หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี เอามาให้อ่านครบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย cap5123, 12 มีนาคม 2009.

  1. cap5123

    cap5123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +85
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]
    ชีวประวัติ
    หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี

    <HR>หลวงปู่คำคะนิง
    <DD>เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 4 ปีกุน พุทธศักราช 2437 เป็นชาวบ้านหนองบัว แขวงคำม่วน ทางตอนเหนือเวียงจันทน์ แห่งราชอาณาจักรลาว โยมบิดาชื่อ คุณพ่อคินทะโนราช โยมมารดาชื่อ คุณแม่นุ่น หลวงปู่ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกันทั้งหมด 5 คน ซึ่งหลวงปู่ท่านเองก็เป็นคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้ง 5 คน ปัจจุบันได้เสียชีวิตทั้งหมดซึ่งหลวงปู่ป่านได้มรณภาพเมื่อ วันพุธที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2528 เวลา 11 นาฬิกา 13 นาที รวมพรรษาทั้งหมดได้ 47 พรรษา แบ่งเป็นพระฤาษี 15 ปี อยู่ในร่มผ้ากาสาวพัสตร์ 32 พรรษา
    ชีวิตสมัยยังเป็นฆราวาส


    <DD>ชีวิตของท่านก็หมุนไป เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพชีวิตของท่าน ผ่านประสบการณ์ในลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งไม่ว่าใครชีวิตใด ๆ ในโลกนี้ ก็ต้องเผชิญและผ่านอุปสรรคและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีทั้งความคล่องตัวบ้าง ความติดขัดบ้าง ความเป็นไปอย่างราบรื่น แต่ชีวิตของท่านก็ต้องเผชิญต่อสู้ ดิ้นรนเพื่อแสวงหามุ่งกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้สัมฤทธิ์ผลตามที่ท่านปรารถนา ถึงแม้จะต้องใช้ความเพียรพยายาม บากบั่น ตามเหตุปัจจัย ที่จะอำนวยส่งผลให้ชีวิตของท่าน ตั้งแต่อายุ 18 ปี ท่านก็มีครอบครัว มีบุตรด้วยกันสองคน ทำมาหากินดิ้นรนไปตามทางโลก ซึ่งมีการเอารัดเอาเปรียบมีพรรคมีพวก ชอบเห็นแก่ตัว เพื่อความอยู่รอด ชีวิตของท่านได้เป็นหัวหน้ากรมโยธา ซึ่งในขณะนั้นประเทศลาวอยู่ในความดูแลของประเทศฝรั่งเศสอยู่ วิถีชีวิตของท่านย่อมผันแปรไปตามผลของวิบากกรรมของท่าน ที่ทำมาแต่ในปางอดีตชาติ ในที่สุดชีวิตของท่านก็ต้องผันแปรไปตามกาลเวลา จนในที่สุดก็ได้หันเปลี่ยนมายึดอาชีพค้าขาย และแล้วความเบื่อหน่ายในวิถีของชีวิต ของการเป็นฆราวาสก็เกิดขึ้นในจิตของท่าน ทำให้ท่านคิดถึงชีวิตนี้เกิดมาช่างเป็นทุกข์หนอ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ดังความพึงพอใจในสิ่งที่ท่านปรารถนาหมายมั่นในฐานะอย่างโลก ถึงจะได้มีเป็นขนาดไหนก็ไม่มีพ้นทุกข์ มีทุกข์อยู่เพราะเข้าไปยึดถือติดหลงในสิ่งที่ตนอยากได้อยากมี เมื่อไม่สมหวังหรือพลัดพรากจากไปไม่สมใจที่นึก ก็ทำให้ทุกข์ทั้งกายและใจ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่จีรังยั่งยืน มีความเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ของโลกทุกอย่างทุกชนิด ในการได้มีเป็นลาภ ยศ เกียรติ สรรเสริญหรือความสุขทางเนื้อหนังใด ๆ ทั้งปวงในสารวัตถุแห่งโลก อารมณ์ไม่มีความยั่งยืน ไม่เที่ยงแท้มันช่างเป็นทุกข์หนอ ทนสภาพอยู่ยาก ไม่อยู่ในอำนาจของใจเราจริง ๆ เราไม่อยากพบก็ต้องได้พบ เราไม่อยากพรากก็ต้องได้พราก เราไม่อยากประสบก็ต้องประสบ เมื่อถึงกาลเวลา นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นแก่สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ แม้ตัวเราก็ต้องไปสู่ความแก่ เจ็บ และตาย มีการพลัดพรากจากพ่อแม่ พี่น้อง ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เมื่อท่านมาพิจารณาเห็นแล้ว ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรสักอย่าง จึงหันเข้ามาคิดถึง คุณของบิดาคุณของมารดาผู้ที่ให้กำเนิด มีอยู่แก่ท่านมากมายไพศาลนักหนา ท่านจึงคิดที่จะหาทางตอบแทนพระคุณของบิดามารดา ท่านที่มีพระคุณต่อท่านคำคะนิง เพื่อจะใช้หนี้แทนค่าข้าวป้อนและน้ำนม ที่ได้อุ้มท้องและอุปถัมภ์บำรุงรักษามาแต่ในครรภ์ ท่านจึงได้ไปปรึกษากับภรรยาของท่าน เรื่องจะขอบวชเป็นเณรสัก 7 วัน เพื่อทดแทนพระคุณของบิดาและมารดา ที่ให้กำเนิดตนขึ้นมาด้วยการบวชตามขนบประเพณี
    คิดเช่นนั้น จึงหารือกับภรรยาขอบวชเป็นเณรตอบแทนพระคุณพ่อผู้ให้ชีวิต พระคุณแม่ที่ให้น้ำนม ถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูตั้งแต่เกิดจนเติบใหญ่ ภายหลังท่านต้องทุกข์ทรมาน อุ้มท้องมา 8 - 9 เดือน ภรรยาเห็นสามีขอบวชเณรเพียง 7 วัน ก็ไม่ขัดข้อง ยิ่งเป็นการบวชเพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดรด้วยควรโมทนา ระหว่างบวชเณรอยู่นั่นเอง คืนหนึ่งท่านฝันเห็นมารดา ซึ่งเสียชีวิตไปแล้วมากล่าวอานิสงส์
    <DD>"ลูกแม่บวชอุทิศส่วนกุศลให้แม่กับพ่อสมควรยิ่ง ลูกอย่าได้สึกเลย เวลานี้แม่กำลังได้รับทุกขเวทนามาก เพราะกรรมที่ทำไว้ในสมัยเป็นมนุษย์กำลังถูกจ่านิรยบาลคุมขังทรมาน ชดใช้กรรม แม่รับกรรมมานานเต็มที พอลูกบวชแม่ก็ได้รับลดหย่อนผ่อนโทษลง พ้นทุกข์ทรมานแล้วเพราะอานิสงส์การบวชเณรของลูกคราวนี้เอง ลูกอย่าสึกเลยนะ เพื่ออานิสงส์ของลูกจะได้ส่งให้แม่ได้รับผลสูงขึ้นไปอีก"
    <DD>ในฝันแม่เพียรอ้อนวอนไม่ให้สึกด้วยน้ำตาจนกระทั่งท่านตกใจตื่น ทบทวนความฝันว่าน่าจะเป็นจริง เพราะจากการบวชการเรียนแม้เพียงไม่กี่วัน แต่ครูบาอาจารย์ก็สอนเรื่องบุญเรื่องกรรม สอนถึงการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำบุญทำความดีขึ้นสวรรค์ชั้นฟ้า ทำชั่วทำบาปหยาบหนา ก็ตกนรกอเวจีหลายกัปหลายกัลป์ การบวชของลูกหลานที่แผ่กุศลให้บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ หรือครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณนั้น เป็นอานิสงส์ส่งผลถึงผู้ล่วงลับไปแล้วจริง ผ้าเหลืองของลูกเหมือนสายป่าน ที่หย่อนลงไปในนรกฉุดดึงบิดามารดา ซึ่งทำบาปทำกรรมไว้มาก สมัยมีชีวิตให้หลุดพ้นจากทุกข์ทรมานได้ ถ้าอกุศลกรรมที่บิดามารดาทำไว้ ไม่ร้ายแรงบดบังจนไม่เห็นผ้าเหลืองของลูก "ถ้าเราสึกภายในเจ็ดวันก็ยังไม่ทันจะสร้างกุศลบารมีให้แรงกล้า ช่วยพ่อแม่ได้รับความสุขสมบูรณ์ ควรบวชต่อไปตามที่แม่ขอร้อง"
    <DD>คิดดังนั้น เช้ารุ่งขึ้นสามเณรคำคะนิงก็ไปที่บ้านเล่าความฝันให้ภรรยาฟังตั้งแต่ต้นจนสุดท้าย "เณรขอบวชต่อไปอีกนะ" สรุปกึ่งขออนุญาต ภรรยาหน้าซึมเศร้าลงเห็นได้ชัด พูดเสียงเครือเคล้าสะอื้นน้อย ๆ "เณรคิดจะช่วยพ่อแม่ที่ตายแล้ว ไม่ได้คิดช่วยลูกตาดำ ๆ ที่ยังเล็กอยู่ มีชีวิตอดอยากปากแห้งนี่บ้างหรือ ฉันเองก็ทำมาหากินได้ไม่เหมือนเณร ที่แข็งแรงมีสติปัญญาสูงกว่ามาก เณรบวชก็สุขสบายไม่ต้องทำมาหากินอะไร แต่ลูกเมียทุกข์ทรมาน ไม่เป็นการเอาตัวรอดแต่ผู้เดียวหรือ" จะว่าคัดค้านไม่ยอมให้บวชต่อก็ไม่ชัดนัก จะว่าสนับสนุนให้บวชยิ่งไม่ใช่ใหญ่ เป็นเพียงคำถามให้ผู้มีปัญญาอย่างสามเณรคำคะนิง นำไปคิดหาคำตอบที่ถูกต้องเอาเอง ท่านคำคะนิงนิ่งคิดครู่หนึ่ง ก็หาคำตอบได้ด้วยการเสนอ "เมื่อเธอบอกว่าเณรบวชต่อไป เธอกับลูกจะลำบาก เพราะขาดพ่ออุปการะเลี้ยงดู เณรจะหาพ่อให้กับลูกแทนเณรดีกว่าเณร ทำมาหากินเก่งกว่าเณรเอาไหม" เมียได้ยินก็กอดลูกน้อยร้องไห้ อย่างไม่อดกลั้นอีกต่อไป รำพึงรำพันด้วยความน้อยใจว่า พูดราวกับเมียไม่มีหัวใจ ไม่มีความรู้สึก การมีผัวใช่จะเพียงให้ทำมาหาเลี้ยงอย่างเดียว ต้องมีความรักความผูกพันกันมาอีก อย่างลูก ๆ จะสุขสบายในชีวิตของการมีพ่อเลี้ยง เหมือนกับพ่อตัวเองก็หาไม่ จึงอยากให้เณรคิดลึกซึ้ง อย่าแก้ปัญหาเพียงปัดสวะให้พ้น ๆ อย่างนี้ เมียยกเหตุ ยกผลมากมาย จนสามเณรคำคะนิงไม่อาจบวชเป็นสามเณรต่อไปได้ จากรับผิดชอบสำนักชีวิตของเมียและลูกน้อย 2 คน
    <DD>จึงสึกออกมาทำมาหากิน ส่งเสียเลี้ยงดูครอบครัวอีกวาระหนึ่ง แต่เพียงทำหน้าที่หาเงินเลี้ยงดูเท่านั้นไม่ได้หลับนอนกับภรรยาเหมือนคู่ผัวเมีย หมายถึงทำงานหาเงินให้เมียกับลูกตอนกลางวัน พอกลางคืนก็ไปนอนที่วัดถือศีล ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญเพียรภาวนาไม่กลับไปอยู่บ้าน เพียงดูแลลูกเมียไม่ให้อดไม่ให้อยาก ขาดแคลนข้าวปลาอาหารและเงินทอง "พี่ขอถือศีล ปฏิบัติธรรมเหมือนกับยังบวชเพื่ออุทิศบุญกุศลช่วยพ่อแม่ที่ลำบากอยู่ในภพภูมิอื่น" นี่คือเหตุผลที่เขาบอกกับภรรยา แม้จะได้รับการอ้อนวอนให้กลับไปอยู่บ้าน เพื่อความอบอุ่นของเมียและลูกอย่างไร คำคะนิงก็ไม่ยอม คงทำหน้าที่หาเงินเลี้ยงดูภรรยาส่งเสียบุตรร่ำเรียนวิชาหาความรู้ เติบโตช่วยแม่ทำมาหากินตามหน้าที่ของพ่อ ถูกปล่อยให้อยู่คนเดียว ไม่มีอ้อมอกให้ซุก ไม่มีความสุขทางกายตามธรรมชาติ ภรรยาของคำคะนิง ก็เริ่มเบื่อหน่ายหมดอาลัย หมดความหวัง ความอบอุ่น และความสุขทางโลกีย์กับเขา แล้ววันหนึ่งภรรยาก็บอกอย่างสุดอดทน "พี่ทำเป็นคนครึ่งวัด ครึ่งบ้านมานานแล้ว ลูกโตพอช่วยทำการทำงานแทนพี่ได้แล้ว ถ้าพี่จะไปอยู่วัดบวชเสียเลยก็เชิญได้ สิ้นห่วงสิ้นใยกันเสียที" น้องแน่ใจหรือที่พูดอย่างนั้น "แน่ที่สุด พี่จะบวชก็บวชเถอะ ไม่ต้องห่วงครอบครัวอีกต่อไปแล้ว ลูกโตช่วยทำงานได้แล้ว" เมียยืนยันเช่นนั้น ท่านปรารถนาตัดทางโลกมุ่งทางธรรม เพื่อมุ่งหวังจะปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริงคราวนี้
    <DD>ท่านคำคะนิงจึงกลับไปยังวัดที่ตนเคยบวชเณรอีกครั้ง เพื่อพักอาศัยปฏิบัติธรรม อยู่ต่อมาไม่นานท่านก็ได้เพื่อนสหมิกธรรมร่วมอีกสองคน จึงมีความดำริว่า เราควรจะออกแสวงหาครูบาอาจารย์กันดีกว่า เมื่อตกลงใจพร้อมกันแล้ว รุ่งขึ้นจึงได้เดินทาง ในระหว่างทางนั้นเอง ก็ได้รับคำแนะนำจากผู้รู้แนะนำให้ไปหาอาจารย์สีทัด เมืองท่าอุเทน แต่ผิดหวังอีก ท่านอาจารย์สีทัดก็แนะนำไปหาอาจารย์เหม่ยดีกว่า เขาเก่ง อาจารย์สีทัดกล่าวเช่นนั้น จึงกราบลาไปหาอาจารย์เหม่ยขอถวายตัวศิษย์ พร้อมเล่าความเป็นมาของชีวิตโดยตลอด อาจารย์เหม่ยนิ่งฟังแล้วก็พูดเสียงน่ากลัว "ได้ ถ้าจะมาเป็นศิษย์เรา แต่พวกเจ้าที่มาหาอาจารย์ทั้งสามคนนี้ จะต้องตายหนึ่งคน มีใครกลัวตาย" อาจารย์เหม่ยชี้ถามทีละคน เพื่อนทั้งสองที่มาก็รับตรง ๆ ว่ากลัวตาย กระทั่งถึง "คำคะนิง" นิ่งเงียบไม่ตอบ อาจารย์จึงถามซ้ำว่า เจ้าไม่กลัวตายหรือ ก็ได้รับตอบอย่างอาจหาญไม่กลัวตาย เจ้าสองคนกลัวตายจงกลับไป ส่วนเจ้าที่ไม่กลัวตายอยู่ได้ แต่บอกเสียก่อนนะมีทางตายจริง ๆ คำคะนิงจึงอยู่เรียนวิชากับอาจารย์เหม่ย ทุกข์ทรมานอย่างที่สุด อาหารที่กินมีแต่ข้าวตากแห้ง เวลานอนก็ไม่ได้นอนสบาย ต้องใช้ลูกมะพร้าวต่างหมอนเผลอเป็นหัวกระแทกพื้น แล้วก็มีการตายเกิดขึ้นจริง ๆ ดั่งที่อาจารย์เหม่ยกล่าวเกริ่นในการคัดเลือกลูกศิษย์

    ผ่าท้องชำแหละเนื้อ

    <DD>เหตุเกิดการตายในสำนักอาจารย์เหม่ย ที่หลวงปู่คำคะนิงไปศึกษาวิชาสมัยหนุ่ม ๆ ก็เพราะหลังจากอาจารย์ยอมรับท่านไว้เป็นศิษย์ ไม่นานนักก็มีชายผู้แสวงหาวิชาอีกคน และไม่กลัวตายตามเงื่อนไขอาจารย์มาร่วมเรียนวิชาด้วย ชายผู้มาตอนหลัง ใจสู้จริงแต่สังขารไม่สู้ เมื่อตอนกินเพียงข้าวตากพอประทังชีวิต ไม่อิ่มหนำสำราญเอร็ดอร่อย การหลับนอนต้องหนุนลูกมะพร้าว ผล็อยหลับเป็นลื่นหล่น ทำให้ไม่หลับตลอดคืนและทุกคืน
    <DD>สังขารไม่แข็งแรง เจอการกินไม่ได้นอนไม่หลับ ทับเข้าไปอีก ที่สุด ชายผู้มาใหม่ก็นั่งสมาธิตาย เพราะความอ่อนเปลี้ยเพลียแรงสิ้นกำลังวังชา หัวใจไม่ยอมเต้น "เอาศพเข้าไปในป่า" คำอาจารย์บัญชา "คำคะนิง" แล้วทั้งศิษย์กับอาจารย์นั้น ก็นำศพเข้าป่าลึกโดยลูกศิษย์เป็นคนแบก เพียงคนเดียวเดินข้ามเขาทั้งลูก เป็นระยะทางก็หลายกิโลเมตร ก็ถึงที่ ๆ ต้องการ ท่านอาจารย์ก็มีคำสั่งให้ท่านคำคะนิง "มัดไว้กับต้นไม้นั้น" อาจารย์สั่งเมื่อเห็นทำดีแล้ว คำคะนิงก็จัดการเอาศพยืนพิงต้นไม้ เอาเถาวัลย์ในป่ามามัดในท่ายืนจนเรียบร้อย "เจ้าจงเดินเพ่งศพนี้ วนรอบพิจารณาไปเรื่อย ๆ อย่าหยุดทั้งวันทั้งคืน จำไว้นะพิจารณาในอสุภกรรมฐาน อย่าหยุดกระทั่งเช้าค่อยพบกัน" อาจารย์เหม่ยสั่งแล้วกลับสำนัก ปล่อยให้คำคะนิงปฏิบัติอสุภกรรมฐาน กับศพจริง ๆ เพียงคนเดียวในป่าลึก ที่สงัดและมืดเปลี่ยว ถ้าใจไม่กล้าแข็งพอคงอยู่กับศพในลักษณะนั้นไม่ได้แน่
    <DD>เพราะความมืดเป็นบ่อเกิดแห่งความกลัวสารพัด โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่า.....ผี.....ผี แต่คำคะนิงผู้ยึดในศีลธรรม ตั้งมั่นที่จะร่ำเรียนเพียรบำเพ็ญธรรม ให้บรรลุถึงจุดสุดยอด คือพระนิพพาน บำเพ็ญธรรม ให้บรรลุถึงจุดสุดยอด คือพระนิพพานไม่คลอนแคลน ก็ปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์อย่างไม่บิดพริ้วหรือหลบเลี่ยง คนที่ไม่มีจุดมั่นของตนแน่วแน่ อาจารย์สั่งแล้วกลับเช่นนั้น อาจหนีไปนอนที่ไหนให้ห่างไกลศพ เพราะความกลัวหรือเกียจคร้านก็ย่อมได้ อาจารย์ไม่ได้เฝ้าอยู่ บอกทำตามสั่งแล้วก็สิ้นเรื่อง อาจารย์จะรู้ได้อย่างไรว่าเราทำหรือไม่ทำ "คำคะนิง" เดินวนรอบศพพิจารณาอสุภกรรมบานตามที่ร่ำเรียนมา ซึ่งมีอยู่ 10 อย่าง ในบรรดาพระกรรมฐาน 40 ทัศ ที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะไว้ ซึ่งหลวงปู่ท่านได้ให้ข้ออธิบายอย่างละเอียดดังนี้


    <DD>1. อนุสสติ 10
    <DD>2. อสุภ 10
    <DD>3. กสิณ 10
    <DD>4. พรหมวิหาร 4
    <DD>5. อรูปนาม 4
    <DD>6. ธาตุววัตถาน 1
    <DD>7. หาเรปฏิกูลสัญญา 1


    <DD>รวมทั้งหมดก็จะได้ 40 อย่าง และในช่วงนี้หลวงปู่ท่านก็จะอธิบายโดยเฉพาะในพระกรรมฐานในข้อที่ว่าพิจารณาอสุภ และพิจารณาร่างกายเป็นของสกปรก ไม่สวยไม่งามควบคู่กัน ซึ่งกรรมฐานกองนี้สอนเฉพาะในร่างกายเท่านั้น ให้มีความเบื่อหน่ายในร่างกาย ว่าความเกิดมันเป็นทุกข์ ถ้าเกิดแล้วมีแก่ มีเจ็บ มีป่วยไข้ไม่สบาย มีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีความปรารถนาไม่สมหวัง มีความตายไปในที่สุด ถ้าเอาจิตไปเกาะจิตมันก็เป็นทุกข์ เอาจิตเข้าไปเกาะในร่างกาย ก็แสดงว่าเราไม่พ้นจากโลกธรรม ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ก็แสดงว่าเรายังรักโง่เกลียดดี ถ้าเรารักดีเกลียดโง่ก็ต้องทิ้งวัฏฏะ
    <DD>การทิ้งวัฏฏะก็คือการทิ้งขันธ์ห้า คือร่างกายเท่านั้น การพิจารณาร่างกายนั้น พระอรหันต์ทุกองค์จะต้องผ่าน หมายความว่าท่านที่เป็นอรหันต์จะต้องผ่านกรรมฐานกองนี้ ถ้าไม่ผ่านกองนี้ทั้งหมดจะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ กรรมฐานกองสำคัญนี้ก็คือกองที่ชื่อว่า "กายคตานุสสติกรรมฐาน" มีการพิจารณากายร่วมกับอสุภกรรมฐาน สองอย่างควบกัน การที่พระพุทธเจ้าพิจารณากายว่า มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก และน้ำเลือด น้ำหนอง ที่มันมีอยู่ในกาย ความจริงร่างกายไม่ใช่เป็นเป็นแท่งทึบ มันเป็นโครง ภายในเต็มไปด้วยจักรกล จักรกลนี้เป็นเรื่องสำคัญที่องค์สมเด็จพระภควันต์ให้พิจารณาว่ารายกายนี้มันมีสภาพเที่ยงหรือไม่เที่ยง ถ้าเที่ยงจิรงมันย่อมมีการทรงตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายของเราเที่ยงไหม นึกดูถ้าเราเที่ยงจริง เมื่อเกิดมาร่างกายเราเป็นเด็กมันก็ต้องไม่โต เรายังพูดภาษาที่ชาวบ้านเขาพูดกัน เรายังพูดไม่รู้เรื่อง มันก็ต้องยังพูดไม่ได้ เกิดวันแรกเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น เวลานี้เรากับเด็กมีสภาพเหมือนกันไหม มันไม่เหมือนแล้ว มันโตกว่า พูดรู้เรื่อง ทำงานได้ทุกอย่าง รับผิดชอบดีไม่ดีก็ไม่ตัวตัวคนเดียว มีสามีภรรยา มีบุตรธิดา แสดงว่าร่างกายมันมีสภาพไม่เที่ยง สภาพความเป็นเด็กหาย ความเป็นผู้ใหญ่เข้ามาถึง บัดนี้มันไม่เที่ยงแล้ว ไม่เที่ยงมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์นี้เป็นอริยสัจ มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ร่างกายมันเต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะอาศัยความไม่เที่ยงมันจึงเป็นทุกข์ ถ้าอาการเที่ยงถ้ากินข้าวอิ่มเดี๋ยวมันก็ต้องไม่มีอาการหิว นี่กินแล้วเดี๋ยวหิวใหม่ อาการหิว มันเป็นความทุกข์ กินข้าวแล้วมีอาการปวดอุจจาระ ปัสสาวะ การปวดอุจจาระ ปัสสาวะมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ การปวดปัสสาวะก็เป็นความทุกข์ การป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นทุกข์ มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ท่านก็ต้องว่า บัดนี้เราเกิดขึ้นมาแล้ว มีความปรารถนาไม่สมหวังอยากได้อะไรไม่ได้ตามใจนึก แสวงหาธรรมะทุกอย่างไม่ได้ตามปรารถนา อาการนี้มันเป็นทุกข์ ถ้าเราเกาะอยู่มันก็ไม่ทุกข์ ถ้าชีวิตเราใกล้จะตายมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ มันก็เป็นอาการของความทุกข์ ร่างกายของเรามีขึ้นมาก็เพราะอาศัยเหตุ คือ ปัจจัยให้เกิด ความทุกข์ ไม่ใช่เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ ร่างกายเป็นทุกข์ ร่างกายมีอะไรอีก ร่างกายก็เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก น้ำเลือดน้ำเหลืองน้ำหนอง อุจจาระปัสสาวะเป็นต้น เราเห็นว่ามันสกปรากหรือว่ามันสะอาด อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองในร่างกายเรา จะเห็นว่าร่างกายมันสะอาดได้อย่างไร ทีนี้สิ่งทั้งหลายภายนอก เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ อย่างนี้เป็นต้น เอาเฉพาะหนังไม่ต้องถึงเนื้อ มันอยู่ภายนอก ที่เราเห็นความสวยสดงดงาม มันก็แค่หนังกำพร้า ที่มันหลอกตาเราเราชอบหลอกตัวเอง ร่างกายของเราเต็มไปด้วยความสกปรก เวลาที่จะโชว์ก็อาบน้ำอาบท่า ชำระร่างกายขัดสีฉวีวรรณ เอาโน่นมาแต้มนิด เอานี่มาแต้มหน่อย ทาโน่นนิดทานั่นหน่อย หวีผมเสียให้เรียบร้อย เอาผ้าที่สีสวย ๆ เข้ามาแต่งร่ายกายแล้วก็ไปส่องกระจก แล้วมาชมตัวเองว่าสวย นี่เราก็มานั่งโกหกตัวเอง โกหกชาวบ้านมันจะสวยที่ไหน ในเมื่อร่างกายของเรามีสภาพเหมือนกับส้วมเดินได้ ภายในเหมือนส้วมแล้วเราเห็นว่าส้วมสะอาดหรือส้วมสกปรกนี้ เป็นอันว่าร่างกายของเราเต็มไปด้วยความสกปรก
    <DD>กายคตานุสติกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายเป็นชิ้นเป็นท่อน เป็นอันไม่เป็นแท่งทึบ อสุภกรรมฐานบวกเข้ามาเห็นว่าร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรกโสมม นี่เป็นของจริงต้องพิจารณาสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ให้เป็น เอกัคตอารมณ์ คำว่าเอกัคตอารมณ์แปลว่า อารมณ์เดียว นั่งอยู่ นอนอยู่ เดินอยู่ จะเป็นเวลาไหนก็ตามจิตใจเห็นอยู่เสมอว่า ร่างกายเป็นแต่เพียงเต็มไปด้วยความทุกข์ ร่างกายเต็มไปด้วยความ สกปรก มีตับ ไต ไส้ ปอด มีอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเหลือง น้ำหนอง อยู่ภายในร่างกายนี้
    <DD>องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้เราหาความจริงจากกายให้พบ อันนี้แหละเป็นกรรมฐาน ถ้าเราปฏิบัติกองนี้กองเดียว จนจิตเป็นเอกัคตอารมณ์ เรื่องการเป็นพระโสดาสกิทาคาอานาคา อรหันต์ มันก็เป็นของไม่ยากมันจบแค่กองนี้กองเดียวเท่านั้น ถ้าเราเอาจริง ๆ ร่างกายของเราเองก็แสนจะที่รังเกียจ แล้วร่างกายของคนอื่นล่ะ ถ้าเรารังเกียจร่างกายของเราเอง ไปรักร่างกายของคนอื่นก็น่ากลัว
    อสุภ คือ ซากศพซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

    <DD>1. อุทธุ มาตกะ คือซากศพที่เน่า พองขึ้น (กำลังขึ้นอืด เบ่งตัว หน้าตาโปนออก)
    <DD>2. วินิสกะ ซากศพที่มีสิ่งต่าง ๆ เจือกัน (เขียว เหลือง แดง เหลืองเน่า)
    <DD>3. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำหนองไหล น้ำหนองเจือ น้ำเหลืองกำลังไหลซึบซาบ ออกตามทวารต่าง ๆ
    <DD>4. วิอิททกะ ซากศพที่ขาดเป็นท่อน เป็นชิ้น เป็นอัน (หลุดออกกระจายออกไปคนละแห่งหน กลิ่นเหม็นคลุ้ง)
    <DD>5. วิกขายัตตกะ ซากศพอันสัตว์ทั้งปวงมีสุนัข เป็นต้น กำลังกัดกินหรือแร้งจิก อีกากำลังแย่ง ดึงกันไปคนละแห่งหน
    <DD>6. วิกขัตตกะ ซากศพอันทิ้งไว้เรียงรายกระจัดกระจาย ศพไม่มีญาติเขานำไปทิ้งไว้นอนคว่ำ นอนหงาย กระดูกเก่า ๆ ใหม่ ๆ กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาด
    <DD>7. หตขิตตกะ ซากศพบุคคลผู้ก่อเวรแล้วมีมนุษย์สับฟันด้วยเครื่องศาสตราต่าง ๆ เป็นรอยมีดขีดเป็นทางไปตามตัว สั้น ๆ ยาว ๆ แผลลึก ๆ ตื้น ๆ ยาว ๆ หั่นเกือบจะขาดออกก็มี
    <DD>8. โลหิตกะ ซากศพที่แปดเปื้อนด้วยเลือดเอิบอาบ มีเลือดติดอาบอยู่ตามทั่วตัวเหมือนคนชำแหละ แล่เนื้อ มือเต็มไปด้วยเลือด มีกลิ่นคาว
    <DD>9. ปุฬวกะ ซากศพที่เต็มไปด้วยหนู หนอน กำลังกิน (มีหนอนสีขาว สีดำ สีเหลืองตัวสั้นยาว กำลังจุกเต็มหูตาปาก ยุ่บยั่บ ๆ เต็มส่วนของร่างกายประหนึ่งเหมือนรังแหที่ขาดเป็นช่อง)
    <DD>10. อัฏฐิกะ ซากศพเหลือแต่ร่างกระดูก (มีกระดูกหลุดจากกัน ใกล้ ๆ บ้าง ปรากฏเป็นข้อ ๆ ท่อน ๆ สีขาว สีเหลืองเรื่อ ๆ สีต่าง ๆ ทิ้งเกลื่อนกลาดทั่วไป)

    <DD>อสุภ 10 นี้ เมื่อเจริญมากเข้าเกิดอุคคหนึ่งในบางจิตก็เกิดนิพิทาโทมนัส เบื่อหน่ายโดยความไม่พอใจ กลายเป็นฟุ้งซ่าน หาสังขารที่พึ่งอาศัยไม่ได้ บางคราวถึงจะกินข้าวไม่ลง รับอาหารไม่ได้ จึงต้องมีสติระลึกรู้ตลอดเวลา
    หลวงปู่คำคะนิง ท่านก็ปฏิบัติตามคำสั่งและคำสอนของอาจารย์เหม่ย ด้วยการเดินพิจารณาศพวนรอบต้นไม้ทั้งวันทั้งคืน กระทั่งรุ่งเช้า จึงกลับไปยังสำนักตามอาจารย์กำหนด และถูกถามประโยคแรก "เป็นยังไง"
    <DD>"ศพนั้นก็เหมือนตัวศิษย์ครับอาจารย์ ไม่มีอะไร แตกต่างกันตรงไหนเลย"
    <DD>"กลัวไหม"
    <DD>"ไม่กลัวครับเพราะเขาก็เหมือนเรา เราก็เหมือนเขา"
    <DD>อาจารย์ไม่ซักต่อไปอีก สั่งให้เขาเอามีดไปเล่มหนึ่ง แล้วทั้งสองก็ย้อนกลับไปยังศพที่มัดทิ้งไว้กับต้นไม้ในป่านั้น พอถึงก็สั่งศิษย์ตัดเถาวัลย์แก้ศพออกจากต้นไม้วาง
    <DD>"ราบพื้นดิน"
    <DD>ผ่าท้องออกทีละชิ้นว่า อวัยวะภายในมีอะไรบ้าง ตรงตามกรรมฐานไหม หยิบอะไรออกมาต้องบอกให้ได้ยินด้วย แล้วอาจารย์ก็ถอยห่างให้
    <DD>"คำคะนิง" ชำแหละศพ ตัดหัวใจ ตับ ปวด ไต กระเพาะ ฯลฯ ออกมาทีละชิ้นแล้วขานชื่อดัง ๆ จนครบถ้วน
    <DD>"ดีมาก ชำแหละเนื้อลอกออกเหลือแต่กระดูก" อาจารย์สั่งต่อและนั่งดูอยู่จนเสร็จเรียบร้อย "เอากองเนื้อกับเครื่องในไปเผาให้หมด เอากระดูกรวมไว้ต่างหาก ต้มล้างให้สะอาด เหลือแต่กระดูกล้วน ๆ อย่าให้มีอะไรติดอยู่" เมื่อปฏิบัติตามเรียบร้อย อาจารย์ก็สั่งต่อ "เอากระดูกทั้งหมดมาร้อยเป็นรูปร่าง แล้วนับดูซิมีกี่ท่อน"
    <DD>คำคะนิงเหน็ดเหนื่อย เลอะเทอะเปรอะเปื้อนด้วยน้ำเลือด น้ำเหลือง อย่างไร กลิ่นศพเหม็นขนาดไหน เนื้อหนังถูกไฟเผา กลิ่นชวนปานใดก็อดทนทำไม่ย่อท้อ กระทั่งร้อยกระดูกเป็นรูปร่างและนับชิ้นรายงานอาจารย์ "กระดูกทั้งหมดมีสองร้อยแปดสิบท่อนครับอาจารย์" เพราะมีกระดูกไม่ครบนี้เอง จึงต้องตายระหว่างปฏิบัติธรรม อาจารย์เหม่ยอธิบายต่อ คนที่จะบรรลุธรรมด้วยความเพียรบำเพ็ญได้ ต้องมีกระดูกครบสามร้อยท่อน กระดูกคือพระวินัย เนื้อหนังมังสาเป็นพระวินอก ส่วนระเบียบคือ หู ตา จมูก ปาก มือ เท้า อาจารย์เหม่ยอธิบายต่อให้ลูกศิษย์คำคะนิง ที่กำลังร้อยกระดูกเป็นโครงตามสภาพมนุษย์ อาจารย์เหม่ยได้อธิบายสอนกึ่งลัทธิโยคะ ให้กับหลวงปู่คำคะนิงด้วยการให้ฝึกพลังจิตด้วย ด้วยวิธี "อสุภกรรมฐาน" คือให้จิตเป็นสมาธิ ด้วยการเพ่งศพคนตาย หลวงปู่ได้รับการสั่งสอน อบรมฝึกฝนอย่างเคร่งเครียดจนมีจิตใจกล้าหาญ กล้าเสี่ยงกับความตายสามารถสร้างพลังจิต ทำสมาธิภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติเป็นมาตรฐาน หลวงปู่ได้กล่าวไว้ว่า การฝึกจิต ต้องฝึกอานาปานสติก่อน เพราะเป็นกรรมฐานกองใหญ่และยากที่สุดในกรรมฐาน (กัมมัฏฐาน) 40 กอง

    พระผู้จากไป

    <DD>
    <DD>นรชาติ <DD>วางวาย
    <DD>
    <DD>มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
    <DD>
    <DD>สถิตทั่ว <DD>แต่ชั่วดี
    <DD>
    <DD>ประดับไว้ ในโลกา


    <DD>กุศลธรรมทั้งหลาย มีสติเป็นเค้าเป็นมูล ครั้นมีสติแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น ก็มีแต่ทำ ทำแต่ความดีทุกสิ่งทุกอย่าง รู้แล้วอย่างนี้แล้วก็ให้พากันหัดทำ มันผิดก็ให้รู้ เราจะทำด้วยกาย ก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน เราจะพูดก็ให้ระลึกถึงได้เสียก่อน เราจะคิดก็ให้ระลึกถึงได้เสียก่อน

    มันถูกเราจึงพูด มันถูกเราจึงทำ มันถูกเราจึงคิด


    <DD>ให้เป็นผู้มีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่ประมาทมัวเมา เผลอสติ ทำความดีอย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่ประมาท ชื่อว่าไม่ตาย ส่วนผู้ประมาทชื่อว่า ตายแล้ว แม้จะมีลมหายใจอยู่ก็ตาม เรียกว่าตายจากความดีนั่นเอง คำสอนของพระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้เป็นภาษาบาลีว่า


    <DD>"สพฺพปาปสส อกรณํ ไม่ทำบาปทั้งปวง กุศลสฺสูปสมฺปทา ทำกุศลให้ถึงพร้อม สจิตฺตปริโยทปนํ ทำจิตให้ผ่องใส เอตํ พุทฺธานสาสนํ"

    สามประการนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือเรียกว่า เจริญอัปปมาท

    <DD>ธรรม คือ ยังความไม่ประมาท สำรวมระวังตั้งอยู่ในคุณธรรมความดี ด้วยกาย วาจา ใจ และสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นสัจธรรมประจำโลก ที่มีมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน หรือแม้แต่อนาคต กฏแห่งสัจธรรม ข้อนี้ก็จะยังมีอยู่ตลอดไป นั่นคือ "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลย่อมมีการดับไปเป็นของธรรมดา" ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน คนที่เกิดมาแล้วไม่มีใครจะหนีความตายไปได้พ้น เกิดร้อยก็ตายร้อย เกิดพันก็ตายพัน เกิดเท่าไรก็ตายเท่านั้น ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว เป็นกฎธรรมดาที่มีให้เห็นกันอยู่ ความตายนั้นไม่เคยปรานีใคร ไม่ว่าจะเป็นใครยิ่งใหญ่ขนาดไหน เมื่อถึงเวลาของเขาแล้ว เขาก็จะทำหน้าที่คร่าชีวิตไปโดยเสมอหน้า ใครจะขอร้องวิงวอน อย่างไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น อนิจจา เพียงชั่วระยะไม่นานเท่าใดนัก พระอริยเจ้าท่านก็จากเราไปทีละองค์อย่างน่าใจหาย ในสำนึกของปุถุชน ที่ยังหวังเป็นที่พึ่งทางใจ จึงอดที่จะกระทบกระเทือนใจไม่ได้เมื่อต่างก็ได้ทราบข่าวว่า พระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ท่านมรณภาพลงเสียแล้ว จากรอยยิ้มด้วยแววเมตตาปราณีของท่าน เป็นรอยยิ้มอันบริสุทธิ์ สดใสของพระอริยเจ้าที่บรรดาญาติโยมทั้งใกล้และไกลได้เคยเห็นกันเป็นประจำทุกครั้งที่ญาติโยมได้ไปถึงสำนักสงฆ์ถ้ำคูหาสวรรค์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชาธานี
    สมัยกาลก่อนนี้ หลวงปู่คำคะนิงท่านยังออกมานั่งให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น แววตามีประกายผ่องใสทุกขณะ ฝ่าเท้าอันบริสุทธิ์สะอาด ที่ถูกสวมใส่ด้วยถุงเท้า และหมวกไหมพรมที่ท่านสวมใส่เพื่อช่วยประคับประคองสังขารของท่าน เอาไว้ให้เป็นที่พึ่งพาทางใจ เท้าทั้งคู่นั้นเคยเป็นที่รองรับสองมือและศรีษะที่พนมก้มกราบของผู้คนมากมาย "วาสนาบารมี ที่ต้องสร้างสมมามากเท่าใด จึงจะเป็นที่เคารพกราบไหว้ของผู้คน ได้มากมายถึงเพียงนี้" บัดนี้ไม่มีรอยยิ้ม ไม่มีฝ่าเท้าที่จะวางไว้รอบรับกราบไหว้ ของท่านสาธุชนทั่วไป ไม่มีลมปากอันเย็นฉ่ำที่จะเป่าหัวให้ใคร และไม่มีท่านซึ่งเคยพรมน้ำมนต์ทุกครั้ง ก่อนจะนมัสการลากลับต่อไปอีกทุกอย่าง เป็นการยืนยันถึงสัจธรรมขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า หลวงปู่คำคะนิงท่านมักจะนำมาสอน กล่าวตักเตือนให้ระลึกจดจำไว้เสมอว่า
    <DD>"อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม ไม่มีเจ็บ ไม่มีแก่ ไม่มีเฒ่า ไม่มีตาย ไม่เข้าพยาธิโรคา"
    <DD>หลวงปู่คำคะนิงท่านกล่าวไว้ว่า "หนึ่งไม่มีสอง สองมีอยู่แล้วตั้งแต่เกิดมา มีหูสอง ตาสอง มือสอง เท้าสอง ปอดสอง ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ปากสอง (ปากบนปากล่าง) ดีชั่ว มืดสว่าง คำว่าสองมันมีอยู่แล้วตั้งแต่เกิด ฉะนั้นคำว่าสองนี้มันพาให้ทุกข์ พาให้เศร้าหมอง พาให้เดือดร้อน กันอยู่ทุกวันนี้ไม่สิ้นสุด"
    <DD>"จงทำให้เป็นหนึ่ง อย่าให้มีสอง ถ้าทำได้ก็ตายเพียงหนเดียว ต่อไปก็ไม่ต้องตายอีก นี้คือคำสอนกล่าวตักเตือนของหลวงปู่ท่าน ที่มีเมตตาต่อลูกศิษย์ทุกคน ที่ไปกราบนมัสการเยี่ยมท่าน ทุกเย็นหลวงปู่ท่านมักจะออกมานอนพักผ่อนข้างนอก ที่เก้าอี้แบบเอนหลังได้ หลวงปู่ท่านคุยสนุก มักจะคุยถึงสมัยเดินธุดงค์และข้อธรรมะเสมอกับลูกศิษย์อุปัฎฐากทั้งสอง"
    <DD>แต่เมื่อเวลาเทศนาธรรม หลวงปู่ท่านจะมีข้อธรรมคำสอนที่ลึกซึ้งกินใจมาก สิ่งที่ท่านจะย้ำพร่ำสอน ก็คือสติ ให้ทุกคนหมั่นระลึก รู้ได้ทุกอิริยาบถ จะพูดจะคิดจะทำ หลวงปู่จะสอนให้มีสติคือให้อ่านตัวเจ้าของให้ออก บอกตัวเจ้าของให้ถูกเหมือนกับอ่านหนังสือ ถ้าท่านสาธุชนทั้งหลายพึงกระทำ และปฏิบัติตามคำสอนของท่านได้ ก็จะได้พบดวงธรรม ที่ทุกคนปรารถนาทั่วหน้ากัน
    <DD>หลวงปู่ท่านเริ่มอาพาธมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่พ.ศ. 2525 แต่อาการก็ไม่หนัก เป็น ๆ หาย ๆ เพราะความชราภาพ อันเป็นกฏแห่งวัฎสงสารได้เข้ามาครอบงำ จนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พุทธศักราช 2528 เวลาเช้าหลวงปู่ท่านได้เข้าห้องน้ำ ท่านอาจารย์ทองสาเห็นนานผิดสังเกต ก็ได้เคาะประตูถามหลวงปู่ท่าน หลวงปู่ท่านก็บอกว่าถ่ายไม่ออก ท้องผูก ขอให้อาจารย์ทองสาช่วยหายาสวนทวารให้ท่านที หลวงปู่ท่านก็ทำของท่านเองเป็นแบบกระปุกเล็ก ๆ พออึกสักพักใหญ่ หลวงปู่ท่านก็บอกให้อาจารย์ทองสาเอามาอีก ทั้งหมดรวมเป็น 3 หลอด ก็ยังไม่ถ่าย หลวงปู่ท่านบอกอาจารย์ทองสา ช่วยหายาระบายกับยาสวนอีก ดูสีหน้าหลวงปู่เพลียมาก มีเหงื่อโชกตัว เพราะเสียกำลัง สักพักใหญ่หลวงปู่ท่านก็ถ่าย แต่คราวนี้ถ่ายไม่ยอมหยุด จะนำหลวงปู่ออกมาจากห้องน้ำ หลวงปู่ท่านก็เดินไม่ไหว หลวงปู่ท่านสั่งอาจารย์ทองไปยกเตียงโซฟาเข้ามาในห้องน้ำ ให้หลวงปู่ท่านนอนพักเอาแรง เปิดพัดลมต่ำลงพื้นห้องน้ำให้อากาศระบาย เพราะกลัวหลวงปู่ท่านจะร้อน เห็นท่านเพลียเต็มที่ อาหารเช้าก็ยังไม่ได้ฉัน อาจารย์ทองก็ถามหลวงปู่ว่าจะไปโทรศัพท์เรียกหมอนะ หลวงปู่ท่านบอกว่าไม่ต้องเรียก ถ้ารักอาจารย์ไม่ต้องพาหมอมาเด็ดขาด แต่ไหนแต่ไร เวลาท่านล้มเจ็บก็ไม่เคยไปหาหมอเลย กลัวเขาจะฉีดยา หลวงปู่ท่านไม่เอาหมอเลย จะเจ็บป่วยแค่ไหนก็อยู่อย่างนั้นให้มันหายเอง
    <DD>ที่นี้หลวงปู่ท่านก็พูดกับอาจารย์ทองว่า ให้ช่วยหานาคบวชพระให้อาจารย์สัก 3 องค์ด้วย อาจารย์ทองเคยถามหลวงปู่ว่าจะบวชให้ใคร หลวงปู่ท่านบอกว่าบวชให้อาจารย์นี้แหละ หลวงปู่ให้บวชเมื่อไรครับ ! อาจารย์ทองถามหลวงปู่ หลวงปู่ท่านบอกไว ๆ เท่าไรยิ่งดี หลังจากหลวงปู่ท่านเพลียจนหลับไปพักหนึ่ง ท่านตื่นมาก็สั่งอาจารย์ทองว่า เจ้าต้องอยู่ที่นี่นะอยู่ใกล้อาจารย์อย่าหนีไปไหนล่ะ หลวงปู่ท่านสั่งอะไรหลายอย่าง คุยไม่ได้นานนัก ท่านก็ลิ้นแข็งพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เรียกเด็กลูกศิษย์ที่เล่นกันข้างนอกให้เข้าไปหาหลวงปู่ และถามว่าเรื่องที่ท่านกำลังพูดอยู่นั้นมีใครฟังเข้าใจบ้าง ก็ไม่มีเด็กคนไหนจะฟังเข้าใจสักคนเดียว อาจารย์ทองเลยสั่งให้เด็กออกไปให้หมด แล้วบอกให้หลวงปู่นอนพักผ่อนเสียก่อน พอมีแรงกำลังดีแล้ว ค่อยพูดทีหลังก็ได้ ดูเหมือนว่าท่านรู้ตัวท่านมีเวลาของท่านน้อยมากเต็มที อาจารย์ทองก็บอกหลวงปู่ว่า ที่หลวงปู่พูดนั้นฟังไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ เป็นเพราะหลวงปู่ท่านพูดเสียงรัวไปหมด ต่อมาหลวงปู่ก็ดึงเอาหูของอาจารย์ทองเข้าไปชิดปากของหลวงปู่ท่าน แล้วท่านก็พูด ในที่สุดอาจารย์ทองก็บอกหลวงปู่ว่าฟังไม่เข้าใจ เพราะลิ้นของหลวงปู่แข็ง หลวงปู่ท่านก็พูดของท่านอยู่นั่น ก็เลยปล่อยให้ท่านพูดไปพักหนึ่งท่านก็หลับไปอีกครั้งอาจารย์ทองก็ปล่อยให้หลวงปู่ท่านพักเอาแรงบนโซฟาในห้องน้ำ แล้วอาจารย์ทองก็ออกมาโทรศัพท์ บอกญาติโยมที่รู้จักสนิท และปรึกษากับคุณหญิงสมนึกที่กรุงเทพฯ ทุกคนมีความเห็นว่าให้เอาหลวงปู่ออกจากห้องน้ำ มานอนพักที่เตียงของหลวงปู่ท่าน ทุกคนเป็นห่วงกันว่าเดี๋ยวหลวงปู่ท่านจะสิ้นใจในห้องน้ำ ซึ่งไม่ค่อยจะเหมาะนัก อาจารย์ทองก็ไปบอกหลวงปู่ ขอร้องให้ท่านออกจากห้องน้ำ มาพักผ่อนที่เตียงของท่าน หลวงปู่ท่านก็บอกว่าไม่ไปจะอยู่พักที่ตรงนี้ ก็เลยปล่อยท่านนอนพักอยู่ตามลำพัง ส่วนอาจารย์ทองก็ออกมาปรึกษากับญาติโยม จะทำยังไงกันต่อไปที่ข้างนอก พอกลับไปดูหลวงปู่ท่านอีกที ก็เห็นหลวงปู่ท่านหล่นจากเตียงโซฤามานอนบนพื้นห้องน้ำ อาจจะเป็นเพราะท่านจะลุกไปถ่ายยังไงไม่ทราบ พออาจารย์ทองมาเห็นเข้า ก็บอกหลวงปู่ท่านขึ้นไปนอนบนเตียงโซฟา ผ้าสงบของท่านเลอะถ่ายของท่านเต็มไปหมด ก็เลยขอร้องให้ท่านออกไปข้างนอก คราวนี้หลวงปู่ท่านก็ยอมออก
    <DD>อาจารย์ทองยกท่านก็ไม่ไหว ก็สั่งให้เด็กวัดมาช่วยกันพยุงท่าน เด็กคนอื่นก็ไม่ยอมให้ใครเข้ามาพยุง นอกจากจะให้เด็กแอร์ (โสทะศรีสุราช) กับอาจารย์ทองเท่านั้น เพราะหลวงปู่ท่านรักเด็กแอร์คนนี้มาก หลวงปู่ท่านชราภาพมากก็เอาใจยากหน่อย พอเอาออกไปข้างนอกแล้ว ก็ให้หลวงปู่ท่านนอนที่เตียงหน้าห้องนอนของหลวงปู่ท่าน ระยะช่วงนี้ท่านถ่ายไม่หยุดเลย ตลอด 1 วัน 1 คืน แต่พอถึงเวลาช่วงเพล หลวงปู่ท่านก็ฉันอาหารได้มากกว่าปกติ ตั้งแต่อาจารย์ทองได้อยู่เฝ้าอาการป่วยของท่าน รู้สึกว่าท่านฉันได้มากกว่าปกติ ตั้งแต่ที่อยู่กันมา ก็มีครั้งนี้แหละ ระยะป่วย 2 , 3 วัน ท่านฉันอาหารได้มาก ญาติโยมจัดกับข้าวมาถวายหลวงปู่ ก็พยุงท่านนั่งพิงกับผนังหน้าห้อง รองด้วยเบาะและอาสนะ สักพักหนึ่งนายอำเภอชื่อนิพนธ์ บูรณะปราสาท มาถึงเห็นอาการของหลวงปู่ท่านก็แนะนำเอาหลวงปู่ส่งโรงพยาบาล เพราะหลวงปู่ท่านไม่ยอม แต่ก็ได้สั่งหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่มาตั้งชั่วคราวที่วัดมีพยาบาลมา 8 คน คอยอยู่ดูแลอาการหลวงปู่ช่วยหมอ ก็ไป ๆ มา ๆ หลังจากหลวงปู่ท่านล้มป่วยได้ 2 วัน 2 คืน เห็นอาการระบบหายใจไม่ปกติ ทางพยาบาลจึงได้ให้อ๊อกซิเจน และน้ำเกลือพอให้ไปครึ่งขวดรู้สึกว่าหลวงปู่มีแรงขึ้นมาก หลังจากนั้นท่านก็ถอดสายอ๊อกซิเจน ห้ามพยาบาลไม่ให้มายุ่งกับท่าน ท่านโวยวายไม่ยอมให้จับต้องตัวท่านเป็นอันขาด อาจารย์ทองก็ต้องไปอ้อนวอนหลวงปู่ไม่ให้ขัดใจหมอจะได้หายเร็ว ๆ แข็งแรง อาจารย์ทองบอกหลวงปู่ว่า อยากให้หลวงปู่อยู่นาน ๆ ถ้าหลวงปู่เป็นอะไรไปผมจะอยู่กับใคร
    <DD>พยายามพูดอ้อนวอนท่านอยู่นาน ท่านก็บอกว่าจะไปห่วงอะไร ถ้าปู่ไม่อยู่ก็พึ่งศีลพึ่งธรรมไปสิ ญาติโยมที่มาเฝ้าอาการป่วยได้ยินก็ร้องไห้ตาม ๆ กัน ทุกคนคิดว่าท่านไม่รอดแน่ แล้วท่านถึงได้พูดอย่างนี้ สำหรับการรักษาของหมอนั้นก็ทำอะไรไปมากไม่ได้ เพราะหลวงปู่ท่านไม่ยอมไปโรงพยาบาลเลย เครื่องมือทันสมัยก็ไม่มี นอกจากจะระงับไม่ให้อาการกำเริบหนักเท่านั้น ฉะนั้นอาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด
    <DD>วันที่ 30 มีนาคม 2528 ตอนเช้าก็ได้จัดอาหารให้หลวงปู่ท่านฉัน ดูอาการรู้สึกท่านแข็งแรงมาก หลวงปู่ท่านฉันอาหารมาก โดยอาจารย์ทองเป็นคนป้อนอาหารให้ ช่วงนี้อาการของหลวงปู่ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย หลังจากฉันอาหารเสร็จ ก็ให้ท่านพักผ่อน พอพักใหญ่ต่อมาอาการหายใจของท่านไม่ปกติ เห็นอาการท่านเหนื่อยและหายใจแรงมาก ไม่เป็นจังหวะ เลยต้องขอร้องให้หลวงปู่อนุญาต ให้เอาสายอ๊อกซิเจนเข้าช่วยในการหายใจ ท่านก็ยอม สักพักท่านก็หายใจเป็นปกติดี
    ดูอาการท่านรู้สึกว่าท่านจะนอน ๆ แล้วลุกนั่งเอาหมอนมาพิงหลับแทน พอตกตอนเย็นหลวงปู่ก็ได้สั่งกับพระทองสาว่า "สองขันธ์" เบื้องบนท่านสั่งลงมา พระทองสากับอาตมาพระสุธี (ช่วงหลวงปู่ป่วย) อาตมาได้สึกจากพระได้ 7 วัน หลวงปู่ก็มาล้มป่วย อาตมาได้ทราบข่าวก็มาดูแลท่านช่วงนั้น ยังเป็นฆราวาสอยู่ ซึ่งช่วงนั้นหลวงปู่ได้หาฤกษ์บวชให้อาตมาแล้ว ในวันที่ 17 เมษายน 2528 การหาฤกษ์บวชอาตมาครั้งที่สองนี้ หลวงปู่ท่านยังไม่ล้มป่วย และเป็นผู้หาฤกษ์บวชให้อาตมา
    เย็นวันที่ 30 มีนาคม 2528 มีหลวงปู่ พระทองสา และอาตมาพระสุธี (เป็นฆราวาสอยู่) ได้พูดขอร้องหลวงปู่ให้ขอต่ออายุกับครูบาอาจารย์ท่านอีก จะให้ทำอะไรก็จะทำให้ หลวงปู่ท่านบอกว่า เขาไม่ยอมแล้วครั้งนี้ เพราะขอต่ออายุกับเขามา 4 ครั้งแล้ว หลวงปู่ท่านก็บอกให้อาตมาพระสุธีกับพระทองสาว่า พวกเจ้าลองไปขอกับเขาซิ เผื่อเขาจะให้นะ ส่วนตัวอาจารย์นั้นได้ขอแล้วเขาไม่ยอม อาตมาทั้งสองก็แต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปด ขอครูบาอาจารย์ ท่านก็ไม่รู้ว่าท่านจะยอมต่ออายุให้หลวงปู่หรือเปล่า
    ทีนี้หลวงปู่ท่านมาสั่งว่า เรื่องเทพเบื้องบนสั่งมาว่า "สองขันธ์" อาตมาทั้งสองก็ไม่เข้าใจความหมาย ก็บอกให้หลวงปู่ช่วยอธิบายความหมายท่านก็บอกว่า เขาสั่งไม่ให้บอก เป็นอันว่าอาตมาทั้งสองไม่รู้ความหมาย ก็ขอร้องให้หลวงปู่ท่านติดต่อชั้นเทพ ให้เขายอมอนุญาตให้หลวงปู่ยอมอธิบายความหมายคำว่า "ขันธ์สอง" ในที่สุดท่านก็ยอมบอก แต่ว่าเขายอมให้บอกเพียงขันธ์เดียว หลวงปู่ท่านอธิบายขันธ์แรกว่า "ถ้าหากอาจารย์เป็นอะไรไปแล้ว ก็อย่าได้เคลื่อนย้ายอาจารย์ออกจากถ้ำเด็ดขาดนะ เจ้าทั้งสองจำไว้ให้ดี" หลวงปู่ครับ แล้วขันธ์ที่สองล่ะครับ ไม่ได้เขาสั่งเด็ดขาด อาตมาทั้งสองก็เลยบอกหลวงปู่ว่าคืนนี้ขอให้หลวงปู่ลองติดต่อขออนุญาตเขาอีก เผื่อเขาจะยินยอม แล้วพรุ่งนี้เช้าผมจะถามใหม่นะครับ พอรุ่งเช้าหลวงปู่ท่านก็ฉันอาหารเช้าเสร็จ ก็ให้หลวงปู่ท่านดื่ม แบรนด์ ปรากฏว่าหลวงปู่ท่านสำลักแบรนด์อย่างรุนแรง ทำให้ระบบหายใจท่านผิดปกติทันที เลยรีบตามหมอมาดูอาการ อาการของท่านน่าวิตกมาก หมอแนะนำให้ส่งโรงพยาบาลเถอะ เพื่อจะได้นำท่านฉายเอ๊กซเรย์ดูระบบปอดของท่าน เพราะว่าถ้าจะปล่อยให้ท่านอยู่อย่างนี้จะไม่มีทางรักษาท่านได้เลย เพราะไม่อาจจะรู้สาเหตุอาการของโรคเลย นอกจากจะให้อ๊อกซิเจนกับน้ำเกลือ ซึ่งช่วยอะไรมากไม่ได้เลย ในที่สุดก็ตกลงกันวางยาสลบ แต่งขันธ์ขอขมาครูบาอาจารย์นำร่างหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลอำเภอโขงเจียม ผลของการเอ๊กซเรย์ ว่าปอดของหลวงปู่ทั้งสองข้างเสียหมด (โรคปอดบวม) หมอได้บอกอาตมาทั้งสองว่าให้นำท่านส่งโรงพยาบาลที่จังหวัดภายใน 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นท่านจะเสียชีวิตภายในคืนนี้แน่นอน อาตมาทั้งสองพร้อมญาติโยม ก็ตกลงใจนำท่านส่งโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งตอนนั้นกำลังอยู่ในระหว่างวางยาสลบอยู่ ถ้ายาหมดฤทธิ์หลวงปู่ท่านมีสติเมื่อไร ท่านคงจะไม่ยอมไปเป็นแน่ ก็ได้รับการอำนวยความสะดวก จากนายอำเภอนิพนธ์ บูรณะปราสาทเป็นอย่างมาก กับหมอโรงพยาบาลอำเภอโขงเจียม ได้นำร่างหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลสรรพสิทธ์ประสงค์
    <DD>เมื่อถึงโรงพยาบาลก็ได้นำหลวงปู่เข้าห้องไอซียู และได้รับการฝากให้ดูแลเป็นพิเศษ จากผู้ว่าราชการจังหวัดอุบล ได้มาดูอาการของหลวงปู่ที่ห้องไอซียู และนายอำเภอโขงเจียม นายนิพนธ์ บูรณะปราสาท ได้เสียสละเวลาไปคอยเฝ้าอาการทุกระยะ อาตมาทั้งสองก็ไปดูแลอาการอย่างใกล้ชิด พร้อมคุณหญิงสมนึก เปรมวัฒนะ
    <DD>หลังจากหลวงปู่ได้เข้าโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ที่จังหวัดอุบลแล้ว ในช่วงระยะ 4 หรือ 5 วัน อาการของท่านดีขึ้นเล็กน้อย หมอให้อ๊อกซิเจนและน้ำเกลือตลอดเวลา อาตมาทั้งสองไปเยี่ยมหลวงปู่ท่าน เห็นท่านลืมตาดูน้ำตาท่านไหล พระทองสาก็ได้บอกเรื่องต่าง ๆ ให้หลวงปู่ฟัง หลวงปู่ท่านก็รับรู้โดยการพยักหน้า และกระดิกมือเป็นการตอบรับ เพราะหมอเอาเครื่องอ๊อกซิเจนใส่ที่ปากของหลวงปู่ท่านไว้ หลังจากให้หลังหนึ่งอาทิตย์ อาการของท่านไม่ดีขึ้นเลย มีแต่ทรงกับทรุด อาตมาเห็นหมอเขาให้น้ำเกลือ หลวงปู่ทางมือ ทางเท้า ก็เลยสงสัยถามหมอว่า ทำไมให้น้ำเกลือหลายสาย ก็ได้รับคำตอบว่าความดันในร่างกายของหลวงปู่ต่ำมาก ไม่สามารถจะวัดความดันได้ บางวันอาตมาทั้งสองไปเยี่ยมท่าน ก็ดูผิวพรรณสดชื่นดี บางวันก็ไม่ดี ยิ่งอาการทรุดมากขึ้น หลังจากวันที่ 15 เมษายน 2528 อาตมาทั้งสองไปเยี่ยมเห็นอาจารย์ทองพูดกับหลวงปู่ท่าน ดูท่านน้ำตาไหลตลอดเวลา ช่วงนั้นอาจารย์ทองได้พูดตอนหนึ่งว่าหลวงปู่ครับอีกสองวันจะบวชสุธีกลับมาเหมือนเดิม ดูท่านน้ำตาไหล อาจารย์ทองก็เอากระดาษซับน้ำตา อาตมาช่วงนั้นก็อยู่ด้วย แต่เป็นโยมอยู่ ก็ได้แต่ร้องไห้เพราะสงสารท่านมาก และพอรุ่งขึ้นอีกวันในวันที่ 16 อาตมาทั้งสองก็ไปเยี่ยมเห็นหลวงปู่ท่านนอนหลับตลอดเวลา ก็ถามหมอว่า อาการของหลวงปู่ดีขึ้นไหม นางพยาบาลก็บอกว่า ตั้งแต่เย็นวันที่ 15 เมษายน 2528 ตอนเย็น เห็นท่านหลับก็ไม่ได้มีใครไปกวนท่านเลย จนหมอมาตรวจดูร่างกาย หลวงปู่ท่านนอนหลับแต่ระบบหายใจของท่านยังทำงานปกติ แต่ตาท่านหลับตลอดเวลา จะเรียก เท่าไรท่านก็ไม่ลืมตาเลย อาตมาทั้งสองฟังคำบอกอาการของหลวงปู่จากนางพยาบาลแล้วก็หนักใจแทน วันนั้นก็เลยไม่ได้พูดคุยกับหลวงปู่อีกเลย
    <DD>ในใจของอาตมาทั้งสอง อยากมาบอกหลวงปู่ให้ท่านดีใจว่า พรุ่งนี้วันที่ 17 เมษายน จะบวชสุธี และบวชพระใหม่อีก 8 องค์ รวมทั้งหมดเป็น 9 องค์ เมื่อบวชเสร็จจะพาพระบวชใหม่มากราบหลวงปู่ แต่ก็ผิดหวังเลยกลับมาที่วัดกัน เพื่อเตรียมงานบวชพระให้หลวงปู่ 9 องค์ ตามที่หลวงปู่ได้ขอไว้ 3 องค์เดิม ในวันที่ 17 เมษายน 2528 เวลาตี 2 ก็ได้ทำพิธีบวชพระ 9 รูป ไปเสร็จสิ้นตอน 6 โมงเช้า หลังจากฉันเช้าเสร็จ อาตมาก็จ้างรถให้รับพระบวชใหม่ ไปรอที่หน้าโรงพยาบาล ส่วนอาตมาทั้งสองก็ไปกับคุณหญิง ก็ได้ไปปรึกษาหมอที่โรงพยาบาลโขงเจียม เรื่องจะนำหลวงปู่ท่านกลับวัด เพราะเห็นอาการของท่านไม่ดีขึ้นเลย ตั้งใจกับทุกฝ่ายว่า วันนี้เมื่อพาพระบวชใหม่ไปกราบหลวงปู่แล้ว จะปรึกษาหมอที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ ที่หลวงปู่นอนรักษาตัวอยู่ จะขอร้องให้งดเติมน้ำเกลือ ขอให้แต่อ๊อกซิเจนอย่างเดียว เพราะดูสภาพร่างกายของหลวงปู่ท่านบวมไปทั้งตัวเลย อาตมาคิดว่าถ้าหมอไม่ยอม ก็จะหาทางนำหลวงปู่ท่านกลับวัดดีกว่า
    อาตมาทั้งสองพร้อมคุณหญิง ได้มาถึงโรงพยาบาลที่จังหวัด ประมาณสิบโมงกว่า เห็นว่าจะใกล้เพลก็ได้พาพระบวชใหม่ไปฉันอาหาร ที่หน้าโรงพยาบาล เสร็จก็พาพระบวชใหม่มานั่งรอเวลาเข้าเยี่ยม ที่หน้าห้องไอซียู ประมาณ 11.10 นาที พอให้หลังแค่จะนั่งพักผ่อนเท่านั้น นางพยาบาลได้ออกมาบอกว่า หลวงปู่ท่านสิ้นใจเมื่อกี้นี้เอง เวลา 11.13 นาฬิกา

    "อนิจจัง วัฎฎะ สังขารา"

    <DD>โลกนี้ก็หมดสิ้นพระอริยเจ้าลงไปอีกองค์หนึ่งแล้วหนอ ความดีของหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี เป็นความดีที่ไม่เคยมีโทษต่อผู้หนึ่งผู้ใดเลย ซึ่งคำสอนของหลวงปู่ท่านมีคุณมีประโยชน์ทั้งสิ้น สมควรน้อมนำใส่ใจ ไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความสุขความเจริญ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

    "นโม ปุพฺพงฺคม ธมฺมา มโน เสฎฐา มโนมยา"

    <DD>ท่านสาธุชนทั้งหลาย บัดนี้พุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า ใจนั่นแหละเป็นหัวหน้า ใจนั่นแหละเป็นใหญ่ ใจนั่นแหละประเสริฐสุด สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบาปก็ดี บุญก็ดี สำเร็จด้วยใจ อรหันตมรรคก็ใจ อรหันตผลก็ใจ ละอุปากิเลสนิพพาน กิเลสขาดจากสันดาน หมดไป โมหะกิเลสหมด ทิฎฐิกิเลสหมดไป ยังเหลือแต่ใจสะอาดปราศจากกิเลส เหมือนพระจันทร์ เดินอยู่ในท้องฟ้านภากาศ ไม่มีอะไรจักทำลายได้


    <DD>วาโยธาตุ แปลว่า ลมจากทิศทั้ง 4 จะทำลายพระจันทร์ไม่ได้ ลมก็เป็นลม พระจันทร์ไม่แตกดับ พระจันทร์ก็อยู่ย่างนั้น
    <DD>อาโปธาตุ แปลว่า น้ำฝนตกลงมา เม็ดเล็ก เม็ดน้อย เม็ดใหญ่ จะทำลายพระจันทร์ ไม่ได้


    <DD>ดังเช่นเปรียบได้กับใบบอน ตามธรรมดาใบบอนนั้น น้ำชำแรกแทรกเข้าไปในใบบอนย่อมมิได้ถึงฝนจะตกลงมาถูกต้องใบบอนสักเพียงไร น้ำฝนก็มิอาจจะแทรกซึมเข้าไปในใบบอนได้ฉันนั้น เพราะใบบอนไม่ดูดเอาน้ำเข้าไปเลย นี้แลนักธรรม นักกรรมฐานทั้งหลายจึงเรียกได้ว่าจบพรหมจรรย์ เปรียบดังเช่นพระจันทร์ ธรรมทั้งหลายใด ๆ มีใจถึงก่อน ธรรมเหล่านั้นล้วนแจ้งอยู่ในใจของหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี พระอริยเจ้าผู้เฝ้าบำเพ็ญเพียรเพื่อจบพรหมจรรย์ มีความสมถะเป็นที่ตั้ง มีธรรมะขอองค์สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแก่นสาร นำดวงจิตดวงใจไปสู่ความบริสุทธิ์อันใสสะอาดผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ความสุขย่อมติดตามเหมือนเงาเทียมตัวคนไปอย่างนั้น
    ขอบุญบารมีแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุก ๆ พระองค์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย จงดลบันดาลให้สรรพสัตว์ทั้งปวงมีลมหายใจเข้าออกเถิด แล้วนับว่ามีอัตภาพร่างกายเป็นอริยะก็ดี มิได้เป็นอริยะก็ดี เป็นเทวดามนุษย์ ครุฑ นาค วินิบาต อสุรกายก็ดี มีจิตก็ดี ไม่มีจิตก็ดี บรรดามีชีวิตอันอยู่ในทิศเบื้องบน กึ่งอะถะนิฏฐพรหมในเบื้องต่ำ ในอเวจีมหานคร ในเบื้องขวาทิศทั้งแปดตลอดไปในอเนกแสนโกฎิจักรวาล อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อย่าได้มีทุกข์โศกเลย อย่าได้มีโรคภัยเลย จงมีอายุยืนนานเถิด จงสำเร็จซึ่งสมบัติทั้งปวงเถิด จงรักษาตนให้เป็นสุข ให้พ้นทุกข์เถิด

    อดีตชาติ
    เป็นพญาช้างมงคลหัตถี

    <DD>พญาช้างมงคลหัตถี ในอดีตชาติของหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะขออ้างอิงถึงหนังสือ มุนีนาถทีปนี ของพระศรีสุทธิโสภณ (วิลาดญาณวโร) ป.ธ. 9 เจ้าอาวาสวัดดอน ยานนาวา นำมาประกอบ เรื่องประวัติฉบับสมบูรณ์ของหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ในเรื่องอภิญญา 5 ตอนถอยระลึกชาติของหลวงปู่ท่าน เพื่อที่จะไม่ให้เสียรูปเนื้อความเดิม และมีความกระจ่างอย่างละเอียด โดยตลอดของเนื้อเรื่อง ของพญาช้างพลายมงคลหัตถี
    ข้าพเจ้าขออนุญาตมา ณ ที่นี้ด้วย ที่ได้นำเอาเนื้อเรื่องชื่อ สัตตุตาปะราชา ในหนังสือมุนีนาถทีปนี ซึ่งพระศรีสุทธิโสภณ (วิลาศญาณวโร) ป.ธ. 9 เจ้าอาวาสวัดดอน ยานนาวา ซึ่งได้เป็นผู้รจนาขึ้น ได้นำมาประกอบเรื่อง ในหนังสือประวัติฉบับสมบูรณ์ ของพระเดชพระคุณ ท่านหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำคูหาสวรรค์ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
    ขอกราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง

    พระสุธี ธาตุเหล็ก
    (ญาณวโร)
    </DD></TD></TR><TR><TD vAlign=top> << 1 2 3 4 5 > >> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. cap5123

    cap5123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +85
    กำ ใครเล่นไอดี เราหว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...