หลักธรรมข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์ (คิหิปฏิบัติ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิทย์, 9 กรกฎาคม 2006.

  1. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    หลักธรรมข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์ (คิหิปฏิบัติ)

    สัมปรายิกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ภายหน้า 4 อย่าง)
    1. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
    2. ศีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
    3. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค
    4. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
    มิจฉาวณิชชา (ค้าขายไม่ชอบธรรม 5 อย่าง)
    1. ค้าขายเครื่องประหาร
    2. ค้าขายมนุษย์
    3. ค้าขายสัตว์สำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
    4. ค้าขายน้ำเมา
    5. ค้าขายยาพิษ
    ทิศ 6
    1. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า หมายถึง มารดา-บิดา
    2. ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา หมายถึง อาจารย์
    3. ปัจฌิมทิส คือทิศเบื้องหลัง หมายถึง บุตร, ภรรยา
    4. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย หมายถึง มิตร
    5. เหฎฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ หมายถึง บ่าว
    6. อุปริมทิส คือ ทิศเบื้องบน หมายถึง สมณ- พราหมณ์
    อบายมุข 6
    1. ดื่มน้ำเมา 1
    2. เที่ยวกลางคืน 1
    3. เที่ยวดูการละเล่น 1
    4. เล่นการพนัน 1
    5. คบคนชั่วเป็นมิตร 1
    6. เกียจคร้านการทำงาน 1
    ดื่มน้ำเมา มีโทษ 6 คือ เสียทรัพย์, ก่อการทะเลาะวิวาท, เกิดโรค, ต้องติเตียน, ไม่รู้จักอาย, ทอนกำลังปัญญา
    เที่ยวกลางคืน มีโทษ 6 คือ ชื่อว่าไม่รักษาตัว, ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย, ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ, เป็นที่ระแวงของคนทั่วไป, มักถูกใส่ความ, ได้รับความลำบากมาก
    เที่ยวดูการละเล่นมีโทษไปตามวัตถุที่ไปดู 6 คือ รำที่ไหนไปที่นั่น, ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น, ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น, เสภาที่ไหนไปที่นั่น, เพลงที่ไหนไปที่นั่น, เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น
    เล่นการพนันมีโทษ 6 คือ เมื่อชนะย่อมก่อเวร, เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป, ทรัพย์ย่อมฉิบหาย, ไม่มีใครเชื่อถ้อยคำ, เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน, ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย
    คบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษตามบุคคลที่คบ 6 คือ
    1. นำให้เป็นนักเลงการพนัน
    2. นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
    3. นำให้เป็นนักเลงเหล้า
    4. นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม
    5. นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
    6. นำให้เป็นคนหัวไม้
    เกียจคร้านการทำงานมีโทษ 6 คือ
    1. มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำงาน
    2. มักให้อ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน
    3. มักให้อ้างว่าเวลาเย็นแล้ว ไม่ทำงาน
    4. มักให้อ้างว่า เวลายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน
    5. มักให้อ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน
    6. มักให้อ้างว่าระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน
    ผู้หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์ พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย 6 ประการนี้เสีย
    จำแนกธรรมออกเป็นหมวด (ธรรมวิภาค)
    ธรรมมีอุปการะมาก 2 อย่าง
    1. สติ คือ ความระลึกได้
    2. สัมปชัญญะ คือความรู้ตัว
    หลักไตรลักษณ์
    1. อนิจจัง : สิ่งทั้งปวงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นตัวเองที่หยุดอยู่แม้ชั่วขณะ
    2. ทุกขัง : สิ่งทั้งปวงมีลักษณะเป็นความทุกข์ทนทรมานอยู่ในตัวของมันเอง มีลักษณะดูแล้วน่าชัง น่าเบื่อหน่าย ทุกสิ่งถ้าไปยึดถือก็เป็นความทุกข์
    3. อนัตตา : บรรดาสิ่งทั้งปวงไม่มีอะไร ที่เราควรเข้าไปยึดมั่นในจิตใจว่าเป็นตัวเราหรือเป็นของเราทุกสิ่งนี้ถ้าไปยึดถือก็เป็นความทุกข์
    ธาตุ 3 ได้แก่ กามธาตุ, รูปธาตุ, อรูปธาตุ
    วิชชา 3 ได้แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การระลึกชาติได้), จุตูปปาตญาณ (รู้การเกิดและการตายของสัตว์ทั้งหลาย), อาสวักขยญาณ (คือรู้ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)
    ปาฏิหาริย์มี 3 คือ
    1. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์
    2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ = การดักใจถูกต้องเป็นที่น่าอัศจรรย์
    3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = คำสั่งสอนเป็นที่อัศจรรย์ คือ ประกอบด้วยเหตุผล, ความจริง และสามารถปฏิบัติได้ และให้ผลสมจริงแก่ผู้ปฏิบัติ
    บุญกริยาวัตถุ 3
    1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    อธิษฐานธรรม 4
    อธิษฐานธรรม 4 คือ ธรรมที่ตั้งใว้ในใจ 4 อย่าง
    1. ปัญญา คือ รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้
    2. สัจจะ คือ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้จริง
    3. จาคะ คือ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่จิตใจ
    4. อุปสมะ คือ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึก

    อริยสัจ 4
    1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
    2. สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์
    3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์
    4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
    อิทธิบาท 4
    อิทธิบาท 4 คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ 4 อย่าง ได้แก่
    1. ฉันทะ : พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้นๆ
    2. วิริยะ : เพียรหมั่น ประกอบในสิ่งนั้นๆ
    3. จิตตะ : เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
    4. วิมังสา : หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ

    พรหมวิหาร 4
    พรหมวิหาร 4 ได้แก่
    1. เมตตา : ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เขาเป็นสุข
    2. กรุณา : ความสงสารคิดช่วยเขาให้พ้นทุกข์
    3. มุทิตา : ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
    4. อุเบกขา : ความวางเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ

    สติปัฎฐาน 4
    1. กายานุปัสสนา : พิจารณากายเป็นอารมณ์
    2. เวทนานุปัสสนา : พิจารณาสุข ทุกข์ เป็นอารมณ์
    3. จิตตนุปัสสนา : พิจารณาจิต เป็นอารมณ์
    4. ธรรมานุปัสสนา : พิจารณาธรรมเป็นอารมณ์
    สติปัฎฐาน คือ การเจริญภาวนาที่มีสติเป็นประธาน พระพุทธองค์ตรัสว่าสติปัฎฐานนี้ เป็นหนทางที่เป็นอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศก และปริเทวะ เพื่อดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพานให้แจ้ง
    การมีสติสัมปชัญญะ มีความเพียร กำหนดรู้กายตามสภาวะเป็นจริง เช่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาเดิน นั่ง นอน รู้ลักษณะของธาตุทั้ง 4 ในกายเรานี้มี ผม ขน เล็บ เป็นต้น ตามเป็นจริงว่า เป็นสักว่ากายเท่านั้น เรียกว่า กายานุปัสสนา
    การรู้เท่าทันตัวที่เสวยอารมณ์ เช่น เสวยสุขก็รู้ว่าสุข เสวยทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์ มีสติรู้อยู่อย่างนี้เรียกว่า เวทนานุปัสสนา
    การมีสติพิจารณาความเป็นไปของจิตว่า ขณะนี้จิตของเรามีราคะ โทสะ โมหะ หรือมีความฟุ้งซ่าน กำหนดรู้อย่างนี้ มีสติตั้งมั่นไม่เอนเอียงไปตามอารมณ์ของจิต ย่อมจะรู้เท่าทันว่าจิตก็เป็นเพียงสักว่าจิตเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เป็นต้น เรียกว่า จิตตานุปัสสนา
    การมีสติกำหนด พิจารณาธรรมซึ่งเกิดกับจิตเป็นอารมณ์ ธรรมในที่นี้ท่านหมายเอานิวรณ์ 5 เมื่อธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ก็มีสติรู้เท่าทันความเป็นไป เรียกว่า ธรรมานุปัสสนา

    ธาตุกัมมัฏฐาน 4
    1. ธาตุดิน เรียกว่า ปฐวีธาตุ
    2. ธาตุน้ำ เรียกว่า อาโปธาตุ
    3. ธาตุไฟ เรียกว่า เตโชธาตุ
    4. ธาตุลม เรียกว่า วาโยธาตุ
    ธาตุคือ สภาวะที่ทรงตัวอยู่เป็นธรรมดา อันจะแยกออกไปอีกไม่ได้ ท่านแสดงให้พิจารณากำหนดธาตุทั้ง 4 นี้ว่า เป็นสักว่าธาตุ (วัตถุอันหนึ่ง) เท่านั้น ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น กำหนดเป็นอารมณ์ เช่นนี้ เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน
    สัปปายะ 4
    1. อาวาสสัปปายะ = ที่อยู่เหมาะสม, มีครูบาอาจารย์, อาหารหาง่าย, บรรยากาศดี เป็นต้น
    2. บุคคลสัปปายะ = มีบุคคลแวดล้อมที่เหมาะสม
    3. อาหารสัปปายะ = บริโภคอาหารที่พอเหมาะ
    4. ธัมมสัปปายะ = มีข้อปฏิบัติที่เหมาะแก่จริต
    จักร 4
    1. การอยู่ในประเทศอันสมควร 1
    2. การคบสัตบุรุษ 1
    3. การตั้งตนไว้ชอบ 1
    4. ความเป็นผู้มีบุญกระทำไว้แล้วในปางก่อน 1
    โอฆะ 4 คือ ธรรมที่ควรละ ได้แก่
    1. กาม 1
    2. ภพ 1
    3. ทิฎฐิ 1
    4. วิชชา 1
    อินทรีย์ 5
    1. ศรัทธา
    2. วิริยะ
    3. สติ
    4. สมาธิ
    5. ปัญญา
    พละ 5 (ธรรมเป็นกำลัง 5 อย่าง)
    1. ศรัทธา
    2. วิริยะ
    3. สติ
    4. สมาธิ
    5. ปัญญา
    อินทรีย์ 5 กับพละ 5 มีหัวข้อเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างอยู่ตรงที่ อินทรีย์ 5 เน้นตรงส่วนสังขารหรือกาย ส่วนพละ 5 เป็นส่วนพลังที่หนุนนำกายอีกทีหนึ่ง
    ธรรมขันธ์ 5
    1. สีลขันธ์
    2. สมาธิขันธ์
    3. ปัญญาขันธ์
    4. วิมุตติขันธ์
    5. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์
    องค์แห่งภิกษุใหม่ 5 อย่าง
    1. สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต
    2. สำรวมอินทรีย์ คือ ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดี ยินร้าย ครอบงำ
    3. ความเป็นคน ไม่เอิกเกริก เฮฮา
    4. อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
    5. มีความเห็นชอบ
    องค์แห่งธรรมถึก คือ นักเทศน์ 5 อย่าง
    1. แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ
    2. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ
    3. ตั้งจิตเมตตา ปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
    4. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
    5. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น
    ธัมมัสสวนาณิสงฆ์ คือ อนิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 อย่าง ได้แก่
    1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้สิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    2. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
    3. บรรเทาความสงสัยเสียได้
    4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
    5. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
    ธาตุ 6
    1. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน
    2. อาโปธาตุ คือ ธาตุ น้ำ
    3. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ
    4. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม
    5. อากาสธาตุ คือ ช่องว่างมีในกาย
    6. วิญญาณธาตุ คือ ความรู้อะไรได้
    ธาตุคือสภาวะที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ธาตุ 4 ได้พูดมาแล้วในธาตุกัมมัฏฐาน
    อากาสธาตุ คือ ช่องว่างในกายเรา เช่น ช่องหู จมูก ปาก เป็นต้น เป็นธาตุที่รู้ได้ยาก เพราะเป็นของละเอียดอ่อน ต้องรู้ได้ด้วยการสัมผัส
    วิญญาณธาตุ คือ ธาตุที่เกิดจากธาตุทั้ง 4 รวมกันเข้า จึงเกิดธาตุใหม่ ขึ้นมาอีก เรียกว่า มโน คือ ใจ
    วิญญาณ 6
    1. อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ
    2. อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า โสตวิญญาณ
    3. อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า ฆานวิญญาณ
    4. อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
    5. อาศัยโพฎฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า กายวิญญาณ
    6. อาศัยธรรมเกิดขึ้นในใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ
    ธาตุทวารทั้ง 6
    1. จักขุธาตุ = ธาตุตา มีความสามารถในการเห็นรูป
    2. โสตธาตุ = ธาตุหู มีความสามารถในการฟังเสียง
    3. ฆานธาตุ = ธาตุจมูก มีความสามารถในการดมกลิ่น
    4. ชิวหาธาตุ = ธาตุลิ้นมีความสามารถในการลิ้มรส
    5. กายธาตุ = ธาตุกาย มีความสามารถในการรับสัมผัสทางกาย
    6. มโนธาตุ = ธาตุใจ มีความสามารถในการรับรู้รสธรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นทางใจ
    ในจำนวนทั้งทั้ง 6 มี มโนธาตุ เป็นธาตุที่สำคัญที่สุด และธาตุทั้ง 6 จะทำงานได้เนื่องจากวิญญาณธาตุ คือธาตุรับรู้อารมณ์ ทำหน้าที่รับรู้ ซึ่งวิญญาณธาตุมีอยู่ในทุกทวารทั้ง 6
    จริต 6 ( จริต = ธาตุแท้ของใจ หรือปกติของใจที่โน้มเอียง เ ช่น โกรธง่าย ฯลฯ)
    จริตในพระพุทธศาสนา แสดงไว้ 6 ประเภทได้แก่
    1. ราคะจริต คนประเภทนี้มีราคะเป็นปกติของใจ ชอบของสวย ของงาม หน้าตายิ้มแย้ม เรียบร้อย โลภ ถือตัว ลบหลู่คุณคน ชอบหวาน กินช้า
    2. โทสจริต คนประเภทนี้โกรธง่าย มักหงุดหงิด ทำอะไรรวดเร็ว ใจร้อน ริษยา ไม่เรียบร้อย ชอบเปรี้ยว กินเร็ว
    3. โมหจริต คนประเภทนี้ มีโมหะเป็นปกติของใจ มักเป็นคนเขลา งมงาย เชื่องช้า รู้ช้า ดื้อรั้น ไม่แน่ใจ ชอบรสไม่แน่ กินจุ
    4. วิตกกจริต คนประเภทนี้ มีความดำริตริตรอง เป็นปกติของใจ มักเป็นคนคิดฟุ้งซ่าน ใจนิ่งอยู่ยาก คิดมากเกิดไป พูดมาก ชอบมั่วสุม เกียจคร้าน
    5. สัทธาจริต คนประเภทนี้ มีความเชื่อเป็นปกติของใจ เป็นคนซื่อ ไม่มีแง่งอน เชื่อง่าย ไม่เป็นตัวของตัวเอง สอนง่าย
    6. พุทธิจริต คนประเภทนี้ เป็นคนเฉลียวฉลาด เชื่อยาก เจ้าความคิด กินน้อย ขยัน พูดเข้าใจง่าย
    7 ตัญหา ได้แก่
    1. การเกิดเป็นความทุกข์
    2. ความแก่เป็นความทุกข์
    3. ความตายเป็นความทุกข์
    4. ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความคับกาย คับใจ ความร่ำไห้รำพัน ก็เป็นทุกข์
    5. ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
    6. ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ พอใจ ก็เป็นทุกข์
    7. มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
    โพชฌงค์ 7 ได้แก่
    1. สติ คือ ความระลึกได้
    2. ธัมมวิจยะ คือ ความสอดส่องธรรม
    3. วิริยะ คือ ความเพียร
    4. ปิติ คือ ความอิ่มใจ
    5. ปัสสัทธิ คือ ความสงบและอารมณ์
    6. สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่น
    7. อุเบกขา คือ ความวางเฉย
    โลกธรรม 8 ธรรมที่คลอบคลุมเรื่องทางโลก 8 อย่างคือ มีลาภ, เสื่อมลาภ , มียศ, เสื่อมยศ, นินทา, สรรเสริญ, ทุกข์, สุข
    มรรคมีองค์ 8
    ปฎิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หรือข้อปฎิบัติให้ถึงการดับทุกข์คือมรรคมีองค์ 8 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมปฎิปทา เพราะเป็นทางสายกลางเทียบกับไตรสิกขาได้ดังนี้

    1. [*]สัมมาทิฐิ

      [*]สัมมาสังกัปปะ

      [*]สัมวาจา

      [*]สัมมากัมมันตะ

      [*]สัมมาอาชีวะ

      [*]สัมมาวายามะ

      [*]สัมมาสติ

      [*]สัมมาสมาธิ
    1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือมีความเห็น ความเชื่อที่ถูกต้อง มีความรู้ในอริยสัจ 4 ปัจจัยให้สัมมาทิฐิเกิดขึ้นมี 2 อย่างคือ
      1. ศรัทธา หมายถึงการไว้ใจในปัญญาของผู้อื่น หรืออาศัยปัญญาของคนอื่น โดยผ่านทางคำแนะนำสั่งสอน เป็นต้น
      2. โยนิโสมนสิการ หมายถึง ความรู้จักคิด หรือคิดเป็น คิดถูกวิธี เป็นการเริ่มต้นจากปัจจัยภายใน
    2. สัมมาสังกัปปะ เป็นความดำริชอบ คือ ดำริออกจาก กาม 1 ดำริในอันไม่พยาบาท 1 ดำริในอันไม่เบียดเบียน 1
    3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต 4 ได้แก่
      1. มุสาวาทา เวรมณี
      2. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด
      3. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากวาจาหยาบคาย
      4. สมฺผปฺปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
    4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำชอบ เว้นจากกายทุจริต 3
      1. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
      2. อทินนาทานา เวรมณี เว้นการเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
      3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นการประพฤติผิดในกาม
    5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ ไม่คดโกง หลอกลวง เบียดเบียนผู้อื่น หาเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นอกจากนี้ยังมี อาชีพที่จัดเป็นมิจฉาอาชีวะ เช่น การประกอบการค้า 5 ชนิดได้แก่
      1. ค้าขายเครื่องประหาร, อาวุธ
      2. ค้าขายมนุษย์
      3. ค้าขายสัตว์ที่มีชีวิตสำหรับฆ่าเป็นอาหาร
      4. ค้าขายน้ำเมา
      5. ค้าขายยาพิษ
    6. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปธาน หรือปธาน 4 ได้แก่
      1. สังวรปธาน คือ เพียรระวังไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น
      2. ปหานปธาน คือ เพียรละหรือเพียรกำจัดอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
      3. ภาวนาปธาน คือ เพียรเจริญหรือเพียรสร้างกุศลให้เกิดมีขึ้น
      4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษาหรือส่งเสริมกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
    7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ความไม่เผลอ ไม่เลินเล่อ ไม่ฟั่นเฟือน เลื่อนลอย สัมมาสติ คือ หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฎฐาน 4 ได้แก่
      1. กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
      2. เวทนาปัสสนาสติปัฎฐาน เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา
      3. จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
      4. ธัมมาปัสสนาสติปัฎฐาน เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม
    8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ ได้แก่ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด ภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว คือฌาน 4 ได้แก่
      1. สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอุกศลทั้งหลาย ® บรรลุปฐมฌาน มีวิตก,วิจาร, ปิติ, สุข เกิดแต่วิเวก
      2. มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน ® บรรลุทุติยฌาน ไม่มีวิตก,วิจาร, ปิติและสุข เกิดแต่สมาธิ
      3. มีความอุเบกขา ® บรรลุตติยฌาน มีอุเบกขา สติ
      4. ละสุข ละทุกข์ เพราะโสมนัส โมนัส ® บรรลุจตุตตกฌาน

    กาลามะสูตร 10 ประการ
    1. อย่าเชื่อโดยการฟังตามๆ กันมา
    2. อย่าเชื่อโดยการเชื่อสืบๆ กันมา
    3. อย่าเชื่อโดยเขาเล่าว่า
    4. อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา
    5. อย่าเชื่อโดยนึกเอาเอง
    6. อย่าเชื่อโดยคาดคะเนเอา
    7. อย่าเชื่อโดยนึกตามเอาอาการของเรื่องนั้นๆ
    8. อย่าเชื่อโดยเห็นว่าตรงกับความเห็นของตน
    9. อย่าเชื่อโดยเห็นว่าควรเชื่อได้
    10. อย่าเชื่อโดยเห็นว่าผู้พูดเป็นสมณะ หรือเป็นครูของตน
    กุศลกรรมบถ 10
    1. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตให้ตกล่วง (ปาณาติบาต)
    2. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ (อทินนาทาน)
    3. กาเมสุ มิจฉาจารา เว้นจากประพฤติผิดในกาม (กาเมสุ มิจฉาจาร)
    4. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ (มุสาวาท)
    5. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด (ปิสุณาวาจา)
    6. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดคำหยาบ (ผรุสวาจา)
    7. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปะ)
    8. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา (อภิชฌา)
    9. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ( พยาบาท)
    10. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม (มิจฉาทิฎฐิ)

    กุศลกรรมบถ 10 ข้อนี้ตรงข้ามกับอกุศลกรรมบถ 10 (ใช้ชื่อในวงเล็บ)
    พระพุทธศาสนา บอกให้เรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน มีแต่การปรุงแต่งกันไป และมีความทุกข์รวมอยู่ในนั้นด้วย จะหยุดทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อหยุดเหตุ เพื่อไม่ให้มีการปรุงแต่ง การบอกในที่นี้หมายความว่า สิ่งทั้งปวงเป็นเรื่องของมายา อย่าไปหลง ยึดถือ ชอบหรือชัง เมื่อทำจิตใจให้เป็นอิสระได้จริงๆ แล้ว คือออกมาเสียได้จากอำนาจของเหตุ เราก็จะไม่ต้องเป็นทุกข์อีกข้อปฏิบัติที่จะให้บรรลุถึงความดับทุกข์ทั้งหมด ชื่อว่า มรรคมีองค์ 8
    ปฏิจสมุปบาท 12 ได้แก่
    1. อวิชชา
    2. สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่งทางใจ
    3. วิญญาณ คือ ธาตุรู้ซึ่งไปถือปฏิสนธิในรูปธาตุตามความคิด
    4. นามรูป
    5. สฬายตนะ คือ อายตนะ 6
    6. ผัสสะ คือ ความกระเทือนใจต่ออารมณ์
    7. เวทนา คือ ความรู้รสผัสสะ
    8. ตัณหา คือ ความชอบ ไม่ชอบรสผัสสะ
    9. อุปาทาน คือ ความผูกใจไว้ในสิ่งที่ชอบที่ชัง
    10. ภพ คือ การก่อเนื่องตามความประสงค์
    11. ชาติ
    12. ชรา-มรณะ


    โพธิปักขิยะ 37 ประการ ได้แก่
    1. สติปัฏฐาน 4
    2. สัมมัปปธาน 4
    3. อิทธิบาท 4
    4. อินทรีย์ 5
    5. พละ 5
    6. โพชฌงค์ 7
    7. มรรคมีองค์ 8

    ธรรมะอื่นๆ
    ปาฎิโมกขสังวรศีล คือ ศีล 5
    อาชีวปาริสุทธิศีล คือ เลี้ยงชีวิตชอบ
    อินทรีสังวรศีล คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ปัจจัยสันนิสิคศีล คือ มักน้อย, สันโดษ, มีกิจน้อย
    วิธีป้องกันเวลามีความกำหนัด : รีบสลัดอารมณ์นั้นเสีย แล้วคิดถึงสิ่งไม่สวย ไม่งาม ความกำหนัดก็จะสงบไปเอง
    วิธีป้องกันเวลาขุ่นข้องหมองใจ : รีบเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น จาก นั่ง เป็น ลุก-เดิน เป็นต้น
    วิธีป้องกันความรู้สึกฝ่ายต่ำ : รีบทำกิจการอย่างอื่นแทน
    วิธีป้องกันอินทรีย์ 6 (สำรวมอินทรีย์ 6)
    1. ทำสติควบคุมอินทรีย์เสมอทุกขณะไป = สติสังวร
    2. ทำความรู้เท่าอารมณ์ให้ทันท่วงที = ญาณสังวร
    3. ทำความอดทนต่ออารมณ์ที่สัมผัส = ขันติสังวร
    4. ทำความเพียรละกิเลสล่วงหน้าไว้ = วิริยสังวร
    ลักษณะของความดี คือ ทำให้จิตใจเย็น ปลอดโปร่ง แจ่มใส
    ลักษณะของความชั่ว คือ ทำให้จิตใจร้อน อึดอัด มืดมัว
    โอวาทปาฎิโมกข์ : คำสอนที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหมดได้แก่
    <DIR><DIR>1. ทำดี 2. ละชั่ว 3. ทำใจให้บริสุทธิ์

    </DIR></DIR>ต้องไม่มีความอยากโดยสิ้นเชิงจึงจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้
    การที่ผูกพันตัวอยู่ภายใต้ผลของความดี ยังไม่ใช่การหลุดพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง คนชั่วทุกข์อย่างคนชั่ว คนดีก็ทุกข์อย่างคนดี เทวดาก็ทุกข์อย่างเทวดา พรหมก็ทุกข์อย่างพรหม จะหมดทุกข์ก็ต่อเมื่อเป็นความดีแบบโลกุตตระ (โลกของอริยะเจ้า)

    ท่านผู้ใดเห็นสิ่งทั้งปวงเป็นของว่าง , ความว่าง ความยึดถือหรืออุปาทานก็จะหมดไป

    ที่มาจาก
    http://www.geocities.com/metharung/Collect-tham2.htm
     
  2. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...