สังขารขันธ์ เป็นอัตตารึอนัตตา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 15 พฤศจิกายน 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 2mm; MARGIN-BOTTOM: 2mm; MARGIN-LEFT: 0px; LINE-HEIGHT: 1.8; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'" borderColorDark=#79052c width="100%" align=center borderColorLight=#804000 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=617 height=33>
    </TD><TD vAlign=bottom align=right width=277 height=33>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สังขารขันธ์หรือบางทีก็เรียกกันย่อๆว่าสังขาร ย่อมเป็นสังขารที่หมายถึงสิ่งปรุงแต่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยในพระไตรลักษณ์ด้วย
    สังขารที่กล่าวในคราวนี้ หมายถึง สังขารขันธ์หรือสังขารในขันธ์ ๕ ซึ่งย่อมมีความหมายถึงสิ่งปรุงแต่งที่เฉพาะตัวลงไปบ้าง กล่าวคือ
    สังขารขันธ์ - สภาพที่ปรุงแต่งทางใจให้เกิดการกระทำต่างๆ(กรรม)ขึ้น, เจตนาที่แต่งกรรม หรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างด้วยกัน คือ
    ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา หรือการกระทำทางกาย
    ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา หรือการกระทำทางวาจา
    ๓. จิตตสังขาร หรือมโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา หรือการกระทำทางใจ

    สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา จึงย่อมครอบคลุมถึงขันธ์ ๕ ทั้ง รูป เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ วิญญาณด้วย จึงล้วนเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา ด้วยทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่ได้อ่านได้ยินอยู่เสมอๆ แม้จะกล่าวยืนยันดังนั้น ก็ยังมีการเข้าใจผิดดังมีกล่าวไว้แม้ในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับผู้มีมิจฉาทิฏฐิในเรื่องนี้ เป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันมากปัญหาหนึ่ง และทำความเข้าใจได้ยาก ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือไขว้เขวกันมาช้านาน อันจักยังให้ทำความเข้าใจในพระไตรลักษณ์, ขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทอย่างโลกุตระหรืออย่างปรมัตถ์ได้ยาก
    รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น อนัตตา
    กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร?
    (พระสูตร ว่าด้วยกรรมที่อนัตตากระทำจะถูกต้องอัตตา)
    ดังที่มีการตีความกันไปตามตำรา หรือแม้กล่าวตู่อ้างพุทธพจน์กันไปดังว่า สังขารเป็นอนัตตา ดังนั้นการกระทำทั้งปวงหรือสังขารขันธ์ที่ได้กระทำอะไรลงไปก็ตามที เมื่อถือว่าไม่ใช่อัตตาไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ของตนแล้ว ดังนั้นการกระทำต่างๆนั้นจึงถือว่าไม่ใช่อัตตาตัวตนเป็นผู้กระทำเสียแล้ว การกระทำอะไรๆจึงไม่ใช่ตัวตนเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น ดังนั้นผลของการกระทำก็ย่อมเป็นเฉกเช่นเดียวกัน นั่นคือ ผลของกรรมหรือวิบากของกรรมจึงย่อมไม่ใช่ของตัวของตน เช่นกัน จึงไม่ต้องรับผลกรรม จึงไม่เป็นบาป เพราะเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ใช่ของตัวของตน ตนจึงไม่ใช่ผู้กระทำ ตนจึงไม่ต้องรับผลของการกระทำชั่วนั้นๆ กล่าวสรุปโดยย่อคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั้นไม่มีจริง หรือวิบากของกรรมไม่มี นั่นเอง
    สิ่งนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิความเข้าใจผิดขั้นรุนแรง ที่มีมาช้านานตั้งแต่พุทธกาล ดังที่กล่าวไว้ในพระสูตรข้างต้น ที่กล่าวไว้ว่า ต่อไปคงมีผู้กล่าวตู่อ้างว่าเป็นสัตถุศาสน์ จึงควรทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องเสีย เพราะมีความสำคัญที่ไปเนื่องกับการเจริญวิปัสสนาให้ก้าวหน้าโดยเฉพาะในพระไตรลักษณ์ และขันธ์ ๕ เป็นอย่างยิ่ง
    สังขารขันธ์เป็นอนัตตา สังขารขันธ์ไม่ใช่อัตตา ดังสามารถพิจารณาได้จากความเกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัย และยังมีแสดงในพระสูตร เป็นดังนี้อยู่เนืองๆ
    [๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน(หมายถึงชีวิตหรือขันธ์) อย่างไร
    คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
    ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
    ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง.....ฯลฯ.
    กล่าวถึง ขันธ์ต่างๆ ตั้งแต่รูปหรือรูปขันธ์ เป็นลำดับแรก จนถึงสังขารอันคือสังขารขันธ์ ดังต่อไปนี้)
    ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง.....ฯลฯ.
    ความหมายที่ถูกต้องจึงมีดังนี้ สังขารขันธ์เป็นอนัตตา หรือสังขารขันธ์ไม่ใช่อัตตา นั้นจริงอยู่ แต่มีความหมายที่ถูกต้องว่า สิ่งปรุงแต่งคือการกระทำไม่ใช่ตัวตนหรือของตัวตน เพราะอัตตาหรือตัวตนมิได้บังคับบัญชาการกระทำต่างๆ(สังขารขันธ์) เพราะสังขารขันธ์เกิดขึ้นแต่ขันธ์อื่นๆอีก ๔ ขันธ์ มาเป็นเหตุปัจจัยกัน มาปรุงแต่งกัน จึงขึ้นอยู่หรืออิงอยู่กับเหตุทั้ง ๔ อันคือขันธ์ทั้ง ๔ ที่มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกัน จึงเกิดการกระทำต่างๆนาๆทั้งทางกายบ้าง วาจาบ้าง ใจบ้าง เป็นไปดังกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ โดยทั่วๆไปดังนี้
    อายตนะภายนอก [​IMG] อายตนะภายใน [​IMG] วิญญาณ๖ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์ทางกาย วาจา ใจ
    จึงเกิดความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นมาแต่อวิชชาเป็นเหตุ จึงเกิดมายาของจิต ที่พาให้ไปหลงคิดหลงยึดหลงเชื่อโดยไม่รู้ตัวเอาว่า อัตตาตัวตนเป็นผู้บงการบังคับบัญชารูป หรือรูปขันธ์ หรือกองร่างกาย ให้ลงมือกระทำการต่างๆขึ้นทางกาย วาจา หรือใจ, จากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ข้างต้น จึงพอชี้แจงจำแนกแจกแจงให้เห็นได้ว่า การกระทำหรือสังขารขันธ์นั้น เกิดขึ้นแต่ขันธ์ต่างๆมาเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันข้างต้น ถ้าขาดเหตุปัจจัยดังข้างต้นเสีย ก็ย่อมไม่สามารถเกิดสังขารหรือสังขารขันธ์ต่างๆได้เลย และยังเนื่องสัมพันธ์กับอารมณ์ต่างๆหรืออายตนะภายนอกอีกด้วย ส่วนอายตนะภายในนั้นก็คือส่วนหนึ่งของรูปหรือรูปขันธ์นั่นเอง ดังนั้นสังขารขันธ์หรือการกระทำต่างๆจริงๆแล้วเกิดแต่เหตุปัจจัยดังข้างต้น จึงย่อมไม่ใช่อัตตาหรือตัวตน อัตตาจึงบังคับบัญชาไม่ได้อย่างที่คิดแต่อย่างใด จึงเป็นความเข้าใจผิดโดยแท้อันเกิดแต่อวิชชา
    ส่วนความคิดความเห็นที่ว่า เมื่อกรรม(การกระทำ)ที่อนัตตากระทำ จะถูกต้องอัตตาตัวตนได้อย่างไร นั้นพระองค์ท่านได้กล่าวไว้แล้วว่า อีกหน่อยคงมีผู้กล่าวตู่ว่าพระองค์ท่านสอนไว้ดังนั้น ความจริงแล้วคำถามหรือทิฏฐิในเรื่องนี้นั้น ไม่ถูกต้องแต่แรกแล้ว กล่าวคือ กรรมที่อนัตตากระทำ เป็นปรมัตถ์ และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา แล้วจะมีอัตตาตัวตนที่ไหนมาให้กระทบ!
    แล้วกรรมที่อนัตตากระทำ มีผลไหม?
    ลองพิจารณาหาคำตอบดูดังนี้ ลูกบอลล์ ย่อมเป็นสังขารที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง จึงย่อมเป็นอนัตตา, กำแพงก็เป็นสังขารอีกอย่างหนึ่ง จึงย่อมเป็นอนัตตาเช่นกัน, การกระทำต่างๆก็ย่อมเป็นอนัตตา การปาลูกบอลล์ใส่กำแพง ย่อมเกิดแรงปฏิกริยาสะท้อนกลับได้ ฉันใด, กรรมอันแม้อนัตตากระทำต่อสิ่งใดนั้น ก็เกิดวิบากของกรรม หรือปฏิกริยาสะท้อนกลับของกรรมหรือการกระทำนั้นๆได้ ฉันนั้นแล
    เพียงแต่ว่าวิบากของกรรม มิได้เป็นไปในลักษณะดังเช่น ๑ + ๑ = ๒ เป็นสูตรตายตัว ดังนั้น ดังนี้ แน่นอน ที่ย่อมยังอิงอยู่กับเหตุปัจจัยอื่นๆ อันมาประกอบอีกมากมาย วิบากของกรรมจึงไม่สามารถทำนายหรือพยากรณ์ได้ ดังที่พระองค์ท่านจัดไว้ว่าเป็น อจินไตย อันเป็นสิ่งที่ไม่ควรไปยุ่งหรือไปคิดให้เป็นบ้าไปเสียเปล่า เป็นพระดำรัสที่ตรัสไว้ในอจินติตสูตร

    จริงๆ แล้วคำถามนี้เป็นคำถามที่ไม่ถูกต้องเสียแล้วตั้งแต่แรก เหตุเพราะความจริงก็คือ
    ธรรมทั้งปวงล้วนอนัตตา แล้วจะมากระทบอัตตาที่ไหนเล่า!

    [​IMG]
    สังขารขันธ์
    สังขารขันธ์ สภาพที่ปรุงแต่งทางใจให้เกิดกรรม(การกระทำ)ทางกาย วาจา ใจ
    สังขารขันธ์ ยังมีความหมายอีกอย่างว่า สภาพที่ปรุงแต่งชีวิต นั่นเอง
    สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ เช่นกัน คือ
    ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่
    อัสสาสะคือลมหายใจเข้า ปัสสาสะคือลมหายใจออก, พระองค์ท่านจึงจัดอานาปานสติ ที่ใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นวิตกหรืออารมณ์ว่าเป็น กายานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔
    ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่
    วิตกและวิจาร กล่าวคือ ย่อมมีการคิด ตริตรึก และตรอง จึงเกิดวาจาการพูดขึ้น
    ๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่
    สัญญาและเวทนา กล่าวคือ สัญญาหรือความจำได้หมายรู้ และเวทนาหรือความรู้สึก เป็นเหตุปรุงแต่งจิตสังขารเช่นความคิดต่างๆหรือธรรมารมณ์ขึ้น นั่นเอง
    ข้อมูลจากเวบ
     

แชร์หน้านี้

Loading...