สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 25 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    19 กันยายน 2497
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)
    <TABLE style="WIDTH: 238px; HEIGHT: 49px"><TBODY><TR><TD>มตฺตาสุขปริจฺจาคา</TD><TD>ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ</TD></TR><TR><TD>จเช มตฺตาสุขํ ธีโร</TD><TD>สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขนฺติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยสุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้พึงแสวงหา ยิ่งใหญ่นัก ไม่มีใครปฏิเสธทุกทั่วหน้า สุขนี้สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรับสั่งด้วยพระองค์เอง เพื่อจะให้สัตว์แสวงหาสุขยิ่งขึ้นไป ไม่ใช่สุขเล็กๆ น้อยๆ ให้ละสุขเล็กน้อยเสีย ให้ยึดเอา ความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป นี่เพราะเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต หญิงชายทุกทั่วหน้า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ทุกทั่วหน้าด้วยกัน แสวงหาสุขทุกหมู่เหล่า แม้สัตว์เดรัจฉานเล่า ก็ต้อง แสวงหาสุขเหมือนกัน หลีกเลี่ยงจากทุกข์ แสวงหาสุขอยู่เนืองนิตย์อัตรา เพราะว่าสุขจะพึง ได้สมเจตนานั้น ผู้แสวงหาเป็น จึงจะได้ประสบสุขยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าแสวงหาไม่เป็น ก็ได้รับ สุขเล็กๆ น้อยๆ หาสมควรแก่อัตภาพที่เป็นมนุษย์ไม่ เหตุนี้ตามวาระพระบาลี พระองค์ได้ ทรงแสดงไว้ว่า
    มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ. แปลเนื้อความว่า ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะละสุขพอประมาณเสีย ผู้มี ปัญญาเมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็พึงละสุขพอประมาณเสีย นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความ เป็นสยามภาษา ได้เนื้อความเท่านี้


    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป สุขเล็กน้อย กับ สุขไพบูลย์ นี้ เป็น ใจความในพระคาถานี้ สุข มีสุขตั้งแต่สุขเล็กๆ น้อยๆ ไปเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงสุขที่สุด สุขเล็กน้อย ก็สุขมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสมัยทุกวันนี้เป็นสุขเล็กน้อย สุขเทวดาก็สุขมากขึ้นไป เป็นชั้นๆ เป็นสุขใหญ่ขึ้นไป เทวดา 6 ชั้น ก็สุขขึ้นไปเป็นลำดับ

    สุขมนุษย์ไม่เท่าสุขใน จาตุมหาราช
    สุขในจาตุมหาราชไม่เท่าสุขในดาวดึงส์
    สุขในดาวดึงส์ไม่เท่าสุขในชั้นยามา
    สุขในชั้นยามาไม่เท่าสุขในชั้นดุสิต
    สุขในชั้นดุสิตไม่เท่าสุขในชั้นนิมมานรดี
    สุขในชั้น นิมมานรดีไม่เท่าสุขในชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
    สุขในชั้นปรนิมมิตวสวัสตีไม่เท่าสุขในพรหมปาริสัชชา
    สุขในชั้นพรหมปาริสัชชาไม่เท่าสุขในชั้นพรหมปโรหิตา
    สุขในชั้นพรหมปโรหิตาไม่เท่าสุขใน ชั้นมหาพรหมา
    สุขในชั้นมหาพรหมาไม่เท่าสุขในปริตตาภา
    สุขในชั้นปริตตาภาไม่เท่าสุข ในชั้นอัปปมาณาภา
    สุขในชั้นอัปปมาณาภาไม่เท่าสุขในชั้นอาภัสสรา
    สุขในชั้นอาภัสสรา ไม่เท่าสุขในชั้นปริตตสุภา
    สุขในชั้นปริตตสุภาไม่เท่าสุขในชั้นอัปปมาณสุภา
    สุขในชั้นอัปปมาณสุภาไม่เท่าสุขในชั้นสุภกิณหา
    สุขในชั้นสุภกิณหาไม่เท่าสุขในชั้นอสัญญีสัตตา
    สุขในชั้น อสัญญีสัตตาไม่เท่าสุขในชั้นเวหัปผลา
    สุขในชั้นเวหัปผลาไม่เท่าสุขในชั้นอวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา
    สุขในชั้นอกนิฏฐาไม่เท่าสุขในชั้นอากาสานัญจายตนะ
    อากาสานัญจายตนะไม่เท่าสุขในชั้นอากิญจัญญายตนะ
    อากิญจัญญายตนะไม่เท่าสุขในชั้นวิญญาณัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะไม่เท่าสุขในอากิญจัญญายตนะ
    อากิญจัญญายตนะไม่เท่า สุขในเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    นี่ว่าในภพ 3 ยังไม่ถึงนิพพาน แต่ว่าสุขเป็นลำดับไปดังนี้ ผู้แสวงหาสุข เกลียดจากทุกข์ อยากได้สุข ผู้ที่อยากได้สุขนั้น ต้องละสุขพอประมาณเสีย จึงจะพบสุขอันสมบูรณ์ ยิ่งใหญ่ไพศาลเป็นลำดับขึ้นไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ละสุขเป็นประมาณเป็นไฉน

    มาเกิดในมนุษย์โลก เป็นหญิงก็ดี เป็นชายก็ดี จงแสวงหา เถิด ความสุขอยู่ในทาน การให้ ยิ่งใหญ่ไพศาล ความสุขอยู่ในทานการให้ หรือความสุขอยู่ ในศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ หรือสุขอยู่ในการเจริญภาวนา
    ให้เป็นเหตุลงไป
    เป็นสุขยิ่งใหญ่ไพศาล
    ให้อุตส่าห์ให้ทาน สมบัติเงินทองข้าวของที่เป็นสวิญญาณกทรัพย์ และ อวิญญาณกทรัพย์ที่เราหาได้มา เก็บหอมรอบริบไว้หรือได้มรดกมาก็ดี

    สิ่งทั้งหลายนั้นเมื่อเรา รักษาอยู่ เมื่อเรายังมีชีวิตเป็นอยู่ ก็เป็นของเราอยู่

    แต่พอแตกกายทำลายขันธ์เท่านั้น สมบัติ เหล่านั้นไม่ใช่ของเราเสียแล้ว กลายเป็นของคนอื่นเสียแล้ว ไม่ใช่ของเราจริงๆ

    ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมี มาบำเพ็ญทาน ศีล เนกขัมม์ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เท่านั้น นี่ข้อสำคัญรู้จักหลักนี้แล้ว ให้ละสุขอันน้อยเสีย
    สุขอันน้อยนั่นคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
    ที่เราใช้สอยอยู่นี้ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ ชอบใจ ติดอยู่ในกามภพ ที่ให้เราซบอยู่ในกามภพนี้โงศีรษะไม่ขึ้น

    ไอ้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละเป็นสุขนิดเดียว สุขเล็กน้อยไม่ใช่เป็นสุขมาก สุขชั่วปรบมือกระพือปีกไก่เท่านั้น มันสุขน้อยจริงๆ ให้ละสุขน้อยนั้นเสีย ให้ละ 5 อย่างนี้ คือ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่น ที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ เมื่อละได้แล้วเรียกว่า จาคะ สละสุขที่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นได้ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นเป็นไฉน เงินทองข้าวของ สวิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณกทรัพย์ เหล่านี้เรียกว่า รูปสมบัติ
    ที่เรายินดีในรูปสมบัตินั้นแหละ เรียกว่า ยินดีในรูป เสียงยกย่องสรรเสริญ ยกยอสรรเสริญ ชมเชยต่างๆ เหล่านี้ ที่เป็น โลกธรรมเหล่านี้นั่นแหละ

    ยินดีในเสียง ถ้าเราไปยินดีติดอยู่ในเสียงสรรเสริญอันนั้นละก้อ ทำให้เพลินซบเซาอยู่ในโลกเป็นทุกข์ เป็นสุขกับเขาไม่ได้ กลิ่นหอมเครื่องปรุงต่างๆ อันเป็น ที่ชื่นเนื้อเจริญใจนั่นแหละ

    ยินดีในกลิ่น มัวยินดีในกลิ่นอยู่เถิดจะซบเซาอยู่ในมนุษยโลก ใน กามภพ ดุจคนสลบโงศีรษะไม่ขึ้น ติดรสเปรี้ยวหวานมันเค็มอยู่นี่แหละ

    ยินดีในรส ถ้าว่า ติดอยู่ในรสเช่นนั้นแล้วละก็ หรือติดรสอันใดก็ช่าง ความติดรสอันนั้นแหละ ทำให้โงหัว ไม่ขึ้น

    ยินดีในความสัมผัส ถูกเนื้อต้องตัว ถ้าเอาใจไปยินดีในสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวเข้าแล้ว เข้าไปอยู่ในเปือกตมทีเดียว โงศีรษะไม่ขึ้นอีกเหมือนกัน 5 อย่างนี้ให้สัตว์โลกจมอยู่ใน วัฏฏสงสาร

    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
    ออกจากวัฏฏะไม่ได้

    กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ออกไม่ได้
    ออกจากภพ 3 ไม่ได้
    ออกจาก กามไม่ได้
    เพราะสละสิ่งทั้ง 5 ไม่ได้ ถ้าสละสิ่งทั้ง 5 อันเป็นสุขน้อยนี้เสียได้แล้ว เมื่อสละสิ่งทั้ง 5 เสียได้แล้ว จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์ ต้องประสบสุขอันไพบูลย์แท้ๆ สุขอันไพบูลย์ ยิ่งๆ ขึ้นไป ละสุขของมนุษย์ได้แล้ว ต้องไปติดอยู่ในชั้นจาตุมหาราชของทิพย์อีก ก็ต้องติดอยู่ แบบเดียวกัน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็ได้ชื่อว่าละไม่ได้ เพราะของเป็นทิพย์เสียอีก ละชั้น จาตุมหาราช ก็จะไปติดชั้นดาวดึงส์อีก ชั้นดาวดึงส์ก็ปล่อยเสียอีก ละเสียอีก จะเข้าถึงยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี ละได้ทั้งหมดนี้ ใครอุตส่าห์พยายามรักษาศีลมั่นจริง เมื่อ สละพวกนี้ได้แล้ว ทำศีลให้มั่นขึ้น ศีลมั่นแล้วเจริญเป็นทางสมาบัติทีเดียว ให้เข้าสู่รูปฌาน ทั้ง 4 ให้ได้ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน จะได้ไปรับสุขยิ่งใหญ่ไพศาลไป กว่านี้ และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเข้าถึงฌานทั้ง 4 แตกกายทำลายขันธ์ก็ได้ไปบังเกิดในพรหม 16 ชั้น ได้รับความสุขยิ่งขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนกระทั่งถึงขนาด ถึงพรหมชั้นที่ 11 หรือ 12-13-14-15-16 ขึ้นไปก็ตามเถอะ

    แต่ว่าอย่าติดนะ

    ติดในชั้นพรหมไม่ได้ ละเสียได้เป็นสุข ให้ละสุขใน รูปภพนี้เสีย

    แม้จะได้ไปครองสุขในอรูปภพต่อไปอีก ยึดเอาอะไรไปครองสุขในอรูปภพต่อไป อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สุขแค่นั้นจะเพียงพอแล้วหรือ ถ้าเราต้องการประสบสุขอันไพบูลย์ใหญ่ไพศาลแล้วก็ให้ละสุข ในอรูปพรหมอีก อย่าติดสุขในอรูปภพนั้น
    ให้ไปถึงนิพพานทีเดียว เมื่อไปถึงนิพพานแล้ว นั่นแหละ จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์ และสุขอันนั้นเป็นสุขสำคัญ สุขอื่นสู้ไม่ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อรู้ว่าสุขเช่นนั้นแล้ว
    ทำอย่างไรต่อไป
    วิธีจะละตั้งแต่มนุษย์นี่ จะละสุขในมนุษย์หละ เราจะละท่าไหน ต้องแก้ไขวิธีละทีเดียว

    ต้องใช้ละด้วยกาย ละด้วยวาจา ละด้วยใจ
    ต้องใช้ทาน ศีล ภาวนา เป็นฆราวาสครองเรือนให้หมั่นให้ทาน ให้ละสุขน้อยโดยการบริจาคทาน ที่มีสมบัติ ยิ่งใหญ่ไพศาลในมนุษยโลกดังนี้ ถึงมีพอประมาณหรือมีเล็กน้อยก็ช่าง
    อุตส่าห์ละเถิด
    จงให้ ทาน ให้ความสุขในภพนี้และภพหน้าต่อไปนับภพไม่ถ้วน ให้อุตส่าห์ให้ทาน ทานนี่แหละเป็น ข้อสำคัญนัก ท่านยืนยันตามตำรับตำราว่ามนุษย์จะได้รับความสุขในมนุษย์โลก ก็เพราะอาศัย การให้ทานกัน

    ด้วยเหตุนี้ พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีมาเกิดในมนุษยโลก ก็ย่อมให้ทานใน เบื้องหน้า ท่านเป็นผู้เก็บหอมรอมริบ สนับสนุนอุปถัมภ์ค้ำชูแก่บริวารของท่านไม่แพ้ฝ่ายใด ท่านก็อุปถัมภ์ค้ำชูตลอด เพราะท่านเป็นผู้มีสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาล ท่านบริจาคทานอย่างนี้ อัตราการให้ทานนี่แหละที่จะส่งเราให้ไปถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าไม่มีทาน จะมีสุขอันยิ่งใหญ่ ไพศาลไม่ได้ เพราะไม่มีผลทานส่งให้ จะถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาลไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดมาใน มนุษยโลก ถ้าเป็นคนจนเสียแล้ว เราจะทำความดีให้เต็มส่วนเต็มที่ไม่ได้ เพราะว่าจะรักษา ศีลก็รักษาไม่ได้ จะเจริญภาวนาก็เจริญไม่ไหว เพราะเป็นคนจนเสียแล้ว ไม่ได้รักษาศีล เจริญ ภาวนา เพราะห่วงการงาน ต้องประกอบกิจการงาน การงานเหนี่ยวรั้งไว้ให้ไปทำการงาน จิตที่จะทำให้ยิ่งใหญ่ไพศาลในศีล ภาวนา ก็ทำไม่ได้ ถ้าว่ามีสมบัติสมบูรณ์แล้ว จะรักษาศีล ก็รักษาได้สมบูรณ์บริบูรณ์ จะเจริญภาวนาก็เจริญได้ ไม่มีห่วงหน้าห่วงหลัง จะบริจาคทานก็ทำ ได้สมความเจตนาทีเดียว มีสมบัติสมควรที่จะบริจาคทานแล้ว

    เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เพราะอาศัย ผลทานนั่นแหละเป็นข้อสำคัญของทานนะ ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี ถ้าบริจาคทานแล้วมีผลลัพธ์ ทานมยํ บุญคือความบริสุทธิ์สำเร็จด้วยทาน ฉกามาวจรํ เป็นเหตุให้เกิดในกามาวจร 6 ชั้น ทานเป็นเหตุให้เกิดในกามาวจร 6 ชั้น ได้รับความสุขยิ่งใหญ่ไพศาลขึ้นไปเป็นลำดับ เพราะ ทานส่งให้ สีลมยํ บุญคือความบริสุทธิ์แล้วสำเร็จด้วยศีล ศีลสำเร็จแล้วเป็นเหตุให้เกิดใน ชั้นอกนิฏฐา ภพพรหมชั้นที่ 16 โน้น ต้องวางหลักอย่างนี้ ภาวนามยํ บุญคือความบริสุทธิ์ สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา อมตผลํ เป็นผลที่จะให้บรรลุถึงชั้นนิพพาน สำเร็จภาวนาแล้ว เป็นผลจะให้มนุษย์ถึงชั้นนิพพาน

    ทานให้สำเร็จในสวรรค์ 6 ชั้น ศีลให้สำเร็จในพรหม 16 ชั้น ภาวนาให้สำเร็จนิพพาน ให้สำเร็จผลนิพพานทีเดียว

    นี่ต้องวางหลักไว้อย่างนี้ เมื่อได้รู้หลัก อย่างนี้เป็นข้อสำคัญ ทาน ศีล ภาวนา เหล่านี้เป็นข้อสำคัญนัก ให้ถึงสุขอันไพบูลย์ได้ สุขอัน เป็นส่วนเต็มที่ได้ เพราะทานก็จะต้องส่งผลไปถึงแค่สวรรค์ เมื่อถึงแค่สวรรค์แล้ว ศีล ก็ต้อง ส่งผลให้ไปถึงแค่ชั้นอกนิฏฐา ภพรูปพรหม ส่วนภาวนาก็ส่งผลให้ถึงนิพพาน เมื่อถึงนิพพาน แล้ว ก็จะได้รับสุขอันวิเศษไพศาลทีเดียว นี่เป็นชั้นๆ ไปดังนี้


    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้วก็ค่อยๆ เดินเป็นลำดับขึ้นไป
    ตั้งต้นแต่ กายมนุษย์ นี่วัดปากน้ำ ทำกันอยู่แล้ว ทำอยู่แล้วถึงนิพพานมากมายแล้ว
    ไม่ต้องเข้าใจเป็นอย่างอื่นไป ตั้งหน้าตั้งตา ทำทีเดียว เมื่อมาเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาแล้ว ทำให้เรียบร้อยแล้ว เรียกว่า ใจ เราทำทีเดียว เรียกว่าเราทำทีเดียว ต้องทำใจให้หยุด เมื่อถึงเวลาให้ทาน เราก็ให้ทานตาม กาลสมัย ให้ศีลบริสุทธิ์ไว้ แล้วก็เจริญภาวนาเสมออย่าให้คลาดเคลื่อน ทำใจให้หยุด เจริญ ภาวนาทำใจให้หยุด
    พอใจหยุดเท่านั้น เข้าถึงทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ใจหยุด นั่นแหละจะพบพระบรมศาสดา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    หยุดตรงไหน?

    ที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดตรงนั้น พอหยุดได้แล้ว ละก้อ พอหยุดเท่านั้นแหละ สมกับบาลีว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
    สุขอื่นนอกจากนิ่งไม่มี นี่เจอ สุขแท้แล้วนี่นะ สุขจริงตรงนี้นะ เจอสุขแล้ว เจอที่สุขแล้ว

    เมื่อเจอสุขสูงสุดอย่างนี้ละก็ ให้ตั้งหน้าตั้งตาทีเดียว ทำใจให้หยุดนิ่ง หยุดทีเดียว หยุดหนักเข้า อย่าถอยหลังกลับ หยุด ในหยุดหนักเข้า อย่าถอยหลังกลับ ผู้เทศน์ได้สั่งสอนกันแล้วให้หยุดอย่างนี้ หยุดไม่ถอยกลับ 23 ปีแล้ว 23 ปี 2 เดือนเศษแล้ว หยุดในหยุดไม่ถอยหลังกลับกันเลย ยังไม่ได้ถอยกลับ กันเลย

    ได้พบแล้วสุขอันไพศาลเหลือประมาณมากมาย เล่าไม่ถูก พูดไม่ออก บอกไม่ได้ ทีเดียว
    ด้วยเหตุฉะนั้นผู้ที่อยู่ทีหลัง ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เมื่อต้องการความสุข แล้วก็ต้องทำใจให้หยุด นั่นแหละเป็นตัวสุข เป็นตัวสุขแท้ๆ สิ่งอื่นสุขไม่เท่าไม่ทันทั้งนั้น พอใจ หยุดได้ก็เป็นสุขทางภาวนา ภาวนาขั้นสูง เมื่อสุขไปทางภาวนา ทำใจหยุดได้แล้ว ก็จะบรรลุ ปฐมมรรค ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ต่อไป จากกายมนุษย์ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด แล้วก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์ละเอียด ละสุขในกายมนุษย์ ละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายทิพย์หยาบ นี่สุขเป็นขั้นๆ ขึ้นไป
    พอเข้าถึงกายทิพย์หยาบแล้ว ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายทิพย์อีก ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด พอเข้าถึง กายทิพย์ละเอียด เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายทิพย์ละเอียด ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ พอละสุขในกายทิพย์ละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายรูปพรหม ให้สูงขึ้นไป
    ถึงกายรูปพรหม ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายรูปพรหมอีก เข้าถึง ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ อีก ละสุขในกายรูปพรหมเสีย ก็ถึงกาย รูปพรหมละเอียด ใจเข้าถึงให้หยุดอยู่ตามส่วนอีก เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะอีก ละสุขในกายรูปพรหมละเอียดเสีย ก็ถึงกาย อรูปพรหมหยาบ
    ถึงกายอรูปพรหมหยาบ ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในอรูปพรหม ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขในกายอรูปพรหมหยาบเสีย ก็เข้าถึง กายอรูปพรหมละเอียด ใจกายอรูปพรหมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางตามส่วนอีก เข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขใน กายอรูปพรหมละเอียดเสีย ก็ถึงกายธรรม สุขเกินสุขขึ้นไปอีก สุขเกินสุขหนักขึ้นไปอีก ใจของกายธรรมหยาบหยุดเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขในกายธรรมหยาบเสีย ก็เข้าถึงกายธรรมละเอียด สุขหนักขึ้นไป ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุด ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขในกายธรรมละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายธรรม พระโสดาหยาบ ซึ่งเป็นสุขมากกว่า เข้าถึงกายพระโสดาหยาบแล้วสุขหนักขึ้นไป

    ใจของกายธรรมพระโสดาหยาบก็หยุดอีก เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางกายนั้น เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด ละกายพระโสดาหยาบเสีย ก็เข้าถึงกายพระโสดาละเอียด สุขหนักขึ้นไป ใจของกายพระโสดา ละเอียดก็หยุดอีก ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขในกายธรรมพระโสดาละเอียด เพราะสุขน้อยกว่าเสีย ก็เข้าถึงกายธรรม พระสกทาคาหยาบ สุขหนักขึ้นไป สุขมากขึ้นไปกว่า

    ใจของกายธรรมพระสกทาคาหยาบก็หยุดในกลางของหยุดต่อไปอีก ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรม พระสกทาคาละเอียด ละสุขในกายธรรมพระสกทาคาหยาบเสียได้ สุขหนักขึ้นไป ใจของ กายพระสกทาคาละเอียดก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอนาคาหยาบ ละสุขในกายธรรมพระสกทาคาละเอียด เสีย เพราะเป็นสุขน้อยกว่า ก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ สุขมากกว่า ละเอียดกว่า

    ใจของกายธรรมพระอนาคาหยาบหยุดก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด ละสุขในกาย พระอนาคาหยาบเสีย เพราะสุขน้อยกว่า ก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด สุขมากกว่า

    ใจของกายธรรมพระอนาคาละเอียดก็หยุดต่อไปอีก เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตหยาบ ละสุขในกายพระอนาคาละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตหยาบ สุขมากกว่า นี่เป็น เช่นนี้ เป็นนิรามิสสุข เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว

    ใจของกายธรรมพระอรหัตหยาบหยุดนิ่ง
    กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัต
    ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด
    ละสุขในกายธรรมพระอรหัตหยาบเสีย
    ก็เข้าถึงสุขในกายธรรมพระอรหัตละเอียด

    ละสุขใน กายธรรมพระอรหัตละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตในพระอรหัตที่ละเอียดๆๆๆๆๆ ต่อๆ ไปอีกนับไม่ถ้วน

    นี่มันเป็นสุขอย่างนี้ เดินนิพพานนี้ วิปุลํ สุขํ สุขถึงขนาดนี้
    ถ้าว่า ไม่ละสุขที่น้อยเสีย ก็ไม่ได้สุขใหญ่สมความปรารถนา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ถ้าเมื่อมาเจอกายมนุษย์แล้วมาสุขกับกายมนุษย์ มัวงมอยู่แต่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ มันก็ได้เท่านั้นจนแก่ตาย เอาดีไม่ได้เลย สุขแค่นั้นเอง นี่มันสุขน้อยอย่างนี้ เพียงนิดเดียวเพราะอะไร
    เพราะรู้ไม่เท่าทันตัวเอง ไม่ฉลาด รู้ไม่เท่าทันตัวเอง
    ไม่ได้ฟังธรรม ของพระพุทธเจ้า
    ไม่ได้ฝึกฝนใจในทางพระพุทธเจ้าพระอรหันต์
    ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
    ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ความเห็นจึงพิรุธไปเช่นนั้น

    ถ้าหากว่าฉลาด รู้จักให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ถ้าแม้ว่ายังไม่ได้สูงขึ้นไปก็จะได้สุขในชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เหล่านี้ มันก็เวียนอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ในกามนั่นเอง

    มันยังเป็นกาม

    ไปทางโลกก็สุขนิดหน่อยเท่านี้ ไม่ได้อะไรหละ สุขอยู่ชั่วคราว มนุษย์นี่ก็สุขอยู่ชั่วคราว ประเดี๋ยวเดียว อายุร้อยปีเท่านั้นอย่างมาก หรือน้อยกว่านั้น ก็ ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ถ้าเราได้เห็นเทวดาก็สุขตามส่วนขึ้นไป อายุก็ตามส่วนขึ้นไป จะนาน หนักเข้า แต่ว่าถึงกระไรก็เถอะ ปรนิมมิตวสวัตตี สุขมากน้อยเท่าใดก็ช่าง สุขประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ไม่มากเท่าใด ไปถึงรูปพรหมก็สุขเป็นกัปๆ เหมือนกัน เป็นมหากัปถึงอกนิฏฐภพ ถึงเวหัปผลานั่นแน่ อสัญญีสัตตาโน่น 500 มหากัป ถึง 500 มหากัป ก็สุขนิดเดียวอีก เหมือนกัน ไม่จริง หลอกๆ ไม่จริงหรอก สุขในชั้นเนวสัญญานาสัญญา อกนิฏฐาโน่น สุขสูง ขึ้นไป สุขสูงขึ้นไปขนาดนั้นก็ขนาดพันมหากัปเท่านั้น ไม่เท่าไรนัก สุขยิ่งขึ้นไป นี่ไม่ใช่สุข ในทางนิพพาน มีชั้นสุขสูงสุดอย่างนี้ ถ้าสุขในภพถึง 84,000 มหากัปในโลก เพราะติดสุข ในภพเหล่านี้แหละเรียกว่าติดสุขน้อย ไม่ใช่สุขใหญ่ สุขใหญ่คือสุขอันไพบูลย์ ให้ละสุขน้อย อันนั้น เมื่อไปถึงแล้วก็ไม่ติดสุขหนักขึ้นไป ไม่ถอยเลย ไม่ได้หยุดอยู่กับที่ สุขทวีขึ้นไป เหล่านี้เลย ไม่มีถอยกลับ

    นี่ต้องนับว่าวิชชาวัดปากน้ำ วิชชาสมถวิปัสสนาเดินให้ถูกแนวนั้น ทีเดียว
    เข้าถึงธรรมกายให้ได้
    เข้าถึงธรรมกายเป็นลำดับไป ยิ่งใหญ่ไพศาลนับประมาณไม่ได้ จะไปพบพระพุทธเจ้า พระนิพพาน พระอรหันต์ ก็จะรู้ตัวทีเดียวว่า อ้อ! เราเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา ได้รู้จักของจริง เห็นของจริงอย่างนี้ ไม่เสียทีที่พ่อแม่อาบน้ำป้อนข้าวมา อุ้มท้องมาไม่หนักเปล่า แม้บุคคลที่จะทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าก็ไม่เมื่อยเปล่า ไม่หนักเปล่า ได้ชื่อว่าเป็นคนมีปัญญา ประกอบคุณสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาลใส่อาตมาของตนได้ ไม่เสียทีที่ เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      60
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในการละสุขน้อย ประสบสุขมาก สมมาดปรารถนา สมควรแก่เวลา
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
    สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า
    สิทฺธมตฺถุๆๆๆ อิทํ ผลํ เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส ขอจิตอันผ่องใส ขอจิตอันเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ ให้ท่านทั้งหลาย จงเป็นผลสำเร็จๆๆๆ สมมาดปรารถนาทุกประการ
    ดังอาตมภาพรับประทานวิสัชนา มาพอ สมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>มหาวรรค อานาปาณกถา</CENTER></PRE>

    [๓๗๒] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น
    ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง
    ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ฯ
    [๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะ
    แห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ
    จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้นจิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึง
    กล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ
    [๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่ง
    ท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ
    จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉย ๑
    จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑
    ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่ง
    ปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
    [๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑
    ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงาม
    ในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึง ความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิต
    ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป
    ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งตติยฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม อย่าง ๓ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ
    ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข ... และถึงพร้อมด้วย
    ปัญญา ฯ
    [๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสา-
    *นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
    เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มี
    ความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจา-
    *นุปัสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร ... และถึง
    พร้อมด้วยปัญญา ฯ
    อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสนา อนัตตา-
    *นุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา
    ขยานุปัสนา วยานุปัสนา วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตา-
    *นุปัสนา สุญญตานุปัสนา อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสสนะ
    อาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค
    สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ
    [๓๘๑]
    อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
    เบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
    จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น
    เบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ
    [๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
    แห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ
    จิตหมดจดวางเฉยอยู่
    จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่
    จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑
    จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค
    เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
    [๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด
    เท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑
    ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
    แห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม
    มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
    เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
    อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
    รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=4070&Z=5199&pagebreak=0
     

แชร์หน้านี้

Loading...