หลวงพ่อสมัย อาภาธโร พระเกจิ-หมอยาอุทัยธานี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย คนไม่พิเศษ, 9 มีนาคม 2008.

  1. คนไม่พิเศษ

    คนไม่พิเศษ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    476
    ค่าพลัง:
    +32
    http://matichon.co.th/khaosod/view_...ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBd09DMHdNeTB3T1E9PQ==


    หลวงพ่อสมัย อาภาธโร พระเกจิ-หมอยาอุทัยธานี

    คอลัมน์ มงคลข่าวสด




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    การแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทยระดับชาวบ้าน ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

    เพราะเกิดขึ้นจากความรู้ ประสบการณ์ แนวคิดที่ชุมชนได้ถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสุขกาย สบายใจ ช่วยให้สังคมไทยดำรงอยู่ได้อย่างสุขสงบสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

    ที่ ต.หนองไผ่แบน อ.เมือง จ.อุทัยธานี ยังมีพระเถระรูปหนึ่ง ที่มุ่งมั่นสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยอันทรงคุณค่า มิให้ถูกกลืนหายไปกับอารยธรรมตะวันตก

    "หลวงพ่อสมัย อาภาธโร" หรือ "พระครูอุปการพัฒนกิจ" เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่คุ้นเคยต่อการเรียกขานของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดที่เลื่อมใสศรัทธา

    เป็นพระสงฆ์อีกรูปหนึ่งที่ให้การสงเคราะห์ญาติโยมยามเจ็บไข้ล้มป่วยด้วยวิชาแพทย์แผนไทย มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและเปี่ยมด้วยคุณธรรมเป็นที่พึ่งของชาวบ้านและสาธุชนโดยทั่วไปมีจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม

    ปัจจุบัน หลวงพ่อสมัย สิริอายุ 62 พรรษา 37 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองอุทัยธานีและเจ้าอาวาสวัดหนองหญ้านาง ต.หนองไผ่แบน อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    อัตโนประวัติ เกิดในสกุล จันทร์ประจักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2489 ณ บ้านเลขที่ 85 หมู่ที่ 5 ต.หนองไผ่แบน อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสีและนางทองสุข จันทร์ประจักษ์ ครอบครัวประกอบอาชีพกสิกรรม

    ในช่วงวัยเยาว์เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดหนองไผ่แบน ต.หนองไผ่แบน อ.เมือง จ.อุทัยธานี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นได้ไปอยู่กับพระครูอุทัยธรรมวินิจ หรือ หลวงพ่อจิ๋ว สุขาจาโร เจ้าอาวาสวัดเนินเหล็ก ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวินิจประสิทธิเวช อ.เมืองอุทัยธานี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

    ขณะเรียนมัธยมได้ใช้เวลาว่างศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณ กับนายเขียว ฉลาดธัญญกิจ ซึ่งเป็นลุง ควบคู่ไปด้วยหลายปี จนพอมีความชำนาญรักษาผู้เจ็บป่วยได้บ้าง

    ครั้นพอถึงวัยเกณฑ์ทหาร จับได้ใบแดงเป็นทหารเกณฑ์อยู่ 2 ปี และสมัครเข้าโรงเรียนนายสิบ ประจำอยู่กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมผสมที่ 4 ค่ายจิระประวัติ จ.นครสวรรค์

    พ.ศ.2512 สมัครไปรบในสมรภูมิเวียดนาม ก่อนลาออกจากราชการทหาร ต่อมา โยมบิดา-มารดา ได้จัดพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ณ พัทธสีมาวัดธรรมโศภิต(วัดโด่ง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี โดยมีพระครูอุทานธรรมโศภิต (หลวงพ่อพร้อม สุมโน) เจ้าอาวาสวัดธรรมโศภิต เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูอุเทศสาธุกิจ (หลวงพ่อ หวล ปิยังกโร) เจ้าอาวาสวัดอุโปสถาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์นา มิลินโท วัดธรรมโศภิตเป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาว่า "อาภาธโร" แปลว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งแสงสว่าง

    หลังอุปสมบท ได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาวัดหาดทนง ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐาน กับหลวงปู่คำ ชาติสุโข เจ้าอาวาสวัดสุวรรณรัตนาราม (หัวทะเล) ต.หาดทนง

    ต่อมา พระครูอุทัยธรรมวินิจ เจ้าอาวาสวัดเนินเหล็ก ให้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติมที่วัดเนินเหล็ก สามารถสอบได้นักธรรมตรี-โท และเอกตามลำดับ

    พ.ศ.2516 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองหญ้านางได้ว่างลง หลวงพ่อจิ๋ว ได้ส่งพระสมัย มารักษาการแทน

    ในช่วงนี้ท่านได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณเพิ่มเติม จนเกิดความชำนาญเกี่ยวกับโรคเส้นภายในร่างกาย โดยเปิดทำการบำบัดรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เหน็บชาให้แก่ชาวบ้านที่เจ็บป่วยเป็นประจำ

    ทำให้เกิดกิตติศัพท์แพร่กระจายออกไปไกลยังต่างจังหวัดและต่างประเทศ ขณะเดียวกัน นายยา มูลเดช ศิษย์หลวงปู่เคลือบ วรธัมโม ได้นำตำราหลวงปู่เคลือบมาถวายให้ศึกษาวิชาควบคู่ไปด้วย

    พ.ศ.2528 เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์ด้านการแพทย์แผนไทย ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน

    พ.ศ.2535 ได้รับประกาศนียบัตรจากมูลนิธิในโครงการพระราชดำริสวนป่าสมุนไพร สมาคมสมุนไพรแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย

    พ.ศ.2536 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน (การบำบัดโรค) ได้รับโล่และใบประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    พ.ศ.2540 เป็นประธานกรรมการอำนวยการสอบธรรมสนามหลวงอำเภอเมืองอุทัยธานี และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการแพทย์แผนไทย จากกระทรวงสาธารณสุข

    พ.ศ.2542 ได้รับเสาเสมาธรรมจักร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา "สาขาการสงเคราะห์ประชาชน" จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาฯได้พิจารณาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง

    ผลงานด้านสาธารณูปการ ท่านได้สร้างป้ายวัดหนองหญ้านาง และวัดตานาดขนาดใหญ่ ร่วมกัน 2 วัด, สร้างที่อ่านหนังสือพิมพ์และหนังสือทั่วไป ศาลาการเปรียญทรงไทย 2 ชั้น หอระฆังหน้าหอสวดมนต์, ห้องน้ำ-ห้องสุขา 12 ห้อง, เมรุฌาปนสถาน, ห้องอบสมุนไพร, อุโบสถทรงไทยจตุรมุข, ปรับพื้นที่ภายในวัด, สร้างแท็งก์น้ำหลังใหม่ พร้อมถมดินชุดบ่อใหม่ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ, สร้างศาลา อบยา, สร้างอาคารสำหรับผู้มาอบยา เป็นต้น

    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2520 เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองหญ้านางและเป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดหนองหญ้านาง

    พ.ศ.2523 เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ.2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเนินแจง-หนองไผ่แบน

    พ.ศ.2539 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2540 รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอเมืองอุทัยธานี,

    พ.ศ.2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองอุทัยธานี และเป็นหัวหน้าหน่วยพระธรรมทูต อ.เมืองอุทัยธานี

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2524 เป็นพระฐานานุกรมที่ พระใบฎีกาของพระครูอุทิตธรรมสาร (วงษ์) อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองอุทัยธานี เจ้าอาวาสวัดพิชัยปุรณาราม พ.ศ.2527 เป็นพระฐานานุกรมที่ พระสมุห์ของพระครูอุทิตธรรมสาร (วงษ์)

    พ.ศ.2541 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในราชทินนามเดิม

    พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

    พ.ศ.2550 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม

    หลวงพ่อสมัย เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน สืบทอดพุทธศาสนาให้มั่นคงอยู่เป็นประจำ พัฒนาวัดเก่าแก่เสื่อมโทรมจนเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง

    นอกจากนี้ ยังใช้วิชาการแพทย์แผนไทยบำบัดโรคภัยให้กับประชาชนที่เจ็บป่วย ปัจจุบัน วัดหนองหญ้านางกลายเป็นที่ศึกษาดูงานด้านการแพทย์แผนไทย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้และประสบการณ์การบำบัดรักษาแบบพื้นบ้านที่มีศักยภาพ

    เป็นครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยอีกรูปหนึ่ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...