หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 13 มีนาคม 2014.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    คำนำ

    หนังสือ "คำสอนเซน" ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ เล่มนี้ ผู้เขียนได้เขียนขึ้นเนื่องจากมีความสนใจ ในคำสอนของพระอาจารย์โพธิธรรม (ตั๊กม้อ) ท่านเป็นพระอินเดียรูปเดียว ที่ได้นำเอาหลักพระพุทธศาสนาอันแท้จริง เข้ามาเผยแผ่ในประเทศจีน และมีผู้สืบทอดคำสอนของท่านจนเป็นที่ยอมรับทั่วไป และได้ยกย่องให้ท่านเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 1 แห่งนิกายเซนในประเทศจีน ในส่วนของ "หมวดที่ 1 เซนในสายเลือด" นั้น ผู้เขียนได้เขียนเกี่ยวกับอัตชีวประวัติความเป็นมาของท่าน ตั้งแต่ท่านได้ตัดสินใจเดินทางมาจากเมืองปัลลวะ ประเทศอินเดียทางตอนใต้ จนท่านได้เข้ามาพำนักในเมืองจีน และผู้เขียนได้เขียนถึงเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นในชีวิตท่าน ซึ่งมีผลทำให้คำสอนของท่านได้ถูกสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ในส่วนของ "หมวดที่ 2 หลักธรรมชาติ" นั้น ผู้เขียนได้นำเอาหลักธรรมอันคือธรรมชาติ ที่ปรากฏมาในคำสอนของพระอาจารย์โพธิธรรม (ตั๊กม้อ) มาเขียนอธิบายข้ออรรถข้อธรรมนั้นตามความเข้าใจของผู้เขียนเอง และเป็นการเขียนที่ตรงต่อหลักคำสอนเซนของคณาจารย์ ผู้ซึ่งเป็นครูสอนเซนในยุคก่อนๆ โดยเขียนขึ้นด้วยการอิงหลักความเป็นธรรมธาตุในสองลักษณะ คือ อสังขตธาตุ (ธรรมธาตุแห่งธรรมชาติที่ว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น) และสังขตธาตุ (ธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง) และท้ายที่สุดใน "หมวดที่ 3 สายเลือดแห่งความเป็นพุทธะ" เป็นการเขียนขึ้นด้วยการแปลจาก คำสอนของพระอาจารย์โพธิธรรม (The Zen teaching of Bodidharma) ซึ่งเป็นคำสอนที่ถูกรวบรวมไว้โดยคณาจารย์เซนรุ่นหลัง ผู้ซึ่งเป็นผู้สืบทอดคำสอนของพระอาจารย์โพธิธรรม เป็นคำสอนที่ถูกรวบรวมมาจากลูกศิษย์ของท่านหลายคน ที่ได้บันทึกคำสอนอันคือเทศนาธรรมของท่านไว้ แต่ทั้งนี้ผู้เขียนได้เลือกแปลเฉพาะคำสอนที่น่าสนใจ และสามารถเป็นหลักให้ผู้อ่านได้อ่านเพื่อทำความเข้าใจ ให้ตรงต่อความเป็นจริงตามหลักธรรมชาติ และสามารถนำไปปฏิบัติตามธรรมชาตินั้นได้

    ด้วยคำสอนของพระอาจารย์โพธิ ธรรม เป็นคำสอนที่ตรงต่อธรรมที่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้ เป็นคำสอนที่ชี้ตรงต่อความเป็นธรรมในความเป็นธรรมชาติของมัน ก็ด้วยคำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ที่ได้ทรงตรัสไว้ว่า พระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองในแถบสุวรรณภูมิต่อไปในภายภาคหน้า โดยเฉพาะในประเทศไทย ผู้เขียนมีเจตนารมณ์ที่จะเผยแผ่คำสอนธรรมอันคือธรรมชาตินี้ ให้เป็นที่ยอมรับทั่วไปในบ้านเกิดเมืองนอนของผู้เขียนเอง ผู้เขียนจึงหวังว่าคำสอนอันคือธรรมชาติแห่งเซนนี้ จะเป็นที่ยอมรับแพร่หลายทั่วไปในประเทศไทยในกาลข้างหน้า ผู้เขียนมีความหวังว่าหากผู้อ่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้ และมีความเข้าใจในธรรมชาติอันแท้จริงนี้แล้ว ก็ขอให้ผู้อ่านจงโปรดได้ช่วยสงเคราะห์ ให้ธรรมชนิดนี้เป็นธรรมทานแก่บุคคลอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ยังมืดมนและอับจนหนทาง โดยหวังว่าผู้อ่านจะได้โปรดช่วยชี้ทางอันคือหนทางสว่างที่แท้จริง ให้กับบุคคลอื่นผู้ที่เขามีความสนใจ และมีศรัทธาที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นในชาตินี้

    และท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนหวังว่าธรรมอันคือคำสอนเซนที่เกี่ยวกับธรรมชาตินี้ จะช่วยให้ผู้อ่านทุกคนและผู้ที่สนใจ ได้ค้นพบหนทางที่แท้จริง และนำพาชีวิตตนเองให้พ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวงได้ และสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ในฐานะที่ตนเองได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้มีบุญวาสนานำพาชีวิตของตน เข้ามาพึ่งพิงความร่มเย็น ภายใต้ร่มเงาแห่งบวรพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาขององค์พระศาสดาตถาคตเจ้า

    ขอแสดงความนับถือ
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    9 มกราคม 2557

    สารบัญ

    หมวดที่ 1 เซนในสายเลือด
    บทที่ 1 การณ์เป็นไปเช่นนั้น
    บทที่ 2 เซนในสายเลือด
    บทที่ 3 ปรมาจารย์ตั๊กม้อ
    บทที่ 4 เดินทางสู่การเพาะบ่ม
    บทที่ 5 บัวบานกลางหิมะสีแดงฉาน
    บทที่ 6 ตายเพื่ออิสรภาพที่แท้จริง
    บทที่ 7 แต่งตั้งธรรมทายาท
    บทที่ 8 การจากไปด้วยรองเท้าข้างเดียว
    บทที่ 9 พระมหากัสสปะ

    หมวดที่ 2 หลักธรรมชาติ
    บทที่ 10 เข้าสู่กระแสธรรมอันคือ ธรรมชาติ
    บทที่ 11 ความทุกข์ยาก คือ เมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ
    บทที่ 12 ความเงียบบนเส้นทางนั้น
    บทที่ 13 วิถีที่เรียบง่าย
    บทที่ 14 "ตถตา"มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น
    บทที่ 15 วิถีธรรมชาติสู่ความเป็นธรรมชาติ
    บทที่ 16 เข้ามาได้เลย
    บทที่ 17 โลกแห่งความสมบูรณ์
    บทที่ 18 ความบริบูรณ์แห่งมรรค
    บทที่ 19 จิต
    บทที่ 20 การเกิดขึ้นแห่งธรรม
    บทที่ 21 ธรรมชาติยังคงอยู่
    บทที่ 22 ความเพียรพยายาม
    บทที่ 23 การเข้าถึง
    บทที่ 24 อิสรภาพที่แท้จริง
    บทที่ 25 ทางสายกลาง
    บทที่ 26 นาข้าวแห่งพุทธโคดม
    บทที่ 27 พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้แสดงธรรมอะไรเลย
    บทที่ 28 ไม่มีอริยสัจ
    บทที่ 29 เคลื่อนไหวดั่งสายลม
    บทที่ 30 ธรรมชาติจำลอง
    บทที่ 31 ต้นธาตุต้นธรรม
    บทที่ 32 จิตที่ปรุงแต่งไปในความว่างเปล่า

    หมวดที่ 3 สายเลือดแห่งความเป็นพุทธะ
    บทที่ 33 ค้นหาตัวเอง
    บทที่ 34 ธรรมชาติแห่งพุทธะ
    บทที่ 35 มายา
    บทที่ 36 พุทธะคือหน้าที่
    บทที่ 37 จิตสู่จิต
    บทที่ 38 ปลดปล่อยตนเอง
    บทที่ 39 นิพพาน
    บทที่ 40 ความเป็นพุทธะ
    บทที่ 41 กรรม
    บทที่ 42 ปฏิบัติตามธรรมชาติ


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร





    [​IMG]
     
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 1 การณ์เป็นไปเช่นนั้น

    ความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดิน ทำให้ต้นไม้ได้แผ่กิ่งก้าน ผลิใบบางต่อยอดต่อกิ่งของมันออกไป สายฝนที่โปรยปรายตามฤดูกาล ทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ รากของต้นไม้เร่งทำหน้าที่ของมันดูดซับน้ำหล่อเลี้ยงลำต้น เมื่อมันเป็นวาระแห่งความอุดมสมบูรณ์ที่มาเยี่ยมเยือน ต้นไม้มันก็พร้อมแสดงศักยภาพในความงดงามของมันออกมา ปุ่มเล็กๆค่อยๆทแยงดันออก จากข้อต่อระหว่างใบไม้และเปลือกหุ้มลำต้น การเจริญเติบโตเป็นไปด้วยความเหมาะสมบนกาลเวลา เป็นความพร้อมที่จะผลิตดอกออกผลมา ความสมบูรณ์อย่างเต็มที่ก็ทำให้เปลือก ที่เป็นปุ่มที่หุ้มเนื้อเยื่อมันปริออก เยื่อที่แผ่กลีบบางๆมีสีสันสวยงาม มันบานออกเพื่อความงามของมันตามรูปทรงแห่งธรรมชาติ มันคือดอกไม้ที่ธรรมชาติแห่งต้นแม่ได้รังสรรค์ปั้นแต่งขึ้น นี่คือความเป็นของดอกไม้

    ไข่อ่อนของตัวหนอนไหมที่ถูกแม่ไข่ทิ้งไว้ มันสามารถเจริญเติบโตของมันเองตามธรรมชาติ สัญชาตญาณจะพาให้มันเลี้ยงดูหากินด้วยตัวมันเอง เมื่อมันเติบโตพอมันจึงหาอาหารกินใบไม้ เพื่อพ่นเส้นใยทำรังห่อหุ้มตัวของตัวเอง อวัยวะเริ่มแปรเปลี่ยนสภาพไปจากความเป็นหนอน หู ตา แขน ขา และปีก เริ่มแทงทะลุเหยียดออกมาจากลำตัว เมื่อความพร้อมมาเยือนสำหรับการเริ่มต้น ของชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่งของดักแด้นั้น การลอกคราบ เพื่อโบยบินกระพือปีกไป ในความเป็นอิสรเสรีบนโลกกว้าง ก็เริ่มขึ้น นี่คือความเป็นไปแห่งผีเสื้อ

    เมื่อ ดอกไม้และผีเสื้อ ยังคงปรากฏในความเป็นไปตามธรรมชาติอยู่เช่นนี้ ความสัมพันธ์ของสองสิ่ง ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงโดยรูปลักษณ์ จึงเข้ามาเกี่ยวพันกันด้วยเหตุปัจจัยที่ถึงพร้อม ในความเป็นของมันเองทั้งสอง ดอกไม้ก็ชูช่อบานไสวท้าทายแดดลม อวดโฉมความงามของมันโดยไม่สนใจใคร ผีเสื้อก็โบกบินไปภายใต้ผืนท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ไพศาล เมื่อดอกไม้ทำหน้าที่เบ่งบานออกมาในยามเช้าแห่งอรุณรุ่ง และผีเสื้อก็ปรากฏกาย ณ ที่นั้น ถึงแม้ทั้งสองจะไม่มีใจถวิลหาต้องการซึ่งกันและกัน แต่ความมีหน้าที่ต่อกันตามธรรมชาติจึงทำให้เป็นไปเช่นนั้นเอง ดอกไม้บานเพื่อแสดงให้เห็นละอองเกสรของมัน ผีเสื้อก็ก้มดูดกินน้ำหวานที่ซ่อนอยู่ในเกสรของดอกไม้นั้น มันดูดกินดอกแล้วดอกเล่า เป็นการผสมพันธุ์ให้ต้นไม้นั้นผลิเป็นผลดอกออกมา ธรรมชาติได้ดึงดูดให้สองสิ่งทำหน้าที่ต่อกันอย่างลงตัว ดอกไม้ไม่เคยเชื้อเชิญผีเสื้อสักครั้งเดียว และผีเสื้อก็ไม่มีความตั้งใจถวิลหาดอกไม้ แต่เมื่อเหตุและปัจจัยเป็นไปตามธรรมชาติ ดอกไม้จึงบานออก ผีเสื้อจึงบินมาวน การณ์จึงเป็นไปเช่นนั้น เป็นไปอยู่แบบนั้น



    [​IMG]





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row2"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>บทที่ 2 เซนในสายเลือด

    เมื่อ ครั้งที่ฉันยังปฏิบัติธรรมฝึกฝนตนเองอยู่ที่อินเดีย ท่านอาจารย์สอนให้ฉันรู้จักความเป็นตัวตนที่แท้จริงของฉันเอง ได้รู้จักหน้าตาที่แท้จริงของธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ที่อยู่มากับตัวฉันเองโดยตลอดตั้งแต่ต้น อาจารย์ท่านได้มีความเมตตากรุณาถ่ายทอดธรรมชาตินั้น มาสู่เนื้อหาความเป็นธรรมชาติในความเป็นฉันเอง เพื่อให้ฉันได้ตระหนักว่าแท้จริงชีวิตซึ่งเป็นชีวิตจริงๆของฉันนั้นคืออะไร และควรดำเนินชีวิตนี้ไปในทางใดลักษณะใด หลังจากนั้นต่อมา ฉันจึงได้รู้อย่างแจ้งชัดแล้วว่า การเห็นธรรมชาติแห่งตนเองนั้นก็คือ เซน ความที่เป็นธรรมชาติแห่งการไม่เคยคิดถึงอะไรเลยก็คือ เซน ทุกสิ่งที่ฉันทำก็คือ เซน เพราะเซนก็คือความเป็นธรรมชาติที่ฉันเป็นอยู่นั่นเอง หน้าที่แห่งการชำระจิตใจอันแปดเปื้อนสกปรกโสมมของฉัน ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ แต่หน้าที่แห่งการที่จะต้องดำเนินชีวิตต่อไปนี้ ก็สุดแล้วแต่โชคชะตาจะพาฉันไป

    ฉันมาสู่ประเทศจีน ก็ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียว คือการทำหน้าที่เผยแผ่ถ่ายทอดธรรมอันบริสุทธิ์ ซึ่งคือธรรมชาตินี้ให้ไปสู่แก่ชนรุ่นหลัง ด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะทำให้ความรู้ อันเป็นเหตุให้ได้ตระหนักรู้อย่างชัดแจ้งในธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้ มีการสืบทอดคงอยู่ตลอดไปแบบไม่ขาดสาย
    ความเป็นเนื้อนาบุญแห่งการรักษาจิต ใจของตน ไม่ให้เศร้าหมองเพื่อกั้นจิตไม่ให้ตกไปสู่ภพภูมิที่ลำบากนั้น ฉันไม่ค่อยเป็นห่วง เหล่าโพธิสัตว์ทั้งหลายในรุ่นก่อนๆก่อนหน้าที่ฉันจะมาสู่ที่นี่ ก็ได้ทำหน้าที่ของตนเอง ในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนได้อย่างดีที่สุดแล้ว การบำเพ็ญบริจาคทานและการรักษาศีลในจีนนั้น เป็นไปด้วยความมีศรัทธาอย่างกว้างขวางในหมู่บรรพชิตนักบวช และอุบาสกอุบาสิกาผู้ที่มีความตั้งใจมั่นยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ฉันรู้สึกเป็นห่วงอย่างมาก และเป็นเหตุปัจจัยเดียวที่ทำให้ฉันมาเหยียบแผ่นดินนี้ ก็คือความที่ไม่มีใครเลยสักคนเดียว ที่รู้จักคำสอนอันเป็นแก่นแท้ของตถาคตเจ้าอันคือธรรมชาตินี้ ไม่มีใครสักคนที่รู้จักความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงของตนเองเลย ทุกคนเอาแต่ใฝ่บุญ ซึ่งเป็นการสร้างเหตุปัจจัยชั่วคราวแบบไม่ยั่งยืนแต่เพียงเท่านั้น แท้จริงแล้วความเป็นมนุษย์ ไม่มีอะไรสำคัญมากไปกว่าชีวิตและความตาย ที่มันยืนรอเราอยู่เบื้องหน้า ชีวิตที่ก่อเกิดเป็นอยู่และกำลังดำเนินไปอยู่นั้น มันเป็นชีวิตที่เสมือนแขวนไว้อยู่บนเส้นด้าย เมื่อเส้นด้ายซึ่งมีเพียงสภาพอันเปราะบางนั้นขาดลง ก็ทำให้เราพลัดตกลงไปสู่ภพภูมิต่างๆ ที่รอการเกิดใหม่อยู่เบื้องหน้าซึ่งเป็นหนทางที่ยากลำบาก

    ความเป็น ทุกข์เพราะการไปเกิดในสังสารวัฏอันนับไม่ถ้วนนั้น ทำให้ต้องเร่งรีบย้อนกลับมามองดูตนเองว่า เสี้ยวเวลาแห่งชีวิตที่เหลืออยู่อันน้อยนิดนั้น เราควรที่จะดำเนินชีวิตไปด้วยความไม่ประมาทอย่างยิ่ง ไม่ประมาทด้วยการใฝ่หาประโยชน์อันสูงสุด นำมาสู่ชีวิตอันมีค่าประเสริฐยิ่งของพวกเรา อันจะทำให้เราพ้นออกมาจากพงหนาม ที่เราได้เหยียบย่ำไปในที่รกชัฏแห่งวัฏสังสารการเวียนว่ายตายเกิด ด้วยอำนาจแห่งความโง่เขลาของเราเอง

    เมื่อฉันมาที่นี่ผู้เดียว ฉันจึงเป็นอาจารย์แต่ผู้เดียวที่สามารถสั่งสอนพวกเธอได้ ฉันได้รับวิธีการใดมาจากอาจารย์ของฉัน ฉันก็จะสอนพวกเธอไปแบบนั้น คำเทศนาที่พรั่งพรูออกมาจากหัวใจแห่งพุทธะของฉัน ที่พวกเธอได้ตั้งใจฟังนั้น มันเป็นคำสอนที่ล้วนออกมาจากสายเลือดแห่งความเป็นเซนของฉันเอง มันเป็นเลือดทุกหยดซึ่งคือประสบการณ์ในชีวิตของฉันทั้งชีวิต และเลือดแห่งเซนนี้ ก็นำพาฉันมาที่นี่เพื่อมาเป็นครูสอนพวกเธอโดยเฉพาะ ก็ทั้งร่างกายและจิตใจของฉันทั้งหมดนี่แหละ คือเซน คือธรรมชาติแห่งเซน พวกเธอทั้งหลายล้วนอย่าได้มีความวิตกกังวลใดๆเลย จงโปรดมอบความไว้วางใจนั้นหยิบยื่นมาให้แก่ฉัน ในฐานะที่ฉันเป็นอาจารย์ผู้ชี้หนทางอันสว่างให้แก่พวกเธอ ธรรมชาติที่ฉันตั้งใจจะมาถ่ายทอดให้กับพวกเธอนี้ ล้วนเป็นธรรมชาติอันสืบทอดมาโดยตรงจากองค์พระศาสดา อันจะทำให้พวกเธอไม่มีวันได้หลงออกไปจากหนทางที่แท้จริงนี้ได้อีก และมันจะทำให้พวกเธอได้ทำหน้าที่ของพวกเธอเองได้อย่างถูกต้อง และด้วยภาระหน้าที่อันสาหัสสากรรจ์ ฉันก็จะใช้ความอดทนและรอคอย ต่อความเป็นไปใน "การนับหนึ่ง" เพื่อให้ถึงความสมบูรณ์พร้อมในวันข้างหน้า ฉันเป็นเพียงฐานะตัวแทนแห่งกลีบเดียวของดอกไม้ดอกนั้น กาลเวลาและเหตุปัจจัย ในการลงมาทำหน้าที่ของเหล่าโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่พวกเขาเหล่านี้ "ผูกใจไว้" ด้วยความศรัทธายิ่งต่อพระตถาคตเจ้า การสืบสายธรรมของเหล่าโพธิสัตว์ทั้งหลายนี้ ก็จะเป็นไปอย่างบริบูรณ์พรั่งพร้อมในวันข้างหน้า เมื่อกลีบดอกไม้รวมได้ครบหกกลีบ และดอกไม้นั้นได้ผลิบานออกมา มันจึงเป็นนิมิตหมายถึงเมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะอันจำนวนมากมาย ที่สามารถแพร่กระจายเจริญเติบโต กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ไปทั่วดินแดนแห่งจีนนี้ อันสามารถเติบโตเป็นร่มเงาที่พึ่งให้แก่พุทธศาสนิกชน ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาทั้งหลายในรุ่นหลังๆ ให้เข้ามาพึ่งพิงพักพิงตลอดสืบไป



    [​IMG]





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row2"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row1"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>บทที่ 3 ปรมาจารย์ตั๊กม้อ

    ท่าน โพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตั๊กม้อ ท่านถือกำเนิดเมื่อปี พุทธศักราช 440 ณ เมืองคันธารราช (Kanchi) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของดินแดนปัลลวะ อันเป็นที่อยู่ของชาวพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ โดยเป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าสิงหวรมัน ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินของแคว้นคันธารราช ก็ครั้งเมื่อพระองค์มีพระชนมายุวัยเยาว์ ท่านมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ท่านมีความแตกฉานในคัมภีร์ไตรเภท ของศาสนาพราหมณ์ที่ท่านเคยนับถือมาแต่เดิม เพราะพระบิดาได้ส่งท่านไปเรียนในสำนักตักศิลา ในฐานะราชบุตรที่จะได้ขึ้นปกครองมีอำนาจสืบต่อความเป็นกษัตริย์ แทนพระบิดาท่านต่อไปในภายภาคหน้า แต่เมื่อท่านเติบโตเป็นหนุ่มวัยฉกรรจ์ ท่านได้มีความศรัทธาหันมานับถือพระพุทธศาสนา เหตุเพราะในครั้งนั้นพระบิดาของท่าน ได้อาราธนาท่านพระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระ (Prajnatara) ซึ่งเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ผู้มีความแตกฉานในคัมภีร์ต่างๆและมีลูกศิษย์มากมาย และเป็นภิกษุที่อาศัยอยู่ในแคว้นมคธ ดินแดนแห่งพุทธธรรมที่ยังคงฝังรากลึกอยู่ที่นั่นในเวลานั้น ให้ท่านเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองคันธารราช เพื่อที่จะให้คำสอนอันคือธรรมชาตินี้ ได้เผยแผ่ไปทั่วดินแดนแห่งปัลลวะของท่าน

    ก็เพราะด้วยคำสอนที่ตรงต่อ ความเป็นจริงตามธรรมชาติ จึงเป็นเหตุให้ท่านโพธิธรรมซึ่งเป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ ที่นับถือศาสนาพราหมณ์มาโดยเคร่งครัด ได้ละทิ้งทิฐิเดิมของตนหันหน้ามานับถือศาสนาพุทธอย่างจริงจัง ด้วยความมีศรัทธาอันแรงกล้าต่อคำสอนที่แท้จริงของตถาคตเจ้า ครั้งเมื่อพระบิดาของท่านได้เสด็จสิ้นพระชนม์ ก็เกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างรัชทายาทเพื่อขึ้นปกครองเป็นกษัตริย์ ท่านโพธิธรรมหามีความปรารถนาต้องการ จะยื้อแย่งชิงมายาแห่งสมบัติเลือดนั้นไม่ ท่านจึงตัดสินใจหลบหนีภยันตรายอันใหญ่หลวงนี้ ไปหลบลี้ภัยและฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาธรรมอย่างแท้จริง กับพระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระผู้ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระบิดาท่าน และพระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระนี้เอง เป็นภิกษุผู้รับสืบทอดวิถีธรรมอันคือธรรมชาติซึ่งเป็นธรรมอันแท้จริง มาจากสังฆปรินายกองค์ก่อนๆแห่งนิกายเซน ซึ่งเป็นการสืบทอดด้วยการถ่ายทอดธรรมแก่กันและกันเป็นรุ่นๆ สืบต่อกันมาตลอดโดยไม่ขาดสาย ซึ่งท่านพระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระนั้น นับว่าท่านเป็นสังฆปรินายก องค์ที่ 27

    ต่อมาเมื่อท่านโพธิธรรมได้ บรรลุธรรมอันคือ ธรรมชาติ ที่มันมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น ด้วยอุบายการคุ้ยเขี่ยธรรมให้ตรงต่อความเป็นจริง ซึ่งเกิดจากการชี้แนะสั่งสอนของพระอาจารย์ปรัชญาตาระ เมื่อท่านรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นี้แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจอุปสมบทเป็นภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา เป็นการบวชที่ถึงพร้อมไปด้วยการตระหนักชัดแจ้ง และรู้แจ้งในความเป็นจริง และท่านก็ได้สำเร็จลุล่วงในความเป็นธรรมแห่งอภิญญา ตามบุญวาสนาของท่านในธรรมชาติแห่งฌานชั้นสูงนั่นเอง ท่านจึงเป็นพระภิกษุผู้บรรลุอรหันต์ และสำเร็จอภิญญามีฤทธิ์นานาประการ ตั้งแต่ครั้งก่อนที่ท่านจะเดินทางมาสู่ประเทศจีนแล้ว

    ด้วยเส้นทางบุญ บารมีของท่านโพธิธรรม ที่ลงมาทำหน้าที่แห่งตนในฐานะโพธิสัตว์ ผู้ที่ผูกใจซึ่งเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาของตนไว้ต่อตถาคตเจ้า และได้อธิษฐานต่อหน้าองค์พระพักตร์แห่งพระศาสดาเจ้า ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน
    ณ ใต้ต้นสาละคู่นั้นแห่งเมืองกุสินารา ว่าตนจะลงมาทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมคำสั่งสอนอันแท้จริงนี้ ตามวาระกรรมแห่งบุญวาสนาที่เคยได้สั่งสมมาไว้ เมื่อกิจคือหน้าที่ที่ตนต้องชำระความมัวหมองแห่งใจตน ได้สำเร็จลุล่วงแล้ว พระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระจึงได้ทำการ "มอบบาตรและจีวรของตถาคตเจ้า" ที่ได้สืบทอดรับมอบต่อกันมาเป็นช่วงๆ มาตั้งแต่รุ่นที่หนึ่งคือ พระมหากัสสปะเถระ ที่ท่านได้รับมอบบาตรและจีวรนี้ "มาโดยตรง" จากองค์พระศาสดาตถาคต พระโพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตั๊กม้อจึงถูกนับเข้าเป็น พระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 แห่งนิกายเซน และท่านเองก็ได้รับหน้าที่ ให้เผยแผ่พระธรรมคำสอนที่แท้จริงตามธรรมชาตินี้ ให้คงอยู่ต่อสืบไปอย่างไม่มีวันที่ขาดสายลงไปได้

    เมื่อท่านโพธิธรรม ได้เดินทางมาเมืองจีนแล้ว ชาวจีนได้เรียกท่านด้วยความเคารพว่า "ปรมาจารย์ตั๊กม้อ" และถึงแม้ว่าคำสอนของท่านยังไม่เป็นที่เข้าใจแพร่หลาย และท่านก็มีลูกศิษย์เป็นจำนวนน้อยมาก แต่การสืบทอดคำสอนของท่าน ก็ยังคงดำเนินต่อไปโดยอยู่ภายใต้ "เงื่อนไข" ในกรรมวิสัย แห่งโพธิสัตว์รุ่นหลังทั้งหลาย ที่จะลงมาเกิดและเข้ามารับธรรม เพื่อสืบต่อไปเป็นรุ่นๆจนถึงรุ่นที่หก ก็ในคราวนั้นท่านเว่ยหล่างหรือฮุ่ยเหนิง ซึ่งเป็นโพธิสัตว์ผู้ที่มีปัญญามากและมีบริวารมากเช่นเดียวกัน ก็จะลงมาเกิดเพื่อทำหน้าที่แห่งตน และในคราวนั้น คำสอนอันคือหลักธรรมชาติแห่งนิกายเซนนี้ จะถูกแพร่ขยายสืบต่อไปตามสายธารธรรมแห่งลูกศิษย์ท่าน และจะเป็นที่ยอมรับนับถือกันไปอย่างกว้างขวาง ทั่วทุกหนทุกแห่งในผืนแผ่นดินจีน และก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบต่อกันไป จนเป็นศาสนาประจำชาติหยั่งรากลึกลงถึงอย่างมั่นคงในประเทศญี่ปุ่นสืบต่อไปใน ภายภาคหน้า เมื่อคำสอนแห่งนิกายเซนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ด้วยบุญบารมีแห่งท่านเว่ยหล่าง จึงมีการจัดลำดับ "คณาจารย์" ผู้ที่ได้รับสืบทอดคำสอนที่แท้จริงอันคือธรรมชาตินี้ และได้รับบาตรและจีวรแห่งตถาคตเจ้าสืบมา โดยที่ท่านโพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตั๊กม้อ เป็นผู้ที่ได้รับสืบทอดเป็นองค์ที่ 28 และทางคณาจารย์ทั้งหลายแห่งเซนในประเทศจีน ได้ยกย่องให้ท่านเป็น สังฆปรินายก องค์ที่ 1 แห่งนิกายเซนประเทศจีน

    การจัดลำดับคณาจารย์ ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดธรรมเพื่อสืบทอดธรรมอันคือธรรมชาตินี้ ให้อยู่ตลอดสายอย่างถาวรในความเป็นเซน จนกว่าจะสิ้นอายุแห่งบวรพระพุทธศาสนา เมื่อครบ 5,000 ปี นับแต่พระพุทธองค์ได้ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน จึงมีดังนี้

    พระพุทธเจ้า ได้ถ่ายทอดธรรมชาตินี้มาสู่
    พระสังฆนายกที่ 1 พระอารยะ มหากัสสปะ
    พระสังฆนายกที่ 2 พระอารยะ อานนท์
    พระสังฆนายกที่ 3 พระอารยะ สันวสะ
    พระสังฆนายกที่ 4 พระอารยะ อุปคุปต
    พระสังฆนายกที่ 5 พระอารยะ ธริตกะ
    พระสังฆนายกที่ 6 พระอารยะ มิฉกะ
    พระสังฆนายกที่ 7 พระอารยะ วสุมิตร
    พระสังฆนายกที่ 8 พระอารยะ พุทธนันทิ
    พระสังฆนายกที่ 9 พระอารยะ พุทธมิตร
    พระสังฆนายกที่ 10 พระอารยะ ปาสวะ
    พระสังฆนายกที่ 11 พระอารยะ ปุนยยสัส
    พระสังฆนายกที่ 12 พระโพธิสัตว์ อัศวโฆษ
    พระสังฆนายกที่ 13 พระอารยะ กปิมละ
    พระสังฆนายกที่ 14 พระโพธิสัตว์ นาคารชุน
    พระสังฆนายกที่ 15 พระอารยะ คนเทว
    พระสังฆนายกที่ 16 พระอารยะ ราหุลตะ
    พระสังฆนายกที่ 17 พระอารยะ สังฆนันทิ
    พระสังฆนายกที่ 18 พระอารยะ สังฆยสัส
    พระสังฆนายกที่ 19 พระอารยะ กุมารตะ
    พระสังฆนายกที่ 20 พระอารยะ ขยตะ
    พระสังฆนายกที่ 21 พระอารยะ วสุพันธุ
    พระสังฆนายกที่ 22 พระอารยะ มนูระ
    พระสังฆนายกที่ 23 พระอารยะ อักเลนยสัส
    พระสังฆนายกที่ 24 พระอารยะ สินหะ
    พระสังฆนายกที่ 25 พระอารยะ วิสอสิต
    พระสังฆนายกที่ 26 พระอารยะ ปุนยมิตร
    พระสังฆนายกที่ 27 พระอารยะ ปรัชญาตาระ
    พระสังฆนายกที่ 28 พระอารยะ โพธิธรรม (พระสังฆนายกองค์ที่ 1 ของจีน ปรมาจารย์ตั๊กม้อ)
    พระสังฆนายกที่ 29 พระอาจารย์ เว่ยโห (พระสังฆนายกองค์ที่ 2 ของจีน)
    พระสังฆนายกที่ 30 พระอาจารย์ ซังซาน (พระสังฆนายกองค์ที่ 3 ของจีน)

    พระสังฆนายกที่ 31 พระอาจารย์ ตูชุน (พระสังฆนายกองค์ที่ 4 ของจีน)

    พระสังฆนายกที่ 32 พระอาจารย์ ฮวางยาน (พระสังฆนายกองค์ที่ 5 ของจีน)

    พระสังฆนายกที่ 33 พระอาจารย์เว่ยหล่าง (พระสังฆนายกองค์ที่ 6 ของจีน)





    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row1"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 4 เดินทางสู่การเพาะบ่ม

    ด้วยอนาคตังสญาณแห่งปรัชญาตาระเถระ ที่ได้ล่วงรู้ด้วยอำนาจอภิญญาแห่งตนว่า ผืนแผ่นดินแห่งปัลลวะจะลุกเป็นไฟ เพราะการณ์ข้างหน้าจะเกิดเหตุมีศึกสงครามครั้งใหญ่ นับแต่ท่านจะได้ดับขันธ์ล่วงไปแล้ว 67 ปี เมื่อไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงกรรรมวิบากแห่งสรรพสัตว์ ที่ต้องชดใช้ซึ่งกันและกันนี้ได้ เมื่อเกิดอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง ในการเผยแผ่ธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านมหาปรัชญาตาระเถระจึงได้แนะนำให้ลูกศิษย์ของตน คือ ท่านโพธิธรรม ให้ตระเตรียมการไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อถ่ายทอดธรรมนี้ไปยังผู้ที่สมควร จะได้รับธรรมให้สืบต่อไปในภายภาคหน้า เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ท่านโพธิธรรมจึงวางแผนส่งพระภิกษุสองรูป ผู้ซึ่งบรรลุเป็นพระอรหันต์และแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณ ให้เดินทางไปยังจีนล่วงหน้าก่อน เพื่อดูลาดเลาความเป็นไปในบ้านเมืองจีน

    แต่ การเดินทางมาถึงของภิกษุสองรูป กลับไม่ได้รับการต้อนรับจากชนชาวจีนแต่อย่างใด อาจเป็นเพราะด้วยการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน แต่การเดินทางเพื่อมาสำรวจล่วงหน้าของภิกษุสองรูปนี้ ก็มิได้เป็นการเสียเวลาเปล่า ภิกษุสองรูปนี้ก็ยังได้ถ่ายทอดธรรมอันแท้จริง ให้แก่ภิกษุชาวจีนรูปหนึ่ง ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์มีลูกศิษย์มากมาย และเป็นเจ้าอาวาสวัดที่ภิกษุสองรูปได้เข้าพำนัก ซึ่งเป็นอารามที่อยู่บริเวณเทือกเขาหลู่ซัน ท่านพระอาจารย์รูปนี้มีนามว่า "ฮุ่ย เอวียน" ท่านฮุ่ย เอวียน เป็นพระที่เคร่งครัด ต่อการท่องสวดพระสูตรต่างๆในมหายาน เมื่อภิกษุสองรูปจากปัลลวะได้จาริกเดินทางมาถึงเขาหลู่ซัน และได้เข้าพำนักที่อารามแห่งนี้ จึงได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ฮุ่ย เอวียน พระอาจารย์ฮุ่ย เอวียน จึงถามภิกษุสองรูปนี้ไปว่า พวกท่านมาเผยแผ่ธรรมที่จีนนี้ได้นำเอาธรรมชนิดไหนเข้ามา แล้วทำไมล่วงมาถึงป่านนี้ชาวจีนจึงยังไม่ศรัทธาพวกท่าน ภิกษุชาวปัลลวะทั้งสองจึงได้โต้ตอบออกไปทันควัน ด้วยภาษามือที่สื่อกันโดยไม่ต้องออกเสียง ด้วยการยื่นมือไปข้างหน้าแล้วดึงมือนั้นกลับมาอย่างรวดเร็ว และภิกษุทั้งสองก็ได้กล่าวว่า ไม่ว่าความเป็นพุทธะที่ท่านอาจารย์อยากจะรู้ มันมีสภาพไม่ต่างกันเลยจากความทุกข์ที่ท่านอาจารย์ยังคงแบกไว้ มันก็มีอาการเกิดขึ้นและดับไปรวดเร็ว เช่นเดียวกับมือของข้าพเจ้าที่ยื่นให้ท่านดู ด้วยการเกิดขึ้นแห่งมัน และชักกลับคืนมา ด้วยการดับไปแห่งมันเช่นกัน และสิ่งที่ท่านเห็นอยู่ต่อหน้าด้วยความว่างเปล่าในอากาศ ด้วยความไม่มีอะไรของมันเองอยู่อย่างนั้น นั่นแหละคือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ ที่ข้าพเจ้าทั้งสองได้นำมาเผยแผ่ แต่หาคนรับธรรมนี้แทบไม่มีเลยสักคน เมื่อท่านอาจารย์ฮุ่ย เอวียน ได้ฟังได้เห็นดังนั้นแล้ว จึงมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า ความอยากรู้ในสภาพธรรมที่แท้จริงของตนเองนั้น ที่จริงมันก็คือตัณหาใน "ความอยากรู้" และมันก็คือภาวะทุกข์ที่เกิดขึ้น และมันก็ไม่มีความแตกต่างจากความทุกข์เดิม ที่ตนเองมีก่อนอยู่แล้วและยังแบกมันอยู่ ด้วยภาวะแห่งการอยากแก้ไขทุกข์ของตน ด้วยการอยากรู้ธรรมอันแท้จริง กับภาวะทุกข์ที่ตนมีอยู่เดิม มันก็ล้วนเป็นความทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น ท่านจึงได้ตระหนักชัดรู้แจ้งในขณะนั้นเลยว่า แท้จริงธรรมชาติมันย่อมไม่มีอะไรอยู่แล้วโดยตัวมันเอง เหมือนอากาศที่มันว่างเปล่าที่อยู่ต่อหน้าท่าน ปราศจากมือที่ถูกชักกลับ แท้จริงธรรมชาติมันย่อมว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้วโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น แท้จริงธรรมชาติมันย่อมคือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ อยู่แล้วโดยตัวมันเองเช่นกัน เมื่อท่านอาจารย์ฮุ่ย เอวียน ได้รู้แจ้งสว่างในธรรมแล้ว ท่านจึงได้นิมนต์ให้ภิกษุสองรูปชาวปัลลวะ ซึ่งกลายเป็นอาจารย์สอนธรรมท่านไปแล้วภายในพริบตาเดียว ได้พำนักอาศัยอยู่กับท่านที่นี่ และก็เป็นการมาที่มิได้ไปไหนอีกเลย ภิกษุสองรูปนี้ได้พำนักอาศัยอยู่ที่นี่ ตราบจนได้ดับขันธ์ทิ้งร่างสรีระไว้กลายเป็นศพ ถูกฝัง ณ เชิงเขาหลู่ซัน หลุมศพของภิกษุทั้งสองรูปนี้ ก็ยังปรากฏหลักฐานมาตราบจนทุกวันนี้ การตายของภิกษุทั้งสอง เป็นการตายเพื่อรอคอยพระอาจารย์ของตน คือท่านโพธิธรรมตั๊กม้อ มารับกลับไปเมืองปัลลวะที่อินเดีย เป็นการอยู่รอคอยถึงร้อยปี ณ หลุมฝังศพนั้น และภิกษุทั้งสองก็ได้เดินทางกลับปัลลวะพร้อมกับท่านโพธิธรรม เมื่อหลังจากที่ท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตลงแล้วศพหายไป

    เมื่อภิกษุ สองรูปได้เสียชีวิตลง โดยมิได้มีการส่งข่าวกลับมายังเมืองปัลลวะเลย เมื่อกาลเวลาได้ผ่านไปอยู่หลายปี ท่านโพธิธรรมจึงตัดสินใจโดยสารเรือ เพื่อมายังเมืองจีนด้วยตัวท่านเอง โดยครั้งนั้นท่านได้ลงเรือโดยสารมาลำเดียว กับภิกษุที่ชื่อ มหาปัลลิปุรัม (Mahaballipurum) ด้วยการเดินออกมาทางชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มายังช่องแคบทางหมู่เกาะสุมาตรา (ปลายเกาะประเทศมาเลเซีย) และลัดเลาะไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อไปขึ้นแผ่นดินจีนทางตอนใต้เมืองกวางโจว โดยท่านใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 3 ปี

    ก็ในสมัยนั้นประมาณพุทธศตวรรษที่สาม ประเทศจีนถูกแบ่งเป็นจีนสองราชวงศ์ คือราชวงศ์ไว่ และราชวงศ์ซ่ง โดยแบ่งเป็นราชวงศ์ฝ่ายเหนือและราชวงศ์ฝ่ายใต้ และก็ถูกแบ่งกันอย่างนี้มาเรื่อย ท่านโพธิธรรมได้เดินทางมาจีนเมื่อเข้าปลายพุทธศตวรรษที่ห้า คือประมาณปี พ.ศ. 475 ในขณะนั้นพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังจีน ก่อนหน้านั้นนานแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 65 ในพุทธศตวรรษแรก ด้วยการอุปถัมภ์ค้ำชูจากกษัตริย์ ผู้มีใจใฝ่บำรุงพระพุทธศาสนาในยุคนั้น และพระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นหยังรากลึก ลงไปในดินแดนแห่งจีนนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งจวบถึงวาระแห่งท่านโพธิธรรม ที่ได้นำคำสอนที่แท้จริงมาโปรยธรรมธาตุไว้ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอดศึกษาธรรมอันคือธรรมชาตินี้ ให้คงอยู่สืบต่อไป โดยในขณะนั้น จีนได้มีการก่อสร้างวัดวาอารามอย่างมากมายจนถึงหมื่นวัด ซึ่งเป็นจำนวนที่รวบรวมไว้แล้วทั้งจีนตอนเหนือและจีนตอนใต้ และนักบวชที่เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาจริงๆ ไม่รวมนักบวชลัทธิเต๋าและขงจื้อ มีจำนวนมากกว่าสองล้านรูป เมื่อท่านโพธิธรรมเดินทางมาถึงกวางโจวใหม่ๆ ท่านได้ขึ้นฝั่งที่ท่าเรือหนานไห่ และท่านก็ได้รับการนิมนต์ให้อยู่ที่ศูนย์พระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน และในโอกาสนี้เองเมื่อได้พำนักอยู่ที่นี่ ท่านโพธิธรรมจึงได้มีเวลาศึกษาเรียนรู้ภาษาจีน จนท่านมีความคล่องแคล่วสามารถสื่อสารภาษาจีนกับชนชาวจีน ได้สะดวกและมีความหมายที่ถูกต้อง

    ต่อมาท่านได้ย้ายเข้าไปอยู่เมือง หลวงที่ชื่อว่า เฉียนกัง (Chienkang) ทั้งนี้เป็นกิจอันสำคัญยิ่งที่ท่านได้รับนิมนต์ ให้เข้าไปแสดงธรรมต่อหน้าองค์จักรพรรดิในเวลานั้น แต่ก็ไม่เกิดประสพความสำเร็จแต่อย่างใด เพราะจักรพรรดิหามีความเข้าใจธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง ที่ท่านโพธิธรรมได้เทศนาออกไปไม่ ท่านโพธิธรรมจึงเดินทางออกมาจากเมืองหลวง ด้วยไร้ซึ่งความหวัง เพราะถ้าหากองค์จักรพรรดิได้รู้แจ้งตระหนักชัดในธรรมที่ท่านได้เทศนา การเผยแผ่ธรรมในจีนโดยเฉพาะทางจีนตอนใต้ คงเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เพราะอาจได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากผู้ที่มีอำนาจปกครอง ซึ่งคือกษัตริย์ในยุคนั้น

    ท่านจึงเดินทางลงมาและข้ามแม่น้ำที่เมือง แยงซี และได้เข้าไปพำนักอาศัยอยู่ที่เมืองโลหยาง (Loyang) ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโล และเป็นเมืองหลวงใหม่ที่พึ่งถูกย้ายมา และถูกสถาปนาความเป็นเมืองหลวงขึ้น ด้วยจักรพรรดิ เฉาเวน (Hsiao-wen) และหลังจากนั้นก็มีเหตุการณ์ให้ท่าน ต้องอยู่ใกล้ๆวัดเส้าหลิน และนั่งสมาธิหันหน้าเข้าหากำแพงโดยไม่ไหวติงถึงเก้าปีเต็ม เป็นเวลายาวนานถึงเก้าปีแห่งการรอคอย เพื่อเพาะบ่มเมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะเมล็ดหนึ่ง ที่ชื่อ เสินกวง(ฮุ่ยเค่อ)




    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 5 บัวบานกลางหิมะสีแดงฉาน

    ท่าน โพธิธรรมหรือที่ชาวจีนในยุคนั้นเรียกท่านว่า "ปรมาจารย์ตั๊กม้อ" ท่านเป็นพระภิกษุผู้มีดวงตากลมใหญ่ผิวสีดำคล้ำ และด้วยเอกลักษณ์ของท่านเวลาที่ท่านเดินทางไปไหนมาไหน เมื่อถึงคราวต้องตากแดดที่มีสภาพร้อนจัด ท่านจึงมักจะเอาชายจีวรที่อยู่เบื้องล่างขึ้นมาคลุมศีรษะ เพราะฉะนั้นภาพวาดส่วนใหญ่ที่ศิลปินผู้มีเซนอยู่ในสายเลือด ได้วาดขึ้นเพื่อเป็นภาพประกอบโกอานไขปริศนาธรรม หรือวาดขึ้นโดยเฉพาะเพื่อเป็นสัญลักษณ์ สื่อความหมายไปในทางธรรมนั้น ก็จะปรากฏเป็นภาพของปรมาจารย์ตั๊กม้อที่มีร่างกายสูงใหญ่ และมีหนวดเครารุงรัง และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือมีการวาดภาพโดยมีผ้าคลุมศีรษะ และอยู่ในท่านั่งสมาธิหันหน้าเข้ากำแพงเสียเป็นส่วนใหญ่ เหตุที่ทำให้ท่านโพธิธรรมตั๊กม้อได้นั่งอยู่ในฌานสมาธิถึงเก้าปีเต็มนั้น เป็นเพราะวาระกรรมได้แสดงถึงเนื้อหากรรม ให้เป็นไปในภาวะที่ยืดเยื้อ และเป็นไปในระหว่างบุคคลสองคนที่มีกรรมต่อกัน ทั้งในด้านกุศลและกรรมวิบาก และเป็นวาระกรรมที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับการเริ่มต้นนับ "หนึ่ง" ซึ่งถือเป็นก้าวย่างที่ได้ก้าวไปข้างหน้าแล้วอย่างแท้จริง สมดั่งเจตนารมณ์ในการที่ท่านโพธิธรรมได้มาเหยียบแผ่นดินจีนในครั้งนี้ เหตุเพราะท่านได้พบลูกศิษย์คนสำคัญของท่าน ซึ่งลูกศิษย์คนนี้เป็นลูกศิษย์คนแรกและคนเดียวที่เข้าใจท่าน และสามารถรับการถ่ายทอดธรรมอันคือธรรมชาติ เป็นทายาทที่แท้จริงในการสืบต่อธรรม ด้วยการผ่านสู่ "ใจต่อใจ" ระหว่างครูกับศิษย์ และเป็นเหตุให้ธรรมนั้นได้สืบต่อกันไปจนเป็นที่แพร่หลาย ยอมรับกันอย่างทั่วไปภายในแผ่นดินจีนตอนใต้หลังจากนั้น แต่ด้วยเหตุปัจจัยเป็นกุศลกรรมอันสำคัญยิ่งนี้ ได้เกิดขึ้นจากกรรมวิบากนั้น

    ก็ หลังจากที่ท่านโพธิธรรมได้เดินทางออกมาจากพระราชวัง ในคราวที่ท่านได้รับกิจนิมนต์เพื่อไปเทศนาธรรมให้องค์จักรพรรดิฟัง ท่านก็ออกเดินทางรอนแรมไปเรื่อย หลังจากที่ท่านได้อุปสมบทให้กับลูกศิษย์เป็นพระรูปหนึ่งที่ชื่อ เชง ฟุ ท่านโพธิธรรมก็ได้พำนักพักอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเมืองหลวง เป็นระยะเวลานานนับสิบปี และภายในปี พ.ศ. 496 จักรพรรดิก็ได้รับสั่งให้สร้างวัด เพื่อถวายเป็นราชกุศลขึ้น เป็นการก่อสร้างที่อยู่ติดกับบริเวณภูเขาซ่งที่อยู่ทางเมืองโหหนาน ซึ่งเมืองนี้อยู่ทางทิศใต้ของเมืองโลหยางซึ่งเป็นเมืองหลวง วัดนี้องค์จักรพรรดิสร้างขึ้นเพื่อให้นักบวชพระภิกษุสงฆ์ในนิกายเซน เข้ามาพักอาศัยเพื่อเป็นที่หลบลี้และได้ขัดเกลาจิตใจของตนเอง วัดแห่งนี้นี่เองที่ชื่อว่า "วัดเส้าหลิน" เป็นวัดซึ่งท่านโพธิธรรมได้มาสอนการฝึกออกกำลังกายแบบโยคะ ให้แก่ภิกษุในภายหลังที่ท่านได้ออกจากสมาบัติแล้ว

    เมื่อท่านโพธิธรรม ได้ทราบข่าวว่าวัดเส้าหลินได้สร้างเสร็จแล้ว และเป็นวัดที่มีความสวยงามอยู่กลางหุบเขา และบริเวณเทือกเขาเหล่านั้นเป็นที่สงบวิเวก เหมาะสำหรับการปลีกตัวออกจากหมู่คณะเพื่อเก็บตัวบำเพ็ญภาวนา ท่านโพธิธรรมจึงตัดสินใจเดินทางมายังบริเวณหุบเขาแห่งนี้ เพื่อหาที่สงบพักผ่อนใจให้กับตนเอง แต่ในระหว่างทางก่อนถึงแม่น้ำแยงซี เพื่อจะข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งหุบเขาเฉาฉือ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาซ่ง ท่านก็ได้พบพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้เป็นธรรมทายาทเพื่อสืบสายโลหิตแห่งเซน ภิกษุรูปนี้มีชื่อว่า "เสินกวง" ท่านเสินกวงเป็นเจ้าอาวาสวัดที่ท่านโพธิธรรมได้แวะพักอาศัย ก่อนที่จะเดินทางไปถึงจุดหมาย เสินกวงเป็นพระที่มีความจดจำพระสูตรได้แม่นยำ และเป็นนักเทศนาธรรมตัวยงในแถบนั้นโดยหามีใครเทียบไม่ ก็ในขณะนั้นเป็นวันที่ท่านโพธิธรรมเดินทางมาถึง และท่านเสินกวงกำลังขึ้นเทศน์ธรรม ให้แก่สาธุชนผู้มีศรัทธาได้ฟังกันภายในหอประชุมบริเวณวัด ท่านเสินกวงถึงแม้จะมีสัญญาความจำได้หมายรู้อย่างยอดเยี่ยม แต่ท่านก็ยังมิใช่เนื้อนาบุญอย่างแท้จริง ท่านเสินกวงมีความสามารถอ่านอธิบายธรรมในพระสูตรได้ แต่ท่านเสินกวงกลับไม่มีความสามารถที่จะเข้าใจตระหนักชัด ในธรรมที่ท่านกำลังสาธยายเลย เมื่อท่านเสินกวงได้เทศนาธรรมจบแล้วจึงเดินลงมาจากพระธรรมาสน์ เพื่อพูดคุยกับอาคันตุกะภิกษุแปลกหน้าผู้มาเยือนในเช้าของวันนั้น แต่การพูดคุยกลับกลายเป็นเหตุให้ท่านเสินกวง ได้ทำร้ายร่างกายพระอาคันตุกะซึ่งมาจากเมืองปัลลวะอินเดียรูปนี้ โดยการสนทนาธรรมนั้น ท่านโพธิธรรมได้พูดออกมาอย่างตรงไปตรงมาว่า ท่านเสินกวงถึงแม้จะเป็นพระนักเทศน์ ที่สามารถเทศนาธรรมได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ก็ยังมิได้บรรลุธรรมอะไรเลย เพราะท่านโพธิธรรมได้นั่งฟังธรรมเทศนาอยู่ด้วย โดยท่านได้นั่งอยู่แถวหลังสุดและได้ฟังธรรมเทศนานั้น จนทำให้ท่านรู้ได้ด้วยเนื้อหาธรรมที่ถูกเทศน์ออกมาในขณะนั้นว่า ท่านเสินกวงยังไม่ได้ตระหนักชัดรู้แจ้งภายในธรรมชาติดั้งเดิมแท้เลย เมื่อท่านได้พูดออกไปแบบนี้อย่างตรงๆไม่อ้อมค้อม ก็เป็นเหตุให้ท่านเสินกวงเกิดโทสะ เอาสายลูกประคำเม็ดใหญ่ฟาดเข้าไปที่ปากของท่านโพธิธรรม จนเป็นเหตุให้เลือดไหลออกมากลบปาก และฟันด้านหน้าของท่านหักออกไปถึงสองซี่ เมื่อเหตุการณ์ซึ่งเป็นกรรมวิบากได้เกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว ท่านโพธิธรรมจึงหันหลังออกไปจากที่นั่นไปโดยมิได้กล่าวลา

    แต่หลังจาก นั้นด้วยความสำนึกผิดของท่านเสินกวง ในการล่วงละเมิดประทุษร้ายพระอาคันตุกะผู้มีปัญญา และด้วยความที่ทราบต่อมาภายหลังว่าพระอินเดียรูปนั้น ก็คือท่านพระอาจารย์โพธิธรรมซึ่งเดินทางมาจากเมืองปัลลวะ เพื่อเข้ามาเผยแผ่ธรรมอันคือคำสอนตามธรรมชาติที่แท้จริง ให้แก่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ท่านเสินกวงจึงรู้สึกเสียใจในการกระทำของตน และท่านเสินกวงมีเจตนาที่จะกราบขอขมาลาโทษ และมีความตั้งใจจริงที่จะฝากตัวเป็นศิษย์ของท่าน และมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่เด็ดเดี่ยวที่จะดูแลรับใช้ท่านโพธิธรรม จนตราบที่ท่านโพธิธรรมจะหมดลมหายใจละจากโลกใบนี้ไป ท่านเสินกวงเมื่อรู้สึกตัวและมีความละอายใจ จึงรีบเดินทางออกตามหาท่านโพธิธรรม

    เมื่อท่านโพธิธรรมได้เดินทางจนมา ถึงริมฝั่งแม่น้ำแยงซี แต่ตอนนั้นเป็นเวลาพลบค่ำแล้ว เรือข้ามฝากไปฝั่งโน้นก็หามีไม่ ท่านโพธิธรรมจึงได้หยิบต้นอ้อมากำหนึ่ง และเหยียบอ้อกำนั้นข้ามฝั่งไป ก็ด้วยน้ำหนักคนมีน้ำหนักมาก หากเหยียบไปบนต้นอ้อซึ่งมีน้ำหนักเบา ต้นอ้อก็ต้องจมน้ำไปเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ด้วยอำนาจแห่งอภิญญาของท่านโพธิธรรม ท่านสามารถเหยียบขึ้นยืนบนต้นอ้อกำนั้นและไม่ตกจมลงไปในน้ำ ด้วยฤทธิ์แห่งอภิญญาที่ท่านสำเร็จ ก็ในขณะที่ท่านกำลังอยู่กลางแม่น้ำแยงซีด้วยอำนาจจิตที่ยิ่งใหญ่ ท่านเสินกวงจึงได้เดินทางมาถึงพอดี และท่านเสินกวงได้เห็นอภินิหารของท่านโพธิธรรมแล้ว จึงก้มหน้าร้องไห้ในความสำนึกผิดแห่งตน และท่านเสินกวงจึงหาทางข้างฝั่งแม่น้ำแยงซี ด้วยการมัดหญ้าคากำใหญ่และพยุงลอยตัวเอง จนข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งได้อย่างปลอดภัย และเร่งรีบติดตามท่านโพธิธรรมไปอย่างไม่ลดละ

    เมื่อท่านโพธิธรรมได้ เดินทางมาถึงเทือกเขาซ่ง แถวบริเวณหมู่บ้านลั่วหยางซึ่งอยู่ใกล้วัดเส้าหลิน ท่านโพธิธรรมจึงได้เข้าพักอาศัย ณ ถ้ำซึ่งมีความเป็นธรรมชาติแห่งหนึ่งซึ่งอยู่แถวบริเวณหลังวัด และท่านก็ตัดสินใจนั่งสมาธิเข้าฌานสมาบัติ โดยนั่งหันหน้าเข้าหาผนังถ้ำ และตัดสินใจที่จะนั่งอยู่อย่างนั้นโดยไม่มีกำหนดออกเลย ท่านนั่งอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาถึงเก้าปีโดยไม่ไหวติง มันเป็นระยะเวลานานมากจนกระทั่ง เงาร่างที่ถูกแสงแดดสาดส่องเข้ามาอยู่ตลอดเวลานั้น มันทาบลงไปบนฝาผนังและฝังรอยเป็นเงาอยู่อย่างนั้น ตราบจนสามารถเห็นได้จนถึงทุกวันนี้ ชาวบ้านแถบนั้นเรียกมันว่า "ผนังเงาศิลา"

    ท่านเสินกวงเมื่อได้ติดตามท่านโพธิธรรมมา และได้สอบถามชาวบ้านในละแวกนั้น จึงได้รู้ว่าท่านโพธิธรรมได้หลบหนีผู้คนเข้าไปนั่งสมาธิในฌานแล้ว เมื่อเสินกวงตามไปพบและรอคอยท่านโพธิธรรม เพื่อให้ออกมาจากฌานสมาบัติ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปอย่างเนิ่นนานก็ไม่มีวี่แวว ว่าท่านโพธิธรรมจะลุกขึ้นมาจากจุดที่ท่านนั่ง เสินกวงจึงตัดสินใจที่จะรับใช้ดูแลท่านโพธิธรรม อยู่ ณ ภายในถ้ำนั้น โดยท่านเสินกวงมีหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดภายในบริเวณถ้ำ และเมื่อเสร็จภารกิจในแต่ละวันแล้ว ท่านเสินกวงก็จะออกมานั่งคุกเข่าอยู่ที่หน้าถ้ำ โดยท่านเสินกวงจะนั่งตั้งแต่เช้าไปจนจรดเย็นและค่ำมืด ท่านเสินกวงจะนั่งคุกเข่าอยู่อย่างนี้ทุกวัน เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษต่อท่านโพธิธรรม และเพื่อรอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนรู้ธรรมอันแท้จริงกับท่าน

    และ แล้วความพยายามของท่านเสินกวงก็ประสพความสำเร็จ ด้วยระยะเวลาแห่งการรอคอยมันผ่านพ้นมานานถึงเก้าปีเต็มๆ ก็ช่วงสายในวันหนึ่งของวันที่ 29 ปีไท่เหอที่สิบ ในขณะที่ภิกษุเสินกวงได้ทำความสะอาดถ้ำและฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงได้มานั่งคุกเข่าอยู่หน้าถ้ำ ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงของกลางฤดูหนาว ที่มีหิมะโปรยปรายตกลงมาปกคลุมเต็มอยู่หน้าถ้ำ แต่ท่านเสินกวงก็นั่งอยู่ตรงหน้าถ้ำนั้นมิได้ลุกหนีไปไหน จนหิมะมันได้ท่วมขึ้นมาจนถึงหัวเข่า และแล้วตรงปากถ้ำก็ได้ปรากฏกายของท่านโพธิธรรม ผู้ซึ่งพึ่งออกจากฌานสมาบัติที่ตนได้นั่งเข้าสมาธิแบบลืมวันลืมปี เมื่อท่านโพธิธรรมได้เห็นท่านเสินกวง ผู้ซึ่งเคยทำร้ายร่างกายท่านจนฟันหักถึงสองซี่ ท่านจึงเกิดความสงสารที่เห็นพระรูปนี้มานั่งตากหิมะอยู่หน้าถ้ำ ท่านจึงถามเสินกวงไปว่า "เธอมานั่งคุกเข่าอยู่ท่ามกลางหิมะด้วยมีความต้องการอะไร" เมื่อท่านเสินกวงได้ยินเสียงท่านโพธิธรรมกล่าวดังนั้น ก็มีความปีติยินดีและได้ก้มกราบขอขมาลาโทษ ในการกระทำไม่ดีไม่ควรของตน และก็เอ่ยปากขอร้องให้ท่านโพธิธรรมรับตนเป็นศิษย์ ท่านโพธิธรรมได้ฟังดังนั้นจึงได้พูดตอบท่านเสินกวงไป ด้วยความที่จะทดสอบความเด็ดเดี่ยว ในความตั้งมั่นแห่งศรัทธาที่จะมุ่งมั่นปฏิบัติธรรม ท่านจึงบอกภิกษุเสินกวงไปว่า "ให้นั่งคุกเข่าอยู่เช่นนี้ตลอดไป จนกว่าหิมะที่อยู่ต่อหน้ากองนี้จะกลายจากสีขาวเป็นสีแดง" แต่การทดสอบความมีศรัทธาในหัวใจแห่งพุทธะของเสินกวง กลับไปกระตุ้นอนุสัยซึ่งเป็นเนื้อหาสะสมกรรมวิบากของเสินกวงในอดีตที่มีต่อ ท่านโพธิธรรมครั้งในอดีตชาติที่ผ่านมานับไม่ถ้วน ออกมาให้ได้ชดใช้กรรมกันในขณะนั้น โดยเมื่อเสินกวงได้ฟังท่านโพธิธรรมพูดออกมาดังนั้น กรรมวิบากจึงดลให้ท่านเสินกวงเกิดความหุนหันพลันแล่น คว้าไปหยิบมีดผ่าฟืนซึ่งมีความคมกริบนั้นขึ้นมา เฉือนมือข้างซ้ายของตนจนขาดวิ่น และท่านก็ได้หยิบแขนซ้ายของตนข้างนั้น ที่ตกลงอยู่กับพื้นส่งให้ท่านโพธิธรรม โดยท่านเสินกวงได้กล่าวขึ้นระคนไปด้วยความเจ็บปวดว่า "ท่านพระอาจารย์โปรดรับข้าเป็นศิษย์ด้วย เพราะบัดนี้กองหิมะกองนี้มันได้กลายเป็นสีแดงหมดแล้ว" ก็เพราะด้วยการตัดแขนของเสินกวงซึ่งมีเจตนา จะทำให้เลือดของตนชะล้างความเป็นสีขาวของหิมะออกไปให้หมด เพราะความที่มันถูกกลบไปด้วยความเป็นสีแดงแห่งเลือดตน ที่หลั่งรินไหลออกมานองพื้นเป็นสีแดงฉานไปทั่วบริเวณนั้น มันเป็นเลือดแห่งความเป็นพุทธะ ที่มันพุ่งออกมาจากสายเลือดแห่งความใฝ่ดีของท่าน ที่บ่มเพาะตัวเองด้วยความมีขันติอย่างยิ่ง ในการรอคอยเพื่อก้าวข้ามไปสู่ประตูดินแดน "ธรรมชาติแห่งพุทธะ" ถึงเก้าปีเต็มๆ เป็นการรอคอยที่ใช้ความอดทนด้วยความสิ้นหวังตลอดเวลาที่ผ่านมา เลือดทุกหยดนี้มันจึงเป็นเลือดทุกหยดแห่งเซน ที่มันจะทาบทาไปทั่วผืนแผ่นดินจีน ด้วยเหตุปัจจัยอันเกิดจากภิกษุเสินกวงรูปนี้นั่นเอง

    เมื่อท่านโพธิ ธรรมได้ยื่นมือรับแขนของเสินกวง และรับท่านเสินกวงเป็นศิษย์แล้ว ท่านจึงช่วยทำแผลห้ามเลือดให้ ในขณะที่กำลังทำแผลนั้นท่านเสินกวงได้รู้สึกเจ็บปวดขึ้นมา จึงร้องขึ้นมาอย่างดังว่า "พระอาจารย์ช่วยศิษย์ด้วย ศิษย์มีความเจ็บปวดมาก ศิษย์จะทนไม่ไหวอยู่แล้ว จงโปรดช่วยให้ศิษย์เกิดความสงบด้วย" ในขณะนั้นท่านโพธิธรรมจึงหยุดการทำแผล แล้วพูดกับท่านเสินกวงขึ้นมาว่า "เสินกวง เธอจงเอาจิตของเธอออกมาสิ จิตอันเจ็บปวดนั้น แล้วฉันจะทำให้มันสงบ" เสินกวงได้ฟังดังนั้นจึงได้บรรลุธรรมรู้แจ้งชัดในเวลานั้นเอง เพราะแท้จริงจิตมันไม่มีตัวตน และไม่สามารถเอาออกมาแสดงให้กับท่านโพธิธรรมได้ หลังจากเสินกวงได้ทำแผลเสร็จ ท่านโพธิธรรมจึงได้ถ่ายทอดอธิบายธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง และในคืนนั้นเองด้วยวิถีแห่งความเป็นธรรมชาตินี้ จึงได้ถูกส่งตรงมายังภิกษุเสินกวง ด้วยความบริบูรณ์พรั่งพร้อมในธรรมชาติของมัน

    ด้วยโพธิปัญญาแห่งภิกษุ เสินกวง คือความเป็นเซนในสายเลือด ที่มาพร้อมกับกรรมวิบากที่ต้องใช้คืน แขนซ้ายที่ขาดวิ่นพร้อมกับเลือดที่หลั่งริน คือ "บัวบานกลางหิมะสีแดงฉาน"




    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row1"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 6 ตายเพื่ออิสรภาพที่แท้จริง

    ด้วย กรรมที่เคยทำกันมา จึงได้ก่อให้เกิดธรรมธาตุ ที่ยังแสดงลักษณะไปในทิศทางของมันอยู่เสมอๆ ด้วยความที่ท่านโพธิธรรมเคยประกอบบุญกุศล ช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ให้รอดพ้นจากภยันตรายมานับไม่ถ้วน ครั้งเมื่ออดีตชาติที่ผ่านมาหลายภพหลายชาติ รูปแบบแห่งการกระทำกุศลกรรมแห่งการช่วยเหลือนั้น มันจึงตามมาแสดงผลแบบได้กระทำซ้ำอยู่อย่างนั้น ก็ด้วยบุญชนิดหนึ่งที่ท่านโพธิธรรม ได้ช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก เพื่อให้พ้นภยันตรายด้วยความมีอิสระ อันเนื่องมาจากการทำอุบายด้วยการแกล้งตาย จึงทำให้ท่านโพธิธรรมได้รับกุศลผลกรรมในชาติสุดท้ายนี้ของท่านด้วย กล่าวคือครั้งเมื่อท่านโพธิธรรมพึ่งได้เดินทางมาเมืองจีน และในระหว่างทางแห่งการจาริกไป ท่านได้ไปเจอนกแก้วอยู่ตัวหนึ่งซึ่งเป็นนกโพธิสัตว์ ที่กำลังได้รับความตกระกำลำบาก ต้องเกิดมาเป็นสัตว์เดรัจฉานในชาตินี้ และถูกกักขังอยู่ในกรงอย่างนี้มานานแสนนานแล้ว และด้วยผลบุญในครั้งเก่าก่อนที่นกแก้วโพธิสัตว์ตัวนี้ เคยมีต่อท่านโพธิธรรม เมื่อเส้นทางบุญได้นำพาท่านโพธิธรรมมาเจอะเจอกับมันอีกที่เมืองจีน เมื่อมันเห็นท่านโพธิธรรมเดินผ่านมา มันจึงพูดขึ้นในใจเป็นภาษานกว่า "ข้าแต่นายท่าน จงโปรดมีความเมตตาช่วยเหลือข้าที ข้าอยากมีความเป็นอิสระ ข้าถูกเจ้าของจับมาขังไว้อย่างนี้มานานแสนนานมากแล้ว" ท่านโพธิธรรมซึ่งเป็นภิกษุผู้มีอภิญญาสูงส่ง สามารถฟังภาษาสัตว์รู้เรื่อง ท่านจึงกำหนดจิตบอกนกแก้วตัวนั้นไปว่า "สองขาเหยียดตรง สองตาปิดสนิท" แล้วท่านโพธิธรรมก็ได้เดินจากนกแก้วตัวนั้น ไปตามทางจาริกของท่าน นกแก้วตัวนั้นด้วยความที่เกิดมาเป็นโพธิสัตว์ ลงมาเกิดเพื่อชดใช้กรรมแห่งตน เมื่อมันได้ฟังท่านโพธิธรรมได้บอกกล่าวเป็นความหมายนัยยะ มันจึงรู้แจ้งถึงอุบายในการเป็นอิสระแห่งมัน

    ก็ในเช้าวันรุ่งขึ้น นั่นเองก่อนที่เจ้าของจะเอาอาหารมาให้มันที่กรง นกแก้วโพธิสัตว์อันเป็นผู้มีเชาว์ปัญญา มันจึงแกล้งเหยียดขาสองข้างของมันให้ตรงออก และแกล้งปิดตาทั้งสองข้างของมันให้หลับลงสนิท ประหนึ่งว่ามันได้นอนตายด้วยตัวแข็งทื่ออยู่อย่างนั้น เมื่อเจ้าของเอาอาหารมาให้ และเห็นนกของตนเหยียดขานอนตายปิดตาลงด้วยตัวแข็งทื่อ ก็คิดว่านกของตนได้ตายแล้ว จึงเอามือล้วงหยิบมันออกมาจากกรงขังเพื่อที่จะนำร่างของมันไปฝัง เมื่อเจ้าของวางมันลงไว้กับพื้น นกแก้วตัวนั้นที่แกล้งตาย จึงบินหนีจากที่นั่นไป ด้วยความมีอิสรเสรีตามที่มันมุ่งหวัง และมันก็รู้สึกขอบคุณท่านโพธิธรรม ที่ได้โปรดช่วยชี้ทางอันคือความพ้นจากภยันตราย จากการโดนขังลืมในกรงอยู่เป็นเวลานาน

    ด้วยผลบุญผลกรรมที่ท่านโพธิ ธรรม ได้ทำกุศลช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ให้เป็นอิสระ ด้วยการแกล้งทำเป็นตาย ผลบุญนั้นก็ทำให้ท่านโพธิธรรม ได้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันไปทั่วแผ่นดินจีน ในความเกี่ยวพัน "ในความตายของท่าน" ที่ท่านแกล้งตายและศพท่านได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย แต่ความเป็นจริงก็ยังมีผู้คนจากจีนเดินทางไปอินเดีย หลังจากที่ท่านโพธิธรรมเสียชีวิตไปแล้วเป็นเวลาหลายร้อยปี และไปพบเจอท่านโพธิธรรมอยู่ที่นั่นท่านยังมีชีวิตอยู่ การตายของท่านโพธิธรรมจึงเป็นการแกล้งตาย ที่ทำให้ท่านโพธิธรรมเองมีชีวิตอยู่ อยู่ด้วยความเป็นอิสระในอมตธรรมแห่งนิพพานอยู่อย่างนั้น ตราบจนถึงทุกวันนี้





    [​IMG]




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row1"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row2"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 7 แต่งตั้งธรรมทายาท

    ก่อน หน้าที่ท่านโพธิธรรมจะละทิ้งสังขารลาจากโลกนี้ไป ท่านได้เรียกประชุมบรรดาศิษยานุศิษย์ ผู้ที่มีความรู้ทางธรรมและอาจได้รับการสืบทอดให้เป็นทายาท ผู้สืบสานการเผยแผ่วิถีธรรมอันคือธรรมชาติ ให้คงดำรงอยู่ต่อสืบไปในภายภาคหน้า ท่านโพธิธรรมจึงได้ถามขึ้นกลางที่ประชุมว่า "ธรรมที่แท้จริงมันคืออะไร" หากพวกท่านตอบได้ เราจะมอบบาตรและจีวรของตถาคตเจ้านี้ให้ เพื่อเครื่องหมายแห่งการทำหน้าที่ ในวิถีธรรมต่อไปสืบไปในภายภาคหน้า

    ภิกษุ นาม "เต๋า หู" ได้ตอบว่า "การไม่ยึดติดในคัมภีร์หรือแม้แต่ตัวอักษร แต่ก็ไม่ได้ทิ้งความหมายที่แท้จริงในตัวอักษรนั้นเลย ธรรมชาติที่แท้จริงอยู่เหนือการยอมรับและอยู่นอกเหนือการปฏิเสธ" ท่านโพธิธรรมจึงได้พูดขึ้นว่า "เต๋า หู เธอได้หนังของฉันไป"

    ต่อมา ศิษย์ผู้มีอาวุโสเป็นคนที่สอง เป็นภิกษุณีรูปเดียวในที่ประชุมนี้ มีนามว่า "จิ้งที้" ได้กล่าวตอบว่า "ธรรมที่แท้จริง เหมือนดังพุทธะภาวะแห่งตถาคตเจ้า ที่ได้เห็นเพียงครั้งเดียวและจะเป็นการได้เห็นมันอยู่ตลอดไปเจ้าค่ะ" ท่านโพธิธรรมจึงได้พูดต่อภิกษุณีจิ้งที้ว่า "ที่เธอกล่าวนั้นถูกต้องแล้ว เธอได้เนื้อของฉันไป"

    ส่วนศิษย์คนที่สาม นามว่า "เต๋ายก" ได้ตอบว่า "ทุกสรรพสิ่งนี้ล้วนคือความว่างเปล่าตามธรรมชาติ ขันธ์ธาตุนั้นเป็นของว่างเปล่ามาแต่เดิม ก็ในธรรมชาติที่มันว่างเปล่าไร้ตัวตนอยู่อย่างนั้น นั่นแหละคือธรรม" ท่านโพธิธรรมได้พูดขึ้นมาว่า "เธอได้กระดูกของฉันไป"

    ส่วนศิษย์คนที่ สี่ คือ เสินกวง เป็นผู้ซึ่งท่านโพธิธรรมได้เปลี่ยนชื่อให้ ตอนที่ท่านรับเป็นศิษย์ใหม่ๆว่า "ฮุ่ยเค่อ" เมื่อถึงลำดับที่ฮุ่ยเค่อจะต้องตอบคำถามว่าธรรมที่แท้จริงคืออะไร ฮุ่ยเค่อก็เอาแต่นิ่งหุบปากปิดปาก และเม้มปากของตนให้สนิทอยู่อย่างนั้น แล้วจ้องมาทางท่านโพธิธรรมโดยมิได้กล่าวอะไรออกมาเลย ท่านโพธิธรรมเมื่อเห็นฮุ่ยเค่อทำกริยาดังกล่าวและนั่งเงียบอยู่อย่างนั้นโดย มิได้กล่าวพูดอะไรออกมา ท่านโพธิธรรมจึงพยักหน้ารับและพูดขึ้นมาว่า "ฮุ่ยเค่อ เธอได้ไขกระดูกของฉันไป"

    และในเวลานั้นเอง ท่านโพธิธรรมจึงได้ส่งมอบบาตรและจีวร ซึ่งเป็นของตถาคตเจ้าที่ตนได้รับสืบทอดมาและครอบครองไว้นั้น ส่งมอบต่อให้กับฮุ่ยเค่อต่อหน้าที่ประชุมของศิษยานุศิษย์ และท่านโพธิธรรมก็ได้กล่าวให้โอวาทแก่ที่ประชุมนั้น โดยกล่าวว่า ศิษย์ทุกคนของท่านล้วนแต่เป็นผู้ที่มีสติปัญญาความรู้ ในที่นี้ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มืดบอดไร้ซึ่งปัญญาอันรู้แจ้งเลย พวกเธอทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความเป็นบัณฑิตพร้อมด้วยกันทั้งสิ้น พวกเธอจงนำประสบการณ์ของพวกเธอเหล่านี้ที่ขึ้นตรงต่อธรรมชาติ จงออกโปรดบรรดาสรรพสัตว์ผู้ยากไร้ พวกเธอจงดำรงตนตั้งมั่นในความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ และจงช่วยกันถ่ายทอดธรรมชนิดนี้ให้ออกไปอย่างแพร่หลาย อย่าให้มันขาดสายสูญสลายหายไป ส่วนฮุ่ยเค่อเธอเป็นศิษย์ผู้ที่มีปฏิภาณในการตอบคำถามของฉัน และเธอก็เป็นผู้ที่มีความเข้าใจในธรรมชาติได้อย่างลึกซึ้ง เป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมธาตุแห่งธรรมชาตินี้อย่างไม่เป็นที่สงสัย ก็ขอให้เธอจงทำหน้าที่ของเธอในการเป็นธรรมทายาทผู้สืบต่อจากฉัน การใดๆก็อย่าพึ่งเร่งรีบเพราะนับสืบต่อจากนี้ไป บ้านเมืองก็จะเกิดความวุ่นวาย ขอให้เธอจงเผยแผ่ธรรมในโอกาสที่เหมาะสม

    ภาย หลังต่อมาไม่นาน ท่านโพธิธรรมก็เสียชีวิตลง เพราะสาเหตุมาจากที่ท่านถูกผู้ไม่ประสงค์ดี ปองร้ายวางยาพิษในอาหารที่ท่านฉัน จนท่านล้มเจ็บป่วยลงและได้จากลาโลกนี้ไป เมื่อท่านมีอายุได้ 150 ปี




    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row2"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 8 การจากไปด้วยรองเท้าข้างเดียว

    หลัง จากที่ท่านโพธิธรรมได้ทิ้งสังขารแล้ว ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดไปทั่วแผ่นดินจีน ว่าท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตเพราะถูกลอบวางยาพิษ ข่าวนี้ได้ดังไปถึงเมืองหลวง พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้เกิดความศรัทธาอย่างมากต่อท่านโพธิธรรม จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์จารึกไว้ที่เจดีย์บรรจุศพ ณ เชิงเขาอู่ซัน เมืองอี๋หยาง มณฑลเหอหนาน และต่อมาภายหลังองค์จักรพรรดิถังไถ่จง ได้พระราชทานนามในสมณศักดิ์ให้แก่ท่านโพธิธรรม ณ หลุมฝังศพนั้นว่า "พระฌานาจารย์สัมมาสัมโพธิญาณ"

    หลังจากที่ศพฝังไว้ในสุสานเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นมาอีกหนึ่งเดือน มีเรื่องเล่ากันว่า มีขุนนางผู้หนึ่งได้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทางตอนเหนือของประเทศจีน ขุนนางผู้นี้มีนามว่า "ช่งหวิน" เขาได้พบกับท่านโพธิธรรมพร้อมหมู่คณะภิกษุที่นั่น แต่ช่งหวินมาราชการเป็นเวลานานแล้ว และไม่รู้เลยว่าท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตไปแล้ว ช่งหวินได้พบท่านโพธิธรรมเดินธุดงค์ผ่านมา ด้วยไม้เท้าที่แขวนด้วยรองเท้าข้างเดียวของท่าน ท่านช่งหวินคนนี้เป็นข้าราชการที่มีความสนิทสนม รู้จักท่านโพธิธรรมเป็นอย่างดี จึงร้องถามขึ้นว่า "ท่านพระอาจารย์จะไปไหน" ท่านโพธิธรรมจึงพูดขึ้นว่า "ฉันจะกลับไปอินเดียกลับไปปัลลวะบ้านเกิดของฉัน แต่ตอนนี้ให้เธอรีบกลับไปเมืองหลวงเถิด เพราะที่นั่นกำลังเกิดเหตุการณ์ใหญ่ เป็นเพราะฮ่องเต้องค์จักรพรรดิได้เสด็จสวรรคตแล้ว" ช่งหวินจึงถามท่านโพธิธรรมว่า "เมื่อท่านเร่งด่วนกลับไปปัลลวะแบบนี้ ใครจะเป็นผู้สืบต่อธรรมทายาทของท่านเล่า" ท่านโพธิธรรมจึงตอบไปว่า "ก็นับแต่นี้ไปอีกสี่สิบปีในวันข้างหน้าภิกษุรูปนั้นจักปรากฏตัว"

    เมื่อ ช่งหวินได้กลับไปยังเมืองหลวง ก็มีความตกตะลึง เมื่อทราบข่าวความจริงว่า ท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตมาเกือบสามเดือนแล้ว แต่ช่งหวินไม่เชื่อเพราะตนพึ่งพบเจอท่านโพธิธรรมเมื่อสองเดือนที่แล้ว จึงนำความนี้เข้าไปบอกยังในพระราชสำนัก พวกขุนนางและชาวบ้านต่างก็ไม่เชื่อคำพูดของช่งหวิน จึงได้พากันมาขุดหลุมฝังศพในสุสานเพื่อเปิดโลงศพออกดู จึงปรากฏความเป็นจริงขึ้นมาว่า ภายในหลุมฝังศพนั้นมีแต่โลงเปล่าๆ ศพของท่านโพธิธรรมได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย คงเหลือแต่รองเท้าข้างเดียว ที่ท่านโพธิธรรมทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้าในโลงนั้น

    การจากไปด้วยรองเท้า เพียงข้างเดียว เพื่อกลับสู่ปัลลวะแห่งชมพูทวีป เป็นการจากไปสู่ความเป็นนิรันดร บนเส้นทางอมตธรรม เพราะหลังจากนั้นมาอีกเกือบสี่ร้อยปี การส่งมอบบาตรและจีวรก็ได้ผ่านมาถึงสี่ห้าชั่วคน นับแต่ท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตไปแล้ว และด้วยกาลเวลาที่ผ่านมาถึงสองร้อยกว่าปีแล้ว บาตรจีวรและความเป็นผู้นำในการเผยแผ่ธรรม ได้ตกทอดมาถึงสังฆปรินายกองค์ที่หกแห่งนิกายเซน ที่ชื่อ เว่ยหล่าง ในขณะที่ท่านเว่ยหล่างได้เข้าอุปสมบทเป็นพระ อยู่ทางใต้ของแผ่นดินจีนแล้ว และทำหน้าที่สังฆปรินายกอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ในตำบลโซกาย แห่งเมืองชิวเจา ก็อยู่มาวันหนึ่งมีภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระชาวเสฉวนชื่อ "ฟองบิน" ได้เดินทางมากราบคาราวะท่านเว่ยหล่าง เมื่อทั้งคู่ได้สนทนากันจึงทราบได้ว่า ท่านฟองบินนี้ก่อนที่ท่านจะได้เข้ามาอุปสมบทเป็นพระ ท่านเคยเป็นพ่อค้าและเดินทางไปค้าขาย ที่เมืองปัลลวะทางอินเดียตอนใต้ ท่านฟองบินกล่าวว่า ท่านเคยเจอภิกษุรูปหนึ่งชื่อท่านโพธิธรรม โดยท่านโพธิธรรมได้แนะนำให้ท่าน กลับมายังจีนบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อบวช และท่านยังแนะนำให้มาหาท่านเว่ยหล่างเพื่อศึกษาเล่าเรียน และมาปฏิบัติอยู่ด้วยกับท่านที่วัดนี้ โดยท่านโพธิธรรมได้กล่าวกับฟองบินว่า หัวใจแห่งธรรมอันถูกต้องพร้อมทั้งบาตรและจีวร อันท่านโพธิธรรมเองได้รับมอบต่อๆกันมาจากพระมหากัสสัปปะเถระนั้น บัดนี้ได้ถูกส่งมอบสืบทอดมาถึงท่านเว่ยหล่างแล้ว ท่านฟองบินจึงได้กล่าวกับท่านเว่ยหล่างว่า ขอให้ท่านได้เห็นบาตรจีวรและธรรมอันถูกต้องด้วยเถิด

    ด้วยคำพูดของ ภิกษุฟองบิน ภิกษุชาวจีนแห่งเมืองเสฉวน ที่เคยค้าขายอยู่ที่เมืองปัลลวะและเจอท่านโพธิธรรมที่นั่น ความจริงก็คือความเป็นจริงอยู่อย่างนั้น นับแต่ที่ท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตไป เมื่อท่านโพธิธรรมพึ่งได้เสียชีวิตใหม่ๆ หลังจากนั้นสามเดือน ก็ยังมีคนเคยเห็นท่านเดินทางไปกับหมู่คณะ และท่านก็ถือไม้เท้าที่แขวนด้วยรองเท้าข้างเดียว และหลังจากนั้นมาอีกเกือบสามร้อยปี ภิกษุฟองบินก็ไปเจอท่านที่เมืองปัลลวะแห่งอินเดียตอนใต้ และท่านโพธิธรรมผู้ซึ่งตายไปนานแล้วแต่ยังมีชีวิตอยู่ ยังได้แนะนำให้ภิกษุฟองบินกลับมารับธรรม รับการถ่ายทอดวิถีธรรมอันคือธรรมชาติ จากท่านเว่ยหล่างผู้ซึ่งเป็นสังฆปรินายกในขณะนั้น

    เรื่องที่เป็นไป ไม่ได้ มันจึงเป็นไปได้ กาลเวลาก็ทำหน้าที่เพียง เดินไปข้างหน้า โดยไม่รั้งรอใครอะไรทั้งนั้น แต่ความเป็นอมตธรรมนั้น มันอยู่นอกเหนือกาลเวลา ท่านโพธิธรรมมิได้จากไปไหน รองเท้าในโลงศพของท่านข้างนั้นมันยังอยู่ มันรอท่านโพธิธรรม เพื่อให้ท่านกลับมาใส่มัน ให้ครบทั้งสองข้าง ในกาลเวลาเหมาะสม ท่านโพธิธรรม ยังคงอยู่




    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 9 พระมหากัสสปะ

    ปิป ผลิมาณพ เกิดในตระกูลกัสสปะเป็นบุตรชายของกปิลพราหมณ์ แต่คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า "กัสสปะ" ตามวงศ์ตระกูลของท่าน เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี ได้ทำการอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี ซึ่งเป็นสาวงามวัย 16 ปี นางเป็นกุลธิดาของพราหมณ์ตระกูลโกลิยะ แห่งเมืองสาคลนคร แคว้นมคธ ต่อมาทั้งคู่เกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือนใช้ชีวิตคู่ จึงพากันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติและบริวาร ทั้งคู่จึงพากันออกบวชตามทิฐิของตนเพื่อแสวงหาโมกขธรรม เมื่อต่างคนต่างโกนผมและนุ่งห่มผ้าย้อมฝาดแล้วและตระเตรียมบริขาร จึงชวนพากันเดินออกจากหมู่บ้านไป เมื่อทั้งคู่มาถึงทางสามแพร่งจึงได้ตกลงแยกย้ายกันไป ปิปผลิไปทางขวาและนางภัททกาปิลานีไปทางซ้าย ในขณะนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ทรงอนุญาต ให้สตรีเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาได้ นางจึงไปขออยู่ในสำนักปริพาชก ต่อมาเมื่อพระนางปชาโคตมีได้บวชแล้ว นางจึงได้ตัดสินใจเข้ามาขอบรรพชาอุปสมบท ในสำนักขององค์พระศาสดา ภายหลังจากนั้นนางได้ศึกษาธรรมกรรมฐานและเจริญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุเป็นอรหัตผล

    ส่วนปิปผลิเดินทางไปจนได้พบพระผู้มีพระภาค เจ้า พระพุทธองค์ทรงเสด็จประทับที่ภายใต้ร่มไทร ในหนทางระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เมื่อปิปผลิได้เห็นพระพุทธองค์จึงเกิดความศรัทธาเลื่อมใส พระพุทธองค์จึงได้แสดงธรรมสั่งสอน และเรียกปิปผลิเข้ามาอุปสมบทไปในคราวเดียวกัน ด้วยทรงพระราชทาน "โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา" 3 ข้อ

    ข้อ 1 กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เธอควรตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ ในภิกษุทั้งที่เป็นพระเถระ พระผู้มีพรรษาปานกลาง และพระนวกะผู้บวชใหม่

    ข้อ 2 กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เธอควรตั้งใจฟังธรรมบทใดบทหนึ่งด้วยความเคารพ และพิจารณาจดจำทำความเข้าใจเนื้อความแห่งธรรมบทนั้น

    ข้อ 3 กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เธอจะไม่ละสติไปในกาย

    เมื่อ ท่านกัสสปะได้รับโอวาท และบวชเป็นพระภิกษุต่อหน้าพระพุทธองค์แล้ว จึงได้หลีกเร้นทำความเพียร ก็ด้วยกุศลกรรมอันคือจริตของภิกษุกัสสปะ ที่เคยสั่งสมมาในการพิจารณาถึง ความไม่เที่ยงแห่งกาย ความไม่ยั่งยืนอยู่แห่งความเป็นขันธ์ธาตุ แม้กระทั่งในชาติสุดท้ายนี้เอง ท่านก็มีความเบื่อหน่ายในกายในสังขารของท่าน ก็เป็นเหตุให้ท่านได้ทิ้งการครองเรือนเพื่อมาบวช เพราะท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตคู่ จนถึงกับทำให้ท่านนอนหันหลังให้กับภรรยาของตนทุกคืน ไม่เคยมีความยุ่งเกี่ยวจับเนื้อต้องตัวภรรยาในฐานะที่ตนเองเป็นสามีเลย ด้วยจริตนี้ พระพุทธองค์จึงทรงให้โอวาทเป็นธรรม เพื่อให้ภิกษุกัสสปะนำมาพิจารณา คือ ให้พึงมีสติไปในกาย

    ก็อันว่า ด้วยกายนี้ เป็นเพียงการประกอบเข้าแห่งขันธ์ธาตุ คือ ธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พระพุทธองค์ทรงให้ภิกษุกัสสปะ พึงมีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้อยู่อย่างนั้นว่า แท้จริงความเป็นขันธ์ทั้งห้า มันย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว ขันธ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้นย่อมตั้งมั่นเป็นตัวเป็นตนอยู่ได้ไม่นาน มันย่อมแปรปรวนไป มันย่อมมีความไม่เที่ยงแท้แน่นอนในความที่เข้าไปยึดเป็นตัวเป็นตน แท้จริงขันธ์ทั้งห้านี้ย่อมไม่มีตัวตน ตามธรรมชาติแห่งความเป็นจริง มันย่อมไม่เคยมีขันธ์ทั้งห้าเกิดขึ้นมาก่อน ธรรมชาติมันย่อมมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น ตามธรรมชาติของมันอยู่แล้ว

    เมื่อ ภิกษุกัสสปะได้น้อมนำธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอน และได้เห็นตามความเป็นจริงเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้งแล้วว่า แท้จริงกายนี้ก็ได้แต่เพียงอาศัยเพื่อดำรงชีวิตอยู่ แท้จริงการที่เรายังเห็นว่า กายนี้คือเรา เพราะเราหลงไปเห็นว่ามันมีความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ธาตุทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และหลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นสำคัญผิดว่า นี่คือเรา นี่คือกายเรา นี่คือความเป็นเรา เมื่อภิกษุกัสสปะเข้าใจตรงต่อความเป็นจริงแล้วว่า มันเป็นเพียงปรากฏการณ์เกิดขึ้นแห่งกายที่หลงเข้าไปยึด แท้จริงขันธ์ทั้งห้าหามีความเป็นตัวตนไม่ แท้จริงขันธ์ทั้งห้าย่อมเป็นความว่างเปล่า ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น แท้จริงธรรมชาติมันคงมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เมื่อภิกษุกัสสปะได้ตระหนักอย่างชัดแจ้ง และได้รู้แจ้งในธรรมชาติแล้ว ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในวันที่แปด นับแต่ท่านได้เข้ามาบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา

    เมื่อภิกษุกัสสปะได้ บรรลุธรรมแล้ว จึงได้มีความขวนขวายสั่งสอนธรรมแก่ภิกษุและพุทธบริษัทอื่นๆ จนกระทั่งท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ เข้ามาปฏิบัติธรรมด้วยเป็นจำนวนมาก และภิกษุกัสสปะนี้ท่านมีศรัทธา ที่จะรักษาประพฤติข้อวัตรแห่งธุดงค์ ท่านจึงตั้งใจสมาทานไว้ 3 ประการอย่างเคร่งครัด คือ

    1. การถือเอาการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นข้อวัตร 2. การถือเอาการบิณฑบาตเป็นข้อวัตร 3. การถือเอาการอยู่ป่าเป็นข้อวัตร

    การ ถือข้อวัตรเหล่านี้ด้วยความเคร่งครัด เพื่อที่จะให้เป็นแบบอย่างแก่ภิกษุรุ่นหลังๆ ตามเจตนารมณ์ของภิกษุกัสสปะท่าน พระพุทธองค์จึงตรัสสรรเสริญและยกย่องท่าน ให้เป็นภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางเป็นภิกษุผู้ทรงธุดงควัตร และต่อมาพุทธบริษัททั้งหลายได้เรียกชื่อท่านว่า "พระมหากัสสปะ"

    ครั้ง หนึ่งพระมหากัสสปะได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และพระองค์มีความประสงค์ที่จะทรงทอดพระวรกาย เพื่อบรรทมในท่าสีหไสยาสน์ พระมหากัสสปะจึงได้ถอดผ้าจีวรสังฆาฏิของตนออก แล้วพับเป็นสี่ชั้นเพื่อให้พระพุทธองค์ทรงสีหไสยาสน์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทอดพระวรกายแล้วจึงกล่าวขึ้นว่า "กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอมีความนุ่มดี" พระมหากัสสปะจึงพูดว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงโปรดเอาไปใช้สอยเถิด พระเจ้าข้า" พระพุทธองค์จึงทรงถวายผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ประทานให้แก่พระมหากัสสปะไว้ใช้สอยเช่นกัน ก็ผ้าสังฆาฏิผืนนี้พระมหากัสสปะได้เอามาใช้สอย และไม่เคยเปลี่ยนสังฆาฏิอีกเลย ครั้งเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน บริขารทั้งหลายของพระพุทธองค์นั้น ถูกเก็บรักษาไว้ด้วยพระเถระ มีผู้กล่าวกันต่อมาว่า พระมหากัสสปะได้เอาบาตรของพระพุทธองค์มาเก็บเอาไว้ด้วย

    ต่อมาพระ พุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน และหลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านพระมหากัสสปะได้ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัย ตั้งไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อเป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป
    สาระสำคัญของปฐมสังคายนา

    1. พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย 2. พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย
    3. พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร
    4. กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์
    5. พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภก
    6. กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ

    พระมหากัสสปะเถระ เมื่อทำหน้าที่เป็นประธาน
    ในการทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี
    ก่อน ที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้ว ทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวันเดียวเท่านั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่าน แล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอนภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียรและอย่าประมาท
    แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระ เจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิตขอให้ภูเขาทั้งสามลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูเขาทั้งสามลูกนั้น มีภูเขาเวภารบรรพตสถานที่ทำปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นั้น
    ท่านยังอธิษฐานขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั่งพระศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย
    ซึ่ง พระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้น ประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิดขึ้นเผาสรีระของท่าน บนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้านั้น

    หลังจากที่พระมหา กัสสปะดับขันธ์เข้าสู่นิพพานแล้ว สังฆาฏิและบาตรของพระพุทธองค์ที่พระมหากัสสปะได้เก็บไว้นั้น ก็ได้ถูกส่งต่อสืบทอดกันมาในหมู่คณาจารย์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระมหากัสสปะท่าน การครอบครองบาตรและจีวร เป็นการได้ครองด้วยการสืบทอดธรรมอันเป็นธรรมชาติ ด้วยการชี้ตรงผ่านสู่ใจต่อใจ เป็นการถ่ายทอดธรรมให้แก่กันเป็นรุ่นๆ มิให้ขาดสายไป




    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 10 เข้าสู่กระแสธรรมอันคือ ธรรมชาติ

    ธรรม ที่ตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้ เพื่อเป็นเครื่องชำระล้างจิตใจที่แปดเปื้อน ไปด้วยมลทิน ตัณหา อุปาทานต่างๆนั้น เป็นธรรมอันคือหนทางไปสู่ความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ นั่นคือ อริยมรรค หรือ หนทางอันยิ่งใหญ่นั่นเอง มรรคหรือหนทางที่นำพาเราออกจากทุกข์ได้ ก็คือ มรรคหนทางเดียวกันกับ "มรรคหนทางที่ทำให้เราได้ซึมซาบ กลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั่นเอง" มันเป็นธรรมชาติแห่งทุกๆสรรพสิ่งที่อยู่รวมกัน ด้วยความเสมอภาคในเนื้อหาอันเดียวกัน คือความว่างเปล่าไร้ตัวตนอยู่อย่างนั้น

    ก็ด้วยความเป็นมนุษย์ที่ไม่ เข้าใจในธรรมชาติแห่งตน มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาความเป็นตัวตนของตนเองเป็นที่ตั้ง ในการดำเนินชีวิตไปบนเส้นทางแห่งความประมาท เหตุและปัจจัยที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นรูปกายของมนุษย์ มนุษย์ก็หลงผิดล้วนแต่จับฉวยจับกุมเข้าไปยึดสิ่งต่างๆเหล่านี้ ที่เข้ามาแล้วก่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆ จนกลายเป็นความคิดไปในทาง ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมนุษย์ผู้นั้น ก็เพราะ ตัณหา อุปาทาน ความอยาก ที่มนุษย์ผู้หันหลังให้กับธรรมชาติ ยึดเอาเป็นสรณะว่า "นี่คือตนนี่คือของตน" อยู่ตลอดเวลา ความคิดต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนแต่นำมาปรนเปรอ ความเป็นตัวตนของตนเองอยู่ร่ำไป

    ตถาคต เจ้าจึงตรัสว่า แท้จริงมันเป็นเพียงสักกายทิฐิ หรือความเห็นอย่างมืดมัว ในความเป็นตัวเป็นตนของตนเองอยู่ตลอดเวลา แท้จริงสิ่งเหล่านี้หามีไม่ มันเป็นเพียงมายามาหลอกล่อ ให้เราติดกับดักในความเป็นตัณหาอุปาทานแห่ง "ความเป็นเรา" พาเราทั้งหลายไปเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จบรู้สิ้น มันเป็นเพียงเหตุและปัจจัยที่ทำให้เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เป็นความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มันเป็นเพียง "จิต" เท่านั้นที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ในความเป็นจริงจิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมันหามีไม่ แท้จริงความเป็นเราก็ไม่มีแม้แต่น้อย ตถาคตจึงย่อยสลายความเป็นตัวเป็นตนของมนุษย์ "ความเป็นเรา" เหลือเป็นเพียงส่วนประกอบที่ประกอบเข้ากันเป็นมนุษย์ขึ้น แบ่งออกเป็นห้าส่วน คือ ขันธ์ทั้งห้า กล่าวคือ ย่อยเหลือเพียง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เท่านั้น ก็เพราะขันธ์ทั้งห้านี่เองที่ทำให้มนุษย์หลงเข้าไปยึด ว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นตนเองขึ้นมา และในความเป็นจริงขันธ์ทั้งห้าก็หามีไม่ แท้ที่จริงธรรมชาติมันคือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น มันไม่เคยมีขันธ์ทั้งห้าเกิดขึ้นมาก่อนเลย

    ก็เมื่อพวกเธอเข้าใจแล้ว ว่า แท้จริงทุกๆสิ่งในความคิดที่พวกเธอผลิตออกมา มันล้วนแต่เป็นเพียงจิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นไปในความหมายว่า นี่คือความเป็นตัวตนของพวกเธอเอง และแท้ที่จริงจิตนั้นมันก็เป็นเพียงสิ่งที่พวกเธอเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ในขันธ์ทั้งห้า จนก่อให้เกิดตัณหา อุปาทาน และกลายเป็น "จิต" และเมื่อพวกเธอเข้าใจในความเป็นจริงตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ที่มันเป็นธรรมชาติของมันในความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ซึ่งหมายความว่า มันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า เป็นความว่างเปล่าโดยที่มันไม่เคยมีขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นมาก่อนเลย อันจะทำให้พวกเธอเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้ ก็ความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้ของมันนั่นเอง ที่พวกเธอเข้าใจอย่างชัดแจ้งหมดซึ่งความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง ซึ่งความลังเลสงสัยนั้น มันอาจจะทำให้พวกเธอหันเหไปสู่ข้อวัตรอื่นๆ ที่พวกเธอผลิตขึ้นมาเอง หรือเป็นข้อวัตรที่พวกเธอจดจำมาจากสำนักอื่นหรือศาสดาอื่นๆ ซึ่งพวกเธอเข้าใจผิดว่ามันจะเป็นข้อวัตร อันทำให้พวกเธอพ้นจากความทุกข์ได้ ความเข้าใจอย่างชัดแจ้งหมดจดไร้ความเป็นตำหนิ ในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ อย่างที่ไม่มีความคลอนแคลนไปในทางหนทางอื่นที่ว่านี้ มันเป็นความ "ตระหนักชัด" อย่างชัดแจ้ง ในเนื้อหาธรรมชาติ เป็นความตระหนักชัดอันนำพาพวกเธอเข้าถึงกระแสธรรม ในธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้นี่เอง คือหลักธรรมเดียวอันเป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง ที่ตถาคตเจ้าได้ประกาศธรรมชนิดนี้ล่วงมาเป็นเวลา 2,500 กว่าปีแล้ว ก็ขอให้พวกเธอเข้าใจธรรมอันคือธรรมชาติตามนี้




    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 11 ความทุกข์ยาก คือ เมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ

    ผ่าน มาเป็นกัปเป็นกัลป์โดยนับไม่ถ้วนแห่งอสงไขยเวลา ที่กาลเวลาเหล่านั้นได้พาเราเองไปเวียนว่ายตายเกิดบนโลกใบนี้ ความที่ต้องทนถูกบีบคั้นกับภาวะต่างๆในชีวิตประจำวัน ในแต่ละภพแต่ละชาติที่ผ่านมาทุกภพทุกชาติไป มันเหมือนประสบการณ์ที่เป็นครูสอนเรา ให้ได้เรียนรู้กับชีวิตที่เดินไปบนหนทางอันมืดมน และไม่มีจุดจบบนเส้นทางนี้ ใจเมื่อหากหวังสิ่งใด หากได้มามันก็อยู่กับเราไม่นาน ยึดในสิ่งที่คิดว่าสมหวัง ท้ายที่สุดก็ต้องมานั่งเสียใจภายหลังว่า "มันจากไปแล้ว" มันจากไปด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ซึ่งคือความหมายแห่งความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นการพลัดพรากจากไปเป็นของธรรมดาตามแบบสามัญทั่วไป แห่งการไม่มีสิ่งสิ่งนั้นอยู่แล้วโดยความหมายโดยสภาพในตัวมันเอง หรือใจเมื่อหากหวังสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้นมา ก็เป็นความทุกข์ใจแบบซึ่งหน้า ณ เดี๋ยวนั้นอยู่แล้วนั่นเอง

    ชีวิตของ มนุษย์ ผู้ที่มีความต้องการอยู่ในกมลสันดานอยู่ตลอดเวลา มันก็เป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา ที่แสดงกรรมของตนเองต่อสิ่งรอบข้าง และต้องจำยอมรับผลกรรมนั้นอยู่ตลอดไป ด้วยอำนาจแห่งกรรมวิสัยนั้น ก็ในความเป็นมนุษย์ที่ต้องอยู่ร่วมกับสังคมมนุษย์ด้วยกัน เป็นสังคมที่ดำเนินไปในทางความมีความเป็นแต่ถ่ายเดียว มนุษย์จึงมีความระมัดระวังในการแสดงออกต่อกัน ได้กระทำถูกบ้างกระทำผิดบ้าง มีความสุขใจบ้างมีความทุกข์ใจบ้าง แต่โดยเนื้อหาแล้วภาวะที่เข้ามาและแบกรับไว้ มันล้วนกลั่นกรองออกมาแสดงเป็นผลแห่งความทุกข์ที่เข้ามาบีบคั้น ให้ใจมนุษย์ต้องทนรับผลของมันอยู่ตลอดไป บางครั้งความทุกข์ยากที่ได้ก่อตัวขึ้น มันมากเสียจนกระทั่งให้หัวใจอ่อนๆของมนุษย์ ผู้ที่ไม่มีปัญญาแก้ไขปัญหาของตนเองได้ถูกวิธี ได้ผุพังกลายเป็นหัวใจที่แตกสลายยับเยิน ไม่อาจทนยินดีรับความทุกข์นั้นไว้ได้ ขาดความเป็นจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ตามที่มันควรจะเป็นไป

    แต่ ด้วยผลบุญซึ่งคือสภาพที่เป็นเหตุปัจจัยหนึ่ง ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายได้สร้างสมไขว่คว้าเอาไว้ ด้วยอำนาจแห่งบุญนั้น ก็ทำให้บัณฑิตทั้งหลายได้เรียนรู้ว่า สิ่งต่างๆทั้งหลายที่เข้ามาบีบคั้นและต้องทนแบกรับไว้ แท้ที่จริงมันคือ "ทุกข์" มันเป็นสภาพแห่งความทุกข์ และทุกข์นี้เองมันทำให้บัณฑิตเหล่านี้ ได้พึงพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ว่ามันเป็นเหตุที่ทำให้ต้องหาทางออกจากมัน ถึงแม้ว่าทุกข์นั้นมันจะเป็นโทษ แต่ทุกข์นั้นโดยสภาพมันเอง มันก็คือ เมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ ที่มันทำหน้าที่เป็นเหตุและปัจจัย "อย่างแท้จริง" ที่ทำให้เราได้มีสติมีกำลังใจกระตุ้นเตือนตนเองว่า เราควรหนีห่างออกจากมันโดยฉับพลัน นี่คือ "ความทุกข์" แห่งพุทธะ



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 12 ความเงียบบนเส้นทางนั้น

    พวก เราต่างก็ถูกปกคลุมให้อยู่ในฐานะ เป็นบรรดาสรรพสัตว์ที่เกิดมาแล้วต้องตาย ตายแล้วก็ต้องเกิด หมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายภพชาติกันไปแบบไม่มีวันจบสิ้น แถมยังล้วนแต่เป็นสรรพสัตว์ที่โง่เขลาอ่อนด้อยทางปัญญา มีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำจิตใจเราอยู่ตลอดเวลา ความหลงผิดดังกล่าวทำให้เรามีแต่ความยินดียินร้าย เมื่อมีเหตุและปัจจัยเข้ามากระตุ้น ให้เข้าไปยึดในความมีขันธ์ทั้งห้าเกิดขึ้น ตามโมหะแห่งสรรพสัตว์เราทั้งหลาย

    ก็ ขอให้พึงสำเหนียกเอาไว้เลยว่า ความสุขและทุกข์ที่เราได้รับอยู่ตลอดเวลานั้น มันล้วนเกิดจากอวิชชาความไม่รู้ของเราเอง พาเข้าไปมองเห็นแบบเข้าใจผิดว่า "มีขันธ์ทั้งห้าเกิดขึ้น" และอวิชชาความไม่รู้อีกเช่นกัน ก็พาเข้าไปยึดขันธ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้นนั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จนปรุงแต่งกลายมาเป็น "จิต" เป็นจิตที่มีแต่เนื้อหายินดียินร้ายไปในทางสรรพสิ่งแห่งมายาของตน ซึ่งเป็นผลพวงจากที่ตนเองเข้าใจผิดต่อความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ก็ทั้งหมดนี้มันเป็นเพียงสังขารการปรุงแต่งไปตามเหตุและปัจจัย ที่เข้ามาเพียงเท่านั้น แท้จริงแล้วเหตุปัจจัยที่เข้ามา "มันก็หามีไม่" "ความมี" แห่งเหตุและปัจจัยนั้นมันก็หาคงตัวคงที่ถาวรไม่ มันย่อมแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เพราะโดยสภาพตามธรรมชาติของมันแห่งเหตุและปัจจัยที่เข้ามานั้น โดยตัวมันเองมันก็ย่อมไม่มีย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่แล้ว เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติอันคือคุณลักษณะของมัน มันก็ย่อม "หมดเหตุ" ในเหตุและปัจจัยนั้น เพราะฉะนั้นเราจึงควร ไม่ต้องเข้าไปรู้สึกดีใจหรือเสียใจในสิ่งที่เข้ามา ก็ในเมื่อสิ่งที่เราคิดและอาจประสบพบเจอ มันอาจเป็นเพียงความสำเร็จหรือความล้มเหลว แต่ทั้งสองทางมันก็ล้วนเกิดจาก "จิตที่เราปรุงแต่งขึ้น" เมื่อมันล้วนแต่เป็นเพียงมายาแห่งการปรุงแต่ง สรรพสัตว์ผู้ที่เข้าใจในธรรมชาติแห่งทุกสรรพสิ่งว่า แท้ที่จริงหามีสิ่งใดไม่ ธรรมชาติมันคงปรากฏแต่เนื้อหา แห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน มาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีอันหาจุดเริ่มต้นของมันไม่ได้ และไม่มีวันที่จะมีจุดจบสลายหายไป มันเป็นธรรมชาติที่ว่างเปล่าแบบคงตัวถาวร ตลอดสายถ้วนทั่วทุกอณูธรรมธาตุ ตามเนื้อหาตามสภาพของมันแบบธรรมชาติอยู่อย่างนั้น สรรพสัตว์ผู้ที่มีความตระหนักชัดในความหมายแห่งธรรมชาตินี้ และสามารถซึมซาบกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมัน "ได้แบบมั่นคง" หามีความหวั่นไหวไปตามมายาอันคือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ก็ขึ้นชื่อได้ว่าสรรพสัตว์ผู้นั้นกำลังได้ปฏิบัติธรรม และกำลังเดินไปบนเส้นทางอริยมรรค อันคือหนทางไปสู่ความหลุดพ้น แบบเงียบๆอยู่คนเดียว ในท่ามกลางการใช้ชีวิตประจำวันของตน ต่อสังคมรอบข้างได้อย่างเหมาะสมลงตัว



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 13 วิถีที่เรียบง่าย

    โลก ตามความเป็นจริง มิได้หมายถึงผืนแผ่นดินที่มีรูปทรงกลมและมีมหาสมุทรโดยรอบ แต่โลกตามความหมายแห่งตถาคตเจ้า คือโลกที่ถูกรับรู้ด้วยอายตนะและขันธ์ธาตุอันประกอบเป็นร่างกายขึ้น คือโลกในความเป็นมโนภาพในโครงสร้างแห่งความเข้าใจ แห่งมนุษย์ทั้งหลายตามความรับรู้แห่งตน ก็โดยสรรพสัตว์ทั่วไปย่อมใช้ชีวิตตามอำเภอใจ ดำรงชีวิตไปตามที่ใจของตนปรารถนา จึงเป็นความปกติที่พื้นฐานของชีวิตมนุษย์ทุกตัวตน ย่อมดิ้นรนแสวงหาความสุขมาปรนเปรอบำเรอให้กับชีวิตของตน ตามที่ตนเองตั้งความหวังเท่าที่ตนจะหวังได้อยู่ร่ำไป แต่ด้วยลักษณะกรรมที่ตนเองเคยประกอบทำไว้ในอดีตชาติที่ผ่านมา ด้วยความมืดมัวแต่เก่าก่อนที่เคยทำไปแบบผสมปนเป เป็นเนื้อหากรรมที่เป็นไปในทางความสุขบ้างความทุกข์บ้าง คละเคล้ากันไปตามอำนาจแห่งความมืดแห่งหัวใจตน ก็ด้วยการเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้มันเป็นการใช้กรรมและการสร้างกรรม ด้วยเหตุผลดังกล่าวทั้งหมดข้างต้น มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกคนจะประสบแต่ความสุขแต่ฝ่ายเดียว ความสุขที่ได้เสพนั้น เมื่อวาระแห่งกาลเวลาที่ต้องใช้กรรมชนิดนี้หมดไป ด้วยเหตุผลที่ว่ามีกรรมชนิดใหม่ๆต้องเข้ามาแทนที่ ตามหน้าที่แห่งความเป็นไปตามระบบกรรมวิสัยนั้น และอีกทั้งโดยสภาพตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ ย่อมไม่มีสิ่งใดๆที่จะตั้งอยู่ในสภาพนั้นๆในความรู้สึกนั้น แบบคงที่ถาวรได้ตลอดไป เพราะธรรมชาติคือความว่างเปล่า ไม่อาจมีรูปทรงใดๆหรือสิ่งไหนตั้งอยู่ในสภาพของมัน ได้อยู่อย่างนั้นได้ตลอดไปในความว่างเปล่าได้เลย เมื่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มิใช่ปรากฏการณ์ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงตามธรรมชาติ ปรากฏการณจึงย่อมมิใช่ปรากฏการณ์ ปรากฏการณ์ทั้งหลายนั้นจึงย่อมเป็นมายา เสมือนเป็นพยับแดดที่ระเหือดระเหยหายไป ในชั่วพริบตาแห่งความรู้สึก ความสุขที่ไขว่คว้าจึงมิได้มีความจีรังยั่งยืนแต่อย่างใด แต่เมื่อเหตุและผลตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาตินี้ ถูกกลบไปด้วยความรู้สึกที่ยึดมั่นบนพื้นฐานแห่งความไม่เข้าใจ สรรพสัตว์ในคราบมนุษย์ทั้งหลาย จึงดำเนินชีวิตของตนไปในบรรดาความรู้สึกต่างๆที่ตนเองเคยชิน เป็นความเคยชินในความชอบที่หมกอยู่ในกมลสันดานแห่งจิตตน ความเคยชินที่เป็นความสั่งสมแบบแนบแน่น ชนิดที่เรียกว่า เราคือมัน มันคือเรา ก็จะพาให้เรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับโลกแห่งมายาในสามภพ คือ มนุษย์ สวรรค์ นรก ความแนบแน่นดังกล่าวก็จะดลบันดาลด้วยอำนาจแห่งมัน พาเราไปเวียนว่ายตายเกิดในภพในเรือนทั้งสามนี้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    แท้ จริงความเป็นเราย่อมไม่มี แท้จริงความเป็นขันธ์ธาตุย่อมไม่มี ขันธ์ธาตุนั้นโดยตัวมันเองย่อมเป็นความว่างเปล่า ไม่มีอะไรที่จะเข้าไปยึดถือจนก่อให้เกิดความเป็นตัวตนได้ ความเป็นจริงไม่เคยมีขันธ์ธาตุเกิดขึ้นมาก่อน หากกล่าวว่ามีขันธ์ธาตุเกิดขึ้น มันก็เป็นการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ธาตุด้วยความมีโมหะแห่งเราเอง จึงปรากฏความเป็นขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นในความรับรู้ และยึดเอาขันธ์ธาตุนั้นคือเรา มีความหมายในความเป็นตัวเป็นตนแห่งเรา เพราะความเข้าไปยึดด้วยเหตุแห่งอวิชชาความไม่รู้ แต่ด้วยความเป็นจริงขันธ์ธาตุที่เราเข้าไปอาศัยและยึดมั่นถือมั่นมัน มันมีความเสื่อมโทรมมีความแก่ชรา มีความแปรเปลี่ยนไปในรูปทรงของมัน แปรเปลี่ยนไปในลักษณะที่จะพลัดพรากจากไป ด้วยความคงตัวรูปทรงเดิมของมันเอาไว้ไม่ได้ ขันธ์ธาตุหรือกายนี้ จึงเปรียบประดุจเรือนที่เราได้พักพิงอาศัยชั่วคราว ความแปรปรวนของมันเปรียบเสมือนเรือนที่กำลังถูกไฟไหม้ ให้สูญสลายมอดหายไปในทุกกาลเวลานาที เมื่อถึงเวลาที่ต้องอำลาจากกันไป ขันธ์ธาตุที่มาประชุมกันเป็นรูปกายเราเป็นอวัยวะต่างๆ มันก็พร้อมทำหน้าที่แห่งมัน เป็นหน้าที่ที่ต้องแยกย้ายสลายออกจากกัน ไปสู่ความเป็นธาตุเดิมของมัน คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แม้กระทั่ง ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ย่อมสลายหายไปอีกเช่นกันหามีตัวตนไม่ จึงเป็นการจากไปเพื่อกลับคืนสู่ฐานะดั้งเดิมตามธรรมชาติอย่างแท้จริง เป็นธรรมชาติที่คงปรากฏการณ์ "ความว่างเปล่า" ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน อยู่อย่างนั้นมาเป็นเวลานานแสนนานแล้ว เมื่อความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติมันเป็นเช่นนี้ สรรพสัตว์มนุษย์ผู้มืดบอดและไม่ยอมเข้าใจในกฎธรรมชาตินั้น จึงเอาความเคยชินซึ่งเป็นความทะยานอยากแห่งตน วิ่งไล่จับคว้าเงาของตนเองในความมืดอยู่อย่างนั้น เมื่อทุกสรรพสิ่งย่อมไม่มีตัวตนโดยตัวมันเองอยู่แล้ว การได้มาหรือการจากไป บนพื้นฐานความรู้สึกนั้นๆในความยึดมั่น จึงย่อมเป็นการกระทำที่เหนื่อยเปล่าและหาสาระอะไรไม่ได้เลย

    เพราะ ธรรมชาติคือความเป็นจริงที่ไม่ซับซ้อน เป็นความเรียบง่ายในวิถีแห่งมัน ในความว่างเปล่าไร้ตัวตน สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงละทิ้งความซับซ้อนยุ่งเหยิงและความเหนื่อยหน่าย แห่งความมีความเป็นที่นำพาชีวิตของสรรพสัตว์ ให้โลดแล่นไปตามความทะยานอยากทั้งหลายเสีย แล้วหันหน้ามาทำความเข้าใจกับความจริงให้ตรงต่อความเป็นธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นเหตุและผล แบบเรียบง่ายไม่ซับซ้อนในความเป็นจริงแห่งตัวมันเอง แล้วธรรมชาตินั้น ก็จะพาท่านดำรงชีวิตไปบนวิถีที่เรียบง่ายแห่งมัน แต่ความเรียบง่ายนี้กลับเป็นความสุขที่ยืนยาวอย่างแท้จริง ตราบชั่วนิจนิรันดรในอมตธรรมนั้น




    [​IMG]




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 14 "ตถตา" มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น

    เมื่อ พวกเธอตัดสินใจเดินบนเส้นทางธรรมชาติ ด้วยความมั่นใจของพวกเธอเองที่คือความเข้าใจในเนื้อหาธรรมชาตินั้นอันจะทำ ให้พวกเธอไม่หันหลังกลับไปในหนทางที่มืดมัวอีก ซึ่งจะพาให้พวกเธอหลงทางไปในทิฐิอื่นๆที่ไม่ใช่สัมมาทิฐิ ศรัทธาที่ออกมาจากหัวใจอันแกร่งกล้าเด็ดเดี่ยวของพวกเธอ ซึ่งทำให้พวกเธอร้องอุทานออกมาว่า "นี่ใช่หนทางอันแท้จริงแล้ว" แล้วรีบก้าวเดินรุดไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง กำลังใจทั้งมวลที่ออกมาจากใจของพวกเธอนั้น คือพลังแห่งธรรมธาตุต่างๆซึ่งมันอยู่ในฐานะเป็นอินทรีย์แห่งธรรม ที่ช่วยผลักดันให้พวกเธอได้ทำความเข้าใจตระหนักชัด ในเนื้อหาธรรมชาติได้อย่างชัดแจ้ง และมันจะช่วยผลักดันให้พวกเธอได้กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน แบบกลมกลืนกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นด้วยการ "ซึมซาบ" ซึ่งหมายถึง ความเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งหมายถึง ความเป็นเนื้อหาเดียวกัน ชนิดที่ไม่อาจแบ่งแยกออกได้เป็นสองสิ่ง หรือ หลายๆสิ่งมากกว่านั้น ซึ่งมันไม่สามารถแบ่งแยกออกได้ว่า นี่คือ พวกเธอ นี่คือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ในเนื้อหานั้น แต่มันทำให้ซึมซาบแบบกลมกลืนไปในทาง ไม่มีความแตกต่างใดๆเลยอย่างเด็ดขาด ในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ เพราะว่ามันก็เป็นของมันเช่นนั้นเองอยู่อย่างนั้น เป็นการซึมซาบที่ไม่อาจจะใช้ "เหตุและผลใดๆทั้งปวง" เข้ามาวิเคราะห์เพื่อรองรับเนื้อหาการซึมซาบในธรรมชาตินี้ได้อีก เมื่อสามารถซึมซาบกับมันแล้วด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ก็ปล่อยมันไว้อย่างนั้นตามธรรมชาติของมัน ตามที่มันจะเป็นไปตามเนื้อหาของมันเอง มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว

    ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ นี้ มันเป็นธรรมชาติที่แสดงเนื้อหาแห่ง "ความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน" มาก่อนอยู่แล้วตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแห่งมัน มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่แบบนั้น ความเป็นธรรมชาติของมัน ซึ่งมีความหมายถึง มันมิได้เป็นเนื้อหาที่เกิดจากอะไรกับอะไร หรือเกิดจากที่มีใครอะไรที่ไหนสักคนที่มีความสามารถมาทำให้มันเกิด แต่มันเป็นธรรมชาติที่มีเนื้อหาสมบูรณ์แบบอยู่แล้วของมันมาตั้งแต่ต้น มันสมบูรณ์แบบขนาดที่ว่า ไม่ต้องมีใครมาเสริมเติมแต่งในเนื้อหาของมันอีก มันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความเป็นตัวเป็นตน "แบบเสร็จสรรพเด็ดขาด" ในเนื้อหาของมันมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีของมันเอง มันเป็นความว่างเปล่าไร้ความเป็นตัวตน "แบบตลอดสาย" ถ้วนทั่วทุกอณูธรรมธาตุอยู่แล้วโดยตัวมันเอง โดยไม่ต้องมีใครเอามือส่วนที่เกินแห่งตน มาพยายามทำความปะติดปะต่อให้กับความว่าง ให้มันว่างไปตลอดสายถ้วนทั่วสมดั่งที่ใจของเขาคนนั้นปรารถนา มันเป็นความว่างแบบบริบูรณ์อย่างเต็มเปี่ยมอยู่แล้วโดยไม่มีความพร่อง ดังนี้มันจึงไม่ต้องการให้ใครมาเติมเต็มอะไรให้มันเต็มจนล้นออกมาอีก ดังนี้ไม่ว่าด้วยเหตุอะไรถ้าจะก่อให้เกิดความพยายามใดๆ และความพยายามนั้นมันจะก่อให้เกิดไปในทางความหมายอื่น ซึ่งมันเป็นความพยายามที่จะทำให้ ความหมายของธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น มันปรากฏเด่นชัดขึ้นมาในความเข้าใจผิด และตามความต้องการของพวกเธอเอง "ความพยายาม" เหล่านี้ที่พวกเธอพยายามผลิตออกมา ล้วนเป็น "จิตปรุงแต่ง" ของพวกเธอทั้งสิ้น มันเป็นความพยายามที่เข้ามา "บดบัง" ความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้เสียแต่เพียงเท่านั้น ก็ด้วยธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันบริบูรณ์สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว โดยเนื้อหามันเองอยู่อย่างนั้น มันจึงปราศจากทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องกับมัน ในทุกทางและทุกแง่ทุกมุม

    เมื่อพวกเธอมีความเข้าใจตระหนักชัด ในธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความเป็นตัวตน ก็เพียงแค่พวกเธอปล่อยให้ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันทำหน้าที่ของมันเองตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการที่เธอ "ได้ซึมซาบและกลมกลืน" กับมันแล้ว ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้ มันก็จะทำหน้าที่ของมันได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยที่ไม่มีความตกบกพร่องเลย มันก็จะปรากฏเนื้อหาของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น "ไม่เป็นอื่น" มันเป็นความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน แบบเสร็จเด็ดขาดอยู่อย่างนั้น มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น "อยู่แล้ว" นี่คือ ตถตา ซึ่งคือ ธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นจากภาวะการปรุงแต่งทั้งปวง ได้อย่างอิสระเด็ดขาดโดยเนื้อหาตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อ พวกเธอตระหนักชัดและสามารถซึมซาบ กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ได้อย่างกลมกลืน ก็เท่ากับว่าพวกเธอทั้งหลายได้ทำหน้าที่ของพวกเธอเอง ในความที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์บนโลกใบนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว พวกเธอได้ทำหน้าที่ "มนุษย์" ได้สมความภาคภูมิอย่างไม่มีที่ตำหนิ หลังต่อจากนี้ไป สิ่งใดๆที่พวกเธอจะหายใจและมีชีวิตอยู่ ก็เป็นการใช้ชีวิตอยู่แบบไม่ต้องดิ้นรนกระเสือกกระสน ทนแบกความทุกข์ระทมอีกต่อไป ลมหายใจนั้นก็กลายเป็นลมหายใจแบบอุ่นๆกรุ่นละมุน ที่มันถูกฟอกออกมาจาก "หัวใจแห่งพุทธะ" อันบริสุทธิ์ของพวกเธอเอง ขาสองข้างของพวกเธอที่ยืนเหยียบบนโลกใบนี้ มันก็จะกลายเป็นการยืนได้อย่างมั่นใจ ในการที่พวกเธอจะดำรงชีวิตอยู่บนโลกใบนี้แบบถูกทิศถูกทาง "เหมาะสมลงตัว" ตามที่มันควรจะเป็นไป ในฐานะที่พวกเธอเป็น "มนุษย์" ผู้มีใจสูงและประเสริฐ



    [​IMG]


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row2"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 15 วิถีธรรมชาติสู่ความเป็นธรรมชาติ

    ณ โคนต้นศรีมหาโพธิ์ ในราตรีแห่งการตรัสรู้คืนนั้น เพื่อไปสู่ฐานะความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก่อนใครอื่นในห้วงเวลานี้ตามวาระกรรมแห่งตน ท่านสิทธัตถะได้ละทิ้งหนทางอันทำให้ท่านหลงผิดไป ในความเข้าใจว่าการกระทำของท่าน ณ เวลานั้น มันคือหนทางอันจะทำให้ท่านพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ ก็ด้วยบุญกุศลที่เป็นเหตุปัจจัยเดียวอันสูงสุดที่รอท่านอยู่เบื้องหน้า กำลังจะแสดงเนื้อหากรรมแห่งมัน ซึ่งเป็นบุญกุศลที่สั่งสมถึงพร้อมแล้ว อันเนื่องมาจากความตั้งใจมั่นอย่างยิ่งยวด ในความประพฤติดำรงตนของตนเองในฐานะมนุษย์ ผู้ที่ได้ชื่อว่า "บรมมหาโพธิสัตว์" ในเส้นทางแห่งความดีนั้น เพื่อมาช่วยรื้อขนหมู่สัตว์ข้ามฝั่งห้วงโอฆะในกลุ่มกรรมวิสัยของท่าน เหตุในบุญกุศลเหล่านี้จึงช่วยดลบันดาลให้ท่านสิทธัตถะ ละทิ้งวิธีทรมานตนอันเป็นมิจฉาทิฐิ ซึ่งเป็นที่ยอมรับนำมาปฏิบัติทั่วไปในยุคนั้น มาสู่หนทางความเป็นจริงตามที่มันควรจะเป็นไปในเส้นทางสัมมาทิฐิ ก็หลังจากที่ท่านได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด เพื่อละทิ้งข้อวัตรอันเป็นไปด้วยความงมงายเหล่านั้นไปเสีย ท่านจึงได้หันมาพิจารณาถึงสภาพทุกข์ที่แท้จริง และวิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเกิดความทุกข์นั้นอย่างตรงไปตรงมา ท่านสิทธัตถะจึงรู้ว่าปัญหาทั้งปวง เกิดจากความไม่รู้ของท่านเองที่เข้าไปยึดความเป็นขันธ์ทั้งหลาย จนก่อให้เกิด ตัณหา อุปาทาน ปรุงแต่งเป็นตัวตนของท่าน และปรากฏเป็นสิ่งอื่นๆในความคิดที่ปรุงขึ้นนั้น การจดจำและการบันทึกเรื่องราวที่ปรุงแต่งเกิดขึ้น และได้แสดงกระทำออกมาในทุกๆภพ ทุกๆชาตินั้น เป็นความยึดมั่นถือมั่นบนพื้นฐานแห่งอุปนิสัยของท่านเอง ในความชอบ ความชัง ที่สั่งสม อุปนิสัยที่สั่งสมมาจนเป็นสัญลักษณ์ในเชิง "อัตวิสัย" ว่าท่านเป็นคนคนนี้ เป็นคนแบบนี้ อนุสัยที่หมักดองมานานในกมลดวงจิต ในการกระทำซ้ำตามความชอบความชังแห่งตน ก็ได้กลายเป็นอวิชชาที่หนาแน่น พาท่านไปเวียนว่ายตายเกิดมานับไม่ถ้วนแห่งอนันตอสงไขยเวลา

    และด้วย ปัญญาแห่งพุทธวิสัยของท่านที่สั่งสมมาเนิ่นนาน ซึ่งเป็นปัญญาที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างลุล่วงตามความเป็นจริง จึงทำให้ท่านสิทธัตถะมองเห็นว่า แท้จริงก็เพราะความไม่รู้ของท่านเองที่ยังมองเห็นว่า มีขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นอยู่ การเกิดขึ้นแห่งขันธ์ด้วยความไม่รู้นี่เอง เป็นการเกิดขึ้นที่พร้อมจะเป็นเหตุปัจจัยเป็นสายทอดยาว เพื่อไปสู่ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์เหล่านี้ จนก่อให้เกิดการปรุงแต่งและกลายเป็นความทุกข์ขึ้นมา ท่านจึงได้พิจารณาเล็งเห็นด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ณ เวลานั้นว่า แท้จริงโดยธรรมชาติมันมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ย่อมไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะก่อเกิดขึ้นในธรรมชาตินี้ได้เลย มันย่อมไม่มีแม้กระทั่งความเป็นขันธ์ทั้งห้าเกิดขึ้น เพื่อจะเข้าไปยึดให้เป็นตัวเป็นตนเป็นท่านขึ้นมาได้อีก เพราะท่านได้เข้าใจในความหมายแห่งธรรมชาติอย่างแท้จริงว่า ธรรมชาตินั้นมันได้ทำหน้าที่ของมันมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ไม่เคยเปลี่ยนแปลงความเป็นมันไปเป็นอย่างอื่น ความมีความเป็นตัวตนที่ก่อเกิดในความหลงว่ามีขันธ์ทั้งห้าเกิดขึ้น มันเป็นความหลงในอวิชชาของสัตว์ผู้มืดบอด อย่างท่านเองแต่ผู้เดียวเท่านั้น ซึ่งความมืดบอดของท่านมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันเป็นของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว มาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที เมื่อท่านได้ตระหนักชัดและซึมซาบ กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนในธรรมชาตินั้น การรู้อย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างหมดจด ในวิถีธรรมชาติซึ่งเป็นการรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมธาตุทั้งหลาย ก็ทำให้ท่านสิทธัตถะได้อยู่ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า นาม "พุทธโคดม" ผู้ซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในธรรมธาตุแห่งธรรมชาตินั้นก่อนใครอื่น

    จึงเป็นเรื่องปกติในความเป็น ไปแบบนั้นอยู่แล้ว เมื่อพระพุทธองค์ทรงออกประกาศธรรม และทรงอบรมสั่งสอนบรรดาสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ท่านทรงเลือกที่จะชี้ตรงไปยังธรรม อันคือความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นแต่ถ่ายเดียว ซึ่งเป็นหนทางอันหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงอย่างแท้จริง ในพระสูตรทุกๆพระสูตร ที่ปรากฏมาในพระไตรปิฎกที่พระองค์ทรงตรัสสอนไว้ และทำให้เหล่าพราหมณ์นักบวชนอกศาสนาทั้งหลายในยุคนั้น ได้มองเห็นแสงสว่างแห่งธรรมธาตุอันบริสุทธิ์ ก็ล้วนแต่มีเนื้อหาไปในทางเดียวกัน ในความที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแต่เพียงเฉพาะ ธรรมอันคือเนื้อหาธรรมชาติเท่านั้น ท่านทรงตรัสเพียง ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น หามีตัวตนไม่ หาใช่ตัวใช่ตนไม่ ความอนิจจังไม่เที่ยงแห่งขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีความหมายไปในทางที่ว่า มันไม่เคยมีขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งหมายความถึง มันไม่เคยมีความปรากฏแห่งขันธ์เกิดขึ้น เพื่อเป็นเหตุปัจจัยอันอาจจะทำให้เข้าไปยึดมั่นถือมั่น จนกลายเป็น ตัณหา อุปาทาน ขึ้นมาได้ ซึ่งหมายความถึง ความไม่ปรากฏอะไรเลยสักสิ่งเดียว มันคงไว้แต่ความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมัน ที่มันทำหน้าที่แสดงเนื้อหาของมันเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ซึ่งหมายถึง ธรรมชาตินั้นมันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความเป็นตัวเป็นตนแบบเสร็จสรรพเด็ดขาดถ้วนทั่ว โดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วมาตั้งแต่แรกเริ่ม มันเป็นธรรมชาติที่มีความอิสระเด็ดขาด ไม่อยู่ภายใต้การดำริริเริ่ม หรือ ความครอบครองครอบคลุม ของภาวะใดๆแม้สักอณูธรรมธาตุเดียว มันเป็นความเกลี้ยงเกลาในความว่างเปล่าปราศจากความเป็นตัวเป็นตน ของมันอยู่แบบนั้นโดยความเป็นธรรมชาติ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนหมู่เวไนยสัตว์แต่เพียงเท่านี้ การสอนเพื่อชี้ทางมุ่งไปสู่วิถีธรรมชาติที่มันมีอยู่แล้วนั้น มันเป็นเพียงการทำความเข้าใจในปัญหาแห่งตนเอง และลุกหนีออกจากสภาพปัญหาไปสู่ความเป็นธรรมชาติแต่เพียงเท่านั้น วิถีธรรมชาตินี้จึงไม่ใช่รูปแบบที่จะต้องประกอบขึ้นด้วยอะไรกับอะไร มันจึงไม่ต้องมีอะไรตระเตรียมกับสิ่งใด เพื่อเป็นเหตุปัจจัยให้ธรรมชาตินี้เกิดขึ้น การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง มันจึงเป็นเพียงการทำความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง จนหมดความลังเลสงสัยในธรรมทุกภาวะธรรม ซึ่งเป็นการรู้แจ้งแทงตลอดในทุกอณูธรรมธาตุ เพื่อคลายตัวเองออกจากภาวะการปรุงแต่งทั้งปวง ได้อย่างแนบเนียนตามวิถีธรรมชาตินั้น เป็นการคลายเพื่อความเป็นไปในธรรมชาตินั้นๆอย่างกลมกลืน ไม่มีส่วนต่างที่อาจจะแบ่งแยกออกมาเป็นสิ่งๆตามความไม่รู้ได้อีก

    ด้วย วิถีธรรมชาติที่พระพุทธองค์ทรงชี้สอน เพื่อให้บรรดาสรรพสัตว์ผู้มืดบอดได้เดินไปในหนทางธรรมชาตินั้น มันจึงเป็นความหมายแห่ง วิถีธรรมชาติสู่ความเป็นธรรมชาติ มันจึงเป็นความหมายแห่ง วิถีพุทธะสู่ความเป็นพุทธะ มันจึงเป็นความหมายแห่ง วิถีแห่งจิตสู่จิต เป็นวิถีจิตสู่จิตที่เหล่าคณาจารย์แห่งเซนทั้งหลายในอดีต ได้กล่าวเรียกขานในวิถีธรรมชาติ ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่คณาจารย์ได้หยิบยกขึ้นมา เพื่อคุ้ยเขี่ยธรรมให้แก่ลูกศิษย์ของตน มายาวนานตราบจนถึงทุกวันนี้



    [​IMG]


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row2"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 16 เข้ามาได้เลย

    ครั้งเมื่อพระโพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตั๊กม้อ ได้เดินทางมาเมืองจีนตามคำพยากรณ์ของตถาคต สิ่งที่เป็นอุปสรรคและรุงรังขวางกั้นการเผยแผ่ธรรมของท่าน ก็คือพวกนักบวชของประเทศจีนในยุคนั้น ไม่รู้จักธรรมซึ่งเป็นคำสอนอันแท้จริงของตถาคตเจ้าเลย นักบวชส่วนใหญ่ล้วนแต่ศึกษาในคัมภีร์ซึ่งแต่งไว้เป็นพระสูตร แต่การศึกษานั้นมิได้เป็นไปในความเข้าใจข้ออรรถข้อธรรมในพระสูตรได้อย่างลึก ซึ้งถูกต้องตรงตามธรรมธาตุแต่อย่างใด และที่แย่ไปกว่านั้น นักบวชเหล่านี้ได้เอาแต่นั่งอยู่ต่อหน้ารูปปั้นพระพุทธองค์ และนั่งสวดอ้อนวอนเพื่อหวังผลให้ได้ไปเกิด ในดินแดนที่มีความเป็นพระพุทธเจ้าปรากฏอยู่อย่างนั้น นักบวชและอุบาสกอุบาสิกา ผู้ที่มุ่งมั่นในการฝึกปฏิบัติ ยังมีความคิดและกระทำไปในทางที่ว่า การที่ตนเองได้หมั่นทำบุญ บริจาคทาน และก่อสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา การกระทำเหล่านี้มันเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้พวกตน ได้บรรลุธรรมอันคือความหลุดพ้นได้ในภายภาคหน้า

    แต่ความเป็นจริงตาม ธรรมธาตุ พุทธะก็คือพุทธะที่มันเป็นจริงตามเนื้อหาของมัน พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ หมายความว่า เป็นการรู้ตามความเป็นจริง ตามสัจธรรมที่มันปรากฏอยู่บนโลกใบนี้ตามธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เป็นการรู้ชนิดที่เรียกว่าไม่ทำให้เราเป็นคนโง่หลงงมงาย หลงทางไปในข้อวัตรปฏิบัติอันเป็นความเข้าใจผิด และเสียเวลาไปกับมันเป็นกัปเป็นกัลป์ โดยไม่มีประโยชน์สูงสุดที่แท้จริงเกิดขึ้นแต่อย่างใด เป็นการรู้ที่ทำให้เราเข้าใจในธรรมชาติอันคือความเป็นจริง ที่มันดำรงเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นมานานแสนนาน อันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจในสภาพความรู้ที่เป็นความจริงแท้ ตรงแน่วอยู่ในเนื้อหาแห่งธรรมชาติอันเป็นพุทธะนั้น โดยหามีความคลอนแคลนลังเลสงสัยไม่แน่ใจ ไปในทางความหมายอื่นแม้แต่น้อย เป็นการรู้ชนิดที่ทำให้เราปักใจและเต็มใจ ที่จะอยู่กับความรู้ชนิดนี้ตลอดไปตราบชั่วกัลปาวสาน มันเป็นการรู้ที่เป็นเนื้อหาพิเศษด้วยคุณสมบัติเฉพาะของมัน เป็นคุณสมบัติที่หากใครได้เข้ามารู้แล้ว จะทำให้ผู้นั้นสลัดทิ้งเสียทั้งหมด ซึ่งความรู้ในเนื้อหาชนิดอื่นๆอันทำให้เดินไปในหนทางอื่น

    พุทธะ แปลว่า ผู้ตื่น หมายความถึงเป็นการตื่นออกจากภวังค์แห่งความมืดหลง ในอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ถูกมันครอบงำพาเท้าทั้งสองข้างของเรา เดินไปในหนทางที่ลดเลี้ยวเคี้ยวคดในสามโลกมาเป็นเวลานาน เป็นการตื่นขึ้นเพื่อพบแสงสว่างแห่งรุ่งอรุณในยามเช้าของชีวิตใหม่ เป็นชีวิตใหม่ที่เริ่มต้นด้วยคุณงามความดีถูกต้อง ตรงต่อความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะที่แท้จริง และมันเป็นแสงสว่างในยามเช้ารุ่ง ที่สาดส่องออกมาได้อย่างเจิดจ้าไม่มีวันอ่อนแสง เป็นแสงแห่งพุทธิปัญญาที่ส่องทางนำพาชีวิตเรา ให้เดินไปบนมรรคาแห่งธรรมชาติโดยไม่มีวันเดินถอยหลังกลับ เป็นการตื่นเพื่อลืมตามาดูธรรมชาติแห่งความเป็นจริง ที่มันปรากฏอยู่ต่อหน้า และเป็นการตื่นโดยที่ไม่มีวันจะได้หลับใหลอีกแล้ว เป็นการตื่นเพื่อเป็นสภาพเดียวกันกับความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นโดยไม่มี ความแตกต่างไปในทางความหมายอื่น เป็นการตื่นเพื่อดำรงชีวิตของตนไปตามปกติอยู่อย่างนั้น ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงอะไรไปจากเดิมแต่อย่างใด เป็นการตื่นเพื่อดำรงชีวิตของตนไปตามหน้าที่ของตนเอง เท่าที่ตนเองพึงมีและเต็มใจทำ เป็นการตื่นเพื่อดำรงชีวิตของตนเองไปตามเหตุปัจจัย ที่เคยประกอบมาและตนยังต้องรับกรรมนั้นอยู่

    พุทธะ แปลว่า ผู้เบิกบาน หมายความถึงเป็นผู้ที่มีความโชคดีอย่างมาก เป็นผู้ที่มีบุญมีวาสนาอย่างแท้จริง ที่สามารถนำพาชีวิตของตนเองก้าวพ้นออกมา จากห้วงแห่งความทุกข์ระทมได้ เป็นความเบิกบานต่อความสุขที่ยั่งยืน ในความที่ธรรมชาติแห่งพุทธะได้หยิบยื่นให้กับเรามา เป็นความเบิกบานต่อธรรมธาตุแห่งพุทธะ ที่มันมีแต่ความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ซึ่งมันหมดเชื้อหมดเหตุหมดปัจจัย อันจะทำให้เข้าไปยึดมั่นปรุงแต่งขึ้นมาเป็นความทุกข์ได้อีก เป็นความเบิกบานที่ได้กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ที่สามารถดำรงชีวิตของตนได้อย่างอิสรเสรี ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้ความเป็นทาสของใจตน ที่คอยดิ้นรนไปในทางไขว่คว้าทะยานอยาก เป็นความเบิกบานซึ่งเป็นความสุขในทุกก้าวย่าง ที่เรากำลังดำเนินชีวิตก้าวไปข้างหน้า

    เพราะฉะนั้นเมื่อสามารถทำความ เข้าใจตระหนักได้แล้วว่า พุทธะที่แท้จริงนั้น ก็คือธรรมชาติที่มันเป็นสิ่งเดียวกันกับเรามาตั้งแต่ต้น เราก็คือธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือเรา ก็ในเมื่อธรรมชาติคือความเป็นพุทธะ ความเป็นพุทธะก็คือความเป็นธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเราก็คือความเป็นพุทธะมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง การค้นหาพุทธะก็คือการค้นหาความเป็นธรรมชาติแห่งตนเอง การดิ้นรนไปด้วยความไม่เข้าใจซึ่งเป็นความคิดผิดอย่างใหญ่หลวง การดิ้นรนแสวงหาค้นหาความเป็นพุทธะจากภายนอกนั้น จึงเป็นเพียงการปรุงแต่งไปในการค้นหาความเป็นพุทธะแต่เพียงเท่านั้น มันจึงเป็นเพียงการใช้จิตแสวงหาจิต มันเป็นเพียงการใช้จิตอันคือความคิดของตน แสวงหาจิตอันปรุงแต่งความเป็นพุทธะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นจิตของตนอีกเช่นกัน มันจึงเป็นได้แค่เพียงเกลียวเชือกที่ยิ่งพันเข้าหาตนเอง แน่นหนามากขึ้นกว่าเดิม มันเป็นพันธนาการที่เกิดจากความไม่เข้าใจ และความมิได้ตั้งใจของนักปฏิบัติทั้งหลาย ที่หลงผูกปมปัญหาให้มันมากขึ้นกว่าเดิมด้วยความไม่จำเป็น เนื้อหาแห่งความเป็นพุทธะที่แท้จริง จึงเป็นอะไรที่ผู้ด้อยปัญญาคาดไม่ถึง เพียงแค่หยุดแสวงหามันในหนทางอื่น แล้วกลับมาทำความเข้าใจต่อเนื้อหาสภาพของมัน ตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ มันไม่ใช่และไม่มีวิธีใดๆที่เราต้องแสวงหา และไม่ใช่วิธีอะไรเลยที่เราต้องทำให้ปรากฏ หรือประกอบทำสิ่งต่างๆเพื่อให้มันเกิดขึ้น

    ความเข้าใจในเนื้อหา ธรรมชาติ ซึ่งเป็นความดั้งเดิมแท้ของมันนั้น ความเข้าใจดังกล่าวนี้มันจะนำพาท่าน มายืนอยู่ตรงปากประตูแห่งธรรมชาตินี้ และก็ไม่มีวิธีใดๆอีกเช่นกัน ความเข้าใจอันหมดจดไม่มีตำหนิไร้ความสงสัย อันเป็นความลังเลใจที่จะพาให้ไปในหนทางอื่น ความเข้าใจนี้ก็จะพาเอามือของท่านผลักประตูธรรมชาตินั้น ให้เปิดออกมา มันมีแต่วิธีนี้เท่านั้น "วิธีผลักประตูธรรมชาติออก" เมื่อผลักประตูเปิดออกแล้ว ก็เอาขาของตนก้าวข้ามมาสิ ก้าวข้ามมาได้เลย มันไม่มีวิธีอะไรให้ซับซ้อนยุ่งยาก เมื่อเดินมาถึงประตูก็เปิดเข้ามาได้เลย เข้ามาอยู่กับความเป็นพุทธะตามธรรมชาติที่แท้จริง แล้วอย่าลืมหันหลังไปปิดประตูบานนั้นให้สนิท แล้วจงลืมเรื่องการก้าวข้ามประตูและลืมเรื่องประตูนี้เสีย ก็ขอให้ท่านดำเนินชีวิตไปเหมือนว่า ไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของท่านมาก่อน มันเสมือนเป็นการใช้ชีวิตในความเป็นหนึ่งเดียว กับธรรมชาติแห่งพุทธะนี้มาตั้งแต่ต้น มันเป็นมาตั้งแต่ต้นนานแล้วอย่าไปจำอะไรกับมันเลย เพราะมันไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน ก็เท่านั้น



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 17 โลกแห่งความสมบูรณ์

    การ ปรากฏแห่งภาวะ มันจะต้องเป็นไปในทางด้านใดด้านหนึ่งอยู่เสมอ เพราะภาวะทุกภาวะแห่งการปรากฏขึ้น มันล้วนคือการปรุงแต่งที่เป็นผลมาจากการยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นความยึดมั่นที่ออกมาจากอุปนิสัยความเคยชิน ที่หมักหมมจนกลายเป็นอนุสัยแห่งกมลสันดาน ตามความชอบความชังของบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ถ้าไม่แสดงออกมาทางด้านหนึ่ง ก็ต้องแสดงออกไปในอีกทางด้านหนึ่งเสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะอวิชชาความไม่รู้ผู้เป็นนายเรา มันสามารถเข้ามาแทรกซึมสิงสู่บังคับบัญชาใจของเรา ให้เป็นไปในทางอำนาจแห่งเนื้อหาของมันได้อยู่เสมอทุกเมื่อเชื่อวัน นายซึ่งมีเราเป็นทาสที่คอยก้มหัวให้มันอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะความหอมหวานในมายา แห่งความเป็นตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยาก ซึ่งมันบังคับให้เราเดินไปตามทางแห่งมันทุกฝีก้าวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนเหรียญซึ่งมีอยู่สองด้าน เมื่อคุณกลับเหรียญด้านแห่งความรัก ความเกลียดชังก็จะปรากฏตัวขึ้นมาอย่างทันทีทันใด มันคือโลกแห่งปรากฏการณ์ความเป็นมายา เป็นโลกแห่งการเกิดขึ้นของทวิภาวะหรือภาวะแห่งความเป็นของคู่ มีความแปรเปลี่ยนจากภาวะหนึ่งสู่ความเป็นภาวะหนึ่งอยู่อย่างนั้น ก็ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยในเหตุปัจจัยหนึ่ง เมื่อหมดในเหตุปัจจัยนั้นๆแล้ว เหตุปัจจัยใหม่จึงเข้ามาแทนที่อยู่อย่างสม่ำเสมอ มันเป็นภาวะที่มาแล้วต้องจากไป มันไม่เคยมีความคงทนไม่เคยมีความสมบูรณ์แบบ ที่จะอยู่กับเราได้ตลอดไป โลกแห่งปรากฏการณ์จึงเป็นโลกที่มีแต่ความพร่องอยู่เป็นนิจ และในความพร่องนี้เองที่ทำให้มนุษย์ปุถุชนผู้มีความมืดบอด พยายามหาทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาเติมเต็มในความพร่องนั้น ด้วยความไม่รู้และความอยากแห่งตน ซึ่งแท้จริงมันก็ไม่มีวันที่จะทำความพร่องซึ่งอยู่ในสภาพถาวรนี้ ให้เต็มเปี่ยมขึ้นมาได้ มันไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย ก็โดยรูปลักษณ์ของตัวมันเองในทวิภาวะ หรือความเป็นภาวะแห่งความเป็นคู่ ไม่ว่าจะเป็น ดีหรือชั่ว มืดหรือสว่าง สมหวังหรือผิดหวัง สะอาดหรือสกปรก ความร้อนหรือความเย็น ปฏิบัติหรือไม่ได้ปฏิบัติ รู้แจ้งหรือมืดมัว บรรลุหรือไม่บรรลุ มันย่อมไม่สามารถคงความเป็นสภาพของมันให้อยู่อย่างนั้นได้ตลอดไป เพราะโดยแท้จริงสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นมายาหามีตัวมีตนไม่ เมื่อหมดเหตุปัจจัยที่ทำให้มันได้แสดงปรากฏการณ์ของมันออกมา มันก็หยุดการทำหน้าที่ของมันโดยสภาพของมันเองอยู่แล้ว มันจึงเป็นความพร่องที่พร่องอยู่เป็นนิจโดยสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น ก็โดยเนื้อหามันมันจึงไม่มีทางที่จะกลายเป็นอื่นไปได้

    หากเราหยั่ง ลึกลงไปให้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติ ที่มันมีแต่เนื้อหาตามความเป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้นในทางด้านเดียว และไม่มีวันที่จะเป็นไปในทางด้านอื่น ธรรมชาติมันจึงมิใช่ปรากฏการณ์ ธรรมชาติไม่ใช่เป็นอะไรที่มันหมายถึงความเป็นสิ่งสิ่งหนึ่ง และสิ่งสิ่งนั้นเราสามารถที่จะมีความรู้สึกกับมัน และจับฉวยมันเอามาเป็นส่วนส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา ตามความต้องการและความปรารถนาของเราได้ ธรรมชาติมิใช่เป็นสิ่งที่เราต้องมีความต้องการ และมิใช่เป็นสิ่งที่จะต้องได้มันมา ธรรมชาติมันเป็นเนื้อหาที่เป็นความเป็นมันเองอยู่อย่างนั้น โดยมิใช่ความเป็นเนื้อหาที่ต้องอาศัยเหตุและปัจจัยใดๆ จึงจะมีความเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติเกิดขึ้น ก็ธรรมชาตินั่นแหละคือธรรมชาติ
    มันเป็นแต่เพียงเท่านี้ ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นไปได้เช่นเดียวกัน เมื่อมันมิได้อาศัยอะไร มิได้อาศัยเหตุปัจจัยใดๆ มันจึงมิได้เกิดจากอะไรกับอะไร มันจึงไม่มีรูปลักษณ์เกิดขึ้นที่จะสามารถเรียกมันได้ว่า "ธรรมชาติ" ตามมโนภาพแห่งความเข้าใจของใครคนใดคนหนึ่ง ธรรมชาติมันเป็นของมันเองอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติมันจึงเป็นเนื้อหาเดียวกับมันเองมาโดยตลอด โดยไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นแห่งความเป็นเนื้อหานี้ไปได้ โดยไม่สามารถหาความเป็นที่สิ้นสุดแห่งความเป็นเนื้อหานี้ไปได้เช่นกัน เมื่อมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นโดยไม่มีความแปรผันเป็นอย่างอื่น มันจึงเป็นความสมบูรณ์พร้อมโดยตัวมันเองแต่ถ่ายเดียว มันเปรียบเสมือนเป็นเหรียญที่ไม่ว่าจะพลิกไปทางไหน ก็จะเจอแต่เหรียญด้านที่มีความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เป็นเหรียญที่ทุกด้านล้วนแต่มีความเสมอภาคกัน มีความเหมือนกันไม่แตกต่างในเนื้อหาในคุณลักษณะของมันเอง ธรรมชาติจึงเป็นโลกแห่งความสมบูรณ์พร้อม เป็นความสมบูรณ์ในความเสมอต้นเสมอปลาย ในความเป็นเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้น เป็นโลกแห่งธรรมชาติที่มีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ และเหล่าบัณฑิตทั้งหลายผู้ที่มีความสามารถและมีสติปัญญาอันรู้แจ้ง ได้สถิตอยู่ในทุกอณูธรรมธาตุ แห่งผืนแผ่นดินในความเป็นพุทธะนั้น



    [​IMG]


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 18 ความบริบูรณ์แห่งมรรค

    ด้วย ความที่มรรค ซึ่งแปลว่าหนทาง อาจจะเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่งรูปลักษณ์ที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพียงอัตตาตัวตนแห่งมรรคเกิดขึ้น หากเราไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงแห่งมัน ความไม่เข้าใจของเราดังกล่าว อาจทำให้เรานึกมโนภาพขึ้นมาอย่างชัดเจน แห่งหนทางที่จะไปสู่ความหลุดพ้นนั้น เป็นภาพแห่งระยะทางที่เสมือนว่ามีความห่างไกลกัน ระหว่างจุดที่คุณกำลังยืนอยู่ในความมืดมัวนี้ กับจุดที่พวกคุณมุ่งหวังว่ามันเป็นที่ที่ทำให้พวกคุณ พ้นจากการปรุงแต่งทั้งปวงอันเป็นจุดแสงสว่างที่มันรอคุณอยู่ แต่ความเป็นจริงแล้วมันเป็นเพียง ระยะทางที่ห่างไกลอันเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาแต่เพียงเท่านั้น และความเป็นตัวตนแห่งระยะทาง มันก็พลอยทำให้พวกคุณเกิดความคิดขึ้นมาในทันทีทันใดว่า พวกคุณจะต้องปฏิบัติและลงมือลงแรงอะไรสักอย่าง เพื่อให้พวกคุณได้เข้าไปใกล้จุดหมายปลายทาง อันเป็นเส้นชัยที่คุณได้ตั้งใจไว้ และหวังต่อไปอีกว่าสักวันพวกคุณจะไปยืนอยู่ตรงนั้นให้ได้ ด้วยความสามารถและความมั่นใจของพวกคุณเอง แล้วความคิดผิดดังกล่าวนี้มันจะเร่งรีบให้พวกคุณ หยิบฉวยวิธีอะไรสักอย่างขึ้นมา ซึ่งมันไม่ตรงต่อความเป็นจริง แต่พวกคุณกลับคิดไปแบบจริงจัง และตกลงใจกับมันว่า "ใช่วิธี" นี้แล้ว แล้วพวกคุณก็ใช้ความพยายาม ซึ่งมันไม่ใช่เป็นความเพียรอย่างแท้จริง แต่มันเป็นเพียง "การดันทุรัง" ลงมือทำในสิ่งที่ขัดต่อความเป็นจริงอันคือธรรมชาติ

    แต่มรรค ซึ่งแปลว่า หนทางตามความเป็นจริงนั้น มันมิใช่หนทางที่จะต้องเอาการปรุงแต่ง ซึ่งมันคือความเป็นตัวเป็นตนของพวกคุณก้าวเดินไป แต่มันเป็นเพียงการปรับมุมมองปรับความรู้ความเข้าใจของพวกคุณเอง มันเป็นเพียงปรับความคิดเห็น ซึ่งเป็นความเห็นผิดของพวกคุณเองมาตั้งแต่ต้น เป็นความคิดความเห็นที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ตามความเป็นไปของธรรมชาติ ที่พวกคุณเคยได้สั่งสมเป็นอนุสัยมาตั้งแต่ชาติปางไหน เมื่อพวกคุณเข้าใจในความเป็นจริงแล้วว่า แท้ที่จริงธรรมชาตินั้น มันมีแต่ความว่างเปล่าหาความมีตัวมีตนไม่ แท้ที่จริง "จิต" ที่พวกคุณปรุงแต่งเรื่องมรรคหรือหนทาง ที่พวกคุณได้ผลิตขึ้นมา มันหาใช่ตัวใช่ตนไม่ มันคงมีแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น โดยที่ธรรมชาติมันไม่เคยมี "จิตที่พวกคุณปรุงแต่งเรื่องมรรคหรือหนทางขึ้น" เกิดขึ้นมาก่อนเลย แท้ที่จริง "ขันธ์ทั้งห้า" ที่พวกคุณมองเห็นว่ามันมีและมันเกิดขึ้น อันอาจจะทำให้พวกคุณเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตชนิดนี้ขึ้นมา ขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ความจริงมันหาใช่ตัวใช่ตนไม่ ความเป็นจริงมันคงมีแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น โดยที่ธรรมชาติมันไม่เคยมี "ขันธ์ทั้งห้า" เกิดขึ้นมาก่อนเลย ธรรมชาติมันก็ทำหน้าที่ของมันในความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น อย่างแท้จริงแล้วโดยตัวของธรรมชาติเอง ความเข้าใจและถูกต้องในความเป็นจริง ซึ่งตรงต่อความเป็นธรรมชาติเหล่านี้ ด้วยธรรมธาตุแห่งความเข้าใจอย่างแท้จริงแล้ว โดยหมดความลังเลสงสัยของพวกคุณนั้น มันก็จะทำให้พวกคุณละทิ้งข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลาย อันเป็นการประพฤติปฏิบัติด้วยความงมงาย ไปในการปรุงแต่งเส้นทางแห่งมรรคของคุณ มาสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างไม่ผิดเพี้ยน ความเข้าใจในธรรมชาตินี้ก็จะทำให้พวกคุณทำลายทิฐิต่างๆ ที่ไปในทางเห็นผิดไปต่อความเป็นธรรมชาติ(มิจฉาทิฐิ) ซึ่งมันเป็นทิฐิที่ทำให้ พวกคุณเข้าไปยึดถือในความเป็นตัวเป็นตนของพวกคุณเอง ทำให้พวกคุณเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งหลายอย่างเหนียวแน่น โดยไม่มีวันที่จะเห็นไปในทางความหมายอื่นๆได้เลยสักนิดเดียว ว่าขันธ์ทั้งห้านี้มันคือความเป็นตัวเป็นตนของพวกคุณ ด้วยความแนบแน่นอยู่อย่างนั้น(สักกายทิฐิ) เมื่อคุณได้ปรับมุมมองความเข้าใจและปรับทิฐิความคิดเห็น มาในทางที่ชอบที่ควร ในฐานะที่พวกคุณได้เป็นมนุษย์ผู้มีใจประเสริฐแท้จริง เมื่อพวกคุณเข้าใจอย่างแท้จริงหมดความลังเลสงสัยในทุกทาง โดยไม่มีความคลอนแคลนไปในหนทางที่ผิดอีก ธรรมธาตุแห่งความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง ที่เกิดด้วยความศรัทธาในความเป็นพุทธะของพวกคุณเองนี้ มันจะทำให้พวกคุณมีความดำริตัดสินใจหันหลังออกมา จากจุดที่มืดมัวที่คุณยืนอยู่นั้นทันที และพาพวกคุณหันหน้ามาเผชิญกับความเป็นจริงแท้ ที่มันกำลังปรากฏแสดงเนื้อหามันอยู่ต่อหน้าพวกคุณนั่นเอง

    ก็ด้วยทิฐิ ซึ่งเป็นความเข้าใจอย่างถูกต้องอันคือธรรมชาตินี้ มันเป็นปฐมบททำให้พวกคุณสามารถตะเกียกตะกายขึ้นมา จากบ่อโคลนตมแห่งอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ซึ่งมันเป็นความหนาแน่นไปด้วยความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น และกลับมามีสติระลึกได้ตามธรรมชาติอย่างแท้จริงว่า แท้จริงแล้วธรรมชาติมันย่อมปรากฏเนื้อหาแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น และด้วยธรรมชาติแห่งความระลึกได้อยู่ทุกขณะเรื่อยไป ในความตระหนักอย่างชัดแจ้งในความเข้าใจในทิฐิที่ถูกต้อง มันก็ทำให้พวกคุณได้กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้น แต่แล้วในบางขณะ ก็ด้วยอนุสัยที่สั่งสมมาในความเป็นตัวตนของพวกคุณเอง มานานมากแล้ว ความเคยชินที่ชอบปรุงแต่งจิตไปในเรื่องราวต่างๆ ด้วยอวิชชาที่อาจยังคงมีอยู่ มันก็อาจทำให้พวกคุณมองเห็นไปตามสภาพความเคยชินเดิมๆ และก็อาจจะเผลอเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตต่างๆขึ้นมาอีก

    ก็ขอ ให้พวกคุณอย่าท้อใจถอยใจ ก็ขอให้พวกคุณได้เร่งความเพียรพยายาม ที่จะซึมซาบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้นให้ได้ เป็นความเพียรพยายามไปในทาง "ความเป็นธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่เสมอ" ว่า แท้จริงธรรมชาตินั้น มันคงมีแต่เพียงความว่างเปล่า ไร้ความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น หามี "จิต" ที่พวกคุณพึ่งปรุงแต่งขึ้นมาไม่ (มีความหมายว่า จิตที่พึ่งปรุงแต่งขึ้นมานั้น เสมือนว่ามันไม่เคยถูกปรุงแต่งขึ้นมาก่อนเลย) ก็ด้วยทิฐิความคิดเห็นที่พวกคุณปักใจมั่นว่า จะดำเนินไปในทิฐิแห่งธรรมชาติ อันคือสัมมาทิฐินี้แต่ถ่ายเดียวแล้วนั้น มุมมองความเข้าใจที่ไม่อาจจะแปรเปลี่ยนไปเป็นอื่น ตามศรัทธาแห่งหัวใจพวกคุณ มันจะกลายเป็นเส้นทางที่เอื้อให้พวกคุณ ได้เดินไปตามทางอันคือความเป็นเนื้อหาแห่งธรรมชาตินั้น ด้วยความซึมซาบไปในความ "ไม่มีความแตกต่าง" ในความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน "อยู่อย่างนั้น" และเมื่อคุณได้ตระหนักอย่างชัดแจ้ง จนเป็นความรู้แจ้งแทงตลอดถ้วนทั่วทุกอณูธรรมธาตุว่า แท้จริงธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน มันก็คือความว่างเปล่าแบบเสร็จสรรพเด็ดขาดโดยธรรมชาติของมันเองมาตั้งแต่แรก เริ่มเดิมทีโดยสภาพมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติที่ย่อมไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันจะเกิดขึ้นตั้งอยู่ในความเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ในธรรมชาตินี้ได้เลย "อยู่แล้ว" มันเป็นธรรมชาติที่เป็นความว่างเปล่า แบบถ้วนทั่วอยู่อย่างนั้นทุกอณูธรรมธาตุ เป็นความว่างแบบตลอด ไม่ขาดสายของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว ด้วยความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้งเช่นนี้ มันจึงเป็นเหตุผลเดียวที่เข้ามาตัดเหตุและปัจจัย อันเป็นเชื้อที่จะทำให้พวกคุณกลับไปปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิตต่างๆได้อีก มันจึงเป็นเหตุผลเดียวที่จะทำให้คุณสามารถ ซึมซาบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเป็นธรรมชาติของมัน ได้อย่าง"แนบเนียนในความเป็นธรรมชาตินั้น" นี่คือมรรคที่เป็นความบริบูรณ์ถึงพร้อม ในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เป็นมรรคที่เป็นธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่อย่างนั้นแบบบริบูรณ์ เป็นธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่ทุกเมื่อเชื่อขณะว่า ธรรมชาติมันคงทำหน้าที่แห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น เป็นมรรคที่เป็นเนื้อหาแห่งความรู้ความเข้าใจ อย่างถูกต้องชัดแจ้งอยู่อย่างนั้น เป็นมรรคที่นำพาชีวิตเราดำเนินไปบนเส้นทางตามความเป็นจริง แห่งความเป็นธรรมชาตินั้นโดยไม่เป็นอื่น เป็นมรรคที่ทำให้เราซึมซาบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติ ได้อย่างมั่นคงไม่มีความแปรผันผิดเพี้ยน ไปจากเนื้อหาแห่งความเป็นธรรมชาตินั้นได้เลย เป็นมรรคที่เป็นความสำเร็จสมดั่งตั้งใจ ที่ทำให้เราได้กลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน กับความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น ตามความศรัทธาแห่งการดำริริเริ่มของเราตั้งแต่แรก เป็นมรรคที่ทำให้เราเข้าใจในธรรมชาติแห่งความเป็นตนเอง ได้อย่างตรงและถูกต้อง และทำให้เรามีมุมมองมีความเข้าใจ ในความเป็นไปอย่างแท้จริง ต่อสรรพสิ่งทั้งมวลที่อยู่รอบข้าง เป็นมรรคที่ทำให้เรามีทิฐิความคิดเห็น ได้ตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ ซึ่งความคิดเห็นอันตรงแน่วในสัจธรรมนั้น มันส่งผลทำให้คำพูดคำจาและการกระทำของเรา เป็นไปในทางที่ที่ควรจะเป็น ในฐานะที่เราได้รู้จักตนเองอย่างแท้จริงแล้วว่า ตนได้ทำหน้าที่ในความที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้อย่างสมบูรณ์แบบแท้จริงแล้วโดยไม่มีที่ติ และสัมมาทิฐิซึ่งมันได้เข้าไปซึมซาบในหัวใจของเราแบบแนบแน่นนี้ ทำให้เราไม่หันกลับไปในทิฐิเดิมที่เป็นความเห็นผิด ซึ่งเป็นเชื้อเป็นเหตุเป็นปัจจัย ซึ่งอาจจะทำให้เราก่อกรรมเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นได้อีก การดำเนินชีวิตไปด้วยมุมมองความเข้าใจ ตามอำนาจแห่งธรรมชาติ ทิฐิที่ถูกต้องแท้จริงนี้ก็ทำให้เรา ซึ่งมีความเป็นบัณฑิตทั้งหลาย มีความระมัดระวังตน ในการดำรงชีวิตของเราเองในสังคมแห่งความเป็นมนุษย์นี้ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมลงตัว เป็นการดำรงชีวิตประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนและครอบครัว ไปในทางสุจริตไม่เบียดเบียนใคร



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row1"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 19 จิต

    จิต ก็คือความคิดที่เป็นการปรุงแต่งขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงเนื้อหารายละเอียดอันสามารถบ่งบอกได้ ถึงทัศนคติโดยรวมแห่งความเป็นอัตตาตัวตนแห่งเรา จิตต่างๆเกิดจากการปรุงแต่งในความที่เห็นว่า ขันธ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้นนั้นคือเรา เป็นการปรุงแต่งเพื่อความเป็นไปแห่งความเป็นตัวตน ของตนเองอยู่อย่างนั้น เป็นการปรุงแต่งในความเป็นตัวตนของตนเองต่อสิ่งรอบข้าง ที่เรายังมองเห็นอยู่ว่าสิ่งสิ่งนั้น "มีความเป็นตัวเป็นตนอยู่เช่นกัน" ก็ด้วยอวิชชาความไม่รู้ที่พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ย่อมทำให้เรามีทิฐิเห็นว่ากายนี้คือเรา ย่อมทำให้เห็นว่าส่วนประกอบที่เป็นส่วนๆและเข้ามาประชุมกัน อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น มันคือความเป็นเราอย่างเหนียวแน่น แต่ในความเป็นจริงธรรมชาติย่อมว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ย่อมไม่เคยมีอะไรเลยสักสิ่งหนึ่งหรือทุกๆสิ่งเลย ที่สามารถเกิดขึ้นตั้งอยู่แสดงความเป็นตัวตนของมันปรากฏขึ้นมาได้ ตถาคตเจ้าจึงตรัสว่า จิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทุกชนิด ล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะแท้จริงสิ่งต่างๆซึ่งเป็นจิตเหล่านี้ย่อมไม่มีตัวตนอยู่แล้ว เพราะแท้จริงธรรมชาติอันแท้จริงมันย่อมว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ตามเนื้อหาตามสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น เมื่อนักปฏิบัติเผลอเข้าไปยึดปรุงแต่งเป็นจิตเกิดขึ้น เพราะความขาดไป ซึ่ง "ธรรมชาติแห่งการระลึกได้ในทิฐิที่ถูกต้อง" ในขณะนั้น ก็ขอให้นักปฏิบัติทำความเข้าใจ ให้ตรงต่อความเป็นจริงในขณะนั้นเลยว่า มันไม่เคยมี "จิต" ชนิดนี้(ที่พึ่งปรุงแต่งขึ้น)เกิดขึ้นมาก่อนเลย และก็ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายทำความเข้าใจด้วยความตระหนักชัด ในขณะนั้นเช่นกันว่า แท้จริงธรรมชาติมันย่อมมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น มาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ซึ่งเป็นความดั้งเดิมแท้ แห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว หามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือจิตใดๆปรุงแต่งเกิดขึ้นไม่ มันจึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตรงเป็นการปฏิบัติชอบ ด้วยธรรมชาติแห่งการระลึกได้ตามทิฐิความเห็นที่ถูกต้องได้ ในขณะนั้นอยู่แล้วนั้นเอง เป็นการปฏิบัติเพื่อความเห็นชัดตามความเป็นจริง โดยปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ตามสภาพเดิมๆของมันอยู่อย่างนั้น นั่นแหละการปฏิบัติตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ตรงตามพุทธประสงค์ เป็นการปฏิบัติเพื่อความเป็นไปในการตระหนักชัดและซึมซาบ กลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่อย่างนั้น

    แต่ ก็ด้วยอนุสัยความเคยชินเดิมๆของนักปฏิบัติทั้งหลาย และด้วยเพราะเหตุที่ยังไม่สามารถเข้าใจตระหนักอย่างชัดแจ้ง ในความเป็นไปในธรรมชาตินั้นได้อย่างแท้จริง จึงอาจมีความพลั้งเผลอทำให้นักปฏิบัติทั้งหลาย เผลอขาดสติหลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งจิตของตนขึ้นมา ตามอนุสัยความเคยชินตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน จึงกลายเป็นจิตมี ราคะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาอยู่เนืองๆ

    ก็ด้วยความที่พึ่งจะทำความเข้าใจในเนื้อหาธรรมชาติ และยังไม่สามารถมีความเข้าใจอย่างถึงที่สุดในความตระหนักชัดแจ้งและยังไม่ สามารถกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันได้อย่างแนบสนิทในความเป็นธรรมชาติ นั้น นักปฏิบัติทั้งหลายจึงอาจมีความพลั้งเผลอขาดสติ หลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งจิตของตนขึ้นมา ตามสภาพที่กำลังดำเนินไปในเส้นทางธรรมชาติ ที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งเส้นทาง โดยยังมีอวิชชาความหลงเข้าไปยึดปรุงแต่งเป็นจิตต่างๆนานา ขึ้นมา "อย่างมากมาย" ในชั่วขณะหนึ่ง ด้วยความที่ยังไม่สามารถตั้งมั่นในความซึมซาบ เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้นได้ จึงกลายเป็น จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ เกิดขึ้นมาได้อย่างเนืองๆ

    ก็ด้วยแท้จริงความเป็นธรรมชาติ มันคงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน อยู่อย่างนั้นของมันเองอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติในความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น ในความว่างที่มันว่างตลอดแบบไม่ขาดสายของมันอยู่อย่างนั้น เป็นความบริบูรณ์พรั่งพร้อมโดยสภาพแห่งมันอยู่แล้ว มันเป็นความสมบูรณ์แบบโดยไม่จำเป็นต้องให้ใคร เข้ามาเสริมเติมแต่งแก้ไขในความเป็นมัน ในสภาพธรรมชาติที่เต็มบริบูรณ์ของมันอยู่อย่างนี้เองอยู่แล้ว ดังนั้นความเป็นธรรมชาติ มันจึงไม่ต้องการให้ภาวะหรือความเป็นปรากฏการณ์ใดๆที่เกิดขึ้น มาเป็นเครื่องยืนยันถึงฐานะแห่งความสมบูรณ์ของความเป็นเนื้อหา หรือสภาพสมบูรณ์ของความว่างเปล่าของมันอีกเลย เพราะฉะนั้นความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนตามธรรมชาติ จึงมิใช่ภาพแห่งความที่จะต้องมีความชัดเจน ที่นักปฏิบัติทั้งหลายจะเข้าไปกระทำจัดแจง ให้ความว่างเปล่าเกิดขึ้น "ตามความรู้สึก" อันเกิดจากความเข้าใจผิดไปเองแต่ฝ่ายเดียวของนักปฏิบัติ ว่าความว่างเปล่านั้น ต้องเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ ต้องเป็นไปในลักษณะอย่างนั้น ต้องมีการแก้ไขตรงโน้น ต้องเข้าไปทำเพิ่มตรงนี้ และก็ด้วยความเข้าใจผิดเหล่านี้ ก็อาจทำให้นักปฏิบัติทั้งหลาย เข้าไปรื้อค้นตรวจสอบและเข้าไปกระทำการใดๆ เพื่อให้ความว่างเปล่า ซึ่งมันมีสภาพที่แท้จริงตามธรรมชาติของมันอยู่แล้วนั้น ให้มัน "มีภาพออกมา" ตรงกับความรู้สึกความเข้าใจของนักปฏิบัติเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดๆต่อเนื้อหา ความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่านั้น ด้วยความเป็นไปดังกล่าวนี้ จึงอาจทำให้นักปฏิบัติเผลอเข้าไปปรุงแต่งจิตของตนขึ้นมา เพื่อเข้าไปรื้อค้นและเพื่อยืนยันฐานะการปฏิบัติธรรมแห่งตน จนกลายเป็น การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตปราศจากราคะ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตปราศจากโทสะ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตปราศจากโมหะ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตเป็นสมาธิ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตไม่เป็นสมาธิ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตไม่หลุดพ้น การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตหลุดพ้น เกิดขึ้นมาได้อย่างเนืองๆ

    ก็ เมื่อเข้าใจว่ามันเป็นเพียงแค่ "จิต" ที่เป็นการปรุงแต่งขึ้นมาแต่เพียงเท่านั้น ไม่ว่ามันจะเป็นจิตที่ชื่อว่าอะไรก็ตาม ไม่ว่ามันจะเป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในทางความหมายใดๆก็ตาม มันก็ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่หามีความเป็นตัวเป็นตนเกิดขึ้นไม่ มันก็ล้วนเป็นเพียงจิตที่ไม่เคยมีความเกิดขึ้นมาก่อนเลยในวินาทีนี้ คือวินาทีแห่งความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้งแห่งเรา ว่าในความเป็นธรรมชาตินั้น มันก็ล้วนแต่เป็นเพียงความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนแบบเสร็จสรรพเด็ดขาด ตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแห่งความเป็นมัน อันคือการหาจุดเริ่มต้นในสภาพแห่งความเป็นมันนั้นไม่ได้ และอันหาจุดสิ้นสุดในสภาพความเป็นมันนั้นก็มิได้เช่นกัน ซึ่งเป็นความแรกเริ่มของมันมาอยู่แบบนั้นมานานแสนนานแล้ว



    [​IMG]


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row1"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...