หลักการภาวนา

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย nornoi, 18 มกราคม 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. nornoi

    nornoi สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +9
    ผู้ฝึกปฎิบัติจะต้องรู้ว่าตนเองต้องการสิ่งใดและจะไปทางไหน เมื่อเลือกทางเดินได้แล้วจงตั้งใจด้วยการกระทำนั้นๆอย่าท้อถอยจะต้องมีความเพียรพยายาม อดทน รักษาสภาวจิต บุญที่บริสุทธิเกิดจากการกระทำทั้งสิ้น จะซื้อหาแลกมาด้วยเงินมิได้บุญใครทำใครได้ ทำเผื่อกันมิได้ การปฎิบัติของเรา จะต้องมีวิญญาณ มีสติ-จิต(รักษาสภาวะจิตของเรา) จงมีสติ-มีปัญญา ใช้สติมองเข้ามาภายในแล้วจะเกิดตัวรู้(รู้แล้วให้ดับไป)เกิดกระแสภายในและกระแสภายนอก ทั้ง2อย่างคือหลักการภาวนาทั้งสิ้น(แต่จะส่งผลคนละรูป ตัวของเราจงทยายให้ถึง มรรคผลนิพพาน ขนขวายความดีงาม ทุกๆลมหายใจเข้าออก อย่าปล่อยลมหายใจว่างเปล่า พลิกฟ้าพลิกแผ่นดินให้สมความปราถนา มีเหตุ-มีปัจจัยต่อจิตใจ จงคิดและพิจารณา
    สะสาร-พลังงานในสังขารใช้ให้เป็นประโยชน์สมกับที่พ่อแม่ให้มา สังขารเป็นของบิดามารดาผู้ฝึกปฎิบัติจะไม่มีการทุกข์ใจ ถ้ามีทุกขเกิดขึ้นจงดับมันไป
    สร้างสรรสิ่งที่ดีงามแล้วบุญจะเกิดขึ้น(บุญจะเกิดไม่เป็นเวลา)การฝึกปฎิบัติเหมือนการเด็ดยอดไม้ยิ่งเด็จยิ่งแตก เราผู้ฝึกปฎิบัติยิ่งเด็ดยิ่งแตกเช่นเด็ด1ยอดจะแตกเป็นทวีคูณเราผู้ปฎิบัติจะต้องให้เหมือนเช่นต้นไม้แตกดอกออกผลเช่นนั้นผู้ฝึกปฎิบัติตนคือไม่เห็นแก่ตัวทั้งหมดถึงเป็นธรรมะบริสุทธิ์จะต้องมีสติควรคิดพิจารณาอย่างละเอียดอ่อนและนึกถึงความเป็นจริงในชีวิต อย่าเอาอารมย์ที่มีอยู่ที่เราใช้ทุกวันนี้มันจะเป็นนิสัยจงสลัดความชั่วในตัวตน ความโลภความโกรธ ความหลงความอิจฉาริษยา ตัณหาราคะทั้งหมด หรือต้องรู้เท่าทันมันให้ได้ เปิดใจให้กว้าง ยอมรับสภาวะทุกสิ่งทุกอย่างเปิดเผยตัวเอง(ความชั่ว)
    การฝึกตนคำว่าว่างไม่มี ว่างในที่นี้หมายถึงรู้เท่าทันแห่งอารมย์ กิเลส ความชั่ว
    ฝึกเพื่อให้สมองคิด-พิจารณาและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ธรรมะมิได้อยู่นอกตัวเราแต่อยู่ในตัวเรา มีปัญหาเปรียบเสมือนความทุกข์ อย่าหลบหลีกหนีปัญหา จงใช้เหตุใช้ผลในการแก้ปัญหาต่างๆปัญหาเกิดขึ้นได้ย่อมแก้ไขได้จงช่วยเหลือกันอย่าตอกย้ำเมื่อคนอื่นมีทุกข์ อตีตคือบทเรียนอย่านำมาเป็นทุกข์ แต่อย่าทำเหมือนเก่าเมื่อรู้แล้ว จงแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ที่เราเคยล่วงเกิน สร้างอนาคตให้สดใส ทุกข์จะพ้นทุกข์ด้วยการกระทำของเรา เราต้องมีเหตุมีผล ชีวิตเราเกิดขึ้นได้อย่างไร ดำเนินไปอย่างไรแล้วเราจะไปทางไหน จงนำมาพิจารณา ทำให้ได้อย่ายอมแพ้อย่าท้อถอยตั้งใจเอาชนะใจของเรา
    การเจริญภาวนาเราต้องดึงมาใช้24ชั่วโมง ตราบที่เรายังหายใจเข้าออกและนำมาใช่ในชีวิตประจำวัน ทำอะไรต้องมีสติตลอดเวลาจะเป็นอารมย์ภาวนาตลอดกาล ถึงแม้ว่าเราไม่ได้นั่งห้องพระถือว่าอารมย์ภาวนายังอยู่ เมื่อเราตั้งใจแล้วเลือกทางเดินทางไหนได้แล้วเราก็เริ่มต้นในการกระทำ
    ผู้ฝึกปฎิบัติใหม่ จะต้องชำระใจ ชำระกิเลส ชำระอารมย์ให้สะอาด โดยการนั่งภาวนาแผ่เมตตา ถ้ายังไม่สงบก็สวดมนต์ต่อแล้วกรวดน้ำ ก่อนกรวดน้ำจะต้องตั้งจิตให้สงบแล้วตั้งนะโม3จบถึงจะส่งผลถ้าจิตไม่สงบผลนั้นก็ไม่ส่ง(ที่เราส่งให้เขานั้นเรียกว่ากระแส)
    กิเลสเป็นตัวน่ากลัวมากและย่อมมีในทุกคนแม้แต่พระสงฆ์ยังมีกิเลส ตัวของเราเท่านั้นจะรู้ได้ว่าทำอย่างไรกิเลสถึงจะเบาบางลงหรือน้อยสุด ความอิจฉาริษยาอย่าให้มีในผู้ปฏิบัติ การถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นจงให้ด้วยความเต็มใจและปราถนาดีและให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นจะปฏิบัติได้มากกว่าเรา การปฏิบัติได้เฉพาะตนใครทำใครได้ทำเผื่อกันมิได้แต่การแผ่เมตตากรวดน้ำนั้นอนิสงฆ์ส่งถึงเจ้ากรรมนายเวร การแผ่เมตตาเป็นการให้สัตว์เล็กๆน้อยๆที่มีความพยาบาทน้อยการกรวดน้ำเป็นการส่งให้เจ้ากรรมนายเวรที่ใหญ่จะต้องใช้น้ำเป็นสื่อผ่านลงดินแผ่ธรรมดาจะไม่ถึง
    อนิสงฆ์-ของอนุภาพและพุทธคุณจะส่งผลเมื่อไร ตอบถ้ายังไม่ทำอนุภาพไม่เกิดอนิสงฆ์ไม่มี
    อนุภาพจะแรงแค่ไหนไม่มีประมาณขอบเขตพระรัตน์ตรัย ถ้าใจบริสุทธิ์อนุภาพจะประมาณมิได้
    ก่อนสวดมนต์ ชำระกาย วาจาใจ ให้สะอาด อนุภาพ+พุทธคุณ+สภาวะใจ ประสานเป็นหนึ่งเดียวคืออนิสงฆ์แห่งความสงบ อนุภาพของพุทธคุณไม่มีรูป แต่จะมีกระแสแห่งความเอิบอิ่ม ตรงกับข้ามกับอิธิฤทธิ์(มีรูป) อนิสงฆ์จะติดต้วเราไปทุกภพทุกชาติ ชาติต่อชาติเป็นหนทางที่จะก้าวต่อไป ต้องละทิฐิ รับความคิดเห็นของทุกๆคนและเลือกเฟ้นเพียงข้อเดียวมาเป็นสมมุติฐาน ทำอะไรพอประมาณ เดินสายกลาง อย่าเอาวัตถุมาครอบงำจิตใจเรา อย่าทำให้เราเป็นทาสวัตถุ เช่น เราไปงานศพ งานแต่ง เรานำมาพิจารณา คิดให้ไกลๆ เราจะดำเนินไปอย่างไร
    ผู้ปฏิบัติ(ผู้ฝึกตน)ควรปฏิบัติดังนี้
    ถามใจว่าปราถนาในสิ่งใดและใฝ่หาสิ่งใด
    ถามจิต เพราะจิตเป็นผู้ควบคุมอารมย์
    ถามสมอง สมองมีหน้าที่สั่งและคิด
    เมื่อเราฝึกตนให้เป็นสมาธิ เราจะต้องควบคุมสมองให้หยุดทำงาน(หยุดคิด)แต่ใช้จิตพิจารณาและภาวนาใช้คำว่าพุทโธ พุทคือพระพุทธเจ้า โธคือธรรมะ
    หมายเหตุ มิใช่เรานั่งพุทโธอย่างเดียวไม่ได้จะต้องพิจารณา พิจารณาที่นี้คือการฝึกปัญญาในทางที่สร้างสรรค์พินิจพิจารณาปัญหาในชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ ห้ามใช้อารมย์ เพราะเราทุกคนทุกวันนี้ใช้อารมย์กันเป็นส่วนใหญ่ ชำระใจ ชำระกิเลส ชำระอารมย์ ชนะตนของตนให้ได้ กฏทั้งหลายเป็นตัวควบคุมตัวเรา ธรรมะเราจะก้าวหน้า ถ้าเราปฏิบัติจนบริสุทธิ์ไม่จำเป็นจะต้องเห็นสิ่งต่างๆ เห็นแล้วให้ดับไป(ถ้าจิตเราละเอียด)หมั่นสร้างความดีจะส่งผลในภายภาคหน้า
    ปัจจุบันดี อนาคตย่อมส่งผลดี สติคือธรรมะ อนุกรมคือไม่มีที่สิ้นสุด รู้แล้วดับ จงก้าวต่อไปของวิเศษคือตัวเรา สิ่งที่เกิดขึ้นมานั้น เพื่อให้รู้ว่ามีจริงแล้วเราจะไปทางไหน
    หนทางมี 2 ทาง นรก กับสวรรค์
    จงมองตัวเรา แต่อย่าด่วนว่าความคิดของเราถูกต้อง
    ต้องให้คนอื่นมองตัวเรา
    ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2011
  2. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    อ่านแล้วซาบซึ้งในคำพูดของคน ที่กล่าวออกมา ล้วนเป็นจริงตามนั้น ขออนุโมทนา สาธุ
     
  3. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    [​IMG]


    [​IMG]
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...