สภาวะจิต สภาวธรรม ที่ไม่สมดุลกันทำให้การน้อมรับธรรมมีปัญหา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ชาไม่รู้, 27 มีนาคม 2009.

  1. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    สภาวะจิต สภาวธรรม ที่ไม่สมดุลกันทำให้การน้อมรับธรรมมีปัญหา




    สภาวะจิต คือ ภาวะของจิต ส่วน สภาวธรรม คือ สภาพของธรรมชาติหนึ่งๆ หากสภาวธรรมไม่สมกับสภาวะจิต ขณะน้อมรับธรรม (โอปะนะยิโก) จะทำให้เกิดปัญหา เช่น




    ๑) สภาวะจิตต่ำ น้อมรับ สภาวธรรมที่สูงเกินไป ส่งผลให้จิตตก ห่อเหี่ยว และฆ่าตัวตายได้ เช่น พระสงฆ์สาวกจำนวนมากที่ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า เรื่องอสุภกรรมฐาน แล้วพากันไปฆ่าตัวตาย อุปมาเป็นคนไข้ที่จิตใจอ่อนแอ พอหมอบอกว่าต้องตายภายในวันนี้ จิตก็ตกและสามารถตายได้ง่ายๆ ฉะนั้น ดังนั้น แม้เป็นความจริง เป็นสัจธรรม แต่กล่าวไปก็มีแต่โทษไม่มีประโยชน์ ควรละเว้นเสีย ภาวะแบบนี้เกิดได้หลายกรณี เช่น ฟังธรรมขั้นสูงเกินไปขณะปฏิบัติจิตได้น้อย, การอ่านธรรมะระดับสูงคนเดียว ขณะจิตไม่พร้อม หรือบำเพ็ญบารมีมาน้อยไป

    ๒) สภาวะจิตสูง แต่ไม่น้อมรับ สภาวธรรมที่สูงกว่า ส่งผลให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ทะเลาะถกเถียง และกลายเป็นการก่อกรรมทางวาจาต่อกันได้ เช่น พระปัจเจกพุทธเจ้าเทศนาข้อธรรมที่สูงมากๆ ให้กับพระราชาที่ไม่เปิดใจรับ แม้ว่าจิตของเขามีสภาวะที่สูงพอที่จะรับ แต่หากขาดศรัทธาในตัวผู้นำเสนอธรรมะ ก็อาจเกิดการปิดกั้น ปิดใจ ไม่เปิดใจรับฟัง และกลายเป็นการก่อกรรมต่อกันได้ ดังนั้น แม้พระปัจเจกพุทธเจ้ามีธรรมมากแต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับได้ ฉะนั้น พระโพธิสัตว์ หากปรารถนาจะเทศนาข้อธรรมที่สูงมากๆ ต้องบำเพ็ญบารมีให้มากพอ (ซึ่งหากมีตาทิพย์ต้องตรวจเช็คทั้งกายทิพย์ว่าได้ถึงยูไลหรือไม่ และได้รัศมีเจ็ดสีพร้อมอาสน์บัวสามชั้นหรือยัง) หากยังบำเพ็ญบารมีไม่พอ ไม่ว่าคนหรือเทวดาก็ไม่ฟัง

    ๓) สภาวะจิตสูง น้อมรับ สภาวธรรมที่ต่ำเกินไป ส่งผลให้ไม่เกิดความก้าวหน้า ไม่มีพัฒนาการด้านปัญญา ทั้งๆ ที่จิตมีสภาวะสูงมากพอรับธรรมระดับสูงมากๆ ได้แล้ว แต่อาจไม่มีบุญ ไม่มีโอกาสที่จะได้รับฟังธรรมขั้นสูง แม้เปิดใจน้อมรับธรรมมากเท่าไร ธรรมก็ไม่พัฒนาสูงขึ้น เป็นเพียงธรรมะพื้นๆ เท่านั้นเอง ยกตัวอย่าง เช่น พระโพธิสัตว์ไปฟังธรรม ปฏิบัติธรรม กับพระอรหันตสาวก นานมากแล้ว แต่ปัญญาก็ยังเท่าเดิม ในกรณีนี้ สมควรแก้ไขด้วยการออกเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ เปิดโลกทัศน์ตนเองให้กว้าง จนกว่าจะได้พบธรรมอันสูงขึ้นไป

    ๔) สภาวะจิตต่ำ แต่ไม่น้อมรับ สภาวธรรมที่ต่ำพอกัน ส่งผลให้ไม่อาจทลายสักกายทิฐิของผู้ฟังได้ และไม่อาจบรรลุได้แม้โสดาบัน ที่เป็นเช่นนี้อาจด้วยหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เป็นผู้มีอัตตาสูง หรือ ผู้เทศนาดูไม่น่าศรัทธา ทำให้ศรัทธาอ่อน ไม่ยอมเปิดใจรับฟัง หรือผู้เทศนาไม่มีบุญกรรมสัมพันธ์กับผู้ฟัง ก็มีเหตุด้านบุญกรรมปิดกั้นไว้ หรือแม้มีบุญกรรมสัมพันธ์ให้มาเกื้อหนุนธรรมกัน แต่อาจเพราะผู้เทศนา ยังบำเพ็ญบารมีไม่มากพอ จึงไม่สามารถทำให้ผู้ฟังเปิดรับได้ หรืออาจด้วยผู้ฟัง ยังมีกรรมบังตาอยู่ ทำให้ไม่อาจเปิดใจยอมรับสัจธรรมนั้นได้




    ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อปรับสภาวะจิต และสภาวธรรม ให้สอดคล้องเหมาะสมกัน กล่าวคือ สภาวะจิตและสภาวธรรม ควรอยู่ระดับใกล้เคียงกัน ถ้าต่ำก็ควรต่ำทั้งคู่ ถ้าสูงก็ควรสูงทั้งคู่ ดังนี้ การได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ จากปากของผู้มีธรรม ผู้มีธรรมจะทราบด้วยวาระจิตขั้นสูงว่า ควรเทศนาระดับใด อย่างนี้ ผู้ฟังพึงได้รับประโยชน์สูงสุด แต่การศึกษาเองด้วยการอ่านตำรา ที่ผู้มีธรรมได้รจนาไว้ หรือผู้อื่นได้บันทึกคำสอนไว้นั้น ทำให้เกิดความหลากหลายทางความคิดเห็น เกิดทิฐิต่างๆ ขึ้นตามภาวะที่แตกต่างกันนั้นๆ เช่น ถ้าผู้อ่านสภาวะจิตต่ำไปอ่านธรรมระดับสูง ก็อาจเกิดการปรามาสกันได้ เช่น ธรรมของท่านพุทธทาส, ธรรมของพระอาจารย์ เกษม อาจิณสีโล ฯลฯ เป็นต้น หรือถ้า ผู้อ่านมีสภาวะจิตสูง ไปอ่านธรรมระดับต่ำ อย่างนี้ก็อาจประเมินผู้แสดงธรรมต่ำกว่าจริงได้ เพราะบางครั้ง ผู้แสดงธรรมอาจแสดงธรรมหรือสื่อสารให้เท่ากับผู้ฟัง จึงแสดงธรรมเพียงเท่านั้น แต่ผู้อ่านไปอ่านพบเข้าจึงคิดว่าผู้แสดงธรรมมีธรรมน้อย เช่น ธรรมของหลวงพ่อคูณ ซึ่งปกติจะมีแต่ลูกศิษย์ที่นิยมเครื่องรางของขลัง มากกว่าฟังธรรม




    การแก้ไขกรณีสภาวะจิตและสภาวธรรมต่างกัน




    ๑) ปรับสภาวธรรมให้ต่ำลงตามจิต

    ผู้เทศนา อาจปรับหัวข้อธรรม หรือหัวข้อสนทนาให้ง่ายลง เป็นธรรมะระดับพื้นๆ มากขึ้น ให้กับผู้ฟังที่ระดับจิตไม่สูงพอ โดยสภาวธรรม ควรสูงกว่าสภาวะจิตเพียงเล็กน้อย เพื่อล่อให้จิตเปิดกว้างมากขึ้นละทิ้งความยึดมั่นถือมั่นในอวิชชาที่มีอยู่ได้มากขึ้น หากจิตกับธรรมเท่ากันแล้ว จิตก็ไม่มีพัฒนาการที่สูงขึ้น เท่ากับฟังเรื่องเดิมๆ ปัญญาจะไม่พัฒนา




    ๒) ปรับสภาวะจิตให้สูงขึ้นตามธรรม

    ผู้ฟังธรรม เมื่อรู้ตัวว่าไม่เข้าใจข้อธรรมที่ลึกซึ้งเกินไป หรือพิสดารเกินไป เหนือความคาดหมายเกินไป ขัดแย้งกับความคิดเห็นส่วนตนมากเกินไป ขัดแย้งกับตำราที่ตนเองเคยยึดถือมากเกินไป ควรหาทางแก้ด้วยการ สอบถามข้อมูลจากผู้เทศนา หากไม่อาจตัดสินใจหยั่งลงได้ชัดในธรรมนั้น ควรหยุดการเจรจาที่อาจก่อให้เกิดกรรม การทะเลาะและปรามาสกัน แล้วกลับไปปฏิบัติจิตให้สูงขึ้น เมื่อสภาวะจิตสูงขึ้นเทียบเท่าสภาวธรรมนั้นแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจ, เข้าถึง ธรรมที่ได้รับฟังโดยพิสดารและยากแก่การเชื่อนั้นๆ




    ผู้เทศนาธรรมบางท่านที่มีปัญญา จะทำการปรับธรรมตามผู้ฟังทั้งการปรับให้สูงขึ้นและต่ำลง เมื่อปรับให้ต่ำลงเพื่อฉุดช่วยผู้ฟังที่ปฏิบัติจิตได้ไม่สูงนัก และลดการกระทบกระทั่งการก่อกรรมกันได้ ส่วนเมื่อปรับธรรมให้สูงขึ้นเพื่อกระตุ้นจูงใจให้ผู้ฟัง เร่งปฏิบัติจิต ให้สูงขึ้น เพื่อพิสูจน์ธรรมที่ตนได้แสดงไว้โดยพิสดารนั้นเอง นั่นคือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรมของผู้เทศนา หากผู้เทศนายึดมั่นถือมั่นในธรรมของตนแล้ว คงจะไม่ปรับสภาวธรรมให้ยืดหยุ่น สูงขึ้นหรือต่ำลงเป็นแน่แท้ ส่วนผู้ฟังธรรม หากยึดมั่นในอัตตาของตนมากก็จะไม่ยอมปรับสภาวะจิตของตนเลย ก็คงช่วยไม่ได้ เพราะสภาวะจิตและสภาวธรรมนั้น ต้องปรับตามกัน คู่ขนานกัน จะปรับเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเดียว เห็นจะไม่ได้ผล




    ผลข้างเคียงที่มักเกิดขึ้นในผู้มีสภาวะจิตกับสภาวธรรมไม่สมดุลกันหลังรับธรรม

    สำหรับผู้มีสภาวะจิตกับสภาวธรรมไม่สมดุลกัน อาจใช้วิธีการดับทุกข์ชั่วคราวก่อน ก่อนที่จะมีความพร้อมพอที่จะดับทุกข์ถาวร เราเรียกว่า ฝึกสมถะกรรมฐานไปก่อน เมื่อพละห้าเจริญดีแล้ว และพร้อมที่จะรับความเป็นจริงได้ ก็เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อยอมรับความเป็นจริงที่ยากแก่การรับ หากจิตมีความพร้อมน้อมรับธรรมตามจริงได้ ก็จะเห็นธรรมตามจริงไม่มีผิดเพี้ยน และหลุดพ้นทุกข์อย่างถาวรในที่สุด อนึ่ง ตัวอย่างวิธีการที่ผู้มีสภาวะจิตไม่สมดุลกับสภาวธรรมมักใช้ดับทุกข์ชั่วคราวและเกิดผลข้างเคียง มีดังต่อไปนี้




    ๑) ใช้
     

แชร์หน้านี้

Loading...