หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย pongio, 25 กันยายน 2013.

  1. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,850
    จากหนังสือ บุญญฤทธิ์ พระโพธิญาณเถร
    หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง
    อำพล เจน บรรณาธิการ

    เฮียคุง (คุณชัยสิทธิ เตชะศิริธนะกุล) เป็นผู้ค้นคว้าศึกษาเรื่องราวของครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในอดีตมามากและมีความประทับใจในเรื่องราวของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์กับหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า เป็นพิเศษ
    เมื่อรู้จักหลวงพ่อชาครั้งแรก เกิดศรัทธา ถวายตัวเป็นศิษย์โดยกราบเรียนว่า ตนเองอยากจะหาครูบาอาจารย์ไว้สักองค์ เหมือนกรมหลวงชุมพรฯ มีหลวงปู่ศุขเป็นอาจารย์ ตั้งใจว่าจะขอเอาหลวงพ่อเป็นอาจารย์แบบนั้น
    หลวงพ่อตอบว่า ไม่ทันเชื่อหรอก อีกหน่อยพอได้ยินว่าหลวงพ่อนั้นดัง หลวงปู่โน้นดี ก็จะแจ้นไปหาเหมือนเก่า
    เฮียคุงยืนยันว่า รับรอง ไม่เป็นแบบนั้น
    หลวงพ่อหัวเราะ ไม่ว่าอะไร
    ภายหลัง เฮียคุงซึ่งได้ใกล้ชิดหลวงพ่อ ได้รับใช้ปรนนิบัติเสมือนเป็นศิษย์เป็นอาจารย์อย่างแท้จริง โดยไปมาหาสู่วัดหนองป่าพง ปานว่าเป็นบ้านที่สอง วันหนึ่งมีเวลาว่างก็นั่งสวดคาถาชินบัญชรอยู่คนเดียว
    หลวงพ่อได้ยินจึงถามว่า คุงสวดคาถาอะไร
    เฮียคุงกราบเรียนว่า คาถาชินบัญชรครับ
    หลวงพ่อจึงบอกให้เฮียคุงสวดดัง ๆ ให้ท่านฟังด้วย
    เฮียคุงก็สวดดัง ๆ ถวายท่านตามบัญชา
    เมื่อสวดจบแล้วหลวงพ่อกล่าวว่า คาถานี้ดีมาก พระอรหันต์ทั้งนั้นเลย
    ต่อมาหลวงพ่อนำพระลูกวัดไปวัดถ้ำแสงเพชร อำเภออำนาจเจริญ โดยมีโยมนำรถผู้มารับท่านและพระอีกประมาณ 5 รูป จากวัดหนองป่าพง ซึ่งเฮียคุงก็ได้ร่วมเดินทางไปด้วย หลวงพ่อนั่งข้างหน้าข้างคนขับ พระลูกวัดนั่งกลางรถ
    ส่วนเฮียคุงนั่งหลังสุดคนเดียว
    พอรถวิ่งไปได้สักระยะหนึ่ง เฮียคุงเกิดกลัวอุบัติเหตุ จึงเอนหลังลง สวดพระคาถาชินบัญชรอยู่ในใจ
     หมายเอาพระคาถานั้นเป็นที่พึ่งกันภัย
    หลวงพ่อซึ่งนั่งอยู่หน้าสุดก็หัวเราะและกล่าวว่า
    “คุงมันกลัว สวดชินบัญชรใหญ่”

    หมายเหตุ ข้อที่1 ในส่วนที่ผมเน้นให้เป็นสีแดง นั้นแสดงให้เห็นหลวงพ่อชา สุภทฺโท ท่านเป็นพระที่มีอภิญญา ซึ่งท่านนั่งอยู่ด้านหน้าสุด แต่เฮียคุ้งอยู่ด้านหลังสุด ซึ่งได้สวดมนต์ในใจ เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีการปรับเอนเบาะให้เอนไปด้านหลังอีกด้วย ซึ่งคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านไม่มีทางจะรับรู้ได้เลย ตรงนี้แสดงให้เห็นชัดว่าหลวงพ่อท่านมีทิพพโสตเป็นแน่แท้

    ข้อที่ 2 ในส่วนที่ผมเน้นให้เป็นสีน้ำเงิน นั้นแสดงให้เห็นว่าพระอริยบุคคล (จากเหตุผลข้อที่ 1) ได้ให้การรับรองไว้แล้วว่า พระคาถาชินบัญชรเป็นคาถาที่ดีที่ศักดิ์สิทธิ์

    จากคำกล่าวที่ว่า "พระอรหันต์ทั้งนั้นเลย" เมื่อวิเคราะห์แล้วมีความเป็นไปได้เพียง 2 แนวทางคือ

    1. เมื่อฟังบทสวดนี้แล้ว หลวงพ่อท่านเห็นพระอรหันต์จริงๆ ด้วยอำนาจแห่งทิพพจักขุของท่าน

    2. ท่านเข้าใจความหมายของคาถานี้อย่างแจ่มแจ้ง ด้วยอำนาจแห่งปฏิสัมภิทาญาณ 4 ของท่าน

    สรุป ไม่ว่าจะแนวทางใดก็ตามที แต่หลวงพ่อท่านก็ได้ให้การรับรองไปแล้วว่า พระคาถาชินบัญชร เป็นคาถาที่ดีมาก

    อภิญญา 6 ประกอบด้วย
    1. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น นิรมิตกายคนเดียวให้เป็นหลายคนได้
    2. ทิพพโสต คือ หูทิพย์
    3. เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่สามารถรู้ใจคนอื่นได้
    4. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้
    5. ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ หรือจุตูปปาตญาณ
    6. อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำอาสวกิเลสให้สิ้น
    --------------------------------------------------------------
    วิชชา 3 คือความรู้แจ้ง ความรู้พิเศษอันลึกซึ้งด้วยปัญญา
    ได้แก่ ญาณ คือความหยั่งรู้ คือ
    1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือระลึกชาติตัวเองได้
    2. จุตูปปาตญาณ คือตาทิพย์ ระลึกชาติคนอื่นได้
    3. อาสวักขยญาณ คือความรู้ที่ทำให้หมดกิเลส
    -------------------------------------------------------------
    วิชชา 8 คือความรู้แจ้ง หรือความรู้วิเศษ 8 อย่าง คือ
    1. วิปัสสนาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร โดยไตรลักษณ์
    2. มโนมยิทธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ ทำให้สามารถนิรมิตกายอื่นจากร่างกายของตนได้
    3. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ แปลงกายเป็นสิ่งต่างๆ ย่อ ขยายตัวได้หายตัวได้ ฯลฯ
    4. ทิพยโสต มีหูทิพย์
    5. เจโตปริยญาณ รู้วาระจิตคนอื่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไร
    6. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
    7. ทิพยจักษุ มีตาทิพย์หรือจุตูปปาตญาณ
    8. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำกิเลสให้สิ้นไปได้
    ----------------------------------------------------------

    ปฏิสัมภิทาญาณ 4 คือ ความสามารถพิเศษในการสั่งสอนคนอื่น ได้แก่
    1.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ เห็นข้อธรรมใดก็สามารถอธิบายขยายความออกไปได้โดยพิสดาร
    2.ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม สามารถสรุปข้อความได้อย่างกระชับเก็บความสำคัญได้หมด
    3.นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ คือ แตกฉานเรื่องภาษาทุกภาษาทั้งภาษาของมนุษย์และสัตว์
    4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบปฏิภาณดี สามารถอธิบายแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ตอบคำซักถามได้แจ่มแจ้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...