หน้าที่ของเราคือทำ ความเพียร- พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโธ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 19 มีนาคม 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    หน้าที่ของเราคือทำความเพียร-พระโพธิญาณเถร (ชาสุภัทโธ)<o></o>
    <o></o>
    พระศาสดาจึงตรัสว่าเรื่องของเป็นเองเมื่อเราทำไปถึงชั้นนี้แล้วเราก็ปล่อยตามบุญวาสนาบารมีของเราแต่เราไม่หยุดทำความเพียรจะช้าหรือเร็วเราบังคับไม่ได้เหมือนปลูกต้นไม้มันรู้จักของมันมันอยากเร็วก็รู้ว่ามันหลงมันอยากช้าก็รู้ว่ามันหลงเมื่อทำแล้วจึงเกิดผลขึ้นมาเหมือนเราปลูกต้นไม้เช่นปลูกพริกต้นนี้หน้าที่ของเราคือขุดหลุมปลูกให้น้ำให้ปุ๋ยรักษาแมลงให้มันเท่านั้นนี่เรื่องของเรานี่เรื่องศรัทธาของเราส่วนต้นพริกจะโตก็เป็นเรื่องของมันไม่ใช่เรื่องของเราจะไปถึงให้มันยืดขึ้นมาก็ไม่ได้ผิดเรื่องเราต้องให้น้ำเอาปุ๋ยใส่ให้<o></o>

    ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ก็จะสบายจะถึงชาตินี้ก็ช่างถึงชาติหน้าก็ตามเรามีศรัทธาอย่างนี้แล้วมีความรู้สึกแน่นอนแล้วอย่างนี้จะเร็วหรือช้านั้นเป็นเรื่องของบุญวาสนาบารมีของเราทีนี้ก็รู้สึกสบายเหมือนขับรถม้าก็มิได้เอารถไปก่อนม้าแต่ก่อนมันเอารถไปก่อนม้าถ้าไถนาก็เดินก่อนควายหมายความว่าใจมันเร็วมากร้อนมากทีนี้ไม่เป็นอย่างนั้นไม่เดินก่อนต้องเดินตามหลังควาย<o></o>

    ข้าเอาน้ำให้กินเอาปุ๋ยให้กินกินไปเถอะมดปลวกมาข้าจะไล่ให้เจ้าเท่านั้นแหละต้นพริกต้นนี้มันก็จะงามขึ้นเองเมื่อมันงามแล้วเราจะบังคับว่าแกต้องเป็นดอกเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรื่องของเราอย่าทำเราจะเป็นทุกข์เปล่าๆมันจะเป็นของมันเองเมื่อมันเป็นดอกแล้วเราจะให้เป็นเม็ดเดี๋ยวนี้อย่าไปบังคับมันทุกข์จริงนาทุกข์จริงๆเมื่อรู้อย่างนี้แล้วเรารู้จักหน้าที่ของเราของเขาหน้าที่ของใครของมันจิตก็จะรู้หน้าที่การงานถ้าจิตไม่รู้หน้าที่การงานก็จะไปบังคับต้นพริกให้มีผลในวันนั้นเองให้มันโตเป็นดอกเป็นผลขึ้นในวันนั้นนั่นล้วนแต่เป็นตัวสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมาทั้งนั้น<o></o>

    ถ้ารู้อย่างนี้คิดอย่างนี้รู้ว่ามันหลงมันผิดรู้อย่างนี้แล้วก็ปล่อยให้เป็นเรื่องบุญวาสนาบารมีต่อไปเราก็ทำของเราไปไม่ต้องกลัวว่าจะนานร้อยชาติพันชาติก็ช่างมันจะชาติไหนก็ตามปฏิบัติสบายๆนี่แหละ<o></o>

    รู้ความจริงแล้ว
    ทำผิดไม่ได้<o></o>

    จิตถ้าตกกระแสแล้วไม่กลับความชั่วนิดหน่อยนั้นพ้นแล้วโสดา (โสดาบันบุคคล = พระอริยชั้นต้น) ท่านว่าจิตน้อมไปแล้วท่านจึงว่าพวกเหล่านี้จะมาสู่อบายอีกไม่ได้มาตกนรกอีกไม่ได้จะตกได้อย่างไรจิตละบาปแล้วเห็นโทษในบาปแล้วจะให้ทำความชั่วทางกายวาจาอีกนั้นทำไม่ได้เมื่อทำบาปไม่ได้ทำไมจึงจะไปสู่อบายทำไมจึงจะไปตกนรกได้มันน้อมเข้าไปแล้วเมื่อจิตน้อมเข้าไปมันก็รู้จักหน้าที่รู้จักการงานรู้จักปฏิปทารู้จักผ่อนหนักผ่อนเบารู้จักกายของเรารู้จักจิตของเรารู้จักรูปเรานามเราสิ่งที่ควรละวางก็ละไปวางไปเรื่อยๆไม่ต้องสงสัย<o></o>

    <o></o>
    เห็นอสุภะในทุกคน
    <o></o>

    นี่เรื่องที่อาตมาได้ปฏิบัติมาไม่ใช่ว่าจะไปทำให้มันละเอียดหลายสิ่งหลายประการเอาให้ลมละเอียดอยู่ในใจนี้ถ้าเห็นรูปนี้ขอบรูปนี้เพราะอะไรก็เอารูปนี้มาพิจารณาดูว่าเกสาคือผมโลมาคือขนนขาคือเล็บทันตาคือฟันตะโจคือหนังพระพุทธเจ้าให้เอาพวกนี้มาพิจารณาย้ำเข้าไปแยกออกแจกออกเผามันออกลอกมันออกทำอยู่อย่างนี้เอาอยู่อย่างนี้จนมันไม่ไปไหนมองพวกเดียวกันเช่นพระเณรเวลาเดินบิณฑบาตเห็นพระเห็นคนต้องกำหนดให้เป็นร่างผีตายซากผีตายเดินไปก่อนเราเดินไปข้างหน้าเดินไปเปะๆปะๆกำหนดมันเข้าทำความเพียรอยู่อย่างนั้นเจริญอยู่อย่างนั้นเห็นผู้หญิงรุ่นๆนึกชอบขึ้นมาก็กำหนดให้เป็นผีเป็นเปรตเป็นของเน่าเหม็นไปหมดทุกคนไม่ให้เข้าใกล้ให้ในใจของเราเป็นอยู่อย่างนี้ถึงอย่างไรมันก็ไม่อยู่หรอกเพราะมันเป็นของเปื่อยของเน่าให้เราเห็นแน่นอน<o></o>

    พิจารณาให้มันแน่ให้มันเป็นอยู่ในใจอย่างนี้แล้วไปทางไหนก็ไม่เสียให้ทำจริงๆเห็นเมื่อใดก็เท่ากับมองเห็นซากศพเห็นผู้หญิงก็ซากศพเห็นผู้ชายก็ซากศพตัวเราเองก็เป็นซากศพด้วยเหมือนกันเลยมีแต่ของอย่างนี้ทั้งนั้นพยายามเจริญให้มากบำเพ็ญให้อยู่ในใจนี้มากขึ้นอีกอาตมาว่ามันสนุกจริงๆถ้าเราทำแต่ถ้าไปมัวอ่านตำราอยู่มันยากต้องทำเอาจริงๆทำให้มีกรรมฐานในตัวเรา<o></o>
    <o></o>
    อย่ามักง่ายข้ามขั้นตอน
    <o></o>

    การเรียนอภิธรรมนั่นก็ดีอยู่
    แต่จะต้องไม่ติดตำรามุ่งเพื่อรู้ความจริงหาทางพ้นทุกข์จึงจะถูกทางเช่นในปัจจุบันมีการสอนการเรียนวิปัสสนาแบบต่างๆหลายๆอาจารย์อาตมาว่าวิปัสสนานี่มันทำไม่ได้ง่ายๆจะไปทำเอาเลยไม่ได้ถ้าไม่ดำเนินไปจากศีลลองดูก็ได้เรื่องศีลเรื่องสิกขาบทบัญญัตินี่ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อยแล้วไปไม่รอดเพราะเป็นการข้ามมรรคบางคนพูดว่าสมถะไม่ต้องไปทำข้าไปวิปัสสนาเลยคนมักง่ายหรอกที่พูดเช่นนั้นเขาว่าศีลไม่ต้องเกี่ยวก็การรักษาศีลนี้มันยากไม่ใช่เล่นถ้าจะข้ามไปเลยมันก็สบายเท่านั้นอะไรที่ยากแล้วข้ามไปใครๆก็อยากข้าม<o></o>

    มีพระรูปหนึ่งบอกว่าเป็นนักปฏิบัติเมื่อมาขออยู่กับอาตมาถามถึงระเบียบปฏิบัติจึงอธิบายให้ฟังว่าเมื่อมาอยู่กับผมจะสะสมเงินทองและสิ่งของไม่ได้ผมถือตามวินัยท่านพูดว่าท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมายอาตมาบอกว่าผมไม่ทราบกับท่านท่านเลยถามว่าถ้าผมจะใช้เงินทองแต่ไม่ยึดไม่หมายจะได้ไหมอาตมาตอบว่าได้ถ้าท่านเอาเกลือมากินดูแล้วไม่เค็มก็ใช้ได้ท่านจะพูดเอาเฉยๆเพราะท่านขี้เกียจรักษาของจุกๆจิกๆนี่มันยากเมื่อเอาเกลือมากินท่านไม่เค็มแล้วผมจึงเชื่อถ้ามันไม่เค็มจะเอามาให้กินสักกระทอ (เข่งเล็ก) ลองดูมันจะไม่เค็มจริงๆหรือเรื่องไม่ยึดไม่หมายนี้ไม่ใช่เรื่องพูดเอาคาดคะเนเอาไม่ใช่ถ้าท่านพูดอย่างนี้อยู่กับผมไม่ได้ท่านจึงลาไป<o></o>
    <o></o>
    ศีลและสมถะต้องทำให้มาก
    <o></o>

    เรื่องศีลเรื่องธุดงควัตรพวกเราต้องพยายามปฏิบัติพวกญาติโยมก็เหมือนกันถึงปฏิบัติอยู่บ้านก็ตามพยายามให้มีศีลห้ากายวาจาของเราพยายามให้เรียบร้อยพยายามดีๆเถอะค่อยทำค่อยไป<o></o>

    การทำสมถะนี้อย่านึกว่าไปทำครั้งหนึ่งสองครั้งแล้วมันไม่สงบก็เลยหยุดยังไม่ถูกต้องทำนานอยู่นะทำไมจึงนานคิดดูสิเราปล่อยมานี่กี่ปีเราไม่ได้ทำมันว่าไปทางโน้นก็วิ่งตามมันมันว่าไปทางนี้ก็วิ่งตามมันที่นี้จะมาหยุดให้มันหยุดอยู่เท่านี้เดือนสองเดือนจะให้มันนิ่งมันก็ยังไม่พอคิดดูเถิดเรื่องการทำจิตใจให้เราเข้าใจว่าสงบในเรื่องสงบในอารมณ์ทีแรกพอเกิดอารมณ์ใจไม่สงบใจวุ่นวายทำไมจึงวุ่นวายเพราะมีตัณหาไม่อยากให้คิดไม่อยากให้มีอารมณ์ความไม่อยากนี่แหละตัวอยากคือวิภวตัณหายิ่งไม่อยากเท่าไรมันยิ่งชวนกันมา“เราไม่อยากมันทำไมจึงมาไม่อยากให้มันเป็นทำไมมันเป็นนั้นแหละเราอยากให้มันเป็นเพราะเราไม่รู้จักใจเจ้าของแหมเล่นอยู่กับพวกนี้กว่าจะรู้ตัวว่าผิดก็นานโขอยู่คิดๆดูแล้วโอเราไปเรียกมันมามันจึงมาไม่อยากให้มันเป็นอยากให้มันสงบไม่อยากให้มันฟุ้งซ่านนี่แหละความอยากทั้งแท่งละ<o></o>

    <o></o>
    มีสติดูจิต
    เห็นความคิดเกิดปัญญา<o></o>

    ช่างมันเถอะเราทำของเราไปเมื่อมีอารมณ์อะไรมาก็ให้พิจารณามันไปเรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาทิ้งลงใส่สามขุมนี่เลยแล้วคิดไปพิจารณาไปเรื่องอารมณ์นั้นโดยมากเรามีแต่เรื่องคิดคิดตามอารมณ์เรื่องคิดกับเรื่องปัญญามันคนละอย่างมันพาไปอย่างนั้นก็คิดตามมันไปถ้าเป็นเรื่องความคิดมันไม่หยุดแต่เรื่องปัญญาแล้วหยุดอยู่นิ่งไม่ไปไหนเราเป็นผู้รับรู้ไว้เมื่ออารมณ์อันนี้อันนั้นมาจะเป็นอย่างนี้อย่างนั้นเรารู้ๆไว้เมื่อถึงที่สุดแล้วก็ว่าเออเรื่องเจ้าคิดเจ้านึกเจ้าวิตกวิจารมานี้เรื่องเหล่านี้มันไม่เป็นแก่นสารทั้งหมดเป็นเรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาทั้งสิ้นตัดบทมันเลยทิ้งลงไตรลักษณ์เลยยุบไปครั้นนั่งต่อไปอีกมันก็เกิดขึ้นอีกเป็นมาอีกเราก็ดูมันไปสะกดรอยมันไป<o></o>

    เปรียบเหมือนกับเราเลี้ยงควายหนึ่งต้นข้าวสองควายสามเจ้าของควายจะต้องกินต้นข้าวต้นข้าวเป็นของที่ควายจะกินจิตของเราก็เหมือนควายอารมณ์คือต้นข้าวผู้รู้ก็เหมือนเจ้าของการปฏิบัติเป็นเหมือนอย่างนี้ไม่ผิดเปรียบเทียบดูเวลาเราไปเลี้ยงควายทำอย่างไรปล่อยมันไปแต่เราพยายามดูมันอยู่ถ้ามันเดินไปใกล้ต้นข้าวเราก็ตวาดมันควายมันได้ยินก็จะถอยออกแต่เราอย่าเผลอนะถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียงก็เอาไม้ค้อนฟาดมันจริงๆมันจะไปไหนเสียมันจะได้กินต้นข้าวหรือแต่เราอย่าไปนอนหลับกลางวันก็แล้วกันถ้าขืนนอนหลับต้นข้าวหมดแน่ๆ<o></o>

    เรื่องปฏิบัติก็เช่นกันเมื่อเราดูจิตของเราอยู่ผู้รู้ดูจิตเจ้าของผู้ใดตามดูจิตผู้นั้นจักพ้นบ่วงของมารจิตก็เป็นจิตแล้วใครจะมาดูจิตอีกเล่าเดี๋ยวก็งงงันเท่านั้นจิตอันหนึ่งผู้รู้อันหนึ่งรู้ออกมาจากจิตนั่นรู้จิตเป็นอย่างไรสบอารมณ์เป็นอย่างไรปราศจากอารมณ์เป็นอย่างไรผู้ที่รู้อันนี้ท่านเรียกว่าผู้รู้ผู้รู้จะตามดูจิตผู้รู้นี้จะเกิดปัญญาจิตนั้นคือความนึกคิดถ้าพบอารมณ์นั้นก็แวะไปถ้าพบอารมณ์อีกมันก็แวะไปอีกเหมือนกับควายเรานั่นแหละมันจะไปทางไหนเราก็ดูมันอยู่มันจะไปไหนได้มันจะไปใกล้ต้นข้าวก็ตวาดมันอยู่ว่าไม่ฟังก็ถูกไม้ค้อนเท่านั้นทรมานมันอยู่อย่างนี้<o></o>

    จิตก็เหมือนกันเมื่อถูกอารมณ์มันจะเข้าจับทันทีเมื่อมันเข้าจับผู้รู้ต้องสอนต้องพิจารณามันว่าดีไม่ดีอธิบายเหตุผลให้มันฟังมันไปจับสิ่งอื่นอีกมันนึกว่าเป็นของน่าเอาผู้รู้นี้ก็สอนมันอีกอธิบายให้มีเหตุผลจนมันทิ้งอย่างนี้จึงสงบได้จับอะไรมาก็มีแต่ของไม่น่าเอาทั้งนั้นมันก็หยุดเท่านั้นมันขี้เกียจเหมือนกันเพราะมีแต่ถูกด่าถูกว่าเสมอทรมานมันเข้าทรมานเข้าไปถึงจิตหัดมันอยู่อย่างนั้นแหละ<o></o>

    <o></o>
    รู้ตัวเองแล้วสบาย


    ตั้งแต่ครั้งอาตมาปฏิบัติอยู่ในป่าก็ปฏิบัติอย่างนี้สอนศิษย์ทั้งหลายก็สอนอย่างนี้เพราะต้องการเห็นความจริงไม่ต้องการเห็นในตำราต้องการเห็นในใจเจ้าของว่าตัวเองหลุดพ้นจากสิ่งที่คิดนั้นหรือยังเมื่อหลุดแล้วก็รู้จักเมื่อยังไม่หลุดก็พิจารณาเหตุผลจนรู้เรื่องของมันถ้ารู้เรื่องของมันก็หลุดเองถ้ามีอะไรมาอีกติดอะไรอีกก็พิจารณาสิ่งนั้นอีกไม่หลุดไม่ไปย้ำมันอยู่ตรงนี้มันจะไปไหนเสียอาตมาชอบให้เป็นอย่างนั้นในตัวเองเพราะพระพุทธองค์ตรัสว่าปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญู-หิวิญญูชนทั้งหลายรู้เฉพาะตนก็ต้องหาเอาจากเจ้าของให้รู้จากตัวเองนี้แหละ<o></o>

    ถ้าเชื่อตัวเองก็รู้สึกสบายเขาว่าไม่ดีก็สบายเขาว่าดีก็สบายเขาจะว่าอย่างไรก็สบายอยู่เพราะอะไรจึงสบายเพราะรู้จักตัวเองถ้าคนอื่นว่าเราดีแต่เราไม่ดีเราจะเชื่อเขาอย่างนั้นหรือเราก็ไม่เชื่อเขาเราปฏิบัติของเราอยู่คนไม่เชื่อตนเองเมื่อเขาว่าดีก็ดีตามเขาก็เป็นบ้าไปอย่างนั้นถ้าเขาว่าชั่วเราก็ดูเรามันไม่ใช่หรอกเขาว่าเราทำผิดแต่เราไม่ผิดดังเขาว่าเขาพูดไม่ถูกก็ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไมเพราะเขาพูดไม่ถูกตามความเป็นจริงถ้าเราผิดดังเขาก็ถูกดังเขาว่าแล้วไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไมอีกถ้าคิดได้ดังนี้รู้สึกสบายจริงๆมันเลยไม่มีอะไรผิดล้วนแต่เป็นธรรมทั้งหมดอาตมาปฏิบัติอย่างนี้ถ้าปฏิบัติอย่างนี้มันลัดตรงจริงๆแม้จะเอาธัมมะธัมโมหรืออภิธรรมมาเถียงอาตมาก็ไม่เถียงไม่เถียงหรอกให้แต่เหตุผลเท่านั้น<o></o>

    ให้เข้าใจเสียว่าเรื่องปฏิบัตินี้พระพุทธเจ้าให้วางทั้งหมดวางอย่างรู้มิใช่ว่าวางอย่างไม่รู้จะวางอย่างควายอย่างวัวไม่เอาใจใส่อย่างนี้ไม่ถูกวางเพราะการรู้สมมติบัญญัติความไม่ยึด<o></o>
    <o></o>
    ยึดไว้ก่อน
    พอร้อนแล้วก็วาง<o></o>

    ทีแรกท่านสอนว่าทำให้มากเจริญให้มากยึดให้มากยึดพระพุทธยึดพระธรรมยึดพระสงฆ์ยึดให้มั่นท่านสอนอย่างนี้เราก็ยึดเอาจริงๆยึดไปๆคล้ายกับท่านสอนว่าอย่าไปอิจฉาคนอื่นให้ทำมาหากินด้วยน้ำพักน้ำแรงตัวเองมีวัวมีควายมีไร่มีนาให้หาเอาจากของๆเรานี่แหละไม่บาปหรอกถ้าไปทำของคนอื่นมันบาปผู้ฟังจึงเชื่อทำเอาจากของตนเองอย่างเต็มที่แต่มันก็ยุ่งยากลำบากเหมือนกันที่ยากลำบากนั้นเพราะของเราเองก็ไปบ่นปรับทุกข์ให้ท่านฟังอีกว่ามีสิ่งของใดๆก็ยุ่งยากเป็นทุกข์เมื่อเห็นความยุ่งยากแล้วแต่ก่อนเข้าใจว่ายุ่งยากเพราะแย่งชิงของคนอื่นท่านจึงแนะให้ทำของๆตนนึกว่าจะสบายครั้นทำแล้วก็ยังยุ่งยากอยู่ท่านจึงเทศน์อย่างใหม่ให้ฟังอีกว่า“มันก็ต้องเป็นอย่างนี้ถ้าไปยึดไปหมายมันก็เป็นอย่างนี้ไม่ว่าของใครทั้งนั้นไฟอยู่บ้านเขาไปจับมันก็ร้อนไฟอยู่บ้านเราไปจับมันก็ร้อนอยู่อย่างนั้นท่านก็พูดตามเราเพราะท่านสอนคนบ้าการรักษาคนบ้าก็ต้องทำอย่างนั้นพอช้อคไฟได้ท่านก็ช้อคเมื่อก่อนยังอยู่ต่ำเกินไปเลยไม่ทันรู้จักเรื่องอุบายของพระพุทธเจ้าท่านสอนเราต่างหากหมดเรื่องของท่านมาติดเรื่องของเราถึงจะเป็นอย่างไรก็ตามเอาอุบายทั้งหลายเหล่านี้นั่นแหละมาสอนเรา
    <o></o>
    การปฏิบัติคือการฝืนใจตัวเอง
    <o></o>

    เรื่องปฏิบัตินี่อาตมาพยายามค้นคิดเหลือเกินเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพราะเชื่อตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่ามรรคผล นิพพานมีอยู่มันมีอยู่ดังพระองค์ตรัสสอนแต่ว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดจากการปฏิบัติดีเกิดจากการทรมานกล้าหาญกล้าฝึกกล้าหัดกล้าคิดกล้าแปลงกล้าทำ<o></o>

    การทำนั้นทำอย่างไรท่านให้ฝืนใจตัวเองใจเราคิดไปทางนี้ท่านให้ไปทางโน้นใจเราคิดไปทางโน้นท่านให้มาทางนี้ทำไมท่านจึงฝืนใจเพราะใจถูกกิเลสเขาพอกมาเต็มที่แล้วมันยังไม่ได้ฝึกหัดดัดแปลงพระองค์จึงไม่ให้เชื่อมันยังไม่เป็นศีลยังไม่เป็นธรรมเพราะใจมันยังไม่แจ้งไม่ขาวจะไปเชื่อมันได้อย่างไรได้ท่านจึงมิให้เชื่อเพราะใจเป็นกิเลสทีแรกมันเป็นลูกน้องกิเลสอยู่นานๆไปเลยกลายเป็นกิเลสท่านเลยบอกว่าอย่าเชื่อใจ<o></o>

    ดูเถิดข้อปฏิบัติมีแต่เรื่องฝืนใจทั้งนั้นฝืนใจก็เดือดร้อนพอเดือดร้อนก็บ่นว่าแหมลำบากเหลือเกินทำไม่ได้แต่พระองค์ไม่นึกอย่างนั้นทรงนึกว่าถ้าเดือดร้อนนั้นถูกแล้วแต่เราเข้าใจว่าไม่ถูกเป็นเสียอย่างนี้มันจึงลำบากเมื่อเริ่มทำเดือดร้อนเราก็นึกว่าไม่ถูกทางคนเราอยากมีความสุขมันจะถูกหรือไม่ถูกไม่รู้เมื่อขัดกับกิเลสตัณหาก็เลยเป็นทุกข์เดือดร้อนก็หยุดทำเพราะเข้าใจว่าไม่ถูกทางแต่พระองค์ตรัสว่าถูกแล้วถูกกิเลสแล้วกิเลสมันเร่าร้อนแต่เรานึกว่าเราเร่าร้อน<o></o>

    พระพุทธเจ้าว่ากิเลสเร่าร้อนเราทั้งหลายเป็นอย่างนี้มันจึงยากเราไม่พิจารณาโดยมากมักเป็นไปตามกามสุขัลลิกานุโยคอัตตกิลมถานุโยคมันติดอยู่นี่อยากทำตามใจของเราอันไหนชอบก็ทำอยากทำตามใจให้นั่งสบายนอนสบายจะทำอะไรก็อยากสบายนี่กามสุขัลลิกานุโยคติดสุขมันจะไปได้อย่างไร

    ถ้าหากเอากามความสบายไม่ได้แล้วความสุขไม่ได้แล้วก็ไม่พอใจโกรธขึ้นมาก็เป็นทุกข์เป็นโทสธรรมนี่เป็นอัตตกิลมถานุโยคซึ่งไม่ใช่หนทางของผู้สงบไม่ใช่หนทางของผู้ระงับ<o></o>

    กามสุขัลลิกานุโยคอัตตกิลมถานุโยคทางสองเส้นนี้พระพุทธเจ้าไม่ให้เดินความสุขพระองค์ให้รับทราบไว้ความโกรธความเกลียดความไม่พอใจก็ไม่ใช่ทางที่พระพุทธเจ้าเดินไม่ใช้ทางของสมณะเป็นทางที่ชาวบ้านเดินอยู่พระผู้สงบแล้วไม่เดินอย่างนั้นเดินไปตรงกลางสัมมาปฏิปทานี่กามสุขัลลิกานุโยคอยู่ทางซ้ายอัตตกิลมถานุโยคอยู่ทางขวา


    คัดลอกจาก
    หน้าที่ของเราคือทำความเพียร- พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโธ) | OpenBase.in.th
    <o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...