หลวงพ่อพุธ ฐานิโย: วิธีปฏิบัติ ขั้นพระกรรมฐาน ฝึกจิต และกำหนดจิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย กลอง, 16 ตุลาคม 2010.

  1. กลอง

    กลอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,468
    ค่าพลัง:
    +2,991
    <table align="center" border="0" width="700"><tbody><tr><td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">เวลาปฏิบัติอยู่รู้สึกว่ามือที่วางอยู่บนตักนั้นเกร็ง อยากทราบว่าปฏิบัติถูกหรือไม่ </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">การ ปฏิบัตินั้นถูกต้อง แต่ว่าการตั้งใจแรงเกินไป เกิดมีการข่มประสาทหรือเกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ซึ่งเป็นธรรมดาเมื่อจิตสงบลงไปสักนิดหน่อย เพราะอาศัยความตั้งใจแรงจนเกินไปนั้น จะทำให้มือไม้เกร็งไปหมด เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น ทางแก้ก็คือว่า ถอนใจใหญ่สักครั้งหนึ่ง แล้วมันก็จะหายไป แล้วก็ตั้งต้นปฏิบัติใหม่ อันนี้เป็นเหตุการณ์นอกเป็นประสบการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">คนแก่เวลาปฏิบัติไม่สามารถนั่งคู้บัลลังก์ได้นาน ๆ ต้องเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ จะได้หรือไม่ </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600"> สมาธิ เป็นกิริยาของใจ เราจะกำหนดจิตในท่าไหนได้ ถ้านั่งนานมันเมื่อย ก็เปลี่ยนอิริยาบถเสีย อย่าไปทรมานร่างกาย เราจะทำสมาธิในท่ายืน เดิน นั่ง นอน ได้ทั้งนั้น กายนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรฝืน ถ้าฝืนมากนักให้โทษ ถ้ารู้สึกปวดเมื่อยก็เปลี่ยนเสีย ไม่ผิด </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">การทำสมาธิทุกครั้งจำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องขึ้นพระกรรมฐาน </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">อัน นี้ไม่จำเป็น ขึ้นกรรมฐานหมายความว่า จะต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนขึ้นไปยกครู กรรมฐานอันนี้เรียกว่า ขึ้นกรรมฐาน ทีนี้เราจะขึ้นโดยนึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นศาสดาของเรา เป็นคุณธรรม เราจะทำพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดขึ้นในใจของเรานี้ คือทำใจให้สงบนิ่ง สว่าง เกิดพุทธะ ผู้ตื่น พุทธะ ผู้เบิกบาน พุทธะ ผู้รู้ ขึ้นในใจของเรา โดยที่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีตัว ไม่มีตน เป็นแต่คุณธรรมเท่านั้น ทีนี้อาตมาใคร่จะขอเตือนบรรดาท่านทั้งหลายว่า การทำสมาธิอย่าไปขึ้นครู หรือยกครูกรรมฐาน การภาวนานี้ ถ้าหากไปยกครูกรรมฐานขึ้นมา คือหมายความว่า เอาดอกไม้ ธูปเทียน ไปเรียนกรรมฐานจากท่านผู้ใดท่านผู้หนึ่ง ท่านผู้นั้นมอบพระกรรมฐานให้ คือให้ภาวนา พุทโธ ในเมื่อมาภาวนาพุทโธแล้ว กรรมฐานยกครูนี้มันจะทำให้มีปีติ เกิดขึ้นอย่างแรง ในตอนแรก ๆ จะนึก พุทโธ ๆ ๆ ในใจ พอจิตเริ่มสงบไปหน่อย พุทโธ ดังออกมา ต่อไป พุทโธ ดังช้า ๆ ต่อไปก็ถี่เข้า ๆ ๆ ลงผลสุดท้าย เหลือแต่ โธ ๆ ๆ คำเดียว ในเมื่อเงียบเสียงโธ แล้วมีเสียงพูดขึ้นมาในทำนองเทศน์ แต่ไม่ใช่ผู้นั้นเป็นผู้เทศน์ กลายเป็นวิญญาณเข้ามาสิง การภาวนาโดยยกครูขึ้นกรรมฐานนี้ พลาดท่าเสียทีจะกลายเป็นโรคผีสิง อันนี้ขอเตือนทุก ๆ ท่านทำความเข้าใจ </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">เคยยกครูวิปัสสนา ครูให้กำหนด ยุบหนอ พองหนอ ภายหลังเกิดมีอาการใจคิดไม่ชอบ จึงเปลี่ยนมากำหนด พุทโธ รู้สึกเบาสบาย จะผิดไหม ที่ไม่ได้ลาออกจากการขึ้นครูกรรมฐาน </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">อันนี้ไม่ผิด </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">มีผู้กล่าวว่าการนั่งสมาธิแบบลืมตาทำให้เกิดปัญญา หลวงพ่อมีความเห็นอย่างไร และดีกว่านั่งสมาธิแบบหลับตาหรือไม่ </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">อัน นี้แล้วแต่อุปนิสัยของใคร บางท่านชอบหลับตา การหลับตานี้เป็นการปิดทวารไม่ให้มองเห็นสิ่งที่วุ่นวายทั้งหลาย เพื่อจะให้จิตมันสงบเร็วเข้า แต่ถ้าหากว่าการลืมตาดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำให้จิตสงบได้เร็วก็ทำ อันนี้แล้วแต่อุปนิสัยของท่านผู้ใด ไม่มีผิด </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">เวลาฝึกจิต มีอะไรแวบขึ้นมาเรื่อย ๆ ควรจะแก้ไขอย่างไร </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">นี่ เป็นเรื่องธรรมดาของการฝึกหัดใหม่ ทีนี้การแวบเข้ามา ของสิ่งที่เข้ามานั้น หมายถึงอารมณ์ โดยธรรมดาแล้ว ในเมื่อเราตั้งใจที่จะเอาใจใส่ต่อจิตของตัวเอง หรือต่อบริกรรมภาวนานั้น ๆ เพราะอาศัยที่เราเคยคิดสิ่งต่าง ๆ มาโดยไม่มีขอบเขต เมื่อเราตั้งใจจะเอาจิตของเราไว้กับสิ่ง ๆ เดียว อารมณ์เหล่านั้นมันก็แวบเข้ามาเรื่อย ๆ ทีนี้ การแก้ก็คือว่า พอรู้สึกว่ามันแวบไปทางอื่น เราก็เอามาหาคำบริกรรมภาวนาไปตามเดิม และก็นึกคำบริกรรมภาวนาเร็ว ๆ เข้าคือว่า พยายามอย่าให้ช่วงการบริกรรมภาวนานั้นมันห่าง เช่น เราจะนึกพุทโธ ๆ ก็ให้ พุทโธ ๆ เร็ว ๆ เข้า ทีนี้พอนึก พุทโธ ๆ ไปแล้ว มันมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ อาการหลง ๆ ลืม ๆ นั้นแหละจิตมันกำลังจะเริ่มสงบ พอจิตมันจะเริ่มสงบแล้ว อารมณ์แวบมันก็เข้ามาอีก เราก็ตั้งใจใหม่ พุทโธ ๆ ใหม่ หลาย ๆ ครั้งเข้ามันก็ชำนิชำนาญ แล้วมันก็หายแวบเอง <dd>อีกอย่างหนึ่ง ในเมื่อจิตของเราผ่านการเป็นสมาธิพอสมควรแล้ว มันก็มีสิ่งที่แวบเข้ามาเหมือนกัน สิ่งที่แวบเข้ามานั้นคือ อารมณ์ที่จะเป็นเครื่องรู้ของจิต ถ้าหากจิตของเรามีสมาธิดี มีสติดี อารมณ์ที่แวบเข้ามานั้น จิตของเราจะรู้ทันพั๊บ แล้วจะกำหนดสิ่งรู้นั้นทันที ในลักษณะที่ตามรู้ เราก็ได้สติสัมปชัญญะดีขึ้น </dd> </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">สำหรับ ผู้ที่เริ่มสมาธิใหม่ ๆ ยังวางจิตไม่ถูกต้อง ทำให้ปวดเมื่อยไม่เบากายเบาใจ ต้องทำไปนานสักเท่าไร จึงจะทำได้ถูกต้อง ทุกวันนี้ได้พยายามนั่งสมาธิทุกเช้า ค่ำ ประมาณครึ่งชั่วโมง แต่สมาธิไม่มีเลย </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">การ นั่งสมาธิทุกเช้า ค่ำ ประมาณครึ่งชั่วโมง วันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมง ท่านทำสมาธิเพียง ๑ ชั่วโมง ใน ๒๔ ชั่วโมง ทำสมาธิโดยเฉลี่ยแล้ว ๑ ชั่วโมง ส่วน ๒๓ ชั่วโมง หรือชั่วโมงนอกจากท่านหลับ ท่านปล่อยความรู้สึกให้เป็นไปตามอารมณ์ โดยปราศจากการทำสติ เข้าใจว่ามันไม่คุ้มค่า ปล่อยเวลาให้เสียไป ถ้าอยากจะให้จิตมันเป็นสมาธิได้เร็ว ให้เพิ่มเวลาเข้าไปอีก ถ้าสามารถที่จะตั้งใจว่า จะทำสมาธิวันละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๑ ชั่วโมง ให้ได้ทุกวัน ๆ ใช้ความพยายามหน่อย แต่ความเป็นสมาธินั้น ไม่สามารถจะกำหนดได้ว่าช้าเร็วสักเท่าไร แม้ว่าการภาวนาจิตจะไม่สงบเป็นสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ก็เอากันเพียงแค่ว่า เราสามารถควบคุมจิตของเราให้ค้นคิดพิจารณาไปในเรื่องที่เราต้องการได้โดย ความสะดวก ด้วยการทำสติก็เป็นการใช้ได้ ถ้าหากไม่สามารถจะทำจิตให้เป็นสมาธิสงบอย่างที่ท่านว่า ก็ให้กำหนดตามรู้อารมณ์คือ ความคิดที่มันเกิดขึ้นในจิตนี้ ความคิดอะไรเกิดขึ้นก็กำหนดรู้ รู้เฉย ๆ เอาตัวรู้นี้เป็นสำคัญ ตัวรู้คือทำสติ เราพยายามทำสติทุกอิริยาบถ แม้จิตไม่สงบเป็นสมาธิอย่างตำราที่ท่านเขียนไว้ก็ตาม เราจะได้พลัง คือ สติ เพิ่มขึ้น </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">เมื่อเรามีทุกขเวทนา เช่น ความเจ็บปวด เป็นต้น จะมีวิธีพิจารณาหรือบรรเทาความเจ็บปวดได้อย่างไร </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">ทุกขเวทนา เป็นตัวทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ ถ้านั่งสมาธินานแล้วปวดแข้งปวดขา ทนไม่ไหวเปลี่ยนอิริยาบถ มีทางเดียวเท่านั้น ถ้าหากใครสามารถที่จะเข้าสมาธิ ให้ถึงขนาดให้ตัวหายไปได้ภายในครึ่งวินาที หรือครึ่งนาที รีบกำหนดจิตเข้าสมาธิ ให้มันปล่อยวางความมีตนมีตัว ทุกขเวทนานั้นจะหายไป แต่ถ้าทำไม่ได้อย่างนั้น ทนไม่ไหวก็พลิกแข้งพลิกขาเปลี่ยนอิริยาบถสักครั้ง ถ้านั่งนานนักมันเจ็บปวด ก็เปลี่ยนเป็นเดินหรือถ้านั่งขาซ้ายทับขาขวา ขาขวาทับขาซ้าย นานเกินไป มันเกิดเป็นเหน็บ ก็พลิกเปลี่ยนจะมานั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะลุกไปนั่งเก้าอี้ก็ได้ ในขั้นต้นนี้ต้องอาศัยการเปลี่ยนอิริยาบถเป็นสำคัญ ถ้าเราฝึกฝนจิตให้สามารถเข้าเป็นสมาธิในขั้นฌานได้เร็ว เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น รีบกำหนดจิตเข้าสมาธิ แล้วมันจะได้ปล่อยวางความเจ็บปวดนั้น </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">เวลานั่งสมาธินาน ๆ แล้วรู้สึกขาเป็นเหน็บชา จะต้องเปลี่ยนอิริยาบถหรือไม่ </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">เมื่อ ขาเป็นเหน็บชานั้นเป็นความทุกข์ของร่างกาย เป็นทุกข์ซึ่งเกิดขึ้นจากกาย ทีนี้ถ้าหากว่า เราไม่อาจจะอดทนได้เราก็เปลี่ยนเสีย แต่หากว่าเราจะสามารถกำหนดจิตให้เข้าสมาธิได้อย่างฉับพลัน ทุกขเวทนา คือ ความเจ็บปวด หรือขาเป็นเหน็บชานั้น ก็จะหายไปในเมื่อจิตเกิดเป็นสมาธิแล้ว เพราะจิตที่สงบเป็นสมาธิแล้ว ทำให้กายเบาจิตเบา เวทนาดังกล่าวนั้นจะหายไป ถ้าไม่สามารถจะระงับด้วยกำลังของสมาธิ ก็เปลี่ยนอิริยาบถ นั่งในท่าใหม่ </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">ที่ว่ากันว่า การปฏิบัติกรรมฐานที่ผิดวิธีจะทำให้เสียสตินั้น ขอกราบเรียนว่าเป็นจริงหรือไม่ </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">อัน นี้ เป็นทั้งความจริงและไม่จริง ถ้าหากการปฏิบัติกรรมฐานที่ถูกต้อง โดยที่มีครูบาอาจารย์คอยแนะนำ และยึดหลักการปฏิบัติที่เป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างจริงจัง เช่น เราจะยึดในหลักสมถกรรมฐาน ๔๐ ประการ มี พุทธานุสสติ เป็นต้น แล้วผู้ปฏิบัตินั้นมุ่งที่จะทำจิตให้สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ต้องการให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มาช่วยให้จิตของเรามีพลัง คือมุ่งที่จะทำจิตของตัวเองนั้นแหละ ให้มีพลังสมาธิ พลังสติปัญญาขึ้นมา โดยไม่อาราธนาหรืออัญเชิญสิ่งอื่นเข้ามาช่วย การปฏิบัติแบบนี้ ในขั้น ต้นเราอาจจะยึดวิธีการ เพราะวิธีการเป็นอุบายที่ปลูกศรัทธาความเชื่อ ความเลื่อมใส ให้เกิดมีขึ้นในพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อมั่นในพระปัญญาตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธา แล้วจะได้เกิดวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติ <dd>การปฏิบัติกรรมฐานนี้ ในเมื่อพูดมาถึงตอนนี้ อาตมาอยากจะขอให้สติเตือนใจ แก่นักปฏิบัติทั้งหลาย ใน สิ่งที่ควรสังวรระวัง การปฏิบัติกรรมฐานโดยสายตรงนั้น ให้ยึดหลักมหาสติปัฏฐาน แล้วอย่าไปปรารถนาให้ท่านผู้ใดผู้หนึ่งมาใช้อำนาจจิตมาช่วยให้เราปฏิบัติได้ เร็วขึ้น </dd><dd>อาตมาเห็นว่า ไม่มีผู้ใดจะวิเศษยิ่งไปกว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้พระองค์ทรงแสดงธรรมและชี้แนว ให้ผู้ปฏิบัติดำเนินตาม ลงผลสุดท้ายก็สรุปลงไปว่า อักขาตาโร ตถาคตา พระตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก พระองค์ยังออกตัวถึงขนาดนี้ พระสาวกในปัจจุบันหรือจะวิเศษวิโสยิ่งไปกว่าพระพุทธเจ้า </dd> </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">การฝึกนั่งสมาธิโดยขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นั่งอยู่ประมาณ ๑๐ นาที เกิดอาการชาที่เท้าทั้งสองข้าง จะปฏิบัติอย่างไร </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">ถ้าทนไม่ไหวก็เปลี่ยนอิริยาบถได้ การทำสมาธินี้เป็นกิริยาของใจ การนั่ง ยืน เดิน นอน อันนั้นเป็นท่าแสดงประกอบ เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถหรือเป็นการบริหารร่างกาย เปรียบเหมือนนักศึกษา นักเรียน หรือข้าราชการที่เขามีการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ทีนี้กีฬาของผู้ปฏิบัตินั้นก็มีการเดินจงกรม การยืน การนั่งสมาธิ การนอน การเปลี่ยนอิริยาบถ ถ้าหากนั่งอยู่ ๑๐ นาที มันปวดแข้งปวดขา ชา เหน็บกิน ก็เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ไหวก็พลิกได้ เปลี่ยนได้เพราะการทำสมาธิเป็นกิริยาของใจ ให้ถือเอาเรื่องของใจเป็นใหญ่ ใจกำหนดบริกรรมภาวนา หรือพิจารณาธรรมอยู่ แม้เราจะอยู่ในท่าไหน ก็ทำได้ทั้งนั้น </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">การกำหนดยุบหนอ พองหนอ มีวิธีทำอย่างไร ช่วยอธิบายด้วย </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">การ กำหนดยุบหนอ พองหนอ นั้น ความจริงเป็นการกำหนดอาการของลม ในเมื่อหายใจเข้าไป สูดลมเข้าไป ทำให้ท้องมันพอง เวลาปล่อยลมออกทำให้ท้องมันยุบ ก็เป็นอาการเข้าออกของลม ทีนี้ในเมื่อจิตสงบลงไปบ้างแล้ว จิตก็ไปอยู่ที่ลมหายใจ การทำอย่างนี้ไม่เป็นการว้าวุ่น หรือว่าเป็นการยุ่งเหยิงในการปฏิบัติ โดยธรรมชาติแล้ว นักบริกรรมภาวนานี้ ถ้าจิตสงบลงไปแล้ว ถ้าจิตดวงใดวิ่งเข้าหาลมหายใจเข้าออก เป็นดวงจิตที่ค่อนข้างจะเดินทางที่ถูกต้อง เพราะการที่จิตรู้ลมหายใจนั้น คือ การเจริญกายคตานุสสติ เพราะลมเป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบกาย </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"><hr width="350"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">ถาม : </td> <td align="left" width="600">เมื่อ เพ่งพิจารณาสุขเวทนาเรื่อย ๆ ไป จนในที่สุดไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร จิตเกิดความรู้ชนิดหนึ่งขึ้นมาในจิต ว่าสุขที่เราได้อยู่ทุกวันนี้ ไม่ใช่สุขอย่างแท้จริง เป็นเพราะอะไร </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="100">หลวงพ่อ : </td> <td align="left" width="600">เป็น ความรู้ของจิตที่เกิดขึ้น สุขทุกข์ที่เราได้อยู่ในชีวิต คือความเป็นอยู่ที่เราว่า มีความสุข อันนี้ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ทีนี้ในเมื่อจิตสงบลงไปบ้างแล้ว ได้รับความสุขในสมาธิ ในเมื่อจิตมีความสุขในสมาธิ ซึ่งเป็นผลที่เกิดมาจากปีติ เป็นความสุขเกิดมาจากปีติ ทีนี้สุขจากปีตินี้ มันก็ยังไม่ใช่สุขแท้จริง ในบางครั้งถ้าจิตหมดกำลังของปีติแล้ว ก็เกิดทุกข์ เป็นเรื่องธรรมดาของจิต ในเมื่อภาวนาลงไปมันเกิดปีติ แล้วก็มีความสุข มีความรู้สึกในจิต จิตมีความสุข จิตก็คล้อยต่อความสงบ ดำเนินสู่ความสงบเรื่อยไป จิตละเอียดสงบลงไปจริง ๆ ในเมื่อจิตสงบลงไปจริง ๆ แล้ว สุขที่ปรากฏในจิตก็หายไป ยังเหลือแต่ความไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ ความเป็นกลาง ๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ แล้วจิตสงบนิ่งอยู่นั้นแหละ ท่านเรียกว่า เอกัคคตา กับ อุเบกขา <dd>ในเมื่อจิตบรรลุถึงความไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ จิตสงบเป็นหนึ่ง มีแต่เอกัคคตา กับ อุเบกขา ลักษณะที่ปรากฏคือ ความว่างของจิต จิตมันว่าง ๆ สงบนิ่งสว่างอยู่ ไม่มีความรู้สึกนึกคิด ว่างจากความสุข ว่างจากความทุกข์ ยังเหลือแต่ความเป็นกลาง เป็นธรรมชาติของจิตที่จะเป็นเช่นนั้น เมื่อจิตมันว่างอยู่พอสมควรแล้ว ถ้าหากว่าจะมีภูมิปัญญาเกิดขึ้น มันก็จะปรากฏมีสิ่งให้รู้เกิดขึ้น สิ่งที่รู้มันเกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ในเมื่อมีสิ่งรู้เกิดขึ้นมา จิตก็จ่อดูอยู่ที่สิ่งนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นคือ ความเกิดความดับ ซึ่งเราใช้คำว่า เกิดดับ ๆ ปรากฏขึ้นในจิต ทีนี้ เกิดดับ ๆ ปรากฏขึ้นในจิตนั้น คือ ลักษณะของพระไตรลักษณ์ปรากฏในจิต ถ้าหากจิตยังไม่มีปัญญา เพียงแต่รู้ว่าเกิดดับ ๆ เกิดดับคืออะไร แกยังไม่รู้ ในเมื่อแกรู้อยู่แค่เกิดดับ ๆ จะถอนจากสมาธิแกก็ได้ขั้นสมถะ แต่ถ้าแกมีปัญญาเพิ่มอีกหน่อยหนึ่ง ดูเกิดดับ ๆ แล้วก็รู้ซึ้งลงไป ในขณะที่รู้ซึ้งนั้น ความรู้อันนั้นจะไม่ปรากฏว่ามี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีแต่เกิดดับ ๆ แต่ว่า จิตสามารถรู้ทั่วไปโดยอัตโนมัติ คือมันเข้าใจซึ้งลงไป แต่มันยังไม่ว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก่อน ทีนี้ มันดูเกิดดับ ๆ ๆ พอมันไหวตัวจากสมาธิพั๊บ เกิดมีความรู้สึกนึกคิดได้ อ๋อ ความไม่เที่ยงมันเป็นอย่างนี้หนอ </dd></td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...