโอกาสมาเที่ยวชม สวรรค์ชั้นนี้อยู่เสมอๆ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือสวนสวรรค์ อุทยานทิพย์ที่มีอยู่มากมาย แต่ที่ใหญ่ๆ และมีชื่อเสียงมี ๔ อุทยาน คือ นันทวันอุทยานทิพย์ จิตรลดาวันอุทยานทิพย์ มิสกสวันอุทยานทิพย์ ปารุสกวันอุทยานทิพย์
    พระเกศจุฬามณีเจดีย์ เบื้องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ มีสถานที่สำคัญที่สุดอยู่ แห่งหนึ่ง คือ พระเกศาจุฬามณีเจดีย์ เป็นพระเจดีย์มี ทรงสัณฐานใหญ่ ประเสริฐวิเศษเป็นมโหฬาริกและ ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ในทิศอาคเนย์คือทิศตะวันออกเฉียงใต้ แห่งเทพนคร องค์พระเจดีย์นั้นสวยสดงดงามมีรัศมี รุ่งเรืองนักหนา เพราะว่าสร้างด้วยแก้วอินทนิลอันเป็น ทิพย์ ตั้งแต่กลางถึงยอดประเจดีย์นั้นทำด้วยสุวรรณ ทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ผุดผ่อง และประดับไปด้วยสัตตพิธรัตนะคือแก้ว ๗ ประการ ส่วนสูงทั้งหมด ๘๐,๐๐๐ วา มีปราการกำแพงทองคำเนื้อแท้ล้อมรอบทุกด้านเป็น จตุรทิศ แต่ละทิศมีความยาวนับได้ ๑๖๐,๐๐๐ วา มีธงประดับนานาชนิดมีสีสันแตกต่างกัน ฝูงเทพยดา ทั้งหลายบางหมู่ถือเครื่องดีดสีตีเป่าสังคีตสรรพดุริยางค์ ต่างๆ มาบรรเลงถวายบูชาพระเจดีย์ทุกวันมิได้ขาด
    พระเกศาจุฬามณีเจดีย์นี้ เป็นที่บรรจุสิ่งสำคัญอันหา ค่ามิได้ถึง ๒ อย่างด้วยกัน คือ ๑. พระเกศโมลี แห่งพระพุทธองค์ โดยมีประวัติความเป็นมา ว่า เมื่อครั้งจะเสด็จออกบรรพชา พระองค์ทรงตัดมวยพระ โมลี แล้วทรงอธิษฐานว่า "ถ้าจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษก สัมโพธิญาณแล้ว ขอให้มวยพระเกศโมลีจงลอยขึ้นไป บนนภากาศเถิด อย่าได้ตกลงมาสู่พื้นปฐพีเลย" คราที่นั้น สมเด็จพระอมรินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ จึงทรงนำผอบทองคำมารองรับพระเกศโมลีไว้ แล้วทรงนำขึ้นบนดาวดึงส์สวรรค์ สร้างพระเจดีย์นี้ สำหรับบรรจุพระโมลีนั้น ๒. พระบรมธาตุ เขี้ยวแก้วเบื้องขวาของพระพุทธองค์ โดยมีความเป็นมาว่า เมื่อครั้งถวายพระเพลิงพระพุทธ สรีระเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ท่านโทณพราหมณ์ ซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุเปิดรางทองคำ ออกนั้น โทณพราหมณ์เห็นเหล่ากษัตริย์ทั้งหลาย พิลาปร่ำไห้ถึงพระบรมครูก็พลันฉุกคิดได้ จึงแยกพระเขี้ยว แก้วนี้เสียต่างหากจากพระบรมสารีริกธาตุส่วนอื่น โดยซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะแห่งตน แล้วสาละวนจัดแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเพื่อถวายกษัตริย์ เหล่านั้นต่อไป ฝ่ายสมเด็จพระอมรินทราธิราชผู้เลื่อมใส ในพระสัพพัญญูเจ้าอย่างลึกซึ้ง ได้เสด็จมาสังเกตุการณ์ อยู่ ด้วยพระทัยประสงค์จะได้พระบรมสารีริกธาตุเหมือนกัน จึงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาอันประเสริฐจากผ้าโพก ศีรษะของพราหมณ์เฒ่านั้น ลงสู่ผอบทองคำทิพย์อีกทอด หนึ่ง ด้วยกิริยาอันเลื่อมใสยิ่ง แล้วรีบเสด็จเอามา ประดิษฐานบรรจุไว้ ณ พระเกศจุฬามณีเจดีย์
    ทางไปดาวดึงส์สวรรค์ คำตอบง่ายๆ คือ "สร้างเสบียง" กล่าวคือ บุญกุศล พยายามทำตนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม ห้ามตนไม่ให้ ทำกรรมอันหยาบช้าลามก ความสกปรกแห่งกายวาจาใจ อย่าให้มีบังเกิด
    ทานสูตร (อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐ บาลีฉบับสยามรัฐ) ดูกรสารีบุตร! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวัง ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า "ตายไปแล้ว เราจักได้เสวยผลทานนี้" แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า "การให้ทาน เป็นการกระทำที่ดี" เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยา ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลาย ในชั้น ดาวดึงส์สวรรค์
    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร (อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ) ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! บุคคลบางคน ในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมี ประมาณยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล มีประมาณยิ่ง แต่ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ ด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น ดาวดึงส์
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ท้าวสักกะ จอมเทพในชั้นดาวดึงส์สวรรค์นั้น ได้กระทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ได้กระทำบุญกิริยาวัตถุที่ สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก พระองค์จึงทางเจริญก้าวล่วง เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์โดยฐานะ ๑๐ ประการคือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพะทิพย์
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ยามาเทวภูมิ- สวรรค์ชั้นที่ ๓

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เทวภูมิ อันดับที่ ๓ มีเทพผู้มเหศักดิ์ทรงนามว่า สมเด็จ ท้าวสุยามเทวาธิราช ทรงเป็นอธิบดีผู้ปกครอง เพราะฉะนั้น จึงมีนามว่า ยามาเทวภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพซึ่งมี สมเด็จพระสุยามเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี
    ยามาเทวภูมินี้ เป็นเทพนครที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้น ไตรตรึงษ์ขึ้นไปเบื้องบนไกลแสนไกล ภายในเทพนครนี้ ปรากฏว่ามีปราสาทเงินและปราสาททอง เป็นปราสาท พิมานที่สถิตอยู่ของเทพเจ้าชาวสวรรค์ชั้นยามาทั้งหลาย ปราสาทวิมานเหล่านั้นสวยงามวิจิตรตระการยิ่งกว่า ปราสาทวิมานในสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ มีสวนอุทยาน และสระโบกขรณีอันเป็นทิพย์อยู่หลากหลาย จำง่ายๆ คือ ในสวรรค์ชั้นนี้ ไม่ปรากฏมีแสงพระอาทิตย์ และพระจันทร์เลย เพราะว่าอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์และ พระจันทร์มากมายนัก เทพยดาทั้งหลายย่อมแลเห็น แสงสว่าง ด้วยรัศมีแห่งแก้วและรัศมีที่ออกมาจากกาย ตัวแห่งเทพเจ้าเหล่านั้นเอง การจักรู้วันคืนได้ก็ด้วย จากบุปผชาติดอกไม้ทิพย์ในสวรรค์ชั้นนี้นั่นเอง หากว่า เห็นดอกไม้ทิพย์บาน ก็แสดงว่าเป็นเพลารุ่งกลางวัน หากดอกไม้ทิพย์หุบลง ก็เป็นนิมิตแสดงว่า เพลาราตรี
    เหล่าเทพผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมมีองคาพยพและหน้าตา งดงามรุ่งเรืองนักหนา มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างผาสุก เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ตามสมควรแก่อัตภาพ
    ทางไปสวรรค์ชั้นยามา ต้องพยายามอุตส่าห์สร้างเสบียงกล่าวคือบุญกุศล ต้องเป็นผู้มีกมลสันดานหนักแน่นไปด้วยกุศลสมภาร ไม่หวั่นไหวง่อนแง่นในการบำเพ็ญบุญ
    ทานสูตร (อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐ บาลีฉบับสยามรัฐ) ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! บุคคลบางคน ในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณ ยิ่ง แต่ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งเทวดาชั้น ยามา ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ท้าวสุยามเทพบุตร จอมเทพในชั้นยามานั้น ทำบุญกิริยาวัตถุด้วยทานเป็น อดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ท้าวเธอจึงทางเจริญรุ่งเรืองก้าวล่วงเหล่าเทวดา ชั้นยามาสวรรค์ โดยฐานะ ๑๐ ประการคือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพะทิพย์
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ตุสิตาเทวภูมิ- สวรรค์ชั้นที่ ๔

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เทวภูมิ อันดับที่ ๔ นี้ เป็นแดนสุขาวดี ที่สถิตอยู่ แห่งปวงเทพเจ้าชาวฟ้าทั้งหลาย ผู้มีความยินดีและ ความแช่มชื่นอยู่เป็นนิตย์ โดยมีเทพเจ้าผู้มเหศักดิ์ ทรงนามว่าสมเด็จท้าวสันดุสิตเทวาธิราชทรงเป็น อธิบดี จึงมีนามว่า ตุสิตาเทวภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่ของ แห่งทวยเทพ อันมีสมเด็จท้าวสันดุสิตเทวาธิราช ทรงเป็นอธิบดี
    แดนสุขาวดีเมืองสวรรค์ชั้นฟ้า ซึ่งมีนามว่าดุสิตาเทวภูมิ นี้ เป็นเทพนครที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป ในเบื้องบน ไกลแสนไกล ภายในเทพนครนี้ ปรากฏว่า มีปราสาทวิมานอยู่ ๓ ชนิด ๑. รัตนวิมาน = วิมานแก้ว ๒. กนกวิมาน = วิมานทอง ๓. รชตวิมาน = วิมานเงิน
    ปราสาทวิมานเหล่านี้ ตั้งอยู่เรียงรายมากมาย แต่ละ วิมานเป็นปราสาทสวยสดงดงาม มีความวิจิตรตระการตา เหลือที่จะพรรณนา และมีรัตนปราการกำแพงแก้วล้อมรอบ ทุกวิมาน มีรัศมีรุ่งเรืองเลื่อมพรรณราย สวยงามยิ่งกว่า ปราสาทพิมานของเทพยดาในสรวงสวรรค์ชั้นยามาภูมิ นอกจากนั้น สถานที่ต่างๆ ในเทวสถานชั้นนี้ ยังมี สระโบกขรณีและอุทยานอันเป็นทิพย์ สำหรับเป็นที่ เที่ยวเล่นให้ได้ความชื่นบานเริงสราญ แห่งเทพเจ้า ชาวสวรรค์ชั้นนี้มากมายนัก
    สำหรับปวงเทพเจ้าผู้สถิตอยู่ในดุสิตสวรรค์นี้ แต่ละองค์ย่อมปรากฏมีรูปทรงสวยงาม มีความสง่ากว่า เหล่าเทพยดาชั้นต่ำๆ ทั้งมีน้ำใจรู้บุญรู้ธรรมเป็นอย่างดี มีจิตยินดีต่อการสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาเป็นยิ่งนัก ทุกวันธรรมสวนะ เทพเจ้าเหล่านี้ย่อมจะมีเทวสันนิบาต ประชุมฟังธรรมกันเสมอมิได้ขาดเลย ทั้งนี้ ก็เพราะ เหตุที่องค์สมเด็จท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราช จอมเทพ ผู้มีอิสริยยศยิ่งใหญ่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ ทรงเป็นเทพเจ้า ผู้พหูสูต เป็นผู้รู้ธรรมะแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอันมาก อีกประการหนึ่ง ตามปกติดุสิตสวรรค์นี้ เป็นที่สถิตอยู่แห่งเทพบุตรผู้เป็นโพธิสัตว์ ซึ่งมีโอกาสจัก ได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคต เพราะฉะนั้นท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิบดี จึงมักมีเทวโองการ ตรัสอัญเชิญให้เทพบุตรพระ โพธิสัตว์ผู้ทรงปัญญานั้นเป็นองค์แสดงธรรมเช่นใน ปัจจุบันนี้ สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์ ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือเป็นที่รู้จักกันในหมู่พุทธบริษัทว่า จักได้ ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ในอนาคตอันตรกัปที่ ๑๓ แห่ง ภัทรกัปนี้ พระองค์ก็สถิตอยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นนี้ และมักได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงธรรมโปรดเหล่า เทพบริษัทในดุสิตสวรรค์นี้อยู่เสมอ นอกจากจะเป็น สวรรค์ชั้นสำคัญดังกล่าวมาแล้ว ในขณะนี้ แดนสวรรค์ ชั้นดุสิต ยังเป็นที่สถิตอยู่ของเทพเจ้าองค์สำคัญซึ่งเรา ท่านทั้งหลายรู้จักกันดี เทพเจ้าองค์นี้ก็คือพระสิริมหามายา เทพบุตรผู้มีบุรพวาสนาเป็นพระพุทธมารดาแต่ปางบรรพ์
    ทางไปสวรรค์ชั้นดุสิต คือต้องอุตส่าห์พยายามสร้างเสบียง กล่าวคือบุญกุศล ต้องมีกมลสันดานชอบสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพื่ออบรมปัญญาให้เจริญผ่องใส ไม่หวั่นไหวโยกคลอน ในการประกอบกุศล ไม่เป็นผู้มัวเมาประมาทในวัย และชีวิตของตน เร่งสร้างกุศลเช่น บำเพ็ญทานและ รักษาศีลเป็นเนืองนิตย์
    ทานสูตร ดูกรสารีบุตร! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวัง ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า "บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำ ให้ประเพณี" แต่ให้ทานด้วยคิดว่า "เราหุงหากิน แต่สมณะหรือพราหมณ์ไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร" เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำ กาลกิริยาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นดุสิต
    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร (อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ) ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญ กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงกาลกิริยา ตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นดุสิต ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร! ท้าวสันดุสิตเทพบุตร จอมเทพในชั้นดุสิตนั้น ได้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ ด้วยทานเป็นอดิเรก ได้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย ศีลเป็นอดิเรก ท้าวเธอจึงทรงเจริญรุ่งเรือง ก้าวล่วง เหล่าเทวดาชั้นดุสิตสวรรค์ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพะทิพย์
    สังคีติสูตร (ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑ บาลีฉบับสยามรัฐ) ดูกรสารีบุตร! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป โดยเขาได้ยินมาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่าดุสิตสวรรค์เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้ว เขาจึงจินตนาอธิษฐานอย่างนี้ว่า "โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่า ดุสิตสวรรค์เถิด" เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขา นั้นน้อมไปในสิ่งที่ต่ำ มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น ก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จลงได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ดังนี้
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-นิมมานรดีเทวภูมิ- สวรรค์ชั้นที่ ๕

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เทวภูมิ อันดับที่ ๕ นี้เป็นที่สถิตของปวงเทพเจ้า ผู้มีความยินดีเพลิดเพลินในกามคุณารมณ์ ที่เนรมิตขึ้น ตามความพอใจของตนเอง โดยมีเทพเจ้ามเหศักดิ์ ทรงนามว่า สมเด็จท่านท้าวสุนิมมิตเทวาธิราช ทรงเป็นอธิบดีผู้ปกครอง จึงได้ชื่อว่า นิมมานรดีภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพ อันมีสมเด็จพระนิมมิตเทวา ธิราชทรงเป็นอธิบดี
    เทพนครนี้ ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไปในเบื้องบน ไกลแสนไกล ภายในเทพนครมีปราสาทเงิน ปราสาททอง และปราสาทแก้ว ทั้งมีกำแพงแก้วกำแพงทองอันเป็น ของทิพย์ เป็นวิมานที่อยู่ของเหล่าเทวดา นอกจากนั้น พื้นภูมิภาคยังมีสภาวะเป็นทองราบเรียบเสมอกัน มีสระโบกขรณีและสวนอุทยานอันเป็นทิพย์ สำหรับ เป็นที่เที่ยวเล่นสำราญแห่งเหล่าชาวสวรรค์นิมมานรดี ทั้งหลาย เช่นเดียวกับสมบัติทิพย์ในสวรรค์ชั้นดุสิต ต่างกันแต่ว่าทุกอย่างที่นี่มีสภาวะสวยสดงดงามและ ประณีตกว่าทิพยสมบัติในดุสิตเทวพิภพเท่านั้น
    เทพยดาทั้งหลาย ย่อมมีรูปทรงสวยงาม น่าดูน่าชม ยิ่งกว่าชาวสวรรค์ชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหลาย และมีกายทิพย์ ซึ่งมีรัศมีรุ่งเรืองเป็นยิ่งนัก หากเขาเกิดความปรารถนา จะเสวยสุขด้วยกามคุณารมณ์สิ่งใด เขาย่อมเนรมิต เอาได้ตามความพอใจชอบใจแห่งตนทุกสิ่งทุกประการ ไม่มีความขัดข้องและเดือดเนื้อร้อนในในกรณีใดๆ เลย ปรองดองรักใคร่และได้รับความสุขสำราญชื่นบาน ทุกถ้วนหน้า
    ทางไปสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ต้องอุตส่าห์ก่อสร้างกองบุญกุศลให้ยิ่งใหญ่ อบรมจิตใจ ของตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่ให้สกปรกลามกมีมลทิน โดยพยายามรักษาศีลไม่ให้ขาดได้ มีใจสมบูรณ์ด้วยศีล และมีวิริยะอุตสาหะในการบริจาคทานเป็นอันมาก เพราะผลวิบากแห่งทานและศีลอันสูงส่งเท่านั้น จึงจะบันดาลให้ไปอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้
    ทานสูตร ดูกรสารีบุตร! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวัง ให้ทาน ไม่มีจิตใจผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า "เราหุงหากินได้ แต่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลาย ไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร" แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับท่านฤๅษี ทั้งหลายคือ ท่านอัฏฐกฤๅษี ท่าวามกฤๅษี ท่านวาม เทวฤๅษี ท่านเวสสามิตรฤๅษี ท่านยมทัคคฤๅษี ท่านอังคีรสฤๅษี ท่านภารทวาชฤๅษี ท่านวาเสฏฐฤๅษี ท่านกัสสปฤๅษี ท่านภคุฤๅษี" เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำ กาลกิริยาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร (อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิกาย ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ) ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! บุคคลบางคน ในโลกนี้กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณ ยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึง แก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็น สหายแห่งเทวดาชั้น นิมมานรดี
    สังคีติสูตร (ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑ บาลีฉบับสยามรัฐ) บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งเป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือ พราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไปโดยเขาได้ศึกษา มาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่านิมมานรดีสวรรค์ เป็นเทพที่มีอายุยืน วรรณะงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้ว เขาจึงจินตนาอธิษฐานอย่างนี้ว่า "โอหนอ! เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึง เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่านิมมานรดี สวรรค์เถิด" เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตใจนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่ต่ำ มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี นี้ ก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ บุคคลผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของบุคคล ผู้มีศีลย่อมสำเร็จลงได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ดังนี้
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ปรนิมมิตวสวัสตีเทวภูมิ- สวรรค์ชั้นที่ ๖

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เทวภูมิ อันดับที่ ๖ นี้ เป็นแดนสุขาวดีสวรรค์เทวโลก ชั้นสูงสุดฝ่ายกามาพจร ซึ่งเป็นที่สถิตย์อยู่แห่งปวงเทพเจ้า ผู้เสวยกามคุณารมณ์ที่เทวดาอื่นรู้ความต้องการของตน แล้วเนรมิตให้ เป็นที่อยู่อันประเสริฐด้วยสุขสมบัติยิ่งกว่า สวรรค์ชั้นฟ้าทั้งหลาย โดยมีเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่นามว่า สมเด็จท่านท้าวปรนิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี กับทั้งเป็นที่สถิตอยู่ของเหล่าเทพยดาจำพวกมารทั้งหลาย โดยมีสมเด็จท่านท้าวปรนิมมิตวสวัตตีมาราธิราชทรงเป็น อธิบดี จึงได้ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่ แห่งทวยเทพ อันมีสมเด็จพระปรนิมมิตวสวัตตีเทวาธิราช และสมเด็จพระปรนิมมิตมาราธิราชทรงเป็นอธิบดี
    ยอดสวรรค์นี้ เป็นเทพนครที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้น นิมมานรดีขึ้นไปเบื้องบนไกลแสนไกล แบ่งเป็นสองแดน ๑. แดนเทพยดา ๒. แดนมาร อยู่กันฝ่ายละแดน มีเขตแดนกั้นในระหว่างกลาง ต่างฝ่าย ต่างอยู่ หากมีกิจจำเป็นจึงจะไปมาหาสู่แก่กันและกัน ทุกท่านล้วนแต่ได้รับความสุขอันประณีต เสวยทิพยสมบัติ ณ ทิพยสถานพิมานแห่งตนๆ สำราญสุขมากกกว่า สวรรค์ชั้นฟ้าอื่นๆ
    ทางไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ต้องอุตส่าห์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งใหญ่เป็นอุกฤษฏ์ อบรมจิตใจให้สูงส่งด้วยคุณธรรม เมื่อจะให้ทานรักษาศีล ก็ต้องบำเพ็ญกันอย่างจริงๆ มากไปด้วยศรัทธาปสาทะ อย่างยิ่งยวดและถูกต้อง ทั้งนี้ ก็เพราะว่าผลวิบากแห่ง ทานและศีลอันสูงยิ่งเท่านั้น จึงจะบันดาลให้ไปอุบัติ ในสวรรค์ชั้นนี้ได้
    ทานสูตร (อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐ บาลีฉบับสยามรัฐ) ดูกรสารีบุตร! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวัง ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า "เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับฤๅษีทั้งหลาย แต่กาลก่อนคือท่านอัฏฐกฤๅษี ท่านวามกฤๅษี ท่านวามเทวฤๅษี ท่านเวสสามิตฤๅษี ท่านยมทัคคฤๅษี ท่านอังคีรสฤๅษี ท่านภารทวาชฤๅษี ท่านวาเสฏฐฤๅษี ท่านกัสสปฤๅษี ท่านภคฤๅษี" ดังนี้ แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า "เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตของเราจะเลื่อมใส จะเกิด ความปลื้มใจและโสมนัส" เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยา ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี
    ปุญญกิริยวัตถุสูตร (อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๑๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ) ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! บุคคลบางคน ในโลกนี้กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณ ยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็น สหายแห่งเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-อายุแห่งทวยเทพ-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อายุเทวดาชั้นจาตุมหาราชิการสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ๕๐ ปีของมนุษย์ เป็นราตรีหนึ่งกับวัน หนึ่งของเทวดาชั้นนี้ ๓๐ ราตรีโดยราตรีทิพย์นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนทิพย์นั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีโดยปีทิพย์นั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย! … ราชสมบัติของมนุษย์เป็นเหมือน สมบัติของคนกำพร้า เมื่อเปรียบเทียบกับสุขแห่ง ทิพยสมบัติ ดังนี้ อายุเทวดาชั้นดาวดึงส์สวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ๑๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นราตรีหนึ่งกับ วันหนึ่งของเทวดาชั้นนี้ ๓๐ ราตรีโดยราตรีทิพย์นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนทิพย์นั้น เป็น ๑ ปี ๑๐๐๐ ปีโดยปีทิพย์นั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนี้ อายุเทวดาชั้นยามาสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ๒๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นราตรีหนึ่งกับ วันหนึ่งของเทวดาชั้นนี้ ๓๐ ราตรีโดยราตรีทิพย์นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนทิพย์นั้น เป็น ๑ ปี ๒๐๐๐ ปีโดยปีทิพย์นั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนี้ อายุเทวดาชั้นดุสิตสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ๔๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นราตรีหนึ่งกับ วันหนึ่งของเทวดาชั้นนี้ ๓๐ ราตรีโดยราตรีทิพย์นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนทิพย์นั้น เป็น ๑ ปี ๔๐๐๐ ปีโดยปีทิพย์นั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนี้ อายุเทวดาชั้นนิมมานรดีสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ๘๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นราตรีหนึ่งกับ วันหนึ่งของเทวดาชั้นนี้ ๓๐ ราตรีโดยราตรีทิพย์นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนทิพย์นั้น เป็น ๑ ปี ๘๐๐๐ ปีโดยปีทิพย์นั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนี้ อายุเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ๑๖๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นราตรีหนึ่งกับ วันหนึ่งของเทวดาชั้นนี้ ๓๐ ราตรีโดยราตรีทิพย์นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนทิพย์นั้น เป็น ๑ ปี ๑๖๐๐๐ ปีโดยปีทิพย์นั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนี้
    จบ "เทวภูมิ"
    ตอนต่อไป "พรหมภูมิ" ตอนสุดท้าย "โลกุตตรภูมิ" :>
    *********************************************
    จาก "ภูมิวิลาสินี" โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2010
  8. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    พรหมภูมิ

    [​IMG]


    ภูมิวิลาสินี (บางส่วน) ตอนที่ 7
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
    "พรหมภูมิ"

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-พรหมอุบัติ-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ท่านผู้มีความเพียรกล้า ทรงไว้ซึ่งปัญญาเกินสามัญญชน ปรารถนาจะพ้นจากกิเลสานุสัย เพราะเห็นว่ามีโทษพาให้ ยุ่งนัก ใคร่จักห้ามจิตมิให้ตกอยู่ในอำนาจกิเลส จึงสู้ อุตสาหะพยายามบำเพ็ญสมถภาวนา ตามที่ท่านบุรพา จารย์สั่งสอนกันสืบๆ มา บางพวกเป็นชีป่าดาบส บางพวก ทรงพรตเป็นโยคี ฤๅษี ในสมัยที่มีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ในโลก บางพวกก็เป็นพระภิกษุสามเณร ต่างบำเพ็ญ สมถภาวนา จนได้สำเร็จฌาน ครั้นถึงกาลกิริยาตายจาก มนุษย์โลก ก็ตรงไปอุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก ตามอำนาจแห่งฌานที่ตนได้บรรลุ เป็นพระพรหมผู้วิเศษ ล้วนแต่บุรุษเพศทั้งสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌาน สมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องมีการถ่ายคูตรมูถคืออุจจาระ ปัสสาวะอันลามกเหม็นร้ายเลย
    สรีระร่างกายหน้าตาแห่งบรรดาพระพรหมนั้น มีสัณฐาน กลมเกลี้ยงสวยงามนัก มีรัศมีออกจากกายตัวเลื่อม ประภัสสรรุ่งเรืองกว่ารัศมีพระอาทิตย์และพระจันทร์ หลายพันเท่า เพียงแต่หัตถ์หนึ่งเล่าอันพระพรหมทั้งหลาย เหยียดยื่นออกไปหวังจะให้ส่องรัศมีไปทั่วห้วงจักรวาล ก็ย่อมจักทำได้ อวัยวะร่างกายที่ต่อกัน คือหัวเข่าก็ดี แขนก็ดี มีสัณฐานกลมเกลี้ยงเรียบงามนัก จักได้เห็นที่ ต่อกันนั้นหามิได้ เกศเกล้าแห่งองค์พระพรหมเจ้าทั้งหลาย นั้นงามนัก ปรากฏโดยมากมีศีรษะประดับด้วยชฎา เช่นเดียวกับชีป่าและโยคีฤๅษีสิทธิ์ผู้มีฤทธิ์ สถิตย์เสวยสุข พรหมสมบัติอยู่ ณ พรหมโลกที่ตนอุบัติบังเกิดตราบจน กว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-ประเภทของพระพรหม-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ๑. พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๑ พรหมปาริสัชชาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ผู้เป็นบริษัทท้าวมหาพรหมซึ่งสถิตย์อยู่ชั้นมหาพรหมาภูมิ เป็นพรหมโลกชั้นแรกคือชั้นต่ำที่สุด แต่ก็ตั้งอยู่เบื้องบน สูงกว่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ขึ้นไปถึงห้าล้านห้าแสน แปดพันโยชน์ นับว่าไกลจากมนุษยโลกนักหนา ไม่สามารถ นับได้ พระพรหมแต่ละองค์ ณ พรหมพิมานแห่งตนในที่นี้ล้วนแต่ มีคุณวิเศษ โดยเคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ปฐมฌาน อย่างสามัญมาแล้วทั้งสิ้น เสวยปณีตสุขอยู่ มีความเป็นอยู่อย่างแสนจะสุขนักหนา ตราบจนหมด พรหมายุขัย
    ๒. พรหมปุโรหิตาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๒ พรหมปุโรหิตาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้ทรงฐานะประเสริฐ คือเป็นปุโรหิตของท่าน มหาพรหม ความเป็นอยู่ทุกอย่างล้ำเลิศวิเศษกว่าพรหมโลกชั้นแรก รัศมีก็รุ่งเรืองกว่า รูปทรงร่างกายใหญ่กว่า สวยงามกว่า ทุกท่านล้วนมีคุณวิเศษ ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลาง มาแล้วทั้งสิ้น
    ๓. มหาพรหมาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๓ มหาพรหมาภูมิ = ที่อยู่แห่งท่านพระพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย มีความเป็นอยู่และรูปกายประเสริฐยิ่งขึ้น ไปอีก ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมฌานขั้น ปณีตะคือขั้นประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น
    พรหมโลก ๓ ชั้นแรกนี้ ตั้งอยู่ ณ ระดับพื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกเป็น ๓ เขต
    ๔. ปริตตาภาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๔ ปริตตาภาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่มีศักดิ์สูงกว่าตน ล้วนมีคุณวิเศษ โดยได้เจริญภาวนากรรมบำเพ็ญ สมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น
    ๕. อัปปมาณาภาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๕ อัปปมาณาภาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาประมาณมิได้ ล้วนแต่ทรงคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนาการบำเพ็ญ สมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้วทั้งสิ้น
    ๖. อาภัสราภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๖ อาภัสสราภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีประกายรุ่งโรจน์แห่งรัศมีนานาแสง ล้วนมีคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญ สมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปณีตะ คือ ประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น
    อนึ่งพรหมโลกชั้นที่ ๔ - ๖ นี้ทั้งสามชั้น ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น ๓ เขต
    ๗. ปริตตสุภาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๗ ปริตตสุภาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อย คือน้อยกว่าพระพรหมในพรหมโลกที่สูงกว่าตนนั่นเอง ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนากรรม บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นปริตตะ คือขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น
    ๘. อัปปมาณสุภาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๘ อัปปมาณสุภาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีมากมายไม่มี ประมาณ สง่าสวยงามแห่งรัศมีซึ่งซ่านออกจากกายตัว มากมายสุดประมาณ ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้วทั้งสิ้น
    ๙. สุภกิณหาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๙ สุภกิณหาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมี ที่ออกสลับ ปะปนกันอยู่เสมอเป็นนิตย์ ทรงรัศมีนานาพรรณ เป็นที่น่าเพ่งพิศทัศนานักหนา ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นปณีตะ คือขั้นประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น
    พรหมโลกชั้นที่ ๗ ชั้นที่ ๘ และชั้นที่ ๙ นี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น ๓ เขต
    ๑๐. เวหัปผลาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์
    อนึ่ง ผลแห่งฌานกุศล ที่ส่งให้ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก ๙ ชั้นแรกนั้น ไม่เรียกว่ามีผลไพบูลย์เต็มที่ ทั้งนี้ก็โดยมี เหตุผลตามสภาพธรรมที่เป็นจริง ดังต่อไปนี้
    ก. เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยไฟ นั้น ๔ ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
    ข. เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยน้ำ นั้น ๖ ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
    ค. เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยลม นั้น ทั้ง ๙ ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วยไม่มีเหลือเลย
    ๑๑. อสัญญีสัตตาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๑๑ อสัญญีสัตตาภูมิ = ที่อยู่ของ พระพรหมทั้งหลาย ผู้ไม่มีสัญญา พระพรหมไม่มีสัญญาทั้งหลาย ผู้อุบัติเกิดด้วยอำนาจ แห่งสัญญาวิราคภาวนาและสถิตย์อยู่ในพรหมโลกชั้นนี้ ย่อมมีแต่รูป ไม่มีนามคือจิตและเจตสิก เสวยสุขอัน ประณีตนักหนา ล้วนแต่มีคุณวิเศษยิ่งนัก โดย ได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้สำเร็จ จตุตถฌาน อันเป็นรูปฌานขั้นสูงสุด มาแล้วทั้งสิ้น ทรงเพศเป็นพระพรหมผู้วิเศษ สถิตย์อยู่ในปราสาท แก้วพรหมวิมานอันมโหฬารกว้างขวางนักหนา มีบุปผชาติ ดอกไม้ประดับประดาเรียบเรียงเป็นระเบียบ ไม่รู้แห้งเหี่ยว โรยรา โดยรอบ ผู้ที่ไปอุบัติเกิดในพรหมภูมิชั้นนี้ มี มากมายนักหนาจนนับไม่ถ้วน ล้วนแต่มีหน้าตาเนื้อตัว สวยสง่ามีอุปมากังรูปพระปฏิมากรพุทธรูปทองคำขัดสี ใหม่ งามซึ้งตรึงใจสุดพรรณนา แต่มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอน บางองค์ยืน มีอิริยาบถใดก็ เป็นอย่างนั้นตลอดไป ไม่เคลื่อนไม่ไหวติง จักษุทั้งสอง ก็มิได้กะพริบเลย สถิตย์เฉยเสวยสุขเป็นประดุจรูปปั้น อยู่อย่างนั้นชั่วกาลนานนักแล
    อนึ่ง เวหัปผลาภูมิและอสัญญีสัตตาภูมินี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่กันอยู่ และมีระยะ ห่างไกลกันมาก
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#000080 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ebebeb><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>-สุทธาวาสภูมิ -

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    สุทธาวาสภูมิ เป็นพรหมโลกอีกชนิดหนึ่ง ต่างจากทั้ง ๑๑ ชั้นแรก ภูมินี้ เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมอริยบุคคลในบวรพุทธศาสนา ชั้นพระพรหมอนาคามีอริยบุคคล ผู้มีความบริสุทธิ์ เท่านั้น ส่วนท่านที่ทรงคุณวิเศษอื่นๆ แม้จะได้สำเร็จฌาน วิเศษเพียงใด ก็ไปอุบัติเกิดในสุทธาวาสภูมินี้ไม่ได้ อย่างเด็ดขาด สุทธาวาสภูมินี้มีอยู่ ๕ ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ และตั้งอยู่เป็นชั้นๆ ขึ้นไป ตามลำดับภูมิ หาได้ตั้งอยู่ในระดับเดียวกันไม่
    ๑๒. อวิหาสุทธาวาสภูมิ สูงขึ้นไปจากอสัญญีสัตตาภูมิประมาณ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ อวิหาสุทธาวาสภูมิ = ภูมิอันเป็นที่อยู่อัน บริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ไม่เสื่อมคลายในสมบัติของตน พระพรหมในพรหมโลกชั้นนี้ ย่อมไม่ละทิ้งสมบัติ กล่าวคือ สถานที่ของตนโดยเวลาเพียงเล็กน้อย เพราะว่าพระพรหม ที่อุบัติเกิดและสถิตย์อยู่ ณ ที่นี้ ท่านย่อมไม่จักจุติเสียก่อน จนกว่าจะสถิตย์อยู่นานถึงมีอายุครบกำหนด ซึ่งแปลก ออกไปจากพระพรหมในสุทธาวาสภูมิที่เหลืออยู่อีก ๔ ภูมิ คือพระพรหมในอีก ๔ สุทธาวาสภูมินั้นอาจไม่ได้อยู่ ครบกำหนดอายุก็มีการจุติหรือนิพพานเสียก่อน พระพรหมในอวิหาสุทธาวาสภูมินี้ แต่ละองค์นั้น ล้วนแต่ เป็นผู้มีวาสนาบารมี กิเลสธุลีเหลือติดอยู่ในจิตสันดาน น้อยนักหนา โดยได้เคยเป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์ พบพระบวรพุทธศาสนาแล้วมีปกติเห็นภัยในวัฏสงสาร อุตสาหะจำเริญ วิปัสสนากรรมฐาน จนยังตติยมรรคให้ เกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล มาแล้ว
    ๑๓. อตัปปาสุทธาวาสภูมิ สูงขึ้นไปต่อจากอวิหาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ อตัปปาสุทธาวาสภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี อริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ไม่มีความเดือดร้อน หมายความว่า ท่านเหล่านี้ย่อมไม่มีความเดือดร้อน ทั้งทางกาย วาจาและใจเลย ย่อมเข้าฌานสมาบัติ หรือผลสมาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อนไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นจิตใจของ ท่านเหล่านั้นจึงมีแต่สงบเยือกเย็น ท่านเหล่านี้เคยเป็น พระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนา กรรมฐานจนสามารถยังตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีวิริยินทรีย์ คือมี วิริยะแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น
    ๑๔. สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ สูงขึ้นไปต่อจากอตัปปาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี อริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความแจ่มใส คือท่านเหล่านี้ ย่อมมีความเห็นอย่างชัดแจ้งแจ่มใส สามารถเห็น สภาวธรรมได้โดยแจ้งชัดเพราะเป็นพระพรหมที่บริบูรณ์ ด้วยประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ธัมมจักษุและปัญญาจักษุ จึงเห็นสภาวธรรมได้แจ่มใส ชัดเจน จิตใจสงบเยือกเย็น ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีสตินทรีย์ คือมี สติแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น
    ๑๕. สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี อริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า คือนอกจากธัมมจักษุที่มีกำลังเท่ากับพระพรหมในขั้น สุทัสสาสุทธาวาสภูมิแล้ว พระพรหมในสุทัสสีพรหมโลกนี้ ประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ ทั้ง ๓ นี้มีกำลังแก่ กล้ากว่าพระพรหมในสุทัสสาสุทธาวาสภูมิ ทำให้ท่านมีความเห็นในสภาวธรรมได้ชัดเจนแจ่มใสยิ่ง ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยังตติยมรรค ให้บังเกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล และในขณะที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มี สมาธินทรีย์ คือมีสมาธิแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น
    ๑๖. อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสีสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี อริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ทรงคุณวิเศษโดยไม่มีความ เป็นรองกัน เบื้องอกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลกนี้ มีพระเจดีย์เจ้าองค์ สำคัญ ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แสดงว่าเป็นพรหมโลกที่ เคารพนับถือพระบวรพุทธศาสนาประดิษฐานอยู่ องค์หนึ่งมีนามว่า ทุสสะเจดีย์ เหล่าพรหมทั้งปวงในที่นี้ ย่อมเป็นผู้ทรงคุณวิเศษโดย ไม่มีการเป็นรองกัน คือไม่ต่ำกว่ากันทั้งในด้านความ สุขและความรู้ ทั้งนี้เพราะทรงล้วนแต่เป็นผู้มีวาสนาบารมี ในจิตสันดานมีกิเลสธุลีเหลือติดอยู่น้อยนักหนา โดยท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์ คือมี ปัญญาแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น ฉะนั้น ท่านพระพรหมอนาคามีบุคคลที่อุบัติเกิดใน อกนิฏฐพรหมโลกนี้ จึงมีคุณสมบัติวิเศษยิ่งกว่า บรรดาพระพรหมทั้งสิ้นในพรหมโลกทั้งหลายรวมทั้ง สุทธาวาสพรหมทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้วด้วยก็เทียบไม่ได้
    พระพรหมอนาคามีทั้งหลายในสุทธาวาสพรหมแรกทั้ง ๔ หากยังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ พระปรินิพพานแล้ว ครั้นสิ้นพรหมายุขัย ก็จำต้องจุติจาก สุทธาวาสพรหมโลกที่ตนสถิตอยู่มาอุบัติเกิดใน อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลกนี้ เมื่อมาอุบัติเกิดในที่นี้แล้วย่อมจะ ไม่ไปอุบัติเกิดเป็นอะไรและในที่ใดภูมิใดอีกเลย เพราะ จะต้องได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ พระปรินิพพานอยู่ในพรหมโลกชั้นอกนิฏฐพรหมโลก นี่เอง จึงอาจกล่าวได้ว่า อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลกนี้ เป็นพรหมโลกที่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ อย่างประเสริฐล้ำเลิศยิ่งกว่าพรหมโลกชั้นอื่นๆ ทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้
    พรหมโลกตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๑๖ เป็น รูปพรหม คือพรหมที่มีรูปแต่เป็นรูปทิพย์ มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถ มองเห็นได้ จักเห็นได้ก็โดยทิพยวิสัยเท่านั้น
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-อรูปพรหม-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อรูปพรหม แปลว่า พระพรหมที่ไม่มีรูปร่าง เพราะเหตุที่จะ อรูปพรหม = พรหมไม่มีรูป เป็นพระพรหมผู้วิเศษ เพราะเหตุอุบัติขึ้นด้วยอำนาจ แห่งรูปวิราคภาวนา
    ๑๗. อากาสานัญจายตนภูมิ สมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนานั้น บรรดาโยคีฤๅษีสิทธิ์ตลอดจนชีไพรดาบส ที่ประพฤติพรหมจรรย์บำเพ็ญตบะเดชะภาวนา ครั้นเขาผู้มีอำนาจฌานสูงรำพึงอยู่ดังนี้ ว่าอันว่าตัวตน กล่าวคืออัตภาพร่างกายนี้ไม่ดีเป็นนักหนา กอปรไปด้วย ทุกข์โทษหาประมาณมิได้ ควรที่ตูจะปรารถนากระทำตัว ให้หายไปเสียเถิด แล้วก็เกิดความพอใจเป็นนักหนา ในภาวะที่ไม่มีตัวตนไม่มีรูปกาย มิได้อาลัยในสรีระร่าง พลางออกจากจตุตถฌานแล้วก็มีใจผ่องแผ้ว ปรารถนา อยู่แต่ในความไม่มีรูป อุตส่าห์เจริญสมถกรรมฐาน ต่อไปจนได้สำเร็จ อรูปฌาน ครั้นถึงกาลกิริยา ตายแล้วก็ตรงแน่วมาอุบัติเกิดเป็นพระพรหมวิเศษ นาม อรูปพรหม จิตใจนั้นยังมีอยู่ แต่ว่าหัวหูตาตีนมือ แม้แต่นิดหนึ่งก็ไม่มีเลย เสวยสุขอยู่ด้วยภาวะไม่มีรูป ตามจิตปรารถนา อากาสานัญจายตนภูมิ = ภูมิเป็นที่ตั้งอยู่แห่งพระพรหม ผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยอากาสบัญญัติซึ่ง ไม่มีที่สุดเป็นอารมณ์ ตั้งอยู่พ้นจากอกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลกไปอีก ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์
    ๑๘. วิญญาณัญจายตนภูมิ พ้นจากอากาสัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ วิญญาณัญจายตนภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่ แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย วิญญาณบัญญัติ อันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป ซึ่งอุบัติเกิด ณ อรูปพรหมโลก แห่งนี้ เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยวิญญาณัญจายตน วิบากจิต
    ๑๙. อากิญจัญญายตนภูมิ พ้นจากวิญญานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ อากิญจัญญายตนภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่ แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย นัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป อุบัติเกิด ณ อรูปพรหมโลก แห่งนี้ เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยอากิญจัญญายตน วิบากจิต
    ๒๐. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พ้นจากอากิญจัญญายตนภูมิขึ้นไปอีก ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่ แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย ความประณีตเป็นอย่างยิ่ง มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป อุบัติเกิด ณ อรูปพรหมโลก แห่งนี้ เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญา ยตนวิบากจิต มีอายุยืนนานเป็นที่สุดด้วยอำนาจแห่ง อรูปฌานกุศลอันสูงสุดที่ตนได้บำเพ็ญมา พระพรหมวิเศษแต่ละองค์ในชั้นสูงสุดนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้สำเร็จยอดแห่งอรูปฌาน คืออรูปฌานที่ ๔ มาแล้วทั้งสิ้น
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-ปฏิปทาให้ถึงพรหมโลกและอายุแห่งพรหม-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ปฏิปทาให้เกิดในพรหมโลก มิใช่เพราะอานิสงส์ แห่งบุญกุศลอย่างสามัญธรรมดา คืออานิสงส์แห่งทาน และศีลแต่เป็นอานิสงส์แห่งภาวนา
    อายุแห่งพรหม
    ๑. พรหมปาริสัชชาพรหมภูมิ อายุประมาณส่วนที่ ๓ แห่งมหากัป (๑ ใน ๓ แห่งมหากัป)
    ๒. พรหมปุโรหิตาพรหมภูมิ อายุประมาณครึ่งมหากัป
    ๓. มหาพรหมาพรหมภูมิ อายุประมาณ ๑ มหากัป
    ๔. ปริตตาภาพรหมภูมิ อายุประมาณ ๒ มหากัป
    ๕. อัปปมาณาภาพรหมภูมิ อายุประมาณ ๔ มหากัป
    ๖.อาภัสราพรหมภูมิ อายุประมาณ ๘ มหากัป
    ๗. ปริตตสุภาพรหมภูมิ อายุประมาณ ๑๖ มหากัป
    ๘. อัปปมาณสุภาพรหมภูมิ อายุประมาณ ๓๒ มหากัป
    ๙. สุภกิณหาพรหมภูมิ อายุประมาณ ๖๔ มหากัป
    ๑๐. เวหัปผลาพรหมภูมิ อายุประมาณ ๕๐๐ มหากัป
    ๑๑. อสัญญีสัตตาภูมิ อายุประมาณ ๕๐๐ มหากัป
    ๑๒. อวิหาสุทธาวาสพรหมภูมิอายุประมาณ ๑๐๐๐ มหากัป
    ๑๓. อตัปปาสุทธาวาสพรหมภูมิ อายุประมาณ ๒๐๐๐ มหากัป
    ๑๔. สุทัสสาสุทธาวาสพรหมภูมิ อายุประมาณ ๔๐๐๐ มหากัป
    ๑๕. สุทัสสีสุทธาวาสพรหมภูมิ อายุประมาณ ๘๐๐๐ มหากัป
    ๑๖. อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมภูมิ อายุประมาณ ๑๖๐๐๐ มหากัป
    ๑๗. อากาสานัญจายตนพรหมภูมิ อายุประมาณ ๒๐๐๐๐ มหากัป
    ๑๘. วิญญาณัญจายตนพรหมภูมิ อายุประมาณ ๔๐๐๐๐ มหากัป
    ๑๙. อากิญจัญญายตนพรหมภูมิ อายุประมาณ ๖๐๐๐๐ มหากัป
    ๒๐. เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมภูมิ อายุประมาณ ๘๔๐๐๐ มหากัป

    จบ "พรหมภูมิ"
    ตอนต่อไป (ตอนสุดท้าย) "โลกุตตรภูมิ" :>
    *********************************************
    จาก "ภูมิวิลาสินี" โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2010
  9. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    โลกุตตรภูมิ

    [​IMG]


    ภูมิวิลาสินี (บางส่วน) ตอนที่ 8
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
    "โลกุตตรภูมิ"

    บัดนี้ จักพรรณนาถึงโลกุตตรภูมิ พร้อมทั้ง ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นหนทางนำไปถึงโลกุตตรภูมิคือพระนิพพาน อันเป็นอมตธรรมวิเศษประเสริฐสุด ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเรา ผู้เป็นพุทธสาวกทั้งหลาย ควรจักทราบเอาไว้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะสิ่งสำคัญสูงสุดในพระบวรพุทธศาสนาของเรา ก็อยู่ตรงนี้ คือ ตรงพระนิพพานนี่เอง เหตุไฉน จึงกล่าว อย่างนี้ ก็จะไม่ให้กล่าวเช่นนี้อย่างไรได้เล่า เพราะว่า การที่สมเด็จพระมิ่งมงกุฎสัมพุทธศากยมุณีโคดมบรมครู เจ้าแห่งเราทั้งปวง ซึ่งทรงมีดวงพระหฤทัยมากไปด้วย พระอุตสาหะ ทรงก่อวิริยะสร้างพระบารมีมา เพื่อจักได้ ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ นับเป็นเวลานาน นักหนา คณนาได้ ๔ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐๐๐๐ มหากัป ก็ดี และการที่สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าผู้ทรงได้บรรลุพระ ปรมาภิเษกสัมโพธิญาณสมตามพระหฤทัยประสงค์แล้ว ทรงมีพระมหากรุณาแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเวไนยนิกร โดยมิได้ทรงอนุสรณ์ถึงความยากลำบากแห่งพระวรกาย จนกระทั่งเสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานก็ดี โดยพระ พุทธประสงค์ ก็เพื่อที่จะรื้อสัตว์ขนสัตว์เข้าไปสู่แดน พระนิพพานอมตสุขนี่เองเป็นประการสำคัญ
    ฉะนั้น ในบัดนี้ ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ซึ่งเกิดมา ในชาตินี้เป็นผู้โชคดี โดยได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบบวรพุทธ ศาสนา จงอย่ามีความคิดไขว้เขวรวนเร ดูถูกดูหมิ่นตัว ของเราเองว่า
    "อันว่าตัวข้านี้ เป็นคนแย่เต็มที คือว่าเป็นคนมีวาสนา บารมีน้อย ยังเป็นคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ ไม่ทราบ ไม่รู้พระบาลีพุทธวจนะ ไม่รู้ธรรมะอันลึกซึ้งแห่งองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เยียใดเล่า จึงจะไปบังอาจ รู้เรื่องพระนิพพานอันเป็นยอดธรรม เพราะฉะนั้น จง ปล่อยตัวเรานี้ไปตามบุญตามกรรมดีกว่า คือว่าอย่าฟัง อย่าอ่าน อย่าศึกษา อย่าไปแตะต้องเรื่องพระนิพพานเลย ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท่านผู้ทรงปัญญาบารมี สุดแต่ ท่านจะว่ากันไป เข้าใจไหมเล่า เจ้าโง่" ดังนี้
    อนึ่ง อย่าเป็นผู้มีความคิดอ่านฟุ้งซ่านเตลิดเปิดเปิงไปด้วย อำนาจใจอันประกอบไปด้วยมานะอหังการ์ คิดไปตาม ประสาทิฐิอันโง่ๆ แห่งตนว่า
    "อโห! พระนิพพานที่ว่านี้น่ะรึ ตัวข้านี้รู้แล้ว ถึงแล้ว คือว่าเป็นสภาวะง่ายๆ เพียงแต่ทำใจให้สงบชั่วครู่ชั่วยาม ทำใจให้รู้เท่าทันธรรมชาติ ก็จัดว่าเป็นพระนิพพานแล้ว เพราะพระนิพพานนั้นเป็นสภาวะที่ง่ายจะตายไป ไม่ต้อง ประพฤติปฏิบัติอะไรให้มันเหนื่อยยากแลยุ่งไปเปล่าๆ พระนิพพานอยู่ที่ตัวเรานี่เอง ขอแต่ทำใจให้สงบเท่านั้น ก็อาจจะพลันได้พระนิพพานเอาง่ายๆ อ้าว! นี่…บัดนี้ …ข้าถึงพระนิพพานแล้วกระมังหว่า"
    เกียดกันทิฐิอันไม่เข้าท่าทั้ง ๒ ประการดังกล่าวมานี้ ให้หลบหนีออกไปจากจิตสันดานเสียในกาลบัดนี้แล้ว จงทำใจให้ผ่องแผ้ว และมีมนสิการสดับตรับฟังเรื่อง พระนิพพาน ซึ่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธประสงค์ที่จะให้พวกเรา ได้มีโอกาสลิ้มรสสืบต่อไป
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-ลักษณะพระนิพพาน-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในนิพพานสูตร (ขุททกนิกาย อุทาน ข้อ ๑๕๙ หน้า ๒๐๗ บาลีฉบับสยามรัฐ) ปรากฏมีข้อความที่กล่าวถึงพระ พระนิพพานว่า วันหนึ่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ทรงชี้แจงให้ภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ได้ทราบ เรื่องพระนิพพานด้วยธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตด้วย พระนิพพาน เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นได้เห็นอย่างจริงใจ มีจิตสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงในพระนิพพาน แล้วที่สุดสมเด็จพระพุทธองค์ได้ทรงมีพระมหากรุณา ตรัสว่า
    "ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ไม่มีตัณหาชื่อว่านิพพาน! นิพพานนั้น เป็นธรรมจริงแท้ ตัณหาย่อมจะถูกบุคคลผู้ เห็นนิพพานแทงตลอดหมด กิเลสเครื่องกังวล ย่อมไม่มี แก่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นพระนิพพาน" ดังนี้
    "ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ธรรมชาติ ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ทั้งหลาย! หากว่า ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่มี แล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติ ที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏ ในโลกนี้เลย" (ขุททกนิกาย อุทาน นิพพานสูตร ข้อ ๑๖๐ หน้า ๒๐๗ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    "ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่ผู้ที่ถูกตัณหาและทิฐิอาศัย ความไม่หวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่ถูกตัณหาและทิฐิ อาศัย เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็ย่อมมีปัสสัทธิความสงบ เมื่อมีปัสสัทธิความสงบ ก็ย่อมไม่มีความยินดี เมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ย่อมไม่มีการจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้ก็ไม่มี โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี่แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์" ดังนี้ (ขุททกนิกาย อุทาน นิพพานสูตร ข้อ ๑๖๑ หน้า ๒๐๙ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    (สังยุตนิกาย สฬายตนวรรค ข้อ ๔๙๗ หน้า ๓๐๐ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    สมัยหนึ่ง ชัมพุขาทกปริพาชก ได้ไปเข้าหาองค์ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรมหาเถรเจ้า เรียนถามความ สงสัยที่ค้างใจของตนมานาน อย่างตรงไปตรงมาว่า
    "ดูกรท่านสารีบุตร! ที่เรียกว่าพระนิพพานๆ ดังนี้น่ะ พระนิพพานนั้นเป็นดังฤา"
    "ดูกรปริพาชก! ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี่แหละเรียกวว่าพระนิพพาน
    "ดูกรท่านสารีบุตร! ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่ หรือ เพื่อที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้ง"
    "มีอยู่ ปริพาชก "
    "ดูกรท่านสารีบุตร! ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทา เป็นไฉน ในการที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ขอท่าน จงกล่าวมาเถิด"
    เมื่อสดับปริพาชกชัมพุขาทกะมากกล่าวถามดังนี้ องค์พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงกล่าวปฏิปทาเพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานว่า
    "ดูกรปริพาชก! อริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประกาาร คือ
    ๑. สัมมาทิฏฐิ = ความเห็นชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ = ความดำริชอบ
    ๓. สัมมาวาจา = วาจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันตะ = การงานชอบ
    ๕. สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ
    ๖. สัมมาวายามะ = พยายามชอบ
    ๗. สัมมาสติ = ตั้งสติชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ = ตั้งใจชอบ
    อริยมรรคนี่แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำ พระนิพพานนั้นให้แจ้ง "
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-วัฏสงสาร-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    การที่สัตว์ในโลกทั้งปวงทุกรูปทุกนาม ต้องท่องเที่ยว วนเวียนอยู่ในภูมิทั้งหลาย คือต้องเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในโลกต่างๆ อย่างไม่มีวันสิ้นสุดนั้น ในทาง พระพุทธศาสนาเรียกชื่อว่า วัฏสงสาร = การท่อง เที่ยวเวียนตายเวียนเกิด เพราะวัฏฏะวนเวียน
    วัฏสงสารนี้ เมื่อจะจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ เพื่อให้ จำได้ง่าย ก็มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประเภท คือ
    ๑. เหมฐิมวัฏสงสาร การท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตาย อยู่ในภูมิชั้นต่ำชั้นทราม อันมีความทุกข์มากหรือมีทุกข์ โดยส่วนเดียว กล่าวคือ นิรยภูมิ เปตติวิสยภูมิ อสุรกายภูมิ ติรัจฉานภูมิ
    ๒. มัชฌิมวัฏสงสาร การท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตาย อยู่ในภูมิชั้นกลาง เป็นโลกชั้นดี มีโลกิยสุขพอประมาณ คือมีสุขบ้างทุกข์บ้าง หรือมีสุขโดยส่วนเดียวแต่เป็นสุข ชั้นโลกีย์ ซึ่งมีอยู่ ๗ ภูมิ คือ มนุสสภูมิ จาตุมหาราชิกาภูมิ ตาวติงสภูมิ ยามาภูมิ ตุสิตาภูมิ นิมมานรดีภูมิ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ
    ๓. อุปริมวัฏสงสาร การท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตาย อยู่ในภูมิชั้นสูง อันเป็นภูมิชั้นดีวิเศษมีสุขมาก แต่ยัง เป็นสามิสสสุข คือเป็นสุขเจือทุกข์ ซึ่งมีอยู่ ๒๐ ภูมิคือ รูปภูมิ ๑๖ ภูมิและอรูปภูมิ ๔ ภูมิ
    บรรดาภูมิทั้ง ๓๑ ภูมินี้ ยกเว้นสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ แล้ว ย่อมเป็นที่อุบัติเกิด เป็นที่อยู่และเป็นที่ตายแห่งสัตว์ ทั้งหลายทุกรูปทุกนาม สัตว์โลกทั้งหลายย่อมต้อง ท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตาย อยู่ในภูมิเหล่านี้เรื่อยไป ไม่มีวันสิ้นสุดลงได้ ต้องอยู่ภายในวัฏสงสารนี้ มิภูมิใดก็ภูมิหนึ่งอย่างแน่นอน
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-อนุสัย-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อนุเสนตีติ อนุสยา สภาพที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าอนุสัย
    ก็เพราะเหตุใดเล่า สัตว์ทั้งหลายจึงต้องเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร ซึ่งเป็นสภาพการณ์ที่น่าเบื่อหน่ายนักหนา เช่นนี้เล่า
    ก็เพราะยังมีกิเลสตัณหาติดอยู่ในจิตสันดาน ตราบใด ที่ยังมีกิเลสตัณหาติดอยู่ในจิตสันดานแล้ว ก็จะถูกเจ้า กิเลสตัณหานี่แหละ พาให้หลงติดหลงเวียนว่ายอยู่ใน วัฏสงสารทะเลใหญ่โดยไม่หยุดหย่อน เมื่อพูดถึงกิเลส ตัณหาที่นอนนิ่งอยู่ในจิตสันดานของประชาสัตว์ ทั้งหลายนี้แล้ว แต่ละสัตว์แต่ละบุคคล ก็มีอยู่กันคนละ มากมายสุดที่จะพรรณนา ท่านย่อมว่า กิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ ย่อมมีอยู่เป็นประจำสันดานของ แต่ละสัตว์แต่ละบุคคล การที่จะจับเอากิเลสตัณหามา จาระนัยทีละตัวนั้น ย่อมเป็นการยากนักหนา เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงขอกล่าวอย่างรวบรัดว่า กิเลสตัณหาอันมากมายเหล่านั้น รวมเรียกว่าเป็น สิ่งจัญไรสิ่งหนึ่ง ซึ่งเปรียบเหมือนงูมีพิษร้าย แอบ อาศัยอยู่ในสันดานของประชาสัตว์ทั้งหลาย แล้วคอยคายพิษราดรดลงในดวงจิตให้กำซาบซ่าน ทำให้ประชาสัตว์ทั้งหลายได้รับความทุกข์ทรมาน วิปริตพิกลพิการ ต้องสลึมสลือเวียนวนตายเกิด และเกิดตายอยู่ในวัฏสงสารคือโลกต่างๆ อยู่ ตลอดไป สั่งจัญไรที่เปรียบเสมืออนอสรพิษร้ายนี้ มีชื่อว่า อนุสัย
    อันว่าอนุสัยนี้ สมเด็จพระธรรมราชาธิบดีสัมมาสัมพุทธ เจ้าแห่งเราทั้งหลาย ได้ทรงพระกรุณาตรัสไว้ว่ามีอยู่ ๗ อย่าง คือ (อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๑๒ หน้า ๙ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    ๑. ทิฏฐานุสัย องค์ธรรมได้แก่ทิฏฐิเจตสิก
    ๒. วิจิกิจฉานุสัย องค์ธรรมได้แก่วิจิกิจฉาเจตสิก
    ๓. กามราคานุสัย องค์ธรรมได้แก่โลภเจตสิก
    ๔. ปฏิฆานุสัย องค์ธรรมได้แก่โทสเจตสิก
    ๕. มานานุสัย องค์ธรรมได้แก่มานเจตสิก
    ๖. ภวราคานุสัย องค์ธรรมได้แก่โลภเจตสิก
    ๗. อวิชชานุสัย องค์ธรรมได้แก่โมหเจตสิก
    อนุสัยทั้ง ๗ ประการอย่างนี้ เป็นธรรมชาติที่ชั่วร้าย ซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ตั้งแต่เริ่ม ปฏิสนธิ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์จำพวกที่ปฏิสนธิด้วยรูปและ นามก็ดี หรือจะเป็นสัตว์จำพวกที่ปฏิสนธิด้วยรูปอย่าง เดียวก็ดี หรือจะเป็นสัตว์จำพวกที่ปฏิสนธิด้วยนามอย่าง เดียวก็ดี อนุสัยเหล่านี้ ย่อมปรากฏมีอยู่ในสันดานของ สัตว์เหล่านั้นตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิมาแล้วทั้งสิ้น และจะติด ประจำในสันดานของสัตว์ทั้งหลายอยู่อย่างนั้นตลอดไป และตลอดไปเป็นนิตย์ ก็กิริยาที่อนุสัยนอนเนื่องอยู่ใน สันดานของสัตว์ทั้งหลายนั้น ในขณะที่ยังไม่มีอารมณ์ มากระทบก็ไม่อาจสังเกตได้ ว่าเป็นสภาพที่มีอยู่ ต่อเมื่อใด มีอารมณ์มากระทบ จึงจะปรากฏอาการขึ้น อุปมาดุจงูพิษร้ายที่นอนหลับเฉยอยู่ ขณะที่ยังไม่มีสิ่งใด มากระทบ เจ้างูตัวนั้น ก็จะนอนหลับเฉยอยู่เรื่อยไป โดยไม่ปรากฏอาการใดๆ เลย ต่อเมื่อมีสิ่งใดมากระทบ งูพิษร้ายนั้น ก็จะยกศีรษะขึ้นฉกจวักทันที อนุสัยก็เป็น เช่นนั้น นอนเนื่องอยู่ในสันดาน คอยรอเหตุการณ์ เมื่อมีเหตุการณ์มากระทบแล้วจึงจะมีปฏิกิริยา เช่น อย่างว่า ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ที่ได้ติดตามอ่าน ภูมิวิลาสินีนี้เรื่อยมาด้วยความสบายใจ โดยไม่มี เหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ทีนี้ พอมาถึงตอนนี้ คือตอนที่ว่า ด้วยอนุสัยนี่แหละ เห็นเนื้อความ ชักจะขัดๆ ไม่ค่อย กระจ่าง บางทีเลยทำให้เกิดอาการงงๆ
    "อนุสงอนุสัยอะไรกันเล่านี่ หือ! ไม่เข้าใจ จะเขียน อธิบายอะไรให้ง่ายกว่านี้สักหน่อยก็ไม่ได้ จะได้อ่านกัน อย่างสบายๆ ช่างไม่รู้อะไรเลยว่า โลกในปัจจุบันทุกวันนี้ เวลาเป็นสิ่งที่มีค่า จะว่าจะเขียนอะไร ก็ควรจะให้ง่ายๆ และรวบรัดสั้นๆ ไม่ต้องให้คนฟังคนอ่านเขาเสียเวลา พิจารณามากมาย นี่อะไร อ่านตั้งหลายครั้งหลายหน ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ อย่าอ่านต่อไปเลยดีกว่า…"
    เมื่อมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในจิตเช่นนี้ ก็ย่อมจักแสดงว่า บัดนี้ เจ้างูร้ายที่นอนเฉยมานาน คือ "ปฏิฆานุสัย" อันได้แก่ โทสเจตสิกความไม่พอใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดางูร้าย อนุสัยทั้ง ๗ มันได้เหตุการณ์คือมีอารมณ์มากระทบแล้ว และเริ่มปฏิกิริยาแสดงอาการขู่ฟ้อหรือยกศีรษะขึ้นฉกแล้ว เช่นนี้เป็นต้น
    ก็เพราะอนุสัยทั้ง ๗ นี้แหละ เป็นเหตุ และเพราะอนุสัย ทั้ง ๗ นี้เป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลายในโลกต่างๆ จึงต้องมีอัน เป็นเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในห้วงทะเลใหญ่คือวัฏสงสาร อนุสัยทั้ง ๗ นี้เอง เป็นสิ่งดลบันดาลให้ไปเกิดในภูมินั้น ภูมินี้ ดีบ้างชั่วบ้าง ให้ต้องเสวยผลกรรมของตน เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง อย่างไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุด หยุดหย่อนเลย แม้แต่ชั่วขณะเล็กน้อยมาตรว่าชั่วแต่ เสี้ยววินาทีเดียว เมื่อเฉลียวใจพิจารณาดูด้วยปัญญา จึงจะเห็นว่าเป็นสภาวะที่น่าเบื่อหน่ายนักหนา ตราบใด ที่ยังฆ่าอนุสัยซึ่งเป็นเช่นงูร้ายที่แอบอาศัยอยู่ใน ขันธสันดานให้ตายไม่ได้ ก็อย่าหวังเลยว่า จักได้หยุด การท่องเที่ยวไปอย่างเหน็ดเหนื่อยในวัฏสงสาร
    การที่ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ทำการประหารอนุสัยทั้ง ๗ ประการนั้น ให้ขาดออกไปจากสันดานแห่งตนได้นั้น มีสำนวนทางพระศาสนาอยู่ ๓ สำนวน คือ
    ๑. ตัดตัณหาได้
    ๒. เพิกถอนเครื่องผูกพันภพได้
    ๓. กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
    ทั้ง ๓ สำนวนนี้ ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ซึ่งเป็น พุทธศาสนิกชนก็คงจะตอบได้กันแทบทุกคนว่า หมายถึง พระนิพพาน นั่นเอง เพราะ พระนิพพานอันเป็นยอดธรรมนั้น มีสภาวะตัดตัณหา เพิกถอนเครื่องผูกพันภพ และหมดทุกข์โดยตรง ฉะนั้น จึงต้องทำการตกลงให้เด็ดขาดในตอนนี้อย่างง่ายๆ ว่า เมื่อปรารถนาพระนิพพานก็ต้องประหารอนุสัย ทั้ง ๗ นี้
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-ปฏิปทาให้ถึงพระนิพพาน-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    วิธีการประหารอนุสัย เพื่อให้มีโอกาสบรรลุ พระนิพพานนั้น ต้องปฏิบัติการโดยวิธีดำเนินไป ตามปฏิปทาทางไปพระนิพพาน จึงจะเป็นการ ถูกต้อง
    ปฏิปทาทางไปพระนิพพานนั้น ไปทางไหน
    ไปทางเอกายนมรรค
    เอกายนมรรค หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า ทางเอกทางเดียว ซึ่งนำไปสู่ธรรมเอก คือ พระนิพพานอย่างเดียว
    เอกายนมรรค ทางเอกอันประเสริฐที่ว่ามานั้น คืออะไรเล่า
    ทางเอกอันประเสริฐที่ว่ามานั้น คือธรรมวิเศษ หมวดหนึ่ง ซึ่งบอกวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ บรรลุพระนิพพาน
    ธรรมวิเศษอันประเสริฐนั้น มีชื่อว่าอย่างไร
    มหาสติปัฏฐาน ธรรมวิเศษอันประเสริฐนั้น มีชื่อว่า มหาสติปัฏฐาน
    มหาสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีการปฏิบัติอย่างรัดกุม เพื่อให้ ถึงพระนิพพาน พระพุทธฎีกามหาสติปัฏฐานนี้ หากว่า เป็นแต่อ่านผ่านๆ ไปโดยธรรมดา ดูเหมือนย่อมทำให้ รู้สึกว่าเป็นแต่เพียงพระพุทธพจน์บทหนึ่งเท่านั้นเอง มิค่อยจะวิเศษอะไรนัก แต่ความจริงแล้วทรงไว้ซึ่ง ความศักดิ์สิทธิ์และความจริงอันประเสริฐเป็นที่สุด เพราะแนวปฏิบัติตามพระสติปัฏฐานนี้เท่านั้น เป็นหัวใจของการปฏิบัติ เป็นหนทางที่ตัดตรงไปสู่ แดนอมตมหานฤพานทีเดียว
    ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ว่า เมื่อปฏิบัติตามพระพุทธฎีกาสติปัฏฐานนี้ อย่างถูกวิธี และอย่างสมบูรณ์ ไม่บกพร่องแล้ว ย่อมจะเกิดดวงแก้ว ซึ่งได้แก่ภาวนามยปัญญาคือปัญญาอันประเสริฐ เกิดจากภาวนา ทำให้เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง อย่างแน่แท้ที่สุด เห็นโดยวิเศษเป็นนักหนา ซี่งประเสริฐ กว่าการรู้การเห็นด้วยสุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิด จากการอ่านการเขียนการเรียนการศึกษา หรือ จินตามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการจินตนาการ คิดเอาเป็นไหนๆ ฉะนั้นจึงได้มีการขนานนามการ กระทำตามสติปัฏฐาน อันเป็นเอกายนมรรค ทางสายเอกซึ่งพุ่งตรงไปสู่พระนิพพานนี้ว่า วิปัสสนากรรมฐาน = การกระทำเพื่อให้ เห็นสภาวธรรมโดยพิสดารวิเศษสุด (ฑีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ ๒๗๓ หน้า ๓๒๕ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    จะเห็นว่าพระสารีบุตรได้ตอบปัญหาเรื่องปฏิปทา ทางไปสู่พระนิพพานว่าเป็น "อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘" แต่มาตอนนี้เป็นคำตรัสของพระพุทธองค์ ว่าปฏิปทาทางไปพระนิพพานนั้น คือ "การบำเพ็ญ วิปัสสนากรรมฐาน โดยกระทำตามแนวพระสติ ปัฏฐาน" ฟังแล้วขัดแย้งกันอยู่ น่าสงสัยเป็นนักหนา
    คำวิสัชชนาก็มีว่า ก็ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร จึงจะทำให้ เข้าใจแจ่มแจ้งได้ แต่ในกรณีนี้ขอยืนยันว่าคำก่อนกับ คำหลังนั้น ตรงกันไม่ผิดดอก เป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง เพราะคำทั้งสองนั้นปรากฏมีในพระสูตรที่สำคัญยิ่ง คือ คำกล่าวว่าเป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ ของพระสารีบุตรก็ดี คำกล่าวว่าเป็นพระสติปัฏฐาน ๔ ประการของพระพุทธ องค์ก็ดี ทั้งสองพระสูตรนี้ มีความถูกต้องตรงกัน ในทางปฏิบัติ คือหมายความว่า เมื่อผู้เห็นภัยใน วัฏสงสาร มีปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพานโดยนัยแห่ง พระสติปัฏฐาน ก็ย่อมเป็นอันปฏิบัติการตามนัยแห่ง พระอริยมรรคไปด้วยในตัว ทั้งนี้ ก็เพราะธรรมทั้ง ๒ หมวดนี้มีสภาวะเป็นอันเดียวกันในขณะปฏิบัติเพื่อ บรรลุพระนิพพาน ซึ่งในเรื่องนี้ ท่านผู้ที่ปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานจนได้บรรลุพระอริยมรรคญาณ เท่านั้น จึงจะทราบได้เป็นอย่างดีว่าไม่มีความ ขัดแย้งกันในวาทะแห่งองค์พระอรหันต์ผู้วิเศษนั้น แต่ประการใดเลย
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-มุ่งหน้าสู่พระนิพพาน-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    โลกุตตรภูมิ = ภูมิที่พ้นจากโลก อันเป็นผลวิบากแห่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ มีอยู่ทั้งหมด ๔ ภูมิ คือ
    ๑. โสดาปันนโลกุตรภูมิ
    ๒. สกิทาคามีโลกุตรภูมิ
    ๓. อนาคามีโลกุตรภูมิ
    ๔. อรหัตโลกุตรภูมิ
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-โสดาปันนโลกุตรภูมิ-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    โสดาปันนโลกุตรภูมิ = ภูมิที่พ้นจากโลกแห่งท่านผู้ถึง กระแสพระนิพพาน หมายความว่า ท่านผู้ใด บรรลุถึงภูมินี้ แล้ว ท่านผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าพระโสดาบันอริยบุคคล เป็นพระอริยบุคคลชั้นที่ ๑ ในพระบวรพุทธศาสนา เป็นผู้ได้ดื่มอมตรสคือพระนิพพาน ได้เห็นพระนิพพานแล้ว
    การจะได้มีโอกาสบรรลุถึงขั้นโลกุตรภูมินี้ มิใช่ว่าอยู่ดีๆ ก็จะเกิด เอะอะตูมตามได้บรรลุขึ้นมาเองง่ายๆ โดยไม่ ต้องอาศัยการปฏิบัติอะไรเลย โดยที่แท้ ต้องเป็นผู้มีโชค อย่างประเสริฐสุด ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธ ศาสนา หรือเป็นเทวดาผู้สัมมาทิฐิมีความเลื่อมใสใน พระรัตนตรัยแล้วมีใจประกอบไปด้วยศรัทธากล้าหาญ มั่นคง ปลงปัญญาลงเห็นภัยในวัฏสงสาร ใคร่จะตาม รอยบาทพระพุทธองค์ มุ่งตรงต่อพระนิพพาน จึงอุตสาหะปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกรรมฐาน และต้องเป็น วิปัสสนากรรมฐานเท่านั้นจึงจะได้ ต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานเป็นสัมมาปฏิบัติ คือ ปฏิบัติถูกต้องตามกระแสพระพุทธฎีกา เป็นวิปัสสนา อย่างแท้จริงจึงจะได้
    เมื่อได้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานเป็นสัมมาปฏิบัติแล้ว และเมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ ซึ่งมีอยู่เป็นประจำในขันธสันดาน ของสัตว์บุคคลทุกรูปทุกนามคือ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ อันเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานนี้ ถึงความพร้อมเพรียงสม่ำเสมอ กันเป็นอันดีแล้ว สภาวญาณก็จะเกิดขึ้น และก้าวหน้า ไปเรื่อยๆ ตามลำดับแห่งวิปัสสนาญาณ ๑๖ ญาณ ดังต่อไปนี้ นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ
    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย เมื่อท่านผู้ใด เกิดมีอุตสาหะ บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนกระทั่งได้ผ่าน โสฬสญาณ คือวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖ มาโดยลำดับอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง แต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ท่านผู้นั้น ก็ได้ชื่อว่า บรรลุถึงโสตาปันนโลกุตรภูมิ และได้รับขนานนามว่า พระโสดาบันอริยบุคคล
    คุณวิเศษ ท่านพระโสดาบันอริยบุคคลนี้ ย่อมมีคุณวิเศษยิ่งกว่า ปุถุชนบุคคลมากมายสุดที่จะประมาณ
    ประการแรกคือสามารถประหารอนุสัยกิเลสให้ตาย ตกไปได้จากขันธสันดานของท่านได้ ๒ ตัวแล้ว คือ
    ๑. ทิฏฐานุสัย = อนุสัยคือทิฏฐิ ได้แก่ความเห็นผิดใน รูปนามขันธ์ห้า
    ๒. วิจิกิจฉานุสัย = อนุสัยคือวิจิกิจฉา ได้แก่ความสงสัย ในพระรัตนตรัย
    ประการที่สอง ปิดประตูอบาย พระโสดบันอริยบุคคลนี้ มีดวงชีวิตผ่องแผ้ว ได้รับความเบาใจทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ประเสริฐกว่าเป็นพระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ เพราะพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า ไม่ต้องไปเกิด ในอบายอีกแล้ว เพราะเป็นผู้ปิดประตูอบายได้อย่าง เด็ดขาดแล้ว
    มีกฎธรรมดาอยู่ว่า พระโสดาบันอริยบุคคลนี้ ท่านจะเวียนว่ายตายเกิดอีกอย่างมาก ไม่เกิน ๗ ชาติเท่านั้น ตามประเภทแห่งพระ โสดาบัน ๓ จำพวก คือ
    ๑. เอกพีชีโสดาบัน จักเกิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น แล้วก็จักได้บรรลุพระอรหัตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อริยบุคคล แล้วก็จักได้ดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน
    ๒.โกลังโกละโสดาบัน จักเกิดอีก ๒-๓ ชาติเป็นต้น แล้วก็จักได้บรรลุพระอรหัตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อริยบุคคล แล้วก็จักได้ดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน
    ๓. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน จะเกิดอีกอย่างมาก ไม่เกิน ๗ ชาติ แล้วก็จักได้บรรลุพระอรหัตผล สำเร็จเป็น พระอรหันต์อริยบุคคล แล้วก็จักได้ดับขันธ์เข้าสู่พระ ปรินิพพาน
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>สกิทาคามีโลกุตรภูมิ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    สกิทาคามีโลกุตรภูมิ = ภูมิที่พ้นจากโลกแห่งท่านผู้ที่ จะกลับมาเกิดอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักได้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และดับขันธ์เข้าสู่พระ ปรินิพพานแดนอมตสุขชั่วนิรันดร์
    ปฏิปทา แห่งท่านผู้ได้บรรลุถึงโลกุตรภูมิชั้นนี้ คือ ต้องเป็นผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ผ่าน โสตาปันนโลกุตรภูมิมาแล้ว และเพียรปฏิบัติต่อไป เมื่ออินทรีย์ทั้งห้าถึงภาวะแก่กล้าสม่ำเสมอกันดีแล้ว สภาวญาณก็จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ จนถึง สังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าสภาวะพระวิปัสสนา ญาณเหล่านี้ จะปรากฏชัดเจนละเอียดแจ่มแจ้ง คือ ชัดเจนแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณชั้นโสตาปันนโลกุตรภูมิ ซึ่งตนได้เคยผ่านมาแล้ว ต่อจากนั้น อนุโลมญาณ ก็จะ เกิดขึ้น และติดตามด้วย โวทานะ (แทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยบุคคลแล้วมิใช่ปุถุชน ฉะนั้น ญาณ ที่ตัดโคตรปุถุชน คือ โคตรภูญาณ จึงไม่จำเป็นต้อง เกิดขึ้นอีก) ต่อจากโวทานะ ก็ถึงวาระที่สำคัญที่สุด นั่นคือ ทุติยมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระ สกิทาคามิมรรคญาณ ก็จักพลันอุบัติขึ้น แล้วตามติดมาด้วย สกิทาคามีผลญาณ ซึ่งจะเป็น การเสวยพระนิพพานสมความปรารถนา
    พระสกิทาคามิมรรคญาณที่อุบัติขึ้นครั้งนี้ ไม่มีอำนาจ ที่จะประหารอนุสัยกิเลสที่เหลือไปอีกแม้แต่ตัวเดียว แต่ทว่า มีอำนาจสามารถกระทำกิเลสทั้งหลายให้เป็น ตนุกร คือ ทำให้เบาบางกว่าพระ โสดาปัตติมรรคญาณ และมีอำนาจบันดาลให้ผู้บรรลุ ได้สำเร็จเป็น พระสกิทาคามีอริยบุคคล
    คุณวิเศษ ท่านพระสกิทาคามีอริยบุคคลนี้ นอกจากกิเลสจะเบาบาง กว่าพระโสดาบันอริยบุคคลแล้ว ยังมีคุณวิเศษคือสามารถ เข้าสกิทาคามีผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ ตามจิตปรารถนาอีกด้วย แต่ที่นับว่าวิเศษสุดยอดก็คือ ท่านจะเกิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น ก็จักได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์อริยบุคคลแล้วก็จักดับขันธ์เข้าสู่พระ ปรินิพพาน
    พระสกิทาคามีอริยบุคคลมี ๕ จำพวก คือ
    ๑. เป็นมนุษย์ สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีอริยบุคคล ในมนุษยโลก แล้วจุติไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ สวรรคเทวโลก แล้วจึงจุติจากสวรรคเทวโลก กลับมา เกิดในโลกมนุษย์ แล้วได้บรรลุพระอรหัตผล
    ๒. เป็นมนุษย์ สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีอริยบุคคลใน มนุษยโลก แล้วทำความเพียรต่อในโลก จนได้บรรลุ พระอรหัตผลในโลกมนุษย์นี้เอง
    ๓. เป็นมนุษย์ สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีอริยบุคคลใน มนุษยโลก แล้วไปจุติเป็นเทพยดาเจ้า แล้วเจริญ วิปัสสนากรรมฐานจนได้บรรลุอรหัตผล ณ สวรรคเทวโลก
    ๔. เป็นเทพยดาเจ้า ได้สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีอริยบุคคล ในสวรรคเทวโลกแล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐารต่อ จนได้ บรรลุพระอรหัตผล ณ สวรรคเทวโลกนั่นเอง
    ๕. เป็นเทพยดาเจ้า ได้สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีอริยบุคคล ในสวรรคเทวโลก แล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วได้บรรลุ อรหัตผล ณ มนุษยโลก
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>อนาคามีโลกุตรภูมิ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อนาคามีโลกุตรภูมิ = ภูมิที่พ้นจากโลกแห่งท่านผู้ที่ จะไม่กลับมาอีก ท่านจักไม่กลับมาในกามภูมิ คือ มนุษยโลกและเทวโลกอีกเลย
    ปฏิปทา แห่งท่านผู้ได้บรรลุถึงโลกุตรภูมิชั้นนี้ คือ ต้องเป็นผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ผ่าน สกิทาคามีโลกุตรภูมิมาแล้ว และเพียรปฏิบัติต่อไป เมื่อวาสนาบารมีที่สั่งสมอบรมมามีเพียงพอและ เมื่ออินทรีย์ทั้งห้าถึงภาวะแก่กล้าสม่ำเสมอกันดีแล้ว สภาวญาณก็จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ จนถึง สังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าสภาวะพระวิปัสสนา ญาณเหล่านี้ จะปรากฏชัดเจนละเอียดแจ่มแจ้ง คือ ชัดเจนแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณชั้นสกิทาคามีโลกุตรภูมิ ซึ่งตนได้เคยผ่านมาแล้ว ต่อจากนั้น อนุโลมญาณ ก็จะ เกิดขึ้น และติดตามด้วย โวทานะ จากนั้นก็ถึง ตติยมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระ อนาคามิมรรคญาณ ก็จักพลันอุบัติขึ้น และมีฤาธาศักดานุภาพ ทำการประหารฆ่าทำลายงู ดุร้ายคืออนสัยให้ตายขาดจากขันธสันดานลงไปได้อีก บางตัว ทันทีนั้นก็ตามติดมาด้วย อนาคามิผลญาณ
    ฟังดูเหมือนง่าย แต่ที่จริงแล้วเปล่าเลย เพราะในภาค ปฏิบัติแล้วย่อมเป็นการกระทำที่ยากนักหนา เพราะว่า บุคคลผู้มุ่งปฏิบัติเพื่อให้พระอนาคามิมรรคญาณอุบัติ ขึ้นในขันธสันดานของตนนั้น ต้องเป็นผู้มีสมาธิดีเยี่ยม เต็มเปี่ยมสมบูรณ์เป็นที่สุด โดยมีกฏตายตัวอยู่ว่า
    -โยคี (หมายเหตุผู้พิมพ์ - โยคี แปลว่า ผู้เพียรเพ่งเผากิเลส) บุคคล ที่สามารถจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้พระ โสดาปัตติมรรคญาณ พระสกิทาคามิมรรคญาณ อุบัติเกิดขึ้นในขันธสันดานแห่งตนได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ สมบูรณ์ด้วย ศีล กล่าวคือมีศีลบริสุทธิ์ อย่างยิ่ง -โยคีบุคคล ที่สามารถจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ พระอนาคามิมรรคญาณอุบัติเกิดขึ้นในขันธสันดานแห่ง ตนได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วย สมาธิ กล่าวคือต้องมีสมาธิดีเป็นยอดเยี่ยม
    คุณวิเศษท่านพระอนาคามีอริยบุคคลนี้ ตั้งแต่กาลที่พระ อนาคามิมรรคญาณบังเกิดขึ้นในขันธสันดาน ก็ย่อม ประหารอนุสัยไปได้อีก ๒ ตัว คือ
    ๑. กามราคานุสัย = อนุสัยคือกามราคะ ได้แก่ความ ยินดีพอใจในกามคุณารมณ์ต่างๆ
    ๒. ปฏิฆานุสัย = อนุสัยคือปฏิฆะ มีอรรถาธิบายว่า การติดอยู่ในความไม่พอใจในอารมณ์ทั้งหลายที่มา กระทบ ชื่อว่า ปฏิฆะ ความไม่พอใจในอารมณ์
    พระอนาคามีอริยบุคคล ยังสามารถที่จะเข้าพระ อนาคามิผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตาม จิตปรารถนาอีกด้วย แต่ที่วิเศษสุดก็คือ เมื่อท่านจุติ ไปแล้วย่อมจะไม่กลับมาปฏิสนธิในกามาวจรภูมิ คือ มนุษยโลกและเทวโลกอีกเลย ท่านย่อมจักไป อุบัติเกิดเป็นพระพรหมผู้ทรงคุณวิเศษบริสุทธิ์ ณ สุทธาวาสภูมิพรหมโลก แล้วก็จะได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน บนโน้นเลยทีเดียว
    ประเภทของพระอนาคามีอริยบุคคล มี ๕ คือ
    ๑. อันตราปรินิพพายี ไปอุบัติเกิด ณ สุทธาวาสพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่พระ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรกของสุทธาวาสภูมิ พรหมโลกที่ท่านสถิตย์อยู่ มีชื่อว่า อันตราปรินิพพายีอนาคามี
    ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ไปอุบัติเกิด ณ สุทธาวาสพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่พระ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลังของสุทธาวาสภูมิ พรหมโลกที่ท่านสถิตย์อยู่ มีชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามี
    ๓. อสังขารปรินิพพายี ไปอุบัติเกิด ณ สุทธาวาสพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่พระ ปรินิพพานในภูมินั้นอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องใช้ ความเพียรพยายามมาก แล้วก็ดับขันธ์เข้าสู่ พระปรินิพพาน ชื่อว่า อสังขารปรินิพพายีอนาคามี
    ๔. สสังขารปรินิพพายี ไปอุบัติเกิด ณ สุทธาวาสพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินั้นโดยต้องใช้ ความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า แล้วดับขันธ์เข้าสู่พระ ปรินิพพาน ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายีอนาคามี
    ๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ไปอุบัติเกิด ณ สุทธาวาสพรหมโลกชั้นต่ำสุด คือชั้น อวิหาสุทธาวาสพรหมโลก แล้วจึงจุติไปอุบัติเกิดใน สุทธาวาสพรหมโลกชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ คือ
    -อตัปปาสุทธาวาสพรหมโลก
    -สุทัสสาสุทธาวาสพรหมโลก
    -สุทัสสีสุทธาวาสพรหมโลก
    -อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลก
    แล้วจึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน ณ อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลก ซึ่งเป็น สุทธาวาสพรหมโลกชั้นสูงสุดนี้ ชื่อว่า อุทธังโสโสอกนิฏฐคามีอนาคามี
    หากสมัยใด มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมา อุบัติตรัสในโลกแล้ว พระอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ซึ่งเป็นพระพรหมอนาคามีผู้วิเศษสถิตย์อยู่ ณ ปัญจสุทธาวาสพรหมโลกโพ้น ก็ย่อมจะจรดลมาสู่ มนุษยโลกเรานี้เพื่อจะได้ทอดทัศนา และได้สดับ พระสัทธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระศาสดา บรมไตรโลกนาถเจ้าเป็นครั้งเป็นคราว เช่นนี้ก็มี อยู่บ้างเป็นธรรมดา
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>อรหัตตโลกุตรภูมิ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อรหัตตโลกุตรภูมิ = ภูมิที่พ้นจากโลกแห่งท่านผู้ สมควรแก่การบูชา สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นที่ ๔ อันเป็นชั้นสูงสุดใน พระบวรพุทธศาสนา เป็นผู้สมควรแก่การบูชา แห่งเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    ปฏิปทา แห่งท่านผู้ได้บรรลุถึงโลกุตรภูมิชั้นสูงสุดนี้คือ ต้องเป็นผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ผ่าน อนาคามีโลกุตรภูมิมาแล้ว และเพียรปฏิบัติต่อไป เมื่ออินทรีย์ทั้งห้าถึงภาวะแก่กล้าสม่ำเสมอกันดีแล้ว สภาวญาณก็จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ จนถึง สังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าสภาวะพระวิปัสสนา ญาณเหล่านี้ จะปรากฏชัดเจนละเอียดแจ่มแจ้งที่สุด ต่อจากนั้น อนุโลมญาณ ก็จะเกิดขึ้น และติดตามด้วย โวทานะ ต่อจากโวทานะ ก็ถึงวาระที่สำคัญที่สุด นั่นคือ จตุตถมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระ พระอรหัตตมรรคญาณ ก็จักพลันอุบัติขึ้น เป็นเสมือนดาบที่คมกล้าสามารถเข้าฟาดฟันประหาร หักบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลายซึ่งหมักดองอยู่ใน ขันธสันดานมานานนักหนา ให้หมดสิ้นไปโดยสิ้นเชิง แล้วตามติดมาด้วย อรหัตตผลญาณ ให้ท่านพระอรหันต์องค์ใหม่นี้ ได้เสวยอารมณ์พระนิพพาน เป็นขันธวิมุตติ หลุดพ้นจากเบญจขันธ์ กล่าวคือ รูปนาม เป็นพระมหาขีณาสพเจ้า ถึงความบริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่ง กิเลสธุลีแม้แต่เท่ายองใย ก็ไม่มีเหลือติดอยู่ใน ขันธสันดานเลย
    ท่านผู้มีวาสนาบารมีที่จะสามารถปฏิบัติเพื่อให้ได้ อรหัตตมรรคญาณบังเกิดขึ้นในขันธสันดานแห่งตน ได้ ต้องเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยปัญญาเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ ต้องมีปัญญาบารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์เป็นที่สุด แล้วเท่านั้น กล่าวคือ จะบรรลุพระอรหัตตมรรคได้ด้วย อธิปัญญา คือมีปัญญาชั้นยอดเยี่ยมสมบูรณ์ ที่สุด
    ประเภทพระอรหันต์
    ๑. เจโตวิมุตติอรหันต์ คือผู้ที่บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้สำเร็จฌานมาก่อนแล้ว ภายหลังจึงมาบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์ หรือผู้ที่บำเพ็ญเฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน อย่างเดียว แต่ว่าขณะที่พระอรหัตตมรรคจะอุบัติขึ้น นั้น ฌาน ก็พลันอุบัติขึ้นพร้อมกันในขณะ นั่นเอง เป็น ฌานลาภีบุคคล คือสำเร็จ ฌานสมาบัติ ได้บรรลุววิชชา ๓ อภิญญา ๖ มี คุณวิเศษในทางสำแดงฤทธิ์ได้
    ๒. ปัญญาวิมุตติอรหันต์ คือผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานล้วนๆ ไม่ได้บำเพ็ญ สมถกรรมฐานมาก่อนเลย และเมื่อพระอรหัตตมรรคจัก อุบัติเกิดขึ้นนั้น ฌาน ก็ไม่ได้อุบัติเกิดขึ้นด้วย เพราะไม่มี บุรพาธิการ ท่านเหล่านี้ มีชื่อว่า สุขวิปัสสกบุคคล คือท่านผู้ปฏิบัติทำให้ฌานแห้ง ไม่สามารถสำแดงฤทธิ์ได้ พระอรหันต์สุกขวิปัสสกบุคคลเหล่านี้ ได้รับการสดุดีว่า เป็นพระปัญญาวิมุตติอรหันต์
    นอกจากนี้ พระอรหันต์อริยบุคคล ยังถูกแบ่งออกโดย ประเภทคุณวิเศษได้อีก ๒ ประเภท คือ
    ๑. ปฏิสัมภิทปัตตอรหันต์ ได้แก่พระอรหันต์ผู้แตกฉานใน พระปฏิสัมภิทาญาณ คือ ในขณะที่ท่านได้บรรลุพระ อรหัตตมรรคญาณนั้น ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ นี้ก็เกิดขึ้น พร้อมกันด้วยคือ
    ก. อรรถปฏิสัมภิทา = แตกฉานในอรรถ
    ข. ธรรมปฏิสัมภิทา = แตกฉานในธรรม
    ค. นิรุตติปฏิสัมภิทา = แตกฉานในภาษา ง. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา = แตกฉานในปฏิภาณ
    ๒. อัปปฏิสัมภิทปัตตอรหันต์ พระอัปปฏิสัมภิทปัตต อรหันต์นี้ ได้แก่พระอรหันต์ผู้ซึ่งไม่แตกฉานในพระ ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ ดังกล่าวมาแล้ว พระอรหันต์ ประเภทนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าพระมูคอรหันต์ คือ พระอรหันต์ผู้ไม่มีความรู้ในพระปริยัติธรรม
    การที่ท่านจักได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงคุณวิเศษ ประเภทฌานลาภีบุคคล คือ มีฌานกล้าสามารถสำแดง อิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้ก็ดี ทรงคุณวิเศษประเภทแตกฉาน ในพระปฏิสัมภิทาญาณต่างๆ ก็ดี ทั้งนี้ ก็ด้วยอำนาจ แห่งบุรพาธิการที่ท่านได้สร้างสมอบรมมาแต่อดีตชาติ กล่าวคือ เมื่อชาติปางก่อน ท่านประกอบกรรมอันเป็น กุศลอย่างหนึ่งอย่างใด ย่อมได้เคยตั้งจิตอธิษฐาน ปรารถนาไว้ โดยนัยว่า "ต่อไปภายภาคหน้า เมื่อข้าพเจ้าได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตสาวกแห่งองค์สมเด็จพระทศพลเจ้าแล้ว ไซร้ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงคุณวิเศษ คือขอให้มรรคสิทธิฌาน หรือพระปฏิสัมภิทาญาณ จงพลันบังเกิดขึ้น พร้อมกับการได้บรรลุมรรคผล นั้นด้วยเถิด" ด้วยเดชะอำนาจแห่งบุรพาธิการเช่นนี้ ท่านจึงได้สำเร็จ เป็นฌานลาภีอรหันต์ หรือปฏิสัมภิทปัตตอรหันต์ ดังกล่าวมา ฝ่ายว่าท่านพระอรหันต์ผู้เป็นสุขวิปัสสกะ ไม่มีฌานหรือไม่ได้ปฏิสัมภิทาญาณ ก็เพราะไม่มี บุรพาธิการ กล่าวคือ ในอดีตชาติปางก่อน เมื่อท่าน ประกอบกองการกุศลใดๆ แล้ว ก็มีใจผ่องแผ้ว ตั้งความปรารถนาแต่เพียงอรหันตภาวะอย่างเดียว ไม่ตั้งความ ปรารถนาอย่างอื่นเลย ฉะนั้น คุณวิเศษดังกล่าว จึงไม่เกิดขึ้น
    คุณวิเศษ ท่านย่อมมีคุณวิเศษมากมายสุดพรรณนา แต่ที่จะกล่าว ในที่นี้คือ ท่านสามารถประหารอนุสัยที่ยังเหลือติดอยู่ ในขันธสันดานอีก ๓ ตัวให้ตายได้อย่างเด็ดขาด ดังต่อไปนี้
    ๑. มานานุสัย = อนุสัยคือมานะ มีอรรถาธิบายไว้ว่า มานะเป็นสภาพความรู้สึกประการหนึ่ง ซึ่งเห็นว่าตน มีความสำคัญยิ่งกว่าผู้อื่น เพราะตราบใดที่ยังรู้สึก เช่นนี้ก็ย่อมยังเห็นรูปนามคือขันธ์ ๕ ว่าเป็นเราเป็นเขา อยู่ (พระโสดาบันบุคคล ท่านประหาร อยาถวมานะ คือ ความถือตัวที่ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง พระสกิทาคามีอริยบุคคลและพระอนาคามีอริยบุคคล ไม่สามารถประหารมานะอะไรได้ แต่เพียงทำให้ เบาบางลง พระอรหันต์อริยบุคคล ท่านสามารถ ประหาร ยาถาวมานะ ความถือตัวที่เป็นไป ตามความเป็นจริงได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง)
    ๒. ภวราคานุสัย = อนุสัยคือภวราคะ มีอรรถาธิบาย ว่า ความยินดีพอใจในการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้รูปฌาน อรูปฌาน ด้วยมุ่ง หมายว่าเมื่อละจากโลกไปก็จักไปอุบัติเกิดเป็น พระพรหมผู้วิเศษ ณ พรหมภูมิ ประกอบไปด้วย โลภเจตสิก ดังนั้น จึงจัดเป็น ภวราคะ = ความยินดีพอใจในภพ
    ๓. อวิชชานุสัย = อนุสัยคืออวิชชา มีอรรถาธิบายว่า งูร้ายคืออนุสัยสำคัญตัวสุดท้าย มีพิษเหลือหลาย ทำให้ ดวงฤทัยของสัตว์โง่เขลามืดทึบอยู่ตลอดเวลา พาให้ ติดข่ายเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างมะงุมมะงาหรา ในมหาสมุทรทะเลใหญ่คือวัฏสงสารนี้ มีชื่อว่า อวิชชา = ความไม่รู้ คือไม่รู้ในสภาวะทั่วๆ ไป ถ้าจะอธิบายให้ตรงความหมาย ในที่นี้ว่า อวิชชาคือ ความไม่รู้ในพระจตุราริยสัจ ซึ่งได้แก่ ๑. ไม่รู้ในทุกข์ ๒. ไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ๓. ไม่รู้ในความดับทุกข์ ๔. ไม่รู้ในหนทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#cc0000 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>-ปฏิปทา ๔ ประการ-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระพุทธองค์ได้ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสเล่าถึงความ แตกต่างแห่งปฏิปทาในการปฏิบัติเพื่อบรรลุคุณวิเศษ คือ มรรค ผล นิพพาน ให้ภิกษุทั้งหลาย ได้สดับว่า (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๑๖๒ หน้า ๒๐๐ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    "ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ปฏิปทา ๔ ประการเป็นไฉน
    ปฏิปทา ๔ ประการคือ
    ๑. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา = ปฏิบัติลำบากและบรรลุ ได้ยาก
    ๒. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา = ปฏิบัติลำบากแต่บรรลุ ได้รวดเร็ว
    ๓. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา = ปฏิบัติสะดวกแต่บรรลุ ได้ช้า
    ๔. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา = ปฏิบัติสะดวกและ บรรลุได้เร็ว
    บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปกติเป็นผู้มีราคะกล้า ย่อมเสวย ทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะนั้นเนืองๆ บ้าง โดยปกติมีโทสะ กล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะนั้นเนืองๆ บ้าง โดยปกติเป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่โมหะนั้นเนืองๆ บ้าง และอินทรีย์ทั้ง ๕ ประการ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขานั้น ปรากฏว่าอ่อน เขาย่อมบรรลุ คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บุคคลผู้นี้แลเรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
    บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปกติเป็นผู้มีราคะกล้า ย่อมเสวย ทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะนั้นเนืองๆ บ้าง โดยปกติมีโทสะ กล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะนั้นเนืองๆ บ้าง โดยปกติเป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่โมหะนั้นเนืองๆ บ้าง และอินทรีย์ทั้ง ๕ ประการ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขานั้น ปรากฏว่าแก่กล้า เขาย่อมบรรลุ คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บุคคลผู้นี้แลเรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
    บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปกติเป็นผู้ไม่มีราคะกล้า ไม่ได้ เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะนั้นเนืองๆ บ้าง โดยปกติ ไม่มีโทสะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะนั้น เนืองๆบ้าง โดยปกติเป็นผู้ไม่มีโมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์ โทมนัสอันเกิดแต่โมหะนั้นเนืองๆ บ้าง และอินทรีย์ทั้ง ๕ ประการได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขานั้น ปรากฏว่าอ่อน เขาย่อมบรรลุ คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บุคคลผู้นี้แลเรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
    บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปกติเป็นผู้ไม่มีราคะกล้า ไม่ได้ เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะนั้นเนืองๆ บ้าง โดยปกติ ไม่มีโทสะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะนั้น เนืองๆบ้าง โดยปกติเป็นผู้ไม่มีโมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์ โทมนัสอันเกิดแต่โมหะนั้นเนืองๆ บ้าง และอินทรีย์ทั้ง ๕ ประการได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขานั้น ปรากฏว่าแก่กล้า เขาย่อมบรรลุ คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บุคคลผู้นี้แลเรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา"
    จบ "โลกุตตรภูมิ"
    ของแถม "พระสูตรว่าด้วยความยาวของกัป" และ "พระสูตรว่าด้วยความยาวนานของสังสารวัฏ":>
    *********************************************
    จาก "ภูมิวิลาสินี" โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2010
  10. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ กับท่านทั้งหลายที่ได้นำพระธรรมมาเผยแพร่ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  11. บิลลี่

    บิลลี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +123
    ขอบคุณครับผม
     
  12. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ กับท่านทั้งหลายที่ได้นำมาเผยแพร่และได้สร้างบุญกุศลต่าง ๆ ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
     
  13. พระครูอมรศีลวิสุทธิ์

    พระครูอมรศีลวิสุทธิ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +8
    ขอโปสเตอร์วัฏฏสงสาร

    ขอโปสเตอร์วัฏฏสงสาร ไม่ทราบว่าท่านใดแจกโปสเตอร์บ้างเพราะไม่ได้เข้ามานานแล้ว (ต้องขออภัยด้วย) เพราะตอนนี้เป็นกาลพรรษาอยู่ ไม่มีเวลาเท่าที่ควร ท่านใดแจกช่วยส่งให้ด้วย

    ที่ พระครูอมรศีลวิสุทธิ์
    วัดพระธาตุแก้งกอย บ้านโนนคูณ
    ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ 36180


    http://www.watphrathatkaenggol.com Email phrathat99@gmail.com<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1417.JPG
      IMG_1417.JPG
      ขนาดไฟล์:
      50.7 KB
      เปิดดู:
      180
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กันยายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...