สมาธิ...เพื่ออะไร (หลวงพ่อพุธ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย sss12, 16 กันยายน 2010.

  1. sss12

    sss12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +1,081
    " ความประสงค์ของผู้ทำสมาธิว่าจะทำเพื่ออะไร แยกตามกิเลศของคน

    บางท่านทำสมาธิเพื่อให้เกิดอิทธิฤทธิ์

    บางท่านทำโดยไม่ต้องการอะไร ขอแค่ให้จิตสงบ ให้ความรู้จริงของจิตเมื่อประสบกับอารมณ์อะไรที่เกิดขึ้น เพื่อจะอ่านจริตของเรา ให้รู้ว่าเราเป็น ราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต พุทธจริต ศรัทธาจริต อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง อันเป็นพื้นฐานที่เราจะแก้ไขดัดแปลงจิตของเรา โดยเราจะแก้ไข ตัดทอน ดัดแปลงในสิ่งที่เกินงาม แล้วเพิ่มสิ่งที่หย่อนให้อยู่ระดับที่พอดีพองาม เรียกว่า มัฌชิมาปฏิปทา

    สมาธิอย่างหนึ่งเราฝึกเพื่อให้มี สติสัมปชัญญะ รู้ทันเหตุการณ์นั้นๆ ในขณะปัจจุบัน

    สมาธิบางอย่าง เราปฎิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ ความเห็นภายในจิต เช่น รู้เห็นสิ่งมหัสจรรย์ต่างๆ รู้เรื่องอดีต อนาคต รู้อดีตเช่น รู้ว่าชาติอดีตว่าเราเกิดเป็นอะไร รู้อนาคต คือ รู้ว่าเมื่อเราตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไร อันนี้เรียกการปฎิบัติเพื่อรู้

    ที่นี้มาพิจารณากันจริงๆ อดีตเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้ว อนาคตเป็นสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดังนั้น เรามาสนใจอยู่ในสิ่งที่เป็นปัจจุบันดีไหม

    ดังนั้น โดยสรุปแล้ว เราต้องการสร้างสติ ให้เป็นมหาสติ เป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติวินโย ไม่ได้มุ่งถึงสิ่งที่เราจะรู้เห็นในสมาธิ

    เช่นที่ครูบาอาจารย์สอนว่า ทำกรรมฐานไปเห็นโน่นเห็นนี่ นี่มันใช้ไม่ได้ ให้มันเห็นใจเราเองซิ อย่าไปเข้าใจว่าจะต้องเห็นนรก สวรรค์ หรือ อะไรต่อมิอะไร สิ่งที่เราเห็นในสมาธิมันไม่ผิดกับที่เรานอนหลับแล้วฝันไป แต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้เห็นนี่ คือ เห็นกายของเรา เห็นใจของเรา

    ตามหลักพุทธศาสนา จะขอสรุปลงสั้นๆว่า เราทำสมาธิเพื่ออะไร
    1 เพื่อให้จิตของเราสงบเป็นสมาธิ เกิดความมั่นคง สามารถที่จะต้านทานอารมณ์ที่มากระทบไม่ให้เกิดความหวั่นไหว
    2 เมื่อจิตของเราสงบเป็นสมาธิ ปราศจากอารมณ์ เราจะได้รู้สภาพความเป็นจริงของจิตของเราที่ไม่มีอารมณ์นั้นเป็นอย่างไร โดยเปรียบเทียบ เมื่อมันออกมารับรู่อารมณ์หลังทำสมาธิแล้ว
    3 เมื่อเรารู้ความเป็นจริงของจิตเรา เมื่อจิตอยู่ว่างๆ ไม่มีอารมณ์มันสบายหรือไม่ มีึความสุขหรือไม่ กลับกัน เมื่อรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น เราทุกข์หรือไม่ เดือดร้อนหรือไม่ ดังนั้น เราต้องรู้จักอ่านจิตของเราก่อน
    4 ท้ายที่สุด เราจะสามารถที่จะทำจิตให้ดำรงในความอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งอื่นใด และเมื่อได้ทำไปเรื่อยๆ หากเรายังคิดอยู่ว่า การทำสมาธิต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือผู้วิเศษเข้ามาช่วยดลจิตดลใจให้ดำเนินไปสู่ความสงบ เข้าไปสู่พระนิพพาน ก็เป็นการเข้าใจผิด และผิดต่อหลักของพุทธศาสนา "

    คัดลอกจากเรื่อง:สมาธิโดยวิธีการ, โดย หลวงพ่อพุทธ ฐานิโย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...