หมื่นไวยแหล่งวัฒนธรรมโคราช

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    'หมื่นไวย'แหล่งวัฒนธรรมโคราช

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle height=10>"หมื่นไวย"แหล่งวัฒนธรรมโคราช </TD></TR><TR><TD align=middle height=10>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD align=middle height=10>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>ตะลอนเที่ยวซึ่งตรงกับวันมหาสงกรานต์นี้ จะพาท่านผู้อ่านไปกันที่ภาคอีสาน โดยมีจุดหมายปลายทางที่ ตำบลหมื่นไวย จ.นครราชสีมา

    "หมื่นไวยน่าอยู่ เชิดชูวัฒนธรรม อร่อยล้ำขนมจีน หมดสิ้นอบายมุข เป็นสุขทุก ครัวเรือน" คำขวัญของตำบลหมื่นไวย

    <CENTER>[​IMG] </CENTER>
    หมื่นไวย เป็นตำบลเก่าแก่ของเมืองโคราช ดังนั้นจึงมีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามหลาย อย่างสืบทอดต่อๆ กันมา นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานสวยงาม ซึ่งระหว่างการบูรณะและตกแต่งของหน่วยศิลปากรที่ 12 กรมศิลปากร และที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของตำบลหมื่นไวย คือ ขนมจีน

    <CENTER>[​IMG] </CENTER>
    หมื่นไวย เป็นตำบลเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ พูดภาษาไทยพื้นเมืองโคราช เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง ปัจจุบันมีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านประโคก หมู่ 2 บ้านหมื่นไวย หมู่ 3 บ้านโนนตาสุก หมู่ 4 บ้านโพนสูง หมู่ 5 บ้านคลองบริบูรณ์ หมู่ 6 บ้านโคกไผ่ และหมู่ 7 บ้านหนองนาลุ่ม

    ตำนานบ้านหมื่นไวย ตามที่ค้นพบจากบันทึก เรื่องการเขียนชื่อตำบลหมื่นไวย ระหว่างนายจำลอง ราษฎร์ประเสริฐ นายอำเภอเมืองนครราชสีมา(ในขณะนั้น) กับนายฉำ ป้อมสนาม ครูตรีโรงเรียนบ้านหมื่นไวย ระบุว่าจากหนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติตอนหนึ่งกล่าว ว่า "พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระเจ้าล้านช้าง ส่งพระราชธิดาทรงนามว่าสร้อยทอง มาถวายสมเด็จพระพันวษากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์พระเจ้าอู่ทองเพื่อเป็นไมตรี ให้อำมาตย์ถือพระราชสารเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ได้เดินทางผ่านป่าฝ่าทุ่งเขาศาลแล้วเข้าช่องสามหมอ เขตอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ผ่านลำแม่นำชีแล้วเดินทางต่อมาถึงบ้านด่านหมื่นไวย ชาวด่านพาเข้าไปในเมือง และเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา บ้านหมื่นไวยสำคัญ เพราะเป็นด่านสำหรับตรวจคนเข้าออก ตั้งแต่ พ.ศ. 2031 - 2517

    อำมาตย์รับสั่งบังคมลา คลานถอยออกมา หาช้าไม่

    ลงเรือข้ามส่งล่องลงไป ถึงท่าใหญ่ปากโมงทันที

    <CENTER>[​IMG] </CENTER>
    ขึ้นม้าแล้วก็พากันรีบไป ดั้นตัดลัดไพรพนาศรี

    ข้ามป่าฝ่าทุ่งมุ่งจรลี ถึงคีรีเข้าศาลล่วงด่านไป

    พักม้ากินหญ้าพอหายเหนื่อย ลมเฉื่อยขึ้นม้าหาช้าไม่

    หยุดร้อนนอนป่าพนาลัย มาได้สามหมอรีบต่อมา

    <CENTER>[​IMG] </CENTER>
    ถึงลำพาชีรี่ออกทาง ชักม้าสะบัดย่าง มากลางป่า

    ถึงบ้านด่านโคราชสีมา เข้าหาชาวบ้านด่านหมื่นไวย

    แจ้งความตามเรื่องราชสาร ชาวด่านพามาไม่ช้าได้

    ตัดตรงลงโคราชทันใด ผูกม้าไว้เข้าในเมืองฯ

    หนังสือขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ หน้า 550-551

    <CENTER>[​IMG] </CENTER>
    ตำบลหมื่นไวย ปัจจุบันมีความเจริญมากขึ้น แต่ชาวบ้านจริงๆยังไม่ทิ้งวัฒนธรรมประเพณี เก่าๆที่มีมาแต่ดั้งเดิม เช่น เมื่อถึงวันสงกรานต์ ก็จะมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ มีการสรงน้ำพระ มีการสาดน้ำ เล่นการละเล่นพื้นเมืองกัน เมื่อถึงวันเข้าพรรษาก็ จะมีการขอขมาพระสงฆ์ มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายเทียนพรรษา ทำบุญตักบาตร ถึงวันสารทไทยหรือวันดับเดือนสิบก็จะมีการทำบุญใหญ่ไปถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว งานประเพณีเหล่านี้สืบทอดมารุ่นต่อรุ่น ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะพาลูกหลานทำบุญเช่นนี้ ลูกหลานเมื่อเติบใหญ่ขึ้นก็จะทำนำคนรุ่นใหญ่ทำบุญงานประเพณีนี้สืบต่อกันไป เรื่อยๆ นับว่าเป็นตำบลที่ยังคงอนุรักษ์ความเป็นไทยของเมืองโคราชไว้เป็นอย่างดี

    ตำบลหมื่นไวย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย วัดหมื่นไวย ทางเข้าวัดเหมือนจะธรรมดามีความเจริญตามยุคสมัยเหมือนกับวัดทั่วไปในปัจจุบัน แต่มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่คือ โบสถ์เก่ากลางน้ำ อายุ 300 ปี สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา บางส่วนผุพังไปตามกาลเวลา ภายในมีพระประธานปางป่าเลไลย์ปูน ปั้นลงรักปิดทอง ส่วนอิฐที่ใช้ก่อสร้างฐานที่เป็นฐานโค้งสำเภาเรือ และผนังโบสถ์ เป็นอิฐก้อนใหญ่ แบบเดียวกับอิฐที่ใช้ก่อสร้างกำแพงเมืองเก่าโคราช

    เรือนแม่ศรี ซึ่งเป็นเรือนทรงไทย ที่ปลูกสร้างอยู่บนเนื้อที่ 38 ไร่ เรือนไทยหลังนี้มีทั้งหมด 13 ห้อง ใช้วัสดุก่อสร้างเป็นของโบราณ ส่วนหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผาด่านเกวียน เรือนแม่ศรีเป็นเรือนไทยที่สวยงาม พื้นชั้นล่างเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน ส่วนขั้นบนเป็น เรือนไม้ทรงไทยของเก่าทั้งหมด ในห้องแต่ละห้องจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ผู้ก่อสร้างท่านเป็นอดีตข้าราชการสังกัดผังเมือง เกษียณอายุราชการแล้ว ภายในเก็บของเก่า เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านได้ เป็นบ้านทรงไทยโบราณที่ควรแก่การอนุรักษ์
    <CENTER>ศุภชัย อรชร/นครราชสีมา </CENTER></TD></TR><TR><TD height=10>

    </TD></TR><TR><TD align=right>
    ----------------------------------
    ที่มา: แนวหน้า
    http://www.naewna.com/news.asp?ID=56166
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    :cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 151.gif
      151.gif
      ขนาดไฟล์:
      94 KB
      เปิดดู:
      320
    • 152.gif
      152.gif
      ขนาดไฟล์:
      37.6 KB
      เปิดดู:
      1,621
    • 153.gif
      153.gif
      ขนาดไฟล์:
      34.3 KB
      เปิดดู:
      1,718
    • 154.gif
      154.gif
      ขนาดไฟล์:
      48.4 KB
      เปิดดู:
      1,608
    • 155.gif
      155.gif
      ขนาดไฟล์:
      48.6 KB
      เปิดดู:
      1,627
    • 156.gif
      156.gif
      ขนาดไฟล์:
      44.1 KB
      เปิดดู:
      243

แชร์หน้านี้

Loading...