หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 5 พฤษภาคม 2008.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    [​IMG]





    หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม



    ในบรรดาคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมากมาย ทั้งส่วนที่เป็นคำสอนสำหรับประชาชนโดยทั่วไป และคำสอนสำหรับพระภิกษุทุกรูป สำหรับคำสอนที่ทรงแสดงแก่พระภิกษุสงฆ์ส่วนมาก พระองค์พระประสงค์ให้พระพระภิกษุทุกรูป นำไปประพฤติเพื่อความหลุดพ้นจากอาสวกิเลส เพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อปัญญาและวิมุตติ เพื่อนิพพานเป็นสำคัญ ในพระไตรปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อถูกพวกปริพาชกถามว่าบวชเพื่ออะไร ก็ขอให้ตอบดังนี้


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า

    ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อคลายราคะ... เพื่อคลายกำหนัด... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอนุสัย... เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและวิมุตติ... เพื่อญาณทัสสนะและเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
    (สํ.ม. ๑๙/๔๑-๔๘/๓๗-๔๐ มหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐.)


    จะเห็นว่าพระองค์ถือว่าการออกบวชเป็นการสละบ้านเรือน เพื่อการแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายปฏิบัติ ซึ่งคำสอนแต่ละเรื่องที่ทรงนำมาแสดงแก่พระภิกษุแต่ละรูปนั้นก็ต้องเหมาะแก่อุปนิสัยของแต่ละท่าน

    เมื่อภิกษุนั้นๆ ได้ฟังแล้วน้อมนำเอาไปปฏิบัติไม่นานก็ได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่ง เมื่อมีความเพียรต่อไปก็บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว เป็นผู้พ้นบ่วงแห่งมาร พ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง มีปรินิพพานเป็นที่สุด ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายในวัฏฏทุกข์นี้อีกต่อไป




    หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม



    หลักธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีมากมาย แต่ที่จัดว่าเป็นหลักธรรมที่สำคัญเพื่อนำไปสู่มรรคผลนั้น ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายของการตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ แบ่งเป็น ๗ หมวด ดังนี้


    ๑. สติปัฏฐาน

    ๒. สัมมัปปธาน ๔

    ๓. อิทธิบาท ๔

    ๔. อินทรีย์ ๕

    ๕. พละ ๕

    ๖. โพชฌงค์ ๗

    ๗. มรรคมีองค์ ๘



    รวมเป็น ๓๗ ประการ จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
    ซึ่งในแต่ละหมวดมีความสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว การปฏิบัติตามธรรมหมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมหมวดอื่นๆ ด้วย



    สาเหตุที่ท่านแบ่งไว้ถึง ๗ ประการอย่างนี้ เป็นเพียงการจำแนกตามเกณฑ์ที่เอามาเป็นกรอบในการพิจารณา เช่น เอาสติเป็นเกณฑ์ก็เป็น สติปัฏฐาน ๔ ถ้าเอากำลังในการปฏิบัติเป็นเกณฑ์ก็เป็น พละ ๕ ถ้าเอาองค์แห่งความรู้เป็นเกณฑ์เป็นโพชฌงค์ ๗ ถ้าเอาหนทางในการปฏิบัติเป็นเกณฑ์ก็เป็น มรรคมีองค์ ๘ ดังนี้ เปรียบเสมือนมนุษย์ ถ้าเราจะแบ่งความเป็นมนุษย์ก็สามารถแบ่งได้หลายอย่าง
    เช่น ถ้าเอาเพศเป็นเกณฑ์ก็มี ๒ เพศ คือ ชายกับหญิง ถ้าเอาอวัยวะเป็นเกณฑ์มี ๓๒ ประการ มี เนื้อ หนัง กระดูก หัวใจ ตับ อาหารเก่า เสลด น้ำเลือด เป็นต้น ถ้าเอาระบบการทำงานของร่างกายเป็นเกณฑ์ก็มี ๗ ประการ เช่น ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น จะเห็นว่ามนุษย์ในความหมายที่เรารู้จัก สามารถแบ่งออกเป็นหลายอย่างเช่นเดียวกัน



    ความสำคัญของโพธิปักขิยธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ มีดังนี้



    โพธิปักขิยธรรม อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว เพื่อความสิ้นอาสวะ...
    (สํ.มหา. ๑๙/๔๒๑-๔๒๓/๓๖๖-๓๖๗ มหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐.)

    และหวังผล ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
    (สํ.มหา. ๑๙/๕๓๕/๓๖๘ มหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐.) <!--MsgFile=1-->



    พิจารณาหลักธรรมอันเป็นหลักปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม ที่เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ดังนี้



    ๑. หลักโพธิปักขิยธรรมมี ๓๗ ประการ เป็นการรวมหัวข้อธรรมทั้งหมดโดยมิได้สนใจว่าหัวข้อธรรมซ้ำกันหรือเปล่า ซึ่งเป็นวิธีการนับที่นิยมกันอยู่ในการรวบรวมหัวข้อธรรมในพระไตรปิฎก จะสังเกตเห็นมากในอภิธรรมปิฎกที่นับจิตเป็นดวงๆ มากมาย โดยวิธีการนี้อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่าการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมมีถึง ๓๗ ประการ แท้จริงแล้วการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมเพียงแต่ปฏิบัติตามหมวดธรรมหมวดหนึ่งหมวดใด ก็เป็นการปฏิบัติที่ครอบคลุมหลักการปฏิบัติแล้ว เช่น
    ถ้าใช้สติในการปฏิบัติก็ปฏิบัติแค่ ๔ ประการ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ถ้าปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ก็ปฏิบัติแค่ ๘ ประการ อยู่ที่ผู้ปฏิบัติจะถืออะไรเป็นหลักในการปฏิบัติเท่านั้น แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อถือหลักใดต้องปฏิบัติให้ครบตามหลักนั้นๆ



    ๒. โพธิปักขิยธรรม แบ่งเป็น ๗ หมวด แต่ละหมวดมีความสมบูรณ์ในการปฏิบัติครบถ้วนแม้ว่าจะอธิบายแยกกัน แต่เมื่อปฏิบัติตามหมวดธรรมหมวดใดหมวดหนึ่งก็เท่ากับปฏิบัติตามหมวดธรรมอื่นอีก ๖ หมวดด้วย การปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมเปรียบได้กับการเดินทางไปยังเป้าหมายที่เหมือนกัน

    ใครจะเดินทางไปตามเส้นทางใดก็เท่ากับกำลังเดินทางเข้าสู่เป้าหมายเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงเส้นทาง แต่การปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมนั้น ในขณะที่กำลังปฏิบัติตามหมวดธรรมหนึ่งก็เท่ากับปฏิบัติหมวดธรรมอื่นไปด้วย นี้เป็นลักษณะพิเศษของคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    เห็นได้ชัดเจนที่มรรคมีองค์ ๘ คำอธิบายแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เท่ากับรวมการปฏิบัติหมวดอื่นเข้าไว้ทั้งหมด ทั้งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ อินทรีย์ ๕ โพชฌงค์ ๗ รวมอยู่ในมรรคมีองค์ ๘ แม้แต่สติปัฏฐาน ๔ ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่ารวมเอาองค์ธรรมในหมวดอื่นๆ ไว้ทั้งหมดเช่นกัน นี่คือความสอดคล้องของหลักธรรมในการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม



    ๓. การปฏิบัติธรรมมีจุดประสงค์เดียว คือ การพ้นทุกข์ สภาวะของการพ้นทุกข์ คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก มีความเข้าใจสภาวธรรมต่างๆ จนจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น
    การปฏิบัติตามหลักโพธิปักขิยธรรม ไม่ว่าจะเป็นหมวดธรรมใด ย่อมโน้มน้าวจิตใจของผู้ปฏิบัติไปสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้น เปรียบน้ำจากแม่น้ำทุกสายไม่ว่าระหว่างทางจะมีรสอย่างไร เมื่อลงสู่ทะเลย่อมมีรสเค็มรสเดียวกันหมด การปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมก็เช่นกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ทั้งสิ้น



    ๔. โพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้มรรคผลหรือการบรรลุธรรม ผู้ปฏิบัติตามหลักโพธิปักขิยธรรมต้องมีความโน้มเอียงของสภาวะจิตไปเพื่อการตรัสรู้เท่านั้น คือ เมื่อปฏิบัติตามหลักนี้แล้ว กิเลสต้องลดลงๆ จนหมดไปในที่สุด ในทางกลับกันถ้าผู้ปฏิบัติๆ ไปแล้วกิเลสเพิ่มขึ้น มีความโลภ ความโกรธ ความหลงมากขึ้น แสดงว่าการปฏิบัตินั้นผิดหลักโพธิปักขิยธรรม กิเลสที่ลดลงเป็นเครื่องวัดการปฏิบัติ ถ้ากิเลสไม่ลดแสดงว่ากำลังปฏิบัติผิด ต้องทบทวนการปฏิบัติใหม่ว่าผิดพลาดจุดไหน ให้รีบแก้ไข



    ๕. การบรรลุธรรมเป็นอุดมการณ์ของโพธิปักขิยธรรม โดยมี สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ อินทรีย์ ๕ และโพชฌงค์ ๗ เป็นหลักการ
    มีสติปัฏฐาน ๔ และมรรคมีองค์ ๘ เป็นวิธีการ




    -->> การศึกษาวิเคราะห์โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการ ข้างต้นมาแล้วอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้ผู้ศึกษาบรรลุธรรมได้ นอกจากการลงมือปฏิบัติตามหลักการนั้นอย่างจริงจังและมุ่งมั่น <!--MsgFile=2-->



    <!--MsgFile=0-->
     
  2. lonely_pkw

    lonely_pkw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +333
    อนุโมทนาสาธุ

    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    ขอให้ดังก้องถึงพระนิพพาน
     
  3. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้ตั้งกระทู้ และขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านร่วมอนุโมทนาครับ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธ
    สาาาาา...ธุ

     
  4. virot05

    virot05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,679
    คงจะจริงอย่างแน่แท้ หากเราไม่ปฏิบัติ ก็คงไม่เห็นผล อนุโมทนาบุญด้วยคนขอรับ
     
  5. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุบุญ


    จงเป็นเปลวเทียน ที่ย่อมเผาผลาญตัวเอง เพื่อความสว่างไสวของผู้ื่อื่น
     
  6. junior phumivat

    junior phumivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,346
    ค่าพลัง:
    +1,688
    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลาย สมดังความปราถนาเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
     
  7. น้อมรับ

    น้อมรับ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +8
    สาธุ...ครับ

    มีความสงสัยคับ??

    เคยอ่านมาหลายบทความเลยสงสัยว่าบุคคลที่โลกเรียกว่า กะเทย และเกย์เนี่ย
    จะสามารถบรรลุธรรมได้หรือไม่???ถ้าบรรลุได้ต้องใช้ความพยายามมากกว่า
    บุคคลโลกเรียกว่าชายแท้หรือไม่??

    ตัวผมเองเป็นชายแท้ แต่ใคร่รู้ ว่าเป็นอย่างไรกันแน่??
    เพราะได้ยินข่าวเรื่องพระประพฤติตัวไม่เหมาะสม บางคนบอก เกย์ ตุ๊ด เนี่ยบรรลุธรรมไม่ได้ ถ้าพวกเขาเหล่านั้นปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ผมเกรงว่ามันจะไปตัดทอนกำลังของพวกเขาเหล่านั้นในการปฏิบัติธรรม ^_^
     
  8. gotodido

    gotodido เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +147
    ชัดเจน แจ่มแจ้ง ครอบคลุมมากครับ ถ้าเป็นพระ ก็เรียกได้ว่า เป็นกัณท์เทศที่หาฟังได้ยากยิ่ง
     
  9. สุริยันจันทรา

    สุริยันจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +4,588
    อนุโมทนา...
    สติปัฏฐาน ๔ ใจมีสติอยู่กับกายผลลัพท์เท่ากับปกติ(ศีล)
     
  10. ประพจน์

    ประพจน์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร มีความเพียรให้มาก
    เมื่อสร้างเหตุดีผลย่อมดี..สาธุ
     
  11. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    ธรรมทั้ง 37 ประการเกื้อกูลกัน เสริมกัน อย่างดี ที่เป็นแนวปฏิบัติในด้านเทคนิคลงรายละเอียดการปฏิบัติ ได้แก่การฝึกตามสติปัฎฐาน 4 ที่เป็นแนวคิด เช่นอิทธบาท 4 พละ 5 อินทรีย์ 5 ก็คล้ายกันแต่เกื้อหนุนกันและกันเชื่อมโยงกันอยู่
    ลองอ่านในรายละเอียดแล้วจะเห็นภาพที่ชัด ขึ้น ถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม แต่ต้องทำซ้ำ ๆ ให้เกิด วสีคือ ความชำนาญ เหมือนกับการสวดมนตร์ เพราะอ่านอย่างเดียวแต่ไม่ปฏิบัติไม่สามารถบรรลุธรรมใดได้เลย
    พระพุทธองค์ รวมถึงพระอริยสงฆ์ทุกรูปท่านเน้นย้ำมาตลอดให้ปฏิบัติ ปฏิบัติ และปฏิบัติ

    "จงยังกิจของท่านด้วยความไม่ประมาทเถิด"
     
  12. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    โมทนาสาธุคะ เปรียบเหมือนแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ในที่สุดก็มารวมกันที่ปากน้ำโพ และไหลลงสู่ทะเล
     
  13. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ถ้ามีอรรถาธิบาย สาธยายแต่ละข้อโดยละเอียดกว่านี้ จะเป็นพระคุณอย่างสูง และเป็นประโยชน์อย่างมากด้วย ขออนุโมทนา
     
  14. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เรียนคุณยายทองประสา ถ้ามีเวลาจะลองเขียนบรรยายดูนะครับ เกรงแต่ว่าจะยาวความเกินไป และจะเป็นการเอามะพร้าห้าวมาขายสวนกัน เพราะหลายท่านทราบดีแล้วว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ปฏิบัติอย่างไรบ้างนะครับ ผมจึงยกแต่หลักการมิได้อธิบายขยายวิธีการนั่นเอง


    อยู่ที่โอกาสและเวลาจะอำนวยนะครับ หรือถ้ามีเสียงเรียกร้องจากหลายๆ ท่านก็อาจจะขวนขวายเร็วยิ่งขึ้นครับ...


    ขอบคุณ...ขอรับ
     
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    หลักธรรมที่สนับสนุนการทำสมาธิ


    หลักธรรมที่สนับสนุนการทำสมาธิทั้ง 2 ประการ คือ สมาธิฝ่ายสมถะ และสมาธิฝ่ายวิปัสสนา ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ



    โพธิปักขิยธรรม แปลว่า ธรรมที่นำไปสู่การตรัสรู้ หรือธรรมที่นำไปสู่การค้นพบสัจธรรมอันตามธรรมดาผู้ใดมีความปรารถนาจะไปจุดหมายใดจุดหมายหนึ่ง จะต้องเดินให้ถูกทาง ถ้าเดินผิดทางก็จะไม่ถึงจุดหมายเหมือนผู้ที่ต้องการจะไปเที่ยวอยุธยา แต่กลับนั่งรถไปทางนครปฐม ก็เป็นอันว่าอยุธยาไม่มีวันพบฉันใด ผู้ที่มีความประสงค์จะหาความสงบสุขจากสมาธิก็ต้องดำเนินให้ถูกทางที่นำไปสู่จุดหมายของสมาธิฉันนั้น



    โพธิปักขิยธรรมที่เป็นข้อปฏิบัตินำไปสู่จุดหมายของสมาธินั้นมี 37 ประการ คือ

    1. สติปัฏธาน 4
    2. สัมมัปธาน 4
    3. อิทธิบาท 4
    4. อินทรีย์ 5
    5. พละ 5
    6. โพชฌงค์ 7
    7. มรรคมีองค์ 8




    สติปัฏฐาน 4


    สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติจิตจะเป็นสมาธิจะต้องมีที่วางหรือที่ตั้ง เหมือนจะปักไม้ลงจะต้องมีหลุมสำหรับปัก ดังนั้น สติปัฏฐานจึงเหมือนหลุมสำหรับจิตตั้งหรือปัก สติปัฏฐานซึ่งเป็นหลักหรือหลุ่มสำหรับจิตนั้นมี 4 ประการ คือ


    1. สติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา)

    2. สติกำหนดพิจารณาเวทนา (เวทนาปัสสานา)

    3. สติกำหนดพิจารณา (จิตตานุปัสสนา)

    4. สติกำหนดพิจารณาธรรม (ธัมมานุปัสสนา)





    สติกำหนดพิจารณากาย มีวิธีปฏิบัติย่อ ๆ ดังนี้


    พิจารณาให้เห็นความจริงว่าร่างกายของคนเราต้องประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ และลม ธาตุดิน หมายถึงอวัยวะที่มีลักษณะแข็งในร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ปอด เป็นต้น ธาตุน้ำ หมายถึง วัตถุเหลวไหลในร่างกายของเรา เช่น น้ำเหงื่อ มันขัน น้ำมูก น้ำลาย เลือด หนอง ไขข้อ น้ำตา เป็นต้น ธาตุไฟ หมายถึง สภาวะที่มีลักษณะร้อนในร่างกาย เช่น ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ไฟที่ทำร่างกายให้กระวนกระวายและไฟที่ทำร่างกายให้ทรุดโทรม ธาตุลม คือ ลมหายใจ ลมในท้อง เป็นต้น


    เมื่อร่างกายประกอบขึ้นจากธาตุ 4 แล้ว มิใช่จะจีรังยั่งยืนได้ตลอดไป แท้ที่จริงแล้ว เราผู้เป็นเจ้าของจะต้องเพิ่มธาตุทั้ง 4 นั้น ทุกวินาที เช่น

    -> จะต้องสูดอากาศเพื่อธาตุลม ถ้าไม่สูดอากาศเราก็ตาย

    -> ต้องกินน้ำทุกวันเพื่อธาตุน้ำ ถ้าเราไม่ดื่มน้ำเราก็ตาย

    -> ต้องรับประทานอาหารเพื่อซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นธาตุดิน ถ้าไม่ทานอาหารเราก็ตาย

    -> เราต้องระวังร่างกายของเราให้มีไออุ่น เมื่อไรร่างกายหมดไออุ่น เมื่อนั้นร่างกายนี้ก็จะเย็นชืด นั่นคือ ความตาย



    การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่าสติกำหนดพิจารณากาย หรือกายานุปัสสนา




    สติกำหนดพิจารณาเวทนา มีวิธีปฏิบัติย่อ ๆ ดังนี้


    พิจารณาให้เห็นความจริงในชีวิตประจำวันของเราว่า...


    คราวใดเรามีความสุข คราวนั้นความทุกข์และอุเบกขาจะไม่มี

    คราวใดเรามีความทุกข์ ความสุข และอุเบกขา จะไม่มี

    คราวใดเรามีความรู้สึกเฉย (อุเบกขา) คราวนั้นความสุข และความทุกข์จะไม่มี


    เวทนาที่เกิดกับเราย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปอย่างนี้มิได้แน่นอน ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุปัจจัยของเวทนา


    เหตุที่จะให้เกิดเวทนาก็คือการสัมผัส ระหว่างอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ กับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย และอารมณ์ เช่น...

    เมื่อตาเห็นคนสวยก็มีความสุข ถ้าพบคนที่เป็นศัตรูกันก็เป็นทุกข์ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าผัสสะระหว่างอายตนะเป็นปัจจัยหรือต้นเหตุให้ เกิดเวทนาคือ สุข ทุกข์ และเฉย ๆ




    สติกำหนดพิจารณาจิต มีวิธีปฏิบัติดังนี้


    หมั่นพิจารณาจิตว่ามีกิเลส เช่น ราคะ โทสะ เป็นต้นหรือไม่ เป็นการสำรวจจิตของตนอยู่เสมอและรู้ทันในขณะปัจจุบัน




    สติกำหนดพิจารณาธรรม มีวิธีปฏิบัตินี้


    หมั่นพิจารณาธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลว่ามีอยู่ในตนหรือไม่ ธรรมที่เป็นกุศล เช่น โพชฌงค์ 7 ที่เป็นอกุศล เช่น นิวรณ์ 5 ธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปอย่างไรให้รู้วิธีกำจัดหรือวิธีดับธรรมที่เป็นอกุศลและวิธีเจริญธรรมที่เป็นกุศล




    สัมมัปปธาน 4


    สัมมัปปธาน แปลว่า การทำความพยายามที่ถูกต้อง หรือการทำความบากบั่นที่เป็นประโยชน์ผู้ที่จะทำความหมดจดทางจิตโดยวิธีสมถะและวิปัสสนาจะต้องมีพยายามอย่างยิ่งยวด ต้องสละแม้แต่ชีวิต ก็เมื่อเราต้องปฏิบัติกันอย่างจริงจังแล้วก็ต้องปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง ถ้าปฏิบัติทางผิดก็เหนือเปล่า ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติแนวทางบำเพ็ญสมาธิทั้ง 2 ประการนั้นไว้สำหรับผู้ต้องการ เรียกว่า สัมมัปปธาน สัมมัปปธานมี 4 ประการ ดังต่อไปนี้



    1. พยายามละความชั่วที่เกิดขึ้นมาแล้ว เช่น ละความเกลียดคร้านที่เป็นนิสัย ละความเห็นแก่ตัวที่เกิดเป็นนิสัยเสียให้หมด (ปหานปธาน)


    2. พยายามระวังไม่ให้ความชั่วที่ยังไม่เคยทำ ไม่เคยพูด และไม่เคยคิด ให้เกิดขึ้น เพราะถ้าเราทำความชั่วครั้งแรกได้ การทำความชั่วครั้งที่ 2 ก็จะตามมา (สังวรปธาน)


    3. พยายามทำความดีที่เรายังไม่เคยทำเลยให้เกิดขึ้น เช่น การทำใจให้สงบที่ เรียกว่า สมาธินี้เรายังไม่เคยทำก็พยายามฝึกหัดวันละเล็กวันละน้อย (ภาวนาปธาน)


    4. พยายามรักษาความดีที่เราทำได้แล้วให้คงอยู่ และให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น (อนุรักขนาปธาน)




    อิทธิบาท 4


    อิทธิบาท แปลว่า ทางเดินไปสู่ความสำเร็จ เช่น ถ้าเราต้องการบำเพ็ญสมาธิเพื่อความสงบใจ เราต้องอาศัยข้อปฏิบัติที่เรียกว่าอิทธิบาทนี้ สมาธิของเราจึงจะสำเร็จ อิทธิบาทมี 4 ประการคือ


    1. ความพอใจอย่างแรงกล้าในการทำสมาธิ หรือทำความดีอื่น ๆ (ฉันทะ)

    2. ความพยายามอย่างแรงกล้าในการทำสมาธิหรือทำงานอื่น ๆ (วิริยะ)

    3. ความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการทำสมาธิ หรือทำงานอื่น ๆ (จิตตะ)

    4. ระดมปัญญาอย่างเต็มที่ในการทำสมาธิ หรือทำงานอื่น ๆ (วิมังสา)




    อินทรีย์ 5


    อินทรีย์ แปลว่า ความเป็นใหญ่ โดยปกติมนุษย์เรามีคุณสมบัติ หรือเครื่องมือสำหรับทำการงานประจำอยู่ในตัวทุกคน ถ้าใครปลุกคุณสมบัติเหล่านั้นให้เข็มแข็ง การงานต่าง ๆ ก็สำเร็จลงได้ คุณสมบัติดังกล่าวนั้นมี 5 ประการ คือ


    1. ความเชื่อ (ศรัทธา)

    2. ความเพียร (วิริยะ)

    3. สติ (สติ)

    4. ทำใจให้นิ่ง (สมาธิ)

    5. ความรู้ (ปัญญา)



    ผู้ที่จะทำสมาธิจะต้องมีอินทรีย์ 5 ประการ เป็นหลักปฏิบัติขั้นต้นจะต้องมีศรัทธาในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม และพระสงฆ์


    เป็นการแน่นอนว่า ผู้ที่ไม่มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ย่อมจะไม่ได้สนใจการทำสมาธิ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะหาความสงบสุขจากสมาธิจึงต้องมีศรัทธาก่อน


    เมื่อมีศรัทธาแล้ว ถ้าไม่ขยันทำสมาธิ ผลก็ไม่เกิด ฉะนั้น จะต้องมีความเพียร ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแม้จะขยัน แต่ถ้าไม่มีสติงานย่อมไม่บรรลุเป้าหมาย


    ฉะนั้น สติจึงต้องมีสำหรับทำสมาธิ ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้าใจไม่สงบ ฟุ้งสร้านคิดไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ การทำสมาธิก็จะไม่สำเร็จ


    ดังนั้น เมื่อจะทำสมาธิจึงต้องประครองจิตให้นิ่ง ความจำเป็นสุดท้ายของการทำการงานหรือทำสมาธิก็คือปัญญา การทำงานหรือการทำสมาธิ ถ้าไม่รู้ความจริงในรายละเอียดงานย่อมผิดพลาด เหมือนคนทำงานในที่มืดย่อมทำไม่สะดวก แต่ถ้าทำในที่สว่างย่อมทำสะดวก และงานก็สำเร็จในที่สุด


    ข้อควรสังเกตก็คือ ศรัทธากับปัญญาต้องอาศัยกัน


    ถ้าใครมีศรัทธามากกว่าปัญญา คนผู้นั้นจะเป็นคนงมงาย

    แต่ถ้ามีปัญญามากกว่าศรัทธาคนนั้นก็จะเป็นคนมีความเห็นผิดมีสายตาสั้นจะเชื่อเฉพาะที่ตัวเห็น ถ้าไม่เห็นจะไม่เชื่อ


    ดังนั้น ในการใช้ชีวิตประจำวันควรมีศรัทธาและปัญญาเสมอกัน คือ มีศรัทธาที่ปัญญาประคอง และมีปัญญาที่ศรัทธาชี้นำ




    พละ 5


    ผู้ที่มีอินทรีย์ 5 ประการ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าพบอุปสรรคเล็กน้อย คุณธรรมเหล่านั้นจะหายไป เช่น ถ้ามีศรัทธาในพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว แต่พอมีใครมาพูดเป่าหูว่าเชื่อเรื่องเหลวไหลพระพุทธเจ้าที่ไหนกันพระพุทธเจ้าไม่มี พอฟังคำพูดเพียงเท่านี้ ก็เลยหมดศรัทธาในพระพุทธเจ้าศรัทธาที่ล้มง่ายอย่างนี้เรียกว่า ศรัทธาที่เป็นอินทรีย์


    คุณธรรม 5 ประการ คือ ศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ และปัญญาที่มั่นคงสามารถปราบศัตรูของตนได้ เรียกว่า พละ ลักษณะของพละมีดังนี้ คือ...


    ศรัทธา มีความเชื่ออย่างมั่นคงในพระรัตนตรัย ไม่หวั่นไหวในเหตุที่จะไม่ให้เกิดศรัทธา

    ความเพียรเข้มแข็งไม่หวั่นไหวในเหตุให้เกิดความเกียดคร้าน

    สติมั่นคงไม่หวั่นไหวในเหตุที่ให้เกิดการหลงลืม

    สมาธิมีความมั่นคงไม่เอนเอียงไปในความฟุ้งสร้าน

    และปัญญามีความมั่นคงสามารถต่อสู้กับความหลงใหลในภาวะจอมปลอมได้



    ข้อสังเกต อินทรีย์กับพละ มีหัวข้อธรรมอย่างเดียวกัน ที่ต่างกันก็คือ ศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ และปัญญา ที่มีกำลังน้อย เรียกว่า อินทรีย์ แต่ถ้ามีกำลังมาก เรียกว่า พละ



    ชื่อยศทหารระดับนาย พล โดยที่จริงแล้วก็นำเอาคำว่าพละนี้เองไปตั้ง เพราะว่า นายพลย่อมไม่หวั่นไหวในหน้าที่ปกครองลูกน้องของตน ตนย่อมมีอำนาจเหนือลูกน้องทุกคน ซึ่งก็เหมือนศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ และปัญญา ที่เป็นพละไม่สะดุ้งต่อสภาวะที่เป็นข้าศึกของตนเหมือนกัน





    โพชฌงค์ 7


    โพชฌงค์ แปลว่า องค์คุณที่สนับสนุนให้ตรัสรู้ ผู้ปรารถนาจำจิตให้สงบด้วยสมาธิจะต้องอาศัยธรรม 7 ประการนี้ โพชฌงค์ 7 ประการมีดังนี้


    1. สติ

    2. การค้นคว้าธรรม (ธัมมวิจยะ)

    3. ความเพียร (วิริยะ)

    4. ความอิ่มใจ (ปิติ)

    5. ความสงบกายใจ (ปัสสัทธิ)

    6. ความมีจิตมั่นคง (สมาธิ)

    7. การวางเฉย (อุเบกขา)



    สติ ต้องใช้ตลอดเวลาในขณะที่ทำสมาธิ หรือวิปัสสนา


    -> เมื่อจิตเกิดท้อถอยในขณะทำสมาธิจะเป็นเพราะง่วงนอน หรือเกลียดคร้านก็ตามในขณะนั้นต้องกำจัดความหดหู่ด้วยโพชฌงค์ทั้ง 3 คือ การค้นคว้าธรรม ความเพียร และความอิ่มใจ



    -> เมื่อจิตฟุ้งสร้าน ต้องกำจัดความฟุ้งสร้างด้วยโพชฌงค์ 3 คือ ความสงบกายใจ ความมีจิตมั่นคง และการวางเฉย



    -> เมื่อต้องการเจริญการค้นคว้าธรรมควรพิจารณาถึงการทำที่มีคุณและการทำที่มีโทษ เช่น คิดว่าการทำลายชีวิตสัตว์เป็นโทษ การมีชีวิตด้วยอาชีพโจรกรรมเป็นโทษ การมีเมตตาเป็นคุณของชีวิต การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่าการค้นคว้าธรรม



    -> เมื่อต้องการเจริญความเพียร หรือต้องการให้เกิดกำลังใจในการทำสมาธิ ควรพิจารณาว่า ในตัวเรานี้มีธาตุริเริ่ม ธาตุบากบั่น เราควรปลุกธาตุเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของเราการพิจารณาอย่างนี้เรียกว่า เจริญความเพียร



    -> เมื่อต้องการเจริญความอิ่มใจ ควรพิจารณาถึงคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเกิดความอิ่มใจ นี่คือการเจริญปีติกำจัดความหดหู่



    -> เมื่อต้องการเจริญความสงบกายสงบใจ ควรปฏิบัติดังนี้ คือ ทานอาหารที่ถูกใจ เปลี่ยนอิริยาบถที่ถนัด คบคนที่จิตใจมั่นคง



    -> เมื่อต้องการความมีจิตมั่นคง ควรเอาใจใส่ในนิมิตกสิณ ทำจิตให้ร่าเริง เป็นต้น



    -> เมื่อต้องการเจริญอุเบกขา ควรวางตนเป็นกลาง และพยายามมองเห็นประโยชน์ของการวางจิตเป็นกลางนั้น





    มรรคมีองค์ 8



    มรรค แปลว่า หนทาง มรรคมีองค์ 8 คือ หลักปฏิบัติประจำวันของผู้มุ่งแสวงหาความพ้นทุกข์จากวัฏฏสงสาร ลักษณะของมรรคมีองค์ 8 เป็นหลักปฏิบัติสายกลาง คือ ไม่เอนไปข้างทุกกรกิริยาและไม่เอนไปข้างพัวพันทางกาย มรรคมีองค์ 8 มีดังนี้


    1. มีความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)

    2. มีความคิดถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ)

    3. พูดจาดี (สัมมาวาจา)

    4. ทำงานดี (สัมมากัมมันตะ)

    5. มีอาชีพสุจริต (สัมมาอาชีวะ)

    6. มีความพยายามดี (สัมมาวายามะ)

    7. มีสติถูกต้อง (สัมมาสติ)

    8. มีจิตมั่นคง (สัมมาสมาธิ)



    หลักปฏิบัติมรรคมีองค์ 8

    ดังได้กล่าวมาแล้วว่ามรรคมีองค์ 8 คือ หลักปฏิบัติประจำวันของคนทุกคน สำหรับผู้มุ่งไปนิพพาน ควรทราบหลักการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ดังต่อไปนี้



    หลักที่ว่ามีความเห็นถูกนั้น
    หมายถึง พยายามพิจารณาให้เห็นจริงในหลัก 4 ประการ คือ


    1. เห็นชีวิตเป็นทุกข์ (ทุกขา)

    2. เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)

    3. เห็นคุณของการดับทุกข์ (นิโรธ)

    4. เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติในมรรคมีองค์ 8



    หลักที่ 2
    ผู้ปฏิบัติเมื่อคิดอะไรก็ตาม จะต้องคิดในหลักเป็นธรรม 3 ประการ คือ


    1. ต้องคิดปลีกตนออกจากกาม

    2. ต้องไม่คิดอาฆาตพยาบาทใคร

    3. ต้องไม่คิดเบียดเบียนคนอื่น



    หลักที่ 3
    ผู้ปฏิบัติต้องพูดจาประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการ คือ


    1. ไม่พูดเท็จ

    2. ไม่พูดส่อเสียด

    3. ไม่พูดคำหยาบ

    4. ไม่พูดเพ้อเจ้อ



    หลักที่ 4
    ผู้ปฏิบัติจะต้องมีพฤติกรรมที่ดี 3 ประการคือ


    1. ไม่ฆ่าสัตว์

    2. ไม่ลักทรัพย์

    3. ไม่เสพกาม



    หลักที่ 5
    ผู้ปฏิบัติจะต้องมีอาชีพสุจริต อาชีพสุจริต คือ อาชีพไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิด
    กฎหมาย



    หลักที่ 6
    ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความพยายามดี ลักษณะของความพยายามดี เหมือนที่กล่าวไว้ในสัมมปธาน 4



    หลักที่ 7
    ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามระลึกในทางที่ถูกต้อง ลักษณะของการระลึกถูกต้อง คือ ระลึกในสติปัฏฐาน 4 ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว



    หลักที่ 8
    ผู้ปฏิบัติต้องมีจิตมั่นคงเป็นสมาธิ




    ตามที่กล่าวมานี้
    คือ หลักการปฏิบัติในมรรคมีองค์ 8 มรรคทั้ง 8 ประการนี้ สรุปลงได้ 3 ประการ คือ



    1. สรุปลงในศีล คือ พูดดี ทำดี อาชีพสุจริต


    2. สรุปลงในสมาธิ คือ พยายามดี มีสติถูกต้อง และมีสมาธิ


    3. สรุปลงในปัญญา คือ มีความเห็นชอบ และมีความคิดชอบ



    ในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ นี้
    มีธรรมอยู่ 7 หมวด คือ สติปัฏฐาน 4 , สัมมปะธาน 4 , อิทธิบาท 4 , อินทรีย์ 5 , พละ 5 , โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 ผู้ประสงค์จะทำสมาธิต้องยึดหลักปฏิบัติธรรม 37 ประการนี้ จึงจะสำเร็จสมประสงค์



    -->> 1.สมาธิเป็นชื่อของวิธีการชำระจิตให้ปลอดจากกิเลส จนจิต มีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียวดังนั้น สมาธิจึงมีหน้าที่กำจัดกิเลสอย่างกลาง



    -->> 2. สมาธิ มี 2 ประเภท คือ

    2.1 สมถกัมมัฏฐาน

    2.2 วิปัสสนากัมมัฏฐาน



    -->> 3. อารมณ์กัมมัฏฐาน แต่ละประเภท

    3.1 สมถกัมมัฏฐาน มีอารมณ์ 40

    3.2 วิปัสสนากัมมัฏฐาน มีอารมณ์ 6




    <!--MsgFile=0-->
     

แชร์หน้านี้

Loading...