หลักฐาน..........มุสลิม..แย่งดินแดนจากชาวพุทธ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 22 พฤศจิกายน 2005.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [b-wai] เหตุการณ์ที่ควรจารึกไว้ อีกประการหนึ่ง ในสมัยของสุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์ ก็คือ การย้าย พระนครโกตา มหลิฆัย (คำ"โกตา มหลิฆัย" โกตา แปลว่า ป้อม ในที่นี้ หมายถึง เมือง "มหลิฆัย" แปล ว่า ปราสาท หรือ พระ เจดีย์) (หรือ ลังกาสุกะ) มา สร้าง พระนคร ใหม่ ขึ้น ที่ สันทราย บริเวณ ตำบล ตันหยง ลุโละ ตำบล บานา หมู่บ้าน กรือเซะ ในท้องที่ อำเภอ เมืองปัตตานี ในปัจจุบัน โดย พระองค์ พระราชทาน นาม เมืองนี้ ว่า "ปัตตานี ดารัสลาม" (นครแห่งสันติ) เหตุที่ ทรงย้าย พระนคร ในครั้งนั้น เนื่องมาจาก
    ๑. สภาพ ของ แม่น้ำ ลำคลอง ที่เคยใช้ เป็นทาง สัญจร โดย อาศัย เรือ ขนาดเล็ก ขึ้นล่อง ติดต่อ ไปมา ระหว่าง เมือง โกตา มหลิฆัย กับ อ่าว ปัตตานี เกิดการ ตื้นเขิน เรือ เดิน เข้าออก ใช้การได้ เป็นบางฤดู ทำให้ ไม่สะดวก ในการ ลำเลียง สินค้า ที่นับวัน จะเพิ่ม ปริมาณ สูงขึ้น

    ๒. เป็นเพราะ มีความ จำเป็น ทางด้าน เศรษฐกิจ ที่ต้องการ ติดต่อ ค้าขาย กับ พ่อค้า ชาว ต่างประเทศ ทวี ยิ่งขึ้น จากที่เคย ติดต่อ ค้าขาย กับ พ่อค้า กลุ่มชาว อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ จีน ญี่ปุ่น มาเป็น ชาวยุโรป และ ชาติอื่นๆ มากขึ้น

    ๓. อ่าวปัตตานี มี แหลมโพธิ์ เป็นที่ กำบัง ลม ทำให้ คลื่นลม สงบ เงียบ เหมาะ แก่ การใช้ เป็น สถานที่ หยุดพัก เรือ สินค้า และ เมือง ปัตตานี มี ไม้ เนื้อแข็ง ที่มี คุณภาพ สูง (ตะเคียน หลุมพลอ) สำหรับ ใช้ ในการ ต่อเรือ สินค้า ใน คราว จำเป็น ได้อีกด้วย

    ๔. เมือง ปัตตานี สมัย อยุธยา ยัง อุดม ไปด้วย สินค้า ของป่า ได้แก่ ทองคำ ดีบุก เกลือ หนังสัตว์ เขา งา นอแรด ไม้ฝาง ไม้กรักขี ไม้มะเกลือ หวาย และ พืช จำพวก สมุนไพร อันเป็นที่ต้องการ ของ ชาว อาหรับ และ ชาวยุโรป และ ทั้ง ยังมี อาหาร บริบูรณ์ ดังที่ มันเดล สโล กล่าว ไว้ว่า "ชาวเมือง ปัตตานี มีผลไม้ กิน ทุกเดือน เดือนละหลายๆ ชนิด มี แม่ไก่ ฟักไข่ วันละ ๒ ครั้ง บริบูรณ์ ด้วย ข้าว เนื้อวัว แพะ ห่าน เป็ด ไก่ ไก่ตอน นกยูง กวาง กระต่ายป่า นกต่างๆ เนื้อกวาง เค็ม ตากแห้ง และ โดยเฉพาะ ผลไม้ มีตั้ง ๑๐๐ กว่าชนิด" ไว้ สำหรับ จำหน่าย ให้แก่ ชาวเรือ ที่ แวะมา เยี่ยมเยือน เมืองท่า นี้ ได้ ตลอด ทั้งปี

    ๕. เมือง โกตา มหลิฆัย เป็น เมือง ที่ พระพุทธ ศาสนา มา ปักหลัก ลงราก ฝังลึก มาช้านาน มี ถาวร วัตถุ สถาน ทาง พุทธ ศาสนา ที่ บรรพชน ได้ ก่อสร้าง ไว้ มากมาย ซึ่ง เป็นการยาก ที่ พญา อินทิรา (สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์) ซึ่ง เพิ่ง เปลี่ยน มารับ อิสลาม ใหม่ๆ จะทำการส่งสริมหรือทำลายโบราณวัตถุสถานเหล่านั้นลงได้

    สาเหตุ ที่ พญา อินทิรา (สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์) เปลี่ยน ศาสนา นั้น มีผู้ตั้ง ข้อสันนิษฐาน ไว้ อีก แง่มุม หนึ่งว่า เป็นผล มาจาก อิทธิพล ทาง การเมือง บีบบังคับ อันเนื่อง มาจาก มะละกา ซึ่ง เคย เป็น ประเทศราช ของไทย ได้ กลาย เป็น ศูนย์การค้า ที่ เจริญ รุ่งเรือง ทั้ง ด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และ การทหาร ตรงกันข้าม กับ อาณาจักร อยุธยา ขณะนั้น กำลัง ทำ สงคราม กับ อาณาจักร ล้านนา เป็น ระยะ ติดต่อ กัน ยาวนาน เป็นเหตุให้ ต้อง สิ้นเปลือง ไพร่พล ทหาร และ ยุทโธปกรณ์ เป็นอันมาก มะละกา จึงถือโอกาส ที่ไทย กำลัง อ่อนเปลี้ย ลง ทำการ แข็งเมือง ไม่ยอม ถวาย เครื่องราช บรรณาการ แก่ กษัตริย์ ไทย ดังที่เคย ถือปฏิบัติ มา

    สมเด็จ พระบรม ไตร โลกนาถ จึงได้ ส่ง กองทัพ อยุธยา และ กองทัพ จาก หัวเมือง ปักษ์ใต้ ไป ตี เมือง มะละกา ถึง ๒ ครั้ง แต่ ไม่ประสพ ความสำเร็จ ฝ่าย มะละกา กลับส่ง กองทัพ เข้ามาตี เอาเมืองขึ้น ของไทย ไป จน หมดสิ้น ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ไทรบุรี ฯลฯ ในขณะ เดียวกัน กษัตริย์ มะละกา ก็ ทำหน้าที่ เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม ไปด้วย

    พญา อินทิรา (สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์) ซึ่ง เคย นับถือ พุทธ ศาสนา มาก่อน ก็ต้อง อ่อนโอน ยอม ผ่อน ตาม สุลต่าน มันสุร์ชาฮ์ กษัตริย์ มะละกา ด้วยการ ยอมรับ นับถือ ศาสนา อิสลาม กล่าวกันว่า ในสมัย ที่ ปัตตานี ถูก รุกราน จาก กองทัพ มะละกา ได้มีการ ทำลาย พระพุทธรูป เทวรูป และ โบราณ สถาน ในเมือง โกตา มหลิฆัย หรือ ลังกา สุกะ ไป จน หมดสิ้น

    มีข้อ ที่น่า สังเกตว่า หลังจาก สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์ ตั้ง เมืองปัตตานี ดารัสลาม ขึ้นแล้ว ในระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒ - ๒๐๕๗ ชื่อ ของ เมือง ลังกา สุกะ ปรากฏ เป็น ครั้ง สุดท้าย ใน บันทึก ของ ชาวอาหรับ ชื่อ เทวาฮูตี ในปี พ.ศ.๑๕๑๑ (พ.ศ.๒๐๕๔) หลังจากนั้น เรื่องราว ของ เมือง ลังกา สุกะ ก็หาย ไปจาก หน้า ประวัติ ศาสตร์ เอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ ปรากฏ ชื่อ เมือง ปัตตานี โดดเด่น ขึ้นมา แทนที่ และ เมื่อ อัลบูเคิก ชาว โปรตุเกส นำ กองทัพ เรือ เข้า ยึดครอง มะละกา ปี พ.ศ.๒๐๕๔ ใน สมัย สุลต่าน มหหมุดชาฮ์ บรรดา พ่อค้า มุสลิม และ จีน ที่ ไม่พอใจ ชาว โปรตุเกส (ชิมาโอ เดอ อังดราเด (Simao De Andrade) ซึ่ง กระทำตน เป็น โจร สลัด) ต่างก็ พากัน เข้ามา ค้าขาย ใน เมือง ปัตตานี เป็น จำนวน มาก ทำให้ เมือง ปัตตานี กลายเป็น ศูนย์ การค้า ที่ สำคัญ อีก แห่งหนึ่ง ใน บริเวณ อ่าวไทย ซึ่ง จะได้ นำไป กล่าวไว้ ในเรื่อง ความสัมพันธ์ กับ ต่างประเทศ ในตอนหลัง

    จาก
    http://www.pattanitoday.com/htm/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=7

    ประวัติชายแดนใต้
    http://www.pattanitoday.com/htm/modules.php?name=Content&pa=list_pages_categories&cid=1
     

แชร์หน้านี้

Loading...