หลักพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ลัก...ยิ้ม, 10 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    แหล่งที่มาของข้อมุล ...ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๓)
    รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน


    หลักพระพุทธศาสนา




    สำหรับนักศึกษาผู้ไม่เคยสนใจมาก่อน
    โดย : หลวงปู่ไวย จตฺตาลโย


    ผมขอย่อให้เป็นหัวข้อสั้น ๆ เพื่อสะดวกแก่การจดจำดังนี้

    ๑. มีบางคนที่ยังไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาดีพอหรือรู้ยังไม่จริง แต่งหนังสือเรื่องกรรมและเรื่องเกิดใหม่ โดยอาศัยหลักจากลัทธิอื่นมาใส่ทั้งดุ้น แล้วให้ชื่อว่าเป็นหนังสือพระพุทธศาสนาที่แท้จริง เอาสิ่งที่ไม่ใช่พุทธมาเป็นพุทธ จึงเป็นอันตรายกับผู้อ่าน โดยเฉพาะชาวยุโรป อ่านแล้วหลงเข้าใจผิดเรื่องของพระพุทธศาสนา

    ๒. เรื่องกรรม หลักที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และบุคคลผู้ทำย่อมเป็นผู้ได้รับกรรมนั้น เป็นหลักที่มีมาก่อนพุทธกาล มีอยู่ในทุกศาสนาใหญ่ ๆ จึงจะถือหลักข้อนี้ข้อเดียวเท่านั้นเป็นหลักของพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะพุทธศาสนามีพฤติกรรมที่สามารถลบล้างกรรมดีและกรรมชั่วได้โดยเด็ดขาด และเป็นผู้อยู่เหนือกรรมได้ เมื่อปฏิบัติจนบรรลุมรรค ผล นิพพาน (รู้วิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะพ้นกรรมได้ตลอดกาล พ้นกฎของกรรม พ้นไตรลักษณ์ พ้นโลกทั้งสาม คือ ยมโลก มนุษยโลก และเทวโลกได้อย่างถาวร จุดนี้ต่างหากที่ศาสนาอื่น ๆ ไม่มี มีแต่พุทธศาสนา)

    ๓. พระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ ให้ผู้ปฏิบัติรู้-เห็นความจริงว่า คน สัตว์ วัตถุธาตุใด ๆ ในโลกเป็นไตรลักษณ์ ยึดถืออะไรไม่ได้ หมายความว่าสิ่งที่เราเห็นอยู่ รู้อยู่ สัมผัสอยู่นั้น มันไม่ทรงตัว เป็นเพียงแค่สภาวธรรมเท่านั้น มันเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แต่อุปาทานคิดว่ายึดว่าเป็นตัวเป็นตน <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  2. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    <!-- / icon and title --><!-- message -->๔. จุดที่ยากที่สุดของพระพุทธศาสนา คือ เรื่องไม่มีคน ไม่มีสัตว์ มีแต่ตัวกรรมหรือสภาวธรรม (กรรม) ที่เคลื่อนไปเป็นไตรลักษณ์ จึงมีผู้สงสัยกันมากว่า เมื่อไม่มีคนแล้ว จะมีการเกิดหรือการตายได้อย่างไรกัน

    ๕. ชาวต่างชาติจึงเขียนตำรา โดยอาศัยหลักพุทธศาสนาที่ได้รับมาผิด ๆ (เป็นมิจฉาทิฏฐิ) จึงมาเขียนผิด ๆ ตู่คำสอนของพระพุทธองค์ หรือสงสัยทำให้ปฏิบัติไปสู่สีลพตปรามาส เช่น ยึดประเพณี ธรรมเนียม กิริยาท่าทาง โดยการวางแบบไว้ตายตัว จนกลายเป็นพิธีหมด ซึ่งทั้งหมดนั้นไม่มีในพุทธกาลเลย

    ๖. ชาวยุโรปบางคนถูกยกย่องเป็นศาสตราจารย์ฝ่ายพระพุทธศาสนา ยกว่าเขาเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง เพราะเป็นนักเสพผัก (vegetarian) หรือพวกถือมังสวิรัติ ภรรยาเป็นไม่ได้เพราะเสพผัก พวกอาซิ้มกินเจไม่กินเนื้อสัตว์และผักที่มีกลิ่นแรงหลายชนิด บริโภคแต่ผักต้มหรือดองแล้วเป็นส่วนใหญ่ พวกไม่กินเนื้อสัตว์ (vegetarian) แต่กินไข่ กินนม กินผักสด ผักดิบทุกชนิดต่างยึดมั่นถือมั่นในรูปแบบพิธีต่าง ๆ แต่ในพุทธกาลไม่มีพิธีโดยสิ้นเชิง

    ๗. ชาวต่างประเทศและชาวไทยบางคน ยึดคัมภีร์เป็นหลักใหญ่ ไม่เชื่อไม่ไว้วางใจพุทธบริษัทชาวเอเชีย จึงต้องอ่านพระไตรปิฎกทั้งหมดด้วยตนเองก่อน จึงจะรู้พุทธศาสนา ก็ยิ่งไม่ถูกขึ้นไปอีกเพราะธรรมะแท้จริงนั้นถ่ายทอดกันไม่ได้ทางเสียงหรือทางตัวหนังสือ พวกติดตำราจึงเมาตำรา ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ปริยัติกลายเป็นงูพิษตามอลคัททูปมสูตร
    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  3. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ๘. เรื่องที่เราควรขวนขวายมีเรื่องเดียว คือ เรื่องความดับทุกข์อย่างแท้จริงนั้นเป็นอย่างไร สมัยพุทธกาลศึกษาปริยัติกันไม่กี่นาทีหรือไม่กี่วัน พระพุทธเจ้าทรงแนะหัวข้อธรรมให้ไปปฏิบัติก็เข้าป่าหรือนำไปปฏิบัติให้เกิดมรรคผล บางท่านก็สามารถบรรลุธรรมในทันทีในที่นั่งนั้นเอง หรือเฉพาะพระพักตร์นั่นเอง

    ๙. การบวชมี ๓ อย่าง (ในปัจจุบัน)
    ก) บวชแต่กาย ใจไม่ได้บวชด้วย
    ข) บวชแต่ใจ กายไม่ได้บวชด้วย
    ค) บวชทั้งกายและทั้งใจ
    ในพุทธกาล เขาบวชเพื่อความหลุดพ้นอย่างเดียว

    ๑๐. อนัตตากับสุญญตา เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ยากที่บุคคลทั่วไปจะพึงเข้าใจได้ถูกและตรง

    ๑๑. อมิตาภะ แปลว่า สิ่งที่มีแสงสว่างอันคำนวณไม่ได้หรือบางทีเรียกอมิตายุ แปลว่า สิ่งที่มีอายุคำนวณไม่ได้

    ๑๒. แต่พวกนิกายเซ็น แปลอมิตาภะว่า เป็นจิตเดิมแท้อย่างที่เว่ยหล่างเรียก และฮวงโปเรียกว่าความว่าง นิกายเซ็นถือว่าสิ่งที่มีแสงสว่างไม่มีประมาณ หรือสิ่งที่มีอายุคำนวณไม่ได้นั้นไม่มี มีแต่ความว่าง

    ๑๓. ความจริงพุทธศาสนาสอนให้คนเห็นทุกข์ เพราะตราบใดที่คนยังไม่เห็นทุกข์ ก็พ้นทุกข์หรือดับทุกข์ไม่ได้ และสอนให้หาต้นเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ แล้วดับที่ต้นเหตุนั้น ๆ เสีย สรุปว่าให้คนอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ได้ โดยที่ใจไม่ทุกข์ตามโลก

    ๑๔. สันติภาพมีในโลกของสัตว์เดียรัจฉานทั่วไป มากกว่าในหมู่มนุษย์

    ๑๕. ความเบียดเบียนที่น่ากลัวที่สุด คือ ความเบียดเบียนตนเอง อารมณ์จิตของเรานั่นแหละ เบียดเบียนตนเองมากที่สุด ร้ายกาจที่สุด (หากคิดดีบุญก็เกิด หากคิดไม่ดีบาปก็เกิด) (อหิงสาเท่ากับความไม่เบียดเบียน)

    ๑๖. ความกลัวของพุทธบริษัทที่แท้จริง คือ กลัวทุกข์หรือกลัวข้าศึกภายใน (อารมณ์จิตตนเองทำร้ายตนเอง-เบียดเบียนตนเอง อันเป็นภัยใหญ่ยิ่งกว่าภัยใด ๆ ทั้งหมด) โดยเฉพาะก่อนจะตาย หากจิตเบียดเบียนตนเองก็ไปสู่ทุคติ เพราะมีจิตเศร้าหมองหรือมีกิเลส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2010
  4. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ๑๗. ชาวต่างชาติบางคนวิจารณ์ไว้ว่า พุทธศาสนาเป็น negative จึงเท่ากับตู่พุทธศาสนาเพราะเขายังมีอารมณ์ยึดถูกและผิด (positive และ negative) ยึดดี ยึดเลว หรือยึดสมมุติทางโลกอยู่ จิตจึงมีอคติ ๔ (ความลำเอียง ๔) จึงมองไม่เห็นตัวอัพยากตธรรมหรือสายกลาง หรืออุเบกขา หรืออทุกขมสุขเวทนา

    ๑๘. บางคนแปลสุญตาว่า ความว่างเปล่า เลยจัดพุทธศาสนาเป็นมิจฉาทิฏฐิไป คือ พวกจัดพุทธศาสนาเป็น negative ความจริงแล้ว positive หรือ negative ถูก-ผิดนั้นเป็นอุปาทานชนิดหนึ่ง ซึ่งทางพุทธให้ละเสีย จึงจะหลุดพ้นได้

    ๑๙. พวกนิกายเซ็นของมหายาน จึงสอนเรื่องจิตว่างห้ามคิด ห้ามปรุง ถือยึดความว่างเป็นของวิเศษ มองกิเลสก็เป็นอนัตตาเพราะจิตว่าง ไม่ใช้ศีล-สมาธิ-ปัญญาฆ่ากิเลส คิดเอาเองว่าความว่างฆ่ากิเลสได้ (**)

    ๒๐. หมวดธรรมที่สำคัญ ๆ ในพุทธศาสนา เช่น หมวดอริยสัจ, หมวดอริยมรรคมีองค์ ๘, หมวดสิกขาสาม, หมวดไตรลักษณ์, หมวดปฏิจสมุปบาท, หมวดหัวใจพุทธศาสนา (โอวาทปาฎิโมกข์) หมวดเหล่านี้ก็ยังมองกันคนละแง่ละมุม ไม่ลงรอยกันเป็นเพราะ

    ก) ถือเอาความหมายของคำนั้น ๆ ผิด
    ข) ถือเอาความหมายบางคำผิด ทำให้ผิดจุดประสงค์เดิมไปเลย (ขาวเป็นดำ-ดำเป็นขาว)
    ค) พวกฉงน สงสัย ยิ่งมีมากเท่าไร ยิ่งเขียนคำอธิบายเพิมเติมมาก ก็ยิ่งไกลความจริงออกไป
    ง) พวกหลงผิด เข้าป่าไปเลย
    จ) แม้อภิธรรมก็เช่นกัน ตัวอย่างหมวดปฏิจสมุปบาท

    เพราะเขาจับหลักยังไม่ได้ (มีภูมิจิต มีภูมิธรรม หรือบารมีแค่ไหนก็รู้ได้แค่นั้น)

    ๒๑. หลวงปู่ไวยสรุปว่า ไม่ต้องไปศึกษาเรื่องอะไร นอกจากเรื่องตัวกู-ของกู (ท่านหมายถึงให้พิจารณาขันธ์ ๕ หรือร่างกายหรือสักกายทิฐิข้อเดียวพอ แต่ข้อนี้พระพุทธเจ้าเลือกสอนแต่เฉพาะพวกพุทธจริต พวกดอกบัวพ้นน้ำแล้วหรืออุคติตัญญูเท่านั้น)

    หมายเหตุ : ผมได้รับหนังสือเล่มนี้ในงานวันเกิดของหลวงปู่ไวย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้อ่านแล้ว ๓ จบ เห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับพุทธบริษัท จึงได้บันทึกย่อไว้ เมื่อนำมาอ่านใหม่เมื่อวันที่ ๒ มิ.ย. ๒๕๔๙ เห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ขี้เกียจอ่านหนังสือ และผู้ที่ยังมีพื้นฐานของพระธรรมในพุทธศาสนาน้อย มีโมหะจริตและศรัทธาจริตสูง คือ เชื่อง่ายโดยขาดปัญญาทางพุทธ สนใจแต่ปริยัติแต่ไม่ค่อยจะปฏิบัติ จึงยังรู้ไม่จริง-รู้ไม่ตรงตามความเป็นจริง ในคำสั่งสอนของพระองค์ของจริงอยู่ที่ผล มิใช่อยู่ที่ตำรา จึงขอให้ท่านผู้อ่านกรุณาอ่าน แล้วใช้ปัญญาคิด-พิจารณาตามธรรมะที่หลวงปู่ไวยท่านเขียนไว้ ผมย่อเอาความสำคัญแยกออกเป็นหัวข้อไว้ ๒๑ ข้อ เมื่อท่านได้ศึกษาตามหลักฐานที่หลวงปู่ไวยท่านเขียนไว้เข้าใจแล้ว

    ท่านก็จะแยกได้ว่า สิ่งใดเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า และสิ่งใดเป็นคำสอนของท่านอื่น (**) หรือสิ่งไหนเป็นพุทธ สิ่งไหนเป็นเซ็น อันไหนเป็นสัมมาทิฏฐิ อันไหนเป็นมิจฉาทิฏฐิ ให้ท่านพิจารณาใคร่ครวญด้วยตัวของท่านเอง ขอให้ผู้อ่านทุกท่านจงโชคดี



    หมายเหตุ (**) มีการแก้ไขตามความเห็นสมควรของผู้พิมพ์
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    บทธรรมข้างต้น...จบแล้วนะคะ


    ความเมตตาท่านดั่งมหาสมุทร
    ประเสริฐสุดมากมายกว่าสิ่งไหน
    หลั่งไหลมาเหมือนฝนชุ่มชื่นใจ
    จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แผ่นดิน
     

แชร์หน้านี้

Loading...