สมถะภาวนา โดย หลวงปู่ พุธ ฐานิโย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เด็กชายปราบ, 20 พฤษภาคม 2022.

  1. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ธรรมะเทศนา
    โดย

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    วัดป่าสาละวัน
    อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    เรื่อง วิธีฝึก สมถะภาวนา

    ดาวน์โหลด.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 1)ถอดเทป
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    สมถะ วิปัสนานัง ภาวนา นะ วิโต กะรัง ติ
    อิมัสสะ ธัมมะ ปริยายัสสะ
    อัฏโธ ปาฐา ยะ สะมันเตหิ สักกัสจัง โส ตะโป ติ

    (บทบาลี นี้ ผู้พิมพ์ไม่แน่ใจ ท่านใด รู้ได้ถูกต้อง ขอให้ช่วยแก้คำผิดด้วยครับ)


    บัดนี้ จะได้แสดง พระธรรมเทศนา พรรนาสาสะนาธรรม
    คำสอน แห่ง ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เพื่อเป็นเครื่องประดับ สติ ปัญญา เพิ่มพูล กุศล สัมมาปฏิบัติ
    แด่ ท่านพุทธศาสนิกชน

    แหล่ะเป็นการเฉลิม ฉลอง บุญบารมี
    เพื่อบูชาคุณ แด่บรรดา บูรพะ บูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว
    แหล่ะยังมีชีวิตอยู่

    แหล่ะ เพื่อเป็นการ เป็นลาภสักการะ
    แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็น เอกอักครสาสนูปถัมภ์พก

    ท่านทั้งหลาย ได้สละเวลามาร่วมประชุม เพื่อสร้างสรรค์ บารมีธรรม
    เพื่อความเจริญรุ่งเรือง แก่ตัวเอง แหล่ะ พระบวรพุทธศาสนา
    เพื่อเป็นผลสะท้อนไป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เกิดความสันติ
    คือ ความสงบ ในสังคม แห่งประเทศชาติบ้านเมือง

    อ่ะอึ๊มๆๆ

    เราได้ตั้งหน้า ตั้งตา บำเพ็ญบารมีมา ดังนั้น
    วันนี้จะได้นำพระธรรมเทศนา ที่แสดงค้างไว้

    โดยนัย พุทธภาษิต ที่กล่าวขึ้น ณ เบื้องต้น ว่า
    ซึ่งแปล ออกมา ก็ หมายถึง การกล่าว ถึง สมถะ แหล่ะ วิปัสนากรรมฐาน

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  3. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 2)
    สมถะ แหล่ะ วิปัสนา ทั้งสองอย่างนี้
    เป็นธุระกิจ ของนักปฏิบัติ

    นักปฏิบัติธรรม ผู้ซึ่งเป็น พุทธสาวก จะเข้าถึงธรรม ถึงวินัยที่แท้จริง
    ต้องอาศัยการปฏิบัติ ทั้งสองอย่างนี้เป็นหลัก

    ปัญหาเรื่องการปฏิบัติ สมถะ - วิปัสนา
    เป็นปัญหาใหญ่ ที่นักปฏิบัติ จะพึงทำความเข้าใจ

    บางทีเราได้ยิน ว่า
    การปฏิบัติ วิปัสนากรรมฐาน ต้องผ่าน
    ผ่านการปฏิบัติ สมถะกรรมฐานมาก่อน จึงจะเจริญ วิปัสนาได้
    อันนี้ คำกล่าวนี้ ก็เป็นอาการถูกต้อง

    แต่ ถ้าหากสมมุติ ว่า
    นักปฏิบัติทั้งหลาย ไม่สามารถที่จะทำจิต ให้ สงบเป็น สมถะ
    คือ เป็น อัปนาสมาธิได้ ทำอย่างไร อย่างไร จิตก็ไม่สงบ
    จะให้สงบลงประกอบด้วยองค์ฌาน
    คือ
    มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคคตา ตามแบบของสมถะกรรมฐาน
    ทำอย่างไร ก็ทำไม่ได้

    ถ้าเราจะรอให้จิตของเรานี่ สงบลง เป็น สมถะกรรมฐาน
    ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌาน ตามที่กล่าวมาแล้ว
    เผื่อว่า เราทำไม่ได้ เราจะมิตายก่อนหรือ
    กว่าจะได้เจริญ วิปัสนากรรมฐาน เราต้องตายก่อนแน่

    เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะทำอย่างไร
    แหล่ะ ควรจะทำความเข้าใจ ในคำว่า สมถะ กับ วิปัสนานี้ อย่างไรบ้าง

    ยังมีนักปฏิบัติหลายๆท่าน ที่เข้าใจเช่นนั้น
    เข้าใจว่า เมื่อ โยคาวจรบุคคล ผู้ปฏิบัติธรรม ทำจิตให้สงบตั้งมั่น
    ลงเป็น สมาธิ ขั้นอัปนา คือเป็น สมถะ
    แล้ว ยกจิตขึ้นสู่ภูมิ วิปัสนา

    ถ้าท่านผู้ที่เคยทำจิตให้ถึงอัปนาสมาธิ ถึงขั้นสมถะ
    ฟังแล้ว น่าหัวเราะเยาะ

    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  4. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 3)
    เพราะเหตุ ว่า
    จิต สมาธิที่เริ่มต้น ตั้งแต่ ฌานที่ 1ซึ่งประกอบลงไปด้วยองค์
    คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคคตา
    ขั้นนี้สภาพจิต ของผู้ปฏิบัติ
    ได้หายขาดจากสัญญาเจตนาไปแล้ว มีแต่จิตมีแนวโน้ม ไปสู่ความสงบเองโดยอัตโนมัติ
    จะป่วยกล่าวไปใย ถึงจิตอยู่ในขั้นอัปนาสมาธิอย่างละเอียด
    ที่เราจะสามารถน้อมจิต ไปสู่อารมณ์แห่ง วิปัสนาได้ ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้

    ที่อาตมะพูดอย่างนี้

    ถ้าผู้ที่มีภูมิจิตยังไม่เคยผ่าน ฟังแล้วก็น่าหัวเราะเยาะอีกเหมือนกัน
    เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติทั้งหลาย พึงทำความเข้าใจว่า

    สภาพจิตที่เข้าก้าวไปสู่ ความสงบ นับตั้งแต่
    ขั้น ฌานที่ 1 คือปฐมฌาน

    ต่อจากนั้น

    จิตจะดำเนินไปสู่ ฌานที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
    เค้าจะดำเนินไปเองโดยอัตโนมัติ โดยพลังแห่งสมาธิ
    เช่นจะเป็นไปเอง

    สัญญาเจตนา ที่จะน้อมนึก ให้เป็นไปอย่างนั้นย่อมไม่มีแล้ว

    ในเมื่อเรายังมีสัญญาเจตนาที่จะน้อมนึกอยู่
    จิตก็เปลี่ยนจากอารมณ์ที่ยึดมั่นในขณะนั้น
    ในเมื่อ จิตเปลี่ยนแปลงจากอารมณ์ที่ยึดมั่นเป็นอารมณ์ฌาน
    เอาอารมณ์อื่นเข้ามาแทรก จิตจะถอดออกจากฌานทันที

    เพราะฉะนั้น

    การที่ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ
    ตั้งแต่ ฌานที่ 1 ถึง ฌานที่ 4
    นักปฏิบัติจึงไม่มีโอกาส
    หรือไม่มีทางที่จะน้อมจิตน้อมใจ ให้ไปสู่ วิปัสนาได้

    นอกจากว่า

    สมรรถภาพทางจิตของท่านผู้นั้น
    จะบันดาลให้เกิดความรู้ ความคิด ความอ่าน ขึ้นมาเอง
    ซึ่งผู้ปฏิบัติ มิได้มี สัญญาเจตนา ที่จะให้เป็นไปอย่างนั้น
    แต่จิตเค้าจะปรุงเป็นความรู้ ซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไปว่า

    " ธรรมะอุทานเกิดขึ้นในสมาธิ "

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2022
  5. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 4)
    จิต ของท่านผู้ใด ภาวนาแล้ว เกิดมีธรรมะอุทานขึ้นมา
    เช่นอย่างบางที พอจิตสงบลงไป

    จิตยังไม่ขาดจาก วิตก วิจาร
    ซึ่งประกอบด้วย ปิติ สุข แหล่ะ เอกกัคตาอยู่

    บางทีเกิดจิตว่างลง

    เกิดมีอุทานธรรม ขึ้นมาว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ
    ซึ่งผู้ภาวนาไม่ได้ตั้งใจจะคิดอย่างนี้

    แต่ อัตตาหิ อัตโนนาโถ มันผุดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ

    ในช่วงลักษณะอย่างนี้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปเอง

    เมื่อ อัตตาหิ อัตโนนาโถ ผุดขึ้นมาแล้ว
    จิต สามารถ อธิบายคำว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ ออกมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
    เรียกว่า ความรู้ ความคิด มันเกิดผุดขึ้น ผุดขึ้น ผุดขึ้น
    บางที ผุดขึ้นมาอย่างรวดเร็วหมือนกับน้ำพุ
    บางทีพอจิตถอดนออกมานิดหน่อย

    กำลังของฌานเสื่อมไป จิตกลับมาสู่ สภาวะเดิม
    คือ สภาวะสามัญธรรมดา อึ๊มๆ

    ทำให้ผู้ภาวนาเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า
    นี่จิตของเราฟุ้งซ่าน และบางที แถมไปถามคนอื่น
    ซึ่งไม่รู้เรื่องรู้ราว พวกนักภาวนาไม่เป็น แต่อยากเป็นอาจารย์สอน



    พอไปถูกถามปั๊บ

    ท่านจะบอกว่า จิตฟุ้งซ่าน ระวังจะเป็นโรคประสาท

    นี่ ปัญญาอย่างนี้ เกิดมีขึ้นบ่อยๆ

    เพราะฉะนั้น

    การที่ทำจิต ให้สงบลงเป็นสมาธิ
    ตั้งแต่ฌาน ที่ 1 ถึง ฌาน 4
    ผู้ภาวนาหมดความตั้งใจแล้ว ตั้งแต่ฌาน ที่1

    ถ้าเราตั้งใจนึก เช่น อย่างบริกรรมภาวนาอยู่
    ถ้าเรายังมีเจตนาตั้งใจ ว่า จะนึกบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ
    อันนี้จิตมันยังไม่ได้ วิตก

    แต่ถ้าเกิด จิตมันนึก พุทโธ พุทโธเองโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
    มันนึกเอง ตลอดเวลา แม้เราจะไปรั้งให้มันหยุด
    มันก็ไม่ยอมหยุด มันจะพุทโธของมันอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา
    แล้วก็มี สติรู้พร้อมอยู่อย่างนั้น

    อันนี้จึงจะได้เรียกว่า

    ผู้ภาวนามีจิต มีสมาธิ ได้ วิตก วิจาร
    เป็น องค์ฌานที่ 1 องค์ฌานที่ 2

    ซึ่งต่อจากนั้นไป ปิติ แหล่ะ ความสุข ก็ย่อมจะบังเกิดขึ้นเอง

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  6. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 5)
    เมื่อ จิต มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ
    จนกระทั่ง จิต ปล่อยวาง วิตก วิจาร ที่เราหามาให้มัน ตั้งแต่ดั้งเดิม
    คือ หยุด ภาวนาพุทโธ เป็นต้น
    แล้วจิตก็มี ภูมิความคิด ความอ่าน ความรู้ขึ้นมาเอง

    เช่น สุดแท้แต่ว่า จิตเค้าจะเอาเรื่องอะไรมาคิด มาค้น มาพิจารณา

    เมื่อเป็นเช่นนั้น

    ถ้าจิตของเราเกิดความคิดขึ้นมาเอง มีสติรู้อยู่เอง
    แม้ว่าความคิดอันนั้น จะไม่ใช่พุทโธ ตั้งแต่ดั้งเดิมก็ตาม
    แต่หากเป็นความคิดอ่าน ชนิดที่เป็นภูมิความรู้
    เป็นภูมิความรู้ที่จิตมันสร้างขึ้นมาเอง จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้

    แต่อยู่ในลักษณะแห่ง ความสงบ
    มีสติ สัมปชัญญะ รู้พร้อมอยู่กับจิต ในขณะที่คิดอยู่
    แล้วในที่สุด ปิติ แหล่ะ ความสุข ก็ย่อมบังเกิดขึ้น
    เมื่อจิต มี วิตก วิจาร ปิติ แหล่ะ สุข เอกกัคตา อยู่พร้อม

    จิต ย่อมมี ความสามารถที่จะปฏิวัติตนไปสู่ ภูมิความรู้
    ไปสู่ภูมิความรู้ ความเห็นต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นอยู่ไม่หยุดหย่อน

    ในขณะใดที่จิต มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา อยู่พร้อม
    แหล่ะจิตทรงฌานอยู่ ตลอดเวลา

    จิต มีความคิด สติกำหนดรู้
    เราจะเรียกกันอย่างตรงไป ตรงมา ว่า
    นั่นแหล่ะ คือ จิตก้าวขึ้นสู่ภูมิ แห่ง วิปัสนา

    อันนี้ เป็น วิปัสนาที่เกิดขึ้น สืบเนื่อง ต่อจาก สมถะ

    วิปัสนาที่เกิดขึ้น ซึ่งมีพลังจิต
    อาศัย สมถะ คือ ฌานที่ 1
    เป็นคุณอุดหนุนให้เกิดความคิด สติปัญญาโดยอัตโนมัติ
    อันนี้เป็น วิปัสนาที่เกิดขึ้นเอง

    ขณะใด จิต นิ่ง ว่าง ไม่มีความคิด นั่นสมถะ
    ขณะใด จิต นิ่ง แล้วมีความคิด
    มี สติรู้พร้อม อยู่กับความคิด ในขณะปัจจุบันนั้น นี่คือ จิต เดิน วิปัสนา

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  7. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 6)
    จิตมีความคิด สติตามรู้ ผู้ภาวนามีความมั่นคง คือสมาธิ
    และก็มี ความรู้ มีสติรู้พร้อมอยู่ในขณะจิตเดียว

    ความมั่นคงของจิต คือ สมาธิ
    ความคิดอ่านที่เกิดอยู่ไม่หยุด คือ ความรู้ เรียกว่า ปัญญา
    สติ ที่ รู้ทัน คือตัวผู้รู้

    สมาธิ ความคิด ผู้รู้ ประกอบกันด้วยองค์สามอย่างนี้
    แล้วก็ จิตคิดอยู่ไม่หยุด
    ผู้คิดก็คิดอยู่ไม่หยุด ผู้รู้ก็รู้อยู่ไม่หยุด ผู้มีความมั่นคงก็มั่นคงอยู่ไม่หยุด
    ไม่เปลี่ยนแปลง
    จิตที่ประกอบด้วยองค์สามอย่างนี้ เรียกว่า จิต ทรงอยู่ในวิปัสนา


    เราจะกำหนดหมายเอาอย่างนี้
    เรียกว่า จิตเดินอยู่ในภูมิวิปัสนา เข้าใจว่าคงไม่ผิดแน่

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอฝากให้ นักปฏิบัติทั้งหลาย นักรู้ทั้งหลาย ได้ช่วยกันพิจารณา

    ในบางครั้ง บางที อาตมะเคยแสดงธรรม
    คุยๆกับลูกศิษย์ลูกหา เคยแนะนำว่า
    พวกท่านอย่าเอาแต่บริกรรมภาวนาเพียงอย่างเดียว
    เมื่อท่านภาวนา พุทโธ พุทโธ เป็นต้นอยู่
    ถ้าจิตของท่านพอใจ ในการบริกรรมภาวนาพุทโธ ก็ภาวนาเรื่อยไป
    อย่าไปบังคับให้มันหยุดนิ่ง มันจะภาวนาพุทโธ อยู่ตลอด 24 ชั่วโมงก็ตามที
    ปล่อยให้มันภาวนาไป

    แต่ถ้าจิตของท่าน หยุด ภาวนาพุทโธ แล้วไปนิ่ง ว่างอยู่ก็ตาม
    ไปคิดอย่างอื่นขึ้นมาก็ตาม ให้รีบกำหนด สติ ตามรู้ทันที
    แล้วปล่อยให้จิตมันคิดไป อย่าไปห้ามมัน

    บางทีก็มีเพื่อนฝูงขัดคอขึ้นมาทันที ขืนปล่อยอย่างนั้น มันก็ยิ่งฟุ้งใหญ่ซิ
    อย่างนี้ก็เคยเจอปัญหามาแล้ว

    เพราะฉะนั้น นักภาวนาทั้งหลาย

    ถ้าจิตนิ่งอยู่กับ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ หรือ นิ่งแล้วไม่มีความคิด
    มีแต่ว่าง สงบ อันนี้ จิตของท่านอยู่ใน สมถะกรรมฐาน

    ถ้าจิตหยุดนิ่ง นิ่งแล้วเกิดความรู้ ความคิดขึ้นมา
    สติของท่าน ตามรู้ทันความคิด อยู่ทุกขณะจิต นั่นคือ จิตเดิน วิปัสนา

    ขอให้ท่านกำหนดหมายเอาอย่างนี้

    อันนี้ได้พิจารณาจากโอวาท คำสอนของพระอาจารย์ เสาร์

    ซึ่งท่านเคยพูดว่า

    เวลานี้จิตของข้ามันไม่เคยสงบซักที มีแต่ความคิด

    ทีนี้

    บันดาลูกศิษย์ที่โง่ๆ รู้เท่าไม่ถึงการณ์
    ไปติดแต่ ความสงบในสมาธิ คือ สงบนิ่ง ไม่มีความคิดเพียงอย่างเดียว
    ก็ไปเข้าใจว่า ภูมิของท่านอาจารย์เสื่อมแล้ว

    บางท่านลบหลู่ดูหมิ่น ครูบาอาจารย์ถึงขนาดที่
    เตรียมอัฏฐะบริขารจะไปแสวงหาอาจารย์ใหม่ก็มี

    ผู้ที่มีภูมิจิตภูมิใจ มีสติ ปัญญาพิจารณา
    เพื่อให้หายข้อข้องใจ ก็เข้าไปกราบเรียนถามท่าน

    เมื่อจิตไม่มีความสงบ มีแต่ความคิด จะได้ชื่อว่า
    ภูมิจิตเสื่อมหรือไม่

    ท่านอาจารย์ก็บอกว่า ถ้ามันเอาแต่นิ่ง อยู่ในความสงบอย่างเดียวมันก็ไม่ก้าวหน้า

    คำพูดของท่านเพียงแค่นี้ บรรดานักปฏิบัติ ผู้มี สติ ปัญญา
    หรือมี ภูมิจิตภูมิใจ ย่อมสามารถที่จะพิจารณาได้ รู้ได้ทะลุปรุโปร่ง

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  8. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 7)
    ศีลเป็นหลักประกันความปลอดภัยของการภาวนา
    เมื่อ ศีล
    อย่างต่ำเพียงแค่ศีล 5 มีความบริสุทธิ์ สะอาดดีแล้ว
    ทำให้ผู้ทำสมาธิภาวนา เมื่อบำเพ็ญสมาธิ สมาธิก็เกิดขึ้นได้เร็ว
    สมาธิที่เกิดขึ้นเพราะศีลเป็นหลักประกันความปลอดภัย เป็น สัมมาสมาธิ

    สมาธิ ที่อาศัย ศีล เป็นหลักประกันความปลอดภัย เป็นสัมมาสมาธิ
    ปัญญาที่เกิดจากสมาธิ ซึ่งมี ศีล เป็นหลักประกันความปลอดภัย
    เมื่อปัญญาเกิดขึ้นแล้ว เป็น สัมมาทิฐิ

    ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฐิ เราจะกำหนดหมายรู้เอาอย่างไร

    ถ้ามีปัญหาถามกันว่า
    สัมมาทิฐิคืออะไร
    มิจฉาทิฐิคืออะไร

    เราจะได้คำตอบว่า

    มิจฉาทิฐิ คือความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
    อันนั้นเป็นคำพูดในตำราที่ท่านเขียนไว้..เขียนไว้อ่านเล่น

    แต่ถ้าเราจะกำหนดหมายเอาความรู้ในสมาธิ ในวิปัสสนา
    ความคิดความเห็นที่บังเกิดขึ้น
    ปัญญาที่บังเกิดขึ้น

    ปัญญา..หมายถึงความรู้
    ความรู้..ก็คือความคิด
    ความคิด..ก็คืออารมณ์

    อารมณ์อันใดที่บังเกิดขึ้นกับจิต
    ถ้าจิตดวงใดไปยึด
    ยึดเอาไว้แล้วสร้างปัญหาขึ้นมา ว่า นี่คืออะไร
    นั่นเป็นปัญญามิจฉาทิฐิ
    เพราะรู้แล้วไม่ปล่อยวาง ทำไมจึงไม่ปล่อยวาง เพราะรู้ไม่จริงจึงยึดไว้
    พอยึดไว้แล้วจึงสร้างปัญหาขึ้นมา

    สร้างปัญหาขึ้นมา..ว่า
    นี่คืออะไร แล้วก็มาตั้งใจคิดอยู่อย่างนั้น คิดจนปวดหัว
    ก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาข้อนี้ได้

    ถ้าใครมีปัญหาอย่างนี้เกิดขึ้นเกี่ยวกับการภาวนา เราจะทำอย่างไร

    เมื่ออารมณ์จิตมันเกิดขึ้น เราสงสัย ว่า นี่คืออะไร ให้รีบกำหนดรู้จิตเฉยอยู่
    เมื่อกำหนดรู้จิตเฉยอยู่ ความคิดย่อมเกิดขึ้น
    เมื่อความคิดบังเกิดขึ้นแล้ว เรากำหนดตามรู้ไป..รู้ไป..รู้ไป

    แต่ขอให้ความคิดที่มันคิดขึ้นมาเอง อย่าไปช่วยมันคิดนะ
    ถ้าไปช่วยมันคิดแล้ว..ยุ่งอีก

    ความคิดที่เราตั้งใจคิด นี่
    เราจะคิด..หาแก้ปัญหาทางธรรมะ คิดเท่าไหร่มันก็ไม่ตก ยิ่งคิดก็ยิ่งยุ่ง

    ยิ่งคิด ก็ยิ่งสับสน วุ่นวาย

    แต่ถ้าหากความคิด..ที่มันคิดขึ้นมาเอง เราปล่อยให้มันคิด แต่เรามี สติ ตามรู้
    เอาความคิด ที่ เกิด-ดับ ขึ้นมาเองนั้นเป็นอารมณ์จิต

    เมื่อเราตามรู้ไป
    ในขณะที่เราตั้งใจ ตามรู้ไป..รู้ไป..รู้ไป
    เป็นการเจริญ วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ
    แต่ไม่ใช่ วิปัสสนา
    ความคิดนี้ไม่ใช่วิปัสสนา การพิจารณานี้ไม่ใช่ วิปัสสนา

    เมื่อเราตามรู้ ความคิด ความอ่านไป พิจารณาไป จิตเกิดความว่างลง
    ปัญหาที่ข้องใจ ผุดเป็นคำตอบขึ้นมาได้ เมื่อเราได้คำตอบเป็นที่พอใจ
    จิตของเรา..เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นมา หายสงสัย

    คือ รู้แล้ว เห็นด้วยกับความรู้ ทั้งรู้ ทั้งเห็น ถ้าหากแถม ความเป็นจริง เข้าไปอีกด้วย
    รู้ เห็น แล้วก็ เป็นจริง

    รู้ เห็น ท่านพอที่จะกำหนดได้ แหล่ะรู้ได้

    แต่ เป็นจริง นี่คืออะไร..

    เช่น ท่านรู้ว่า นี่ ทุกข์

    ที่นี้ ความรู้ ว่า นี่.. ทุกข์ นั่นเป็นความรู้

    ทีนี้ เห็นด้วยว่า ทุกข์จริงๆ นี่เป็นเห็น

    จิต ถอนจากความยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ หรือ
    ถอนความยึดมั่นถือมั่นในทุกข์นั้น

    เห็นว่าทุกข์ เป็นสิ่งธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

    อันนี้ก็เป็นความรู้อีกละ

    เมื่อรู้ขึ้นมาแล้วเห็นด้วยกับสิ่งนี้
    แล้วก็ปล่อยวางอารมณ์ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    รวมทั้งตัวทุกข์ด้วย


    เพียงแต่กำหนดรู้ ว่านี่ ทุกข์
    และก็รู้ว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่พึงกำหนดรู้เท่านั้น


    พระพุทธเจ้ามิได้สอนให้เราละทุกข์

    เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ภาวนาก็ปล่อยวาง ความกังวล ในที่จะขจัดทุกข์
    เพียงแต่กำหนดรู้เพียงอย่างเดียว

    เมื่อปล่อยวาง

    จิต เป็นกลางวางเฉย จิตเป็นความปรกติ ไม่หวั่นไหว
    ไม่ดิ้นรน ไม่วุ่นวาย ในการที่จะไป..ขับไล่ ทุกข์ แต่กำหนดรู้

    เมื่อจิตรู้จริง เห็นจริง..
    จิตรู้จริง..เห็นจริง

    เห็นว่านี่..ทุกข์
    นี่..เหตุให้เกิดทุกข์
    นี่..ทางปฏิบัติให้เกิดความดับทุกข์

    เมื่อรู้เห็น ตามเป็นจริงอย่างนี้

    ความรู้ เห็น ตามเป็น จริง นั่นคือ...วิปัสสนา


    (อ่านต่อตอนต่อไป)

    ตอนนี้ถอดเทปโดยเพื่อสมาชิกพลูโตจัง
     
  9. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 8)

    ในขณะที่เราค้นคว้า ตามดูอยู่ เพื่อจะรู้ว่า อะไร คืออะไรนั้น
    ในขณะ ที่ยังค้นคว้าอยู่ พิจารณาอยู่ ยังไม่ได้คำตอบ อันนั้นเป็นภาคปฏิบัติ

    เมื่อเรารู้แล้ว ว่า นี่เป็นอย่างนี้จริงๆ จิตยอมรับสภาพความเป็นจริง

    เช่น

    อย่างเห็นว่า นี่มันเป็นตัวบาป เป็นตัวบาป เราไม่ควรทำ
    อันนี้เป็นความรู้ รู้ว่า นี่ เป็นตัวบาป
    ทีนี้ในเมื่อเห็นว่า นี่เป็นตัวบาปจริงๆ เป็นการเห็นด้วย เรียกว่า ทั้งรู้ ทั้งเห็น

    ในเมื่อจิตเค้าสามารถละการกระทำบาปได้โดยเด็ดขาด
    การละวางเป็นความเป็น

    เพราะฉะนั้น

    นักปฏิบัติ เมื่อเกิดภูมิจิต ภูมิธรรมขึ้นมา
    ต้องประกอบด้วยองค์ 3
    คือ 1. รู้ คือรู้ตามเป็นจริง เช่นรู้ว่า นี่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตา ก็รู้ตามเป็นจริง

    ทีนี้ รู้แล้ว เห็นด้วย เห็นด้วยกับความรู้ นั้นเป็นความเห็น หรือเป็นเห็น
    ซึ่งท่านใช้โวหาร ว่า รู้เห็น

    ทีนี้ การปล่อยวาง หรือการละวาง อันนั้น เป็นความเป็น
    คือความเป็นจริง ในเมื่อประกอบพร้อมด้วยองค์ 3 อย่างนี้
    ผู้ภาวนา ถือว่าได้ผลอย่างเต็มที่

    อันนี้เป็นเรื่อง แหล่ะ ลักษณะ ลักษณาการ ของ วิปัสนาเกิดสืบเนื่องต่อจากสมถะ

    ขอย้ำทำความเข้าใจอีกทีหนึ่งว่า
    เมื่อผู้ภาวนา ทำจิตให้ก้าวลงสู่สมาธิตั้งแต่ระดับ ฌานที่ 1 จนกระทั้งถึง ฌานที่ 4
    เมื่อฌานเกิดขึ้นแล้ว ผู้ภาวนาไม่มีสัญญาเจตนา จนเข้าไปสู่ขั้นฌานที่ 4
    ยิ่งไม่มีอะไรปรากฎ ฌานที่ 4 มีแต่จิตนิ่งสงบว่างอยู่เท่านั้น
    ร่างกายตัวตนไม่มี อารมณ์ไม่มี อะไร อะไรก็ไม่มี
    มีแต่ความว่าง จิต มองเห็นตัวเองได้อย่างเด่นชัด
    เพราะช่วงนี้จิตไม่ได้พึ่งพาอาศัยอารมณ์ใดๆ
    อันนี้เป็นจิตที่เดินอยู่ในภูมิแห่งสมถะแหล่ะวิปัสนาคละเคล้ากันไป



    ทีนี้ ปัญหา ที่ว่า
    ถ้าเราจะรอให้ จิตของเราเข้าไปสู่ สมาธิขั้นสมถะ แล้วจึงจะเจริญ วิปัสนา
    ถ้าเราทำไม่ได้ เราจะมิตายก่อนหรือ อันนี้ ก็ขอทำความเข้าใจกับท่านผู้ฟังอีกว่า

    ในตอนแรกที่พูดมานั้น เป็นเรื่อง สมถะกับวิปัสนาเกี่ยวโยงกัน
    ทีนี้ถ้าหากสมมุติว่า ท่านผู้ใด ไม่สามารถ ทำสมาธิขั้นสมถะ

    ขอให้ทำความเข้าใจว่า คำว่า สมถะก็ดี วิปัสนาก็ดี เป็นชื่อของวิธีการ

    ถ้าท่านไม่สามารถที่จะบริกรรมภาวนาพุทโธเป็นต้น ทำจิตให้เป็นสมถะได้
    ก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนาให้ลำบาก
    จะพึงพิจารณา ก็จับขึ้นมาเป็นเรื่องราวพิจารณาไปเองเลย

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  10. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่9)
    อย่าง พระคุณเจ้าที่แสดงธรรมเมื่อคืนนี้ ท่านยกเอาเรื่อง
    อนัตตลักขณะสูตร ขึ้นมาแสดง
    ธรรมะที่พระพุทธเจ้าแสดงในระยะใกล้ๆกัน ในปฐมโพธิกาล มีอยู่

    มีอยู่ 3เรื่อง
    เรื่องที่ 1 คือ ธัมจักรกัปวัตรสูตร
    เรื่องที่ 2 คือ อนัตตะลักขณะสูตร
    เรื่องที่ 3 คือ อาทิตะปริยายสูตร

    ธัมจักรกัปวัตนสูตร สอนให้สาวกมีจิตใจปักมั่นลงสู่
    สู่คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    คือ สอนหลักการปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ในอริยสัจ 4
    มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ แล้วก็ มรรค

    มรรคนั้น เป็นหนทางปฏิบัติ ซึ่งรวมลงแล้ว ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ศีล สมาธิ ปัญญานี่ เป็นหลัก ปฏิบัติ เพื่อให้ สาธุชน ทำจิตให้สงบนิ่งลง
    เพื่อบรรลุถึงความเป็นพุทธะ ซึ่งท่านอัญญาโกญฑัญญะ เป็นพระสาวกรูปแรก
    ที่สามารถทำจิตพุทธะให้เกิดขึ้นก่อนใครในโลก
    รองจากสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ในฐานะที่เป็นพุทธะสาวก

    ทีนี้ จิตพุทธะที่สงบนิ่งลงไปนั้น เช่น อย่างท่านอัญญาโกณฑัญญะฟังธัมจักรกัปวัตนสูตรจบลงโดยที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ในเมื่อฟังแล้ว กำหนดจิต
    พอกำหนดจิต ฟัง จิตมีความรู้ความเห็น คล้อยตามโวหารที่พระพุทธองค์ ทรงแสดง
    เริ่มต้นด้วยจะว่า ส่วนสุดสองอย่างบรรพชิตไม่ควรซ่องเสพ
    ส่วนสุดสองอย่างนั้นคืออะไร
    คือ การทรมานตนให้ได้รับความลำบากเปล่า อันหนึ่ง
    แล้วก็การปล่อยตนให้ได้เพลินเพลินไปในความสุขความสะบายจนเกินประมาณ
    อย่างหนึ่ง


    ทั้งสองอย่างนี้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ ถ้าใครทำตนให้มั่วสุมอยู่กับสิ่งนี้
    จะทำให้การปฏิบัติเนิ่นช้า ไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร

    ดั้งนั้น
    พระองค์จึงทรงประทาน ทางสายกลาง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก
    หมายถึง
    การทรมานตนโดยประการต่างๆ ยกตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญมาก่อนแล้ว
    ได้อดพระกระยาหาร ทรมานพระวรกายให้ได้รับความลำบากจนซูบผอม
    จนพระโลมาหลุดล่วงออกมา
    เทวดาทั้งหลายเข้าใจว่า ท่านชายสิทธัตถะสิ้นพระชนม์แล้ว
    ไปบอกที่กรุงกบิลพัสดุ์ ว่าท่านชายได้ตายไปแล้ว ไม่มีเหลือแล้ว
    แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถที่จะทำพระองค์ให้สำเร็จ มรรค ผล นิพพานได้

    เพราะบุคคล ผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ อ่า การไม่รัปทานอาหาร
    ก็ไม่ยัง บุคคลผู้มีกิเลสอยู่ให้สำเร็จได้
    การไม่นอน
    การไม่นั่ง
    การย่างตนโดยถ่านเพลิง
    การทรมานตนโดยประการต่างๆ
    ก็ไม่สามารถที่จะยังบุคคลผู้มีกิเลสอยู่ให้หมดกิเลสไปได้

    กิเลสจะหมดไปได้ เพราะ ทางสายกลาง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ที่ทรงประธานแก่ ภิกษุ เบญจวคีย์

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  11. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 10)
    เมื่อภิกษุเบญจวคีย์
    หนึ่งในจำนวนนั้น คือ ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ฟังธรรมจบลง
    จิตของท่านก้าวลงสู่สมาธิ

    จึงมีคำสวด ว่า

    จักขุงอุทปาทิ จักษุได้บังเกิดขึ้นแล้ว
    จิตที่ก้าวลงสู่สมาธิ เป็นลักษณะ จิต ที่นิ่ง สงบ รู้อยูี่ที่จิต

    ลักษณะ รู้อยู่ที่จิต
    ญานังอุทปาทิ จิตมีญาณหยั่งรู้ เมื่อจิตมีญาณหยั่งรู้
    ขณะนั้น จิตเป็นปกติ ตัวศีลปรากฎเด่นชัด คือ ตัวปกติ จิตกลายเป็น สุตะ
    คอยสดับตรับฟังเหตุการณ์อยู่ที่จิต พอจิตไหวเกิดความคิดขึ้นมา
    ปัญญาอุทปาทิ ความคิดอ่านเกิดขึ้น วิปัสนาอ่อนๆเกิดขึ้นแล้ว

    เมื่อปัญญาอุทปาทิ ปัญญาบังเกิดขึ้นแล้ว
    สติ ตัว ผู้รู้ไล่ตาม ปัญญาคือความคิด รู้ทัน อยู่ตลอดเวลา

    วิชาอุทปาทิ วิชชาความรู้แจ้งเห็นจริงบังเกิดขึ้นแล้ว
    เมื่อวิชชาความรู้แจ้งเห็นจริงบังเกิดขึ้นแล้ว จิต มีความรู้จริงเห็นแจ้ง

    จาคะ การสละคืนซึ่งกิเลส ความรู้เห็น ที่ว่า

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตน
    ตนเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    ได้หายขาดไปจาก จิต ของท่านอัญญาโกณฑัญญะแล้ว

    ท่านอัญญาโกณฑัญญะ จึงกลับ มีความเห็นว่า
    รูปไม่มีในตน ตนไม่มีในรูป
    เวทนาไม่เป็นตน ตนไม่เป็นเวทนา เวทนาไม่มีในตน ตนไม่มีในเวทนา

    สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีในตน
    ตนไม่มีในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เป็นตน
    ตนไม่เป็นนั้น เป็นความเห็นที่ยอมรับความเห็นที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ที่เห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
    แต่เป็น แต่เพียงความเห็นนะ ยังละการยึดถืออัตตา ตัวตน ไม่ได้

    ภูมิของพระโสดาบัน เพียงแต่รู้ รู้ แล้วก็เห็นด้วย แต่ยังไม่เป็นจริง
    เพราะ ยังปล่อยวางเบญจขันไม่ได้ ยังยึดอยู่ เห็นด้วยแต่ว่าปล่อยยังไม่ได้
    ยังถือว่าเบญจขันมีความจำเป็นจะต้องหวงแหนรักษาเอาไว้อยู่

    พระพุทธเจ้าว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่น มันเป็นอนัตตา
    ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนน๊า แล้วพระโสดาบันก็เห็นด้วย โดยไม่เกี่ยง เรียกว่า ยอมรับ
    นอกจากจะไม่เถียงแล้ว ก็หายสงสัยในพระธรรมวินัย

    วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในพระธรรมวินัย ได้หายขาดสิ้นไปแล้ว

    พระพุทธเจ้ามีจริงไหมหนอ
    พระธรรมมีจริงไหมหนอ
    พระสงฆ์มีจริงไหมหนอ

    ธรรมะที่พระพุทธเจ้าแสดงนี้เป็นความจริงหรือไม่
    ความสงสัยในจิตใจของพระโสดาบันไม่มี เห็นด้วยกับพระพุทธเจ้าทั้งหมด

    เมื่อมีความเห็นจริงลงไปอย่างนั้น ยอมรับสภาพความเป็นจริง
    ว่า
    คำสอนของพระพุทธเจ้านี่ เป็นสาระแก่นสารจริง ไม่แปรผัน
    ความลังเลสงสัยในธรรมะคำสอนก็ไม่มี เป็นผู้แกล้วกล้า อาจหาญ
    สามารถสละชีวิต บูชาคุณธรรม
    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  12. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 11)
    ยกตัวอย่างเช่นว่า
    ปกติพระโสดาบัน ไหว้พระสวดมนต์
    ระลึกถึง คุณพระรัตนตรัย มีศีล 5 บริสุทธิ์ สะอาด เด็ดขาด

    ถ้ามีไอ้ มหาโจรคนหนึ่ง มาขู่เข็นบังคับ
    ท่านจะต้องเลิกไหว้พระพุทธเจ้าเดียวนี้
    ท่านจะต้องฆ่าสัตว์ตัวนี้ ถ้าท่านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของข้า ข้าจะเชือดคอท่าน

    ถ้าปุถุชนเป็นอย่างไง
    รักหวงแหนชีวิตของตัวเอง
    ต้องเลิกไหว้พระพุทธเจ้า
    ต้องเชือดคอสัตว์ที่โจรมันบังคับ

    แต่ พระโสดาบันจะไม่ยอมเลย
    ท่านจะเชือดหรือไม่เชือดไม่สำคัญ
    ในเมื่อฉั๊น ฉั๊นหนีไม่รอดฉั๊นก็ต้องนั่งนิ่งอยู่เฉย
    อยากเชือดก็เชิญเชือดไป แต่จะให้ฉั๊นเชือดคอไก่ ให้แกดู ฉั๊นไม่เอาแล้ว
    ให้เลิกไหว้พระพุทธเจ้า ฉั๊นไม่เอาแล้ว นี่คุณสมบัติของพระโสดาบันจะต้องมีอย่างนี้

    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น
    พละ 5
    อินทรี 5
    ซึ่งเป็นคุณธรรม ที่บังเกิดขึ้นในจิตของพระโสดาบันย่อมมีพร้อม
    ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา บังเกิดขึ้นพร้อม

    ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายเคยสังเกตุดูมั๊ย
    จิตใจของเราเนี๊ยะ มันถึงซึ่งความเป็นเองหรือยัง

    จิตของผู้ปฏิบัติ เกิดศรัทธา เกิดศรัทธาในการประพฤติข้อวัตร ปฏิบัติ
    ไม่ต้องมีใครบังคับ ไม่ต้องมีใครชักจูง ไม่ต้องมีใครขู่เข็ญ
    วันหนึ่งๆ ไม่ได้ไหว้พระสวดมนต์ ไม่ได้นั่งสมาธิภาวนา มันนอนไม่หลับ

    ถ้าเป็นพระภิกษุสงฆ์ สามเณรอยู่ในวัด
    วันหนึ่ง ไม่ได้ทำวัตรสวดมนต์โดยพร้อมเพรียงกันหรือเป็นการส่วนตัว
    มันนอนไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องลุกขึ้นมาสวดมนต์ไหว้พระ ภาวนา
    อันนี้เรียกว่า ศรัทธามันเกิด

    ถ้ายิ่งศรัทธาตัวนี้
    ศรัทธาตัวเชื่อในตัวเอง
    เชื่อในคุณธรรม
    เชื่อในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มากขึ้น
    มันก็ยิ่งเป็นสิ่งกระตุ้นเตือน ให้นักภาวนา นักศึกษา นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
    รีบเร่งในการภาวนา

    ถ้านักบวชพระภิกษุ สามเณร รูปใด
    เรามีกติกาที่จะทำวัตรสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิภาวนากันเริ่มต้นตั้งแต่
    ตอนค่ำ 6โมงเย็น
    ตอนตื่นเช้าตี 4

    ถ้าท่านผู้ใดจะได้ยินเสียงระฆังหรือไม่ก็ตาม
    ตั้งใจเตรียมพร้อมที่จะมาสู่ที่ประชุมเพื่อแสดงความสามัคคีกัน
    ท่านผู้นั้นได้ศรัทธา ได้คุณธรรมไว้เป็นต้นทุน

    ถ้าหากว่าท่านผู้ใด ได้ยินเสียงระฆัง ตี เย้ง เย้ง เย้ง
    หมาขี้เรื้อนอยู่ตามร่มไม้ มันยังรู้สึก เห่าหอน แสดงความยินดี
    แต่พระคุณเจ้าที่ขาด ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
    อืม ตีโครตพ่อ โครตแม่ อะไรนักหนา นี่มันจะเป็นอย่างนี้
    ผู้ที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีคุณธรรมจะต้องเป็นเช่นนั้น

    อันนี้ต้องขอประทานอภัยด้วย ที่เอาความจริงมาพูดกันจนเกินไป
    ทั้งนี้ก็เผื่อจะเป็นการกระตุ้น เตือนให้ผู้ที่มุ่ง ที่หวังการเจริญ ในธรรมะวินัยนี้
    ได้นำไปพิจารณาเป็นการบ้าน

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  13. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 12)
    ทีนี้ นักปฏิบัติทั้งหลาย
    ในเมื่อจิตใจมีศรัทธา มีศรัทธา เชื่อมั่นในตนเอง
    ความเชื่อตนเองนี่เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในตนเอง
    จะไปเชื่อในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีประโยชน์
    เชื่อแล้วก็ทำไม่ได้ เพราะไม่เชื่อสมรรถภาพของตัวเอง

    ในเมื่อเราเชื่อสมรรถภาพของตัวเอง
    ว่า
    เราสามารถปฏิบัติเข้าไปสู่คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้
    จนหายความสงสัยข้องใจ เราก็เกิดวิริยะ คือ ความพากความเพียร
    เช่น อย่างชาวบ้านทั้งหลาย ทำมาหาเลี้ยงชีพ
    คิดจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป
    เพื่อเป็นอาชีพ ถ้าหากยังสงสัยว่า มันจะสำเร็จหรือไม่ มันจะสำเร็จหรือไม่
    นั่นคือการขาดความเชื่อตัวเอง

    นักปฏิบัติที่บ่ายหน้าเข้าสู่ที่นั่งสมาธิภาวนา
    พอเตรียมจะนั่งสมาธิแล้วเกิดข้อสงสัยขึ้นมา
    สงสัยว่ามันจะสำเร็จมั๊ย จะได้ดิบได้ดีมั๊ย
    หรือ มันจะเสียเวลาไปนั่งทนทุกข์ ทรมาน
    ถ้าเกิดลังเลสงสัยอยู่อย่างนี้ มันก็เป็นอุปสรรค แสดงว่า ไม่เชื่อตนเอง

    เพราะฉะนั้น

    เราจะต้องปลูกศรัทธาความเชื่อมั่นในตนเองให้มากขึ้น
    เมื่อเรามีศรัทธาความเชื่ออย่างเดียวเท่านั้นแหล่ะ

    ศรัทธา เป็นเหตุ ให้สะสม เสบียงบุญกุศล
    ศรัทธา เป็นเหตุ ให้สะสมพลังงาน เพื่อ ปฏิบัติธรรม เพื่อความเจริญก้าวหน้า

    เมื่อ มีศรัทธาแล้ว ก็ต้องเกิด สมา.อ่า วิริยะ คือ ความพากความเพียร
    ความพากความเพียร นี่
    ว่ากันโดยความหมาย ซึ่งเป็น การอธิบายขยายอรรถ
    ถ้าว่ากันโดย พยัญชนะ แปลว่า ผู้กล้าเสียสละ
    เมื่อเชื่อมั่นแล้วก็กล้าเสียสละ เสียสละกำลังกาย กำลังใจ เพื่อบูชาการปฏิบัติ

    โดยที่สุด สละจนกระทั่งชีวิต
    ไม่เห็นแก่เหน็ด แก่เหนื่อย
    ไม่เห็นแก่ปาก แก่ท้อง
    ไม่เห็นแก่หลับ แก่นอน
    สละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อบูชาคุณธรรม บูชาข้อวัตรปฏิบัติ
    แม้จะอดบ้าง กินบ้างก็ได้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  14. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่13)
    เช่นอย่าง เจ้าพระคุณเทพสุเมธี ท่านเล่าถึง สำนักของท่านอาจารย์เสาร์
    สมัยท่านเป็นเณร ไปอาศัยอยู่นั่น
    มีพระภิกษุสงฆ์ จำนวนตั้งร้อยสองร้อย
    อยู่บ้านนอก อดอด อยากอยาก
    ฉันข้าวแต่ละวัน แต่ละมื้อ นี่ ไม่อิ่ม ไม่เคยอิ่ม
    แต่ก็พอใจที่จะทนอยู่ เพราะมีศรัทธาเชื่อมั่น
    ว่า ท่านอาจารย์เสาร์ มีคุณธรรมที่จะแจกแบ่งให้เรา
    ยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อคอยฟังโอวาท รับโอวาท
    รับคำสั่งสอนของท่านอาจารย์ใหญ่

    อันนี่ เป็นลักษณะของความเชื่อ เชื่อแล้วก็ยอมเสียสละ
    อดก็ไม่กลัวตาย ไม่กลัวผอม ขอให้ได้อยู่ใกล้ๆอาจารย์ใหญ่

    ขอให้ได้ฟังโอวาทท่านก็เป็นพอ

    เมื่อมี วิริยะ ความแกล้วกล้าอาจหาญ ก็กล้าเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง
    แหล่ะเกิดมีวิริยะ มีพลังแก่กล้าแล้ว

    สติ ความตั้งใจ ตั้งใจจะเอาจริงเอาจัง มันก็บังเกิดขึ้น
    เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เกิดความมั่นใจ
    มั่นใจในการที่จะดำเนินการปฏิบัติต่อไปอย่างไม่ท้อถอย
    เมื่อเรามีความมั่นใจในการที่จะปฏิบัติ
    มั่นใจในการนั่งสมาธิ
    มั่นใจในการกำหนดอารมณ์จิต
    มั่นใจในการละการเจริญ ละความชั่วเจริญความดี
    มั่นใจว่าเราสามารถทำจิตให้บริสุทธิ์สะอาดได้

    ความคิดอ่าน พิจารณาหาช่องทาง ที่จะปฏิบัติให้ถูกต้อง นั่นก็เป็น ปัญญา

    เมื่อผู้ปฏิบัติ มามีคุณธรรม
    คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา บังเกิดขึ้นพร้อมแล้ว
    เมื่อคุณธรรมอันนี้ รวมลงเป็นหนึ่ง กลายเป็นองค์อริยะมรรค
    มรรค 8 ประการ รวมลงเป็นหนึ่ง
    พละ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา รวมลงเป็นหนึ่ง
    โพธิปักขิยะธรรม 37 ประการ รวมลงเป็นหนึ่ง

    เป็นหนึ่งอยู่ที่ไหน อยู่ที่ สติวินะโย

    เมื่อคุณธรรมรวมพร้อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว
    ผู้ปฏิบัติจะปรากฎเห็น สติ เป็นองค์เด่นชัดที่สุด

    มีลักษณะ ที่เป็นตัว ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    จิต มีสติ รู้พร้อม เตรียมพร้อมอยู่ที่จิต ตลอดเวลา

    เมื่อผู้ปฏิบัติ มาอบรม สติ สัมปชัญญะ ให้ดีพร้อม
    ซึ่งมี สติ รู้พร้อมอยู่ ที่จิตตลอดเวลา ก็พร้อมที่จะยกจิตขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสนาได้แล้ว

    เพราะฉะนั้น

    คุณธรรมทั้งหลาย ที่เรียกว่า ปฏิบัติตาม มรรค 8
    ตามที่พระท่านเทศน์อยู่บ่อยๆ อ่ะอื๊ม
    หรือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสนากรรมฐานใดๆก็ดี
    ในเมื่อคุณธรรมบังเกิดขึ้นแล้ว
    คุณธรรมทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมเป็นหนึ่ง

    คือ สติวินะโย
    จิตมี สติเป็นผู้นำอยู่ตลอดเวลา

    นักปฏิบัติที่มี สติ สัมปชัญญะ รวมพร้อมเป็นหนึ่ง คือ สติวินะโย

    กลายเป็น

    อัปมาโน อมะตัง ปะรัง
    ผู้ไม่ประมาท คือผู้ไม่ตาย
    ทางไม่ประมาท เป็นทางอันไม่ตาย

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  15. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่14)


    ในเมื่อผู้สามารถรู้ ทางอันไม่ประมาทเป็นทางอันไม่ตาย
    จิตมีความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อมอยู่ทุกขณะจิต

    ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลายก็มารวมพร้อมอยู่ที่ความไม่ประมาท
    มองอะไรไปทางไหน สัมผัสอะไรทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แหล่ะ ใจ
    จิตของท่านผู้นั้นจะดำเนินอยู่ใน ภูมิวิปัสนา ทุกขณะจิต ทุกลมลายใจ เพราะท่านเป็นผู้รู้พร้อม


    ความที่มีสติ สัมปชัญญะ รู้พร้อมอยู่ที่ การ ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
    อยู่ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ

    ถ้าความตั้งใจอันนี้
    เราเพียงแต่ตั้งใจ

    ถ้าตั้งใจจิตจึงกำหนดรู้ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด

    ถ้าไม่ตั้งใจ จิตไม่กำหนด ยังไม่เป็นอัตโนมัติ
    เป็นการกำหนด อิริยาบท ทำสติ สัมปชัญญะ
    เรียกว่า
    อิริยาปฐบรรพะ
    สติ สัมปชัญญะบรรพะ พร้อมๆกันไป

    การกำหนด ทำ สติ ตามรู้ สิ่งดังกล่าว
    เป็นการฝึกจิตให้ก้าวขึ้นสู่ภูมิ แห่งวิปัสนา
    เอากันง่ายๆอย่างนี้

    ถ้าไปพูดถึงอารมณ์จิตภายใน
    ต้องยกอันนั้นขึ้นมาพิจารณา
    ยกอันนี้ขึ้นมาพิจารณา มันลำบาก มันมองไม่เห็น

    ทำวิปัสนาตามรู้ สิ่งที่เรารู้เห็น ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในปัจจุบันนี่
    เป็นการฝึก สติ สัมปชัญญะ ให้ตามรู้ อิริยาบท คือ ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำพูด คิด
    เป็นเรื่องของ ชีวิต ประจำวัน เมื่อเราฝึก สติ สัมปชัญญะ ให้คล่องตัว ต่ออารมณ์ภายนอกนี่
    สติ สัมปชัญญะ มีพลังแก่กล้า ขึ้น
    โอกาส ที่ท่านจะได้ทำความสงบเฉพาะ ตัว
    คือ กำหนดพิจารณาอะไรก็ตาม กำหนดรู้อารมณ์จิตภายในก็ตาม

    สติ สัมปชัญญะ ที่ท่านฝึกตั้งแต่ภายนอกนี่แหล่ะ มันจะเป็นพลังเข้าไปหนุน
    ให้จิต ของท่านมี พลังของ สติ สัมปชัญญะ ในสมาธิด้วย

    ผู้ที่มากำหนดจิต ให้มี สติ ตามรู้ การ ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
    อยู่ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ ได้ชื่อว่า ยกจิต ขึ้นสู่ภูมิ แห่ง วิปัสนา

    อ่ะอื๊มๆ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  16. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่15)
    เมื่อท่านนั่งกำหนดจิตของท่านอยู่
    ถ้าจิตของท่านอยู่ว่างๆ มันไม่คิด
    นึกพุทโธ พุทโธ พุทโธเล่นๆเอาไว้

    ถ้ามันทิ้งพุทโธปั๊ป ไปคิดอย่างอื่น กำหนดทำสติตามรู้มันไป
    ถ้าจิตคิดไม่หยุด สติรู้ความคิดตลอดไป เป็นจิตเดินวิปัสนากรรมฐาน
    ทีนี้ วิธีการ
    มาพูดถึง วิธีการ
    ที่พูดๆมาแล้วมันคลุมกัน เผื่อทำความเข้าใจกับท่านผู้ฟังทั้งหลาย
    ถ้าเผื่อ ว่า นั่งภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่
    จิตโยนพุทโธทิ้งปุ๊ป เข้าป่าไปนู้น
    แล้วความคิดมันฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ขึ้นมา
    ให้ท่านรีบทำสติตามรู้ความคิดนั้นทันที อย่าเข้าใจว่าจิตมันฟุ้งซ่าน

    บางทีท่านอาจจะกระทบอารมณ์อย่างรุนแรง
    ท่านรำคาญในความฟุ้งซ่านของจิต ท่านอยากจะให้มันหยุด
    แต่มันไม่หยุด

    ปล่อยให้มันคิดไป หัดทำสติตามรู้มันไป
    เมื่อจิตของท่านรู้ทันความคิดเมื่อไรสติมีความแก่กล้าขึ้นเมื่อไร
    จิตของท่านจะรู้ทันความคิด
    จิตของท่านจะรู้จริงเห็นจริงในความเป็นจริงของธรรม

    แล้วท่านจะได้ สติปัญญาได้ชื่อว่าเป็นการเจริญ วิปัสนา

    ทีนี้

    ถ้าทำอย่างไร จิตของท่านก็ไม่ไปละ อื๊มๆ
    มันจะเอาแต่ นิ่ง นิ่ง นิ่ง สะบาย
    เพราะความอยู่เฉยๆนี่ มันสะบายมากนะ

    อย่างคนเราทำงานหนักมันเหน็จเหนื่อย
    ถ้าคนมีนิสัยหมั่นขยันก็ค่อยยังชั่ว
    ถือว่า หารทำงานเป็นการบริหารร่างกายเป็นการเล่นกีฬา
    ทำร่างกายให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์
    แต่คนขี้เกียจขี้คร้าน การทำงานนี่เป็นอุปสรรค์ เค้าไม่ชอบ

    สภาพจิตของเราก็เหมือนกัน สภาพจิตของบางท่าน
    ไม่ต้องไล่แกไปหาวิปัสนงสะนาอะไรหรอก
    ตั้งใจ ไม่ตั้งใจ ก็วิปัสนาของแกอยู่นั่นแหล่ะ
    นักทำงาน นักธุรกิจ นักวิชาการ คิดไม่หยุด นั่นแหล่ะคือ วิปัสนา
    ลองเอาสติ ไปควบคุมกับการคิดนั้นให้มันชัดเจนขึ้น
    มันจะกลายเป็นการปฏิบัติ วิปัสนาทันที

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  17. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    (ตอนที่ 16)
    ทีนี้พวกที่มีจิตขี้เขียจคิด ชอบแต่นิ่งๆ
    แต่ถ้า นิ่ง สว่าง มีปิติ มีความสุข ก็พอทำเนา
    แต่ส่วนมากมันจะไปนิ่งอย่างทองไม่รู้ร้อน นิ่งซืดๆ ไม่มีน้ำไม่มีนวล
    บางทีนิ่งลงไปแล้ว มืดมิด รู้อยู่ แต่มืดๆ อันนี่ มันนิ่งแบบ โมหะสมาธิ

    สมาธิ ที่ถูกโมหะ ครอบงำ
    เพื่อเป็นการปลุกให้มันตื่น ต้องหัดให้มันทำงาน
    งานที่เราจะมาป้อนให้มันระยะแรกนี่ ไม่มีอะไรดียิ่งไปกว่า กายคตาสติ คือ

    ทำสติกำหนดรู้ รู้กาย อันประกอบไปด้วยอาการ 32
    อย่างที่พระท่านพาเราสวดอยู่นี่

    ขอประทานโทษ
    ท่านนักบวชทั้งหลายที่บวชเป็นพระ เป็นเณรก็ดี ก่อนที่จะได้ครองผ้าเหลือง
    อุปัฌชาย์ บอกว่า
    เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
    ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา
    เธอจงนำเอาไปพินิจ พิจารณาให้เห็นเป็นของปฏิกูลน่าเกียจโสโครก
    จะได้เป็นอุบายถ่ายถอนราคะความกำหนัด ยินดีมิให้เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจ
    ใจจะได้อยู่เย็นเป็นสุขในพระวินัยสืบไป

    ว๊า ... ถ้าพระเณรองค์ใด เชื่อคำสั่งของพระอุปัฌชาย์
    พิจารณากรรมฐาน 5 เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    เข้าใจว่า สังคมคณะสงฆ์จะไม่เดือนร้อนวุ่นวาย
    แต่นี่เธอไม่เชื่อเสียนี่
    นอกจากจะไม่เชื่อแล้ว ยังไปหา คาถา อาคม อะไรต่างๆมา มาถ่องมาบ่น
    แล้วเดียวนี้พระคุณเจ้ากำลังจะเปลี่ยนศานาพุทธใหเป็นศาสนาอื่น กันถมถืดไป

    อ่าว ไม่พูดถึงแระ จะพูดถึงวิธีเดิน จิต ในขั้นวิปัสนาในขั้นต้น
    ในเมื่อท่านผู้ใด ดำเนินจิต ด้วยการพิจารณาอาการ 32
    จนคล่องตัว
    จนชำนิชำนาญ

    แต่กายคตาสติ อยู่ในหมวด อารมณ์
    สมถะกรรมฐาน 40 ข้อนั้น ข้อได้โปรด อย่าไปเข้าใจ
    อย่าไปเอาความเข้าใจ ว่า อันนี้มันอารมณ์ ของสมถะกรรมฐาน
    จะไปเอามาเป็นวิปัสนากรรมฐานได้อย่างไร
    อย่าเอาความเห็นอันนี้เข้ามาตัดความเจริญของท่านเอง

    พระอาจารย์เสาร์ สอนลูกศิษย์ศิษย์ ภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ

    ถ้าท่านผู้ใด

    สามารถภาวนาพุทโธ สามารถ ทำจิตให้สงบได้ก็ปล่อยไป
    ถ้าท่านผู้ใดไม่สามารถทำจิตพุทโธ ให้สงบได้
    ท่านก็สอนให้พิจารณากายคตาสติ

    แหล่ะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

    ถ้าท่านผู้ใด บอกว่า ภาวนาแล้วจิตมันไปติดความสุข ติดในความสงบ
    มันไม่อยากภาวนา มันไม่อยากอะไรทั้งนั้น

    ท่านจะสอนให้พิจารณากายคตาสติ เริ่มตั้นแต่ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
    ซึ่งเรียกว่า กรรมฐาน 5 เมื่อมีการพิจารณากรรมฐาน 5นี่ คล่องตัว จนชำนิชำนาญ
    ตามสูตรท่านพระอุปัชฌาย์สอน ท่านสอนอย่างนี้ อ่ะอื๊มๆ
    ท่านสอนว่า
    เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
    ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา
    ที่สอนให้ว่า โดยอนุโลม เพื่อจะให้พิจารณาไปโดยลำดับ
    ที่สอน กลับมาเป็นปฏิโลม เพื่อจะให้พิจารณาอ่าถอยกลับ

    ท่านให้พิจารณาว่า
    เกสา คือ ผม ได้แก่ สิ่งที่เป็นเส้นๆ เกิดอยู่บน ศรีษะ
    เมื่อน้อยมีสีดำกับเป็นมัน ครั้นแก่มามีสีขาว
    หลุดร่วงหล่นลงไปแล้ว กลายเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก

    แล้วก็ให้พิจารณา ขน เป็นลำดับ ลำดับไปในแนวเดียวกัน

    แล้วก็พิจารณาเล็บ
    เล็บ คือ สิ่งที่เป็นเกล็ดๆ เกิดอยู่ที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า
    เราใช้หยิบจับสิ่งของ ต่างๆ เปรอะเปลื่อนกับสิ่งปฏิกูล
    กลายเป็น สิ่งที่ สกปรกโลโครกปฏิกูล
    เราต้องแกะต้องแคะ มูลเล็บ ต้องคอยขัด คอยล้างอยู่เสมอ
    ถ้าปล่อยไว้ก็สกปรกเหม็นสาปเห็นคาว

    ทันตาฟัน คือ กระดูกที่เป็น ซี่ๆ เกิดอยู่ภายในปาก
    อยู่บนในเหงือกเบื้องบน และเบื้องล้าง เราใช้เคี้ยว บดอาหาร
    เป็นของ ชุ่ม แช่ ไปด้วย ปุโตโลหิต ซึ่งมีอยู่ในปาก
    เราจะต้องแคะต้องแกะขี้ฟัน แปรงฟัน ทำความสะอาดอยู่เสมอ

    ถึงกระนั้น ก็ยังไม่สิ้นกลิ่นเหม็น

    ตะโจ หนัง
    คือ สิ่งที่เป็นแผ่นบางๆ ห่อหุ้มอยู่ทั่วสรรพลางกาย
    ถ้าม้วนเข้ามา หนังนี้จะได้ก้อนโต ประมาณ เท่าผลพุทธาเม็ดใหญ่


    จบไฟล์นี้เพียงเท่านี้

    นิพพาน นิพพาน นิพพาน
     
  18. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...