หลายคนเข้าใจผิดเรื่องของการให้ทาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย YUT_KOP, 17 มีนาคม 2008.

  1. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    บังเอิญผมได้ยืนอ่านหนังสือ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แค่หน้าแรกผมก็ ทำให้ไม่อยากอ่าน เนื้อหาส่วนอื่นแล้วเพราะได้ กล่าวเป็นตัว โตๆว่า

    การให้ ธรรมทาน เป็นการให้ ที่ชนะการให้ทั้งปวง

    แล้วก็มี ภาษาบาลี กำกับ แต่ผมจำไม่ได้

    ถ้าผมจำไม่ผิดคำ กล่าวนี้ อ้างอิง จากพระเจ้าอโศกมหาราช มั้งนะ
    แต่รู้สึกว่า หลายคนจะเข้าใจตามนี้ แต่ที่ ถูกต้องที่สุดควรจะเป็น

    การให้ อภัยทาน เป็นการให้ที่ เหนือกว่าการให้ทั้งปวง

    อันนี้ผมอ้างอิงจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    กล่าวยกว่า........

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับดังต่อไปนี้ คือ


    ๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็น้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมี น้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี​

    ๒. ให้ทานแก่มนุษย์ ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม​

    ๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม​

    ๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะถวายทานดังกล่าว แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม​

    ๕. ถวายทานแก่สามเณร ซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ถวายทาน ดังกล่าวแก่พระสมมติสงฆ์ ซึ่งมีปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ​
    พระด้วยกัน ก็มีคุณธรรม แตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมติ-สงฆ์"​
    พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวช หรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกัน หลายระดับชั้น จากน้อยไปหามาก ดังนี้คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้​

    ๖. ถวายทานแก่พระสมมติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแก่ พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็น พระโสดาบันปัตติมรรค และพระโสดาบันปัตติผล เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อ พอให้ได้ความเท่านั้น)​

    ๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ​

    ๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานดังกล่าว แก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม​

    ๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานดังกล่าว แก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม​
    ๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานดังกล่าวแก่ พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม​

    ๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแด่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม​

    ๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายสังฆทาน ที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม​

    ๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม​
    วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้าง โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่านํ้า ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาง อันเป็นสาธารณประโยชน์ ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่งการสร้าง สิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ หรือสิ่งที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจ ในพระพุทธศาสนา เช่นโรงพยาบาล โรงเรียน บ่อนํ้า แท็งค์นํ้า ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน​

    ๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ( ๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทาน ก็คือ การเทศน์ การสอนธรรมะ แก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจใน มรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้กลับใจมาเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์แจกหนังสือธรรมะ​

    ๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียว ก็ตาม การให้อภัยทานก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่น แม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะการให้อภัยทาน เป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ "โทสกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหาร ข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคล ที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ ย่อมเป็นผู้ทรงญาณ ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรม ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท""ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทาน จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าทานทั้งปวง​
    อย่างไรก็ดี การให้อภัยทาน แม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่นๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้น ก็ยังอยู่ในระดับที่ตํ่ากว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการทำบุญบารมีคนละขั้นต่างกัน ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2008
  2. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=7646

    แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่า ยังไงการให้ อภัยทาน ก็เหนือกว่า การให้ ธรรมทาน
    เพราะว่า การให้ อภัยทาน สามารถ นำเรา ละซึ่งโทสะ ได้อย่าง เด็ดขาด
    การให้ ธรรมทาน ถ้าผู้ให้ ธรรมทานนั้น ยัง ละซึ่ง โทสะ ไม่ได้ก็ไม่มีวันจะไปสู้นิพพานได้ เช่น พระสมมุติสงฆ์ นั้งเทศนา สอน ญาติ โยม ให้ ธรรมะ
    แต่ตัวท่านเอง ยังรู้สึกโกรษๆ(แบบในใจ ไม่แสดงออก หรือ แบบแสดงออก) เวลาโดนผู้อื่นทำร้าย โดนสุนัขกัด โดนนินทา โดนขโมยของ และอื่นๆ
    แต่ผมไม่ได้บอกว่า การให้ ธรรมทาน ได้ บุญน้อยนะ (ได้เยอะมากๆๆ)เช่นกัน
    แค่อยากให้เข้าใจตรงๆกันเท่านั้นเอง
    ปล.การสร้างบุญ บารมี นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะกระทำๆทุกๆอย่าง ทั้งทาน ศีล ภาวนา เพราะว่า ทำอย่างใด อย่างหนึ่ง ไม่มีทางไป นิพพานได้แน่นอน
    เหมือนก้าวบันใด ต้องเดิน จากก้าวแรกไป สู้ก้าวที่ สูงยิ่งขึ้น
     
  3. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    คนที่ศึกษา "ธรรม" ก็จะได้เรียนรู้ถึงการให้ "อภัย" ใช่ไหมครับ
    ถ้าไม่มีธรรมคุ้มครอง เราก็อาจจะไม่ "อภัย" ก็ได้ ดังนั้นอย่าไปยึดติดกับตัวอักษรมากครับ พิจารณาความหมายลงไปให้ลึกซึ้งดีกว่า บางประโยคใช้กับบางสถานการณ์

    หากเรามอง "ธรรม" คือ "คำสอนของพระพุทธเจ้า" ทานที่ให้นั้น น่าจะครอบคลุมไปถึงการสอนคนให้รู้จัก "ให้อภัย" ด้วยนะครับ

    ไม่ขอฟันธง แต่ขอให้คิดเอาเองครับ

    ขออนุโมทนา
     
  4. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,182
    พระธรรมเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว
    อย่าแก้เอาเองตามใจชอบนะเลยกั๊บ
    ทำไปทั้งหมดนั่นแหละ

    อภัยทานเป็นธรรมของพระสกิทาคามีกั๊บ [​IMG]
     
  5. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    การให้อภัยทาน(ธรรมทาน)ย่อมชนะเสียซึ่งทานทั้งปวง

    "อภัยทานัง อามิสทานัง ชินาติ" ซึ่งแปลว่า "การให้อภัยทานย่อมชนะเสียซึ่งการให้ทั้งปวง" ดังนี้

    คำว่า ทาน แปลว่า การให้
    การให้นี้มีอยู่ ๒ อย่างด้วยกันที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสไว้
    ให้สรรพสิ่งของต่าง ๆ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุ จะเป็นเงินหรือวัตถุสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องบริโภคก็ตาม เรียกว่า อามิสทานทั้งนั้น

    ทานอิกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จภควันต์ทรงกล่าวก็ได้แก่  ธรรมทาน ธรรมทานในที่นี้ก็ได้แก่ การบอกธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ชี้เหตุผล ให้รุ้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อย่างนี้เป็นต้นอย่างหนึ่ง อย่างนี้เขาเรียกว่า ธรรมทาน

    ธรรมทาน อิกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่าสำคุญที่สุดจัดว่าเป็น ปรมัตถทาน คือ เป็นทานที่ไม่ต้องลงทุน คือ อภัยทาน

    ทานทั้งสองอย่างนี้ คือ อามิสทานกับอภัยทานนี้มีผลต่างกัน อามิสทานนั้นให้ผลอย่างสูงก็แค่กามาวจรสวรรค์ ตามนัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสไว้ว่า "ทานัง สังคคโส ปาณัง" คือว่า การให้ทานย่อมเป็นปัจจัยเป็นบันไดไปสู่สวรรค์ นี่สำหรับ อามิสทาน แต่สำหรับ ธรรมทาน กล่าวคือ ให้ธรรมเป็นทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ทานทั้งสองประการนี้เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน

    สำหรับธรรมทาน ทานที่ ๒ นี่มีความสำคัญมาก การให้ธรรมเป็นทานกล่าวคือ นำพระคำคำสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เอามาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าเทศน์เองไม่เป็นก็ไปหาคนอื่นมาเทศน์แทน อย่างนี้ก็ชื่อว่า เจ้าภาพเป็นผู้เทศน์เหมือนกัน เรียกว่าเอาคนมาพูดแทน การให้ธรรมทานเป็นปัจจัยใหญ่ เพราะการให้ธรรมทานบุคคลได้ฟังแล้วจะเกิดปัญญา สิ่งใดที่ไม่เคยรู้มาแล้วก็จะได้มีความรู้ขึ้น เมื่อมีความรู้แล้วก็เกิดความมั่นใจ มีปัญญาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หลีกความทุกข์ได้ ถ้าปัญญามีมาก ก็หลีกความทุกข์ได้มาก ปัญญาน้อยก็หลีกความทุกข์ได้น้อย ดีกว่าคนที่ไม่มีปัญญาเลย ไม่มีโอกาสจะหลีกความทุกข์ได้ นี่ว่ากันถึงธรรมทาน

    ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่มุ่งหมายจะเทศน์กันในวันนี้ก็คือ อภัยทาน อภัยทานนี้เป็นการให้ทานที่ไม่ต้องลงทุนด้วยวัตถุ แล้วก็เป็นทานสูงสุด พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ใครเป็นผู้มีอภัยทานประจำใจ คนนั้นก็เป็นผู้เข้าถึงปรมัตถบารมีแล้ว คำว่า ปรมัตถบารมีนี้ เป็นบารมีสูงสุดเป็นบารมีที่จะทำให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน คำว่า อภัยทาน ก็ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน หามายความว่าคนใดก็ตาม เขาทำให้เราขุ่นเคือง ทำให้เราไม่ชอบใจ ด้วยกรณีใดๆก็ตาม ถ้าหากเราคิดพิจารณาเข่นฆ่าจองล้างจองผลาญ ถ้าเขาด่าเรา เราคิดว่าโอกาสสักวันหนึ่งข้างหน้าเราจะด่าตอบ เขาลงโทษเรา เราจะลงโทษเขาตอบ เขาตีเรา เราคิดว่าเราจะตีตอบ แต่โอกาส มันยังไม่มี คิดเข้าไว้ในใจว่า เราจะทำอันตรายตอบ อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอาฆาต คือ พยาบาท เป็นไฟเผาผลาญดวงจิต เพราะคนที่เรากำลังคิดจะฆ่าก็ดี คิดจะประทุษร้ายก็ดี นี่เขายังไม่ทันรู้ตัว เขามีความสุข เราคนที่คิดจะทำเขานั่นแหละ ตั้งแต่แรกหาความสุขไม่ได้ คบไฟแห่งความพยาบาทมันเข้าเผาผลาญ มีแต่ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ คิดวางแผนการต่าง ๆ ว่า เราทำยังไงถึงจะแก้มือเขาได้ โดยคนอื่นเห็นว่าไม่มีความผิด อารมณ์ที่คิดอยู่อย่างนี้ ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังทำไม่ได้ มันเป็นไฟเผาผลาญคนคิดนี่แหละ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะอำนาจโทสะเข้าสิงใจ นี่เอำนาจโทสะหรือพยาบาทมันเริ่มเผาผลาญตั้งแต่คิด แต่คนที่ถูกคิดประทุษร้ายนั้น เขายังมีความสุข ทีนี้ถ้าเราไปทำเขาเข้าอีก ไอ้โทษมันก็จะหนักขึ้น ทำเขาเข้าอีก เขายิ่งจะแก้มือใหญ่ ถ้าเขาไม่แก้มือ ทางกฏหมายก็จะยื่นมือมาช่วยเหลือ ความทุกข์ใหญ่ก็จะเกิดขึ้น





    ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๐๖ หน้า ๗๕-๗๘

    ที่มา http://palungjit.org/showthread.php?t=361

    ทำไมองค์สมเด็จพระมหามุนีจึงไม่มีความโกรธใน พระเทวทัต เพราะเขาแกล้งในทีนะ ที่เป็นคนทำความถูก ท่านเลยบอกว่าไอ้การโกรธไม่มีประโยชน์ การพยาบาทไม่มีประโยชน์ มันเป็นไฟเผาผลา_ เพราะเราบำเพ็_บารมีมาก็ปรารถนาให้ถึงซึ่งพระโพธิ_าณ เป็นพระพุทธเจ้า ถ้าเราไปคบกับความโกรธอยู่ก็ดี ความพยาบาทก็ดี กรรมทั้งหลายเหล่านี้มันจะกำจัดต่อความดีของเรา แม้แต่สวรรค์ชั้นกามวจรสวรรค์ก็จะไม่ได้พบ จะพบแต่อบายภูมิทั้ง ๔ ประการ กล่าวคือ ตกในนรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง หรือว่าเป็นคนที่เกิดมาเต็มไปด้วยความทุกข์บ้าง
    พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภแก่ภิษุทั้งหลายว่า เธอจงปรารภอภัยทานเป็นสำคั_ เมือบุคคลผู้ใดก็ดีที่เขาทำให้เราไม่ชอบใจ จงคิดเสียว่าเรามีกรรมเก่าที่เคยทำให้เขาไม่ชอบใจไว้มาชาตินี้เขาจึงได้ จองล้างจองผลา_เรา เราคิดให้อภัยเสีย มันก็จะปลอดภัย แล้วอิกประการหนึ่ง ถ้ามีการให้อภัยเกิดขึ้น ความเร่าร้อนของจิตก็จะไม่มี มีแต่ความผ่องใส

    (ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๐๖ หน้า ๘๑)

    ที่มา http://palungjit.org/showthread.php?t=361
     
  6. ความสงบ

    ความสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +1,011
    ขออนุโมธนาบุญกับบทความที่นำมาเสนอคะ
     
  7. ฉัตรชัย พรหมแก

    ฉัตรชัย พรหมแก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +590
    ทานะปาระมี ทานะอุปะปารมี ทานะปารมัตถะปารมี ทาน เป็นบันไดขั้นต้นๆในการบำเพ็ญเพื่อพระนิพพาน ทำไป ทำไป เรื่อย ๆ เมื่อเต็มแล้ว ก็รู้ ไม่เต็มก็รู้ บารมี10 เป็นปัจจัย เป็นกำลังของพระนิพพาน หากไม่มี 1 ย่อมไม่มี 2 หากรากฐานมั่นคงแข็งแร็งแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าขั้นที่2 และ 3 จะพังลงมาขออนุโมทนากับทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ สาธุ
     
  8. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,204
    ขออนุโมทนาครับ สาธุ..... สาธุ..... สาธุ.....
    สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาโภ ชะโยนิจจัง
     
  9. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อนุโมทนา สาธุ

    ทานมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน มี ๓ ชนิด
    ๑.อามิสทาน คือ การให้อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อาศัย ยารักษาโรค และการให้อื่น ๆ
    .ธรรมทาน คือ การให้ธรรมะเป็นทาน
    .อภัยทาน คือ การให้อภัยแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ไม่ผูกอาฆาตและมีเมตตา
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ธรรมะ มันมีหลายระดับ ขึ้นกับสภาวะธรรมของบุคคล

    เช่น คนธรรมดา เราก็ต้องแสดงธรรมว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

    แต่ พอเป็นคนปฏิบัติธรรมจนถึงขั้นแล้ว ก็ต้องแสดงธรรมว่า อย่ายึดมั่นตัวตน

    กลับมาที่กระทู้

    ถ้าคนรับธรรมกำลังโมโหเราอยู่ เราให้ธรรมทานไม่ได้ เราก็ต้องให้อภัยทาน

    ถ้าคนรับธรรมกำลังโมโหแต่เริ่มหงอ ไม่ต้องให้อภัยทาน ควรให้ธรรมทาน

    ที่นี้ไปดูกันอีกขั้น

    ขั้นที่คนสำเร็จอรหันต์ จะเห็นว่า ธรรมทาน เท่านั้นที่เกื้อหนุนมหากุศลนี้ได้
    อภัยทานแทบจะไม่เกี่ยวข้องอะไรเลย ถ้าจะมีก็แค่กุศโลบายเท่านั้น จะยก
    ออกไปจากใจความสำคัญยังได้
     
  11. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    <B>

    ด้วยความเคารพครับ...พอจะมีที่อ้างอิงหรือเปล่าครับว่า การให้ธรรมทานมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้เพียงครั้งเดียว

    ผมพยายามหาแล้วไม่เจอ ที่คุณYUP_KOP บอกกล่าวมาครับ
    </B>
     
  12. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    ณ.สภาวะแห่งการเป็น อรหันต์ นั้น จะต้องมี กระแสจิตแห่งการให้ อภัยทาน
    นำมาซึ่งการเผาไหม้ แห่ง ตัวกิเลสโทสะ
    ภายหลังการเข้าสู้ อรหันต์แล้ว กระแสจิตของ อภัยทาน มั่นคง ไม่กลับกรอก
    เป็นอื่น ท่านจึงให้ เริ่มให้ธรรมทาน เพื่อสอน บุคคลที่สอนได้ให้รู้ธรรมตาม

    แต่เราๆท่านๆนั้น ตอนนี้ยัง มิได้ สำเร็จ อริยบุคคล ขั้นสูง
    ผมจึงแนะนำให้ นำการให้อภัยทาน (รู้สึกจะความหมายคล้ายๆการ เมตตา)
    ละลึกตลอดเวลา เพื่อจะช่วยให้เรา ละซึ่ง โทสะ ได้ง่าย

    แต่ผมไม่ได้หมายความว่า ธรรมทาน ได้ กุศลน้อยนะ เพราะตัวผมเองถ้ามีโอกาศ ก็จะสอน จะบอก ธรรมะ ที่ผมได้รู้ ให้คนอื่นได้รู้บ้าง เพื่อเป็นการให้คนที่มี มิฉาทิฐิ ให้มี สัมมาทิฐิ แล้วก็เป็นการเสริมบารมี เอาการ ให้ทาน ให้ครบทุกรูปแบบ ยิ่งดี .... ทุกๆทางให้ครบ (รวมถึง ศีล ภาวนา ด้วย)
    ส่วนตัวอย่าง ว่า อภัยทาน ได้ กุศลมากกว่า ธรรมทาน นั้น ผมก็ขอยก ง่ายๆที่เคยกล่าวไปแล้วนั้น ว่า
    คุณจะให้ ธรรมทาน (เทศนา-พิมพ์หนังสือธรรมะ เป็นต้น) สะ100 ครั้ง 100เล่ม (ได้กุศลแรง) แต่ตัด โลภ-โกรษ-หลง แม้นสะตัวก็ไม่ได้)
    ถ้า คุณยังละ โทสะจิต (ใช้ อภัยทาน เป็นตัวตัด)ไม่ได้ คุณก็ไป นิพพาน ไม่ได้
    อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ผิด หรือ ถูก พิจรณาเองนะครับ ...สาธุ
     
  13. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    นี้คือ อ้างอิง ของ อภัยทาน อิอิ
    ขอยืม มาใช้ หน่อยนะครับ
     
  14. jaya

    jaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +2,183
    ไม่ว่าจะเป็นการให้ ธรรมทาน หรืออภัยทาน อย่าหลงติดในบุญกุศล ว่ามาก
    กว่าหรือน้อยกว่าเลย เป็นอย่างนี้จิตยังยึดติดการตอบแทน แล้วจะรับธรรมทานหรือ ให้อภัยทานเพื่ออะไรกันแน่
     
  15. Nuntapus

    Nuntapus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2007
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +385
    จะให้ธรรมะเป็นทาน
    หรือจะให้อภัยเป็นทานก็ดีทั้งนั้นล่ะค่ะ
    แต่ที่แน่ๆถ้าคุณอ่านหนังสือแล้วคุณไม่เห็นด้วยจนโมโห
    ก็เท่ากับกิเลสอยู่ในใจคุณแล้วค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...