สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร)

ในห้อง 'ทวีป ออสเตรเลีย' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    [SIZE=+1]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร)[/SIZE] <!-- หัวเรื่อง -->

    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"> <tbody><tr><td align="right">คลิกเพื่อดูรายการพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร)</td> </tr></tbody></table>

    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"> <tbody><tr> <td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร)[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>

    <center> ประวัติบอกเล่า </center>
    ชาติภูมิ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ฉายา ธมฺมธโร นามเดิม พิมพ์ นามสกุล แสนทวีสุข เกิดวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๕๙ ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๐ ที่บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ ทอง แสนทวีสุข โยมมารดาชื่อ นวล แสนทวีสุข

    สามัญศึกษา
    ศึกษาอักขรสมัย คือ เรียนหนังสือไทย ที่โรงเรียนวัดบ้านม่วง ตำบลตาลสุม อำเภอพิบูล- มังสาหาร ๒ ปี ได้ย้ายเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนอุบลวิทยาคม วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี สำเร็จชั้นมูล ข. (เทียบชั้น ม.๒ ในปัจจุบัน) เมื่ออายุ ๑๔ ปี

    บรรพชาอุปสมบท
    เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๗ อายุ ๑๗ ปี บรรพชาที่วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชมุนี เป็นพระอุปัช- ฌายะ พระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) เป็นบรรพชาจารย์
    เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๖๐ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ อุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา ในลำแม่น้ำมูล ที่ท่าบ้านโพธิ์ตาก ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ พระราชมุนี เป็นพระอุปัชฌายะ พระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีฉายาว่า ธมฺมธโร

    ศาสนศึกษา
    พ.ศ. ๒๔๕๘ ศึกษาสิกขาของสามเณร บาลีไวยากรณ์ และความรู้องค์นักธรรม สอบได้บาลีไวยากรณ์ และเรียนธัมมปทัฏฐกถา สำนักวัดสุปัฏนาราม
    พ.ศ. ๒๔๕๙ สอบได้ความรู้องค์นักธรรมภูมิสามเณร ๓ วิชา คือ ธรรมะ พุทธะ กระทู้
    พ.ศ. ๒๔๖๐ สอบได้ความรู้องค์นักธรรมวิชาวินัย สำเร็จภูมินักธรรมชั้นตรี สำนักวัดสุปัฏนาราม
    พ.ศ. ๒๔๖๑ ย้ายเข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. ๒๔๖๒ สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดบรมนิวาส
    พ.ศ. ๒๔๖๕ สอบได้เปรียญ ๓ ประโยค สำนักเรียนวัดบรมนิวาส
    พ.ศ. ๒๔๖๗ สอบได้เปรียญ ๔ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
    พ.ศ. ๒๔๖๘ สอบได้เปรียญ ๕ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
    พ.ศ. ๒๔๖๙ สอบได้เปรียญ ๖ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระญาณดิลก ในรัชกาลที่ ๗
    พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในนามเดิม ในรัชกาลที่ ๘
    พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี ในรัชกาลที่ ๙
    พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ในรัชกาลที่ ๙
    พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก ในรัชกาลที่ ๙
    พ.ศ.๒๕๐๔เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏที่พระพรหมมุนี ในรัชกาลที่ ๙
    พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ในรัชกาลที่ ๙

    สรุป
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้สำเร็จภูมิเปรียญธรรม ๖ ประโยค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะสามัญถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ เป็นลำดับมา รับ ภาระพระพุทธศาสนา ประกอบศาสนกิจเพื่อให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์ แก่พุทธจักรและอาณาจักร และ รักษาสมณวัตร ระเบียบปฏิบัติ ประเพณีราชการมาโดยเรียบร้อย
    ในด้านการปกครอง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ เจ้าคณะอำเภอบางเขน ผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา รองเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ผู้ช่วยเจ้าคณะตรวจการภาค ๓ และ ๔ เจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยภาค ๓-๔-๕ เจ้าคณะธรรมยุตภาค ๓-๔-๕ เจ้าคณะภาค ๘,๙,๑๐,๑๑ สมาชิกสังฆสภา สังฆมนตรี กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต กรรมการคณะธรรมยุต เป็นพระอุปัชฌาย์ รองประธานสังฆสภา เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๕ เป็น แม่กองงานพระธรรมทูต และเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช ๓ ครั้ง นับแต่รับภาระธุระบริหารการคณะมาตลอดกาล ๔๑ ปี ไม่เคยลาออกและลาพัก
    ในด้านการศึกษา เป็นอุเทศาจารย์สอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและบาลี เป็นกรรมการ ตรวจธรรมสนามหลวง กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง เป็นผู้แทนรองแม่กองธรรมประจำ มณฑล อำนวยการสอบและตรวจธรรมสนามหลวง เป็นผู้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูพระภิกษุวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา และจัดตั้งโรงเรียนบาลมัธยมสมทบ สอบสำหรับพระภิกษุสามเณร เป็นกรรมการบริหารงานสภาการศึกษาของคณะสงฆ์ สอนศีลธรรม จรรยานักเรียน และสอนธรรมศึกษาแก่คณะครู
    ในด้านการเผยแผ่ เป็นพระคณาจารย์เอกในทางเทศนา เอาใจใส่เทศนาสั่งสอนศีลธรรม จรรยาแก่ประชาชน จัดการอบรมศีลธรรมจรรยาแก่นักเรียน และให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะโดย พระราชนิยม เป็นกรรมการจัดรายการกระจายเสียงในวันธรรมสวนะ กรมประชาสัมพันธ์ จัดให้ อุบาสกอุบาสิกามีประเพณี "อุโบสถสามัคคี" อบรมให้เกิดศรัทธาปสาทะในพระศาสนา และให้ประพฤติ ปฏิบัติชอบตามวัตถุประสงค์แห่งพระศาสนา รจนาหนังสือเกี่ยวกับหลักวิชาและศีลธรรม เช่น สากล ศาสนา ปัณณกเทศนาวิธี มงคลยอดชีวิต โลกานุศาสนี บทสร้างนิสัย และเรื่องอื่นอีก พิมพ์แจกจ่าย และอ่านทางวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้ประชาชนได้อ่านและฟัง ถือปฏิบัติอบรมตนให้เป็นพลเมืองดี เป็น หัวหน้าคณะอบรมข้าราชการและประชาชนในเขต ภาค ๓-๔ เป็น ๒ ครั้ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...