สัมมาทิฐิที่เยือกเย็น หลวงพ่อชา สุภัทโท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 25 กรกฎาคม 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    สัมมาทิฐิที่เยือกเย็น

    หลวงพ่อชา สุภัทโท

    วัดหนองป่าพง อำเภอ วารินชำราบ
    จังหวัด อุบลราชธานี


    บรรยายที่วัดป่านานาชาติ
    ให้แก่ที่ประชุมพระภิกษุและสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑


    การปฏิบัตินี้มันตรงกันข้ามกับจิต ของเรา จิตของเราที่มีกิเลส ตัณหาอยู่นั้น มันตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ฉะนั้นการปฏิบัติจึง เป็นเรื่องยุ่งยากอยู่สักนิด บางทีสิ่งที่เราเข้าใจว่าผิด แต่มันถูกก็มี สิ่ง ที่เราเข้าใจว่าถูก มันอาจจะผิดก็มี เพราะอะไร? เพราะจิตของเรามัน มืด ไม่รู้แจ้งตามเป็นจริงในสภาวะธรรมทั้งหลายนั้น จิตของเราเอาเป็นประมาณไม่ได้ เพราะจิตของเราไม่รู้ตาม ความเป็นจริง จึงเอาเป็นประมาณไม่ได้ การฟังธรรมะอย่างวันนี้ก็ เหมือนกัน บางคนก็ไม่อยากจะรับฟังเลย บางคนก็อยากจะรับฟัง อย่างนี้ไม่ใช่วิสัยของนักปราชญ์ ถ้าเป็นนักปราชญ์แล้วฟังธรรมได้ทุก อย่าง จึงว่าความคิดของเรานั้นเอาเป็นประมาณไม่ได้ เดี๋ยวชอบ อย่างนี้ เดี๋ยวไม่ชอบอย่างนั้น บางทีอย่างที่เราชอบใจมันผิดความจริง ก็มี ไม่เป็นธรรมก็มี หรือบางสิ่งที่เราไม่ชอบใจนั้น มันเป็นแท้จริงก็มี บางทีก็เหมือนกับคนไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องอะไรทุกสิ่งทุกอย่าง พอถูกคน โกหกเข้าก็เชื่อหมด เขาโกหกว่าอย่างนี้ถูก เราก็เชื่อ เพราะเรามันโง่ เขาชี้สิ่งที่ถูกว่าผิด เราก็เชื่อ เพราะอะไร? เพราะเรายังไม่เป็นตัวของ ตัว ไม่รู้ตามความเป็นจริงนั่นเอง


    เหมือนจิตของเราทุกวันนี้แหละ ถูกอารมณ์โกหกอยู่เรื่อย บางทีก็ชอบอย่างนั้น บางทีก็ไม่ชอบอย่างนี้ ถูกโกหกอยู่เรื่อย เพราะ เราไม่รู้ตามความเป็นจริงของมัน มันก็โกหกอยู่เรื่อยๆ ถ้าหากว่าเราผู้ ฟังธรรมก็ฟังธรรมไปเถิด ธรรมนั้นจะชอบใจเราหรือไม่ชอบใจ เราก็ ควรฟัง คนที่ฟังธรรมอย่างนี้ได้ประโยชน์ เพราะว่าความจริงที่พระ ท่านเทศน์ให้ฟัง หรือครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ฟังนั้น เราจะเชื่อก็ไม่ ได้ ไม่เชื่อก็ไม่ได้ เราต้องอยู่ครึ่งๆกลางๆนี้ ไม่ได้ประมาทว่าเชื่อหรือ ไม่เชื่อ เราก็ฟังของเราไป แล้วเอาไปพิจารณา ให้มันเกิดเหตุผลใน ทางที่ชอบขึ้นมา


    นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ควรเชื่อ ง่ายๆ ควรเอาไปพิจารณา ตริ ตรองดูเหตุผลก่อนจึงค่อยเชื่อ แม้จะพูดความจริงให้ฟังก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะอะไร? เพราะเรายังไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงนั้นด้วยตนเอง พวกเราทุกคนก็เหมือนกัน รวมทั้งผมเคยปฏิบัติมาก่อนท่าน ก็เคยถูก โกหกมาแล้วว่า การปฏิบัตินี้มันลำบากมากหลาย ทำไมมันจึงลำบาก ก็เพราะเราคิดไม่ถูกต้องนั่นเอง มันเป็นมิจฉาทิฐิ เราคิดไม่ถูก


    แต่ก่อนผมเคยอยู่กับพวกพระมาก ผมก็ไม่สบายรวนเร หนี ไปตามป่าตามเขา หนีจากพวก จากเพื่อน เห็นไปว่าภิกษุสามเณรก็ ไม่เหมือนใจเรา ปฏิบัติไม่เก่งเหมือนเรา มีความประมาท คนโน้นเป็น อย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น ก็เป็นเหตุอย่างหนึ่งให้เราวุ่นวาย เป็นเหตุ ให้หนีไปเรื่อยๆ ไปอยู่องค์เดียวก็มี สององค์ก็มี ก็ไม่มีความสบาย ไป อยู่องค์เดียวก็ไม่สบาย ไปอยู่หลายองค์ก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่เอกลาภ มากเยอะแยะก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่เอกลาภไม่มากไม่น้อยก็ไม่สบาย ความไม่สบายนี้ก็นึกว่ามันเป็นเพราะเพื่อน เป็นเพราะอารมณ์ เป็น เพราะที่อยู่ เป็นเพราะอาหาร เป็นเพราะอากาศ เป็นเพราะนั้น เป็น เพราะนี้ เราคิดว่ามันเป็นเช่นนั้น เราก็แสวงหาไปตามเรื่องของเรา เรื่อยๆ


    แต่ก่อนเป็นพระธุดงค์ ธุดงค์ไปแล้วก็ไม่สบาย ภาวนาไป พิจารณาไป ทำอย่างไรจึงจะสบายหนอ พิจารณาอยู่อย่างนี้ อยู่มาก คนก็ไม่สบาย อยู่อากาศเย็นก็ไม่สบาย อากาศร้อนก็ไม่สบาย เพราะ อะไรหนอ ไม่เห็นเสียแล้ว ทำไมมันจึงไม่สบาย? ก็เพราะมันเป็นมิจฉา ทิฐิ มีความเห็นผิด เพราะตัวเรานี้ยังยึดธรรมอันมีพิษอยู่นั่นเอง ไปอยู่ ที่ไหนก็ไม่สบาย ว่าตรงนั้นไม่ดี ตรงนี้ไม่ดีอยู่เรื่อยไป มันไปให้โทษคน อื่นเขา มันไปให้โทษอากาศ มันไปให้โทษความร้อน มันไปให้โทษ ความเย็น มันไปให้โทษทุกสารพัดอย่าง เหมือนกับหมาบ้า หมาบ้า มันทันอะไรมันก็กัด เพราะมันเป็นบ้า เป็นเช่นนี้แหละ


    ฉะนั้น เมื่อพวกเราทั้งหลายปฏิบัติ จึงมีจิตกระสับกระส่ายอยู่ เรื่อยไป วันนี้สบาย พรุ่งนี้ไม่สบาย มันก็เป็นของมันอยู่เช่นนี้เรื่อยไป ไม่ได้ความสบาย ไม่ได้ความสงบ มานึกถึงพระพุทธเจ้าท่านประทับ อยู่ที่แห่งหนึ่ง ประชุมภิกษุสงฆ์ตอนบ่าย ตอนเย็นมาท่านเห็นหมาป่า ตัวหนึ่งวิ่งออกมาจากป่า มายืนอยู่ แล้วก็วิ่งเข้าไปในพุ่มไม้ แล้วก็วิ่ง ออกมา แล้วก็วิ่งเข้าไปในโพรงไม้ เข้าไปอยู่ในโพรงไม้สักประเดี๋ยว ก็ วิ่งออกมา แล้วก็เข้าไปอยู่ในถ้ำ ประเดี๋ยวก็วิ่งออกมา เดี๋ยวก็ยืนอยู่ เดี๋ยวก็วิ่งไป เดี๋ยวก็นอน เดี๋ยวก็ลุก เพราะหมาป่าตัวนั้นเป็นขี้เรื้อน มันเป็นโรคเรื้อน ยืนอยู่ก็ถูกตัวเรื้อนมันไชกินเนื้อกินหนัง มันยืนอยู่ ประเดี๋ยวก็ไม่สบาย วิ่งไปไม่สบายก็หยุดอยู่ หยุดอยู่ไม่สบายก็นอน นอนก็ไม่สบายก็ลุกขึ้น ลุกขึ้นแล้วก็เข้าไปในพุ่มไม้ไปนอนอยู่ ประเดี๋ยวเดียวแล้วก็วิ่งหนี ว่าพุ่มไม้นั้นไม่ดี แล้วก็เข้าไปในโพรงไม้ สักพักหนึ่ง ตัวเรื้อนมันก็ใชก็กินเนื้อกินหนังมันอยู่เรื่อย แล้วก็ลุกไป อีก วิ่งเข้าไปในถ้ำ


    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านเห็นไหมว่าเมื่อ ตอนเย็นวันนี้ หมาป่าตัวหนึ่งมันเดินอยู่ที่นี่ เห็นไหม? มันจะยืนอยู่มัน ก็เป็นทุกข์ มันจะวิ่งไปมันก็เป็นทุกข์ มันจะนั่งอยู่ก็เป็นทุกข์ มันจะ นอนอยู่ก็เป็นทุกข์ มันจะเข้าไปอยู่ในพุ่มไม้ก็เป็นทุกข์ เข้าไปในโพรง ไม้มันก็เป็นทุกข์ จะเข้าไปอยู่ในถ้ำไม่สบาย มันก็เป็นทุกข์ เพราะมัน เห็นว่าการยืนอยู่นี้ไม่ดี การนั่งไม่ดี การนอนไม่ดี พุ่มไม้นี้ไม่ดี โพรงไม้ นี้ไม่ดี ถ้ำนี้ไม่ดี มันก็วิ่งอยู่ตลอดเวลานั้น ความเป็นจริงหมาป่าตัวนั้น มันเป็นขี้เรื้อน มันไม่ใช่เป็นเพราะพุ่มไม้ หรือโพรงไม้ หรือถ้ำ หรือการ ยืน การเดิน การนั่ง การนอน มันไม่สบายเพราะมันเป็นขี้เรื้อน


    พระภิกษุทั้งหลายนี้ก็เหมือนกัน ความไม่สบายนั้นคือความ เห็นผิดที่มีอยู่ ไปยึดธรรมที่มีพิษไว้มันก็เดือนร้อน ไม่สำรวมสังวร อินทรีย์ทั้งหลาย แล้วก็ไปโทษแต่สิ่งอื่น ไม่รู้เรื่องของเจ้าของเอง ไปอยู่ วัดหนองป่าพงก็ไม่สบาย ไปอยู่อเมริกาก็ไม่สบาย ไปอยู่กรุงลอนดอน ก็ไม่สบาย ไปอยู่วัดป่าบุ่งหวายก็ไม่สบาย ไปอยู่ทุกๆสาขาก็ไม่สบาย ที่ไหนก็ไม่สบาย นี่ก็คือความเห็นผิดนั้นยังมีอยู่ในตัวเรานั้นเอง มี ความเห็นผิด ยังไปยึดมั่นถือมั่นในธรรมอันมีพิษไว้ในใจของเราอยู่ อยู่ที่ไหนก็ไม่สบายทั้งนั้น นั่นคือเหมือนกันกับสุนัขนั้น ถ้าหากโรค เรื้อนมันหายแล้ว มันจะอยู่ที่ไหนมันก็สบาย อยู่ในกลางแจ้งมันก็ สบาย อยู่ในป่ามันก็สบาย อย่างนี้ ผมนึกอยู่บ่อยๆ แล้วผมก็นำมา สอนท่านทั้งหลายอยู่เรื่อย เพราะธรรมดาตรงนี้มันเป็นประโยชน์มาก พระภิกษุทั้งหลายนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าหากเรามารู้


    อารมณ์ตามความเป็นจริงเสียแล้ว มันก็สบาย จะมีความหนาวบ้าง มันก็สบาย อยู่ที่คนมากก็สบาย อยู่ที่คนน้อยก็สบาย ความสบายหรือ ไม่สบาย ไม่ได้อยู่ที่คนมากหรือน้อย มันอยู่ที่ความเห็นถูกเท่านั้น ถ้า มีความเห็นถูกขึ้นในใจของเราแล้ว อยู่ที่ไหนก็สบาย นี่ เพราะเรายังมีความเห็นผิดอยู่ ยึดธรรมอันมีพิษอยู่ แล้วมันก็ไม่สบาย ที่เรายึดอยู่อย่างนี้ก็เหมือนกับตัวหนอนนั่นแหละ ที่อยู่ของมันก็ สกปรก อาหารของมันก็สกปรก ที่อยู่และอาหารของมันไม่ดีทั้งนั้น มันไม่สมควร แต่ว่ามันสมควรกับหนอน ลองเอาไม้ไปเขี่ยมันออกจาก มูตรออกจากคูถดูสิ ตัวหนอนนั้นมันจะดิ้นกระเสือกกระสนไปทีเดียว มันจะดิ้นมาหากองคูถอย่างเก่า มันจึงจะสบาย อันนี้ก็เหมือนกันฉัน นั้น


    พระภิกษุสามเณรเราทั้งหลายนั้น ยังมีความเห็นผิดอยู่ ครูบา อาจารย์มาแนะนำให้เห็นถูก มันก็ไม่สบาย ใจมันวิ่งไปหากองคูถอยู่ เรื่อยๆ มันไม่สบาย เพราะตรงนั้นเป็นที่อยู่ของมัน เมื่อหนอนนั้นมัน ยังมองไม่เห็นความสกปรกอยู่ในที่นั้น เมื่อนั้นมันก็ออกไม่ได้ พวกเรา ทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าไม่เห็นโทษทั้งหลายในสิ่งเหล่านี้ มันก็ ออกไม่ได้ ปฏิบัติมันก็ยากลำบาก


    ฉะนั้น จงฟัง ไม่มีอันใดอื่น การปฏิบัตินั้นเรามีความเห็นถูก ต้องดีแล้ว ผมว่าอยู่ที่ไหนก็สบาย อันนี้ผมก็เคยปฏิบัติมาแล้ว เคยพบ มาแล้ว ถ้าหากมันยังไม่รู้จัก อย่างทุกวันนี้ มีพระภิกษุสามเณร มี ญาติโยม มีอะไรหลายๆอย่าง อย่างทุกวันนี้ผมก็ตายแล้ว ถ้ามันมี ความเห็นผิดอยู่มันก็ตายแล้ว ผมเห็นว่า ที่อยู่ของพระเรานั้น อยู่ที่มัน เยือกเย็น ก็คือความเห็นถูกต้องนั้นเอง เป็นสัมมาทิฐิ ถ้ามีความเห็น ถูกเห็นชอบแล้วมันก็สบาย มีความสงบ พวกเราทั้งหลายอย่าไปค้น อย่างอื่นเลย


    ฉะนั้น ถึงแม้ว่ามันจะทุกข์ก็ช่างมันเถอะ ทุกข์นั้นมันก็ไม่แน่ หรอก ใครว่าเห็นทุกข์ มันเป็นตัวไหม มันมีทุกข์เกิดขึ้นมา ตัวทุกข์คือ อะไร มีใครเห็นทุกข์ไหม เห็นตัวทุกข์ไหม เห็นมันจริงจังไหม ผมไม่ เห็นว่ามันจริงมันจังอะไร ทุกข์มันก็คือความรู้สึกวูบเดียว แล้วมันก็ หายไป แล้วสุขก็เหมือนกันฉันนั้น ตัวสุข สุขจริงๆ มันมีให้เห็นไหม ของจริงมีไหม มันก็สักแต่ว่าความรู้สึกวูบหนึ่ง แล้วมันก็หายไป เกิด แล้วมันก็ดับไป อย่างความรักของเราเกิดขึ้นมาวูบหนึ่ง แล้วมันก็หาย ไปอีก ตัวรัก ตัวเกลียด ตัวชังจริงๆไม่ว่ามันจะอยู่ที่ไหน ความเป็นจริง ก็คือมันไม่มีตัวไม่มีตน มันสักแต่ว่าอารมณ์เกิดขึ้นมาวูบหนึ่ง แล้วก็ หายไป มันหลอกลวงเราอยู่อย่างนี้เรื่อยๆไป เอาแน่ตรงไหนไม่ได้ ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งนั้นแหละ สักแต่ว่าความรู้สึกเกิดขึ้นมา สม กับคำที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่มีอะไร นอกนั้น มีทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ทุกข์นั้นก็ตั้งอยู่ เมื่อทุกข์ตั้งอยู่แล้วทุกข์ก็ดับไป ทุกข์ดับไปแล้วสุขเกิด ขึ้นมา แล้วสุขก็ตั้งอยู่ เมื่อสุขตั้งอยู่แล้วสุขก็ดับไป เมื่อสุขดับไปแล้ว ทุกข์เกิดขึ้นมา เกิดขึ้นแล้วทุกข์ก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ผลที่สุดก็ มารวมเป็นอันเดียวว่า นอกจากทุกข์นี้เกิด นอกจากทุกข์นี้ตั้งอยู่ นอก จากทุกข์นี้ดับไปแล้ว ไม่มีอะไร มีแต่เท่านี้ ไม่มีอะไรอื่นนอกจากนี้ มัน มีเท่านี้ๆ


    แต่เราก็เป็นคนหลงวิ่งตะครุบมัน เรื่อยไป ก็ไม่พบความจริงว่า อันนี้มันเป็นความจริงไหม มันก็ไม่จริงอีกแล้ว อันนั้นมันจริงไหม ก็ไม่ จริงอีกนั้นแหละ มันเปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยนของมันอยู่อย่างนั้น ถ้ามา พิจารณาแล้วก็ไม่ควรวิ่งไปกับมัน ฉะนั้น เมื่อเรารู้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ แล้ว ก็ไม่ใช่เป็นคนคิดมาก แต่เป็นคนมีปัญญามาก ถ้าเราไม่รู้จักมัน มันก็คิดมากกว่าปัญญา บางทีปัญญาไม่มีเลย มีแต่ความคิด ความ คิดมากแต่ปัญญาไม่มี ก็ยิ่งทุกข์มาก มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ อะไรทุกสิ่งทุกอย่างถ้าเราเห็นโทษจริงๆแล้ว เราจึงถอนตัวออกมาได้ ถ้าเราไม่เห็นโทษจริงๆแล้ว เราก็ถอนตัวออกมาไม่ได้ ทุกอย่างนั้น แหละ อาการอันใดที่เราไม่เห็นประโยชน์จริงๆแล้ว มันก็ทำไม่ได้ ถ้า เราเห็นประโยชน์มันจริงจังแล้ว เราก็ทำได้เป็นของไม่ยากฉันนั้น อันนี้ พูดเรื่องเฉพาะในหลักบริหารจิต เราทุกคนก็ให้ทำใจให้ดี ทำใจให้อด ทน


    เปรียบเสมือนหนึ่งว่า เราตัดไม้สักท่อนหนึ่ง เอาทิ้งลงใน คลอง แล้วมันก็ไหลไปตามน้ำในคลองนั้น ถ้าท่อนไม้ท่อนนั้นมันไม่ผุ ไม่เน่า ไม่พัง มันไม่ติดอยู่ฝั่งโน้นฝั่งนี้ มันก็ไหลไปตาม คลองอยู่เรื่อยไป ผมเชื่อแน่ว่าจะถึงทะเลใหญ่เป็นที่สุด อันนี้ก็เหมือน กันฉันนั้น พวกท่านทั้งหลายประพฤติปฏิบัติ ตามแนวทางของสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราแล้ว เดินไปตามมรรคที่พระองค์ทรง สอน เดินไปตามกระแสให้มันถูกต้อง ให้มันพ้นจากสิ่งทั้งสอง สิ่งทั้ง สองอย่างนั้นคืออะไร คือสองข้างทางที่พระพุทธเจ้าของเราตรัส อันไม่ ใช่ทางของสมณะที่จะคิดไป ที่จะเอาจริงเอาจังกับสิ่งทั้งหลายเหล่า นั้น คือกามสุขัลลิกานุโยโคประการหนึ่ง กับอัตตกิลมถานุโยโคอีก ประการหนึ่ง อันนี้แหละเรียกว่า ฝั่ง ฝั่งทั้งสองข้าง ฝั่งของคลอง ของ แม่น้ำ ท่อนไม้ที่ปล่อยไปตามคลอง ตามกระแสน้ำ ก็คือจิตของเรา ที่กล่าวมาเมื่อกี้นี้ว่า ที่ว่าท่อนไม้เมื่อไม่ติดอยู่ฝั่งโน้น ไม่ติด อยู่ฝั่งนี้ แล้วท่อนไม้ท่อนนั้น มันไม่ผุไม่พัง ที่สุดของท่อนไม้นั้นมันก็ ไหลลงทะเล ถ้ามันไปติดอยู่ฝั่งโน้น หรือฝั่งนี้ หรือมันไปผุไปพังเสีย แล้ว มันก็ไปไม่ถึงทะเลใหญ่


    จิตใจของพวกท่านทั้งหลายนี้ พวกเราทั้งหลาย ผู้ประพฤติ ปฏิบัตินี้ก็ดี ฝั่งคลองก็คือความชัง หรือความรัก หรือฝั่งหนึ่งก็คือสุข อีกฝั่งหนึ่งก็คือทุกข์ ท่อนไม้ก็คือจิตของเรานี้เอง มันจะไหลไปตาม กระแสแห่งน้ำ มันจะมีความสุขเกิดขึ้นมากระทบ มันจะมีความทุกข์ เกิดขึ้นมากระทบอยู่บ่อยครั้ง ถ้าจิตใจของเราถึงกระแสแห่งพระ นิพพาน คือความสงบระงับ ให้เราเห็นว่าเมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ทุกข์ นั้นก็ดับไป สุขเกิดขึ้นมา สุขนั้นก็ดับไป นอกเหนือนี้ไม่มีแล้ว มันก็ เป็นอย่างนี้


    ถ้าเราไม่ไปติดในความรัก ไม่ติดความชัง ไม่ติดในความสุข ไม่ติดในความทุกข์ เท่านั้นก็เรียกว่า เราเดินตามกระแสธรรมของ สมณะ ที่เราปฏิบัติสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ อันเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้า เจริญมาแล้ว ถูกมาแล้ว พบมาแล้ว ท่านจึงได้มาสอนเราให้เห็นความ รัก ให้เห็นความชัง ให้เห็นความสุข ให้เห็นความทุกข์ ว่ามันเป็นธรรม ทิฐิ ธรรมนิยาม มันตั้งของมันอยู่อย่างนั้น มันก็เป็นของมันอยู่อย่าง นั้น เป็นอยู่ตลอดกาล มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น

    แต่ว่าเมื่อจิตของผู้ฉลาดแล้ว ไม่ตามไปส่งเสริมมัน ไม่ตามไป เยินยอมัน ไม่ตามไปยึดมั่นมัน ไม่ตามไปถือมั่นมัน มันก็มีจิตอัน ปล่อยวาง ทำไปเท่านั้นแหละ ให้สม่ำเสมอ มันก็เป็นสัมมาปฏิปทา เป็นสัมมาปฏิบัติถูกทาง เหมือนท่อนไม้ที่ปล่อยไปตามกระแสน้ำ มัน ไม่ติดอยู่ฝั่งโน้น และไม่ติดอยู่ฝั่งนี้ มันไม่ผุไม่พัง มันไม่เน่า มันก็ถึง ทะเลจนได้ เราทำ เราประพฤติปฏิบัติ ถ้าเว้นจากทางทั้งสองอย่าง แล้ว คือกามสุขัลลิกานุโยโค และอัตตกิลมถานุโยโค มันก็ถึงความ สงบแน่นอนไม่ต้องสงสัย อันนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนั้น


    http://www.dharma-gateway.com/monk/p.../lp-cha_30.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...