อคติแบบนี้ถือว่าปรามาสไหม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sirawasa, 29 เมษายน 2010.

  1. sirawasa

    sirawasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2010
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +1,191
    ตั้งแต่สมัยยังเด็ก ดิฉันเป็นลูกที่สนิทกับพ่อมากที่สุดและพ่อเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเลยชอบพาไปวัดไปทำบุญไปคุยกับพระ ในบ้านก็มีแต่หนังสือธรรมะ ซึ่งบทเริ่มต้นการนับถือพระของดิฉันจะเป็นไปตามศรัทธาของพ่อและการอ่านหนังสือที่พ่อสะสมไว้ เรียกได้ว่าตามรอยกรอบความคิดของพ่อตลอด (คือไม่เคยคิดเองเลย) หนึ่งในพระที่พ่อเคารพอย่างสูงมากคือหลวงพ่อพระราชพรหมยาน มีหนังสือของท่านเยอะมากๆ ธัมมวิโมกข์เห็นตั้งแต่ยังเป็นเล่มขนาดพ็อคเก็ตบุ๊คหนา ไม่ใช่ประมาณ A4 อย่างเดียวนี้ วัดท่าซุง/ซอยสายลมพ่อก็พาก็ไปบ่อยตอนเด็กๆ (ตอนหลังพ่อบวชตลอดชีวิต) แล้วพอตัวเองเรียนจบทำงานแล้วก็ไปเอง แต่ก็เป็นการไปทำบุญ ส่วนการปฏิบัติธรรม กรรมฐาน ถือว่ายังก๊อกๆ แก๊กๆ ไม่ได้เรื่อง ครูฝึกบอกว่าที่ไม่ไปไหนเพราะช่างสงสัยเหลือเกิน

    ดิฉันเกิดข้อสังเกตกับตัวเองว่าการที่ฟังมาก อ่านมาก ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาตามแนวทางคำสอนของพระเกจิอาจารย์ที่ฟังที่อ่าน แล้วมันกลายเป็นการตั้งเกณฑ์ในความศรัทธาของตัวเองขึ้นมา เพราะพระที่รู้จัก (ตามพ่อ) ล้วนเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในขั้น "หาที่ติมิได้" ทั้งนั้น ทำให้ดิฉันค่อนข้างจะคาดหวังกับพระสงฆ์สูงมากๆๆๆ มากจนเหมือนกับคอยจับผิดวัตรปฏิบัติและคำสอนของพระสงฆ์ที่ได้พบได้เจอไปหมด แล้วถ้าเห็นวัตรปฏิบัติหรือคำสอนใดที่ดิฉันรู้สึก "ไม่ขอบมาพากล" หรือ ค้านความเชื่อเดิมที่อ่านหรือฟังมา ดิฉันจะเกิดอคติกับพระรูปนั้นทันที ขอยกตัวอย่างนะคะ

    - พระรูปหนึ่ง สอนการปฏิบัติกรรมฐานเรียกว่าดังในระดับประเทศเลยก็ว่าได้ ที่ทำงานดิฉันเคยจัดไปปฏิบัติธรรมกับท่าน จริงๆ แล้วเค้าตั้งใจจะไปวัดอื่นแต่ดิฉันเองแหละที่ได้ยินชื่อเสียงของท่าน ไปวิ่งจนเค้าเปลี่ยนวัด แต่พอไปเข้าจริง ดิฉันก็เกิดอคติขึ้นมา จากการที่ ๑) ท่านพูดอวดตนเองว่ามีคนมาปฏิบัติธรรมกับท่านแล้วแก้กรรมได้จนเกิดเสียงเล่าลือปากต่อปากและมีคนมาหาท่านจากทั่วทุกสารทิศ จากเมืองนอกเมืองนาก็มาก อะไรทำนองนี้ และ ๒) ท่านแต่งสวดบทบาลีให้ทุกคนที่ไปปฏิบัติธรรมที่วัดท่าน สวดสรรเสริญท่านด้วยในตอนท้ายการสวดมนตร์เช้า-ค่ำทุกครั้ง สองจุดนี้ทำให้ดิฉันไม่แน่ใจว่าท่านยังหลงสรรเสริญอยู่หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะค้านกับโลกธรรม ๘ ที่พระพุทธเจ้าให้ตระหนักการมีและการเสื่อมของลาภ ยศ สรรเสริญ ว่าไม่มีสิ่งใดจีรัง สำหรับพระรูปนี้ ทางออกของดิฉันก็คือไม่ไปปฏิบัติธรรมกับท่านอีก

    - พระอีกรูปหนึ่ง พบตอนไปปฏิบัติธรรมกับโครงการที่ที่ทำงานจัดอีกแหละ ท่านดังในระดับหนึ่ง อคติของดิฉันเกิดเพราะดิฉันรู้สึกว่าท่านตอบคำถามได้ไม่ละเอียดลึกซึ้งเหมือนหลวงพ่อฤาษีฯ เลย อีกทั้งจากแนวทางการสอนทั้งในรูปแบบคำพูดและหนังสือ ดูเหมือนท่านจะยึดมั่นกับอานาปาณสติมากว่าใช้แก้ปัญหาได้ทุกอย่างในชีวิต ดิฉันเองไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายนักในเรื่องนี้ แต่มันแอบคิดสงสัยขึ้นมานิดนึงว่า "มันจริง มันใช่ อย่างนั้นหรือเปล่า" เพราะกรรมแต่ละอย่างมีมูลที่ต่างกันไปได้มากมาย จะแก้ด้วยวิธีเดียวกันหมดมันดูยังไงๆ เหมือนยาครอบจักรวาล ( ท่านไม่สอนเรื่องอื่นเลยนอกจากเรื่องอานาปาณสติ เขียนหนังสือกี่เรื่องกี่เล่มก็แตะอยู่เรื่องเดียว ) สำหรับพระรูปนี้ ถ้าต้องไปวัดท่านอีกก็ไปได้ค่ะ ไม่มีปัญหา คิดเสียว่าไปพักผ่อนแบบได้ถือศีล ๘ และนั่งสมาธิสงบจิต ปิดวาจา ก็น่าจะได้บุญอยู่บ้าง ไม่ได้เปล่าประโยชน์เสียทีเดียว ส่วนการปฏิบัติก็แอบเอาวิธีการของหลวงพ่อฤาษีฯ ไปปฏิบัติร่วม ทำอยู่ในใจไม่ต้องบอกใคร

    - พระรูปสุดท้ายที่จะยกตัวอย่าง เป็นพระแนวปฏิบัติเหมือนกัน สำหรับรูปนี้ต้องเรียนตามตรงว่าดิฉันค่อนข้างจะอคติรุนแรงมาก ไม่เคยปฏิบัติธรรมกับท่านหรอก เพิ่งเห็น+รู้จักเมื่อไม่นานมานี้จากการที่ท่านเข้ามาพัวพันกับบุคคลในครอบครัว แต่มายังไงไม่ทราบรายละเอียด ปัจจัยที่ทำให้เกิดอคติมีหลายปัจจัยคือ ๑) อคติเดิมที่ดิฉันมีอยู่ต่อพระที่เชิดชูการฉันมังสวิรัติเป็นธรรมวิเศษ ดิฉันเองไม่ได้แอนตี้การรับประทานมังสวิรัตินะคะ ตัวเองก็ทานอยู่สัปดาห์ละ ๒-๓ ครั้ง เพราะเห็นว่าดีกับสุขภาพ แล้วก็ไม่ได้แอนตี้วัดที่ให้พระฉันมังสวิรัติด้วย หากทำเป็นเรื่องธรรมดาๆ เหมือนคนเลือกชอบอาหาร ไม่ไกลจากบ้านดิฉันก็มีวัดที่พระทั้งหมดฉันมังสวิรัติ ดิฉันก็ไม่ได้รู้สึกอคติอะไร ทำบุญด้วยได้ด้วยใจเต็มร้อย เพราะพระท่านทำทุกอย่างเป็นธรรมดา แต่ถ้าเมื่อไหร่เจอพระที่นำประเด็นการฉันมังสวิรัติมายกเป็นคุณธรรมวิเศษ ดิฉันจะอคติทันที เพราะฟังหลวงพ่อฤาษีฯ เล่าว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้ภิกษุดำรงตนเป็นคน "อยู่ง่ายกินง่าย" แล้วประเด็นการไม่ฉันเนื้อสัตว์ก็ยังเป็นประเด็นที่พระเทวทัตจุดชนวนให้สงฆ์แตกแยกด้วย หากจะต้องพบกับพระเทวทัต ขอพบตอนท่านขึ้นมาตรัสเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกัน ให้ไปอยู่เป็นเพื่อนในอเวจีไม่เอา ๒) ดิฉันมีความเข้าใจ - ถูกหรือผิดไม่ทราบล่ะ - ว่า ผู้ที่ปฏิบัติธรรมเมื่อเสียชีวิตแล้วน่าจะได้เป็นเทวดาซึ่งถือว่าเป็นวิญญาณระดับสูง จะชั้นใดก็ตามแต่ล่ะ แต่เป็นเทวดาก็แล้วกัน และเทวดาไม่ต้องการอาหารในรูปแบบที่เป็น "วัตถุ/สสาร" อย่างในโลกมนุษย์ เพราะไม่ต้องเลี้ยงขันธ์ ๕ การทำบุญด้วยการใส่บาตรให้เทวดา สิ่งที่เทวดารับไปคือบุญ รับแบบทิพย์ ไม่ใช่ว่าเอาหมูทอดใส่ก็ไปเป็นหมูทอดให้เทวดากิน หรือเอาไก่ย่างใส่เทวดาก็ได้ไก่ย่างไปกิน แต่พระรูปนี้มีแนวทาง+คำแนะนำที่ชวนให้เข้าใจว่าวิญญาณชั้นสูงได้รับอาหารที่คนใส่ไปให้ในรูปของอาหาร ๓) ดิฉันมองว่าพระสงฆ์ต้องอยู่ในศีลตั้ง ๒๒๗ ข้อ ต้อง perfect กว่าศีล ๕ แน่ๆ แล้วมันมีกรณีบางเรื่องที่ดิฉันได้ทราบมาว่าพระรูปนี้ได้กล่าวพาดพิงมาถึงดิฉันด้วยถ้อยคำที่เป็นเท็จ ก็เลยเกิดอคติขึ้นมาว่ามุสาวาจาอยู่ในศีลแค่ ๕ ข้อ ท่านยังรักษาไม่ได้ น่าเป็นห่วงสำหรับการรักษาตั้ง ๒๒๗ ข้อ จะรักษาได้หรือ ๔) หลวงพ่อฤาษีฯ เคยบอกว่าเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมตายลง หากยังไม่ถึงนิพพาน สามารถปฏิบัติธรรมต่อบนสวรรค์เพื่อไปนิพพานได้ ซึ่งดิฉันมองว่าการปฏิบัติธรรมให้บรรลุผลเป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องทำเอง แต่พระรูปนี้บอกว่าสามารถสอนธรรมนำดวงวิญญาณเข้านิพพานได้ ๕) ข้อนี้หลายท่านอาจมองว่างมงายก็ได้ คือ ดิฉันมีความระแวง (และแฝงความกลัวอยู่ด้วย) คือ เชื่อว่า พระรูปนี้มีวิชาอาคม และอาจจะเลี้ยงวิญญาณไว้ในควบคุมบังคับเพื่อเพิ่มพลังของตน มีบางอย่างทำให้ดิฉันคิดเช่นนี้ สำหรับพระรูปนี้ ทางออกของดิฉันคือคงจะไม่ไปปฏิบัติธรรมด้วย หรือถ้าไม่จำเป็นต้องพบกันก็อย่าพบ (ปัญหาคือบางทีมันอาจมีความจำเป็นต้องไปที่สำนักของท่านเนี่ยสิ ลำบากใจเหมือนกัน) แล้วก็พยายามสวดมนตร์ป้องกันตัวเอาไว้ รวมทั้งอธิษฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าช่วยสงเคราะห์ปลดปล่อยบรรดาวิญญาณที่อาจถูกควบคุมบังคับอยู่ (ถ้าความสงสัยของดิฉันเป็นจริงนะคะ)

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสามกรณี ทางออกของดิฉันก็เป็นอย่างที่บอก (ตามที่ขีดเส้นใต้ไว้) ส่วนใหญ่ก็คือการ "หลบ" ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ พบใครที่เค้ามีความศรัทธาอยู่ก็ไม่ไปยุ่งกับเขาเรื่องของเขา เพราะตัวเองก็ไม่ใช่คนที่จะเก่งกล้าสามารถอะไร ไม่ได้รู้อะไรมาก ที่คิดและเข้าใจอยู่อาจจะไม่ถูกก็ได้ อีกประการหนึ่งหลวงพ่อฤาษีฯ เคยสอนด้วยว่า "อย่าอวดเก่งกับผี อย่าอวดดีกับพระ" ดิฉันไม่อยากเสี่ยง โดยเฉพาะกับพระที่ยกตัวอย่างเป็นรายสุดท้าย บอกตรงๆ ว่ากลัวคุณไสยค่ะ

    จากการมีอคติแบบข้างต้นนี่เป็นการปรามาสหรือเปล่า บาปหรือยัง (ท่านที่เข้ามาให้คำแนะนำ หากจะวิจารณ์ ขอให้วิจารณ์เฉพาะดิฉันนะคะ ไม่ต้องตำหนิตรงลงไปที่พระที่ยกตัวอย่างนะคะ หากอคติของดิฉันเป็นบาปๆ จะได้เป็นของดิฉันคนเดียว)
     
  2. มิตรตัวน้อย

    มิตรตัวน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +896
    ปรามาส อ่านได้สองอย่าง

    ปฺรามาด แปลว่า ดูถูก ดูหมิ่น ดูแคลน
    ปะรามาด แปลว่า ลูบคลำ

    ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านธรรมดาหรือพระสงฆ์ ถ้าเราจับผิดท่าน หรือเพ่งโทษว่า ผิดอย่างนั้น ผิดอย่างนี้
    ไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ผู้ที่เป็นทุกข์ คือเราไม่ใช่ใคร ต้องปล่อยวางบ้าง
    ถึงจะผิดไปบ้างก็เป็นโทษของท่านเอง ไม่ใช่เรา

    เปรียบเหมือนคนอื่นทำผิดแต่เรากลับเป็นทุกข์

    ท่านจึงว่า "อย่าเพ่งโทษผู้อื่น ให้เพ่งโทษตัวเอง"

    เจริญธรรม
     
  3. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เราต้องแยกแยะให้ออก หลักธรรมหลักปฎิบัติ กับบุคคล ถ้าพระท่านทำผิดวินัยเราก็อย่าให้เกิดอารมณ์ขุ่นในใจ เพราะจะสังสมในใจและคิดแบบเหมารวม การคิดแบบเหมารวม ไม่แยกแยะ ก็เป็นการปรามาสขึ้นมาทันที หากมีความคิดที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับการปฎิบัติ ที่จริงไม่ใช่ปัญหา ก็รับฟังไว้ ทำหรือไม่แล้วแต่เรา แต่อย่าให้จิตใจไปในทางอกุศเป็นอันขาด บาปบุญเกิดที่ใจเป็นจุดเริ่มต้น หากอคติเกิดมันก็เริ่มชักนำกายใจเรา หลงทางจนได้ ขอให้มีสติครับ เพราะยิ่งไปเห็นอะไรที่ขัดหูขัดตาเรา ก็ยิ่งทำให้เรามีอคติ เกิดโทสะจริตขึ้นมาทันที และจะเริ่มชักนำเราเป็นนิสัยกลายเป็นคนโทสะในที่สุด(กิเลสมีอุบายที่แยบยลมากครับ สติอาจตามรู้ไม่ทันก็ได้ต้องระวังให้มากครับ)
     
  4. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    การที่คุณมีความคิดข้างต้นนี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นการปรามาส เพราะคุณพิจารณาวัตรปฏิบัติของท่านแบบมีอคติ พูดง่ายๆก็คือ จิตของคุณเกิดการต่อต้านในสิ่งที่คุณเห็นว่าท่านทำไม่ถูก ทั้งนี้ทั้งนั้น เกิดจากคุณตั้งมาตรฐานไว้ว่า พระดี จะต้องเป็นแบบนี้เป๊ะ คือ คุณมีการคาดหวังไว้ เมื่อมาพบมาเจอสิ่งที่ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง คุณก็เริ่มมีความคิดว่า ท่านปฏิบัติไม่ถูก ความคิดเช่นนี้ ทำให้คุณพบกับความเสี่ยง และไม่คุ้มกับการที่มีความคิดเช่นนี้

    ทำไมถึงบอกว่าไม่คุ้มกับความคิดเช่นนี้ นั่นก็เพราะว่าถ้าคุณคิดถูก ว่าท่านปฏิบัติผิดแนวทาง ซึ่งท่านก็ปฏิบัติผิดจริงๆ คุณก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา มีแต่เท่าทุน อย่างมากคุณก็ถอยห่าง และไม่กลับไปหาอีก

    แต่ถ้าคุณคิดผิด กลายเป็นว่าท่านปฏิบัติของท่านดีอยู่แล้ว แต่คุณเข้าใจผิดเอง อย่างนี้กรรมก็ตกอยู่กับคุณ ซึ่งจะบอกว่าตกนรกขุมไหนนั้น ผมก็บอกไม่ได้ เพราะไม่ทราบ แต่ทราบอย่างหนึ่งว่า ผลกรรมในการปรามาสผู้มีศีล ผู้มีธรรม ผู้มีบุญนั้น ก็จะเป็นสิ่งขัดขวางการเข้าถึงธรรมของเราเอง ไม่มากก็น้อย เช่น ธรรมข้อนี้ เราควรจะเข้าใจแจ่มแจ้ง ก็มีอะไรมาบดบังปัญญาเราไม่ให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง หรือถ้าขั้นร้ายแรง ก็ถึงขั้นปิดมรรคผลไปเลยทีเดียว

    คุณก็ยอมรับว่า คุณเองก็อ่านมากฟังมาก ทำให้เกิดความเชื่อความศรัทธาตามแนวคำสอนของของพระเกจิอาจารย์ที่ฟังที่อ่าน เป็นการตั้งเกณฑ์ขึ้นมา ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก ใครหลายๆคนก็เป็นกัน แต่คนที่ฉลาด เค้าจะรู้ว่า ครูบาอาจารย์ท่านอื่นก็มีดีของท่านเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าสำนักเราจะดีอยู่เพียงผู้เดียว

    เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้ดี คุณต้องเปิดใจให้กว้าง อะไรเห็นว่าดี เราก็นำมาปฏิบัติ นำมาใช้ อะไรที่ไม่ถูกใจเรา ก็วางลงเสีย อย่าไปถือ ให้มันหนัก ให้มันเมื่อย

    ส่วนข้อที่คุณว่ามาเกี่ยวกับพระแต่ละรูปที่คุณยกตัวอย่างนั้น ผมไม่กล้าวิจารณ์ เพราะตอนนี้ต้องถือว่าคุณเป็นผู้กล่าวหาท่าน จริงมั้ย แต่ผู้ถูกกล่าวหานั้น ผมไม่มีข้อมูลใดๆเลย นอกจากฟังคำของคุณฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้น ก็วินิจฉัยได้ยากว่าวัตรปฏิบัติของท่านเหล่านั้นเป็นอย่างที่คุณบอกเล่ามาหรือเปล่า ซึ่งคุณอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ มีโอกาสเป็นไปได้เหมือนกัน

    อยากจะบอกว่า ครูบาอาจารย์นั้น ท่านมีแนวทางในการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกัน มีรายละเอียดในการสร้างบารมีต่างกัน ตลอดจนมีแนวคำสอนที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ตรงกับที่เราเคยรู้เคยเห็นเคยศรัทธา ก็ไม่ได้หมายความว่าครูบาอาจารย์นั้น ทำผิด ทำไม่ถูก

    สุดท้าย หวังว่าคุณคงได้รับคำตอบ ตรงกับสิ่งที่คุณสงสัย ไม่มากก็น้อย

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2010
  5. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    ระวังไว้ให้มากนะครับ เพราะจิตของผู้ที่คอยจับผิดผู้้อื่นย่อมไม่มีสมาธิ
    (เมื่อไม่มีสมาธิ ก็ไม่มีความสุข)
     
  6. sirawasa

    sirawasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2010
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +1,191
    ขอบคุณทุกคำแนะนำค่ะ ได้คิดขึ้นมาก การมองดู+รับรู้ว่าตัวเองมีอคติแล้วคาใจไว้มันทุกข์จริงๆ นั่นแหละ การมาสารภาพในนี้ก็หวังได้รับคำวิจารณ์ตรงๆ เผื่อจะช่วยให้จิตใจที่เลวๆ มันเคลียร์ขึ้น (ช่างเป็นชาวพุทธที่แย่เหลือเกิน ไม่น่าเกิดมาบนโลกใบนี้เลย)

    เอาเป็นว่าจะปล่อยแล้วค่ะ ได้ยินได้ฟังได้เห็นอะไรก็เฉยดีกว่า โมทนาสาธุ แล้วดูแลศีล ๕ ของตัวเองไป
     
  7. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    มา สมโณ โน ครูติ อย่าด่วนเชื่อโดยเห็นว่าเป็นครูบาอาจารย์ของเรา

    คุณโยมมีจิตศรัทธาในระดับหลวงพ่อฤษีซึ่งสูงส่ง หาพระอริยะเช่นท่านได้ยากในประจุบัน

    เมื่อสิ้นหลวงพ่อก็แสวงหาครูอาจารย์เพราะใจไฝ่ดี

    การเลือกพิจารณาหาครูแท้ก็เป็นสิทธิ์ที่พึงกระทำได้

    พระก็เป็นบุคคลเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณเราย่อมมีสิทธิ์พิจารณาเลือก

    การที่เราไม่เห็นด้วยไม่ลงรอยก็ใช่จะเป็นอคติเพราะเราพิจารณาเพื่อจะเคารพไม่ใช่จ้องทำลาย

    พระสารีบุตรท่านไม่เชื่ออะไรง่ายดายจะพิจารณาก่อนแล้วจึงตัดสินใจเชื่อในภายหลัง


    ขอเจริญพร
     

แชร์หน้านี้

Loading...