สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร มงคลยอดชีวิตข้อ ๓ บ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 9 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร มงคลยอดชีว

    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร)[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>

    <center> มงคลยอดชีวิตข้อ ๓ </center>
    <center> บูชาบุคคลควรบูชา </center> คนเรามีการอยู่รวมกันเป็นหมู่ เริ่มแต่หมู่ครอบครัว หมู่บ้าน หมู่เมือง หมู่ประเทศ ตลอดถึงหมู่โลกเป็นที่สุด ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ แต่ละหมู่นั้น มีคนบูชาเฉพาะในหมู่ของตน ส่วนนักปราชญ์มีคนบูชา ทั่วไปทุกแห่งหน และผู้น้อยต้องบูชาผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ต้องบูชาตอบแก่ผู้ น้อย นี่คือธรรมเนียมเก่าแก่ และเป็นธรรมเนียมนำสมัย มิใช่ธรรม เนียมคร่ำคร่าล้าสมัย

    <center> การบูชาคืออะไร </center> เชิญเถอะ ท่านผู้แสวงหามงคล เมื่อเราเรียนรู้มงคลข้อไม่คบพาล และมงคลข้อคบบัณฑิตตลอดแล้ว ควรมาตระหนักปักใจเรียนมงคลข้อบูชาบุคคลควรบูชาต่อไป ในเบื้องต้นนี้ ควรเข้าใจในความหมายของการบูชาก่อน ในอภิธานัปปทีปิกาสูจิ ท่านให้วิเคราะห์บูชาศัพท์ไว้ว่า "ปูช ปูชายํ ปูชนํ ปูชา" แปลว่า "ปูชธาตุในอรรถว่า ยกย่อง การยกย่อง ชื่อว่าบูชา"
    เราถือกันว่า การบูชานี้เป็นกิจดีกิจชอบ แต่ทว่าอาจกลายเป็นกิจที่เลวร้ายไปได้ ซึ่งถ้าผู้ทำมีมิจฉาทรรศนะ ทำการบูชาในทางที่ผิดแล้ว ก็ให้เกิดโทษเสื่อมเสีย ถ้าผู้ทำมีสัมมาทรรศนะ รู้จักเลือกทำในทางที่ถูกก็ให้เกิดคุณ ดังคำว่า "บูชาคนดีเป็นศรีแก่ตัว บูชาคนชั่วพาตัวจัญไร บูชาคนดีให้สำเร็จประโยชน์ บูชาคนโฉดพาตัวให้ฉิบหาย หรือบูชาคนพาล พาลพาไปหาผิด บูชาบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล" พึงสังเกตการบูชาในทางที่ผิดให้เกิดโทษ ดังต่อไปนี้
    ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักกศิลา มีเด็กวัยรุ่นเป็นลูกศิษย์อยู่หลายร้อยคน เรียนวิชาต่างกันตามแต่เขาถนัด มีเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งชื่อสัญชีวะอยู่ในหมู่นั้น เรียนเวทมนต์เสกสัตว์ตายให้คืนชีพได้ ตามธรรมเนียมการเรียนเวทมนต์ ต้องเรียนผูกและเรียนแก้ไปด้วยกัน แต่เขาไม่ได้เรียนมนต์แก้
    มาวันหนึ่ง สัญชีวะกับเพื่อนหลายคนพากันเข้าป่าหาฟืนตามเคย ได้พบเสือโคร่งตัวหนึ่งนอนตายอยู่ "นี่แน่ะเพื่อน เสือตาย" สัญชีวะเอ่ยขึ้น "ข้าจะเสกมนต์ให้เสือตัวนี้ฟื้นคืนชีพขึ้น คอยดูนะเพื่อน"
    "แน่เทียวหรือ" เพื่อนคนหนึ่งพูด "ลองปลุกมันให้คืนชีพลุกขึ้นดูซิ ถ้าเธอสามารถ" แล้วพาเพื่อนอื่นๆ ขึ้นต้นไม้คอยดู
    "แน่ซีน่า" สัญชีวะยืนยัน และเริ่มร่ายมนต์เสกลงที่ร่างเสือ พอเจ้าเสือฟื้นลืมตาลุกขึ้นยืน รู้สึกหิวมองเห็นสัญชีวะพอเป็นอาหารแก้หิวได้ จึงสะบัดตัวแยกเขี้ยวอวดสัญชีวะ และคำรามวิ่งปราดเข้ากัดก้านคอสัญชีวะล้มตายลงทั้งคนและเสืออยู่ในที่นั้น เอง
    เมื่ออาจารย์ได้ทราบข่าวก็สลดใจ และอาลัยรักในลูกศิษย์มาก จึงเปล่งอุทานขึ้นว่า "นี่แหละผลของการยกย่องในทางที่ผิด ผู้ยกย่องคนเลวร้าย ยอมรับนับถือเขาในทางที่มิบังควร ต้องได้รับทุกข์ถึงตายเช่นนี้เอง" และกล่าวเป็นเชิงเตือนลูกศิษย์ว่า "ผู้ยกย่องคนเลวร้าย คบหากับคนเลวร้าย ต้องถูกคนเลวร้ายทำให้เป็นเหยื่อ ดูเสือที่กลับคืนชีพขึ้นมา ทำสัญชีวะให้เป็นเหยื่อนี้เถอะ"
    ยังเรื่องปริพาชกอีกคนหนึ่ง ชื่อจัมมสาฎก ชาวเมืองพาราณสี ในวันหนึ่งเขาเที่ยวหาอาหารในเมือง ได้ไปถึงสนามชนแพะ มีแพะตัวหนึ่งเห็นเขา ได้ย่อตัวลงหมายจะขวิด แต่เขาไม่ถอยออกห่างด้วยเข้าใจว่า แพะทำความเคารพ ได้ยืนประณมมือตอบขอบใจมันอยู่ "ท่านครับ ขออย่าไว้ใจสัตว์สี่เท้าเลย"พ่อค้าคนหนึ่งเตือนให้ระวัง "มันย่อตัวลงนั้นหมายจะขวิดท่านให้มั่นเหมาะ" ทันใดนั่นเอง แพะได้วิ่งปราดเข้าขวิดเขาที่หน้าอก ให้ล้มลงนอนแซ่วคร่ำครวญอยู่ว่า "ผู้ยกย่องคนไม่ควรยกย่อง ต้องถูกคน ไม่ควรยกย่องฆ่าเสีย เหมือนข้าพเจ้าผู้โฉดเขลาถูกแพะขวิด ซึ่งจะต้องตายในวันนี้เอง"
    บูชาคนชั่วช้า พาลชน
    หวังแผ่เผื่อคราวจน ยากไร้
    เมื่อเขาสร่างทุกข์ทน มีสุข บ้างนา
    มักประทุษร้ายให้ แก่ผู้ มีคุณ
    อันการบูชาคนไม่ควรบูชานั้น แม้จะให้ไม่เกิดโทษ แต่ก็ไร้ประโยชน์แก่ผู้บูชา พึงเห็นในพระพุทธดำรัสว่า "ผู้ใช้ทรัพย์จำนวนพันบูชาคนไม่ควรบูชาทุกๆเดือนครบร้อยปี แต่การบูชาที่เขามาบูชา ท่านผู้อบรมตนคนเดียว แม้เพียงครู่หนึ่งเท่านั้นประเสริฐกว่า การบูชาครบร้อยปีนั้นจะประเสริฐอะไร ผู้บูชาไฟในป่าถึงร้อยปี แต่การบูชาที่เขามาบูชาท่านผู้อบรมตนคนเดียว แม้เพียงครู่หนึ่งเท่านั้นประเสริฐกว่า การบูชาถึงร้อยปีนั้นจะประเสริฐอะไรเล่า"

    <center> บุคคลควรบูชาเป็นชนิดไหน </center> บัดนี้ เรามาพากันตระหนักปักใจ เรียนเรื่องบุคคลและวัตถุที่ควรบูชา ซึ่งมีอยู่มากมายเหลือที่จะคณนา โดยเฉพาะบุคคลที่ควรบูชาก็มีอยู่หลายชั้น แม้วัตถุเล่าที่ควรบูชาก็มีมิใช่น้อย แต่เมื่อจัดเข้าประเภทแล้วคงมีอยู่ ๒ คือ บุคคลควรยกย่อง และวัตถุควรยกย่อง การยกย่องบุคคลควรยกย่องนี่เองชื่อว่าบูชาบุคคลควรบูชา แม้การยกย่องวัตถุควรยกย่อง ก็ชื่อว่าบูชาวัตถุควรบูชา พึงสังเกตประเภทและชั้นของบุคคลและวัตถุ ดังนี้
    ๑. บุคคลควรบูชา เรียกตามภาษาบาลีว่า "ปูชนียบุคคล หรือ ปูชไนยบุคคล" แปลว่า "บุคคลควรบูชา หรือ บุคคลควรแก่การบูชา" เมื่อพูดรวมก็มีคนดีนั่นเองเป็นบุคคลควรบูชา คนดีนั้นจะ ดีเฉพาะหรือดีสิ้นทั้งตัวก็เป็นบุคคลควรบูชาตามชั้นของตน เช่น
    ๑.๑ พ่อแม่เป็นปูชนียบุคคลของลูกชายหญิง ในฐานะเป็นผู้ให้กำเนิด และเลี้ยงดูมาแต่อ้อนแต่ออกจนเติบใหญ่ ทำหน้าที่ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ศึกษาศิลปวิทยา หาภรรยาสามีที่สมควรให้ มอบทรัพย์ให้ในสมัย และเป็นพระพรหม พระบุรพเทพ พระบุรพาจารย์ พระอาหุไนยบุคคลประจำชีวิตของลูกชายหญิง
    ๑.๒ ครูอาจารย์เป็นปูชนีบุคคลของศิษยานุศิษย์ ในฐานะเป็นผู้ประสาทศิลปวิทยา แนะนำดี ให้เรียนดี บอกศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง ยกย่องให้ปรากฎในเพื่อนฝูง ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย
    ๑.๓ หัวหน้าผู้บริหารงาน ในตำแหน่งต่ำและสูง เป็นปูชนียบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชาในฐานะเป็นผู้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นนิสัย ไม่ใจจืด ไม่ใจดำ ไม่ใจแข็งกระด้าง ไม่ใจลำเอียง ตั้งใจระงับทุกข์และบำรุงสุขแก่มวลชน ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทั้งหลาย
    ๑.๔ พระมหากษัตริย์ เป็นปูชนียบุคคลของมวลพสกนิกร ในฐานะทรงเป็นพระประมุขมิ่งมงกุฎของปวงชนแห่งชาติ และทรงทศพิธราชธรรม คือ ทาน พระราชทานวัตถุแก่ผู้ควรได้รับ ศีลทรงตั้งสังวรรักษาพระอาการกายวาจาให้สะอาดดีงาม บริจาค ทรงสละไทยธรรมบันเทามัจฉริยโลภอาชชวะ พระอัธยาศัยประกอบด้วยความซื่อตรง ปราศจากมารยาสาไถย ดำรงในสัตย์สุจริต มัททวะ พระอัธยาศัยอ่อนละมุน ตบะ ทรงบำเพ็ญกุศลวัตร เผาผลาญอกุศลวิตก ไม่ทรงเกรี้ยวกราดมีพระเนตร เป็นนิสัย ไม่ทรงเบียดเบียนใคร มีพระกรุณาเป็นนิสัย มีพระหฤทัยดำรงมั่นในขันติ และทรงรักษายุติธรรม ให้ไม่แปรผันจากสิ่งที่เที่ยงที่ตรง
    ๑.๕ พระพุทธเจ้า เป็นปูชนียบุคคลของพุทธบริษัท ในฐานะทรงพระปัญญาคุณ พระปริสุทธิคุณ พระกรุณาคุณ และทรงตั้งพระศาสนา ประกาศสัจจธรรม บัญญัติพระวินัย ให้ปวงชนพลโลก เว้นสิ่งควรเว้น และประพฤติสิ่งควรประพฤติ
    ๑.๖ พระสงฆ์สาวก เป็นปูชนียบุคคลของพุทธศาสนิกชน ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติสมควรเป็นนาบุญของชาวโลก และนำพระศาสนาสืบต่อกันมา
    ร่มไม้เย็นพักผ่อนหายร้อนอาตม์
    ร่มเงาญาติเย็นสบายหายเงียบเหงา
    ร่มพ่อแม่เย็นสุขทุกข์บางเบา
    เกิดเย็นเกล้าเคล้าคลุกอยู่ทุกยาม
    ร่มอาจารย์กันเขลาเกิดเชาวน์กล้า
    ร่มราชากันศัตรูให้รู้ขาม
    ร่มพระพุทธกันร้อนผ่อนลุกลาม
    ให้โลกสามเย็นชื่นกว่าอื่นใด
    ๒. วัตถุที่ควรบูชา เรียกตามภาษาบาลีว่า "ปูชนียวัตถุ" แปลว่า "วัตถุที่ควรบูชา" พึงทราบว่า วัตถุที่ควรบูชาในที่นี้ หมายเอาปูชนียวัตถุที่นับเนื่องในพระศาสนา ซึ่งประมวลลงในพุทธเจดีย์ ๔ประเภท คือ
    ๒.๑ ธาตุเจดีย์ เจดีย์คือพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระสาวก
    ๒.๒ ปริโภคเจดีย์ เจดีย์คือสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ได้แก่ ที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงพระปฐมเทศนา และที่ปรินิพพาน ตลอดถึงพุทธบริขาร และต้นพระศรีมหาโพธิ
    ๒.๓ ธรรมเจดีย์ เจดีย์คือพระไตรปิฎก คัมภีร์พระธรรมที่จารในใบลาน ที่พิมพ์เป็นเล่มสมุดและคำสั่งสอนที่จารึกในแผ่นศิลา หรือแผ่นอื่นๆอีก
    ๒.๔ อุทเทสิกเจดีย์ เจดีย์คือพระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท และรูปพระสงฆ์สาวก
    บรรดาบุคคลและวัตถุที่ควรบูชาเหล่านี้ พ่อแม่ผู้มีอุปการคุณในฐานะเป็นบุพพการี เป็นพระประจำตัวลูกชายหญิง จัดเป็นนาบุญของลูกชายหญิงผู้กตัญญู ครูอาจารย์ผู้ประสาทศิลปวิทยา จัดเป็นนาบุญของศิษยานุศิษย์ผู้รู้คุณของครูอาจารย์ผู้มีคุณ เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย หัวหน้าผู้ปกครองที่ดี จัดเป็นนาบุญของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ซื่อตรง และเชื่อฟังคำบังคับบัญชาในทางที่ถูก พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม จัดเป็นนาบุญของมวลพสกนิกรผู้จงรักภักดี ส่วนพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก จัดเป็นนาบุญของชาวโลกผู้มีศรัทธาปสาทะ
    นาบุญคุณใหญ่ล้น อนันต์ นั่นเฮย
    คือพ่อและแม่อัน เกิดเกล้า
    อาจารย์กับครูสรร สอนสั่ง เราแฮ
    ทรงเดชผู้เป็นเจ้า แผ่นพื้นปฐพี
    คุณพระอีกใหญ่ล้ำ เหลือตรา
    บูชิตทุกเวลา อย่าแคล้ว
    ก็จะวัฒนา สุขยิ่ง สราญเฮย
    สรรพสิ่งอุบาทว์แผ้ว เสื่อมสิ้นมลายสูญ
    โดยเฉพาะพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ขีณาสพนั้น นับเป็นปูชนียบุคคลชั้นสูง ซึ่งมีลักษณะน่าบูชาน่าทำบุญอย่างยิ่ง ในฐานะเจ้าถิ่นท่านเป็นเจ้าถิ่นที่ดี มีดวงหน้าเบิกบานเอิบอิ่มยิ้มแย้มแช่มชื่นต้อนรับปราศรัย ให้ความสบายใจแก่ผู้มาสู่ถิ่น ชวนให้เขายินดีเกิดศรัทธาเลื่อมใสโดยฐานะแขกท่านก็เป็นแขกไปดีมาดี มีคุณให้รักใคร่เจริญใจน่าต้อนรับ ทำให้เจ้าถิ่นยินดีต้อนรับ และเกิดโสมนัสหรรษาว่า ได้ต้อนรับผู้ควรต้อนรับไม่ต้องเก้อกระดากอาย เพราะท่านควรรับของทำบุญหรือ ของบูชาคุณ ที่เขาเลื่อมใสยินดีมุ่งนำมาบูชา และท่านทำให้ของทำบุญนั้นมีผลไพบูลย์ เปรียบเหมือนนามีที่ดินดี พืชที่เพาะปลูกลงย่อมงอกงาม ผลิดอกออกผลดีงาม ให้เจ้าของได้บริโภคอิ่มหนำสำราญ

    <center> ลักษณะของการบูชาเป็นอย่างไร </center> เราทราบกันอยู่แล้วว่า การบูชาเป็นกิจดีกิจชอบเมื่อเราประกอบในทางที่ถูก คือ บูชาบุคคลและวัตถุที่ควรบูชาดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นมงคลอย่างหนึ่งในมงคล ๓๘ แต่เมื่อบูชาในทางที่ผิด คือบูชาบุคคลและวัตถุที่ไม่ควรบูชา เช่น บูชาคนชั่ว บูชาไฟ บูชาเจ้าที่เจ้าทาง บูชาผีสาง บูชานางไม้ บูชาพระอาทิตย์และพระจันทร์ หรือสิ่งอื่นอีกที่ไม่มีเหตุผล ก็เป็นอัปมงคลไร้ประโยชน์ ในมังคลัตถทีปนี ท่านแก้ลักษณะการบูชาไว้ ๔ ประการ คือ
    ๑. สักการะ พึงทำความเข้าใจเสียก่อนว่า สักการะนี้หมายทั้งกิริยาและวัตถุ ถ้าแปลสักการะว่า "การทำดี" ก็หมายเอาการแสดงกิริยาสุภาพ วาจาสุภาพ และใจสุภาพ เพื่อบูชาบุคคลและวัตถุควรบูชา ถ้าแปลสักการะว่า "วัตถุที่จัดทำดี" ก็หมายเอาเครื่องสักการะที่จัดเป็นระเบียบ มีดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ เพื่อบูชาบุคคลและวัตถุควรบูชา
    ผู้บูชาบุคคลและวัตถุควรบูชา ด้วยกิริยาสุภาพวาจาสุภาพและใจสุภาพก็ดี ผู้บูชาวัตถุควรบูชาด้วยเครื่องสักการะมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น และบูชาบุคคลควรบูชา ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคก็ดี นี่ชื่อว่าบูชาบุคคลและวัตถุควรบูชาด้วยสักการะ การบูชาแบบสักการะนี้ ถ้าทำในทางที่ถูกก็เป็นมงคล แต่ถ้าทำในทางที่ผิดก็เป็นอัปมงคล ไร้ผลและถึงแก่ให้เกิดโทษได้ พึงเห็นในพระพุทธดำรัสว่า "สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว กลดังผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้าอัสดร"
    อันลาภผลย่อมสังหารคนพาลชั่ว
    ที่เมามัวโลภนักให้ตักษัย
    กลผลกล้วยฆ่ากล้วยให้ม้วยไป
    แม้ขุยไผ่ฆ่าไผ่ให้วอดวาย
    ถึงขุยอ้อเกิดมาฆ่าต้นอ้อ
    ไม่เหลือหรออยู่ได้ให้แพร่หลาย
    และลูกม้าอัสดรร้อนมากมาย
    ย่อมทำลายแม่มันให้บัลลัย
    ดังนั้น เราจะบูชาบุคคลหรือวัตถุ ควรใช้ปัญญาสอดส่องให้รู้ผิดรู้ถูกก่อนแล้ว และทำการบูชาในทางที่ถูก จึงจะเป็นมงคล
    อย่ายกย่องหมู่ร้าย พาลผิด
    ยกย่องแต่บัณฑิต เลิศแล้ว
    วันคืนรวดเร็วชิด บุญเร่ง ทำนา
    เห็นอนิจแน่แท้ ล่วงพ้นสงสาร
    ๒. ครุการะ ในอภิธานัปปทีปิกาสูจิ ท่านแจกอรรถครุศัพท์ไว้หลายอย่างว่า "ครุ๑ ชื่อว่าเด่นเพราะเด่นเลิศลอย คือเป็นคนเลิศลอยโด่งดัง" บ้าง "ครุ๒ ชื่อว่าปลูกความรักความห่วงใย เพราะปลูกคือหว่านความรักความห่วงใยในศิษย์ทั้งหลาย" บ้าง "ครุ๓ ชื่อว่าหนัก เพราะอรรถว่าเป็นของหนักเท่ากับฉัตรหิน" บ้าง แต่ครุการะที่เป็นลักษณะของการบูชานี้ หมายเอาความรักความห่วงใย แปลว่า "ทำความรัก ทำความห่วงใย"
    ลูกชายหญิงมีความรักความห่วงใยในพ่อแม่ พยายามรักษาน้ำใจท่าน ทำตนให้เป็นที่เบาใจแก่ท่าน ศิษยานุศิษย์มีความรักในครูอาจารย์ ประพฤติตนให้เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย ผู้ใต้บังคับบัญชาทำความรักในหัวหน้าผู้ปกครอง ประพฤติตนให้เป็นคนซื่อตรง และเชื่อฟังคำบังคับบัญชาในทางที่ถูกที่ชอบ มวลพสกนิกรจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ประพฤติตนให้เป็นพลเมืองดี และชาวพุทธปลูกความรักเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตั้งใจประพฤติดีปฏิบัติชอบ เว้นข้อที่ห้าม ทำตามข้อที่อนุญาตเช่นนี้ นี่ชื่อว่าบูชาบุคคลที่ควรบูชาด้วยแบบครุการะ
    ความรักเป็นเงื่อนพร้อม เพรียงใจ
    เฉกเครื่องผูกหฤทัย ทั่วผู้
    อาจคิดกิจกลใด สบสิ่ง ถวิลเฮย
    อำนาจผลรักสู้ ส่องให้สุขเกษม
    (วชิรญาณ)
    รักราชจงจิตน้อม ภักดี ท่านนา
    รักชาติกอปรกรณีย์ แน่วไว้
    รักศาสน์กอปรบุญตรี สุจริต ถ้วนเทอญ
    รักศักดิ์จงจิตให้ โลกซร้องสรรเสริญ
    (ร. ๖)
    ๓. มานนา เป็นลักษณะของการบูชาอย่างหนึ่งแปลว่า "ความนับถือ" การกำหนดนับความดีของบุคคลว่า เขามีดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ และถือผู้มีดีนั้นเป็นคนควรเชื่อถือยึดมั่น ยกย่องเชิดชูให้เป็นที่นับหน้าถือตา นี่คือความนับถือ ลักษณะของความนับถือนั้นอยู่ที่มีกิริยาวาจาดีงามต่อกัน ประพฤติตนสม่ำเสมอต่อกัน ยกย่องเชิดชูกัน และเอื้อเฟื้อเชื่อฟังกันเป็นสำคัญ
    คิดดูเถอะว่า ในบ้านเรือนที่ความนับถือรักใคร่กันเข้าไปสิงสู่อยู่เป็นเจ้าเรือนนั้น ย่อมรบเร้าให้ผู้ใหญ่รักใคร่เอ็นดูผู้น้อย ให้ผู้เสมอกันรักใคร่นับถือกัน ให้ผู้น้อยรักใคร่ยำเกรงผู้ใหญ่ นับว่าเป็นที่อยู่สงบสุขรื่นรมย์ เป็นบ่อเกิดแห่งความนิยมชื่นบานทั่วหน้ากัน เป็นอันเสริมสร้างความร่มเย็นแก่ผู้น้อยมอบความไว้วางใจแก่ผู้เสมอกัน และเพิ่มพูนความเบาใจแก่ผู้ใหญ่ ถ้าเราได้อยู่ในบ้านเช่นนั้น เท่ากับได้อยู่ใต้ต้นไม้ที่ร่มเย็น มีฝูงนกเกาะโผผินบินไปมา ส่งเสียงท้อกันและป้อนเหยื่อกัน ดูเป็นที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจยิ่งนัก
    เมื่อเราแต่ละคนแต่ละชั้น แสดงกิริยาวาจาดีงามต่อกัน ประพฤติตนสม่ำเสมอต่อกัน ยกย่องเชิดชูกันและเอื้อเฟื้อเชื่อฟังกัน ผู้น้อยนับถือผู้ใหญ่ แม้ผู้ใหญ่ก็นับถือผู้น้อยด้วยความจริงใจ ร่วมใจกันดำเนินกิจการให้เจริญก้าวหน้า ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม ต่างฝ่ายต่างรักใคร่นับถือกลมกลืนกันมั่นคง ประหนึ่งน้ำประสานเชื่อมที่ต่อให้ติดกันสนิท แม้นจะบังเอิญเกิดรอยร้าวขึ้น ก็ร่วมกันยึดยารอยร้าวไว้ไม่ให้แพร่พรายลุกลาม ดุจผูกรัดของที่ร้าวไว้ด้วยปลอกให้ไม่แตกออกกระจัดกระจายไปเช่นนี้ นี่ชื่อว่าบูชากันและกันด้วยแบบมานนา
    นับถือท่านท่านให้ ตอบสนอง
    มิตรจิตมิตรใจปอง ตอบไซร้
    รักท่านท่านจักครอง ความรัก เรานา
    จงนับถือสนิทไว้ แทบม้วยมรณา
    ๔. วันทนา ในอภิธานัปปทีปิกาสูจิ ท่านแก้ศัพท์วันทนาไว้ว่า "วนฺท อภิวาทนตฺถุตีสุ" แปลว่า "วันทธาตุในอรรถว่า กราบไหว้ และชมเชย" แต่วันทนาที่เป็นลักษณะของการบูชานี้ หมายเอาเฉพาะ ถุติ คือความชมเชย ส่วนอภิวาทนะเป็นลักษณะของความเคารพมงคลข้อ ๒๒ คำชมเชยนี้มิใช่อื่น คือยกย่องสรรเสริญนั่นเอง และใช้ชมเชยเฉพาะในคุณ คือ คนมีคุณความดีเป็นคนควรชมเชย คนมีโทษ เป็นคนควรติ การชมเชยคนควรชมเชย จัดเป็นมงคล แต่การยกย่องคนควรติ และติคนควรยกย่องท่านว่าเป็นการเก็บโทษไว้ด้วยปาก จัดเป็นอัปมงคล
    เมื่อเรามากล่าวชมเชยคุณของพ่อแม่ กล่าวยกย่องคุณของครูอาจารย์ กล่าวยกย่องคุณของหัวหน้าผู้ปกครอง กล่าวสรรเสริญพระบารมีของพระมหากษัตริย์ หรือกล่าวสรรเสริญคุณของผู้มีคุณ อื่นอีก และกล่าวสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย เช่นเวลาทำวัตรเช้า เราสวดพุทธาภิถุติ ธัมมภิถุติ สังฆาภิถุติก็คือสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย แม้ในเวลาทำวัตรค่ำ เราสวดพุทธาภิคีติ ธัมมาภิคีติ สังฆาภิคีติ ก็คือรวบรวมเอาคุณพระรัตนตรัยมาสวด ให้เป็นเครื่องระลึกถึงอีก เช่นนี้ นี่แลชื่อว่าบูชาผู้มีคุณควรบูชาด้วยแบบวันทนา
    คนควรยกย่องให้ สรรเสริญ เถิดนา
    อย่ายกย่องยอเกิน กว่ารู้
    ชาติคนชั่วหลงเพลิน ควรข่ม ข่มแฮ
    ควรยกยกย่องผู้ ชอบให้เหมาะสม

    <center> หลักการบูชาเป็นไฉน </center> ลักษณะการบูชาที่เราเรียนรู้มาแล้ว ๔ ประการ ได้แก่บูชาบุคคลและวัตถุที่ควรบูชาด้วยสัก-การะ คือบูชาด้วยกิริยาสุภาพ วาจาสุภาพ ใจสุภาพ และเครื่องสักการะบูชาด้วยครุการะ คือบูชาด้วยทำความรักความห่วงใย บูชาด้วยมานนา คือบูชาด้วยความนับถือ และบูชาด้วยวันทนา คือบูชาด้วยความชมเชยยกย่องนั้น เมื่อประมวลลงคงรวมอยู่ในหลักการบูชา ๒ ประการทั้งสิ้น คือ
    ๑. อามิสบูชา การบูชาบุคคลควรบูชา ด้วยวัตถุเครื่องล่อใจให้ผู้บูชาเกิดโสมนัส และผู้รับเกิดปิติความอิ่มใจ เรียกอามิสบูชา ตัวอย่างเช่น ลูกชายหญิงระลึกถึงคุณของพ่อแม่ ศิษยานุศิษย์ระลึกถึงคุณของครูอาจารย์ แล้วบูชาท่านด้วยปัจจัยสี่ ตามที่ท่านต้องประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง คือผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาบำบัดโรคภัย หรือเงินทองที่เป็นมูลค่าปัจจัยนั้นๆ และขวนขวายช่วยเหลือกิจการให้เป็นที่เบาใจแก่ท่านเช่นนี้ นี่ชื่อว่าบูชาท่านด้วยแบบอามิสบูชา
    แม้เราจัดเครื่องสักการะ มีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น บูชาพระรัตนตรัย ก็ชื่อว่าบูชาพระด้วย อามิสบูชา แต่มีบางคนเห็นว่า การบูชาพระด้วยเครื่องสักการะไม่จำเป็นเลย เพราะพระท่านไม่ได้ใช้ของเหล่านั้น ถึงกับกล่าวติเตียนว่าทำอย่างงมงายไร้เหตุผล นั่นเพราะเขาไม่รู้วัตถุประสงค์ที่ท่านบุรพา-จารย์พาทำมา
    ที่จริงในการบูชาพระนั้น ท่านบุรพาจารย์มุ่งให้เราน้อมนึกเอาคุณพระเป็นอารมณ์ และเหนี่ยวมาฝึกฝนอบรมจิตใจของตนให้สะอาดผ่องใส หาได้มุ่งให้พระท่านใช้หรือยินดีโปรดปราน และบันดาลให้เรามีโชคมีลาภอะไรไม่ พึงเห็นเหมือนการเพาะปลูกพืชพันธุ์ลงในที่ดิน เรามุ่งแต่ผลของพืชพันธุ์ที่เพาะปลูกเท่านั้น หาได้มุ่งให้ที่ดินใช้หรือพืชพันธุ์ยินดีโปรดปรานเรามิได้
    ด้วยเหตุนี้ ในขณะบูชาพระรัตนตรัยด้วยเครื่องสักการะนั้น เราจึงอย่าฟังเสียงติ เสียงชม เสียงขู่ เสียงปลอบ จงสานตะกร้าไว้ ๒ ใบ สำหรับใส่เสียงติเสียงขู่ใบหนึ่ง ใส่เสียงชมเสียงปลอบอีกใบหนึ่ง แล้วยึดเอาคุณพระเป็นอารมณ์ มุ่งมั่นสั่งสมความดีให้จิตใจของตนเท่านั้น เพราะการบูชาพระยึดเอาคุณพระเป็นอารมณ์ มาเป็นเครื่องสั่งสมความดีให้จิตใจนั้น ดีกว่าการจัดอาหารและดอกไม้จุดธูปเทียนบูชาเจ้าที่เจ้าทาง บูชาผีสางนางไม้ ซึ่งไม่มีผลดีอะไรอื่น นอกจากผลเป็นอัปมงคล หรืออัปรีย์ และอัปลักษณ์ คือเสื่อมทรามสิ้นเปลืองสิ่งของเสียเปล่า
    อนึ่ง เรามาระลึกถึงประเทศชาติของตน ยินดีสละทรัพย์เสียภาษีการค้า ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีเงินได้ ภาษีค่าภาคหลวงป่าไม้ ภาษีล้อเลื่อน เสียค่าภาษีอากรแสตมป์ ค่าอากรมหรสพ และค่าธรรม-เนียม เพื่อช่วยบำรุงเกื้อกูลอุดหนุนประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าไ ม่ใช้กโลบายหลีกเลี่ยงด้วยประการใดๆ เช่นนี้ นี่ชื่อว่าบูชาประเทศชาติด้วยแบบอามิสบูชา เมื่อประเทศชาติเจริญก้าวหน้าชื่อว่าเป็นมงคลแก่ตนและคนอื่นทั่วประเทศ
    ๒. ปฏิปัตติบูชา การปฏิบัติธรรมตามเพศภูมิของตน เรียกปฏิปัตติบูชา พึงทราบว่าบรรพชิตบำเพ็ญอุปัชฌายวัตร อาจาริยวัตร ไม่ละเมิดพระบัญญัติแม้เพียงข้อเล็กน้อย สมาทานธุดงค์เลี้ยงชีวิตโดยธรรม และคฤหัสถ์ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ รักษาเบญจศีล ปฏิบัติเบญจธรรม รักษาอุโบสถ ศีลบำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างนี้ ชื่อว่าบูชาด้วยแบบปฏิปัตติบูชา
    แม้บรรพชิตและคฤหัสถ์ หมั่นประกอบในคันถธุระตั้งใจฟัง ตั้งใจศึกษา ตั้งใจจดจำ ตั้งใจใคร่ครวญเนื้อความของธรรมที่จดจำไว้ และรู้เนื้อความ แล้วปฏิบัติดีชอบ หมั่นประกอบในวิปัสสนาธุระ เจริญสมถะ ทำใจให้สงบจากอารมณ์ร้าย และเจริญวิปัสสนา ทำใจที่สงบเป็นสมาธิ ให้รู้แจ้งเห็นจริง ในเหตุผล ตามที่มีจริงเป็นจริงอยู่อย่างไรเช่นนี้ นี่ชื่อว่าบูชาด้วยแบบปฏิปัตติบูชา

    ผลของการบูชาเป็นอย่างไร การบูชานี้นับเป็นหลักการ เพื่อความเจริญก้าวหน้าแห่งชีวิต แต่ข้อสำคัญอยู่ที่รู้จักเลือกบูชา ถ้าไม่รู้จักเลือกบูชาแล้ว บูชาไปในทางที่ผิด ก็จะเกิดผลเป็นอัปมงคล ทำให้ชีวิตอับเฉา ชีวิตเศร้าหมองชีวิตนั่งเบ้าไม่ก้าวหน้า และฉุดชีวิตลงให้ตกต่ำ ถ้ารู้จักบูชาแต่ในทางที่ถูกแล้ว ก็จะเกิดผลเป็นศิริมงคลเสริมชีวิตให้เปลี่ยนแปลง เป็นชีวิตรุ่งเรือง ชีวิตบริสุทธิ์ ชีวิตเจริญก้าวหน้า และชีวิตเด่นขึ้น ทั้งในด้านการอาชีพ การศึกษา การปฏิบัติศีลธรรม และวัฒนธรรม ว่าโดยรวบยอดแล้ว ผลของการบูชานี้มีอยู่๒ อย่าง คือ
    ๑. บูชาให้เกิดผลเป็นอัปมงคล การบูชาคนไม่ควรบูชา คือบูชาคนชั่ว คนโฉด คนโหดร้ายคนเลวทราม ย่อมนำให้เกิดผลเป็นอัปมงคล เพราะเขาเหล่านั้นเป็นต้นเหตุ พาให้ผู้บูชาเป็นคนอัปรีย์จัญไร และอาจถูกผลาญชีวิตได้ในที่สุด แม้บูชาวัตถุที่ไม่ควรบูชาเล่า เช่นบูชาเจ้าที่เจ้าทาง บูชาผีสางบูชานางไม้ มีนางตะเคียนเป็นต้น และบูชาเหล้า บูชาใบกระท่อม บูชากัญชายาฝิ่น บูชาเฮโรอีน บูชาการพนัน บูชาเจ้าชู้ ก็ให้เกิดผลเป็นอัปมงคลเช่นกัน เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่มีคุณอะไรพอให้ผู้บูชายึดเป็นข้อปฏิบัติอบรมตนให้เป็น คนดีได้ ซ้ำกลับยันตัวผู้บูชาให้เลวลง และทำของบูชาอันมีค่าให้เสียไปเปล่าส่อว่าผู้บูชาเป็นคนโง่งมงาย
    ๒. บูชาให้เกิดผลเป็นมงคล การบูชาบุคคลควรบูชา คือ บูชาคนดี เช่น พ่อแม่ ครูอุปัช-ฌาย์อาจารย์ หัวหน้าผู้ปกครอง พระมหากษัตริย์ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวก พระอรหันต์ขีณาสพ หรือผู้มีคุณอื่นอีก และบูชาวัตถุควรบูชา ซึ่งควรแก่อนุสสติสถาน คือ ธาตุเจดีย์ปริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ เหล่านี้ เมื่อเราบูชาด้วยแบบอามิสบูชาและปฏิปัตติบูชาแล้วย่อมให้เกิดผลเป็นมงคล เพราะเป็นอนุสสติสถานมีคุณ ให้เราระลึกถึงและถือเป็นข้อปฏิบัติบำเพ็ญชีวิตให้บริสุทธิ์สะอาดดีงามได้
    บรรดาการบูชาทั้งสองอย่างนี้ อามิสบูชาอำนวยผลเฉพาะแก่ผู้ทำ เพียงแต่ให้เกิดปีติศรัทธา เลื่อมใส มีคติไปดีในโลกเบื้องหน้าเท่านั้น แต่ไม่อาจรักษาพระศาสนาไว้ได้ ส่วนปฏิปัตติบูชาอำนวยผล แก่ผู้ทำ ให้มีสุคติเป็นที่ไปในชาติหน้า และให้ได้ความสงบสุขบรรลุวิมุตติ หลุดพ้นจากสรรพกิเลสและกองทุกข์ในที่สุด ทั้งสามารถจรรโลงพระศาสนาไว้ให้ยืนยงคงอยู่ตลอดกาลนานได้ ดังนั้นการบูชาบุคคลและวัตถุควรบูชา พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "เป็นมงคลยอดชีวิต" ประการหนึ่ง
    บูชามีจิตแผ้ว ผ่องใส
    บูชิตคนดีใด ใหญ่น้อย
    ล้วนแต่สุจริตใจ สุขชื่น สราญแฮ
    ผลสุขจักเคลื่อนคล้อย ติดต้อยตามสนอง

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...