สวรรค์ นรก บุญ บาปในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 15 ธันวาคม 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [FONT=&quot] วศิน อินทสระ[/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot] โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวด ชีวิตกับธรรมะ กระทู้[/FONT] [FONT=&quot]14593 โดย: mayrin 07 เม.ย. 48[/FONT]
    [FONT=&quot] ความเบื้องต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ปัญหาสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นที่สนใจของคนทั่วไปทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก นั่นคือปัญหาเรื่องนรก สวรรค์ ผี เทวดา มีจริง หรือไม่ อย่างไร[/FONT][FONT=&quot]?[/FONT]
    [FONT=&quot]ผู้สอนวิชาศีลธรรมในโรงเรียนไม่ว่าระดับไหน มักได้รับคำถามเรื่องผี เทวดา นรก สวรรค์อยู่เนืองๆ ทั้งนี้รวมทั้งพระสงฆ์ และอนุศาสนาจารย์ ผู้สอนศาสนาอีกด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]ต่อคำถามดังกล่าว บางท่านก็ปฏิเสธไปเลยว่าไม่มี ถ้ามีก็เป็นสวรรค์ในอก นรกในใจของเรา เทวดาและสัตว์ดิรัจฉานก็อยู่ในตัวคนอยู่แล้ว บางท่านก็แบ่งรับแบ่งสู้ ไม่แน่ใจ บางท่านยืนยันแข็งขันว่า นรกสวรรค์ในโลกหน้ามีจริง เทวดามี ผีมี[/FONT]
    [FONT=&quot] ยังมีบุคคลอีกพวกหนึ่งเห็นว่าไร้ประโยชน์ที่จะพูดเรื่องนรกสวรรค์ผีสางเทวดา เพราะไม่มีใครเห็นนรกสวรรค์ จะมีหรือไม่มีก็ไม่สำคัญ ไม่ควรเสียเวลาไปสืบหาความจริงในเรื่องนี้ ควรสนใจแต่เรื่องปัจจุบันเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ข้าพเจ้าเห็นว่าเรื่องนรกสวรรค์ เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ที่มีความสำคัญมิใช่น้อย ไม่ควรตัดออกเสีย เพราะความเชื่อในเรื่องนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของจริยธรรมหรือศีลธรรม ทั้งส่วนบุคคลและสังคม[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องนรกสวรรค์ มีความสัมพันธ์อย่างแยกกันไม่ออกกับเรื่องหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด[/FONT][FONT=&quot] ตามหลักพระพุทธศาสนา สัตว์ย่อมเกิดในกำเนิด ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งคือ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เกิดในฟองไข่ (อัณฑชโยนิ)[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เกิดในครรภ์ (ชลาพุชโยนิ)[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เกิดในของโสโครก (สังเสทชโยนิ)[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เกิดขึ้นเองเติบโตทันที (โอปปาติกโยนิ)[/FONT]
    [FONT=&quot]พวกแรก เช่นเป็ด ไก่และนกเป็นต้น พวกที่สอง เช่นคนและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม พวกที่สาม เช่นหนอนและสัตว์อื่นที่เกิดในปลาเน่า ซากศพเน่า ขนมบูดเน่า หรือในหลุมบ่อที่สกปรก พวกที่สี่ เช่น พวกเทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางประเภท วินิบาตบางประเภท[/FONT]
    [FONT=&quot]โดยนัยนี้แสดงว่าเทวดามี เมื่อเทวดามี สวรรค์ก็ต้องมี เพราะสวรรค์มีความสัมพันธ์อย่างแยกกันไม่ได้กับเทวดา เหมือนมนุษย์กับโลกมนุษย์ฉะนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]การไม่เชื่อเรื่องโอปปาติกะกำเนิดนั้น พระพุทธเจ้าทรงถือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ดังข้อความในอปัณณกสูตร ดังนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]"ดูก่อนคหบดี สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ การให้ทานไม่มีผล, การบูชาไม่มีผล, การเคารพบูชาไม่มีผล, ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี,[/FONT]
    [FONT=&quot]โลกนี้ไม่มี[/FONT][FONT=&quot], โลกอื่นหรือโลกหน้าไม่มี, คุณของมารดาบิดาไม่มี, สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แทงทะลุปรุโปร่งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยอภิญญาได้เองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ด้วยไม่มี[/FONT]
    [FONT=&quot]"สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรม ยึดปฏิบัติในอกุศลธรรม ปรโลกมีอยู่แท้ๆ เขาเห็นว่าไม่มี ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ[/FONT]
    [FONT=&quot]ปรโลกมีอยู่แท้ๆ เขาคิดว่าไม่มี ความคิดของเขาเป็นมิจฉาสังกัปปะ ปรโลกมีอยู่แท้ๆ เขาพูดว่าไม่มี คำพูดของเขาเป็นมิจฉาวาจา[/FONT]
    [FONT=&quot]"อนึ่ง พระอรหันต์ทั้งหลายยอมรับว่า ปรโลกมีอยู่ ผู้ที่ถือว่าปรโลกไม่มี จึงชื่อว่ามีความเห็นเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ เมื่อบุคคลผู้เชื่อว่า ปรโลกไม่มี และสอนให้ผู้อื่นเชื่อตาม ถือเอาตาม[/FONT]
    [FONT=&quot]ชื่อว่าประกาศอสัทธรรม [/FONT] [FONT=&quot](ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมเลว) เมื่อมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว"[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่กล่าวนี้ไม่ใช่เอาตำรามาขู่คนที่ไม่เชื่อ แต่เห็นว่าเมื่อกล่าวโดยหลักฐานแล้ว พระพุทธศาสนายอมรับเรื่องนรกสวรรค์เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนาในซีกที่เป็นโลกียะ หรือส่วนที่ยังเกี่ยวข้องด้วยการเวียนว่ายตายเกิด[/FONT]
    [FONT=&quot]กล่าวถึงเทพ ตำราทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งเทพไว้ ๓ พวกคือ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. สมมติเทพ หมายถึงพระราชา พระราชินี หรือพระราชโอรส ราชธิดา เป็นเทพโดยสมมติ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. อุปปัตติเทพ หมายถึงเทวดาโดยกำเนิด คือท่านผู้ทำความดีไว้เมื่อมนุษย์ตายแล้วเกิดเป็นเทวดา[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. วิสุทธิเทพ หมายถึงเทพโดยความบริสุทธิ์ คือพระอรหันต์ทั้งหลาย[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเราไม่เชื่อเรื่องเทวดา เทพประการที่ ๒ คืออุปปัตติเทพก็ต้องตัดออก และเราต้องตัดคำสอนของพระพุทธศาสนาออกอีกมากมาย[/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนในเทวทูตสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเรื่องนรกแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ละเอียดพอสมควร แม้เรื่องเทวดาก็ทรงแสดงไว้ในที่ใกล้เคียงกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]นอกจากนี้ พระสูตรที่แสดงว่าพระองค์ได้เห็นเทวดา สนทนากับเทวดาก็มีอยู่มากหลาย เช่นที่ตรัสกับพระอนุรุทธเถระ และภิกษุสหายอีก ๒ รูป คือท่านนันทิยะและกิมพิละ ว่าทรงเห็นกายทิพย์แม้ในขณะที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ตอนที่ทรงทำสมาธิหรือบำเพ็ญเพียรทางจิตอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot]พูดกันตามความเป็นจริงแล้ว ความเชื่อเรื่องสวรรค์นรก หรือตายแล้วเกิดนั้นไม่เห็นเสียหายอะไรเลย มีแต่ผลดีกับผู้เชื่อ ส่วนผู้ไม่เชื่อซิ มีแต่ทางขาดทุน[/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]. นรกสวรรค์[FONT=&quot] ๓ ประเภท[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]เพื่อให้ทรรศนะเกี่ยวกับนรกสวรรค์กว้างออกไป ขอกล่าวถึงนรกสวรรค์ ๓ ประเภท คือ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. นรกสวรรค์ในโลกมนุษย์ เท่าที่มนุษย์พอจะเห็นได้ด้วยตาธรรมดา ตัวอย่างเช่น มนุษย์ที่อยู่อย่างลำบากแร้นแค้นไร้ความเจริญไปเกิดในภูมิอากาศที่ร้อนเกินไป หนาวเกินไป เป็นอยู่ลำบาก[/FONT]
    [FONT=&quot]หรือมนุษย์ที่ขาดแคลนอาหารเสื้อผ้า อยู่อย่างอดอยากแร้นแค้น พิกลพิการ หาความสุขในชีวิตไม่ได้ อย่างนี้เหมือนตกนรกหรืออยู่ในนรก[/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนมนุษย์บางพวกมีร่างกายสมบูรณ์ มีทรัพย์สมบัติมาก อุดมด้วยเสื้อผ้าอาหารที่อยู่อาศัย ผิวพรรณดี มีความสุขความสบาย อย่างนี้ จัดเป็นสวรรค์ในโลกมนุษย์[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. สวรรค์ในอกนรกในใจ เมื่อใดใจมีความสุข เมื่อนั้นเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ เมื่อใดใจเป็นทุกข์เร่าร้อนคับแค้นใจ เมื่อนั้นตกนรก-นรกในใจ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. สวรรค์นรกจริง ๆ ซึ่งมีอยู่อีกโลกหนึ่ง มนุษย์จะสัมผัสกับนรกสวรรค์ประเภทนี้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโลกทิพย์ ซึ่งมีสภาวะแวดล้อมและชีวิตแตกต่างจากโลกมนุษย์มาก ละเอียดกว่า สุขกว่า และทุกข์กว่าสุขกว่าในโลกมนุษย์หลายร้อยหลายพันเท่า[/FONT]
    [FONT=&quot]คนส่วนมากเชื่อสวรรค์นรก ๒ ประเภทแรก ปฏิเสธสวรรค์นรกประเภทที่ ๓ ซึ่งเป็นสวรรค์นรกที่สำคัญที่สุดและมีอยู่จริง พวกเทพหรือสัตว์นรกในโลกทิพย์นี้ จะใช้ชีวิตอยู่เป็นระยะเวลาเป็นพันปี หมื่นปีหรือถึงแสนปี[/FONT][FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]. เหตุผลของฝ่ายไม่เชื่อและฝ่ายเชื่อ[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าจะตั้งปัญหาให้ฝ่ายไม่เชื่อตอบบ้างว่า ที่เขาไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ในโลกหน้านั้นเขามีเหตุผลอะไร[/FONT][FONT=&quot]? หรือเขาพิสูจน์ได้อย่างไรว่า นรกสวรรค์ในโลกหน้าไม่มี ? ส่วนมากจะตอบว่าเพราะไม่เห็น ไม่รู้ และไม่มีใครพิสูจน์ให้เห็นได้[/FONT]
    [FONT=&quot]พิจารณาดูคำตอบของฝ่ายไม่เชื่อแล้ว รู้สึกว่าค่อนข้างจะหละหลวมสักหน่อย เพราะยกเอาข้อที่ตนไม่เห็นไม่รู้และใครพิสูจน์ให้ตนเห็นไม่ได้ มาเป็นข้ออ้างสนับสนุนความไม่เชื่อของตน ถ้าอย่างนั้นมีเรื่องราวอยู่เป็นอันมากที่เขาไม่เห็นไม่รู้และใครพิสูจน์ให้เขาดูไม่ได้ เขาก็ควรปฏิเสธสิ่งเหล่านั้นเสียด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] ตัวอย่างเช่นบรรพบุรุษของเขาแม้เพียงชั้นทวดก็มีน้อยคนนักที่จะได้เห็นด้วยตนเอง บางคนแม้ปู่ย่าตายายของตน ตนก็ไม่ได้เห็นเพราะท่านตายเสียก่อนที่เขาจะได้เห็น และใครก็พิสูจน์ให้ดู ให้เห็นไม่ได้ด้วย พ่อแม่ที่ได้เห็นเล่าให้ฟังว่าปู่ย่าเป็นอย่างนั้น ตายาย เป็นอย่างนี้ ทำไมจึงเชื่อว่าท่านเคยมีอยู่จริง[/FONT]
    [FONT=&quot]แม้บุคคลในประวัติศาสตร์ [/FONT] [FONT=&quot] ซึ่งเราต้องเรียนประวัติ และผลงานข้อดีข้อเสียของท่าน เราไม่ได้เห็นท่าน เพียงแต่เชื่อตาม ๆ กันมาว่าท่านเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ทำไมเราจึงไม่ปฏิเสธเสียด้วย ตรงกันข้าม เราตั้งหน้าตั้งตาเรียนกัน ท่องเหตุการณ์กันจนสมองหนักอึ้ง มีหลักสูตรให้เรียนจนถึงปริญญาเอก เราเชื่อตำราใช่หรือไม่? ครูผู้สอนบรรยายก็ไม่เคยเห็นท่านเหล่านั้น หรือเหตุการณ์นั้น ๆ แต่เราก็เชื่อท่าน[/FONT]
    [FONT=&quot]บรรดาผู้ที่น่าเชื่อทั้งหลาย พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นผู้ที่น่าเชื่อที่สุดเพราะท่านเป็นผู้สิ้นกิเลส มีญาณทรรศนะ [/FONT] [FONT=&quot](Knowing and Seeing) อันหมดจดไม่มีมารยาสาไถย ไม่มีการพูดเพื่อผลประโยชน์ของตน ท่านเพียงแต่เปิดเผยความเป็นจริงที่ท่านได้รู้ได้เห็นมาเท่านั้น ท่านตรัสบอกและบอกไว้ว่านรกสวรรค์มี เทวดาหรือพวกกายทิพย์มี[/FONT]
    [FONT=&quot]แม้เราจะยังไม่เห็นเอง แต่เชื่อท่านไว้ก็ดูไม่เสียหายอะไร มีแต่ผลดีแก่ตัวเราเองและคนทั้งหลายผู้ใกล้ชิด เพราะผู้เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ หลักกรรมและการเกิดใหม่ย่อมเป็นผู้หนักแน่นในกุศลธรรม หน่ายอกุศลธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot]อนึ่ง การที่ตนไม่รู้ไม่เห็น และปฏิเสธโดยไม่ยอมฟังเสียงพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้น ดูเป็นการห้าวหาญเกินไป เป็นการนำเอาความรู้เห็นอันจำกัดของตนไปเทียบกับพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า คนที่จะเห็นโลกทิพย์ด้วยตนเองต้องมีสมาธิสูงมาก แม้องค์พระพุทธเจ้าเองก่อนจะตรัสรู้ก็ต้องเข้าสมาธิสูงและลึกมาก จึงจะสามารถเห็นเทวดาและเจรจากับเทวดาได้ ดังข้อความที่ตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายว่า[/FONT]
    <table style="border: medium none ; background: rgb(255, 255, 245) none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous;" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr> <td style="border: 1.5pt solid maroon; padding: 0cm 5.4pt; width: 426.1pt;" valign="top" width="568"> [FONT=&quot]"ก่อนการตรัสรู้[/FONT][FONT=&quot] เรายังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ครั้งนั้นเรากำหนดเห็นแสงสว่างได้ แต่ครั้งแรกยังไม่เห็นรูป [/FONT] [FONT=&quot](เทวดา)[/FONT] ทั้งหลาย เราจึงเกิดความคิดว่า ถ้าเราพึงกำหนดเห็นแสงสว่างได้ด้วย และเห็นรูป (เทวดา) ทั้งหลายได้ด้วย ญาณทรรศนะของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น"
    [FONT=&quot]"ดังนั้น[/FONT][FONT=&quot] ในเวลาต่อมาเราจึงไม่ประมาท พยายามปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น เราจึงได้เห็นแสงสว่างด้วย และเห็นรูปทั้งหลายได้ด้วย แต่จะอยู่ในสมาธิสนทนากับเทวดาทั้งหลายยังไม่ได้ เราจึงเกิดความคิดขึ้นว่า ถ้าหากเราจะพึงเห็นแสงสว่างได้ด้วย เห็นรูปเทวดาทั้งหลายได้ด้วย และอยู่ในสมาธิสนทนากับเทวดาได้ด้วย ญาณทรรศนะของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น[/FONT][FONT=&quot]..."[/FONT]
    [FONT=&quot] (องฺ.[/FONT] นวก. ๒๓/๓๑๑)
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    [FONT=&quot]ในที่สุด พระองค์ก็ทรงพยายามจนสามารถสนทนากับเทวดาในสมาธิได้ แม้สาวกรุ่นหลัง ๆ ของพระองค์ผู้มีสมาธิแก่กล้าก็สามารถอยู่ในสมาธิสนทนากับเทวดาได้ แม้ในปัจจุบันนี้เองก็มีสาวกของพระพุทธเจ้าที่สามารถอย่างนี้ได้อยู่[/FONT]
    [FONT=&quot]เบื้องแรกที่พระองค์ตรัสว่า[/FONT][FONT=&quot] "แต่จะอยู่ในสมาธิสนทนากับเทวดาทั้งหลายยังไม่ได้" นั้น ก็เพราะความชำนาญยังน้อย พอจะสนทนากับเทวดา สมาธิก็ถอยออกมา แสงสว่างหายไป รูปของเทวดาก็หายไปด้วย แต่เมื่อทรงพยายามมากขึ้นก็สามารถทำได้ [/FONT] [FONT=&quot] การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจึงเป็นเรื่องวิจิตรพิสดารมาก พระองค์ทรงรอบรู้จริง ๆ ในกระบวนการของชีวิตและจิตใจ เพราะทรงรู้ด้วยพระญาณอันแหลมลึก[/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]. ความเข้าใจเรื่องบ่อเกิดแห่งความรู้[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องบ่อเกิดแห่งความรู้นี้ เป็นทฤษฎีซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาเรียกว่า ญาณวิทยา เรียกในภาษาอังกฤษว่า [/FONT][FONT=&quot] Episemology หรือ Theory of Knowledge มีเรื่องละเอียดพิสดารพอสมควร ปรัชญาแต่ละสายวางทฤษฎีแห่งความรู้ไว้ไม่เหมือนกัน ทั้งฝ่ายตะวันออกและตะวันตก[/FONT]
    [FONT=&quot]นยายศาสตร์ ๑ ใน ๖ ศาสตร์ของอินเดียที่เรียกว่า [/FONT][FONT=&quot] Six Systems นั้น เป็นตรรกวิทยาตะวันออกโดยตรง ได้วางหลักใหญ่ๆ ในการแสวงหาความจริงไว้ ๔ อย่าง คือ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ปรัตยักษ์ หรือ ประจักษ์ (Perception) คือ ความรู้ที่ได้รู้เอง เห็นเอง เกิดขึ้นกับตนเอง เช่นเรารู้ว่าไฟร้อนเพราะเราเคยจับไฟ หรือเคยถูกไฟไหม้ ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. อนุมาน (Inference) คือความรู้ที่ได้จากการอนุมานหรือคาดคะเนจากเหตุไปหาผล จากผลไปหาเหตุ เช่น เราเห็นควันขึ้นโขมงออกจากเรือนหลังหนึ่ง เราก็อนุมานเอาว่าคงมีไฟ หรือไฟกำลังไหม้สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในเรือนหลังนั้น ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. อุปมาน (Comparision) คือ ความรู้ที่ได้จากการเปรียบเทียบจากสิ่งที่บุคคลรู้แล้วเห็นแล้วไปยังสิ่งที่บุคคลยังไม่รู้ไม่เห็น ตัวอย่าง คนเคยเห็นแมวแต่ไม่เคยเห็นเสือ[/FONT]
    [FONT=&quot]ผู้อธิบายเปรียบเทียบให้ดูว่า เสือก็เหมือนแมวแต่ตัวใหญ่กว่า พอบุคคลนั้นไปเจอเสือในป่าก็รู้ได้ว่านี่คือเสือ จึงวิ่งหนีเพราะรู้ว่าจากคำบอกเล่าว่าเสือดุและกินคน[/FONT]
    [FONT=&quot]การเปรียบเทียบเชิงอุปมาน่าจะจัดเข้าในข้อนี้ด้วย เช่นเปรียบกรรมเหมือนเนื้อนา วิญญาณเหมือนพืช ตัณหาเหมือนยางเหนียวในพืช หรือเปรียบจิตเหมือนลิงในแง่ที่อยู่ไม่นิ่งเปลี่ยนอารมณ์อยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot]เปรียบกายเหมือนนครที่สร้างด้วยกระดูก มีเนื้อและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา เป็นต้น ทำให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่ลึกซึ้งได้ง่ายขึ้น[/FONT]
    [FONT=&quot]อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นไปของโลกนี้ เราเข้าใจอะไรต่างๆ ในโลกนี้ เพราะเกี่ยวกับการเปรียบเทียบอยู่มิใช่น้อย เช่นเรารู้ว่าสิ่งนี้ดำก็เพราะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ขาว เรารู้ว่ายาวก็เพราะเปรียบเทียบกับสิ่งที่สั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]รู้ว่าใหญ่ก็เพราะเปรียบเทียบกับสิ่งที่เล็กเป็นต้น อุปมานจึงเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ความเข้าใจอย่างหนึ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ศัพทะ (Testimony) คือการได้ยินได้ฟัง หรือพยานหลักฐานทางตำราบ้าง ทางบุคคลที่พอเชื่อถือได้บ้าง ความรู้ของนักเรียนส่วนใหญ่เกิดจากประการที่ ๔ นี้[/FONT]
    [FONT=&quot]นักเรียนได้รับความรู้จากครูบ้าง จากตำราบ้าง ถ้าจะให้รู้เองเห็นเองทุกอย่าง จึงจะรับเชื่อแล้ว นักเรียนก็เกือบจะไม่รู้อะไรเลย[/FONT]
    [FONT=&quot]ฝ่ายตรรกวิทยาตะวันตก[/FONT][FONT=&quot] แสดงบ่อเกิดแห่งความรู้ไว้ ๓ ทางคือ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ความรู้ประจักษ์ หรือความรู้โดยตรง (Immediate Apprehension) อันนี้ตรงกับปรัตยักษ์ของนยายะ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. อนุมาน (Inference หรือ Reasoning) ตรงกับอนุมานของนยายะ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. พยานหลักฐาน (Testimony and Authority)[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ความรู้ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสโดยตรง เรียกในภาษาปรัชญาว่า Empirical Knowledge ปรัชญาสายนี้เรียกว่า Empiricism เชื่อว่าความรู้ที่แท้จริงต้องได้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ที่ว่านี้คือ ประสบการณ์ของประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ความรู้ที่ได้จากเหตุผล เรียกในภาษาปรัชญาว่า Rational Knowledge ปรัชญาสายนี้เห็นว่าประสบการณ์ส่วนบุคคลหรือ Sense Experiences นั้นไม่แน่นอน หลอกลวงเราได้เสมอ เป็นส่วนตัว (subjective) เกินไป[/FONT]
    [FONT=&quot]เพราะบุคคลย่อมมีความรู้สึกไม่เหมือนกันแม้ในวัตถุแห่งผัสสะอย่างเดียวกัน เช่นอาหารอย่างเดียวกัน คนหนึ่งรู้สึกอร่อย ชอบแต่อีกคนหนึ่งไม่รู้สึกอร่อย ไม่ชอบ อะไรคือความจริงที่แท้ เพราะฉะนั้น ความรู้สึกจากผัสสะจึงเป็นสิ่งไม่แน่นอน สู้ความรู้ที่เกิดจากเหตุผลไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ความรู้ที่ได้จากญาณ เรียกในภาษาปรัชญาว่า Intuition Knowledge ปรัชญาสายนี้ถือว่า ความรู้ที่แท้จริงต้องได้จากญาณเป็นประสบการณ์ตรงด้วยตนเองทางฝ่ายจิต[/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนความรู้จากเหตุผลนั้นไม่แน่นอน ตราบใดที่บุคคลยังต้องใช้เหตุผลอยู่ในการแสวงหาความจริง แสดงว่าเขายังไม่พบความจริง เมื่อได้พบความจริงแล้ว เหตุผลเป็นสิ่งไม่จำเป็นอีกต่อไป[/FONT]
    [FONT=&quot]อนึ่ง มีความจริงอยู่มากหลายที่เอาเหตุผลไปจับไม่ได้ ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล แต่รู้ได้ด้วยญาณเฉพาะตน อย่าว่าแต่เรื่องลึกซึ้งอะไรเลย แม้เรื่องหยาบๆ บางเรื่องก็อธิบายด้วยเหตุผลให้ใครเข้าใจไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot]ตัวอย่าง ก[/FONT][FONT=&quot]. กินมะม่วงเปรี้ยว รู้สึกเปรี้ยว ข. ให้ช่วยอธิบายว่าเปรี้ยวเป็นอย่างไร ก. ก็อธิบายไม่ได้ ต่อเมื่อ ข. รับมะม่วงไปกินบ้างจึงรู้ว่าเปรี้ยวเป็นอย่างไร[/FONT]
    [FONT=&quot]หรืออย่างน้อย ข[/FONT][FONT=&quot]. ก็ต้องเคยกินมะม่วงเปรี้ยวมาก่อนจึงสามารถเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องรสเปรี้ยว เรื่องนี้ฉันใด เรื่องลึกซึ้งเช่นนรกสวรรค์ หรือโลกทิพย์ก็ฉันนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]อธิบายโดยเหตุผลได้ยาก แต่ท่านผู้รู้รู้ได้ด้วยการเข้าสมาธิหรือด้วยญาณของตนเฉพาะตน เมื่อท่านรู้แล้วเห็นแล้วก็นำสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นนั้นมาบอกเล่าแก่เราทั้งหลายผู้ยังไม่รู้ไม่เห็น[/FONT]
    [FONT=&quot]ขอชี้แจ้งไว้ในที่นี้ด้วยว่า คำ [/FONT] [FONT=&quot]Intuition ที่ใช้ในที่นี้มีคำแปลหลายอย่าง มีความหมายต่างกันไปตามสาขาวิชานั้นๆ ตัวอย่างทางจิตวิทยา คำนี้หมายถึงไหวพริบ[/FONT]
    [FONT=&quot] คือความสามารถรู้ได้ทันท่วงทีว่าเมื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้าอย่างนี้ควรจะทำอย่างไร มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทางจริยศาสตร์ คำนี้หมายถึงความรู้สึกขึ้นมาเองว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรไม่ควร[/FONT]
    [FONT=&quot]พวก [/FONT] [FONT=&quot] Intuitionists ทางจริยศาสตร์ คือ พวกที่ถือว่า ความรู้สึกของบุคคลนั่นเองเป็นเครื่องตัดสินทางศีลธรรมว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร เอาความรู้สึกของเรานั่นแหละเป็นเครื่องตัดสิน ไม่ต้องเอาอะไรอื่นมาเป็นเครื่องตัดสิน[/FONT]
    [FONT=&quot]ทฤษฎีนี้มีผู้คัดค้านมากเหมือนกัน โดยเฉพาะพวกเหตุผลนิยม ตัวอย่างเช่น คัดค้านว่า ความรู้สึกของคนป่า ย่อมแตกต่างกันมากกับความรู้สึกของผู้มีอารยธรรมดีแล้ว เมื่อเป็นดังนี้จะเอาความรู้สึกของแต่ละคนเป็นเครื่องตัดสินศีลธรรมได้อยางไร ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ [/FONT] [FONT=&quot] Intuition ที่ใช้ในที่นี้หมายถึง ญาณเช่นปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้นของพระพุทธเจ้า มีความหมายลึกซึ้งกว่าปัญญา ถ้าเป็นความรู้ก็เป็นความรู้เหนือสามัญ[/FONT]
    [FONT=&quot]ขอสรุปไว้ที่นี้ทีหนึ่งก่อนว่า [/FONT] [FONT=&quot] ทางได้มาซึ่งความรู้นั้นมีอยู่หลายทาง ทางสำคัญที่สุดซึ่งคนทั่วไปเข้าถึงได้โดยยาก ก็คือทางญาณ ญาณ เช่นนี้เกิดขึ้นแก่ผู้บำเพ็ญสมาธิและวิปัสสนาเท่านั้น หาเกิดขึ้นแก่คนธรรมดาไม่[/FONT]
    [FONT=&quot]ความรู้บางอย่างเป็นวิสัยของประสาทสัมผัส รู้ได้ด้วยผัสสะ[/FONT]
    [FONT=&quot]ความรู้บางอย่างเป็นวิสัยของเหตุผล รู้ได้ด้วยเหตุผล[/FONT]
    [FONT=&quot]ความรู้บางอย่างเป็นวิสัยของญาณ รู้ได้ด้วยญาณ หรืออภิญญญา [/FONT][FONT=&quot] (ความรู้ยิ่ง)[/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]. อภิญญา ๖[/FONT]
    [FONT=&quot]เพื่อให้เรื่องแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ขอนำเอาอภิญญา ๖ มากล่าวแต่โดยย่อในที่นี้ด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]อภิญญา แปลว่าความรู้ยิ่ง [/FONT] [FONT=&quot](Supernatural Knowledge) คือ ความสามารถรู้สิ่งที่คนธรรมดารู้ไม่ได้ สามารถทำสิ่งที่คนธรรมดาทำไม่ได้ แต่เป็นของธรรมดาสำหรับผู้ได้บรรลุแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่นคนเดียวทำเป็นหลายคนได้ ทำกลับให้เป็นคนเดียวก็ได้ ทำที่มืดให้สว่างได้ กำบังตัวไม่ให้ใครเห็นได้ ช่วยกำบังคนอื่นก็ได้ด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อต้องการจะไป ณ ที่ใดไม่มีอะไรขัดขวางได้ ไม่ว่าจะเป็นฝาหรือกำแพงหรือภูเขา เหมือนไปในอากาศ ดำดินได้เหมือนดำน้ำ เดินบนน้ำได้เหมือนเดินบนดิน ไปในอากาศได้เหมือนนก ฯลฯ ทำอย่างไรจึงจะได้ฤทธิ์อย่างนี้ ท่านบอกไว้ให้เรียบร้อยแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ทิพยโสต หูทิพย์ฟังได้ทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งระยะใกล้และไกล[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เจโตปริยญาณ รู้ใจคนอื่นได้ว่าเขาคิดอย่างไร มีจิตอย่างไร[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้ระลึกชาติหนหลังได้ตั้งแต่ชาติหนึ่ง สองชาติจนถึงระลึกได้เป็นกัปป์ๆ พระพุทธเจ้าทรงสามารถระลึกถอยหลังไปได้ไม่มีกำหนด[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ทิพจักษุ ตาทิพย์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุตูปปาตญาณ สามารถมองเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้จุติอยู่เป็นอันมาก ใครไปเกิดที่ไหนด้วยกรรมอะไร สามารถรู้ได้ด้วยญาณนี้[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. อาสวักขยาญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ กล่าวโดยเฉพาะคือญาณในอริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาท[/FONT]
    [FONT=&quot]ห้าประการแรกเป็นโลกียอภิญญา ปุถุชนก็มีได้ ส่วนประการสุดท้ายเป็นโลกุตรอภิญญา มีได้เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]พิจารณาดูอภิญญา ๖ นี้แล้วจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าหรือพะอริยบุคคลผู้ได้อภิญญาดังกล่าวนี้มีความสามารถเลิศเพียงใด มีความรู้ยอดเยี่ยมเพียงใด สมที่ท่านเรียกความรู้นี้ว่า อภิญญา ความรู้ยิ่ง [/FONT][FONT=&quot] (Supernatural Knowledge)[/FONT]
    [FONT=&quot]ผู้ได้อภิญญา ๕ เบื้องต้น แม้ยังเป็นปุถุชนอยู่ก็สามารถเห็นนรกสวรรค์ เห็นเทพ คุยกับเทพได้ แต่อภิญญาแม้ที่เป็นโลกียะนี้ก็มิใช่จะให้สำเร็จได้โดยง่าย [/FONT]
    [FONT=&quot] ผู้สำเร็จจะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดต้องเอาชีวิตเข้าแลก หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้มีบารมีดีเหลือเกิน สั่งสมบารมีมาทางนี้นานเป็นร้อยชาติทีเดียว[/FONT]
    [FONT=&quot]อภิญญา๕ นี้ พวกโยคีฤาษีในสมัยพุทธกาลได้กันมาก แม้ปัจจุบันข้าพเจ้าก็เชื่อว่ามีผู้สำเร็จอภิญญา ๕ นี้อยู่บ้างเหมือนกัน อภิญญา ๖ ก็คงมีผู้สำเร็จ[/FONT]
    [FONT=&quot]เหตุผลที่เชื่อเช่นนี้ก็คือ เมื่อทางมีอยู่ และมีผู้ดำเนินตามทางนั้นอยู่ไม่ขาดสาย ผลสำเร็จย่อมต้องมี ผู้สนใจควรให้ความเป็นธรรมแก่วิชาการทางศาสนาบ้าง[/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]. การให้ความเป็นธรรมแก่วิชาการทางศาสนา[/FONT]
    [FONT=&quot]ในหัวข้อนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอร้องให้ผู้ศึกษา หรือผู้สนใจได้โปรดทำใจให้เป็นกลาง และให้ความเป็นธรรมแก่วิชาการทางศาสนาเท่าที่ควรเปิดใจไว้ให้กว้าง[/FONT]
    [FONT=&quot] ไม่ปิดประตูขังตัวเองอยู่เฉพาะในห้องแห่งวิชาที่ตนศึกษาเพียงอย่างเดียว และด่วนลงความเห็นปักใจเชื่อว่าวิชาหรือความรู้ของตนเท่านั้นเป็นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งหมด[/FONT]
    [FONT=&quot]พูดกันตามความเป็นจริงแล้ว วิชาการต่างๆ ที่เราศึกษาเล่าเรียนและยอมรับเชื่อ รับเข้าไว้ว่าเป็นความรู้ของเรานั้น ส่วนมากเรามิได้เห็นแจ้งด้วยตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]เราเพียงแต่เชื่อตำราและเชื่อครูบาอาจารย์ หรือเชื่อนักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ เท่านั้น ข้าพเจ้ามิได้ตำหนิว่าความเชื่อเช่นนั้นไม่ดี[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะข้าพเจ้าตระหนักว่าคนเพียงคนเดียวจะรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งต่างๆ ไปทั้งหมดนั้นเป็นการยากอย่างยิ่ง สิ่งใดเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ให้แสงสว่างแก่เรา[/FONT]
    [FONT=&quot]เราก็ควรน้อมรับสิ่งนั้นไว้ด้วยความยินดี เช่น การสดับตรับฟัง การศึกษาจากตำรา เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่ว่า ความรู้ส่วนมากเราได้จากตำรา เชื่อตำราและครูบาอาจารย์เป็นต้นนั้น ขอยกตัวอย่างมาสู่การพิจารณาสักเล็กน้อย ตัวอย่างในวิชาวิทยาศาสตร์ก่อน[/FONT]
    [FONT=&quot]วิชาวิทยาศาตร์บอกเราว่า[/FONT][FONT=&quot] "ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงเดียวเท่านั้นที่อยู่ใกล้โลกเราที่สุด ระยะห่างจากโลกเฉลี่ย ประมาณ ๙๓ ล้านไมล์ หรือระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินได้ ๘๑/๓ นาที"[/FONT]
    [FONT=&quot]"๑ ปีแสงคือระยะทางที่แสงเดินทางได้ในระยะเวลา ๑ ปี ในระยะเวลา ๑ ปีนี้จะเดินทางได้ประมาณ ๙ ล้านล้านกิโลเมตร หรือประมาณ ๕.๙ ล้านล้านไมล์"[/FONT]
    [FONT=&quot]"โลกหมุนรอบตัวเอง ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๑ รอบ และหมุนรอบดวงอาทิตย์ ๑๒ เดือนต่อ ๑ รอบ"[/FONT]
    [FONT=&quot]"ระบบสุริยะมีขนาดกว้าง (เส้นผ่าศูนย์กลาง) ประมาณ ๘๐ หน่วยดาราศาสตร์ โดยคิดอนุมานว่าดาวพระยม (Pluto) ซึ่งเป็นดาวพระเคราะห์ดวงนอกสุด[/FONT]
    [FONT=&quot]มีระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๓๙[/FONT][FONT=&quot].๕ หน่วยดาราศาสตร์ หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit) คือ ระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ มีค่าประมาณ ๙๓ ล้านไมล์ หรือประมาณ ๑๕๐ ล้านกิโลเมตร"[/FONT]
    [FONT=&quot] หลักทางวิทยาศาตร์ที่เกี่ยวกับระบบสุริยะดังกล่าวมาเพียงเล็กน้อยนี้ เรายอมรับเชื่อทั้งๆ ที่นักเรียนหรือผู้ศึกษาส่วนมากมิได้รู้แจ้งด้วยตนเอง หรือไม่ได้เห็นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]แม้แต่เรื่องโลกหมุนรอบตัวเอง ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๑ รอบ ที่เราเรียกว่าว้นหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น เราก็ไม่เคยรู้สึก และไม่เคยเห็นว่าโลกมันหมุนอย่างไร[/FONT]
    [FONT=&quot]เวลาเราขึ้นชิงช้าสวรรค์ในงานต่างๆ ชิงช้ามันหมุนรอบตัวเอง เราเห็นชัดเจนและรู้สึกว่ามันหมุน แต่โลกหมุนเราไม่เห็นและไม่รู้สึกเลย แต่เราก็เชื่อว่าโลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ เราเชื่อใคร[/FONT][FONT=&quot]?[/FONT]
    [FONT=&quot]เราเชื่อตำรา เชื่อครู เชื่อนักวิทยาศาสตร์ เรายอมให้เกียรติท่านเหล่านั้นว่าท่านไม่หลอกลวงเรา เมื่อเด็กชั้นประถมเรียนเรื่องโลก ครูสอนเด็กก็ว่าโลกกลม เรารู้ได้ว่าโลกกลม[/FONT]
    [FONT=&quot]ก็เพราะเรายืนอยู่บนฝั่ง เรือที่อยู่ในทะเลแล่นเข้าหาฝั่งที่เรายืนอยู่ เาจะเห็นเสากระโดงเรือก่อน นี่คือข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม เด็กอาจไม่เข้าใจ แต่เด็กจำได้ พอถึงเวลาสอบไล่ปลายปี เด็กก็ตอบตามที่ครูเคยสอน[/FONT][FONT=&quot] "โลกกลมเพราะเราเห็นเสากระโดงเรือก่อน" ได้คะแนนเต็มในข้อนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่เราเชื่อว่าดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกเรา ๙๓ ล้านไมล์ก็ดี ๑ ปีแสง แสงเดินทางได้ ๙ ล้านล้านกิโลเมตรก็ดี ระบบสุริยะมีขนาดกว้างประมาณ ๘๐ หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ ๘๐ เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ก็ดี[/FONT]
    [FONT=&quot]เรามิได้พิสูจน์ด้วยตนเอง เรามิได้เห็นเอง แต่เรายอมรับเชื่อ ยอมท่องเพื่อผลทางการสอบ ในความรู้สึกของเราแล้ว สิ่งเหล่านี้มืดมนเต็มที แต่คนที่จำสิ่งเหล่านี้ได้มาก ก็ได้รับความนับถือว่าเป็นผู้รู้[/FONT]
    [FONT=&quot] แม้นักวิทยาศาสตร์เองก็ได้ความรู้เหล่านี้ด้วยการอนุมาน [/FONT] [FONT=&quot] (Inference) จากสิ่งที่ท่านรู้แล้วไปยังสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ ตัวอย่างความร้อนที่ผิวดวงอาทิตย์ที่ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้นั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ก็โดยการคำนวณว่าโลกห่างจากดวงอาทิตย์เท่านี้ ได้รับความร้อนเท่านี้ ถ้าใกล้เข้าไปถึงดวงอาทิตย์จะมีความร้อนสักเท่าใดดังนี้เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องที่อธิบาย หรือเครื่องมือในการอธิบาย ก็ล้วนเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ เช่นเรามีลูกโลก สมมติว่านี่คือโลกเรา นี่คือดวงอาทิตย์ นี่คือดวงจันทร์ นี่คือดาวพุธ[/FONT]
    [FONT=&quot]แล้วอธิบายว่า มันเคลื่อนที่ไปอย่างไร ระบบสุริยะซึ่งเป็นหน่วยเล็กๆ หน่วยหนึ่งในแกแลกซีมันเคลื่อนย้ายไปในอวกาศอย่างไร[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ข้าพเจ้ามิได้ถือว่า เรื่องเหล่า[/FONT][FONT=&quot]นี้เป็นเรื่องเหลวไหล ตรงกันข้ามข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นเรื่องความรู้ควรเรียนควรสนใจ และควรเชื่อ เราให้เกียรตินักวิทยาศาสตร์ผู้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา เพื่อค้นคว้าสิ่งเหล่านี้มาบอกเรา[/FONT]
    [FONT=&quot]ขอยกตัวอย่างทางฝ่ายแพทยศาสตร์บ้าง ซึ่งเวลานี้ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์การแพทย์ [/FONT][FONT=&quot] (Medical Science)[/FONT]
    [FONT=&quot]นักวิทยาศาสตร์สายนี้บอกเราว่าจุลินทรีย์ หรือแบคทีเรีย ซึ่งตัวเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนั่นเอง เป็นเหตุให้สิ่งของต่างๆ เป็นต้นว่า เนื้อเกิดบูดเน่าขึ้นและเป็นเหตุแห่งโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]แบคทีเรียมีหลายชนิด แต่ละชนิดเป็นเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ กันไป ถ้าเรามีทางป้องกันไม่ให้แบคทีเรียมาสู่เนื้อได้ เนื้อก็จะไม่บูดเน่า[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเรามีทางป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ โรคภัยไข้เจ็บ [/FONT] [FONT=&quot](เฉพาะที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย) ก็จะไม่มีในมนุษย์หรือสัตว์ หลุยส์ ปาสเตอร์ ชาวฝรั่งเศษได้รับเกียรติว่าเป็นผู้ค้นพบเรื่องจุลินทรีย์นี้ เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๔๗[/FONT]
    [FONT=&quot]ประมาณร้อยกว่าปีมานี้เอง หลังจากนั้นวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วไพศาล เวลานี้เรามีคำอังกฤษอยู่ ๒ คำ ซึ่งเอามาจากชื่อของปาสเตอร์นั่นเอง เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่เขา[/FONT]
    [FONT=&quot]คือคำว่า [/FONT] [FONT=&quot] Pasteuria ซึ่งหมายถึงวิธีการป้องกัน หรือรักษาโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือโรคกลัวน้ำหรือโรคพิษสุนัขบ้า (Hydro-phobia) โดยการฉีดวัคซีนให้แก่บุคคล[/FONT]
    [FONT=&quot]การฉีดวัคซีนก็คือ การนำเอาเชื้อโรคที่อ่อนฤทธิ์ชนิดที่เราต้องการป้องกันนั้นเองเข้าสู่ร่างกาย แต่ฉีดเข้าไปเพียงเล็กน้อยในขนาดที่ร่างกายสามารถต้านทานได้[/FONT]
    [FONT=&quot]เพื่อให้ร่างกายชินกับเชื้อโรคชนิดนั้น หรือสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นในตัวเอง เมื่อเชื้อโรคชนิดนั้นจู่โจมเข้ามาจริงๆ ก็สามารถต่อสู้ได้ การฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาต์ก็คือการฉีดเชื้ออหิวาต์เข้าไปนั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] การฉีดยาแก้โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคพิษงูก็คือการฉีดเอาพิษสุนัขบ้าหรือพิษงูนั่นเองเข้าไปสู่ร่างกาย ก่อนที่หลุยส์ ปาสเตอร์ จะค้นพบเรื่องนี้ เขาสงสัยว่าน้ำลายของสุนัขบ้านั้น ถ้าเข้าสู่ร่างกายคนสามารถทำให้คนตายได้ แต่ทำไมจึงไม่ทำลายตัวมันเอง[/FONT][FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]อีกคำหนึ่งคือคำว่า [/FONT] [FONT=&quot]Pasteurization เอามาจากชื่อปาสเตอร์เหมือนกัน เพราะเป็นวิธีการที่หลุยส์ ปาสเตอร์ ทำมาก่อน คือการให้ความร้อนแก่ของเหลวเช่นนมเป็นต้น ให้มีความร้อนถึง ๖๐ องศาเซนติเกรด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคในนั้นและไม่ทำให้ของเสียด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]วิธีการดังกล่าวของหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้เป็นประโยชน์อย่างไพศาลต่อมวลชนทั้งโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้ทั้งในด้านการป้องกัน รักษาโรคและด้านการถนอมอาหาร เก็บอาหารไว้ได้นาน เช่นอาหารกระป๋องซึ่งมีอยู่ทั่วโลกเวลานี้[/FONT]
    [FONT=&quot]วิทยาศาสตร์การแพทย์บอกเราต่อไปว่า แสงแดดให้วิตามินดีแก่เราและช่วยรักษาโรคกระดูกอ่อน แสงแดงยังป้องกันและรักษาโรคอื่นได้อีกหลายอย่าง คลื่นแสงที่สำคัญในการช่วยรักษาโรคนี้คือคลื่นแสงสีม่วงที่เรียกในภาษาวิทยาศาสตร์ว่า[/FONT][FONT=&quot] "อุลตราไวโอเล็ท"[/FONT]
    [FONT=&quot] วิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นวิชาที่น่าสนใจมากเพราะพูดเรื่องเกี่ยวกับร่างกายของเรา เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับตัวเราอยู่ตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot]เราลองมาพิจารณา[/FONT][FONT=&quot]การค้นพบของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องพลังงานอะตอม หรือพลังปรมาณู[/FONT][FONT=&quot]ดูบ้าง นักวิทยาศาสตร์ด้านนี้บอกเราว่าส่วนใหญ่ของอะตอมเป็นที่ว่างเปล่า[/FONT]
    [FONT=&quot]แกนของอะตอมคือนิวเคลียสนั้นเป็นส่วนเล็กๆ อยู่ที่ใจกลางของอะตอมจะหมุนไปรอบๆ นิวเคลียสในชั้นต่างๆ กัน วิทยาศาสตร์บอกว่า เรามองไมเห็นอะตอมแม้จะใช้กล้องขยายอย่างดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะอะตอมเล็กมาก[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อประมาณ ๒[/FONT][FONT=&quot],๓๐๐ กว่าปีมาแล้ว นักปราชญ์ชาวกรีกผู้หนึ่ง ชื่อ ดีโมคลิตุส หรือดีโมคลิตัส เชื่อว่าสสารทั้งหลายในโลก เมื่อแบ่งออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงขั้นสุดท้าย จะแบ่งอีกต่อไปไม่ได้ ส่วนที่เล็กที่สุด ซึ่งแบ่งออกต่อไปอีกไม่ได้นี้เรียกว่าอณูหรือโมเลกุล โมเลกุลนี้ แบ่งออกได้อีกด้วยวิธีเคมี ได้ส่วนที่เล็กที่สุดที่วิธีเคมีไม่สามารถแบ่งให้เล็กลงกว่านี้ได้อีกแล้ว เรียกว่า อะตอม หรือปรมาณู[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่มาถึงสมัยนี้เชื่อกันว่า อะตอมไม่ใช่สิ่งที่เล็กที่สุดเสียแล้ว เพราะอะตอมประกอบด้วยอนุภาคซึ่งเล็กลงไปกว่าตัวอะตอมเอง อนุภาคดังกล่าว คือ อีเลคตรอน โปรตอน และนิวตรอน ประกอบกันขึ้นเป็นอะตอมของธาตุต่าง ๆซึ่งปัจจุบันนี้รู้กันว่ามีอยู่ประมาณ ๑๐๐ กว่าธาตุ[/FONT]
    [FONT=&quot]ความเล็กของอะตอมนั้น เราพออนุมานได้ดังนี้ อะตอมของธาตุไฮโดรเยน จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑[/FONT][FONT=&quot]/๒๐๐ ล้านของนิ้ว หรือ เปรียบให้ง่ายขึ้นว่า ถ้าจะวางอะตอมตามขวางของเส้นผม ๑ เส้นจะเรียงอะตอมได้ถึงครึ่งล้านอะตอม[/FONT]
    [FONT=&quot]นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ต่อไปว่า อะตอมของธาตุสามารถสลายตัวได้ และธาตุจำพวกกัมมันตภาพรังสีนั้น เมื่อปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกแล้ว ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นธาตุอีกชนิดหนึ่งได้ เช่น ธาตุยูเรเนียมจะกลายเป็นตะกั่วได้ นักเคมีสมัยปัจจุบันยอมรับว่า ธาตุอาจสลายหรือแตกตัวออกเป็นธาตุใหม่ได้เหมือนกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]ความจริงเรื่องนี้ นักเล่นแร่แปรธาตุเคยคิดและเชื่อกันมาแล้วเหมือนกันว่า ธาตุแท้ชนิดหนึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุแท้อีกชนิดหนึ่ง จึงได้พยายามหาวิธีทำตะกั่วให้เป็นทอง[/FONT]
    [FONT=&quot]เกี่ยวกับเรื่องสสารและพลังงานนั้น ไอน์สไตน์ได้ค้นพบทฤษฎีเปลี่ยนแปลงระหว่างสสารและพลังงานดังนี้คือ เมื่อสสารแปลงรูปเป็นพลังงานนั้น พลังงานที่ได้จะมีค่าเท่ากับความหนักของสสารคูณด้วยความเร็วของแสงยกกำลังสอง พลังงานที่แปลงรูปมาจากสสารนี้มีปริมาณสูงยิ่งนัก ถ้าใช้ทฤษฎีของไอน์สไตน์คำนวณจะปรากฏว่าสสารน้ำหนัก ๑ กิโลกรัมจะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากพอที่จะจุดโคมไฟฟ้าในบ้านทุก ๆหลังในประเทศไทยได้ถึง ๑ ปีทุกคืน คืนละ ๖ ชั่วโมง[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านต่าง [/FONT] [FONT=&quot] ๆ ซึ่งนำมากล่าวเพียงเล็กน้อยนี้ เรายอมรับว่าส่วนมากเรามิได้เห็นเอง มิได้ทดลองเอง แต่เรายอมรับเชื่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ เพราะเราเชื่อใจนักวิทยาศาสตร์ว่า ท่านเหล่านั้นไม่หลอกลวงเรา เรายอมเชื่อตำราที่ท่านผู้รู้เขียนขึ้นเป็นยุค ๆ เมื่อทฤษฎีหนึ่งถูกล้มเลิกไปเราก็ไม่ว่ากระไร เรายอมรับเชื่อทฤษฎีที่ท่านประกาศออกมาใหม่ต่อไป แสดงถึงความใจกว้างและความเห็นอกเห็นใจของพวกเราต่อนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]คราวนี้มาถึงวิชาการทางศาสนา ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แต่ต้นของหัวข้อที่ ๖ นี้แล้วว่า ใคร่ขอความเป็นธรรมให้แก่วิชาการทางศาสนาบ้าง ท่านผู้รู้ทางศาสนาได้กล่าวถึงสิ่งใดไว้ ควรรับพิจารณาคำกล่าวของท่านบ้าง แม้เราจะยังรู้สึกมืดมนต่อสิ่งนั้น ๆ เพราะปัญญาอันมีอยู่อย่างจำกัดของเรา ความไม่รู้ของเรามิใช่เครื่องวัดว่าสิ่งนั้น ๆ จะไม่มีอยู่ [/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้ฌานสมาบัติและอภิญญา ย่อมมีความสามารถทางจิตทางปัญญาเหนือเรามาก [/FONT] [FONT=&quot] เปรียบเหมือนสมรรถนวิสัย [/FONT] [FONT=&quot](วิสัยความสามารถ) ของเด็ก ๑ ขวบ กับวิสัยความสามารถของผู้ใหญ่ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทั้งทางร่างกาย สมอง และสติปัญญา ย่อมแตกต่างกันมาก สิ่งที่เด็กไม่รู้ ไม่สามารถทำได้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้ใหญ่จะทำไม่ได้ด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเราอยากรู้ อยากเห็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ หรือท่านที่ได้อภิญญาสมาบัติรู้เห็น และเราพยายามเพื่อรู้เห็นจริง เดินตามทางที่ท่านเคยเดิน มีความพยายามอย่างสม่ำเสมอและไม่หยุดหย่อนอย่างเดียวกับที่เด็กมีความพยายามเพื่อให้เดินได้ สักวันหนึ่งเราก็จะได้พบเห็นสิ่งที่เราพิศวงสงสัยอยู่เป็นอันมาก การรู้อะไรด้วยญาณนั้นเป็นการรู้จริงกว่าการรู้โดยวิธีอื่น[/FONT]
    [FONT=&quot] เรื่องสวรรค์นรกที่ท่านกล่าวในคัมภีร์ทางศาสนาจึงเป็นเรื่องน่าพิจารณาและน่าเชื่อ ข้าพเจ้าหมายเอาสวรรค์จริง และนรกจริง ๆ ซึ่งเป็นอีกโลกหนึ่งต่างหากจากโลกเรา เป็นโลกโอปปาติกะ [/FONT] [FONT=&quot]- โลกทิพย์[/FONT][FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]เรายอมรับกันในสมัยนี้ว่า นอกจากโลกมนุษย์ของเรานี้แล้วยังมีโลกอื่น ๆ อีกมาก ดาราศาสตร์บอกเราว่า ดาวแต่ละดวงก็เป็นโลก ๆ หนึ่ง ใหญ่กว่าโลกเรามากด้วย โลกเราเป็นเพียงดาวพระเคราะห์ดวงเล็ก ๆ[/FONT][FONT=&quot](ซึ่งไม่มีแสงสว่างในตัวเอง) ในระบบสุริยะ (Solar System) อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเอกภพแล้ว ระบบสุริยะก็เป็นเพียงหน่วยเล็ก ๆ ในกาแล็กซี (Galaxiex)[/FONT]
    [FONT=&quot] เอกภพประกอบด้วยกาแล็กซีจำนวนมากมายโดยประมาณถึงหมื่นล้านกาแล็กซี ในกาแล็กซีหนึ่ง ๆ ก็จะมีระบบของดาวฤกษ์ [/FONT] [FONT=&quot](Stars) กระจุกดาว (Star Clusters) เป็นต้น ดาวฤกษ์มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วนที่เรามองเห็นเป็นแสงระยิบระยับอยู่บนท้องฟ้า[/FONT]
    [FONT=&quot] ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีลักษณะเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ประธานของระบบสุริยะ ซึ่งโลกเรานี้เป็นบริวารอยู่นี้เอง ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงเดียวเท่านั้น ที่อยู่ใกล้โลกเราที่สุด เราไม่สงสัยบ้างหรือว่าในจักวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ในโลกธาตุอื่น ๆ บ้าง เขาอาจเจริญกว่าเรา หรือด้อยกว่าเราหลาย ๆ ร้อยเท่าก็ได้[/FONT]
    [FONT=&quot]ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย [/FONT] [FONT=&quot](๒๐/๒๙๒ ข้อ ๕๒๐) พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องโลกธาตุแก่พระอานนท์ใจความว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]"นอกจากดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ที่เราเห็นอยู่นี้แล้ว ยังมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ในโลกธาตุอื่น ๆ อีกเป็นพัน ๆ กลุ่มเรียกว่า จูฬนิกาโลกธาตุบ้าง มัชฌิมิกาโลกธาตุบ้าง มหาสหัสสีโลกธาตุบ้าง กล่าวให้เข้าใจง่ายกว่านี้คือ โลกธาตุที่รวมกันเป็นกลุ่มน้อย กลุ่มกลาง และกลุ่มใหญ่"[/FONT]
    [FONT=&quot] เรื่องนี้แสดงถึงความรู้เรื่องดาราศาสตร์ของพระพุทธเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้ง ๆ ที่เวลานั้นยังไม่มีกล้องดูดาวแม้แต่กล้องเดียวในโลก แต่กล้องคือพระญาณอันไม่มีอะไรขวางกั้นของพระองค์นั่นแหละรายงานให้พระองค์ทรงทราบ[/FONT]
    [FONT=&quot] เป็นไปได้หรือไม่ว่าสรรค์เป็นโลกใดโลกหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองเต็มที่ในจักรวาลนี้ หรือจักวาลอื่น ๆ ส่วนนรกคือโลกที่ลำบากยากเข็ญหนาวเหลือเกิน ร้อนเหลือเกิน อดอยากเหลือเกิน โรคภัยไข้เจ็บมากเหลือเกิน วิญญาณที่ไปเกิดในโลกนั้น เรียกว่า ตกนรก[/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนโลกบางโลกอาจมีแสงสว่างนวลพอประมาณ ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารอันละเอียดอ่อน มีนักวิทยาศาสตร์และสถาปนิก วิศวกรฝีมือเยี่ยมกว่าในโลกเรามาก อะไร ๆ ก็ละเอียดอ่อนไปหมด เพราะผู้ที่อยู่ในโลกนั้นเป็นผู้มีจิตอันละเอียดอ่อนประณีต วิญญาณที่ไปเกิดในโลกนั้นเรียกว่า ขึ้นสวรรค์ มีความเป็นอยู่ที่ประณีตมาก กายของเขาก็ประณีตที่เรียกว่า กายทิพย์[/FONT]
    [FONT=&quot]อีกประการหนึ่ง เป็นไปได้หรือไม่ว่าโลกทิพย์คือสวรรค์ นรกเป็นโลกที่ละเอียดซ้อนอยู่กับโลกเรานี่เอง แต่เนื่องจากละเอียดอ่อนมาก เราจึงมองด้วยตาธรรมดาไม่เห็น กายของพวกนี้สำเร็จไปจากใจ [/FONT] [FONT=&quot](มโนมโย กาโย) มีรูปร่าง (รูปี) มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน (สพฺพงฺคปจฺจงฺคี) มีอินทรีย์บริบูรณ์ไม่บกพร่อง (อหีนินฺทริโย)[/FONT]
    [FONT=&quot]แปลว่าพวกกายทิพย์ มีร่างกายเหมือนมนุษย์ทุกอย่าง แต่เราไม่อาจมองด้วยตาเปล่าได้ ต้องผู้ได้ตาทิพย์ จึงสามารถมองเห็น เปรียบไปก็เหมือนวัตถุหลายสิ่งหลายอย่างที่มีอยู่ ปรากฏอยู่ แต่เรามองไม่เห็นจับต้องไม่ได้เช่นคลื่นวิทยุมีอยู่ตลอดเวลา แต่เราฟังไม่ได้ พอมีเครื่องมือคือเครื่องรับวิทยุเปิดขึ้นหมุนคลื่นให้ตรงตามคลื่นส่งเราก็ได้ยิน[/FONT]
    [FONT=&quot]แม้สิ่งที่เราได้ยินแล้ว แต่ถ้าเราไม่เคยหัดแปลความหมายของเสียงนั้น เราก็เข้าใจไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot]ความร้อนและแสงสว่างก็เป็นคลื่นเหมือนกัน สมมติว่าเรายืนอยู่ในที่แห่งหนึ่งซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังเคลื่อนที่ผ่านไป ถ้าคลื่นนั้นเป็นรังสีความร้อน เราก็รู้สึกได้ด้วยประสาททางกาย ถ้าเป็นคลื่นแสงสว่างเราก็จะรู้สึกได้ด้วยประสาทตา แต่ถ้าเป็นคลื่นวิทยุเราจะไม่มีโอกาสใช้ประสาทใด ๆ ตรวจพบได้เลย นอกจากเปิดเครื่องรับวิทยุดักให้ตรงคลื่นส่ง[/FONT]
    [FONT=&quot]กระแสไฟฟ้ามีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่เราก็ไม่เห็นด้วยตา [/FONT] [FONT=&quot] มันจะไม่ปรากฏตัวให้เห็น นอกจากจะมีเครื่องประกอบอันเหมาะสมที่มันจะแสดงตัวได้ เช่นมีสายไฟ มีหลอดไห มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือสื่อไฟฟ้า โดยการใช้ขดลวดพันรอบแกนเหล็กอ่อนหลาย ๆ รอบแล้วใช้แรงจากภายนอกไปหมุนขดลวดอย่างเร็ว ๆ ในสนามแม่เหล็กที่แรง ๆ ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น[/FONT]
    [FONT=&quot]นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ที่เรามองไม่เห็น พิสูจน์ไม่ได้ด้วยประสาทใด ๆ ของเรา แต่ของนั้นก็มีอยู่ และจะปรากฏขึ้นเมื่อมีองค์ประกอบอันเหมาะสม[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องโลกทิพย์หรือนรกสวรรค์ก็ทำนองเดียวกัน แม้มีอยู่ก็หาปรากฏแก่เราไม่ เพราะขาดองค์ประกอบอันเหมาะสม แต่สำหรับท่านผู้ได้ญาณพิเศษเช่น ทิพจักษุญาณย่อมมองเห็นโลกทิพย์ได้ คนที่มีเครื่องมือคือสมาธิจิตสูง ๆ ย่อมสามารถติดต่อกับพวกโลกทิพย์ได้ เหมือนกับคนมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าย่อมสามารถให้เกิดไฟฟ้าขึ้นได้ฉะนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]อย่างไรก็ตาม มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันที่ชาวโลกทิพย์มาปรากฏให้มนุษย์เห็นด้วยตาเนื้อนี้เอง เช่นบางคนเห็นกายทิพย์มาปรากฏตนให้เห็น บางคนเห็นกลางวัน บางคนก็กลางคืน บางคนได้ยินแต่เสียงไม่เห็นตัว[/FONT][FONT=&quot]*[/FONT]
    [FONT=&quot] ------------------------------------------------------[/FONT]
    [FONT=&quot]* [/FONT] โปรดอ่านเรื่องเอกสารรายงานการค้นคว้าเรื่อง วิญญาณมีจริงหรือไม่ จัดทำโดยศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล และศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ได้เล่าเรื่องประสบการณ์จริงของบุคคลจำนวนมาก
    [FONT=&quot]เรื่องที่ทำนองนี้มีปรากฏอยู่ทั่วโลก ทุกคนเคยได้ยินได้ฟัง บางคนได้เห็นด้วยตนเอง จึงเชื่อว่าโลกทิพย์และกายทิพย์มีจริง เอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ก็มีอยู่มากทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เป็นเรื่องที่เขียนเล่าโดยผู้มีความรู้ มีการศึกษาดี[/FONT]
    [FONT=&quot]อยู่ในวัยที่มีความรอบคอบ มองปัญหาหลายด้าน ท่านเหล่านั้นได้ประสบพบเห็นเองบ้าง บุคคลผู้พอเชื่อถือได้เล่าให้ฟังบ้าง แล้วนำมาเขียนรวบรวมพิมพ์ออกเผยแพร่ เพื่อให้ประชาชนได้รับพิจารณาว่าควรเชื่อเรื่องเหล่านี้หรือไม่เพียงไร[/FONT]
    [FONT=&quot]ศาสตราจารย์ น.พ[/FONT][FONT=&quot]. อวย เกตุสิงห์[/FONT][FONT=&quot] ได้เขียนปรารภไว้ในหนังสือของท่านเรื่อง ภพอื่นและเรื่องควรคำนึง ตอนหนึ่งว่า[/FONT]
    <table style="border: medium none ; background: rgb(255, 255, 245) none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous;" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr> <td style="border: 1.5pt solid maroon; padding: 0cm 5.4pt; width: 426.1pt;" valign="top" width="568"> [FONT=&quot]"ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้รวบรวมเรื่องทั้งหลายในหนังสือนี้ได้รับการศึกษามาในทางแพทย์และทางวิทยาศาสตร์สมัยหนุ่ม ๆ ก็มีความเข้าใจคล้ายคนหนุ่มสาว (และคนแก่บางคน) ในปัจจุบันนี้ว่า เมื่อเราตายแล้วก็จบเรื่องของเราและคู่ของเรา ถ้าไม่มีลูก เรื่องก็จบถึงที่สุด[/FONT]
    [FONT=&quot]เคยคิดว่า พระพุทธศาสนาก็คล้ายศาสนาอื่น ๆ คือเป็นระบบปฏิบัติเพื่อให้คนเป็นคนดีมีประโยชน์แก่สังคม นรกสวรรค์นั้นเป็นเรื่องสมมติเพื่อขู่หรือจูงใจ คนที่มีการศึกษาน้อย หรือไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์[/FONT]
    [FONT=&quot] โดยเฉพาะการเรียนวิชาภูมิศาสตร์เกี่ยวกับประวัติของโลก ชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของต้นไม้และสัตว์ และอินทรียเคมีเกี่ยวกับการหมุนเวียนของสารประกอบของสิ่งมีชีวิต ส่งเสริมความเข้าใจดังกล่าวนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าผู้ที่รู้วิทยาศาสตร์ทั่ว ๆ ไป ก็คงเข้าใจอย่างเดียวกัน[/FONT]
    [FONT=&quot] ต่อมาผู้เขียนเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ได้รู้เรื่องส่วนตัวของนักวิทยาศาสตร์ชั้นสูง ๆ หลายคน ทั้งโดยส่วนตัวและโดยทางเอกสาร ได้ทราบว่าท่านเหล่านั้นยกย่องว่าพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่ดีที่สุด และถูกหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด ก็เกิดความสนใจหันมาศึกษาหาเหตุผลแห่งความเห็นนั้น ๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้บวชเรียนในสำนักที่มีการอบรมสั่งสอนอย่างดีทั้งในทางปริยัติและปฏิบัติ ประกอบกับได้ศึกษากับพระอาจารย์กัมมัฏฐานชั้นสูง ๆ อีกหลายท่าน ก็ได้เปลี่ยนความเห็นไปในทางที่ถูกต้อง กล่าวคือเห็นว่า[/FONT]
    [FONT=&quot] คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็นสัจจะเที่ยงแท้ และลึกล้ำเหนือวิทยาศาสตร์ วิธีการของวิทยาศาสตร์นั้นอาศัยสัมผัสทั้ง ๕ [/FONT] [FONT=&quot] แม้จะใช้เครื่องช่วยเหลืออย่างดีวิเศษเพียงไร ก็ยังต้องแปลผลด้วยสัมผัสทั้ง ๕ นั้นเอง อะไรที่ทำให้ตาเห็นไม่ได้ หูฟังไม่ได้ยิน จมูกดมไม่ได้กลิ่น ลิ้นชิมไม่รู้รส ผิวหนังแตะต้องไม่รู้สึก วิทยาศาสตร์ก็รับรู้ไม่ได้ เพราะไม่มีวัตถุพยานหรือทำซ้ำพิสูจน์กันไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่วิธีการของพระพุทธศาสนานั้น ใช้สัมผัสทั้ง ๖ คือ มีการใช้การงานของจิตด้วย ซึ่งใช้ได้ในเมื่อสัมผัสอื่น ๆ ไม่สามารถรับรู้ จริงอยู่ ผลการศึกษาเรื่องจิตนี้เป็นเรื่องเฉพาะตัว ใครทำได้คนนั้นรู้ แต่วิธีนั้นสอนกันได้ และใครที่ปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ก็จะได้ผลเหมือน ๆ กันกับอาจารย์ผู้สอน นับว่ามีการถ่ายทอดและมีการพิสูจน์โดยการทำซ้ำได้เหมือนกัน[/FONT]
    [FONT=&quot] ผู้เขียนยังปฏิบัติไม่ได้ถึงขั้นที่จะรู้เห็นเองไปหมดทุก ๆ อย่าง แต่เท่าที่ทำได้แม้เพียงเล็กน้อย ก็รู้สึกว่าผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ และถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ทั้งในด้านความรู้และด้านประยุกต์ [/FONT] [FONT=&quot] (ด้านการใช้ -ว.ศ)[/FONT]
    [FONT=&quot]ดังนั้น แม้ว่าจะยังไม่สามารถพิสูจน์ด้วยตัวเองได้หมดทุก ๆ ข้อ โดยเหตุผลก็เห็นสมควรรับว่า หลักสำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนานั้น คงไม่ผิดไปจากความจริง หลักสำคัญประการหนึ่ง คือการที่คนธรรมดาที่ยังไม่สิ้นอาสวะ จะต้องเกิดอีกเมื่อตายไปแล้ว แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องพิสูจน์ยาก[/FONT][FONT=&quot]...[/FONT]
    [FONT=&quot] ตามธรรมดาก็ต้องอาศัยศรัทธาในพระสัมโพธิญาณ[/FONT][FONT=&quot]เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีความเห็นว่า เหตุกราณ์ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลบางคนซึ่งได้เผชิญกับอมนุษย์ผู้สิงสู่อยู่ในภพอื่น ๆ ก็ดี หรือผู้ทีเคยผ่านเข้าไปในภพดังกล่าวแล้วกลับมาได้ก็ดี อาจจะช่วยส่งเสริมความเชื่อถือในเรื่องเหตุการณ์ภายหลังการตายได้ โดยเฉพาะถ้าการเล่าเรื่องนั้น ๆ มีหลักฐานน่าเชื่อถือ[/FONT][FONT=&quot]..."[/FONT]
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    [FONT=&quot]ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้เขียนไว้อีกตอนหนึ่งว่า[/FONT]
    <table style="border: medium none ; background: rgb(255, 255, 245) none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous;" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr> <td style="border: 1.5pt solid maroon; padding: 0cm 5.4pt; width: 426.1pt;" valign="top" width="568"> [FONT=&quot]"พระพุทธศาสนาสอนว่า คนเรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย หากทำกรรมใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมต้องรับผลของกรรมนั้น กรรมเป็นปัจจัยจำแนกสัตว์ต่าง ๆ ตราบใดที่เรายังไม่หมดกิเลส ตราบนั้นกรรมก็จะส่งไปให้เกิดในที่ดีหรือชั่วสุดแล้วแต่กรรมที่ทำไว้[/FONT]
    [FONT=&quot] ต่อเมื่อสิ้นกิเลสอาสวะแล้วจึงไม่ต้องเกิดอีกต่อไปคือเข้าสู่ปรินิพพาน [/FONT] [FONT=&quot] ถ้าใครเชื่อตามนี้โดยสนิทใจก็เป็นอันหมดห่วงได้ ไม่ต้องสงสัยว่าตายแล้วเป็นอย่างไร เพราะพระบรมศาสดาทรงบอกไว้อย่างแจ้งชัดว่า ต้องไปเกิดตามกรรม [/FONT]
    [FONT=&quot]"ในสมัยก่อน คนทั่วไปเชื่อมั่นในข้อนี้ ไม่กล้าทำบาป เพราะกลัวไปตกนรกและเพียรทำบุญเพื่อจะได้ไปสวรรค์ อาชญากรรมร้ายแรงจึงมีน้อย[/FONT]
    มาถึงสมัยนี้คนหันมาถือคติวัตถุนิยมตามวิทยาศาสตร์ ยอมรับแต่สิ่งที่เห็นได้พิสูจน์ได้ เลยชักสงสัยในความเชื่อถือแต่ดั้งเดิม กลับไปนิยมในทางที่ว่าตายแล้วอะไรๆ ก็สลายแยกแยะไปตามร่างกายที่เน่าเปื่อย
    [FONT=&quot] แม้พระภิกษุบางรูปก็ปรับตนเข้ากับสมัยนิยมสอนไปในเชิงว่านรกสวรรค์มีอยู่แต่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องรู้อยู่แก่ใจบ้าง เป็นเรื่องความทุกข์หรือความสุขตามคติโลกบ้าง เรื่องปรโลกไม่มีกล่าวถึง[/FONT]
    [FONT=&quot] ผลของการผันแปรเช่นนี้ก็คือคนไม่กลัวบาป เกรงแต่กฎหมาย เมื่อใดเห็นว่ามือของกฎหมายจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ก็กระทำการที่ต้องห้ามตามแต่ตนจะได้ประโยชน์หรือได้ความพอใจ[/FONT]
    [FONT=&quot] บ้านเมืองจึงมากไปด้วยเรื่องประทุษร้าย ฆ่ากันด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย หรือเรื่องทุจริตคดโกงฉ้อราษฏร์บังหลวงโดยไม่กลัวตกนรก สังคมก็ปั่นป่วน[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะคนไม่เห็นผู้ทำชั่วต้องรับผลร้ายและไม่เชื่อเหมือนแต่ก่อนว่าผู้ทำบาปนั้น แม้ไม่ได้รับผลในชาตินี้ที่อาจเห็นได้ก็จะต้องได้รับชาติต่อๆ ไป[/FONT]
    [FONT=&quot] เรื่องทำความดีก็หมดความเชื่อถือโดยทำนองเดียวกัน หากคิดดูเพียงเล็กน้อย ก็จะเห็นได้ว่า วิธีหนึ่งที่จะแก้ภาวะการเสื่อมโทรมเช่นนี้ก็คือ[/FONT]
    [FONT=&quot] การชักนำให้คนกลับไปเชื่อในเรื่องตายแล้วเกิด จะได้กลัวบาปกลัวนรก ซึ่งหนีไม่พ้น ไม่เหมือนกับการลงโทษทางโลก ซึ่งมีการหลบเลี่ยงได้มากมาย[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]. ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนรกสวรรค์[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าจะถามว่า การศึกษาเรียนรู้และรับเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ มีประโยชน์อะไร[/FONT][FONT=&quot]? ก็ตอบได้ทันทีว่า มีประโยชน์มาก มีประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคมส่วนรวม[/FONT]
    [FONT=&quot]ในส่วนตัวนั้นทำให้เป็นคนกลัวเวรกลัวกรรม ไม่กล้าทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เพราะเกรงผลแห่งกรรมจะติดตามตนไปและให้ผลในชีวิตหน้า ทางฝ่ายดีก็ทำให้เป็นผู้มีใจมั่นคงในคุณงามความดี[/FONT]
    [FONT=&quot]สามารถทำความดีได้อย่างสบายใจแม้จะไม่มีใครเห็น ทำให้เป็นคนบากบั่นอย่างมั่นคงในกุศลธรรม ไม่ท้อถอยง่าย และไม่บ่นว่า ทำดีไม่เห็นได้ดี[/FONT]
    [FONT=&quot] ส่วนคนที่ไม่เชื่อในเรื่องนี้มักพอใจทำความดีและหนีความชั่วเท่าที่นึกว่าจะมีคนเห็น ถ้าไม่มีใครเห็นก็รู้สึกว่าความดีความชั่วที่ตนทำนั้น เป็นหมันเสียแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]จึงเป็นคนท้อถอยง่าย ตีโพยตีพายเมื่อได้ทุกข์ และระเริงหลงเมื่อได้สุข เพราะเชื่อว่าสุขทุกข์นั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญ หามีมูลฐานมากจากการกระทำของตนไม่[/FONT]
    [FONT=&quot]ในส่วนที่เกี่ยวกับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดนั้น ผู้เชื่อเรื่องบุญกรรมและนรกสวรรค์ย่อมชักจูงบุตรภรรยาหรือสามีและบริวารชนให้กลัวบาปกรรม ให้หมั่นสร้างสมบุญกุศล ทำแต่กรรมดีไม่เป็นคนฉวยโอกาส [/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อเป็นดังนี้ชื่อว่าได้ปูพื้นฐานอันดีให้แก่ครอบครัวและบริวารชน[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่เกี่ยวกับสังคม คนเช่นนั้นย่อมไม่เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ไม่ริษยาใคร เพราะเชื่อว่าความสุขความสำเร็จอันใด ที่เขาอื่นได้รับก็เป็นเพราะผลแห่งกุศลกรรมของเขาไม่ในปัจจุบันก็อดีต[/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนความชั่วอันใดที่เขาทำ เขาย่อมได้รับผลอย่างแน่นอนไม่เร็วก็ช้า ไม่ในโลกนี้ก็โลกหน้า [/FONT]
    [FONT=&quot]คนมีความเห็นอย่างนี้ มีความคิดอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นเวรเป็นภัยกับใคร ไม่ทำลายล้างใคร ตั้งหน้าแต่จะทำความดีแก่สังคมอย่างสงบเสงี่ยม ไม่ยื้อแย่งแข่งดีกับใคร [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าสังคมของเรามีคนอย่างนี้มากๆ สังคมย่อมสงบร่มเย็น ไม่ต้องหวาดระแวงภัยอย่างที่คนทั้งหลายกำลังหวาดระแวงกันอยู่ในปัจจุบันนี้[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. พระพุทธภาษิต[/FONT]
    [FONT=&quot] มีพระพุทธภาษิตตอนหนึ่งซึ่งน่าสนใจและทำความพิศวงแก่ผู้ไม่เชื่อเรื่องโลกหน้ามาก พระพุทธภาษิตนั้น ความว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]"ญาติมิตรและสหายรัก ย่อมยินดีต้อนรับบุคคลผู้จากไปเสียนาน กลับมาด้วยความสวัสดีฉันใด บุญที่บุคคลทำไว้แล้วก็ฉันนั้น ย่อมคอยต้อนรับบุคคลผู้จากโลกนี้ไป เหมือนญาติคอยต้อนรับบุคคลอันเป็นที่รักของตนฉะนั้น"[/FONT]
    [FONT=&quot]ข้อวิจารณ์[/FONT]
    [FONT=&quot]ตามพระพุทธภาษิตข้างบนนี้ แสดงว่ามีโลกหน้า ชีวิตมนุษย์มิได้ดับสูญพร้อมกับความตาย ความตายเป็นเพียงการแตกทำลายแห่งกายเนื้อ แต่กายทิพย์ และวิญญาณยังต้องเดินทางต่อไป[/FONT]
    [FONT=&quot]จะไปอย่างไร ไปดี [/FONT] [FONT=&quot] หรือชั่ว ก็สุดแล้วแต่กรรมที่เขาสั่งสมไว้เมื่อเป็นมนุษย์ปราชญ์บางท่านเชื่อว่า ชีวิตที่แท้จริงคือชีวิตหลังจากที่เราตายแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]เพราะในโลกทิพย์เราจะอยู่กันเป็นพันเป็นหมื่นปี ไม่ใช่เป็นสิบเป็นร้อยอย่างชีวิตมนุษย์ หรือ ๗ วัน ๒ เดือนอย่างชีวิตสัตว์บางประเภท เมื่อเป็นดังนี้ บุญบาปที่บุคคลทำไว้ในโลกนี้จึงมีบทบาทสำคัญมากในชีวิตหน้า[/FONT]
    [FONT=&quot]บางคนไม่เชื่อเรื่องบุญบาป บางคนเชื่อ แต่เชื่อเฉพาะบุญบาปในโลกนี้เท่านั้น บางคนเชื่อบุญบาปและเชื่อทั้งโลกนี้และโลกหน้า ยุติอย่างไร เป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย ยากที่จะทำให้คนทุกคนเข้าใจตามความเป็นจริงได้[/FONT]
    [FONT=&quot]เพราะความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ หรือญาณของแต่ละคนไม่เท่ากัน พื้นฐานแห่งความรู้ก็ไม่เท่ากัน อุปนิสัยหรือคุณสมบัติแห่งใจไม่เหมือนกัน บุคคลจึงสามารถรู้แจ้งในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่าที่กำลังแห่งสติปัญญาของเขาจะตรองเห็นได้[/FONT]
    [FONT=&quot]บางคนยังไม่มีสติปัญญาของตนเอง แต่อาศัยศรัทธาต่อท่านผู้รู้ คือ เชื่อตามท่านผู้รู้ยอมรับเชื่อแม้ในสิ่งที่ตนยังตรองไม่เห็น ถ้าความเชื่อนั้นไปในทางดีก็ทำให้สำเร็จประโยชน์ได้เหมือนกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]บางท่านต้องการความเข้าใจเสียก่อนแล้วจึงเชื่อ แต่มีบางสิ่งบางอย่างที่เราต้องเชื่อเสียก่อนจึงจะเข้าใจ แม้จะเชื่อไม่หมดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะความเชื่ออันมีอยู่บ้างนั้นทำให้เราแสวงหาความจริงต่อไป เพื่อความรู้อันถ่องแท้แน่นอน[/FONT]
    [FONT=&quot]กล่าวตามแนวแห่งพระพุทธศาสนา ศรัทธาเป็นบันไดขั้นต้นในกระบวนการพัฒนาปัญญา ศรัทธาและปัญญาต่างเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]คือเรามีศรัทธาก็เพื่อความรู้แจ้ง [/FONT] [FONT=&quot](อันเป็นตัวปัญญา) และมีปัญญารู้แจ้งก็เพื่อเราจะได้เชื่ออย่างมั่งคง ไม่คลอนแคลน ความเชื่ออย่างมั่นคงอันประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น ย่อมนำไปสู่การปฏิบัติชอบ[/FONT]
    [FONT=&quot] ก้าวไปข้างหน้าในด้านคุณธรรมหรือการอบรมความดีอย่างไม่ลังเล ศรัทธาซึ่งมีปัญญาเป็นอำนาจแฝงมาด้วยแต่ต้นนี้ ในที่สุดก็จะถูกปัญญาเข้าแทนที่โดยสิ้นเชิง[/FONT]
    [FONT=&quot]ตัวอย่างเช่น พุทธศาสนิกผู้เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อได้สดับศึกษาว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องโลกหน้า เรื่องนรกสวรรค์ เรื่องบุญบาปอันจะตามให้ผลทั้งในโลกหน้า แล้วก็น้อมใจเชื่อ[/FONT]
    [FONT=&quot]ในระหว่างที่เชื่ออยู่นั้น เขาเริ่มปฏิบัติชอบและค้นคว้าศึกษาอย่างไม่หยุดยั้ง ใจเขาเพรียบพร้อมด้วยคุณธรรม ประณีต สงบ และสว่างขึ้นโดยลำดับ ในที่สุดก็เห็นได้ด้วยตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]ซึ่งหลักธรรมหรือความจริงอันดูเหมือนลี้ลับในเบื้องต้น เปรียบเหมือนเด็กอ่อนที่เชื่อมารดาบิดาครูอาจาย์ หรือผู้หลักผู้ใหญ่ในเบื้องต้นและเขาก็เติบโตขึ้นโดยลำดับ ในที่สุดเขาก็เดินได้เอง รับประทานอาหารได้เอง อ่านหนังสือได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งผู้ใหญ่ในเรื่องนั้นๆ อีกต่อไป[/FONT]
    [FONT=&quot]ศรัทธากับปัญญาจึงอาศัยกันและกันเป็นเหตุเป็นผลของกัน และกัน ในพระไตรปิฎกมีหมวดธรรมมากหลายที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงศรัทธาและปัญญาไว้ด้วยกัน [/FONT][FONT=&quot] เพื่อเป็นอุปการะแก่กัน*[/FONT]
    [FONT=&quot] --------------------------------------------------------------[/FONT]
    * ตัวอย่างเช่น
    . สัมปรายิกัตถะ :ศรัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคะสัมปทา ปัญญาสัมปทา
    . สารธรรม : ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
    . พละ;อินทรีย์ : ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
    . เวสารัชชกรณธรรม : ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา
    . อริยทรัพย์ : ศรัทธา ศีล หิริโอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา
    [FONT=&quot] แม้นักปราชญ์นอกพระพุทธศาสนาบางท่านก็เห็นด้วยกับคำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้ ขอยกเอาคำพูดของเซนต์ ออกัสตีน [/FONT] [FONT=&quot](St. Augustine) เป็นตัวอย่าง เขากล่าวว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]"เราเข้าใจเพื่อจะได้เชื่อ และเราเชื่อเพื่อจะได้เข้าใจ บางสิ่งบางอย่างเราไม่เชื่อจนกว่าจะเข้าใจ แต่ก็มีบางอย่างที่เราจะเข้าใจไม่ได้เลย ถ้าเราไม่เชื่อเสียก่อน ปัญญาและศรัทธาจึงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน"[/FONT]
    [FONT=&quot]บางคนมีบารมีน้อย มีอาสวะมาก เข้าใจเรื่องดีได้ช้า หรือไม่เข้าใจเอาเลย แต่เข้าใจเรื่องชั่วได้เร็ว ทำความชั่วขึ้น เรียกว่าเรื่องชั่วๆ แล้วไม่ถอยหนี แต่เรื่องดีไม่สู้[/FONT]
    [FONT=&quot]บางคนมีอาสวะน้อย มีบารมีมาก เข้าใจเรื่องชั่วได้ช้า แต่เข้าใจเรื่องดีได้ง่าย ทำความดีขึ้น เรียกว่าเรื่องดีๆ แล้วไม่ถอย แต่เรื่องถ่อยไม่สู้[/FONT]
    [FONT=&quot]บางคนมีอัธยาศัยหยาบ ต้องขัดเกลานานจึงจะรู้ธรรมได้ บางคนมีอัธยาศัยประณีต ขัดเกลาได้ง่าย อบรมได้ง่าย เข้าใจสิ่งละเอียดอ่อนได้เร็ว[/FONT]
    [FONT=&quot]บางคนมีสันดานดี บริสุทธิ์ มีใจน้อมไปในทางดีอยู่เสมอ ใจไม่ลงรอยกับความชั่ว บางคนมีสันดานชั่ว ไม่บริสุทธิ์ ใจน้อมไปในทางชั่วอยู่เสมอ ไม่ลงรอยกับความดี หรือคนดี[/FONT]
    [FONT=&quot]บางคนมีอุปนิสัยในทางธรรม มีบารมีธรรมที่สั่งสมมามาก บางคนไม่มีอุปนิสัยเช่นนั้น บางคนสอนง่าย บางคนสอนยาก[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องบุญ เรื่องบาป เป็นเรื่องที่สอนให้เข้าใจจริง ๆ ได้ยาก จนกว่าจิตใจของบุคคลผู้นั้นจะมีความแก่รอบ [/FONT] [FONT=&quot](ปริปักกะ) พอที่จะรู้เรื่องนามธรรมที่ลึกซึ้งได้[/FONT]
    [FONT=&quot]ทางที่จะให้เข้าถึงเรื่องนี้ [/FONT] [FONT=&quot](คือเรื่องบุญบาป นรกสวรรค์) อย่างแท้จริงด้วยความเชื่ออันมีเหตุผลในใจของตนเองก็คือ การค่อยๆ อบรมศึกษาไปทีละน้อย[/FONT]
    [FONT=&quot]โดยการอ่าน การฟัง คิด สอบถามท่านผู้รู้อยู่เสมอ ไม่ท้อถอยหรือตัดปัญหาเสียว่า[/FONT][FONT=&quot] "เรื่องนี้ไม่จริง ฉันไม่เชื่อ"[/FONT]
    [FONT=&quot]คนธรรมดาสามัญก็พอรู้ว่า สิ่งที่เราไม่เชื่อหรือไม่เห็นนั้น มิได้หมายความว่าจะไม่มีอยู่จริงเสมอไป[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อเป็นดังนี้ ไฉนผู้มีการศึกษาดีซึ่งยอมรับนับถือตนเองว่าเป็นปัญญาชนจะรีบด่วนปฏิเสธเรื่องที่ตนยังไม่รู้ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องเหลวไหลเล่า คนอื่นอาจรู้เห็นก็ได้[/FONT]
    [FONT=&quot]อนึ่ง ถ้าจะตำหนิผู้เชื่อเรื่องโลกหน้า เรื่องสังสารวัฏว่างมงายเพราะไม่ได้เห็นด้วยตนเองแล้ว ผู้ตำหนิผู้อื่นนั้นก็น่าจะงมงายเหมือนกัน เพราะตนก็ไม่ได้รู้แจ้งในเรื่องเหล่านั้นเลย แต่กล้าปฏิเสธ[/FONT]
    [FONT=&quot]และดูเหมือนจะงมงายกว่าผู้เชื่อเสียอีก เปรียบเหมือนเด็กสองคนเถียงกันเรื่องช้างน้ำ คนหนึ่งเชื่อว่ามี เพราะผู้ใหญ่บอกว่ามี แม้ตนจะยังไม่เคยเห็นช้างน้ำก็ตาม[/FONT]
    [FONT=&quot]อีกคนหนึ่งไม่ยอมเชื่อ เพราะอ้างว่าตนไม่เคยเห็นช้างน้ำเลย ในเด็กสองคนนี้ คนไหนโง่หรือฉลาดกว่ากัน[/FONT]
    [FONT=&quot]ความจริงเด็กที่เชื่อมารดาบิดาครูอาจารย์ ในสิ่งที่ตนไม่เคยรู้เห็นมาก่อน และยอมปฏิบัติตามนั้น ย่อมได้รับประโยชน์เป็นอันมาก ทีแรกก็เชื่อไปก่อน เมื่อเติบโตขึ้นย่อมตรองเห็นเหตุผลได้เอง[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องราวในประวัติศาสตร์ และประวัติบุคคล สำคัญมากมายในอดีต เราก็ไม่เคยเห็นด้วยตนเอง แต่ทำไมเราเชื่อจะไม่กลายเป็นงมงายไปหรือ[/FONT][FONT=&quot]?[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องนรกสวรรค์ในโลกหน้านั้น ท่านผู้มีญาณ หรือหูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ ยืนยันว่ามีทุกท่านไป นรกสวรรค์เป็นโลกทิพย์ จึงต้องรู้ด้วยสิ่งที่เป็นทิพย์เช่นเดียวกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]หนังสือเกี่ยวกับเรื่องนรกสวรรค์ ตายแล้วเกิด ชาติหน้า ชาติก่อน ก็มีอยู่หลายเล่ม เขียนโดยชาวพุทธในเมืองไทยเรานี่เอง ท่านผู้ต้องการความเข้าใจในเรื่องนี้ควรอ่าน ไม่ควรปล่อยตนให้อยู่ในความสงสัยตลอดไป[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องโลกทิพย์และชีวิตหลังความตาย [/FONT][FONT=&quot] (แปลโดย ศิริ พุทธศุกร์ สำนักพิมพ์ค้นคว้าทางวิญญาณ จัดพิมพ์) น่าอ่านมากให้ทั้งความรู้และความเพลิน[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องโลกอื่น [/FONT] [FONT=&quot](รวบรวมโดย พระราชดิลก วัดบุปผาราม กรุงเทพมหานคร) ก็มีคุณค่าควรอ่านอย่างยิ่ง ชี้ให้เห็นผลของกรรมดีกรรมชั่ว ที่ไปรอบุคคลอยู่ในโลกอื่น หรือโลกหน้า[/FONT]
    [FONT=&quot]นอกจากนี้ยังมี เรื่องภพอื่นและเรื่องควรคำนึง[/FONT][FONT=&quot]-พิสูจน์บุญบาปในปัจจุบัน[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot] (รวบรวมโดย ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ และวัฒนา โอสถานุเคราะห์)[/FONT]
    [FONT=&quot]เอกสารรายงานการค้นคว้า เรื่องวิญญาณมีจริงหรือไม่ [/FONT][FONT=&quot] (จัดทำโดย ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล และศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์) เป็นต้น ล้วนน่าอ่าน เรื่องเหล่านี้เป็นชีวิตของคนไทยในปัจจุบันทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องนรก สวรรค์ โลกหน้าและผลบุญผลบาปไว้มากมายหลายเรื่อง ขอนำมากล่าวในที่นี้ เพียงบางเรื่อง ดังต่อไปนี้[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เรื่องนันทิยะ[/FONT]
    [FONT=&quot]ในกรุงพาราณสี มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อนันทิยะ เป็นผู้มีศีลมีศรัทธา พอใจในการปฏิบัติบำรุงพระสงฆ์[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อเขามีอายุพอจะครองเรือนได้แล้ว มารดาบิดาต้องการให้เขาแต่งงานกับหญิงสาวคนหนึ่ง ชื่อเรวดี แต่นางเป็นผู้ไม่มีศรัทธา นันทิยะจึงไม่ต้องการ[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่มารดาบิดาของนันทิยะต้องการ ท่านทั้งสองจึงขอร้องให้นางเรวดีทำใจให้ศรัทธาในพระรัตนตรัย[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพระสงฆ์มาฉันอาหารที่บ้าน ขอให้นางเรวดีช่วยปูลาดอาสนะ ตั้งเชิงบาตร รับบาตร นิมนต์ให้นั่ง กรองน้ำด้วยเครื่องกรอง [/FONT] [FONT=&quot](ธมกรก) เมื่อพระฉันเสร็จแล้วให้ล้างบาตร ถ้าทำได้อย่างนี้ นันทิยะจะพอใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]เรวดีต้องการแต่งงานกับนันทิยะ จึงยอมทำตาม ท่านทั้งสองได้เล่าให้นันทิยะฟัง นันทิยะจึงยอมแต่งงานด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]ต่อมานางมีบุตรกับนันทิยะ ๒ คน เมื่อมารดาบิดาของนันทิยะสิ้นชีวิตแล้ว นางก็ได้ครองความเป็นใหญ่ในเรือน[/FONT]
    [FONT=&quot]จำเดิมแต่มารดาบิดาสิ้นชีวิตแล้ว นันทิยะยิ่งให้ทานมากขึ้นเป็นมหาทานบดี เตรียมทานสำหรับภิกษุสงฆ์ ตั้งค่าอาหารสำหรับคนกำพร้าและคนเดินทางไว้ที่ประตูเรือน[/FONT]
    [FONT=&quot]ต่อมา เขาได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องอานิสงส์แห่งเสนาสนทาน จึงได้สร้างศาลา ๔ มุข มี ๔ ห้องในมหาวิหารอิสิปตนะ มีเครื่องนั่ง เครื่องนอนพร้อม[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อจะมอบถวายเสนาสนะนั้น เขาได้ถวายมหาทาน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วถวายน้ำทักษิโณทกแด่พระตถาคต[/FONT]
    [FONT=&quot]ขณะเดียวกันนั่นเอง ปราสาททิพย์พร้อมด้วยเหล่าเทพอัปสร ได้ปรากฏขึ้นรอคอยเขาอยู่ในเทวโลก[/FONT]
    [FONT=&quot]ต่อมาวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะจาริกไปในเทวโลก [/FONT][FONT=&quot] (การไปของพระอรหันต์อย่างนี้ไปด้วยกายทิพย์-ว.ศ)ยืนอยู่ใกล้ปราสาทนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]พวกเทพบุตรมาหาท่านกันมาก ท่านถามเทพบุตรเหล่านั้นว่า ปราสาทพร้อมด้วยเทพอัปสรเหล่านั้นเกิดขึ้นเพื่อใคร[/FONT][FONT=&quot]?[/FONT]
    [FONT=&quot]เทพบุตรเหล่านั้นเรียนให้ทราบว่า เกิดขึ้นเพื่อนันทิยะ ผู้สร้างวิหารถวายพระศาสดาที่ป่าอิสิปตนะ[/FONT]
    [FONT=&quot]ฝ่ายพวกเทพอัปสรเห็นพระเถระแล้ว ลงจากปราสาท นมัสการพระเถระและกล่าวว่า[/FONT][FONT=&quot] "พวกข้าพเจ้าเกิดที่นี่เพื่อรอเป็นบาทบริจาริกาของนันทิยะ แต่ไม่เห็นเขามาเลย รออยู่นานเบื่อเหลือเกิน[/FONT]
    [FONT=&quot]พระคุณเจ้ากลับไปเมืองมนุษย์แล้ว กรุณาบอกเขาด้วยว่า ขอให้ละมนุษยสมบัติ อันเป็นเหมือนภาชนะดิน แล้วมารับทิพยสมบัติอันเป็นเสมือนภาชนะทองคำด้วยเถิด[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]
    [FONT=&quot]พระมหาโมคคัลลานะกลับจากเทวโลกแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า[/FONT][FONT=&quot] "เป็นไปได้หรือที่ทิพยสมบัติจะเกิดขึ้นในเทวโลก รอบุคคลผู้ทำความดีซึ่งยังอยู่ในมนุษย์โลก?"[/FONT]
    [FONT=&quot]พระศาสดาตรัสตอบว่า[/FONT][FONT=&quot] "โมคคัลลานะ ก็ทิพยสมบัติเกิดขึ้นแก่นันทิยะ เธอเห็นเองแล้วมิใช่หรือ เหตุไฉนจึงถามเราอีกเล่า?[/FONT]
    [FONT=&quot]ดูก่อนโมคคัลลานะ [/FONT] [FONT=&quot] บุญที่บุคคลทำแล้วย่อมไปรอต้อนรับเขาอยู่ในเทวโลกเหมือนญาติมิตรรอต้อนรับผู้เป็นที่รักของตนซึ่งเดินทางกลับมากจากแดนไกล[/FONT][FONT=&quot]" ดังนี้เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เรื่องพระนางโรหิณี[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องนี้เกิดขึ้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ สมัยนั้น พระอนุรุทธเถระไปเมืองกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยภิกษุบริวารจำนวน ๕๐๐ รูป[/FONT]
    [FONT=&quot]พวกพระญาติทราบข่าวการมาของท่านจึงพากันมาหา เว้นแต่พระนางโรหิณี พระเถระเมื่อไม่เห็นพระนางจึงทูลถามพระญาติว่า พระนางโรหิณีไปไหน[/FONT][FONT=&quot]?[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านทราบจากพระญาติว่า พระนางโรหิณีไม่เสด็จมาเพราะความละอายที่เป็นโรคผิวหนัง [/FONT] [FONT=&quot](โรคเรื้อน) พระเถระให้เชิญพระนางมาและแนะนำให้ทรงทำบุญ[/FONT]
    [FONT=&quot]"ทำอย่างไรท่าน?" พระนางทูลถามพระพี่ชาย[/FONT]
    [FONT=&quot](พระนางโรหิณีเป็นพระน้องนางของพระอนุรุทธะ มีพี่น้อง ๓ พระองค์ด้วยกันคือ มหานาม อนุรุทธะ และโรหิณี ทรงเป็นพระราชโอรสธิดาของอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ - ว.ศ.)[/FONT]
    [FONT=&quot]พระเถระจึงบอกอุบายให้ว่า ให้สละเครื่องประดับออกจำหน่ายได้เงินมาเท่าใด ให้นำมาทำโรงฉันสำหรับภิกษุสงฆ์ ขอให้พระญาติที่เป็นชายช่วยกันดำเนินการสร้างโรงฉันให้เรียบร้อย[/FONT]
    [FONT=&quot]พระนางทรงเชื่อ ขายเครื่องประดับได้แล้ว ให้สร้างโรงฉันขึ้นทำเป็นสองชั้น พระนางได้ปัดกวาดโรงฉันเป็นประจำ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ถวายขาทนียโภชนียาหารแก่ภิกษุสงฆ์[/FONT]
    [FONT=&quot]ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศล โรคผิวหนังของพระนางค่อยๆ หายไปทีละน้อยจนเกลี้ยงเกลา[/FONT]
    [FONT=&quot]วันหนึ่งพระศาสดาเสด็จมาที่โรงฉันของพระนางโรหิณี เสวยแล้วตรัสกับพระนางว่า โรคผิวหนังนั้นเกิดขึ้นเพราะกรรมที่พระนางเคยเอาผงเต่าร้าง หรือหมามุ่ยโรยลงที่ตัวของหญิงนักฟ้อนคนหนึ่งเพราะโกรธและริษยาเขา[/FONT]
    [FONT=&quot]หญิงนักฟ้อนได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส[/FONT]
    [FONT=&quot](โปรดดูเรื่องพิสดารในอรรถกถาธรรมบทภาค ๖ โกธวรรค เรื่องพระนางโรหิณี)[/FONT]
    [FONT=&quot]เพราะฉะนั้นบุคคลควรละความโกรธ และสละความถือตัว ทะนงตนเสีย[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพระนางโรหิณีสิ้นพระชนม์แล้วไปเกิดเป็นเทพอัปสร และได้เป็นมเหสีที่รักยิ่งของท้าวสักกะ จอมเทพแห่งดาวดึงส์[/FONT]
    [FONT=&quot]ข้อสังเกต[/FONT]
    [FONT=&quot]โรคของพระนางโรหิณีเกิดขึ้นเพราะกรรมชั่ว ที่เรียกในพระบาลีว่า [/FONT] [FONT=&quot]"กมฺมวิปากชา อาพาธา" แปลว่า "อาพาธซึ่งเกิดจากผลของกรรม" [/FONT]
    [FONT=&quot]โรคอย่างนี้ถ้ากรรมไม่หมดฤทธิ์ก็ไม่หาย วิธีหนึ่งที่จะทำให้กรรมหมดฤทธิ์เร็วคือการทำบุญหรือทำความดีเพื่อไปต่อสู้กับผลของกรรมเก่า[/FONT]
    [FONT=&quot]และทำให้ผลกรรมนั้นอ่อนกำลังลง อย่างน้อยที่สุดก็ผ่อนหนักให้เป็นเบา หรืออาจช่วยให้กรรมนั้นสูญสิ้นไปเลย สมดังพระบาลีที่ว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]"ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปหียติ" (ขุ.ธ. ๒๕/๓๘)[/FONT]
    [FONT=&quot]แปลว่า[/FONT][FONT=&quot] "กรรมชั่วที่บุคคลทำแล้วย่อมละเสียได้ด้วยกุศลกรรม"[/FONT][FONT=&quot] การทำความดีจึงมีผลดีทั้งแก่ร่างกายและจิตใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]อนึ่ง ทั้งนันทิยะและพระนางโรหิณีได้รับการต้อนรับจากโลกทิพย์เพราะบำเพ็ญเสนาสนทาน การถวายเสนาสนทานนั้น ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า มีอานิสงส์มากกว่าอามิสทานใดๆ ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot]แม้การถวายอาหารทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขก็สู้เสนาสนทานไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]. ความมีอยู่จริงของโลกหน้า[/FONT]
    [FONT=&quot] บรรดาบุคคลที่น่าเชื่อถือทั้งหลายพระพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือที่สุด เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต และอบรมปัญญาแล้วอย่างดีเลิศ พระทัยของพระองค์ได้รับการพัฒนาขึ้นถึงขั้นสูงสุดผ่องแผ้วและสว่างไสว[/FONT]
    [FONT=&quot]พระองค์ผู้น่าเชื่อถือเช่นนี้ ตรัสว่า โลกหน้ามี นรกสวรรค์มี สัตว์ย่อมเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมของตน เมื่อสิ้นกิเลส สิ้นกรรม ภพชาติการเวียนว่ายตายเกิดก็สิ้นสุดลง ข้อความทำนองนี้มีอยู่มากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งชั้นพระไตรปิฎกและอรรถกถา[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตยิ่งประณีตและสว่างไสวด้วยปัญญามากขึ้นเท่าใด บุคคลก็สามารถแลเห็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้นเท่านั้น เปรียบเหมือนผู้มีกล้องส่องทางไกลและกล้องจุลทรรศน์ ย่อมมองเห็นได้ไกลกว่าและละเอียดประณีตกว่าผู้มองด้วยตาเปล่า[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อใช้กล้องส่องทางไกล วัตถุแม้อยู่ในที่ไกลซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่าไม่เห็นก็มาปรากฎอยู่ ณ ที่ใกล้ เชื้อโรคอันมีอยู่มากมาย ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนั้น เขาใช้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งมีอานุภาพขยายเป็นพันๆ เท่า ๆ จึงมองเห็น[/FONT]
    [FONT=&quot]นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงปาฏิหาริย์ไว้มากมายทางฝ่ายวัตถุ เพราะเขาได้อบรมฝึกฝนปัญญาทางวิทยาศาสตร์สืบช่วงกันมาเป็นเวลานาน[/FONT]
    [FONT=&quot]ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ฝึกอบรมทางจิตก็ย่อมมีปาฏิหาริย์ในทางฝ่ายจิต หรือในฝ่ายนามธรรม ได้เช่นกัน ย่อมสามารถรู้เห็นในสิ่งที่คนธรรมดาสามัญไม่อาจรู้เห็นได้[/FONT]
    [FONT=&quot]ผู้ที่จะเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ ต้องมีพื้นฐานความรู้พอสมควร ไม่ใช่อยู่ๆ ก็จะให้รู้เห็นขึ้นมาเองโดยไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย[/FONT]
    [FONT=&quot]ความสามารถที่จะรู้วิชาการระดับสูงไม่ว่าในสาขาใด จะต้องมีพื้นความรู้ตามลำดับขั้นของวิชาสาขานั้น วิชาการในระดับมหาวิทยาลัย เด็กอนุบาลไม่อาจเข้าใจได้ เพราะเด็กอนุบาลไม่มีพื้นความรู้พอ[/FONT]
    [FONT=&quot]ความรู้ทางศาสนา และความสามารถทางจิตของบุคคลทั่วไป เปรียบเหมือนความรู้และความสามารถของเด็กอนุบาล ส่วนความรู้ความสามารถทางจิตของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา เปรียบเหมือนความรู้ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญสุดในวิชาการ สาขาใดสาขาหนึ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ทุกคนมีสิทธิ์และโอกาสที่จะรู้ได้ถ้าเขามีความเพียรพยายาม ไม่ดื้นรั้นเกินไป ยอมรับฟังและพยายามดำเนินไปตามทางที่ท่านชี้บอกไว้[/FONT]
    [FONT=&quot]แม้ในทางธรรมดา เช่นจากกรุงเทพฯ ไปสงขลา หรือจากสงขลาไปกรุงเทพฯ ท่านที่ชำนาญทาง เดินทางไป[/FONT][FONT=&quot]-มาอยู่เสมอ ย่อมรู้ว่าระหว่างทางมีอะไรบ้าง ต้องผ่านสถานที่อะไรบ้าง สถานที่นั้นๆ เป็นอย่างไร ท่านได้ทำแผนที่และเขียนรายละเอียดไว้ให้สำหรับผู้จะเดินทางรุ่นหลัง[/FONT]
    [FONT=&quot]คนที่เดินทางย่อมได้พบเห็นสิ่งต่างๆ ที่ท่านเขียนบอกไว้ แต่คนที่นั่งอยู่กับบ้านย่อมไม่สามารถเห็นสิ่งนั้นๆ ได้เลย คนที่เคยไปมาบอกกี่คนๆ เขาก็ไม่เชื่อ เขายืนกรานอยู่อย่างเดียวว่า เขาไม่เห็น สิ่งนั้นๆ ไม่มีจริง คนที่มาบอก โกหกทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนคนที่เดินทางแม้ไม่ตลอดสาย คือเดินไปเพียงเล็กน้อย ได้เห็นจริงตามที่ท่านเขียนบอกไว้ก็ปลงใจเชื่อว่า แม้ทางที่เขายังไปไม่ถึงก็คงมีสิ่งต่างๆ ที่ท่านบอกไว้จริง แต่ตนเองยังไม่สามารถไปได้ตลอดสายเพราะเหตุขัดข้องบางประการ[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องที่เกี่ยวกับ ปรโลก สวรรค์ นรก ชาติก่อน ชาติหน้า ก็ทำนองเดียวกัน ท่านผู้มีญาณได้บอกไว้ เพราะท่านได้เห็นมาเองแล้ว ถ้าเรามีญาณอย่างท่านก็จะได้เห็นอย่างท่าน เมื่อไม่มีญาณอย่างท่าน ก็ไม่อาจรู้เห็นอย่างท่านได้[/FONT]
    [FONT=&quot] ทางที่จะให้เกิดญาณเช่นนั้นท่านก็บอกไว้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ แต่เราไม่ได้ทำกันเอง อย่าไปโทษท่านเลย โทษตัวเราเองกันดีกว่า ว่ายังโง่กว่าท่านมากนัก[/FONT]
    [FONT=&quot]อนึ่ง เรื่องหลักกรรม[/FONT][FONT=&quot] "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" จะไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่มีสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด เพราะชีวิตเพียงชาติเดียวสั้น เกินไปไม่พอพิสูจน์กฎแห่งกรรม[/FONT]
    [FONT=&quot]ไม่อาจข้ามแดนแห่งความสงสัยในปัญหาชีวิตเสียได้ว่า ทำไมคนดีบางคนจึงได้รับทุกข์อย่างที่ไม่ควรจะได้รับ เรื่องสังสารวัฏจะช่วยแก้ปัญหาข้อข้องใจอันนี้ของเราได้[/FONT]
    [FONT=&quot] และเรื่องสังสารวัฏก็จะไม่สมบูรณ์และน่าหวาดเสียวเกินไป ว้าเหว่เกินไป ถ้าไม่มีเรื่องนิพพาน อันเป็นที่สิ้นสุดแห่งสังสารวัฏ[/FONT]
    [FONT=&quot]การเกิดใหม่เป็นกระบวนการธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้เพื่อพัฒนาตนให้ขึ้นถึงขีดสมบูรณ์ เหมือนนักเรียนต้องมาโรงเรียนวันแล้ววันเล่า เรียนบทเรียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้ได้รับความรู้สมบูรณ์ และเลื่อนชั้นการศึกษาขึ้นไปโดยลำดับ[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ละชาติแห่งการเกิดใหม่ของบุคคล ถ้าเขาพัฒนาตนขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยการสั่งสมกรรมดีอยู่เสมอ วิญญาณของเขาจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนหลุดพ้นจากกิเลส กรรม และวิบากอันเป็นกลไกของสังสารวัฏ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป[/FONT]
    [FONT=&quot]มองในแง่นี้ ความตายมิใช่สิ่งน่ากลัวเลย สำหรับคนทำความดี มันเหมือนการละทิ้งภาชนะดิน เพื่อได้ภาชนะทองคำ ความตายมิใช่ความสิ้นสุดแห่งชีวิต แต่เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีกว่า คล่องตัวกว่า ผู้ที่คนทั้งหลายเข้าใจว่า[/FONT][FONT=&quot] "ตายแล้ว" นั้น ได้ไปมีชีวิตอยู่ในสภาวะใหม่อีกแบบหนึ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot]มีนิทานเก่าๆ อยู่เรื่องหนึ่ง เป็นนิทานเปรียบเทียบที่น่าสนใจและดีมาก ขอนำมาเล่าประกอบในที่นี้ เรื่องมีอยู่ว่า [/FONT][FONT=&quot] :-[/FONT]
    [FONT=&quot]ตัวหนอนดักแด้ที่จะเป็นผีเสื้อ [/FONT] [FONT=&quot](Caterpillar) ตัวหนึ่ง เมื่อโตเต็มที่ในขั้นหนอนแล้ว ถึงคราวที่มันจะแปรสภาพจากหนอนไปเป็นตัวแก้ว ในระยะนี้ มันจะอ่อนเพลียมาก และมันจะหลับเป็นเวลานานก่อนที่มันจะเป็นผีเสื้อ[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่เนื่องจากมันไม่รู้สภาพความเป็นจริงในเรื่องนั้น มันจึงเรียกประชุมเพื่อนๆ ของมัน และกล่าวอำลาอย่างเศร้าใจว่ามันจะต้องตาย จึงลาพวกเพื่อนไปก่อน ส่วนพวกเพื่อนซึ่งไม่รู้ความจริงในเรื่องนี้เช่นกัน ต่างก็เศร้าโศกอาลัยรำพันเป็นอันมาก แล้วก็แยกย้ายกันไป[/FONT]
    [FONT=&quot]เราผู้รู้เรื่องนี้ดี อาจจะชวนกันยิ้มเยาะหนอนดักแด้ที่จะเป็นผีเสื้อนั้นว่า ช่างโง่เขลาเสียนี่กระไร เพราะตามความเป็นจริงแล้ว มันกำลังจะแปรสภาพจากสัตว์เลื้อยคลาน ไปเป็นสัตว์อีกสภาพหนึ่ง ซึ่งแสนสวย และโผผินบินไปได้อย่างอิสระ เมื่อเทียบกับหนอนแล้ว สภาวะแห่งผีเสื้อเป็นความเจริญและผาสุกกว่ามาก[/FONT]
    [FONT=&quot]อย่างไรก็ตาม นักปราญ์สมัยโบราณท่านเล่าเรื่องนี้ไว้เพื่อให้เราได้ย้อนดูตัวเราเอง และความคิดของพวกมนุษย์เราเองว่า ใกล้เคียงหรือห่างไกลจากความคิดของตัวหนอนดักแด้มากน้อยเพียงใด[/FONT]
    [FONT=&quot]พวกเราได้เคยชวนกันร้องห่มร้องไห้อาลัย และทุกข์ร้อนต่อความตายของญาติสนิท มิตรสหาย เราเข้าใจว่า ชีวิตของท่านเหล่านั้นสิ้นสุดเสียแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ในความจริง ท่านผู้ทำความดีไว้มากเหล่านั้นกำลังแปรสภาพจากกายเนื้ออันแสนจะลำบาก เป็นภาระอันหนักนี้ไปสู่กายทิพย์ อันเป็นสภาวะใหม่ มีอิสระเสรี มีความเจริญและผาสุกมากกว่า เราหลายร้อยเท่า[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านกำลังชื่นชมกับชีวิตอันแท้จริงของท่าน ชีวิตมิได้สิ้นสุดลงเพราะการแตกสลายแห่งกายเนื้อ มองในแง่นี้ ดูเหมือนจะไม่มีความตาย มีแต่ชีวิต แต่เป็นชีวิตในแบบใดแบบหนึ่ง เปลี่ยนแปลงไปตามแรงกรรม[/FONT]
    [FONT=&quot]และเพื่อให้ชีวิตได้มีประสบการณ์ในแง่มุมต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชีวิตวิญญาณให้ขึ้นถึงขีดสูงสุด ดังนั้นสภาพที่ชาวโลกเรียกกันว่า[/FONT][FONT=&quot] "ความตาย" จึงมิใช่สิ่งน่ากลัวแต่ประการใด มันเป็นเพียงแต่การแปรของชีวิตจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งเท่านั้น.[/FONT]
    [FONT=&quot] -------------------------------------[/FONT]
    [FONT=&quot] คัดลอกจาก[/FONT][FONT=&quot]: สวรรค์ นรก บุญ บาปในพระพุทธศาสนา[/FONT]
    [FONT=&quot] วศิน อินทสระ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot] ตอบโดย[/FONT][FONT=&quot]: mayrin 07 เม.ย. 48[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ที่มา
     

แชร์หน้านี้

Loading...