สุกขวิปัสสกะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 10 กรกฎาคม 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    "สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา

    สิเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสทะเย"
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>เข้าใจว่าเป็นคำสรุปตอนท้ายที่พระท่านให้ศีล โดยใจความคือ
    สีเลนะ สุคะติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงสุคติ

    สีเลนะ โภคะสัมปะทา = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคะทรัพย์

    สิเลนะ นิพพุติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน

    ตัสมา สีลัง วิโสทะเย = เพราะเหตุนั้นพึงชำระศีลให้หมดจด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ศีลมีหลายนัย เช่น เจตนาเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล การสำรวม
    ระวังก็เป็นศีล ความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจก็
    เป็นศีล ขณะที่สติปัฏฐานเกิดเป็นอินทริยสังวรศีล และเมื่อเป็นมรรคจิต
    มรรคทั้งแปดองค์เกิดขึ้นพร้อมกัน ทำกิจประหารกิเลส มีพระนิพพานเป็น
    อารมณ์ ขณะนั้นก็เป็นโลกุตตรศีล ฯลฯ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    เมตตา หมายถึงสภาพจิตที่ดีงาม ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีความเป็นมิตร เป็นเพื่อน มีความ

    เป็นไมตรีความหวังดี ความปรารถนาดี ต่อบุคคลอื่น เมตตาจะมี หรือจะเกิดขึ้น จนมี

    กำลังยิ่ง ๆ ขึ้นในจิตของเราได้ ต้องอาศัยการศึกษาและอบรม เบื้องต้น ต้องเห็นโทษ

    ของความโกรธ และเห็นคุณของความไม่โกรธ (เมตตา) จึงจะอบรมเจริญเมตตาได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ดังข้อความในอรรถกถาว่า

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 745

    ละพยาบาทด้วยธรรม ๖ ประการ

    อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท คือ

    การเรียนเมตตานิมิต ๑ การบำเพ็ญเมตตาภาวนา ๑ การพิจารณาว่า

    สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ๑ ความเป็นผู้มากด้วยการพิจารณา ๑

    ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ๑ การสนทนาถึงเรื่องที่เป็นสัปปายะ ๑.

    อธิบายว่า เมื่อพระโยคาวจรแม้เรียนเมตตาอยู่ ด้วยอำนาจการแผ่

    ไปโดยเจาะจงทิศ และไม่เจาะจงทิศ อย่างใดอย่างหนึ่ง พยาบาทอันเธอ

    ย่อมละได้...
    วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 151

    พรหมวิหารนิเทส

    เมตตาพรหมวิหาร

    ชั้นแรก พึงพิจารณาให้เห็นโทษในโทสะ และอานิสงส์ในขันติก่อน

    ถามว่า เพราะเหตุอะไร ?

    ตอบว่า เพราะโทสะจะพึงลงได้ และขันติจะพึงบรรลุได้ ก็ด้วย

    ภาวนานี้ และใคร ๆ จะอาจละโทษที่ตนไม่เห็นสักหน่อย หรือได้

    อานิสงส์ที่ตนไม่ทราบสักนิดหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรพึง

    เห็นโทษในโทสะ ตามแนวพระสูตรทั้งหลาย เช่นสูตรว่า "ดูกร

    อาวุโส บุคคลผู้เกิดโทสะแล้ว อันโทสะครอบงำ มีจิตอันโทสะยึดไว้

    รอบแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ดังนี้เป็นอาทิ พึงทราบอานิสงส์ในขันติ

    ตามแนวพระบาลีทั้งหลายเช่น บาลีว่า

    ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกฺขา นิพฺพาน ปรม วทนฺติ พุทฺธา*

    ขันติ คือความอดกลั้นเป็นบรมตบะ พระพุทธทั้งหลาย กล่าว
    นิพพานเป็นบรมธรรม

    ขนฺติพล พลานีก ตนห พฺรูมิ พฺราหฺมณ๑

    เรากล่าวบุคคลนั้น ผู้มีขันติเป็นกำลัง มีกำลังคือขันติเป็นกอบทัพ

    ว่าเป็นพราหมณ์

    ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ

    ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติหามีไม่

    ดังนี้เป็นต้นเถิด

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 605

    อนึ่งผู้มีปัญญาเท่านั้นเป็นผู้มีความอดกลั้นต่อความเสียหายของผู้อื่นเป็นต้น.
    ผู้มีปัญญาทรามไม่เป็นผู้อดกลั้น. ความเสียหายที่ผู้อื่นนำไปให้แก่ผู้ปราศ
    จากปัญญา ย่อมเพิ่มพูนความเป็นปฏิปักษ์ของความอดทน. แต่ความเสียหาย
    เหล่านั้นของผู้มีปัญญาย่อมเป็นไป เพื่อความมั่นคงแห่งขันตินั้นด้วยเพิ่มพูน
    ความสมบูรณ์แห่งขันติ.
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 292
    ข้อความบางตอนจาก มหิสราชจริยา
    เราเป็นผู้บริสุทธิ์ ตายด้วยความ
    บริสุทธิ์ ยังประเสริฐ กว่าความเป็นอยู่ที่น่า
    ละอายเสียอีก อย่างไรเราจักเบียดเบียนผู้อื่น
    แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเล่า บุคคลผู้มีปัญญา
    อดกลั้นคำดูหมิ่นในเพราะของคนเลว คน
    ปานกลางและคนชั้นสูง ย่อมได้อย่างนี้ตามใจ
    ปรารถนา ฉะนี้แล.
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=8 width=580 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD> พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126 ข้อความบางตอนจาก ผุสติสูตร
    บุคคลได้ย่อมประทุษร้ายแก่นรชน
    ผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจาก
    กิเลส บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้น ผู้เป็น
    พาลแท้ ประดุจธุลีอันละเอียดที่ซัดไป
    ทวนลม ฉะนั้น.



    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 186​
    ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา มงคลสูตร
    ภิกษุเช่นนั้นแม้เทวดาทั้งหลายก็สรรเสริญ ดังที่ท้าวสักกะจอมเทพ
    ตรัสไว้ว่า
    ผู้ใดแล เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อ
    คนผู้ทรุพลไว้ ความอดกลั้นของบุคคลนั้น
    บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง
    เพราะคนทุรพลต้องอดทนอยู่เป็นนิตย์.๑
    ผู้ที่มีความอดทนแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ตรัสสรรเสริญ ดังที่พระ
    ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
    ผู้ใดไม่โกรธไม่ประทุษร้าย ย่อมอด
    กลั้นต่อการฆ่าและการจองจำ เราเรียกผู้นั้น
    ซึ่งมีขันติเป็นพลัง ผู้มีพลังเป็นเสนา ว่า
    เป็นพราหมณ์

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
    เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 151​
    ข้อความบางตอนจาก เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี
    คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบ
    เท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้น
    คนพาลย่อมประสบทุกข
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓

    - หน้าที่ 447 ข้อความบางตอนจาก เรื่อง อุตตราอุบาสิกา
    " พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ, พึงชนะ
    คนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการ
    ให้ พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคำจริง. "
    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกเธน ความว่า บุคคลผู้มักโกรธ
    แล พึงเป็นผู้อันบุคคลพึงชนะด้วยความไม่โกรธ. ผู้ไม่ดี คือผู้ไม่เจริญ
    เป็นผู้อันบุคคลพึงชนะด้วยความดี, ผู้ตระหนี่ คือเหนียวแน่นจัด เป็นผู้
    อันบุคคลพึงชนะด้วยจิตคิดสละของของตน, คนพูดเหลาะแหละ อันบุคคล
    พึงชนะด้วยคำจริง
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 24
    ข้อความบางตอนจาก ธรรมเทวปุตตชาดก
    [๑๕๒๑] ดูก่อนอธรรมเทพบุตร ถ้าหากว่าท่าน
    เป็นผู้มีกำลังในการรบไซร้ ผู้หลักผู้ใหญ่และครูของ
    ท่านมิได้มี เราจะย่อมให้หนทางอันเป็นที่รักด้วยอาการ
    อันไม่เป็นที่รักของท่าน ทั้งจะขออดทนถ้อยคำชั่ว ๆ
    ของท่าน.
    [๑๕๒๒] อธรรมเทพบุตรได้ฟังคำนี้แล้ว ก็เป็น
    ผู้มีศีรษะลงเบื้องต่ำ มีเท้าขึ้นเบื้องสูง ตกลงจากรถ
    รำพันเพ้อว่าเราปรารถนาจะรบก็ไม่ได้รบ อธรรมเทพ
    บุตรถูกตัดรอนเสียแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
    [๑๕๒๓] ธรรมเทพบุตรผู้มีขันติเป็นกำลัง มีจิต
    เที่ยงตรง มีกำลังมาก มีความบากบั่นอย่างแท้จริง
    ชำนะกำลังรบ ได้ฆ่าอธรรมเทพบุตรฝั่งเสียในแผ่นดิน
    แล้ว ขึ้นสู่รถของตนไปโดยหนทางนั่นเทียว.
    <A href="javascript:popUp('/front/remind/show.php?id=124')">คุณของขันติ ๕ ประการ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้

    ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ผู้อดทน

    ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑

    ย่อมเป็นผู้ไม่โหดร้าย ๑

    ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ๑

    ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑

    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการ นี้แล
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 82
    ๕. ทานานิสังสสูตร
    ว่าด้วยอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการ
    [๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๑
    สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๑ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อนขจร
    ทั่วไป ๑ ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ ๑ ผู้ให้ทานเมื่อตาย
    ไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการ
    ให้ทาน ๕ ประการนี้แล.
    ผู้ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักของชนเป็น
    อันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ
    สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประพฤติ
    พรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
    สัปบุรุษเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นที่
    บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบ
    ชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปริ-
    นิพพานในโลกนี้.
    จบทานานิสังสสูตรที่ ๕
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD> พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 467

    ๕. ปฐมอขันติสูตร

    ว่าด้วยโทษของอขันติและคุณของขันติ

    [๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้

    ๕ ประการเป็นไฉน คือ

    ผู้ไม่อดทน ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑

    ย่อมเป็นผู้มากด้วยเวร ๑

    ย่อมเป็นผู้มากด้วยโทษ ๑

    ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑

    เมื่อตายไป ย่อมเขาถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้

    ๕ ประการเป็นไฉน คือ

    ผู้อดทน ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑

    ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร ๑

    ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ๑

    ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑

    เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล.

    --------------------------------------------------------------------------------
    อรรถกถาปฐมอขันติสูตร

    พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอขันติสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

    บทว่า เวรพหุโล ได้แก่ เป็นผู้มีเวรมากด้วยบุคคลเวรบ้าง ด้วยอกุศลเวรบ้าง

    บทว่า วชฺชพหุโล คือ เป็นผู้มากไปด้วยโทษ.


    จบอรรถกถาปฐมอขันติสูตรที่ ๕​
    </TD></TR></TBODY></TABLE> พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 468

    ๖. ทุติยอขันติสูตร

    ว่าด้วยโทษของอขันติและคุณของขันติ

    [๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้

    ๕ ประการเป็นไฉน คือ

    ผู้ไม่อดทน ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑

    ย่อมเป็นผู้โหดร้าย ๑

    ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน ๑

    ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑

    เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้

    ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ

    ผู้อดทน ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑

    ย่อมเป็นผู้ไม่โหดร้าย ๑

    ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ๑

    ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑

    เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล.

    จบทุติยอขันติสูตรที่ ๖

    ------------------------------------------------------------------------------
    อรรถกถาทุติยอขันติสูตร

    พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอขันติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า ลุทฺโท ได้แก่ ทารุณ ดุร้าย.

    บทว่า วิปฺปฏิสารี คือ ประกอบด้วยความเก้อเขิน.


    จบอรรถกถาทุติยอขันติสูตรที่ ๖
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 608
    อนึ่งชื่อว่าขันตินี้ เป็นอาวุธไม่เบียดเบียนคนดี ในเพราะสมบูรณ์
    ด้วยคุณสมบัติ เพราะกำจัดความโกรธอันเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณธรรมไม่มีส่วน
    เหลือ เป็นเครื่องประดับของผู้สามารถครอบงำผู้อื่นได้. เป็นพลสัมปทาของ
    สมณพราหมณ์. เป็นสายน้ำกำจัดไฟคือความโกรธ. เป็นเครื่องชี้ถึงความ
    เกิดแห่งกิตติศัพท์อันดีงาม. เมื่อเป็นมนต์และยาวิเศษระงับพิษคำพูดของคนชั่ว.
    เป็นปกติของผู้มีปัญญายอดเยี่ยมของผู้ตั้งอยู่ในสังวร. เป็นสาครเพราะอาศัย
    ความลึกซึ้ง. เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ. เป็นบานประตูปิดประตูอบาย.
    เป็นบันไดขึ้นสู่เทวโลกและพรหมโลก. เป็นภูมิที่อยู่ของคุณทั้งปวง.
    เป็นความบริสุทธิ์ กาย วาจา และใจ อย่างสูงสุด. พึงมนสิการด้วยประการ
    ฉะนี้.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน จำนวน 5 วันแล้ว
    เมื่อวานนี้ได้ถวายสังฆทานกับเพื่อนวันนี้ก็ได้ถวายสังฆทานกับ
    คุณแม่และหลานสาว
    อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
    รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
    ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
    ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
    และเจริญอาโปกสิน ศึกษษธรรม ศึกษาการรักษาโรค
    รักษาผู้ป่วยฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายจำนวนหลายท่าน
    วันนี้ได้นำพระธาตุไปประดิษานที่วัดจำนวน 1 วัด
    และมีงานบวชพระ 3 องค์
    และเมื่อวานนี้ได้รักษาอาการป่วยของคุณแม่
    และได้แสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา
    และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


    ขอเชิญสร้างสมเด็จองค์ปฐมใหญ่ที่สุดในโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>โทร. ๐๘-๖๐๐๘๖๐๐๙ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#eeeeee> </TD><TD width=1 bgColor=#999999></TD><TD align=right width=600 bgColor=#eeeeee height=22> </TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc colSpan=3 height=1></TD></TR></TBODY></TABLE>

     

แชร์หน้านี้

Loading...