หลวงพระบาง เมือง(คน)งามในความทรงจำ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 26 มกราคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    [​IMG]หลวงพระบางเป็นเมืองเล็กๆ ชนิดที่เดินเที่ยว(พอเหนื่อย)ก็ทั่วแล้ว ความน่าสนใจทั่วทั้งเมืองทำให้การเดินเท้าไม่น่าเบื่อเลย เพราะมีสิ่งๆต่างๆเรียกร้องให้คุณเข้าไปชมตลอดเวลา และข้อดีของการเดินเที่ยวก็คือ คุณสามารถหลงและหลุดไปนอกแผนที่ได้อย่างสนุกสนาน เป็นประสบการณ์ประทับใจที่ไกด์บุ๊คเล่มไหนก็ให้ไม่ได้

    ความที่คนเมืองหลวง(คนหลวงพระบางเรียกตัวเองว่าคนเมืองหลวง และเรียกคนเวียงจันทน์ว่าคนเวียงค่ะ)เป็นคนใจดี ถ้าผ่านกิจกรรมน่าสนใจตามบ้านเรือนต่างๆ ลองขออนุญาตเข้าไปชมได้

    อาหารเมืองหลวงนั้นไม่ได้จัดจ้านอย่างที่เราคิด แต่ละมุนละไมกลมกล่อม อาหารจานเด็ดที่คุณไม่ควรพลาด ได้แก่ เอาะหลาม รสชาติคล้ายแกงอ่อมบ้านเรา ไส้อั่ว รสละมุนต่างจากไส้อั่วเชียงใหม่ที่จัดจ้านด้วยเครื่องเทศ ไคแผ่นจิ้มแจ่วบอง หมกปลาฟอก หน้าตาคล้ายห่อหมกแต่ใช้กะทิและเนื้อปลากวนเข้าด้วยกันก่อนนำไปนึ่ง และจานเด็ดสุดคือสลัดผักน้ำ - ผักตระกูลเดียวกับวอร์เตอร์เครสที่คนเมืองหลวงภูมิใจเสนอ เพราะเป็นผักที่อร่อยและมีเฉพาะในหลวงพระบางเท่านั้น

    ถ้าหากอยากอิ่มง่ายๆแบบจานเดียว คนที่นี่นิยมกินเฝอ หรือก๋วยเตี๋ยวน้ำ ข้าวเปียก - ที่มีหน้าตาคล้ายก๋วยจั๊บญวนบ้านเรา กินคู่กับข้าวโคบ ให้อารมณ์เหมือนเหมือนกินก๋วยเตี๋ยวเรือแคบหมู ข้าวปุ้นหรือขนมจีน มีให้เลือกคือข้าวปุ้นน้ำแจ่วและน้ำกะทิ ซึ่งให้รสชาติอร่อยกับไปคนละแบบ

    สำหรับคนไทยที่เคยชินการกินอาหารแบบอู้ฟู่ อาจรู้สึกไม่อยู่ท้องไปบ้าง เพราะอาหารที่นี่เน้นไปที่แป้งและผัก ส่วนเนื้อสัตว์เป็นรอง ลองซื้อไก่ย่างจากตลาดมานั่งกินกับเฝอก็จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้ และอีกเรื่องที่อยากแนะนำก็คือตอนนี้วัฒนธรรมผงชูรสแพร่หลายเหลือเกินในหลวงพระบาง หากคุณแพ้ผงชูรส เมื่อสั่งอาหารแล้วอย่าลืมกำชับว่า "บ่ใส่แป้งนัว" (ผงชูรส) ค่ะ

    การสื่อสารระหว่างคนไทยและคนเมืองหลวงก็ไม่ยาก คนส่วนใหญ่ฟังภาษาไทยเข้าใจ สำเนียงการพูดของที่นี่ค่อนข้างราบเรียบเสมอกัน ให้ความรู้สึกเหมือนคุยกับคนภาคเหนือแถวเชียงใหม่มากกว่า

    เมื่อแรกมาถึง คุณอาจตื่นตาตื่นใจกับสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลที่ยังคงความสมบูรณ์อย่างไม่น่าเชื่อ แต่เมื่อผ่านไปสองสามวันคุณจะพบว่า ความงามของตึกรามบ้านช่องจะไม่มีความหมายอะไรเลย หากปราศจากชาวหลวงพระบางที่น่ารักเหล่านี้ เมืองที่มิตรภาพเกิดขึ้นได้ง่ายๆ แม้ไม่มีการพูดคุยต่อกัน กิน-อยู่ในหลวงพระบาง

    1. [*]
      ร้านกาแฟประซานิยม - เริ่มต้นมื้อเช้าด้วยกลิ่นหอมของเตาฟืนในร้านกาแฟสุดคลาสสิค ด้วยกาแฟลาวรสเข้มข้น โอวัลติน ชานม มีข้าวจี่ ปาท่องโก๋ ให้กินคู่กาแฟด้วย
    2. ข้าวจี่ใส่ใส้ ข้างประซานิยม - แนะนำข้าวจี่หรือบาแก็ตใส่ใส้ที่ประกอบด้วยหมูสับผัดซอส หมูยอ หมูหยอง น้ำพริกเผา ซอสพริก(ผสมแม็กกี้และพริกไทย) แตงกวาขูดฝอย เหมาะซื้อเป็นเสบียงระหว่างวัน
    3. ข้าวเปียกหัวเซียง - ร้านนี้เช้าถึงเที่ยงขายข้าวปุ้นน้ำแจ่วและข้าวปุ้นน้ำกะทิ ช่วงเย็นถึงสองทุ่มขายข้าวเปียก โรยเนื้อไก่ฉีกและสารพันผักรวม
    4. ร้านอาหารลาวสมจัน - ดินเนอร์มื้อใหญ่ริมลำน้ำโขงกับเมนูแนะนำ ตำส้ม ไส้อั่ว ไก่ปิ้ง สลัดผักน้ำข้าวเหนียว
    5. ร้านอาหารลาวบัวสะหวัน - มื้ออิ่มสำหรับคนที่ต้องการลิ้มลองรสชาติอาหารลาวแบบดั้งเดิม เมนูแนะนำคือ ตำส้ม ไส้อั่ว ลาบไก่ทรงเครื่อง ทอดปลา สลัดผักน้ำ เอาะหลาม
    6. ร้านกาแฟ เบเกอรี่ อาหารไทย-ลาว บัวกลางบึง - สำหรับผู้ที่คิดถึงอาหารไทย และอยากสัมผัสความงามของบึงบัวธรรมชาติ นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารลาว เบเกอรี่ และเครื่องดื่มอื่นๆไว้บริการด้วย
    7. ร้านตำหมี่ (ไม่มีชื่อร้าน) อยู่ใกล้เฮือนพักกาลาว - หากปั่นจักรยานจนเหนื่อยแล้ว ลองแวะเติมพลังด้วยตำส้ม ตำหมี่-ส้มตำที่เพิ่มเส้นก๋วยเตี๋ยว(หน้าตาคล้ายเส้นขนมจีน) เลือดหมูและสารพันผักลงไปด้วย และมีน้ำผลไม้ปั่นให้เลือกหลายชนิด
    8. Joma Bekery - เมนูแนะนำคือ ชีสเค้ก สโนว์บอลคุกกี้ และฟรุตเชค อร่อยและราคาประหยัด
    9. ร้านL'etranger - ร้านหนังสือน่ารักริมถนนพูสี ด้านล่างมีบริการหนังสือต่างประเทศทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และลาว ส่วนด้านบนเป็นtea bar มีขนม อาหารและเครื่องดื่ม เมนูแนะนำคือ มิกซ์ฟรุต และบานานาช็อคโกแล็ตปั่น แถมมีหนังฉายฟรีให้ดูทุกๆ 1 ทุ่ม
    10. ตลาดเช้า/ตลาดเย็น - สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน ณ ตลาดเช้า ซึ่งชาวบ้านจากฝั่งตรงข้ามจะข้ามเรือนำสินค้าเกษตรต่างๆมาจำหน่าย ทั้งพืชผักตามฤดูกาล ไก-หรือสาหร่ายน้ำจืดตากแห้ง (ซื้อเป็นของฝากได้) ปลา และสัตว์ป่าต่างๆ ส่วนตลาดเย็นก็ขายอยู่ที่เดิม เพียงแต่เน้นกับข้าว เช่น ปิ้งไก่ ปิ้งหมู ไส้อั่ว แกงต่างๆ มากกว่า
    11. ตลาดม้ง - อยู่บริเวณสี่แยกกลางเมือง มีชาวบ้านเปิดแผงขายของที่ระลึกต่างๆ เช่น ผ้าปักต่อลายเป็นผ้าห่ม ผ้าถุง ย่าม เสื้อยืด และของใช้กระจุกกระจิกต่างๆ
    12. ตลาดกลางคืน - ตลอดเส้นทางบนถนนสีสะหว่างวงมีของให้เลือกสรรมากมาย ทั้งผ้าทอ กระเป๋า รองเท้า ร่ม ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา เครื่องเงิน งานไม้แกะสลัก เสื้อยืด ราคาสมเหตุสมผล
    13. เฮือนพักบุปผา - ร้านนี้มีทั้งห้องพักและจักรยานไว้ให้เช่า มีรถไม่มากนักแต่สภาพค่อนข้างใหม่กว่าร้านอื่นๆ
    14. ร้านทิดเพ็งมะนีพอน - จำหน่ายเครื่องเงินแท้ๆแบบหลวงพระบาง มีให้เลือกทั้งสร้อย แหวน กำไล และพานรองต่างๆอยู่ในซอยใกล้วงเวียนน้ำพุ
    15. ร้านโพทิสัก - ร้านเครื่องเงินเก่าแก่อีกร้านหนึ่งของหลวงพระบาง คุณสามารถแวะไปชมการตีเงิน การขึ้นลวดลายและหาซื้อเครื่องประดับเงินเพื่อเป็นของฝากได้

      * หมายเหตุ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ 264 ต่อ 1 บาท
    [​IMG]
    รู้ก่อนเที่ยว
    เพื่อย่นเวลาการเดินทางให้เร็วขึ้น คุณอาจเดินทางไปหลวงพระบางได้จากเชียงใหม่ด้วยการบินไทย มีเที่ยวบินบริการทุกวัน ส่วนการบินลาวให้บริการทุกวันอังคาร ศุกร์และอาทิตย์ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ส่วนบางกอกแอร์เวย์มีเที่ยวบินจากกรุงเทพไปหลวงพระบางทุกวัน ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
    <table bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="3" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr align="left" valign="top"><td class="t_cordia" align="left">ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเที่ยวหลวงพระบางคือช่วงฤดูหนาวตั้งแต่พฤศจิกายน-มกราคม แต่ถ้าอยากสัมผัสบรรยากาศประเพณีอันยิ่งใหญ่ ควรมาเที่ยวในช่วงสงกรานต์ (ควรจองห้องพักล่วงหน้า)
    มาเที่ยวหลวงพระบางทั้งที อย่าพลาดการตักบาตรข้าวเหนียวยามเช้านะคะ ผู้หญิงควรใส่ผ้าถุงและนั่งตักบาตร ส่วนผู้ชายยืนได้และถอดรองเท้าด้วย การตักบาตรทุกเช้าเป็นเสมือนการแสดงชุดไฮไลท์ที่ทุกคนรอคอย แต่เพื่อการถ่ายภาพอย่างมีมารยาท ควรหลีกเลี่ยงการใช้แฟลชโดยเด็ดขาดและอยู่ให้ห่างจากทางที่พระสงฆ์จะต้องเดินผ่าน รวมทั้งอย่าอยู่สูงกว่าพระสงฆ์ เช่น ยืนบนหลังคารถเพื่อถ่ายภาพ เป็นต้น
    </td> </tr> <tr align="left" valign="top"> <td class="t_cordia" align="left">
    </td> </tr> </tbody></table> <!-- End Article Content -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...