เรื่องเด่น หลักของการปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 25 มีนาคม 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,289
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    13578_8123_100522210922_3C-1.jpg

    หลักของการปฏิบัติธรรม

    การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาคือ การฝึกอบรมจิตให้เกิดความรอบรู้จนถึงที่สุดว่าอัตภาพของตนเองซึ่งประกอบด้วยรูปและนามนี้นั้นคืออะไร ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถปรับทำให้รูปและนามคือ กายและจิต นี้อยู่ในสภาพปกติได้ ไม่มีความบกพร่องทั้งทางกายและทางจิต และที่สำคัญที่สุดคือไม่ให้มีความพร่องทางจิตเกิดขึ้น ในขณะมีความพร่องทางกายหรือแม้ขณะกายจะต้องแตกดับไปก็ตามที เนื่องจากความพร่องทางจิต คือความทุกข์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
    ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนามีจุดประสงค์ในการปฏิบัติเพื่อความจางคลายของทุกข์ แล้วดับทุกข์ให้หมดโดยสิ้นเชิงได้ในที่สุด หากพิจารณากันแล้ว การปฏิบัติพุทธธรรมเป็นความประสงค์และจำเป็นอย่างแท้จริงของคนทุกคน โดยไม่เลือกเชื้อชาติ อาชีพ เพศ และวัยเพียงแต่ให้เขาเหล่านั้นได้เข้าใจอย่างแท้จริง เพราะทุกคนต้องการความสุขและรังเกียจทุกข์
    การปฏิบัติพุทธธรรมโดยทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า จะต้องปฏิบัติที่วัด หรือที่สำนักที่จัดขึ้นไว้เพื่อการปฏิบัติโดยเฉพาะเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย เมื่อความทุกข์นั้นสามารถทำให้ลดจางคลายและหมดไปได้ ไม่แต่เฉพาะในวัดและสำนักปฏิบัติเท่านั้น ดังนั้น จำเป็นอย่างไรเล่าจึงต้องรอคอยไว้ปฏิบัติธรรมตอนที่อยู่ในวัด หรือ สำนัก ปฏิบัติ ท่านทั้งหลายจงใช้ความพยายามทำความเข้าใจในหลักการปฏิบัติพุทธธรรมให้แจ่มแจ้ง แล้วท่านจะสามารถหาความสุข (คลายทุกข์) ได้ แม้ขณะท่านกำลังทำงานการตามหน้าที่ประจำวันของท่านนั่นเองความสุข และแม้นิพพานก๊มี อยู่ตรงหน้าท่านเองนั้น แหละเพียงท่านทำเหตุ (การปฏิบัติ) ให้ถูกต้องและเพียงพอ ผลที่ท่านต้องการก็จะเกิดมีขึ้นปรากฏแก่จิตของท่านตามขั้นตอน เมื่อท่านได้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โดยไม่จำกัดกาลและสถานที่ และท่านนั่นแหละจะเป็นผู้รู้ด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องให้ใครบอกหรือพยากรณ์ให้อย่างใดทั้งสิ้น
    หลักการปฏิบัติพุทธธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ทั้งวิธีปฏิบัติและความเข้าใจที่ถูกต้อง เพียงแต่ท่านเป็นคนมีเหตุมีผลใจเปิดรับสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล ไม่ยอมทำหรือปฏิบัติตนในสิ่งนอกเหตุเหนือผล มีขันติ วิริยะ และความตั้งใจจริงพอสมควรเท่านั้น หลักการปฏิบัติพุทธธรรมที่อาตมาจะแนะนำเพื่อใช้เป็นหลักในการปฏิบัติพุทธธรรมนั้นมีอยู่เพียง ๒ ข้อเท่านั้น คือ
    ข้อ ๑ ท่านต้องพิจารณาให้เห็นความจริงซึ่งปรากฏมีอยู่เฉพาะหน้าของท่านตลอดเวลาว่า “ทุกชีวิต ไม่ว่าคน หรือสัตว์ต่างก็มีความทุกข์ และทุกชีวิตต้องมีภาระในการแก้ทุกข์ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นจนหลับเหมือนๆ กับตัวท่านเอง และทำอยู่อย่างนี้จนตาย” ดังนั้น การกระทำใดๆ ก็ตามที่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนตนเองและชีวิตอื่น ท่านต้องหยุดการกระทำนั้น ด้วยเหตุที่ท่านเองจะมีความสำนึกอยู่ในจิตส่วนลึกว่ามนษุย์คือผู้มีใจสูงและงดงามนั้น จะต้องมีการกระทำทั้งทางกาย วาจา และใจควรแก่การ
    ที่จะได้ชื่อว่า “เป็นมนุษย์” ด้วยการไม่เบียดเบียนและมีเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ชีวิตอื่น ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ก็ตาม
    ข้อ ๒ ขณะที่ท่านยังไม่หลับ ให้ระลึกรู้และรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะว่า ท่านกำลังทำอะไรอยู่ ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียดกะพริบตา อ้าปาก ฯลฯ หรือกำลังคิดนึกอะไร ดีใจ เสียใจ ง่วงเจ็บปวดอะไร ฯลฯ และมีอะไรเกิดขึ้นกับท่าน ซึ่งปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จากรอบๆ ตัว การปฏิบัติในข้อนี้คือการเจริญสติสัมปชัญญะและเข้าสู่สติปัฏฐานได้ในที่สุด
    หากท่านทำได้เพียงเท่านี้อย่างสม่ำเสมอ ก็ได้ชื่อว่าท่านปฏิบัติพุทธธรรมในเบื้องต้นแล้ว ความทุกข์ที่ท่านไม่พึงปรารถนาแต่มักมาอยู่กับท่านเป็นประจำนั้น มันจะคลายลง ความเป็นคนปกติ (ที่เขาเรียกว่าคนดี มีศีล และสุข) จะเกิดมีในตัวท่านมากยิ่งขึ้นรู้จัก ตัวเองดีขี้น และท่านไม่ต้องไปถามใครหรือต้องให้ใครมาบอกว่า ท่านเป็นคนดีขึ้นแล้ว มีความสุขมากขึ้นแล้ว ความปีติ ยินดี และอิ่มใจจะเกิดมีขึ้นกับตัวของท่านเอง ท่านไม่ต้องการ แม้คำสรรเสริญใดๆ จากคนอื่น ความอิ่มเต็มของจิตทำให้ท่านไหว้ตัวท่านเองก็ได้ เพราะว่าท่านรู้ตัวของท่านเองดีกว่าคนอื่นทั้งหมดว่าท่านทำดีแล้วและเป็นคนดี ความสุข และปีติได้เกิดมีแก่ท่าน โดยไม่ต้องให้มีคนชม และก็เพียงพอแล้วสำหรับท่าน
    จากที่ได้กล่าวมาแล้ว ท่านจะเห็นได้ว่า หลักการปฏิบัติทั้งสองข้อนั้นไม่จำเป็นเลยที่จะต้องทำเฉพาะในวัดหรือสำนักปฏิบัติเท่านั้น ดังนั้น อาตมาจึงกล้าที่จะกล่าวได้ว่า ท่านสามารถปฏิบัติพุทธธรรมได้ทุกกาล ทุกเวลา และในทุกสถานที่ ผู้ที่อยู่ในวัดหรือในสำนัก หากไม่มีหลักธรรมในการปฏิบัติทั้งสองข้อนั้น เขาก็ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา แม้เขาจะอย่ใูนวัดหรือสำนักที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศนี้ แม้นานถึง ๑๐๐ ปี และสามารถสาธยายพระไตรปิฎกได้จนคล่อง เขาก็ยังเป็นโมฆบุรุษ(เป็นคนไม่มีค่า) ในศาสนาของพระพุทธองค์อยู่นั่นเอง ไม่อาจเทียบได้กับคนที่ปฏิบัติตามข้อ ๑ และ ๒ แล้วสภาวะจิตของเขาสะอาด สว่าง สงบ แม้เพียงชั่วขณะช้างกระดิกหูหรืองูแลบลิ้น แม้เขาผู้นั้นเป็นเพียงขอทานอยู่ตามข้างถนน ก็ยังน่าสรรเสริญและน่านับถือมากกว่าโมฆบุรุษแบบนั้น ที่อยู่แม้ในรูปแบบของผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะเหตุที่จิตของเขานั้น สะอาด สว่าง สงบ เป็นสภาวะจิตที่เข้าถึงพุทธะ เขาจะมีจิตตรง ปฏิบัติสู่นิพพานถ่ายเดียวโดยไม่ถอยหลัง
    หลักของการวางจิตในการปฏิบัติธรรม
    การปฏิบัติตามข้อ ๒ นั้น เราเรียกตามภาษาเทคนิคของการปฏิบัติธรรมว่า การเจริญสติ การที่จะให้การเจริญสติเกิดผลดีนั้น การวางจิตให้ถูกต้องเหมาะสมเป็นเรื่องที่จำเป็น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า โยนิโสมนสิการ คือต้องมีการวางไว้ในใจด้วยอุบายอันแยบคาย การเจริญสติจึงจะเจริญ--เกิดมีสติขึ้น และโยนิโสมนสิการนี้จะได้มาจากการ อ่าน ฟัง ถกแถลง และคิด(สุตและจินตามยปัญญา) ในภาคปรยัติ (ภาคทฤษฎี ซึ่งมีอยู่ใน
    พระไตรปิฎก-ครูอาจารย์ที่ได้ศึกษาสรุปไว้ให้แล้ว) ดังนั้น ผู้ใดก็ตาม ที่มีกัลยาณมิตรคือครูอาจารย์และเพื่อนร่วมปฏิบัติธรรมที่มีความรอบรู้และเข้าใจปริยัติที่ถูกต้องแจ่มแจ้ง จึงถือว่าเป็นโชคอันมหาศาลของผู้นั้น เปรียบได้กับการเดินทางที่มีแผนที่
    และเพื่อนร่วมทางที่ดี การเดินทางนั้นก็มีโอกาสทำได้สำเร็จและถึงจุดหมายปลายทางที่ถูกต้องฉันใด ในการปฏิบัติธรรมก็มีนัยอันเดียวกัน
    ความหมายที่แท้จริงของการปฏิบัติธรรมนั้น คือการปฏิบัติตนตามธรรมชาติ ธรรมชาติของคนจะมีการทำหน้าที่ที่ตนเองมีอยู่เป็นอยู่ เพื่อการคลายทุกข์ด้วยความไม่ประมาทคืออย่างมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลานั่นเอง เมื่อใดเราประมาท เมื่อนั้น
    เราก็จะไม่รู้ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ในขณะนั้น บางคนที่ยังไม่เคยเจริญสติ อาจจะแย้งว่าจะทำสิ่งใดโดยที่ไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ได้อย่างไร เรื่องนี้ท่านจะรู้สึกก็ต่อเมื่อมีอุปัทวเหตุหรือผลเสียอันเกิดจากการใจลอยของตน นั่นแหละจึงจะรู้ว่าเราประมาทแล้ว และไม่มีสติระลึกรู้ว่าขณะนั้นเรากำลังทำอะไรอยู่
    การปฏิบัติตามข้อ ๒ นั้น เป็นการเจริญสมาธิสิกขา หรือจิตตสิกขาในสิกขา ๓ (สีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา สิกขาทั้ง ๓ นี้จะวนเป็นวงกลม ไม่มีก่อนหลัง หากแต่จะเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน) หากจะนับในองค์มรรค ๘ สมาธิสิกขา หรือจิตตสิกขา คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
    การปฏิบัติตามข้อ ๑ ทำให้ท่านเป็นคนปกติ หรือมนุษย์เมื่อท่านไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ท่านก็เป็นคนปกติ กล่าวคือศีลทั้ง ๕ ข้อของท่านไม่จำเป็นต้องไปขอรับหรือสมาทานจากพระ ท่านจะเป็นผู้มีศีล ๕ บริสุทธิ์โดยไม่ต้องวิรัติ จึงเป็นการเจริญสีลสิกขานับเนื่องในมรรค ๘ ก็คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ นั่นเอง
    การศึกษาปริยัติของท่านจนเข้าใจ ทำให้ท่านเกิดจินตามยปัญญา ตามแนวทางที่ถูกต้องเป็นปัญญาสิกขาเบื้องต้น หากสงเคราะห์เป็นมรรค ๘ ก็จะได้แก่การที่ท่านได้เริ่มเจริญสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ ซึ่งจะเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ถูกต้องเพื่อเจริญสีลสิกขาและสมาธิสิกขาต่อไป
    สมาธิสิกขาหรือจิตตสิกขา เมื่อท่านได้เจริญถึงระดับใดก็จะเกิดยถาภูตญาณทัสสนะ มองเห็น (ด้วยจิต) สภาพของธรรมะตามความเป็นจริง ทำให้เกิดปัญญาสิกขาในขั้นของภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาเปรียบได้กับการที่ท่านเกิดมีแสงสว่างส่องทำลายความมืดคือโมหะ เมื่อโมหะซึ่งเปรียบได้กับความมืดนั้นลดลง ความรู้สึกเห็นแจ้งหรือการหยั่งรู้ความจริงตามธรรมชาติจะเกิดมีขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ คือญาณ=การหยั่งรู้ การที่จะหยั่งรู้ได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับแสงสว่างคือปัญญา และปัญญาจะมากน้อยขึ้นอยู่กับอินทรีย์และพละ อินทรีย์และพละจะแก่กล้ามากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนอบรมจิตคือการเจริญสติจากระดับต่ำๆ จนก้าวหน้าถึงขั้นสติปัฏฐานในวิปัสสนา ดังได้กล่าวมาแล้ว
    ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น จะสงเคราะห์ได้คล้องจองตามสิกขา ๓ และมรรค ๘ ตรงตามทางสายกลางเข้าสู่สติปัฏฐาน ๔ คือ การเจริญวิปัสสนา เพื่อเห็นสภาพธรรม (รูป-นาม) ในอัตภาพที่กว้างศอก ยาววา หนาคืบ
    ซึ่งมีสัญญาและใจครองของตัวเรานี้ตามความเป็นจริงนั่นเอง เมื่อรู้เห็นธรรมตามสภาพความเป็นจริงซึ่งมีสามัญลักษณะของธรรมนั้นๆ ปรากฏอย่างแจ่มแจ้ง ความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดคือ นิพพิทาและวิราคะ จะเกิดขึ้นแก่จิตของผู้ปฏิบัติ เมื่อองค์มรรคทั้ง ๘ ครบ อินทรีย์และพละแก่กล้า และปรับพอดีในองค์ธรรมทั้ง ๕ จะทำให้เกิดมัคคสมังคี คือการสามัคคีขององค์มรรคทั้ง ๘ ลงในมรรคจิตหนึ่งเดียวในมัคควิถี เป็นตัวตัดกิเลสในสังโยชน์ ๑๐ มากน้อยตามขั้นของอินทรีย์และพละ ถึงวิมุตติตามขั้นนั้นๆ เป็นพระอริยเจ้าชั้นต่างๆ เนื่องมาจากการที่ปัญญาอันเกิดแต่การฝึกฝนอบรมมีความสมบูรณ์ พร้อมจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมประกอบด้วยองค์ของการตรัสรู้ คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ซึ่งได้แก่สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ มรรคเจตสิกทั้ง ๘ ประชุมพร้อม เกิดมัคคสมังคีขึ้นประจักษ์แจ้งสภาพของนิพพานเป็นมัคควิถี (ตัดสังโยชน์ด้วยมรรคจิตและเกิดผลจิตซึ่งเป็นโลกุตตรกุศลจิตในมรรควิถี) ทางมโนทวารการวางจิตเริ่มต้นของการเจริญสติในข้อที่ ๒ จะเริ่มต้นจากการมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ(อาตาปี สติมา สมั ปชาโน) ปัญหาก็มีอยู่ว่าจะวางใจหรือกระทำไว้ในใจด้วยอุบายอันแยบคาย คือมีโยนิโสมนสิการอย่างไร จึงจะมีสภาวะจิตถูกต้องตรงตามสภาวะจิตที่ควรจะมีจะเป็น ตามนัยที่จะทำให้เข้าถึงพระอริยมรรคที่พระศาสดาทรงสอนพุทธสาวก ตัวอย่างของการทำจิตหรือวางจิตที่ถูกต้องใกล้เคียงที่สุด มีดังนี้
    ตัวอย่างที่ ๑ ผู้ปฏิบัติควรทำจิตระลึกรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะเช่นเดียวกันกับวัวแม่ลูกอ่อนที่กำลังกินหญ้าอยู่ ซึ่งในขณะเดียวกันนั้น ต้องระแวดระวังลูก แม่วัวจะต้องรู้สึกตัว ๒ อย่างในขณะเดียวกัน คือ ๑. รู้สึกตัวในการกินหญ้า ว่าอยู่ในลักษณะอาการใด และ ๒. รู้สึกทั่วพร้อมโดยรอบตัว (หูไว ตาไว จมูกไวคือว่องไว และรับรู้อายตนะภายนอกทั้ง ๖) เพื่อพร้อมปฏิบัติการอันสมควร ในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ลูกน้อยของมัน
    และสามารถกินหญ้าได้ตามปกติพร้อมกันไปด้วยรู้ตามลักษณะที่ ๑ ของแม่วัว เป็นการรู้ว่าตัวเองกำลังทำหน้าที่คือกินหญ้าอยู่ เช่นเดียวกับผู้ที่ปฏิบัติธรรม ทำหน้าที่
    ในชีวิตประจำวันด้วยอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด ฯลฯ การระลึกตามลักษณะนี้ เป็นเรื่องของการมีสติระลึกรู้และควบคุมพฤติกรรมทั้งทางกาย วาจา ใจ
    รู้ตามลักษณะที่ ๒ ของแม่วัว เป็นการรู้สถานการณ์โดยรอบตัวของแม่วัว แม่วัวจะเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส ร้อนหนาวโดยตลอดทุกขณะ เพื่อเกิดผลดีทั้งการกินหญ้าและการระแวดระวังลูกให้ปลอดภัย จากการรู้รอบตัวของแม่วัวในลักษณะที่ ๒ นี้ ทำให้แม่วัวเกิดมีความฉลาดในการทำหน้าที่ทั้งสองอย่างได้ดี และเหมาะสมที่สุด เช่น ถ้ามีสัตว์อื่นเข้ามา และมันเห็นว่าเป็นอันตรายต่อลูก มันจะหยุดกินหญ้าและวิ่งไล่สัตว์นั้นก่อน เพื่อ
    ความปลอดภัยของลูก แล้วจึงทำหน้าที่หลักคือกินหญ้าของมันต่อไป การรู้ตามลัก ษณะที่ ๒ นี้ คือ การมีสัมปัชัญญะของแม่วัวผ้ปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกันการรู้ลักษณะที่ส องทำให้เกิดปัญญาในการทำหน้าที่ได้ถูกต้องสมควรต่อเหตุการณ์และสถานการณ์
    โดยรอบ เราเรียกว่ามีสัมปชัญญะมีความรอบรู้และรู้ชัดโลกทั้ง๖ ที่อยู่รอบตัว
    เราอาจพิจารณาได้ว่ารู้ลักษณะที่ ๑ และ ๒ นั้น คือการเฝ้าสังเกตดูรูปและนามก็ได้ รู้ลักษณะที่ ๑ เป็นการเฝ้าสังเกตรู้รูป รู้ลักษณะที่ ๒ เรียกว่าเป็นการรู้และเฝ้าสังเกตนามในตัวของเราเอง
    ตัวอย่างที่ ๒ ผู้ปฏิบัติธรรมควรจะได้วางจิตเช่นเดียวกับไก่ป่าที่กำลังลงจิกกินอาหารตามปกติในป่า รู้อย่างแรกคือรู้ในเรื่องการกินอาหาร รู้อย่างที่สองของไก่ป่า คือร้อย่างมีประสาทระแวดระวังภัยทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เพราะไก่ป่าต้องมีความระวังภัยซึ่งมีอยู่รอบตัวมันจึงมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา คือการมีสติสัมปชัญญะที่ดีพอสมควร แต่สำหรับไก่ป่า มันเป็นไปในลักษณะสัญชาตญาณสัตว์เท่านั้น ความรู้สึก ตัวทั่วพร้อมของไก่ป่าก็เป็น ๒ รู้เช่นเดียวกันคือมันร้ว่ามันกำลังยืนเดินนั่งหรือนอนจิกหาอาหารอยู่ ๑ และร้สึกต่อสภาพแวดล้อมด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจอีก ๑ มันจะไม่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ แต่รอบร้ใูนทวารทงั้ ๖ ของมันแบบรู้แล้วทิ้งเลย เพื่อคอยรู้สภาวะรอบๆ เป็นธัมมะปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งอันจะก่อให้เกิดอันตราย หรือเกื้อกูประโยชน์แก่มันๆ ก็จะตัดสินใจทำสิ่งที่สมควรในสถานการณ์ปัจจุบันขณะนั้นๆ ให้ดีที่สุด เพื่อ
    การมีชีวิตอยู่รอดอย่างปกติสุข (ปกติกายและปกติใจอย่างสัตว์ประเภทมันจะพึงมีพึงเป็น) ตัวอย่างของการวางจิตของวัวแม่ลูกอ่อนกำลังกินหญ้าและไก่ป่ากำลังจิกหาอาหารทั้งสองตัวอย่างนั้น จะเห็นได้ว่าการแนะนำให้วางจิตทำใจให้มีสภาพใกล้เคียงอย่างนั้นในการปฏิบัติพุทธธรรม เป็นการชี้ให้เห็นถึงการทำโยนิโสมนสิการในการปฏิบัติ มุ่งเน้นไปที่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ความรู้สึกตัวตื่นตัว และให้มีความรู้สึกใจตื่นใจ เพึ่อให้ผู้ปฏิบัติรู้ทั้งกาย (รูป ) และจิต (นาม)
    เพราะทั้งแม่วัวและไก่ป่าจะง่วงเหงาเซาซึมขณะทหน้าที่ของมันไม่ได้แน่นอน ทั้งนี้เ พราะอันตรายมีอยู่รอบตัว ดังนั้น การปฏบัติธรรมจึงนิยมทำกันในสถานที่ซึ่งหมิ่นเหม่ต่ออันตราย มีความน่ากลัว เช่น ป่าช้า ป่าชัฏ ที่สงบสงัดยามค่ำคืน ในสถานที่เหล่านี้ไม่เป็นที่ที่จะมาเดินเล่น นั่งเล่นแบบใจลอยได้ ผู้เคยปฏิบัติในสถานที่เหล่านี้ จะมีความเข้าใจได้ดีว่าสถานที่อย่างนั้นเป็นอย่างไร ทำไมจึงเหมาะกับการเจริญสมณธรรมของทุกคนเป็นอย่างยิ่ง จะไม่มีผู้ปฏิบัติคนใดใจลอยประมาทในการเคลื่อน การไหวร่างกาย ไม่ว่าในลักษณะใด นอกจากจะรู้สึกหวาดกลัว ต่อพวกอมนุษย์ทั้งหลายแล้ว สัตว์ร้ายต่างๆ ก็มีอยู่มากมายอีกด้วย บุคคลที่ฉลาดในการปฏิบัติมักจะชอบเลือกสถานที่อย่างนี้ในการฝึกอบรมจิต เพราะความเจริญของสติจะงอกงาม ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
    หลักการปฏิบัติธรรม
    ในชีวิตประจำวัน
    จากประสบการณ์และปริยัติ

    จากประสบการณ์และหลักปริยัติที่ได้ศึกษามา อาจสรุปการปฏิบัติพุทธธรรม เพื่อให้ได้ผลดีออกได้เป็น ๓ ข้ออย่างง่ายๆ ดังต่อไปนี้
    พิจารณาบ่อยๆ เนืองๆ ว่า “ทุกชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์คือเพื่อนร่วมทุกข์ เพราะต่างก็เป็นก้อนทุกข์ และต้องแก้ทุกข์อยู่ทุกขณะเช่นเดียวกับตัวท่านเอง” เพื่อให้เกิดความคืด ที่จะไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น แต่เอื้ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่กันและกัน ทำให้เกิดทานและศีลขึ้นภายในจิต ซึ่งเป็นฐานที่ดีและจเป็นอย่างยิ่งในเบื้องต้นของการฝึกฝนอบรมจิตในขั้นต่อไป
    เจริญสติด้วยการระลึกรู้ได้อยู่เสมอว่า “ขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่” (รู้ในอิริยาบถของตนว่ากำลังยืน เดิน นั่งหรือนอน และอิริยาบถย่อยตลอดเวลาที่ตื่น) ทำใจให้ตื่นและ
    รับรู้สถานการณ์รอบตัวด้วยการมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส กายรู้สึก เย็น ร้อน อ่อนแข็ง มีเวทนา อารมณ์ ความคิดอะไรเกิดขึ้นในจิต รวมเป็นข้อมูลละเอียดเพื่อพิจารณาและรู้ชัดด้วยปัญญาพร้อมกระทำสิ่งอันควรทุกขณะ และทำให้เกิดสภาพ“รู้สึกตัวทั่วพร้อม” คือ “รู้สึกกายตื่นกาย-รู้สึกใจตื่นใจ” และสติปัฏฐานต่อไป
    เพื่อความรวดเร็วของการเจริญสติ ผู้ปฏิบัติธรรมควรมีข้อวัตรอีกเล็กน้อยดังนี้
    ๓.๑ ก่อนเข้านอนทุกคืน ควรทำสมถภาวนาด้วยการกําหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ๑๕-๓๐ นาที เป็นอย่างน้อย ด้วยการนั่งสมาธิ จะลืมตาหรือหลับตาก็ได้ และทำอย่างเดียวกันเมื่อนอนจนกว่าจะหลับไป
    ๓.๒ เมื่อใดที่ว่างจากหน้าที่ และร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหวหรือรู้สึกเหนื่อยอ่อน ต้องการจะพักผ่อน จงอยู่กับลมหายใจของท่าน โดยระลึกอยู่เสมอ เมื่อยามว่างหรือเหน็ด เหนื่อยว่า “ชีวิตเรามีอยู่ได้เพียงชั่วลมหายใจเข้าและออกเท่านั้น” จงหยุดคิดถึงอดีตและอนาคตเด็ดขาดได้จะดียิ่ง ปัจจุบันธรรมเป็นสิ่งมีค่าและให้ผลประโยชน์แก่ท่านสูงสุด ทางเข้าถึงพระนิพพานนั้นมีธรรมปัจจุบันเป็นอารมณ์เท่านั้น
    หากท่านทำได้เป็นประจำ ท่านจะเป็นผู้มีทุกข์น้อยลงๆ เริ่มรู้จูักตนเองมากยิ่งขึ้นจะเป็นคน “ทำใจได้” ต่อเหตุการณ์ทกอย่างที่เกิดกับตนเอง มีความรู้สึกเบากายและเบาจิต จิตใจจะมีความสะอาด สว่าง สงบ แต่แคล่วคล่อง ว่องไวทั้งกายและจิต เป็นคนแคล่วคล่องว่องไว active แต่จะไม่ sensitive คือ วู่วามใจร้อนกลับเป็นคนมีความอดทนต่อความคับแค้นใจทั้งหลายได้ดียิ่งขึ้น ความเป็นคนเจ้าความคิด ขี้กังวล และความอาลัยอาวรณ์ในสิ่งทั้งปวงจะน้อยลง เห็นความสำคัญของธรรมปัจจุบัน และพยายามทำกรรมปัจจุบันให้ดีที่สุด เพื่ออดีตและอนาคตจะงดงามตามไปด้วย
    จงจำไว้เสมอว่า ทางเดินสู่ความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นทางโลกหรือทางธรรม แม้ถึงที่สุดทุกข์คือนิพพานนั้น ท่านจะต้องเดินไปบนทางของ “อารมณ์ที่ระลึกรู้โลกทั้ง ๖ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่มีอยู่จริง ๆ ในปัจจบัน ” และปรับกายและจิตให้ปกติในสภาวะแวดล้อมนั้นๆ
    ท่านทั้งหลาย ด้ามมีดที่สึกไปเพราะการจับใช้งานนั้นเป็นไปอย่างช้าๆ จนเราสังเกตไม่ได้ฉันใด การฝึกฝนอบรมและการเจริญสติ ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ก็มีผลทำให้ความพร่องของจิต คือ ความทุกข์ของผู้ปฏิบ้ติ ลดน้อยถอยลงทีละน้อยๆ ฉันนั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือ ความต่อเนื่องและความสม่ำเสมอของการปฏิบัติจะทำให้เกิดมีผลมาก ดังนั้น เมื่อท่านพิจารณาใคร่ครวญความหมายของการเจริญมรรค ๘ ให้เข้าใจอย่างดีแล้ว จงปฏิบัติตามอย่างผู้มีโยนิโสมนสิการที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องด้วยความอุตสาหะวิริยะแล้ว ท่านจะไม่ผิดหวังในการเข้าถึงการเป็นผู้มีทุกข์น้อยลงๆ ผลที่ได้จะเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่ทำเสมอ
    การเจริญสมณธรรมนั้นจะเป็นไปตามขั้นตอน หยาบสู่ละเอียด สมมุติสู่ปรมัตถ์ จากรูปแบบทที่กำหนดให้สู่สภาพจริง ตามธรรมชาติ จากปรุงแต่งสู่การไม่ปรุงแต่ง จากการมีตัวตนสู่ความไม่มีตัวตน จากสภาพความมีความเป็นสู่สุญญตา จากมีอุปาทานสู่สภาวะถอนจากอุปาทาน จนกว่าจะถึงความสุขอย่างยิ่งคือพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงตามอุดมการณ์ของท่านทั้งหลายและของธรรมวินัยนี้ในที่สุดได้อย่างแน่นอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มีนาคม 2018
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,289
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    .......... BuddhaAndDevas.jpg
    (ต่อ)
    บทสรุป
    สรุปภาคที่สอง
    สำหรับในภาค ๒ ที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญในพระพุทธศาสนา อาตมาก็จะสรุปตามหลักธรรมวินัยที่มีในพระพุทธศาสนาเป็นตอนๆ คือปริยัติ--ทฤษฎี ปฏิบัติ--การทดสอบ ทดลอง วิจัย และปฏิเวธ--ผลที่ได้จากการปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ก่อประโยชน์สุข ดังนี้
    ๑. ปริยัติ--ทฤษฎี ในพระพุทธศาสนา ก็จะมีพระไตรปิฎก ซึ่งประกอบด้วย “พระวินัยปิฎก” ระเบียบคำสั่งของพระพุทธองค์ที่เป็นแนวทางให้พุทธบริษัทคือ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร อุบาสกอุบาสิกา และประชาชนทั่วๆ ไป ซึ่งได้แก่ ศีล ๒๒๗-๓๑๑-๑๐-๘ และ ๕ ข้อตามลำดับ ได้เป็นกรอบรักษากาย วาจาให้อยู่ในสภาพปกติ ลดหลั่นกันตามลำดับ เพื่อเป็นพื้นฐานของจิตให้พร้อมในการจะฝึกฝนอบรมจิตในขั้นของการปฏิบัติพุทธธรรมตามคำสอนต่อไป
    พระสุตตันตปิฎก ได้รวบรวมเอาคำสอนของพระพุทธองค์และสาวกที่ได้เคยสอนพุทธบริษัทในครั้งพุทธกาล มีขนาดยาวบ้าง สั้นบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับจริต กาล เวลา และสถานที่ โดยหวังผลคือความจางคลายไปแห่งความทุกข์เป็นขั้นตอน จนถึงความพ้นทุกข์ได้ในที่สุดด้วยความเป็นพระผู้มีพระภาคของพระพุทธองค์ ที่ทรงเป็นทั้งผู้ฝึกบุรุษที่สามารถฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า และเป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ คือสามารถอย่างยิ่งในการจำแนกธรรมเพื่อนำมาสั่งสอน(เวไนย) สัตว์ที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม
    พระอภิธรรมปิฎก เป็นธรรมที่มีแต่หลักวิชาล้วนๆ ไม่มีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง พระพุทธองค์ทรงเทศนาโปรด “พุทธมารดา” ๑ พรรษาเต็ม เป็นธรรมที่มีเนื้อหาเป็นปรมัตถ์ล้วนๆ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ สรุปเป็นปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน พระอภิธรรมจะเป็นหลักธรรมที่สำคัญยิ่งในการตอบปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการเวียนเกิด-เวียนตายของสรรพสัตว์ที่ยังเป็นปุถุชนใน “สังสารวัฏ” ผลของกรรมหรือวิบาก การสั่งสมสันดานทั้งดีและชั่ว เหตุผลของการอบรมจิตที่กระทำได้อย่างต่อเนื่อง และผลที่ได้สัมพันธ์กับการกระทำให้จิตตรงด้วยการศึกษาอบรมที่ถูกต้อง เพื่อลัดตรงสู่ความพ้นทุกข์อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสะสมจากขณะจิตสู่อีกขณะจิต และจากชาติหนึ่งสู่อีกชาติหนึ่งจนเข้าถึง “พระนิพพาน” ในที่สุด ที่เรียกการกระทำกรรมอันสำคัญยิ่งนี้ว่า “ทิฏฐุชุกรรม” ซึ่งเป็นกุศลกรรมบถ ๑๐ ข้อสุดท้าย แต่มีความสำคัญสูงสุด ฯลฯ เป็นต้น

    ๒ ปฏิบัติ--การทดสอบทดลอง วิจัย คือการปฏิบัติตนจริงๆ ตามสภาพการณ์ในโลก การปฏิบัติธรรมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของสรรพสัตว์ทั้งมวลในการแก้ทุกข์ อาจกล่าวได้ว่าทุกชีวิตมีการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติหน้าที่ แต่ทว่าแต่ละชีวิตนั้นปฏิบัติหน้าที่ผิดแผกแตกต่างกัน ด้วยจุดมุ่งประสงค์อันเดียวกันคือ “การจางคลายไปของทุกข์” ที่เกิดมีขึ้นอยู่ทุกขณะของทุกชีวิตเพราะพระพุทธองค์สอนอยู่แล้วว่า

    “ชีวิตคือก้อนทุกข์”
    “ผู้ใดเป็นเจ้าของชีวิต ผู้นั้นก็มีหน้าที่ต้องแก้ทุกข์ที่มันเกิดขึ้นนั้น ให้คลายหรือหายไป”


    เราจะเห็นได้ว่า การแก้ทุกข์ของแต่ละชีวิตแตกต่างกันแล้วแต่สติปัญญา การปฏิบัติพุทธธรรมนั้น มุ่งหมายเอาการปฏิบัติและฝึกอบรมจิตเพื่อความจางคลายของทุกข์ และมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือต้องการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงและตลอดไป ในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย “มนุษย์เท่านั้นที่ทำได้” และหนทางปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ตลอดกาลนี้ ก็จะมีปรากฏรู้กันก็ต่อเมื่อถึงกาลเวลาที่มีผู้รู้คือ “องค์พุทธะ” เกิดขึ้นในโลกเท่านั้น เมื่อนอกพุทธกาลสรรพสัตว์นั้นมีแต่ “โมหะ--ความมืดบอด” อันเป็นต้นตอของกิเลส-ตัณหา และไม่มีโอกาสจะพ้นทุกข์ได้เลย นอกจาก “ปัจเจกพุทธะ” เท่านั้น
    “ท่านทั้งหลาย อาตมาขอย้ำเตือนท่านผู้มีปัญญาด้วยความหวังดี ในฐานะเพื่อนร่วมทุกข์ในวัฏฏะว่า การเกิดเป็นมนุษย์ ๑ และอยู่ในกาลเวลาที่มีคำสอนขององค์พุทธะยังมีปรากฏอยู่ ๑ (แม้พระพุทธองค์จะนิพพานไปแล้ว) เป็นเรื่องที่ท่านหาโอกาสอย่างนี้ได้ยากนักหนาในวัฏฏะที่ยาวนานอันหาที่สุดมิได้นี้ หากท่านไม่ถือโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ ท่านจะต้องสูญเสียประโยชน์อันยิ่งนี้ไปอย่างน่าเสียดาย แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่ท่านจะตัดสินใจ และควรจะต้องเป็นเดี๋ยวนี้แล้วนะท่าน”

    ๓. ปฏิเวธ--ผลของการปฏิบัติที่อำนวยความผาสุกมาให้ตามขั้นตอน ในพุทธศาสนาก็หมายเอามรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑-๒ (แล้วแต่กรณี) เราหมายเอาความเบิกบาน-ความเกษม-ความสะอาด สว่าง สงบ-ความผ่องใสเป็นอิสระและอิ่มเต็มของจิตที่จะเกิดขึ้นจากโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ที่เกิดมีขึ้นในจิตนั้นจากผลของการปฏิบัติพุทธธรรม
    พระพุทธองค์ไม่ทรงเน้นที่ปฏิเวธเพราะมันเป็นผล หากเราได้กระทำเหตุปัจจัยให้เพียงพอและเหมาะสมในขั้นปริยัติและปฏิบัติดีแล้ว ปฏิเวธ--ผล มันก็จะไหลออกมาเอง ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงกำชับนักหนาในเรื่องของ “การปฏิบัติ”--เจริญสติจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมตามแนวของ “ปริยัติ” ที่ถูกต้อง ตามพุทธพจน์พร่ำสอนเตือนจนกระทั่งวินาทีสุดท้ายก่อนที่จะปรินิพพานดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องพระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร หากเราจะสรุปอย่างย่อๆ ถึงใจความทั้งหมดในพระพุทธศาสนาก็จะได้ดังนี้

    (๑) ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดมีในธรรมชาติ (สังขารธรรม)ล้วนเป็นสิ่งที่เรียกว่าทุกข์ทั้งสิ้น และเรียกว่าธาตุ--สภาพของสิ่งที่เกิดมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น และกำลังแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยที่เข้ามาปรุงแต่งอยู่เนืองนิตย์ ไม่มีวันหยุดนิ่ง ตามภาษาบาลีที่ว่า

    “ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง.
    ธาตุมัตตะโก นิสสัตโต นิชชีโว สุญโญ

    - สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น
    กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ...
    เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ มิใช่เป็นสัตวะอันยั่งยืน
    มิใช่เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล และว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน”

    (๒) การสอนของพระพุทธองค์จะสอนตามแนวอริยสัจ ๔ อันเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ ปรากฏในคาถาของพระอัสสชิตอบพระสารีบุตร-ขณะยังเป็นอุปติสสปริพาชก ความว่า
    “เย ธัมมา เหตุปปะภะวา, เตสัง เหตุง ตะถาคโต,
    เตสัญจะโย นิโรโธจะ, เอวัง วาที มะหาสะมะโณ.

    – ธรรมทั้งหลายเหล่าใดย่อมเกิดแต่เหตุ
    พระตถาคตเจ้าทรงชี้เหตุของธรรมเหล่านั้น
    พร้อมทั้งแสดงความดับสิ้นเชิงของสิ่งเหล่านั้นเพราะหมดเหตุ
    พระมหาสมณเจ้ามีปกติตรัสสอนอย่างนี้”

    (๓) สภาพของธรรม สิ่งที่เกิดมีอยู่เป็นอยู่ในธรรมชาติเนื่องจากจะแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยอยู่เนืองนิตย์ จึงปรากฏเป็นสามัญลักษณะ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์อยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และอนัตตา ความไม่มีตัวตน (แน่นอน-อัตตา) หากแต่เป็นสิ่งเกิดจากการปรุงแต่ง--สังขารทั้งสิ้น และแปรเปลี่ยนไปตามเหตุ-ปัจจัยที่เข้ามาปรุงแต่งอยู่เนืองนิจ
    ฉะนั้น เราจะไปยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งหลายทั้งปวงประดามีในธรรมชาติไม่ได้ทั้งสิ้น พระพุทธองค์กล่าวสอนสั้นๆ ว่า
    “สัพเพ ธัมมา นาลัง อะนิเวสายะ
    - สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เราไม่ควรจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่น”

    เราอาจกล่าวได้ว่า ข้อความทั้ง ๓ ตอนที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นสาระสำคัญที่ได้รวบรวมเอาใจความที่เป็นหัวใจของคำสอนภาคปริยัติในพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมดทีเดียว คือเป็นหัวใจของปริยัติทั้งหมด
    ส่วนการปฏิบัติพุทธธรรมนั้น กล่าวโดยย่อที่สุดคือ ให้เจริญสติหรือจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ปรากฏในปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์

    “วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ อะยังตะถาคะ ตัสสะ ปัจฉิมา วาจา
    -สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า”


    คำสอนนี้เป็น “คำสอนภาคปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา” ซึ่งพระองค์กล่าวสอนเป็นประโยคสุดท้ายก่อนจะปิดพระเนตร พระโอษฐ์ แล้วเข้าสู่ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
    พระพุทธองค์ทรงใช้เวลา ๔๕ พรรษาในการพร่ำสอนพุทธบริษัทอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย จวบจนแม้กำลังจะปรินิพพาน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่มีในพระทัยของพระองค์ต่อเวไนยสัตว์ เพื่อให้บรรลุถึงคุณลักษณะตรงตามพุทธประสงค์ดังนี้
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวง เพื่อให้คนบ่นเพ้อถึง หรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง เพื่อเป็นเจ้าสำนัก เจ้าลัทธิหรือแก้ลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเรา แต่ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อความสำรวมระวังจิต เพื่อละ-คลาย-ดับกิเลสเสียได้ในที่สุด”
    แสดงให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการบวช หาได้มุ่งที่จะให้ได้รับความเคารพนับถือหรือกราบไหว้จากพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นต้นนั้นเป็นหลักไม่ หากแต่เพื่อศึกษาปฏิบัติและประพฤติธรรมให้เกิดความจางคลายแห่งกิเลสตัณหา ยอมสละ ละ วาง และถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกธรรมทั้ง ๘ เสียได้ในที่สุด ซึ่งจะทำให้พรหมจรรย์ที่ประพฤติปฏิบัติอยู่นั้น ปรากฏผลแจ่มแจ้งบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    “คนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้น
    คนที่ยังไม่เกิดความเลื่อมใส ได้เกิดความเลื่อมใส”

    ซึ่งสิ่งนี้เป็นเพียงผลพวงพลอยได้ โดยที่เราไม่ควรจะต้องไปพะวงว่าจะมีหรือไม่ สำหรับนักบวชที่เป็นภิกษุ-ผู้เห็นภัยในวัฏฏะทั้งหลาย จงยึดมั่นในอุดมการณ์ของการบรรพชาในธรรมวินัยนี้ ดังที่ท่านสวดอยู่ทุกเช้าว่า
    “ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสมาปันนา
    - เราถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรม เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย...”
    อย่าได้คิดอ่านหาสิ่งอื่นมาเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตเพราะเราเป็นลูกพระตถาคต ไม่ควรจะห่วงแม้ชีวิตจะต้องสิ้นลง เหตุเพราะการปฏิบัติตามคำสั่งและคำสอนอันได้แก่พระวินัยและพระธรรมที่ทรงบัญญัติและแสดงไว้โดยชอบแล้ว เพื่อชี้เป็นแนวทางให้เราเดินตามรอยพระยุคลบาทของพระองค์ด้วย

    “ธัมมานุธัมมะปฏิปันโน - เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม”

    กล่าวคือ แต่ละคนที่เป็นพุทธบริษัทย่อมแตกต่างกันด้วยเพศ วัย ฐานะ อาชีพ จริต สิ่งแวดล้อมอื่นๆ จงปฏิบัติธรรมให้สอดคล้องกับหน้าที่และเหตุปัจจัยประกอบให้เหมาะแก่สภาวะของตนๆ ด้วยความไม่ประมาท-มีสติอยู่เสมอทุกขณะ ตามวิธีการปฏิบัติที่อาตมาได้กล่าวมาแล้วโดยละเอียดทั้ง ๓ ข้อ สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่อาตมาจะต้องขอสะกิดเตือนท่านด้วยความห่วงใยเป็นตอนสุดท้ายว่า
    “อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โกชัญญา มรณัง สุเว
    - ความเพียร (เจริญสติ) เป็นกิจที่จะต้องทำวันนี้ (ขณะเดี๋ยวนี้)
    ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้”

    “นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
    - เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก
    ย่อมไม่มีสำหรับเรา(ไม่มีใครขอผัดเวลาตายได้)”

    “เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเตมุนิ
    - มุนีผู้สงบ (ผู้รู้คือพุทธะ) กล่าวเรียกผู้มีความเพียร (เจริญสติ)อยู่เช่นนั้น
    โดยไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนว่า
    “ ผู้มีชีวิตอยู่แม้เพียงราตรีเดียวก็น่าชม ”
    .................. EndLineMoving.gif
    ขอบคุณที่มา :- https://sites.google.com/site/dhammajak2500/basic-principles
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,289
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    Buddhaevening.jpg
    พุทธพจน์ “เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความสิ้นไปเสื่อมไป เป็นธรรมดาพวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด” -------------------------
    ๑.ไม่ประมาทในเวลา มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า “วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่” อย่ามัวเมาทำในสิ่งไร้สาระ เช่น เล่นไพ่ คุยโม้ ดูแฟชั่น ให้เร่งรีบทำงานให้เต็มที่แข่งกับเวลา เพราะเวลามีน้อย เมื่อกินชีวิตไปแล้วก็เรียกกลับคืนไม่ได้
    ๒.ไม่ประมาทในวัย มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าตัวยังเป็นเด็กอยู่ จึงเที่ยวเล่นเพลิดเพลินไปวันๆ หนึ่ง เพราะถ้านับอายุตั้งแต่ชาติแรกๆ จนถึงบัดนี้ แต่ละคนต่างมีอายุคนละหลายกัปแล้ว
    ๓.ไม่ประมาทในความไม่มีโรค มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าเราจะแข็งแรงอยู่อย่างนี้ตลอดไป ถ้ากรรมชั่วในอดีตตามมาทันอาจป่วยเป็นโรค ไม่สบายเมื่อไรก็ได้ เพราะฉะนั้นในขณะที่สุขภาพยังดีอยู่นี้ ต้องรีบขวนขวายสร้างความดีให้เต็มที่
    ๔.ไม่ประมาทในชีวิต มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าเรายังมีชีวิตอยู่ สุขสบายดี เราจะยังมีขีวิตอยู่อีกนาน เพราะจริงๆ แล้วเราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ มัจจุราชไม่มีเครื่องหมายนำหน้า จึงเร่งรีบขวนขวายในการละความชั่ว สร้างความดีและทำจิตใจให้ผ่องใสอย่างเต็มที่ ทุกรูปแบบ ทุกโอกาส
    ๕.ไม่ประมาทในการงาน มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า จะทำงานทุกอย่างที่มาถึงมือให้ดีที่สุด ทำอย่างทุ่มเทไม่ออมมือ ทำงานไม่ให้คั่งค้าง ไม่ท้อถอย ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
    ๖.ไม่ประมาทในการศึกษา มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า จะขวนขวายหาความรู้อย่างเต็มที่ อะไรที่ควรอ่านควรท่องก็จะรีบอ่านรีบท่องโดยไม่แชเชือน ตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของการศึกษาหาความรู้ซึ่งจะเป็นกุญแจไขปัญหาชีวิตทุกๆ อย่าง
    ๗.ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า จะปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอไม่ย่อท้อโดยเริ่มตั้งแต่บัดนี้ ไม่ใช่รอจนแก่ค่อยเข้าวัด จะฟังเทศน์ก็หูตึงฟังไม่ถนัด จะนั่งสมาธิก็ปวดเมื่อยขัดยอกไปหมด ลุกก็โอย นั่งก็โอย เมื่อระลึกได้เช่นนี้ จึงมีความเพียรใส่ใจในการปฏิบัติธรรมเพราะทราบดีว่า การปฏิบัติธรรมนั้น ทำให้เกิดความสุขแก่ตนทั้งโลกนี้และโลกหน้า และเป็นวิธีการเดียวที่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายอันสูงสุดแห่งชีวต คือ พระนิพพาน
    อานิสงส์การไม่ประมาทในธรรม
    ๑.เป็นมหากุศล
    ๒.เป็นคนไม่ตาย
    ๓.ป้องกันอบาย
    ๔.คลายจากกองทุกข์
    ๕.สนุกในธรรม
    ๖.นำสู่กุศล
    ๗.มีผลเป็นสุข
    ๘.ปลุกตนให้ตื่น
    ๙.ชื่นชมเบิกบาน
    ๑๐.เผาผลาญความชั่ว
    “ปมาโท มจฺจุโน ปทํ” “ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย” “อปฺปมาโท อมตํ ปทํ” “ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ” “เวลาใด บัณฑิตกำจัดความประมาท ด้วยความไม่ประมาท เมื่อนั้น เขานับว่าได้ขึ้นสู่ปราสาท คือ ปัญญา ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชนผู้โง่เขลา ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เสมือนคนยืนอยู่บนยอดเขา มองลงมาเห็นฝูงชน ที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น”
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต )
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,289
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    "สัปปายะ" ในการปฏิบัติ คืออะไร
    สัปปายะ คือ ความสะดวก และสบาย ที่เหมาะกับความประพฤติของตน (ถูกจริต) ในการปฏิบัติ เพื่อได้รับผลของการปฏิบัติเร็วขึ้น แต่ความสัปปายะนั้น ไม่เหมือนกันทุกคนเสมอไป เราอย่าเข้าใจผิดเด็ดขาด ว่าทุกคนต้องมีสัปปายะที่เหมือนกัน เช่น คนบางคน ทานข้าวจานเดียวอิ่ม จึงทำสมาธิได้ แต่คนบางคน ทานข้าว 2 จานถึงอิ่ม และทำสมาธิได้ (จะบอกว่าเค้าโลภ กินเยอะไปนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะกระเพาะ ไม่เท่ากัน) เป็นต้น สัปปายะนั้น มี 7 อย่างหลักๆ (เพราะจริงๆแล้วมีหลายอย่างด้วยกัน) คือ
    1. อาวาสสัปปายะ หมายถึง ที่อยู่ หรือสถานที่ ที่ไม่มีอันตราย หรือไม่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และที่เหมาะสมกับความประพฤติของตน เช่น สถานที่เป็นธรรมชาติ มีที่พักเป็นส่วนตัว ไม่มีคนผ่านไปมา แมลงไม่กวน จึงทำสมาธิได้ง่าย (เหมาะกับคนที่ชอบแบบนี้เท่านั้น), สถานที่ เป็นที่สาธารณะ มีคนพลุกพล่าน คนผ่านไปมา แต่ทำสมาธิได้ง่าย โดยไม่ได้นั่งให้คนเห็น (เหมาะกับคนที่ชอบแบบนี้เท่านั้น) เพราะบางคนอยู่คนเดียว หรือที่สงบแล้วฟุ้งซ่าน หวาดระแวงกว่าเดิม เป็นต้น
    2.โคจรสัปปายะ หมายถึง ทางเดิน หรือระยะทาง เพื่อหาอาหารมารับประทาน ต้องไม่ใกล้หรือไกลเกินไป และอีกนัย คือ ทางเดินจงกรม ในการปฏิบัติ ที่เหมาะสมกับความประพฤติของตน เช่น ทางเดินราบเรียบ เป็นเส้นตรง ทำสมาธิได้ง่าย (เหมาะกับคนที่ชอบแบบนี้เท่านั้น), ทางเดินไม่ราบเรียบ อาจจะเป็นเส้นตรง หรือวงกลมก็ได้ แต่ทำสมาธิได้ง่าย (เหมาะกับคนที่ชอบแบบนี้เท่านั้น)
    3.บุคคลสัปปายะ หมายถึง การเลือกคบ บุคคลที่อยู่ในหมู่คณะเดียวกันก็ดี หรือบุคคลที่คลุกคลีกัน ร่วมงานกันก็ดี แต่ผลักดันให้เรา มีสมาธิ หรือเข้าใจธรรมะมากขึ้น เพราะเหมาะสมกับความประพฤติของตน และบุคคลสัปปายะเป็นข้อเดียวเท่านั้น ที่ทุกคนต้องเหมือนกัน คือคบและคลุกคลี แต่คนดี มีศีลธรรม และคอยชักจูงให้เราเป็นคนดี ถึงจะทำให้เราทำสมาธิได้ง่าย และเข้าใจธรรมได้มากขึ้น
    4.สนทนาสัปปายะ หมายถึง บทสทนาในการพูดคุย ที่ฟังแล้ว เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติ ที่เหมาะสมกับความประพฤติของตน เช่น การสนทนาพูดคุย ในเรื่องการปฏิบัติ ชักจูงให้รักษาศีล เป็นต้น โดยแค่สนทนาแต่เพียงหัวข้อ ก็ทำสมาธิได้ง่าย และเข้าใจธรรมได้มากขึ้น (เหมาะกับคนที่ชอบแบบนี้เท่านั้น), การสนทนาพูดคุย ในเรื่องการปฏิบัติ ชักจูงให้รักษาศีล เป็นต้น โดยสนทนามีการอธิบายรายละเอียด ถึงจะทำสมาธิได้ง่าย และเข้าใจธรรมได้มากขึ้น (เหมาะกับคนที่ชอบแบบนี้เท่านั้น)
    5.โภชนาสัปปายะ หมายถึง อาหารที่เรารับประทาน ต้องถูกสุขลักษณะ ทานแล้วไม่เกิดโรคภัยไข้เจ็บและไม่เกิดโทษต่อร่างกาย หรืออีกนัย คือ อาหารที่เราชอบตามความประพฤติของเรา (แต่ต้องไม่เกิดโทษต่อร่างกาย) เช่น คนบางคน ทานอาหารเน้นรสเผ็ด ทานแต่ผักจิ้มน้ำพริก ทาน 1 จาน ก็อิ่ม ถึงจะทำสมาธิได้ง่าย และเข้าใจธรรมได้มากขึ้น (เหมาะกับคนที่ชอบแบบนี้เท่านั้น), คนบางคน ทานอาหารเน้นรสหวานมัน ทานทั้งเนื้อทั้งผัก แต่ทาน 3 จานถึงอิ่ม ถึงจะทำสมาธิได้ง่าย และเข้าใจธรรมได้มากขึ้น (เหมาะกับคนที่ชอบแบบนี้เท่านั้น)
    6.ฤดู หรืออากาศสัปปายะ หมายถึง สภาพอากาศ ที่ถูกจริตหรือความประพฤติของบุคคลนั้นๆ เช่น คนบางคน ชอบอากาศเย็น ชอบทำสมาธิตอนเช้า ถึงจะมีสมาธิได้ง่าย, คนบางคนชอบอากาศร้อน ชอบทำสมาธิตอนเย็น ถึงจะมีสมาธิได้ง่าย เป็นต้น
    7.อิริยาบถสัปปายะ หมายถึง ท่าทางในการปฏิบัติที่ถูกจริตความประพฤติของบุคคลนั้นๆ เช่น คนบางคน ชอบเดินทำสมาธิ ถึงจะมีสมาธิได้ง่าย, คนบางคน ชอบนั่งหลับตาทำสมาธิ ถึงจะมีสมาธิได้ง่าย เป็นต้น
    *และสิ่งที่สำคัญสุดคือ ธรรมะสัปปายะ หมายถึง หัวข้อธรรม หรือธรรมะที่ถูกกับจริตของบุคคลนั้นๆ เช่น บางคนแค่พิจารณาเรื่องไตรลักษณ์ก็บรรลุได้, หรือบางคนพิจารณาเรื่องพรหมวิหารก็บรรลุได้,หรือบางคนต้องพิจารณาอสุภะ(สภาพศพ)ก่อน และค่อยจบที่ไตรลักษณ์จึงบรรลุ เป็นต้น
    ---สรุปโดยอาตมาภาพ คือ ในการปฏิบัติเบื้องต้น จนถึง พระอริยสกิทาคามี สมควรที่จะประกอบไปด้วยสัปปายะ เหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือถ้าเป็นไปได้ จะประกอบไปด้วย ทั้ง 7 อย่างก็จะเป็นการดีมาก เพราะจะทำให้เรามีสมาธิได้ไว และเข้าใจธรรมะจนถึงบรรลุธรรมได้ไวขึ้น...แต่อย่างไรก็ดี อย่าประมาทในการปฏิบัติ คือ มัวแต่รอ หรือหวังให้ได้สัปปายะที่เราชอบทั้งหมด ถึงจะเริ่มปฏิบัติ เพราะเป็นไปได้ยากที่สัปปายะหรือความสบายในการปฏิบัติ จะเจอพร้อมกันทั้งหมด...แต่เมื่อปฏิบัติไปจนถึง พระอริยอนาคามีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งสัปปายะเหล่านี้อีก เพราะตัดความอยาก และความกระทบใจได้แล้ว ก็จะเหลือแต่ ธรรมะสัปปายะ เท่านั้น สำหรับพระอนาคามี...
    ---แต่การบรรลุมรรคผลนั้น ก็ไม่แน่นอนนัก คือ ไม่จำเป็นว่าต้องบรรลุตามขั้นของพระอริยะ เช่น พระโสดาบัน, พระสกทาคามี, พระอนาคามี,และพระอรหันต์...เพราะถ้าปฏิบัติถูกทางของตน และเจอธรรมะสัปปายะที่ถูกจริตตน ก็สามารถบรรลุ พระอรหันต์ได้เลยทันที...

    ---อ้างอิง พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 2 หน้าที่ 367 ถึง 370---
    หมายเหตุ
    1.ในพระไตรปิฎก มีแต่หัวข้อเท่านั้น อาตมาเป็นผู้อธิบายเพิ่มเติม อย่าเพิ่งเชื่อ ให้พิจารณาก่อน แล้วค่อยเชื่อ

    พระมหาฑิจถากร อาจิตปุญฺโญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...