หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด (ฉบับหลวงปู่ทวดท่านบอกเอง)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย aeiou1234, 24 กรกฎาคม 2012.

  1. aeiou1234

    aeiou1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +292
    สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด (ฉบับหลวงปู่ทวดท่านบอกเอง)
    อาจารย์ โคะ เกิดวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา ตอนย่ำรุ่ง เวลา 05.00 น. พ.ศ. 2118 ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2118 รูปร่างสูงใหญ่ ไม่อ้วน มีส่วนสูง 250 ซม. น้ำหนัก 80 กิโลกรัม ผิวขาวบิดาชื่อ นายหู ผิวดำแดง เป็นคนเมืองสตูล เชื้อชาติไทย มีพี่น้อง 5 คน นายหูเป็นคนที่ 5 และมารดาชื่อ นางจัน ผิวขาวเป็นคนอยุธยา ภาคกลาง เชื้อชาติไทย มีพี่น้อง 6 คน นางจันเป็นคนที่ 2 ซึ่งบิดามารดาและนางจันนำสินค้า หีบทองเหลือง หม้อ ไห บรรทุกเรือสำเภามาค้า ขายที่เมืองสตูล เมื่อครอบครัวของนายหูและครอบครัวนางจัน มาพบกัน ทั้งสองมีความพอใจตกลงให้นายหูกับนางจันอยู่กินกันเป็นครอบครัว ฝ่ายบิดามารดาของนางจันก็กลับบ้านภาคกลาง ซึ่งไม่พานางจันกลับไป เพราะนางจันตกลงอยู่กินกับนายหูเป็นครอบครัวแล้ว และต่อมาบิดามารดาของนายหู ได้ฝากนายหูกับนางจันให้อยู่ทำงานกับเศรษฐีปาน อยู่กินกัน 5 ปี จึงมีบุตรชาย คือ เด็กชายปูตอนเกิดอาจารย์โคะ เกาะหนู เกาะแมว ทรุดลง 1 ช่วงแขน ทำให้แผ่นดินสะเทือนเหมือนแผ่นดินไหว แท้จริงแล้วไม่ใช่แผ่นดินไหวตามประวัติเขียนไว้
    เมื่อแรกเกิดชื่อ เด็กชายปู เป็นลูกคนเดียว บิดานำรกไปฝังไว้ใต้ต้นเลียบ ด้านตะวันออก ตรงที่สร้างศาลาปัจจุบัน เมื่ออายุได้ 1 เดือน 1 วัน เศรษฐีปานบังคับให้บิดา มารดาไปเกี่ยวข้าว ขอผลัดไม่ได้เพราะเป็นปลายฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว เทพศักดาอาศัยร่างงูจงอาง (งูบองหลา) ตัวใหญ่เท่าต้นมะพร้าว ลำตัวยาว 15 เมตร นำลูกแก้วสีขาวใสจากสวรรค์ ใส่ฝ่ามือซ้ายให้เด็กชายปูกำไว้แน่น แล้วขดตัวเองล้อมเด็กชายปูไว้เพื่อป้องกันอันตราย เมื่อถึงเวลามารดามาให้เด็กชายปูกินนม เทพศักดาในร่างงูจงอาง ก็คลายขดแล้วเลื้อยไปซึ่งมารดาตกใจมาก
    งูจงอางตัวนี้ต่อมาได้ไปตายอยู่ที่หลังวิหาร วัดพะโคะเปื่อยเป็นดินอยู่ตรงนั้น ไม่มีใครพบเห็น ปัจจุบันนี้ เทพศักดายังคอยดูแลท่านอยู่
    นางจัน ผู้เป็นมารดามีร่างกายไม่ค่อยจะแข็งแรงเมื่อเด็กชายปูอายุได้ 2 ปี มารดาจึงเสียชีวิต
    พ.ศ. 2126 เด็กชายปู อายุได้ 8 ปี บิดาพาไปฝากให้อยู่กับสมภารจวง วัดดีหลวง อยู่มา 2 ปี นายหู ผู้เป็นบิดาก็เสียชีวิต
    แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ ตรงกับ วันที่ 20 กุมภาพพันธ์ พ.ศ. 2133 นายปู อายุได้ 15 ปี ท่านสมภารจวงจึงให้บวชเป็นสามเณร ที่วัดดีหลวง สามเณรปู เฉลียวฉลาดมาก ศึกษาธรรมได้อย่างแตกฉาน
    พ.ศ. 2137 สามเณรปู อายุได้ 19 ปี ท่านสมภารจวงจึงได้ส่งไปศึกษาธรรมต่อที่วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช อยู่กับเจ้าคณะกาแก้ว องค์ที่ 3
    สามเณรปูเดินทางจากวัดดีหลวงไปวัดเสมาเมืองนครศรีธรรมราชมีพระร่วมเดินทาง 2 รูป สามเณร 1 รูป ชาวบ้าน 2 คน เดินเท้า ไปถึงบ้านนางยา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ใช้เวลา 1 วัน และพักค้างคืนที่วัดบ้านย่า บ้านนางยา อ.ปากพนัง 1 คืน
    บัดนี้วัดนี้ไม่มีแล้ว แต่สันนิษฐานว่า วัดนี้น่าจะอยู่ที่บ้านหน้าโกฏิ อ.ปากพนัง บ้านนางยา ปัจจุบันนี้ก็ คือ ต.ท่าพญา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช พอรุ่งขึ้นคณะสามเณรปูนั่งเรือใบ จากบ้านนางยา ไปถึง ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช แล้วเดินเท้าต่อไปยังวัดเสมาเมือง ใช้เวลาครึ่งวัน
    พ.ศ. 2139 สามเณรปู อายุได้ 21 ปี ญาติมิตร และท่านสมภารจึงให้สามเณรปูบวชเป็นพระ ซึ่งท่านคณะกาแก้ว องค์ที่ 3 เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นอาจารย์สอนวิชาอาคมต่างๆ จึงเก่งกล้า สามารถ เหยียบน้ำทะเลจืด เหยียบหินให้สลายได้ การบวชไม่ได้บวชที่วัดเสมาเมือง เพราะสมัยนั้นวัดเสมาเมืองยังไม่มีอุโบสถ สามเณรปูจึงต้องไปบวชที่ คลองน้ำเชี่ยว หรือคลองน้ำหลาก เหตุผลที่เรียกคลองน้ำหลาก เพราะฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลเชี่ยวมาก ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช โดยใช้เรือลำใหญ่ 3 ลำ ผูกติดกันเป็นแพ และล่องเรือไปที่ปากน้ำ และบวชพระบนเรือ มีชาวบ้านนับพันคน ไปร่วมงานบวชนี้ พระที่ร่วมบวชด้วยในครั้งนั้น มีทั้งหมด 5 รูป คือ
    1.พระสุทธิ 2.พระผลัด 3.พระศรี 4.พระปอ 5.พระปู
    พอบวชเป็นพระเสร็จแล้วก็กลับมาอยู่วัดเสมาเมืองได้ศึกษาธรรมที่วัดนี้ จนถึงเจ้าคณะกาแก้ว องค์ที่ 4 ซึ่งวัดเสมาเมือง เป็นวัดดั้งเดิมของเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งมาก่อนวัดหน้าพระธาตุ ซึ่งก่อนหน้านี้ วัดหน้าพระธาตุ เดิมทีชื่อว่า “วัดหน้าพระราหู” เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ เนื่องจากวัดพระบรมธาตุพระสงฆ์มิกล้าเป็นเจ้าอาวาส เพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ทางคณะสงฆ์จึงประกาศเป็นเขตปลอดสงฆ์ คือ ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาที่วัดพระบรมธาตุ และแต่งตั้งคณะสงฆ์ใหม่ 4 คณะ ปกครองดูแลพระบรมธาตุ และมีพระสงฆ์ทั้ง 4 ทิศ คือ
    เจ้าคณะกาแก้ว ดูแลทิศตะวันออก (วัดหน้าพระราหู)
    เจ้าคณะกาชาด ดูแลทิศตะวันตก (วัดนางรอง)
    เจ้าคณะกาเดิม ดูแลทิศเหนือ (วัดเสมาเมือง)
    เจ้าคณะการาม ดูแลทิศใต้ (วัดธาตุน้อย)
    เจ้าคณะกาแก้วองค์ที่ 5 วัดเสมาเมือง จึงย้ายมาอยู่วัดหน้าพระธาตุ เพื่อเข้าตำแหน่งที่ตั้งใหม่ตามทิศ
    ส่วนเจ้าคณะกาเดิม เมื่อก่อนตำแหน่งปกครองของคณะสงฆ์นั้น มีเพียงตำแหน่งเดียว คือ “เจ้าคณะกาแก้ว” และไม่มีตำแหน่งเจ้าคณะกาเดิม แต่ที่มาของการเรียกเจ้าคณะกาเดิม คือ มีพระลูกวัดของวัดเสมาเมืองรูปหนึ่ง ท่านอายุมาก ไม่ยอมรับตำแหน่งใดๆ เมื่อตำแหน่งเจ้าคณะกาแก้วว่างลงเมื่อใด พระรูปนี้จะทำหน้าที่แทนเรื่อยมา เพื่อรอจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเจ้าคณะกาแก้วองค์ใหม่มาทำหน้าที่จนชาวบ้านพูดล้อเล่นกันว่า “เจ้าคณะกาเดิม” ต่อมาเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งการปกครองสงฆ์ใหม่อีกครั้ง จึงมีการตั้งชื่อตำแหน่งเจ้าคณะกาเดิมขึ้นมาจริงๆ พระรูปนี้จึงจำเป็นต้องรับเป็นเจ้าคณะกาเดิมโดยปริยาย และสมัยรัชกาลที่ 6 ได้แต่งตั้งตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง คือ ให้มีคำว่า “พระครู”เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุเป็นหัวหน้าเจ้าคณะทั้ง 4 ทิศ เป็นผู้ช่วย และเรียกชื่อใหม่ว่า
    พระครูกาแก้ว ดูแลทิศตะวันออก (วัดหน้าพระธาตุ)
    พระครูกาชาด ดูแลทิศตะวันตก (วัดพระนคร)
    พระครูกาเดิม ดูแลทิศทิศเหนือ (วัดเสมาเมือง)
    พระครูการาม ดูแลทิศใต้ (วัดหน้าพระลาน)
    ส่วนทิศยังเหมือนเดิม ตำแหน่งนี้ได้สืบทอดต่อมาถึงพระครูกาแก้วองค์ที่ 10 จึงเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์ใหม่เป็นจังหวัด เป็นเจ้าคณะจังหวัด เรียกชื่อว่า “พระศรีธรรมราชมุนี” เป็นผู้ปกครองสงฆ์เพียงรูปเดียว
    พ.ศ. 2153 พระปู อายุได้ 35 ปี เป็นสมัยของเจ้าคณะกาแก้ว องค์ ที่ 4 พระปูอำลาท่านเจ้าคณะกาแก้วเดินทางไปศึกษาธรรมต่อที่กรุงศรีอยุธยา เหตุผลที่ไปที่กรุงศรีอยุธยาต้องการพบญาติฝ่ายมารดา ด้วย เพราะมารดาเป็นคนอยุธยา มีเรือใบบรรทุกหม้อ โอ่ง ดินเผา จากจังหวัดสงขลามาขายที่คลองหน้าเมือง ใกล้วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พระปูจึงขอโดยสารเรือใบตอนกลับ ไปที่ท่าเรือจังหวัดสงขลาด้วย ใช้เวลา 1 วัน และจากท่าเรือจังหวัดสงขลา พระปูโดยสารเรือสำเภาใหญ่ไปยังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีคนในเรือ 5 คน และ พระปู อีก 1 รูป รวมเป็น 6 คน ดังนี้
    1.นายกัน เป็นคนขับเรือ 2.นายพัน เป็นรองคนขับเรือ
    3.นายแสง เป็นลูกเรือ 4.นายส้อง เป็นลูกเรือ
    5.นายปอง เป็นลูกเรือ 6.พระปู (หลวงปู่ทวด)
    วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ ตรงกับ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2153 ออกเดินทางขึ้นเรือที่จังหวัดสงขลา ถึง อ่าวชุมพร เมื่อวันพฤหัส แรม 7 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ ตรงกับ วันที่12 มีนาคม พ.ศ. 2153 เกิดลมฝนหนัก ต้องทอดสมอหลบลมอยู่ 5 วัน น้ำในเรือที่เตรียมไปหมด เสบียงอาหารก็ลดน้อยลง เจ้าของเรือจึงนิมนต์พระปูไปบิณฑบาตน้ำ อาหาร บนฝั่ง เพราะเห็นว่าชาวบ้านศรัทธาพระสงฆ์มาก คงทำได้สะดวก จึงนิมนต์ให้ลงเรือเล็กไป เพราะเรือใหญ่ไม่สามารถขึ้นฝั่งได้ หลังจากเจ้าของเรือนิมนต์พระปู ไปบิณฑบาต ซึ่งมีลูกเรือขอติดตามไปด้วย 2 คน แต่พระปูท่านบอกให้ลูกเรือลองตักน้ำทะเลขึ้นมาดูก่อน พอตักขึ้นมาเสร็จท่านเสกน้ำในถังนั้นแล้วให้คนในเรือดื่ม ปรากฏว่าน้ำจืดดื่มได้ คนในเรือทั้งหมดซึ่งอดน้ำอยู่ต่างดีใจมาก ดื่มน้ำกันทุกคน และตักน้ำใส่เรือเก็บไว้จนเต็ม เจ้าของเรือตัดสินใจเดินทางต่อไป ไม่ต้องไปบิณฑบาตจากชาวบ้าน

    **ปฏิทินการเดินทางจากสงขลาไปกรุงศรีอยุธยาโดยสารเรือสำเภา**

    [​IMG]

    วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ตรงกับ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2153 พระปูเดินทางถึงกรุงศรีอยุธยา และได้ไปพักที่วัดแก้ว ศึกษาพระธรรมที่วัดนี้ โดยมีพระคุณเจ้าแก้วเป็นเจ้าอาวาสและอาจารย์สอนพระธรรมแก่พระปู ในสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ ตอนมาอยู่ที่อยุธยานี้ได้มาพบญาติฝ่ายมารดาหลายคน
    พ.ศ. 2163 พระปูอายุได้ 45 ปี กรุงลังกาส่งราชทูตมา 7 คน มีปริศนาธรรม 7 ข้อ ให้กษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยาแก้ปริศนาธรรมนี้ พระราชครูและนักปราชญ์ในกรุงศรีอยุธยาทั้งหมดที่คัดเลือกมาแก้ไม่ได้ จวนเวลาจะหมดตามสัญญา และเป็นวันสุดท้าย ถ้าแก้ปริศนาธรรมไม่ได้ทางกรุงลังกาจะลดการส่งเสริมและเผยแผ่ศาสนาพุทธในกรุงศรีอยุธยา เพราะกรุงศรีอยุธยามีพระภิกษุสงฆ์มากจึงน่าจะมีพระที่รู้ธรรมจำนวนมาก เหลือเวลาวันสุดท้าย โหรทำนายและกราบทูลสมเด็จพระเอกาทศรถให้ทรงทราบว่ามีนักปราชญ์เมืองใต้มาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาที่วัดวรมหาวิหารที่สามารถแก้ปริศนาธรรมนี้ได้ จึงรับสั่งให้เหล่าเสนา ทหารค้นหา ได้พบพระปูที่วัดแก้วและนิมนต์พระปูไปแก้ปริศนาธรรมที่ท้องพระโรงตามพระราชรับสั่ง พระปูรับนิมนต์ไปแก้ปริศนาธรรมให้ พระปูจึงเดินเข้าท้องพระโรง โดยมีสมเด็จพระเอกาทศรถ พระราชครู นักปราชญ์ และราชทูตจากกรุงลังกา 7 คน นั่งรออยู่ พระปูได้แสดงอภินิหารเดินเหยียบแผ่นหินทางเดินก่อนเข้าท้องพระโรงแตกสลาย 5 แผ่น หมายถึง พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ทำให้คนที่ในท้องพระโรงถึงกับเงียบสงบกันเพราะเกรงในบารมี พระปูเริ่มแก้ปริศนาธรรม 7 ข้อ และแก้ได้ทั้ง 7 ข้อ ทำให้กรุงศรีอยุธยาชนะกรุงลังกาในการแก้ปริศนาธรรมได้
    พ.ศ. 2166 พระปูอายุได้ 48 ปี ท่านลาพระเอกาทศรถ ครู อาจารย์ ญาติโยม ธุดงค์กลับบ้านเดิมทุกคนห่วงใยและอาลัยอย่างมาก มาส่งท่านลงเรือที่กรุงศรีอยุธยา ท่านไปขึ้นที่ปากน้ำ เดินธุดงค์ไปที่สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์และไปถึงชุมพร ทำอภินิหารเดินข้ามคลองมันไปสงขลา พบอาจารย์เดิม
    การศึกษาธรรมในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ได้แบ่งเป็นชั้นตรี โท เอก หรือประโยค 1 – 9 เหมือนสมัยนี้ในสมัยนั้นเป็นการศึกษาพระไตรปิฎก ศึกษาเป็นพระธรรมขันธ์ ทั้งหมดมี 84,000 พระธรรมขันธ์ พระปูศึกษาได้ 20,573 ธรรมขันธ์ มีความรู้อยู่อันดับที่ 6 ของสำนักที่ศึกษากัน พระที่มีความรู้อันดับที่ 1 ของสำนัก ศึกษาได้ 50,210 ธรรมขันธ์ คือพระคุณเจ้าแก้วที่เป็นอาจารย์สอนพระปูนั่นเอง
    พ.ศ. 2167 พระปูอายุได้ 49 ปี ท่านเห็นว่าวัดพะโคะเก่าหักพัง ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงบูรณซ่อมแซม ขอแรงงานและเงินจากกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเอกกาทศรถ จึงพระราชทานแรงงาน 500 คน โดยสารเรือสำเภามา 50 ลำ เงิน 80 หาบ และบูรณซ่อมแซม อยู่ 3 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และให้เงินภาษี 100 ตำบล บำรุงวัดพะโคะถึง 20 ปี สมเด็จพระเอกาทศรถ จึงโปรดเกล้าให้พระปูเป็น “สมเด็จเจ้าพะโคะ”
    วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เวลา 04.00 น. ตรงกับ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2170 สมเด็จเจ้าพะโคะ อายุ 52 ปี ท่านออกจากวัดพะโคะธุดงด์ไปรูปเดียวทางทิศใต้ ไปสงขลา ยะลา ปัตตานี ไปถึงปัตตานีตอนดึกพบกระท่อมหลังเล็กหลังคามุงจากกั้นจาก อยู่ห่างกับตัวเมือง 5 เส้น เป็นกระท่อมที่เจ้าเมืองปัตตานีสร้างให้ลูกสาวคนสุดท้องอาศัยอยู่คนเดียว เพราะเข้าใจว่าเป็นโรคเรื้อน โดยความจริงแล้ว ไม่ได้เป็นโรคเรื้อน แต่เป็นโรคกลากเกลื้อนเท่านั้น แต่เป็นมากทั้งตัว สมเด็จเจ้าพะโคะต้มยาให้ทั้งกินและทาจนหายหมด
    เจ้าเมืองปัตตานีและคนทั่วไปจึงศรัทธา นิมนต์ท่านให้อยู่ที่นี้ และช่วยหาที่ตั้งเมืองใหม่ให้ลูกสาวคนนั้นด้วย
    วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ ตรงกับ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2172 สมเด็จเจ้าพะโคะ อายุได้ 54 ปี ท่านทำพิธีขอที่ตั้งเมือง คือ เอาดอกไม้ ธูป เทียน หมากพลู ใส่กระถางเดินไปทางทิศตะวันออกให้ช้างเดินนำหน้าช้างนั่งลงตรงไหน ให้ตั้งกระถางธูปลงตรงนั้น และตั้งเมืองตรงนั้น ปรากฏว่า ช้างนั่งลงที่เมืองสุคีรินทร์ จึงตั้งกระถางธูป เทียน ลงตรงนั้น
    วันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง ตรงกับ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2173 สมเด็จเจ้าพะโคะ อายุได้ 55ปี ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ตั้งเมือง สุคีรินทร์ ให้นางประพาบุตรสาวคนสุดท้องกับขุนศรีวรพัทร์ ผู้เป็นสามีครองเมืองสุคีรินทร์สืบไป มีฐานะเป็นจังหวัดสุคีรินทร์ ซึ่งเจ้าเมืองวางศิลาฤกษ์และตั้งชื่อกันเอง ต่อมาขุนศรีวรพัทร์ถึงแก่กรรม นางประพาก็หมดวาสนาเปลี่ยนเจ้าเมืองใหม่ เจ้าเมืองคนใหม่จึงย้ายที่ตั้งเมืองไปที่นราธิวาส เมืองสุคีรินทร์ก็หายไป ปัจจุบันได้กลับมาตั้งใหม่เป็นอำเภอสุคีรินทร์
    วันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ. 2173 นี้ ตรงกับ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2173 สมเด็จเจ้าพะโคะได้วางศิลาฤกษ์ตั้งวัดช้างให้ด้วย เหตุที่ชื่อนี้ เพราะตรงนี้เป็นที่อาศัยของช้างโขลงใหญ่ ช้างทั้งโขลงได้อพยพไปอยู่บนภูเขาทั้งหมด ท่านจึงเลือกเอาที่ตรงนี้เป็นที่ตั้งวัด และชื่อว่า วัดช้างให้ แรกเริ่มสร้างวัดมีพระสงฆ์ 50 รูป บวชศรัทธาสนใจธรรมอย่างเดียวไม่มีเรื่องอื่น
    วันแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง ตรงกับ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2178 สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อปู อายุได้ 60 ปี ท่านอยู่วัดช้างให้ 5 ปี จึงธุดงค์กลับวัดพะโคะ เจ้าเมืองและชาวบ้านไปส่งท่านและร้องไห้เสียดายกันอย่างมาก เมื่อถึงวัดพะโคะแล้ว ท่านอยู่ประจำที่ สำนักสงฆ์ตาทวด และคนยุคหลังมาเรียกใหม่เป็นสำนักสงฆ์ต้นเลียบ ซึ่งมีกุฏิหลังเดียว และธุดงค์ไปสั่งสอนธรรมในที่ต่างๆ ทั้งไกล ใกล้
    เจ้าเมืองปัตตานีขณะนั้น คือ พระเจ้าองค์น้อยชื่อว่า
    “นครินทร์” ภรรยาชื่อ นางแจ่มจันทร์ มีบุตรและธิดา 5 คน
    คนที่ 1 เป็นผู้ชายชื่อ ชายน้อย
    คนที่ 2 เป็นผู้หญิงเป็นหญิงหม้าย อยู่ในวัง
    คนที่ 3 เป็นผู้ชายไปครอง “เมืองสิงห์บุรี”
    คนที่ 4 เป็นผู้หญิงชื่อ ดาริกา อยู่ในวัง
    คนที่ 5 เป็นผู้หญิง ชื่อ ประพา ครองเมืองสุคีรินทร์กับขุนศรีวรพัทธ์
    พ.ศ. 2198 สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ พ่อท่านโคะ อายุได้ 80 ปี เด็กชายรอด คนในท้องถิ่น มีพี่ชาย ชื่อปลอด บวชเป็นสามเณรอยู่วัดดีหลวง ขอบวชสามเณรกับพ่อท่านโคะ พ่อท่านโคะบวชให้เอง และให้สามเณรรอดอยู่ด้วยกันที่สำนักสงฆ์ต้นเลียบ สามเณรรอดเป็นสามเณรที่ดื้อ ไม่ค่อยเชื่อฟัง ชอบทำอะไรฝืนใจอาจารย์โคะอยู่เสมอ และชาวบ้านก็ไม่ชอบสามเณรรอดรูปนี้เลย
    วันหนึ่งพ่อท่านโคะห้ามทุกคนเข้าไปในห้องของท่านเพราะมีของสำคัญอยู่หลายอย่าง สามเณรรอดไม่เชื่อฟังจึงถือโอกาสหลบเข้าไปในห้องนั้น พ่อท่านโคะจึงถือดาบเดินตามเข้าไปในห้อง สามเณรรอดเห็นพ่อท่านโคะเดินถือดาบเข้ามาจึงตกใจวิ่งหนีออกไปทางประตูลงกุฏิ วิ่งเข้าในป่าวัดแก้วซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของสำนักสงฆ์ต้นเลียบ หายไปนาน ไม่กลับมา พ่อท่านโคะนั่งพักใหญ่ เป็นห่วงสามเณรรอดมาก จึงหยิบมีดปลายแหลม (มีดเหน็บ) ใส่ย่ามเดินตามหาสามเณรรอด ที่ในป่าวัดแก้ว หาจนทั่วไม่พบ จึงเดินกลับไป ถึงห้วยน้ำแห้ง พ่อท่านโคะ จึงลงไปล้างเท้า ล้างเท้าเสร็จ ตอนขึ้นก็ลื่นล้มลงกระแทกกับขอบห้วย กระดูกสันหลังส่วนเอวแตกและหัก ลุกขึ้นไม่ได้ พ่อท่านโคะจึงสิ้นใจอยู่ตรงนั้น เป็นวันแรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก เวลา 18.00 น. ตรงกับ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2200 นับอายุของท่านได้ 82 ปี ที่หมู่ที่ 5ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลาสามเณรรอดหนีไปหลบอยู่ในป่า เห็นว่าเย็นมากแล้วจึงเดินกลับ พบอาจารย์โคะนอนสิ้นใจอยู่ที่ริมห้วยน้ำแห้ง จึงเข้าไปกอดร้องไห้ แล้วไปหาสามเณรปลอดผู้เป็นพี่ชายที่วัดดีหลวง สามเณรทั้งสองช่วยกันนำอาจารย์โคะไปฝังไว้ใกล้ต้นตาล หลังจากนั้นสามเณรทั้งสองรูปหายตัวไปหนีไปอยู่ที่วัดอื่นและไกล นำเอามีดในย่ามของอาจารย์โคะไปด้วย อยู่มา 3- 4 ปี สามเณรทั้งสองรูปนี้เป็นลมอัมพาตชักตายบริเวณที่ฝังสมเด็จเจ้าพะโคะ มีต้นตาล 2 ต้น ต้นประดู่ใหญ่ 1 ต้น มีเทพประดู่ หรือแม่นางประดู่อาศัยอยู่ เทพศักดาผู้นำลูกแก้วมาให้อาจารย์โคะเมื่อเยาว์วัย กับเทพประดู่ได้คอยดูแลเฝ้ารักษาพ่อท่านโคะจนบัดนี้ ปัจจุบันต้นไม้เหล่านี้ไม่มีเหลืออยู่แล้ว เทพประดู่ต้องไปอาศัยอยู่ที่ตันไทร เทพศักดาก็อาศัยอยู่ที่ต้นเลียบ ณ สำนักสงฆ์ต้นเลียบ
    ตอนค่ำของวันสิ้นบุญ อาจารย์โคะนิมิตกายไปเหยียบเท้าซ้ายไว้ที่ก้อนหินวัดพะโคะ และเหยียบเท้าขวาไว้ที่หลุมฝังศพ เพื่อบอกให้ญาติโยม และพุทธบริษัททั้งหลายได้ทราบว่าพ่อท่านโคะสิ้นบุญอยู่ที่ตรงไหน ทิศใด สะดวกในการค้นหา ญาติโยมและพุทธบริษัทเหล่านั้นกลับเข้าใจผิดว่า พ่อท่านโคะหายตัวไปทั้งเป็น และเข้าใจผิดต่อไปว่าสามเณรรอดเป็นเทพแปลงกายมา พ่อท่านโคะจึงต้องถูกฝังดินอยู่ตรงนั้นจนบัดนี้ (แผ่นที่ตำแหน่งอาจารย์โคะสิ้นบุญจะเผยแพร่หลังจากท่านอนุญาต)

    [​IMG]

    ตามประวัติเดิมมีคนทั่วไปเข้าใจว่า หลวงปู่ทวด สิ้นบุญที่ประเทศมาเลเซียนั้น แท้จริงแล้วคนๆ นั้น คือ “พระซินถัง” เป็นลัทธิซินถังที่มาเผยแพร่ลัทธิซินถังจากประเทศจีนในอดีต นุ่งผ้าซิ่น ไม่ได้ห่มจีวรไม่ใช่ศาสนาพุทธ พระซินถังคนนี้มีอายุ 89 ปี พูดภาษาจีน เดินทางมาจากฮ่องกง นั่งสมาธิแล้วสิ้นใจไปเอง ซึ่งจะมีรูปร่างสูงใหญ่คล้ายหลวงปู่ทวดจึงทำให้คนทั่วคิดว่า คือ หลวงปู่ทวด
    ในสมัยที่สมเด็จเจ้าพะโคะยังมีชีวิตอยู่ คนทั้งหลายนิยมเรียกว่า สามเณรปู เมื่อบวชเป็นพระแล้วก็เรียกว่า พระปู เมื่ออายุมากขึ้นก็เรียกว่า หลวงปู หรือ หลวงพ่อปู หรือ ท่านปู เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระเอกาทศรถ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เป็น สมเด็จเจ้าพะโคะ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า อาจารย์โคะ หรือ ท่านโคะ ตั้งแต่นั้นมา ส่วนชื่อที่เรียกว่า หลวงพ่อทวด หรือ หลวงปู่ทวด เป็นชื่อที่คนรุ่นหลังซึ่งท่านสิ้นบุญไปนานแล้วเรียกกัน จึงเรียกผิดและเพี้ยนไป เช่น หลวงปู่ทวด อาจจะฟังมาผิดๆ จากชื่อเรียกว่า หลวงปู หรือ หลวงพ่อปู หรือบางแห่งเรียกว่า หลวงพ่อทวด อาจจะเข้าใจว่าท่านแก่อายุมาก จึงเรียกอย่างนั้นผสมผสานกัน
    ต้นมณฑาสวรรค์ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 1-5 ดอก สีของดอกขาวนวล ผลอ่อนสีเขียวกลมยาวรี ผลสุกสีดำ แตกออกเยื่อข้างในเป็นสีขาวนวล เบาปลิวไปตามลม มีมากในภาคอีสานของไทย มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก เพราะสวรรค์ประทานมาให้เป็นเครื่องนุ่งห่มของมนุษย์ ต้นมณฑาสรรค์ คือ ต้นฝ้ายนั่นเอง
    สมเด็จเจ้าพะโคะ ท่านถือปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ได้บรรลุธรรมขั้น 2 สกิทาคามี ท่านมิได้เป็นพระศรีอริยเมตไตร ตามคำเล่าลือ
    พ่อท่านโคะไม่เคยเห็นดอกมณฑาสวรรค์ และไม่เคยมีใครเอาดอกมณฑาสวรรค์มาให้ท่านดู
    พระปูออกจากวัดแก้วจากกรุงศรีอยุธยาธุดงค์ไปอยู่ที่วัดพะโคะจังหวัดสงขลา ธุดงค์ต่อไปที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ไม่มีโอกาสมาอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเลย การเป็นพระครูกาแก้วของจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเป็นไปไม่ได้แน่นอน
    การปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 4 ขั้น คือ
    1.ขั้นโสดาบัน
    2.ขั้นสกิทาคามี
    3.ขั้นอานาคามี
    4.ขั้นอรหันต์
    การบรรลุขั้น 1 โสดาบันนั้น อาจจะกลับไปกลับมาได้ ส่วนการบรรลุธรรมขั้น 2 – 4 คือ สกิทาคามี อานาคามี อรหันต์ เป็นการบรรลุธรรมที่มั่นคงถาวร ไม่กลับไปกลับมา
    พระอาจารย์ที่บรรลุธรรมขั้นต่างๆ ที่รู้จักกันมีดังนี้
    1.สมเด็จเจ้าพะโคะ ได้ขั้น 2 สกิทาคามี
    2.พระครูกาแก้ว บุญศรี ได้ขั้น 2 สกิทาคามี
    3.หลวงพ่อคล้าย ได้ขั้น 2 สกิทาคามี
    4.หลวงพ่อโอภาสี ได้ขั้น 3 อานาคามี
    5.พุทธทาสภิกขุ ได้ขั้น 3 อานาคามี
    6.หลวงปู่กาแก้ว ได้ขั้น 4 อรหันต์ (มีชีวิตอยู่)
    7.พ่อท่านแก้ว (สร้างพระธาตุเมืองนคร) ได้ขั้น 4 อรหันต์ (มีชีวิตอยู่)
    8.พระครูเทพโลกอุดร ได้ขั้น 4 อรหันต์ (มีชีวิตอยู่)
    9.หลวงปู่โพรงโพธิ์ ได้ขั้น 4 อรหันต์ (มีชีวิตอยู่)
    10.พระแก้วมรกต ได้ขั้น 4 อรหันต์ (มีชีวิตอยู่)
    กุกุสันโท
    เป็นศาสนาแรกของโลก ศาสดา คือ “พระฤาษีตาไฟ”
    ได้ขั้น 4 อรหันต์ และ ยังมีชีวิตอยู่ นับถึงวันนี้ พ.ศ. 2555 ท่านอายุ
    ได้ 17, 635 ปี
    ยาแก้กลากเกลื้อน
    เป็นยาของสมเด็จเจ้าพะโคะใช้รักษานางประพา บุตรสาวคนสุดท้องของเจ้าเมืองปัตตานี
    หญ้าปราบ ไมยราบ ก้านพลู หมูนา ก้างปลา ใช้อย่างละเท่าๆ กัน ต้มกินและทา


    สำนักสงฆ์ต้นเลียบ
    เดิมชาวบ้านเรียกว่า สำนักสงฆ์ตาทวด ต่อมาเวลานานมากชาวบ้านเรียกสำนักสงฆ์ต้นเลียบตามชื่อต้นไม้ ว่าสำนักสงฆ์ต้นเลียบ ของเดิมนั้นลืมหมดแล้ว เพราะเวลานานมากตรงกันข้ามกับสำนักสงฆ์ต้นเลียบ ด้านทิศตะวันออกมีวัดอยู่วัดหนึ่ง ชื่อว่าวัดแก้ว เหตุที่ชื่อนี้เพราะผู้สร้างชื่อแก้วเป็นน้องของผู้สร้างวัดดีหลวง ซึ่งนายแก้วเรียกว่าพี่หลวงเหตุที่นายแก้วสร้างวัดแก้ว เพราะนายแก้วกับพี่ชาย คือพี่หลวงขัดกันอย่างรุนแรง จนต้องสร้างวัดทำบุญคนละแห่ง ไม่ทำบุญร่วมกัน ชาวบ้านจึงเรียกวัดแก้วว่า วัดเล็ก เพราะน้องเป็นผู้สร้างต่อมาพี่กับน้องปรองดองคืนดีกัน และดีกันอย่างใหญ่หลวง วัดแก้วกับวัดดีหลวงจึงรวมกันเหลือวัดเดียว คือวัดดีหลวง วัดแก้วจึงไม่มีพระสงฆ์อาศัยอยู่ เป็นวัดร้างตลอดมาระหว่างสำนักสงฆ์ต้นเลียบกับวัดแก้วมีทางเดินเหนือใต้ ปัจจุบันเป็นถนนลาดยางแบ่งวัดแก้วออกเป็นสองส่วน คือส่วนทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของถนน ส่วนทิศตะวันตกน้อยกว่าวัดแก้วมีห้วยน้ำแห้งทั้งเล็กและใหญ่ 5 แห่ง ห้วยน้ำแห้งชาวบ้านเรียกว่า “พัง” เหตุที่เรียกว่าห้วยน้ำแห้ง เพราะในฤดูแล้งน้ำจะแห้งเหลือน้อย ในฤดูฝนน้ำจะมาก
    เวลาใกล้ค่ำสามเณรยังไม่กลับหลวงปู่ทวดเป็นห่วงสามเณร จึงออกติดตามหาสามเณรจากสำนักสงฆ์ต้นเลียบเข้าไปในวัดแก้วหาจนทั่วไม่พบ หลวงปู่ทวดจึงเดินกลับ ไปล้างเท้าที่ห้วยน้ำแห้งใหญ่ ด้านทิศใต้ ขอบสูงเนื่องจากน้ำแห้งต้องลงไป ล้างเท้าเสร็จก็ขึ้นมา เดินพลาดที่ขอบห้วยล้มลงลำตัวท่อนบนฟาดกับขอบห้วย หลวงปู่ทวดตัวสูงใหญ่น้ำหนักมาก จึงทำให้กระดูกสันหลังส่วนสะเอวแตกและหัก ลุกขึ้นไม่ได้ หลวงปู่ทวดจึงตัดสินใจสิ้นบุญที่ตรงนั้น
    สามเณรเห็นว่าเวลาใกล้ค่ำแล้วจึงเดินกลับ มาพบหลวงปู่ทวดนอนสิ้นใจอยู่ที่ขอบห้วยน้ำแห้ง จึงเข้าไปกอดและร้องไห้ ต่อมาสามเณรจึงไปหาพี่ชาย ซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดดีหลวง สามเณรทั้งสองจึงนำขวานไป 1 เล่ม และนำหลวงปู่ทวดไปฝังซ่อนไว้ในป่าที่วัดแก้วจุดที่ฝังหลวงปู่ทวด จากขอบห้วยน้ำแห้งด้านทิศใต้ที่หลวงปู่นอนสิ้นใจอยู่ สามเณรทั้งสองหามหลวงปู่ไปทางทิศใต้ของขอบห้วย 5 วา แล้วหามต่อไปทางทิศตะวันออก 2 วา และฝังในป่าตรงนั้น หลุมฝังศพใช้ขวานขุด ใช้มือกอบโกยจนเป็นหลุม แต่ส่วนยาวน้อยไป เวลาฝังจะให้นอนตะแคงเท้าไปทางทิศตะวันออก ศีรษะลำตัวโค้งมาทางทิศใต้ ใช้ดินที่ขุดขึ้นมากลบ ใช้หญ้าและใบไม้ปิดบน เสร็จแล้วสามเณรทั้งสองจึงหนีไปอยู่ที่อื่นไม่มีร่องรอย นำมีดในย่ามหลวงปู่ไปด้วย ทางทิศใต้ของที่ฝังหลวงปู่มีพระพุทธรูปหินแก้วอยู่ 2 องค์ หลวงปู่เป็นผู้นำมาเป็นจุดบอกเหตุ (แผ่นที่ตำแหน่งอาจารย์โคะสิ้นบุญจะเผยแพร่หลังจากท่านอนุญาต)


    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพสำนักสงฆ์ต้นเลียบ หรือ สำนักสงฆ์ตาทวด


    อดีตชาติสมเด็จเจ้าพะโคะ (หลวงปู่ทวด)
    สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ เด็กชายปู มาจากสวรรค์ ชั้น 5 เมืองบุหงาสวรรค์ เป็นเทพบุตรผู้ปกครองเมืองบุหงาสวรรค์ ทรงพระนามว่า “พระเจ้าโภคา” เป็นคนโสด ขอมาอยู่เมืองมนุษย์ เป็นเวลา 80 ปี เพื่อสร้างบุญบารมีไปอยู่เมืองสวรรค์ ชั้น 6 ตอนลงมาอยู่เมืองมนุษย์ เทพศักดา มหาอำมาตย์ เทพบุตรผู้ใกล้ชิด ได้ถือลูกแก้วจากเมืองสวรรค์ ชั้น 5 มาให้ ใส่ให้ในฝ่ามือซ้ายตอนเกิดเมืองมนุษย์สมเด็จเจ้าพะโคะสร้างบุญบารมีได้ถึงสวรรค์ชั้นวิมาน หรือชั้น 17 แต่สมเด็จเจ้าพะโคะ ไม่ไปอยู่เมืองสวรรค์ ยังอยู่ดูแลมนุษย์ เพราะเห็นว่าเมืองมนุษย์ยุ่งยากลำบาก พบกับความทุกข์เข็ญหลายเรื่องนายหู กับ นางจัน บิดามารดาของสมเด็จเจ้าพะโคะ เสียชีวิตแล้วไปอยู่เมืองสวรรค์ ชั้น 5 เมืองตาลีบุต
    ลูกแก้วของหลวงปู่ทวด

    [​IMG]


    ปากพนังทำนาย
    14 กรกฏาคม พ.ศ.2555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2012
  2. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    ประวัติของหลวงปู่ทวดที่ท่านเล่าไว้ที่สำนักปู่สวรรค์ น่าจะเป็นองค๋จริงมากกว่าเพราะ.....เพราะที่นั่นทำงานระดับโลก (หลวงปู่ทวดยิ่งใหญ่มาก ย่อมไม่ทำงานระดับชาวบ้าน) ร่างทรงในอดีต จบแค่ป.4 องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์คเชิญเข้าร่วมประชุมเรื่องการลดอาวุธ ซึ่งไม่มีร่างทรงหรือใครที่ไหน จบแค่ป.4 กระทำได้ คือถ้าเป็นตัวท่านจริงต้องมีความอัศจรรย์ที่เป็นรูปธรรมให้คนเห็น เช่นแบบร่างทรงที่สำนักปู่สวรรค์

    ไปค้นคว้ากันเองที่สำนักปู่สวรรค์นะ เรื่องมันยาว
     
  3. aeiou1234

    aeiou1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +292
    ตอบ

    อาจารย์โคะ หรือ หลวงปู่ทวด ท่านมิได้เป็นพระที่ยึดติดกับยศศักดิ์ หรือระดับต่างๆ ถ้าสำเร็จดั่งเป้าหมายที่วางไว้ จะเอาข้อมูลที่มาเผยแพร่ให้มากกว่านี้ ตอนนี้ขอบอกไว้แค่นี้ก่อนละกัน
     
  4. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ประวัตินี้ท่านได้แต่ใดมา

    เราลูกศิษ์หลวงปู่ทวด เราทราบดีว่าเป็นอย่างไร แต่เราจะไม่ขอนำคำครูอาจารย์มากล่าวอ้าง เราขอกล่าวอ้างในวิบากกรรมวิถี แห่งการมาสร้างกุศลสร้างบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ ว่า ด้วยพุทธทำนายและบุญวาสนาเดิม พระโพธิสัตว์ จะต้องมีประเพณีปฏิบัติ การแสวงบุญ การธุดงค์ การโปรดสรรพสัตว์ ตลอดจนการสิ้นอายุไขดับละสังขารย่อมเป็นไปอย่างโพธิสัตว์ ด้วยสภาวะจิตที่ทรงตั้งอยู่ในสมาธิญาณสมาบัติ และด้วยเดชะบุญบารมี ว่าด้วยร่างสังขาร ย่อมจะต้องถูกดูแลปฏิบัติเป็นอย่างดี แม้องค์อินทร์และเทวดายังต้องเป็นอุปถากดูแลรับใช้ อยู่เป็นปกติวิสัยครับ

    สิ่งที่ท่านรับมาอาจเป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉามโนมยิทธิ มิจฉาญาณรู้แจ้งในบุพกรรม อตีตังสญาณที่เสื่อมถอย ขอท่านพึงฟังหูไว้หู ด้วยขอรับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2012
  5. aeiou1234

    aeiou1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +292
    ถ้าข้อมูลผิดจริง น้อมรับในสิ่งที่ผิด แต่ความจริงก็คือความจริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...