หลักการสร้างบารมี(อำนาจใจ)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย เทพสำราญ, 19 กรกฎาคม 2010.

  1. เทพสำราญ

    เทพสำราญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    308
    ค่าพลัง:
    +888
    วิธีสร้างบุญบารมี


    ย่อความจากพระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช



    สกลมหาสัฆปริณายก องค์ที่ 19 วัดบวรนิเวศวิหาร





    วิธีสร้างบุญบารมี


    บุญ หมายถึงเครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ และกุศลธรรม

    บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงส่ง


    วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนา มีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา นิยมเรียกกันว่า “ทาน ศีล ภาวนา” ซึ่งการทำบุญทั้ง 3 ประเภทนี้ ถือว่าการเจริญภาวนา เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้บุญบารมีมากที่สุด ที่รองลงไปคือการถือศีล และการให้ทาน


    การให้ทาน คือการสละทรัพย์สิ่งของที่ตนมีให้แก่ผู้อื่น เพื่อให้ผู้รับได้ประโยชน์และเกิดสุข ได้แก่ การตักบาตร ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ ฯลฯ แต่การทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยขึ้นกับองค์ประกอบ 3 ประการ

    2. การรักษาศีล คือการเพียรพยายาม เพื่อระงับโทษทางกายและวาจา ซึ่งจะได้บุญบารมีจากน้อยไปสู่มาก เรียงลำดับกันคือ

    การถือศีล 5
    การถือศีล 8
    การได้บวชเป็นสามเณร และรักษาศีล 10 ไม่ด่างพร้อย
    การได้อุปสมบทเป็นพระในพุทธศาสนา และรักษาศีล ปฏิบัติธรรม ไม่ด่างพร้อย

    อานิสงส์ของการรักษาศีล 5 คือ

    การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทำให้เมื่อเกิดใหม่เป็นมนุษย์ จะมีพลานามัยแข็งแรง ไม่ขี้โรค มีอายุยืนยาว ไม่มีศัตรู ไม่ประสบอุบัติเหตุให้บาดเจ็บหรือตายก่อนวัยสมควร

    การไม่ลักทรัพย์ ทำให้เมื่อเกิดใหม่เป็นมนุษย์ จักเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย สามารถทำมาหากินได้ดี มั่งมีทรัพย์ขึ้น รักษาสมบัติไว้ได้

    การไม่ล่วงประเวณีในคู่ครองหรือคนในปกครองของผู้อื่น ทำให้เมื่อเกิดใหม่เป็นมนุษย์จักประสบโชคดีในความรัก พบรักแท้และจริงใจ มีบุตรธิดาว่านอนสอนง่าย ไม่ถูกผู้อื่นฉุดฆ่าอนาจาร บุตรธิดาเป็นอภิชาตบุตร นำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่

    การไม่กล่าวเท็จ ทำให้เมื่อเกิดใหม่เป็นมนุษย์ จักมีเสียงไพเราะ พูดจาน่าเชื่อถือ มีเหตุผล มีโวหารดี ปฏิภานดี เจรจาสิ่งใดมีผู้เชื่อถือ สามารถสั่งสอนบุตรธิดาลูกศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี

    การไม่ดื่มสุรา ทำให้เมื่อเกิดใหม่เป็นมนุษย์จักมีสมองดี ความคิดแจ่มใส เรียนหนังสือเก่ง ความจำดี ไม่เสียสติฟั่นเฟือน

    แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาศีลในทุก ๆ ลำดับขั้น ยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพื่อรักษาจิต ฟอกจิตให้หมดกิเลส คือความโลภ โกรธ และหลง ซึ่งทำให้ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไป การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด

    3.การภาวนา เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด มี 2 อย่างคือ สมถภาวนา ( การทำสมาธิ) และ วิปัสสนาภาวนา ( การเจริญปัญญา) แยกอธิบายได้คือ

    สมถภาวนา ( การเจริญสมาธิ) ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือ เป็นฌาน ซึ่งเป็นการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งส่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น พระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างการภาวนาไว้ 40 ประการ เรียกว่า “กรรมฐาน 40” จะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ได้
    แต่ไม่ว่าจะปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนก่อน เช่นเป็นฆราวาส ต้องรักษาศีล 5 เป็นอย่างน้อย

    อานิสงค์ของสมาธิ ส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก (ซึ่งมี 20 ชั้น) ตามแต่ฌานของแต่ละคน

    วิปัสสนภาวนา (การเจริญปัญญา) เป็นการทำจิตให้ใคร่ครวญ หาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เรียกันว่า ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา


    อนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่ยืนยง


    ทุกขัง ได้แก่ “สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้” เกิดมีแล้วย่อมดับ ในที่นี้รวมทั้งร่างกายและจิต อารมณ์ต่าง ๆ ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์


    อนัตตา ได้แก่ “ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ” โดยสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเกิดเพราะสิ่งปัจจัย เมื่อเกิดแล้วชั่วคราวก็เปลี่ยนแปลง แตกสลาย กลับสู่สภาพเดิม

    อารมณ์ของวิปัสสนา เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา แล้วจึงเข้าสู่กระแสธรรม ตัดกิเลสได้ เกิดเป็นปัญญา จิตเกิดความเบาและใสสะอาด บางจากกิเลสทั้งหลาย คลายจากอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น คลายจากความต้องการในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลง จนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งปวง บรรลุซึ่งพระอรหัตผล

    การเจริญวิปัสสนาภาวนา จักต้องเริ่มต้นจากการทำสมาธิให้ได้ก่อน โดยมีวิธีการคือไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถอะไร คือ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ให้คิดและใคร่ครวญเสมอถึงความจริง 4 ประการว่า

    (1)
    ไม่มีใครเอาชนะความตายได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทะเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก ผู้ที่คิดถึงความตาย ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต ไม่หลงและมัวเมาในอำนาจวาสนา ตำแหน่งหน้าที่ เร่งทำบุญกุศล เมื่อจิตมีการพิจารณาเช่นนี้นานเข้า ก็จะสงบ

    (2)
    มีจิตใคร่ครวญถึง อสุภกรรมฐาน
    คือพิจารณาว่าร่างกายคนเรานี้ไม่เที่ยง วันเวลาย่อมพรากความสวยงามไป จนในที่สุดย่างเข้าสู่วัยชรา ที่จักหาความงดงามไม่ได้เลย และทันใดที่เราตายลง ซากของเราก็จะหาความสวยงามน่ารักน่าเสน่หาไม่ได้ ขึ้นอืด ส่งกลิ่นเหม็น
    เน่าเปื่อย และในที่สุดจะไม่มีอะไรคงเหลือเอาไว้อีกเลย


    (3)
    มีจิตใคร่ครวญในกายคยานุสสติ เห็นความโสโครกของร่างกาย ว่าแท้ที่จริงแล้วร่างกายคนเราคือที่รวมของสิ่งโสโครก บรรจุอยู่ในกระเพาะอาหาร มีการขับถ่ายออกทางทวารทั้งหลาย แม้แต่อวัยวะก็ประกอบด้วยน้ำเลือด น้ำเหลือง เนื้อเยื่อ หากไม่มีผิวหนังห่อหุ้มแล้ว ย่อมน่าเกลียด ไม่น่ารักเสน่หาแม้แต่น้อย เมื่อพิจารณาได้ดังนี้บ่อย ๆ จะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร ทั้งของตนเองและผู้อื่น ทำให้จิตมีกำลัง น้อมไปสู่อารมณ์อันวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในร่างกาย

    (4)
    มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือพิจารณาแยกเห็นความจริงว่าร่างกายนี้เป็นแต่เพียงธาตุ 4 ( ดิน น้ำ ลม ไฟ) ที่มาประชุมกันชั่วคราวเท่านั้นเอง แล้วก็จะแตกสลายตายไป กลับไปสู่ธาตุเดิม จึงไม่ควรหลงตัวตน ดิ้นรนแสวงหาสะสมทรัพย์ อำนาจ ยศ ศักด์มากมาย เพราะเมื่อตายแล้ว ก็จะเอาอะไรไปไม่ได้เลย
     
  2. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ขอบคุณที่นำมาให้อ่านค่ะ
     
  3. jee4

    jee4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +848
    อนุโมทนา สาธุ...ครับ
    อธิบายเข้าใจง่ายดี^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...