สำรวจจิต (Investigating the Mind) พระสุเมธาจารย์ (สุเมโธภิกขุ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฉลาดน้อย, 1 มีนาคม 2013.

  1. ฉลาดน้อย

    ฉลาดน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +1,721
    สำรวจจิต (Investigating the Mind)

    พระสุเมธาจารย์ (สุเมโธภิกขุ)

    วัดอมราวดี กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ


    ต้นเหตุแห่งทุกข์คืออวิชา ความไม่รู้ คือไม่รู้ตามที่เป็นจริง ไม่เข้า ใจธรรมชาติที่แท้จริง เราทุกข์เพราะคิดเห็นในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ เราอยู่กับ โมหะ คือไม่รู้ตามเป็นจริง

    ถ้าท่านเงี่ยหูฟังเข้าไปในใจของท่านจริง ๆ ท่านจะได้ยินเสียงรำ พึงรำพันว่า “ฉันควรจะเป็นอย่างนี้ ไม่ควรเป็นอย่างนั้น ควรทำอย่างนี้ ไม่ควรทำอย่างนั้น” หรือโลกควรจะดีกว่านี้ ต่าง ๆ นานาที่เราจะได้ยิน จากใจของเราอย่างนี้ ก็เพราะเรามีความคิดอยู่ว่า อะไรควรไม่ควรอย่าง ไร แต่ในการทำสมาธิภาวนานั้น ให้ฟังเสียงรำพันดังที่กล่าว แต่ให้ฟังอยู่ เฉย ๆ

    ใจของเราโน้มเอียงที่อยากจะเป็นอย่างนี้อย่างนั้น เราจึงตั้งเป้า หมายไว้ แล้วเล็งผลเลิศตามที่ปรารถนา บางทีเราคิดอยากจะให้ภาวะของ สังคมดีกว่านี้ อยากจะให้ผู้คนทั้งหลายมีจิตเมตตา ไม่เห็นแก่ตัว มีความ เข้าใจรักใคร่ซึ่งกันและกัน อยากจะให้รัฐบาลมีผู้นำที่ชาญฉลาด และให้ โลกสงบสันติ แต่โลกทุกวันนี้มันก็เป็นของมันอย่างนั้น เมื่อเราไม่เข้าใจ ตามที่เป็นจริงเราก็ดิ้นรน ดังนั้นให้เราฟังเข้าไปข้างใน ฟังเสียงคร่ำครวญ รำพึงรำพัน แต่ให้ฟังด้วยสติสัมปชัญญะ

    เมื่อมีอะไรมากระทบเรามักจะต้องตอบโต้ แล้วทึกทักเอาว่า “ตัวเรา ของเรา” นี้เป็นของแท้ของจริง เราสร้างตัวตนขึ้นมาในฐานะที่เป็น บุคคล แล้วยึดมั่นถือมั่นอยู่กับความทรงจำ เราจำในสิ่งที่เราได้ศึกษาเล่า เรียนและประพฤติปฏิบัติมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสำคัญ ๆ ส่วนเรื่อง เล็ก ๆ เราก็ลืมไปเสีย ถ้าเราทำในสิ่งที่เป็นอกุศล โหดร้าย โง่เขลา เราก็ อับอายเป็นทุกข์ ถ้าเราทำดีเราก็เป็นสุข เมื่อเราหันมาพินิจพิจารณาใน เรื่องนี้ เราจะต้องมีความระมัดระวังยิ่งขึ้นในการพูดและการทำ คนที่เห็น แก่ตัวอย่างร้ายกาจนั้นมักจะหันไปดื่มเหล้าหรือติดยา เพื่อจะกดเก็บความ ทรงจำอันเลวร้ายไม่ให้ผุดขึ้นมาในใจ

    ในการทำสมาธิภาวนานั้น เราตั้งสมาธิกำหนดจิตในขณะนั้น โดยเพ่งที่ความรู้สึกใน “ตัวเรา” พิจารณาสุขเวทนา ทุกขเวทนา ความ ทรงจำ ความคิดคำนึงต่าง ๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงนี้เกิด ขึ้นกับสังขารทั้งปวง มีพวกท่านกี่คนที่ปรารถนาอย่างจริงจังทุกอันในสิ่งนี้ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน หรือนอน พิจารณาจากที่ได้เห็น ได้ยิน รู้รส รู้กลิ่น รู้สึกสัมผัสที่กาย และความนึกคิดที่เกิดขึ้นในใจ ความคิดที่เกี่ยวกับตัวเรานั้นไม่เที่ยง ความทรงจำ ความรู้สึกตัว ความคิดคำนึง ตัวเราเอง อารมณ์ สังขารทั้งหลายทั้งปวงล้วนแปรเปลี่ยน ในการทำสมาธิภาวนานั้น เราต้องจริงใจและจริงจัง องอาจกล้าหาญ ตั้งใจ สำรวจตรวจสอบ กล้ามองเข้าไปดูในชีวิต แม้ว่าบางสิ่งบางอย่างจะไม่น่าดู ไม่หลบหนี ไม่ทำเป็นลืม ในวิปัสสนากรรมฐานนั้น เราต้องพิจารณาทุกข์ มันเป็นเรื่องเผชิญหน้าเราอยู่ สิ่งที่เราคิดเกี่ยวกับตัวเราเอง ความทรงจำ อารมณ์ของเรา ไม่ว่าจะดีหรือเลวหรือเฉย ๆ ก็ตาม หรือจะพูดอีกนัยหนึ่ง ว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นและเรารู้ว่านี้คือทุกข์ ไม่ปฏิเสธ ไม่กักเก็บ ไม่ละเลย แต่จะถือโอกาสเข้าไปตรองสอบดูให้เข้าใจ

    ทุกข์คือครูของเรา เราจะต้องเรียนรู้ อาตมาประหลาดใจที่มีบาง คนบอกว่าเขาไม่เคยทุกข์เลย เขาคงคิดว่า “ชาวพุทธมัวพูดแต่เรื่องทุกข์ ตลอดเวลา มันเรื่องอะไรกัน ตัวฉันสิสนุกสนานโก้เก๋ตลอดเวลา ชีวิตนี้ตื่น เต้นน่าพิศวงไม่จบสิ้น” พวกเขาคิดในด้านเดียว ไม่ยอมรับความคิดอีก ด้านหนึ่ง เพราะถ้าความสนุกมันหายไปเขาก็เศร้า ความปรารถนาทะยาน อยากที่จะสนุกสนานสำราญใจแต่ประการเดียวจะนำไปสู่ปัญหามากมาย และความทุกข์ก็ไม่ใช่จะต้องเป็นเรื่องใหญ่โต เช่นเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย หรือคนที่เรารักต้องตายจากไป ทุกข์เกิดขึ้นได้กับสิ่งธรรมดา ๆ เช่นในอิริยาบถนั่ง ยืน เดิน นอน นี้เอง ไม่ใช่เรื่องพิสดารอะไร เราพิจารณาลมหายใจและความรู้สึกตัวตามปกติธรรมดา ความ รู้สึกสัมผัส ความจำ ความคำนึงธรรมดา ๆ นี้เอง ไม่ต้องไปไขว่คว้าสิ่งประ หลาดมหัศจรรย์อะไร เราไม่ไปเกี่ยวข้องกับความคาดคะเนในเรื่องจุดหมายปลายทางแห่งชีวิต เรื่องพระเจ้า เรื่องพระยามาร นรก สวรรค์ หรือ ตายแล้วจะไปไหน ในพุทธภาวนานั้น ท่านเพียงแต่สังเกตสิ่งที่อยู่ในปัจจุบันนี้เท่านั้น การเกิดการตายที่เป็นอยู่ทุกวัน เป็นการเริ่มต้นและการสิ้น สุดของสิ่งธรรมดา ๆ ทั้งหลายนั่นเอง

    ให้เราลองมองดูนรกในใจเมื่อเราโกรธ พอความโกรธเกิดขึ้น ร่างกายเร่าร้อนไปทั่ว ใจเต้นและเต็มไปด้วยความเคียดแค้นชิงชัง และ ลองพิเคราะห์สวรรค์ในอกของเราบ้าง จะรู้สึกเกษมสำราญ ใจเบา สบาย เป็นสุข เห็นแก่ของสวย ๆ งาม ๆ ในขณะนั้น หรือจะมองดูสภาพที่ใจมัน เฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ในการทำพุทธภาวนานั้น เราเพียงสังเกตสิ่งเหล่านี้ที่ เกิดขึ้นกับเรา

    เราพิเคราะห์ถึงความต้องการอำนาจ ที่สามารถบังคับคนอื่นได้ ความอยากเป็นคนดัง เป็นคนเหนือคน มีพวกท่านกี่คนที่เห็นคนอื่นเขา เก่งกว่าแล้วอยากจะกดเขาลงไป นั่นคือความริษยา ในการปฏิบัติของเรา นั้น ให้มองดูความอิจฉาริษยา ความเกลียดชัง และราคะตัณหา จิตของคน เรานั้นเปรียบเหมือนกระจกเงาที่สะท้อนภาพ แล้วเราก็เฝ้ามองภาพนั้นอยู่ เมื่อก่อนนี้เราถือว่าภาพนั้นเป็นของจริง และเราก็หลงใหลหรือรังเกียจมัน แต่ในการปฏิบัติของเรานั้น เราจะมองว่าภาพเหล่านี้เป็นเพียงสังขารที่ แปรเปลี่ยน ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน แต่หากว่าเราโง่ เราก็ไม่ล่มหัวจมท้าย อยู่ กับมัน

    ดังนั้นในการปฏิบัติของเรา เราจะมองภาพทั่วทั้งสากลพิภพที่ มันสะท้อนเข้ามาในใจของเรา ไม่สำคัญว่าใครจะเห็นอย่างไร นักปฏิบัติ ท่านหนึ่งอาจจะเห็นแสงสีสวยสดงดงามและภาพที่น่าพิศวง เห็นพระพุทธ เจ้า เห็นเทวดานางฟ้า ได้กลิ่นหอมและได้ยินเสียงสวรรค์ แล้วก็คิดว่า โอ! สมาธิภาวนานี่มันวิเศษอย่างนี้หนอ ! อีกคนหนึ่งนั่งซึมพึมพำว่านั่งมา นานตั้งชั่วโมงจนปวดเอวจะแย่อยู่แล้วไม่มีอะไรมาปรากฏให้เห็นบ้างเลย มานั่งทำไมก็ไม่รู้ เสียเวลาเปล่า ๆ ส่วนอีกคนหนึ่งอาจจะพูดออกมาว่า ฉัน รำคาญพวกชอบคิดบ้า ๆ เหล่านี้เต็มทนแล้ว จนเกิดความชิงชังขึ้นมาใน ใจ ฉันเกลียดไปหมดทุกอย่าง เกลียดพุทธศาสนาและเกลียดการทำสมาธิ

    คนสามจำพวกนี้ใครคือผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คนที่เห็นเทวดานาง ฟ้ามาฟ้อนรำ หรือคนที่นั่งซึมมีแต่ความเบื่อหน่าย หรือคนที่เอาแต่โมโห โกรธา เทวดาเต้นระบำก็ดี ความเบื่อหน่ายหรือความโกรธ ล้วนเป็นอนิจ จังทั้งสิ้น นักปฏิบัติที่ดีนั้น คือปฏิบัติถูกทางด้วยการมองดูความไม่เที่ยง แห่งสังขารทั้งหลายเหล่านี้

    ท่านมีคติอย่างไร ? ถ้าท่านเป็นคนมองในแง่ดีโดยตลอด รักผู้ คนที่อยู่ ณ ที่นี้ เชื่อฟังในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นจิตที่มีศรัทธาความเชื่อ จิตชนิดนี้สามารถสร้างภาพ หรือสิ่งที่ให้ความเกษมสำราญ ใจได้ง่าย ชาวนาในเมืองไทย พวกเขาด้อยการศึกษา อ่านเขียนไม่ได้ แต่ สามารถเห็นสวรรค์เห็นเทวดาได้และเชื่อเสียด้วย ถ้าท่านเชื่อว่ามีเทวดา ท่านก็จะเห็น เชื่อว่ามีสวรรค์ก็จะเห็นสวรรค์ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จ มาโปรด พระองค์ก็จะเสด็จมา เชื่อว่ามีผีมันก็จะมาหลอกท่าน เชื่อสิ่งใดสิ่ง นั้นก็จะเกิดขึ้นกับท่าน แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอนิจจังทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวตน

    ความเชื่อนั้นมีอยู่ ความสงสัยก็มีอยู่ แต่ในการปฏิบัติทางพุทธ ศาสนานั้น เราตรวจสอบทั้งความเชื่อและความสงสัยที่เกิดขึ้นในใจของเรา แล้วมองว่าทั้งสองประการนี้เป็นสภาวะที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ

    อาตมาลองพิจารณาความสงสัยในฐานะที่มันเป็นสัญญาณ ถาม ตัวเองว่า “ฉันเป็นใคร ?” ก็ได้คำตอบมาว่า “สุเมโธภิกขุ” แล้วคิดต่อ ไปอีกว่า นั่นไม่ใช่คำตอบที่แท้จริงและมองเห็นความดิ้นรนกระวนกระวาย ที่จะได้คำตอบ “ใครล่ะที่นั่งอยู่ตรงนี้ ? ตรงนี้? ตรงไหน? อะไรล่ะที่คิด? คิดอะไร?” เมื่อมีความสงสัยเกิดขึ้นอาตมาจึงมองความสงสัยนั้นในฐานะ ที่เป็นสัญญาณ เพราะจิตจะหยุดตรงนั้น แล้วความว่างจะเกิดขึ้นในจิต

    อาตมาใช้วิธีถามคำถามที่ตอบไม่ได้ แล้วเกิดความสงสัยนี้มา เป็นประโยชน์ในการทำให้จิตว่าง ความสงสัยเป็นสภาวะที่ไม่เที่ยง รูปแบบ ความรู้ ความไม่รู้ล้วนไม่เที่ยงทั้งสิ้น

    อาตมาทดลองกับเสียง ลองพิเคราะห์เสียงด้วยการตั้งคำถามว่า “ฟังด้วยตาได้ไหม ? ถ้าตัดหูและควักแก้วหูออกไปแล้วมันจะมีเสียง หรือไม่ ? จะเห็นและได้ยินเสียงพร้อมกันไปในเวลาเดียวกันได้ไหม ?” เมื่อมีคำพูดเกิดขึ้น ท่านได้ยินคำพูดนั้นว่าเป็นเสียง เกิดความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู แล้วเกิดความจำได้หมายรู้ และความรู้สึกชอบไม่ชอบหรือ เฉยๆ อันอายตนะทั้งภายนอกและภายในนั้นล้วนเป็นสังขารที่ไม่เที่ยง ทั้งสิ้น

    ความนึกคิดหรือมโนคติซึ่งเราถือว่าเป็นความจริงนั้น ต้องได้รับ การตรวจสอบและวิเคราะห์ดูว่า มันทำอะไรต่อจิต จงสังเกตดูความพอใจ และไม่พอใจ ดูว่าท่านมีอคติในเรื่องผิวและเชื้อชาติหรือไม่ ชายมีอคติต่อหญิง หญิงมีต่อชาย เหล่านี้ล้วนเกาะแน่นฝังลึกอยู่แล้วในธรรมชาติ แต่ใน สมาธิภาวนานั้น เพศหญิงหรือชายเป็นเพียงสมมุติบัญญัติ

    ดังนั้น ในวิปัสสนากรรมฐานเราจะต้องมองให้ทะลุเข้าไปในธรรมชาติอันแท้จริงของสภาวะทั้งปวง ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด การเห็นแจ้งจะ ทำลายภาพลวงตาที่เราเคยถือว่าเป็นของจริง สภาวะทั้งหลายอาจเกิดขึ้นได้ เราห้ามไม่ได้ เช่นดินฟ้าอากาศ ภาวะทางเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ภูมิหลังของพวกเรา แต่เราสามารถจะมองทะลุสภาวะเหล่านี้ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน นี้คือทางแห่งโลกุตตระ

    พระพุทธองค์ทรงเป็นบรมครู ทรงสอนให้เราเฝ้าสังเกตความไม่ เที่ยงของสังขารทั้งหลาย ไม่ให้ถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นจริง ถ้ายึดมั่นว่าเป็นจริง ก็จะเกิดปัญหามากมาย และเราก็จะเกิดกับอยู่ในสภาวะเหล่านี้ ถ้าไม่ยึด มั่นหมายมั่นก็จะไม่เป็นทุกข์

    เมื่อพูดอย่างนี้ คนก็จะถามว่า “แล้วเราจะอยู่ในสังคมนี้อย่างไร ถ้ามันไม่จริง ?” พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้ชัดเจน ในเรื่องสมมุติ สัจจะ กับ ปรมัตต์ ในระดับธรรมดา ๆ หรือสมมติบัญญัติ เราทำให้เกิด ความสามัคคีปรองดองกับในสังคมที่เราอยู่ คือประพฤติดี มีศีลธรรม มีสติ เคารพรักและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ดังนั้นคำสอนในพระพุทธศาสนาในระดับนี้ คือละความชั่วทำความดีทางกายและวาจา ไม่ใช่ปฏิเสธ สมมติบัญญัติโดยหาว่าเป็นภาพลวงตา เพราะความคิดเช่นนั้นก็เป็นเพียงความคิดอย่างหนึ่ง

    ในทางปฏิบัติของเรานั้น ความคิดก็คือความคิด แต่ในขณะนี้ให้ ระลึกรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จงอยู่อย่าง มีสติ และมีความตั้งใจมั่นอยู่กับสิ่งที่ทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใด จะนั่ง จะนอน หรือยืน เดิน ไม่ว่าจะเป็นใคร หญิงหรือชาย เป็นเลขานุการ หรือแม่บ้าน กรรมกรหรือนักบริหารธุรกิจ จงทำความเพียรและตั้งใจมั่น ละความชั่วทำความดี นี้คือวิธีที่ชาวพุทธดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน เขา จะไม่ถูกหลอกโดยภาพลวงตาของสังคม เพราะเขาจะตรวจสอบสากลพิภพ ด้วยการตรวจสอบจิตและกายของเขาเอง

    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_sumetho/lp-sumetho-11.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...