สิ่งควรรู้ก่อนเจริญวิปัสสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 17 สิงหาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    [​IMG]

    ๏ หลักธรรมในการเจริญวิปัสสนา

    ผู้ปฏิบัติหรือผู้เข้าฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ควรทำความเข้าใจ หรือควรทราบธรรมะที่ เกี่ยวข้องกับการเจริญวิปัสสนา เพื่อการไม่หลงทาง ไม่ออกนอกทาง เพื่อความเข้าใจชัดในการปฏิบัติของตนเอง ให้การเจริญวิปัสสนาได้ผลดีเพิ่มขึ้น เพราะ ปริยัติ ย่อมส่องการปฏิบัติ แล้วการปฏิบัติที่ถูกต้องย่อมนำผลคือ ปฏิเวธ มาให้

    หัวข้อธรรมที่ควรทราบในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ คือ ธรรมที่เป็นองค์ตรัสรู้ หมายความว่า การที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรม หรือพระอรหันต์ทั้งหลายได้ บรรลุธรรม ก็ได้ใช้โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการนี้ เข้ามาประกอบเกื้อหนุน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ นั้นประกอบไปด้วย

    ๑. สติปัฏฐาน ๔ คือ

    (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นความเป็นจริงว่า กาย ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

    (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นความความเป็นจริงว่า เวทนา ก็สักแต่ว่า เวทนาไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

    (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นความความเป็นจริงว่า จิต ก็สักแต่ว่า จิตไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

    (๔) ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นความความเป็นจริงว่า ธรรม ก็สักแต่ว่า ธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

    ๒. สัมมัปปธาน ๔ คือ

    (๑) สังวรปธาน คือ การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน

    (๒) ปหานปธาน คือ การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

    (๓) ภาวนาปธาน คือ การเพียรให้กุศลเกิดขึ้นในตน

    (๔) อนุรักขนาปธาน คือ การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม้ให้เสื่อม

    ๓. อิทธิบาท ๔ คือ

    (๑) ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

    (๒) วิริยะ คือ ความเพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น

    (๓) จิตตะ คือ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ

    (๔) วิมังสา คือ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น

    ๔. พละ ๕ คือ

    (๑) สัทธา คือ ความเชื่อ

    (๒) วิริยะ คือ ความเพียร

    (๓) สติ คือ ความระลึกได้

    (๔) สมาธิ คือ ความตั้งมั่น

    (๕) ปัญญา คือ ความรอบรู้

    พละทั้ง ๕ ประการนี้ จัดเป็นอินทรีย์ด้วย เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน

    ๕. โพชฌงค์ ๗

    หมายถึง ธรรมที่เป็นองค์ตรัสรู้ หรือเป็นองค์ในการบรรลุธรรม มี ๗ ประการ คือ

    (๑) สติ คือ ความระลึกได้

    (๒) ธัมมวิจยะ คือ ความสอดส่องธรรม

    (๓) วิริยะ คือ ความเพียร

    (๔) ปีติ คือ ความอิ่มใจ

    (๕) ปัสสิทธิ คือ ความสงบสบายใจ

    (๖) สมาธิ คือ ความตั้งมั่น

    (๗) อุเบกขา คือ ความวางเฉย

    ๖. มรรคมี องค์ ๘ ได้แก่

    (๑) สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔

    (๒) สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริในการออกจากกาม ดำริในการไม่พยาบาท และดำริในการไม่เบียดเบียน

    (๓) สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต

    (๔) สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ

    (๕) สัมมาอาชีวะ ทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด

    (๖) สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ เพียรใน ๔ สถาน (สัมมัปปธาน ๔)

    (๗) สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔

    (๘) สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌาน ๔
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12594
     

แชร์หน้านี้

Loading...