สถานที่ปฏิบัติธรรมยอดนิยม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 10 เมษายน 2009.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    <table width="94%" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="postbody" valign="top">[​IMG]

    คู่มือสำหรับผู้แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม

    ๑. วัดธรรมมงคล

    ๑๓๒ ถ.สุขุมวิท ซอย ๑๐๑ ตรอกปุณณวิถี ๒๐
    แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ๑๐๒๖๐
    โทร. ๐๒-๓๑๑-๑๓๘๗, ๐๒-๓๓๒-๔๑๔๕, ๐๒-๗๔๑-๗๘๒๒
    วิปัสสนาจารย์ พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
    แนวการปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    สถานที่ปฏิบัติมีหลายแห่ง คือ ๑. ศาลาปฏิบัติธรรม เป็นห้องมุ้งลวด
    ๒. ถ้ำวิปัสสนา (จำลอง) ๓. ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ มี ๘๐ ห้องพัก
    ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศ ๔. ห้องสำหรับทำสมาธิ
    ๕. สถานปฏิบัติธรรม จ.เชียงราย ๖. สำนักสงฆ์น้ำตกแม่กลาง

    ๒. วัดอัมพวัน

    ๕๓ หมู่ที่ ๔ ถ.เอเชีย กม. ๑๓๐ บ้านอัมพวัน
    ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ๑๖๑๖๐
    โทร. (๐๓๖) ๕๙๙-๓๘๑, (๐๓๖) ๕๙๙-๑๗๕
    วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
    แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”

    ๓. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย

    ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    ๕๘/๘ ถ.เพชรเกษม ๕๔ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
    โทร. ๐๒-๔๑๓-๑๗๐๖, ๐๒-๘๐๕-๐๗๙๐-๔
    วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
    แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
    ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
    สถานที่เป็นตึกทันใหม่ทันสมัยหลายหลัง โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

    ๔. สวนโมกขพลาราม

    ๖๘ หมู่ ๑ ต.เลเม็ด อ ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐
    โทร. (๐๗๗) ๔๓๑-๕๙๖-๗, (๐๗๗) ๔๓๑-๖๖๑-๒
    วิปัสสนาจารย์ ท่านพุทธทาสภิกขุ
    แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา

    ๕. วัดป่าสุนันทวนาราม

    ๑๑๐ หมู่ที่ ๘ บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๕๐
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา
    เปิดอบรม “อานาปานสติภาวนา” แก่ผู้สนใจ ครั้งละ ๙ วัน
    เปิดรับครั้งละ ๑๐๐-๑๕๐ คน เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัด กินอาหารวันละ ๑ มื้อ
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิมายา โคตมี คุณดารณี บุญช่วย
    โทร. ๐๒-๓๒๑-๖๓๒๐, ๐๒-๖๗๖-๓๔๕๓, ๐๒-๖๗๖-๔๓๒๓

    ๖. วัดภูหล่น

    ๙ บ้านภูหล่น ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๕๐
    ปฐมวิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    (วัดภูหล่น เป็นสถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์)
    วัดนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ
    มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนัก สามารถกางกลดอยู่ได้
    มีโบสถ์บนเขาและมีกุฏิโดยรอบ บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา
    ที่นี่เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์

    ๗. วัดถ้ำขาม

    บ้านคำข่า หมู่ที่ ๔ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
    วัดมีเนื้อที่ ๘๔๐ ไร่ พื้นที่จรดเขตอุทยานป่าแนวเทือกเขาภูพาน
    วัดอยู่บนเขาสูง แต่ก็มีบันไดขึ้นลงสะดวก มีลิงป่า และไก่ป่า
    ที่พัก มีที่พักเป็นกุฏิ (กุฏิละ ๑ คน) หรือพักรวมบนศาลาก็ได้
    เหมาะสำหรับผู้ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์

    ๘. วัดมเหยงคณ์

    ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐
    โทร. (๐๓๕) ๒๔๒-๘๙๒, (๐๓๕) ๒๔๔-๓๓๕
    วิปัสสนาจารย์ พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
    แนวปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดรู้รูป-นาม

    ๙. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต

    หมู่ ๑ สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี ๑๘๒๓๐
    โทร. (๐๓๖) ๓๗๙-๔๒๘, (๐๓๖) ๓๐๕-๒๓๙
    วิปัสสนาจารย์ พระครูปลัดธรรมนีติวัฒน์ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต)
    แนวปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท ภาวนา “พุทโธ”
    ทุกวันเสาร์-อาทิตย์, วันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญของชาติ
    จะมีการจัดอบรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน บวชชีพราหมณ์ เนกขัมมะ

    ๑๐. วัดสนามใน

    ๒๗ หมู่ ๔ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ๑๑๑๓๐
    โทร. ๐๒-๔๒๙-๒๑๑๙, ๐๒-๘๘๓-๗๒๕๑
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    แนวปฏิบัติ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน ๔
    วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา

    ๑๑. วัดป่านานาชาติ

    หมู่ที่ ๗ บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ๓๔๓๑๐
    (สาขา ๑๑๙ ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี)
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อชา สุภัทโท และพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
    เป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุงและแมลงต่างๆ มาก
    คนที่แพ้ยุงก็ควรหายากันยุงไปด้วย อากาศเย็นสบาย ทานอาหารวันละ ๑ มื้อ
    การไป ให้เขียนจดหมายไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาส แล้วจึงเดินทางไปอยู่

    ๑๒. วัดปทุมวนาราม

    ถ.พระราม ๑ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
    โทร. ๐๒-๒๕๑-๒๓๑๕, ๐๒-๒๕๒-๕๔๖๕
    วิปัสสนาจารย์ พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร)
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    นั่งปฏิบัติในศาลาพระราชศรัทธา มีอาสนะและผ้าคลุมตักให้หยิบใช้ได้
    บริเวณโดยรอบมีการปลูกแต่งด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ร่มรื่นสวยงาม
    กำหนดการปฏิบัติธรรมที่ศาลาฯ ประจำวันจันทร์-ศุกร์ วันละ ๓ เวลา
    เช้า ๗.๐๐-๘.๐๐ น. กลางวัน ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. เย็น ๑๗.๐๐-๒๐.๐๐ น.

    ๑๓. วัดปากน้ำภาษีเจริญ

    ๘ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
    โทร. ๐๒-๔๖๗-๒๑๖๖
    วิปัสสนาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)
    แนวปฏิบัติ ตามแนวธรรมกาย ใช้คำบริกรรม “สัมมาอรหัง”
    สถานที่ปฏิบัติ ๑. หอเจริญวิปัสสนาฯ ชั้น ๒ เป็นห้องแอร์ปูพรม
    ๒. หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิมิต ๓. ตึกบวรเทพมุนี

    ๑๔. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์

    ๓ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
    วิปัสสนาจารย์ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
    แนวปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
    สถานที่ปฏิบัติ คณะ ๕ สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ
    เปิดทุกวัน สอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิ
    เช้า ๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น. กลางวัน ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. เย็น ๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น.

    ๑๕. วัดอินทรวิหาร

    อาคารปฏิบัติธรรม “เฉลิมพระเกียรติ” วัดอินทรวิหาร
    แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
    โทร. ๐๒-๖๒๘-๕๕๕๐-๒
    วิปัสสนาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
    แนวการปฏิบัติ แนวหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย ๘ วัน ๗ คืน หรือ ๔ วัน ๓ คืน
    เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขยายผล จากผู้ปฏิบัติธรรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย
    เป็นอาคารทันสมัย ๕ ชั้น จุได้ประมาณ ๕๐๐ คน

    ๑๖. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล

    ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ๗๓๑๗๐
    โทร. ๐๒-๔๔๑-๙๐๐๙, ๐๒-๔๔๑-๙๐๑๒
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ กำหนดรู้อารมณ์ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
    สถานที่ปฏิบัติ ชั้น ๒ ของหอประชุม มีเครื่องปรับอากาศ ห้องนอน
    มีเครื่องนอน เช่น หมอน มุ้ง ผ้าห่มให้พร้อมหรือนำไปเองก็ได้ ทานอาหาร ๒ มื้อ

    ๑๗. ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
    เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ที่ ๒ จังหวัดปทุมธานี


    ๑๙ หมู่ที่ ๑๖ ต.คลองสาม อ.คลองสาม จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐
    โทร. ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๕ โทรสาร ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๔ ต่อ ๑๑๑
    เป็นสาขาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เพชรเกษม ๕๔
    วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
    แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
    ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
    สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

    ๑๘. วัดอโศการาม

    ๑๓๖ หมู่ที่ ๒ กม. ๓๑ ถ.สุขุมวิท (สายเก่า) ซ.สุขาภิบาล ๕๘
    ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๘๐
    โทร. ๐๒-๓๘๙-๒๒๙๙, ๐๒-๗๐๓-๘๔๐๕
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
    บริเวณกว้างขวาง มีสระน้ำใหญ่ในบริเวณวัด
    กุฏิพระ แม่ชี และที่พักแยกเป็นสัดส่วนเรียงรายรอบวัดเป็นร้อยๆ หลัง
    ส่วนมากอยู่ติดริมทะเลซึ่งเป็นป่าชายเลน

    ๑๙. วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร

    บ้านห้วยใหญ่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ๒๐๑๕๐
    โทร. (๐๓๘) ๒๓๗-๕๐๖, (๐๓๘) ๒๓๗-๖๔๒, (๐๓๘) ๒๓๗-๙๑๒
    วิปัสสนาจารย์ พระจุลนายก (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต)
    สถานที่ปฏิบัติ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น มีอาคาร ญส. ๗๒ ชาย และ ญส. ๗๒ หญิง
    ชั้นละ ๑๐ ห้อง มีห้องน้ำในตัว เรือนปฏิบัติธรรมมี ๑๗ หลัง

    ๒๐. สำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม

    ซ.ประชานุกูล ๗ ถ.ชลบุรี-บ้านบึง ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๐๐๐
    โทร. (๐๓๘) ๒๘๓-๗๖๖, (๐๓๘) ๒๘๓-๓๔๐
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
    มีเรือนพักปฏิบัติธรรมทั้งหญิงชายแยกเป็นสัดส่วนอยู่จำนวนมาก
    การอยู่ปฏิบัติให้พักคนเดียว เน้นการเก็บอารมณ์ ไม่พูดคุยกัน อย่างเคร่งครัด
    การรับประทานอาหารจะมีปิ่นโตส่งถึงห้อง ๒ มื้อ
    ทุกวันจะมีการสอบอารมณ์กรรมฐานโดยพระอาจารย์
    ค่าน้ำไฟ อาหาร วันละ ๕๐ บาท หรือเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ห้ามอยู่เกิน ๙๐ วัน

    ๒๑. วัดภัททันตะอาสภาราม
    สำนักวิปัสสนาสมมิตร-ปราณี


    ๑๑๘/๑ หมู่ที่ ๑ บ้านหนองปรือ ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ๒๐๒๒๐
    โทร. (๐๓๘) ๒๙๒-๓๖๑, ๐๘๑-๗๑๓-๐๗๖๔, ๐๘๑-๙๒๑-๑๑๐๑
    เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อขยับขยายมาจากสำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
    สถานที่ล้อมรอบด้วยทุ่งและธรรมชาติ มีกุฏิสงฆ์สร้างในแบบธรรมชาติมุงจาก
    อาคารปฏิบัติธรรมขนาดกลางและอุโบสถ ยังรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่มากนัก

    ๒๒. วัดเขาสุกิม

    ๑๒ ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ๒๒๑๒๐
    โทร. ๐๘-๙๙๓๑-๕๕๔๔, ๐๘-๑๔๕๖-๘๓๘๔
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ใช้คำบริกรรม “พุทโธ”
    วัดตั้งอยู่สูงขึ้นไปบนเชิงเขา กว้างขวางกว่า ๓,๒๘๐ ไร่
    มีทางบันได และรถรางขึ้นไปบนวัด บริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย
    มีศาลาที่พักที่สะดวกสบาย เป็นห้องมุ้งลวด มีเตียง ที่นอนหมอนให้ หรือพักที่กุฏิว่างต่างๆ

    ๒๓. วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)

    ๖๐ หมู่ที่ ๑ บ้านท่าซุง ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี ๖๑๐๐๐
    โทร. (๐๕๖) ๕๑๑-๓๖๖, (๐๕๖) ๕๑๑-๓๙๑
    วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”

    ๒๔. วัดถ้ำผาปล่อง

    ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๗๐
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    สำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่บนดอย ทางขึ้นลงเทปูนเป็นบันไดเดินได้สะดวกแต่ค่อนข้างสูง
    หลวงปู่เคยเล่าไว้ว่าที่ถ้ำผาปล่อง และถ้ำเชียงดาวนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
    ให้สำรวมระวัง รักษาความสงบ ไม่ร้องรำทำเพลง เล่นตลกคะนอง
    เพราะเคยมีพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากกุสันโธ
    พระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้าโกนาคม พระอรหันต์สมัยพระกัสสโป
    และพระอรหันต์สมัยพระพุทธโคดม มาบำเพ็ญเพียรและละสังขารอยู่หลายองค์
    การนั่งภาวนาที่นี่จะทำเหมือนสมัยที่หลวงปู่ยังอยู่ คือ
    ท่านจะให้ทุกคนที่ไปภาวนานั่งสมาธิเพชรฟังเทศน์ ด้วยเหตุผลว่า
    “การนั่งสมาธิเพชรนั้นเป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น”

    ๒๕. วัดป่าสาลวัน

    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐
    โทร. (๐๔๔) ๒๕๔-๔๐๒, ๐๘-๑๙๖๗-๑๔๓๕
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    แนวปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
    วันที่ ๑-๕ ของทุกเดือน จะมีการอบรมการปฏิบัติแก่อุบาสกอุบาสิกา
    ที่ใต้ศาลา และบนวิหารชั้น ๒ โดยจะมีพระให้การอบรม

    ๒๖. วัดแดนสงบอาสภาราม

    ๙๙ ซอย ๑๙ ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐
    โทร. (๐๔๔) ๒๑๔-๑๓๔, (๐๔๔) ๒๑๔-๘๖๙-๗๐
    วิปัสสนาจารย์ พระครูภาวนาวิสิฐ
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา

    ๒๗. วัดป่าวะภูแก้ว

    หมู่ที่ ๑๑ บ้านวะภูแก้ว ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ๓๐๑๗๐
    โทร. (๐๔๔) ๒๔๙-๐๔๕
    เป็นวัดสาขาของวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    แนวปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
    วัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีต้นไม้ใหญ่น้อยมาก สถานที่เงียบสงบ สวยงาม
    มีอาคารอบรมขนาดใหญ่ สำหรับผู้มาทำสมาธิเป็นหมู่คณะ

    ๒๘. วัดหนองป่าพง

    ๔๖ หมู่ ๑๐ บ้านพงสว่าง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ อุบลราชธานี ๓๔๑๙๐
    โทร. (๐๔๕) ๓๒๒-๗๒๙
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อชา สุภัทโท
    แนวปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ

    ๒๙. ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน

    ๖ หมู่ที่ ๒๕ บ้านเนินทาง ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
    โทร. (๐๔๓) ๒๓๗-๗๘๖, (๐๔๓) ๑๒๗-๗๙๐
    เป็นสถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสาขาของวัดอัมพวัน
    วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ เช่นเดียวกับวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

    ๓๐. วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม (วัดป่าเหล่างา)

    ซ.ศรีจันทร์ ๑๓ ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
    โทร. (๐๔๓) ๒๒๒-๐๔๒
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และหลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”

    ๓๑. วัดถ้ำผาบิ้ง

    บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย ๔๒๑๓๐
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    เมื่อไปถึงจะพบศาลาสร้างด้วยไม้ที่โปร่งสะอาดน่านั่งสมาธิ มีกุฏิหลายหลัง
    มีถ้ำอยู่ไม่สูงจากเชิงเขา มีบันได้ขึ้นสะดวก เป็นที่สงบวิเวกมาก
    เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์ พระในสายพระอาจารย์มั่นมักมากจำพรรษา
    และปฏิบัติธรรมที่นี่ เพราะเป็นที่สัปปายะ บรรยากาศเงียบสงบ ห่างไกลจากตัวเมือง

    ๓๒. วัดถ้ำกลองเพล

    ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ๓๙๐๐๐
    โทร. (๐๔๒) ๓๑๒-๓๗๗
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    เป็นวัดป่ากว้างขวาง พร้อมศาลาปฏิบัติธรรมสร้างภายในถ้ำ
    ทางไปถ้ำสะดวกอยู่ริมถนน รถเข้าถึงปากถ้ำได้ ไม่ต้องปีน
    บางกุฏิก็ซ่อนอยู่ตามเหลือบผาต่างๆ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
    เมื่อไปถึงให้ติดต่อศาลาประชาสัมพันธ์เพื่อขออนุญาตก่อน ปฏิบัติธรรมอย่างเข้ม

    ๓๓. วัดป่าบ้านตาด

    บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ๔๑๐๐๐
    วิปัสสนาจารย์ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    ในวัดมีกุฏิที่พักหลายกุฏิ มักจะมีลูกศิษย์มาอยู่ปฏิบัติกันมาก
    แต่ผู้มาปฏิบัติที่นี่ต้องกินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก
    กลางคืนมักจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ จนดึก หรือโต้รุ่งก็มี
    ไม่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน ผู้ปฏิบัติจึงควรจำไฟฉายหรือเทียนติดตัวไปด้วย
    เพื่อใช้ส่องทางเดิน ทางจงกรม ซึ่งมักจะเป็นทางดิน
    และอาจมีสัตว์ เช่น งู อยู่บ้าง ต้องเจริญเมตตาไม่เบียดเบียนต่อกัน

    ๓๔. วัดหินหมากเป้ง

    หมู่ที่ ๔ บ้านไทยเจริญ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ๔๓๑๓๐
    โทร./โทรสาร (๐๔๒) ๔๒๑-๔๐๙
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    ในวัดมีกุฏิเรือนรับรองอยู่มาก บริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วยป่าโปร่ง ป่าไผ่
    ทะเลสาบใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ร่มรื่น สงบเย็น เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

    ๓๕. วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)

    บ้านนาคำแคน ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ๔๓๒๑๐
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    วัดตั้งอยู่บนภูทอก ทางขึ้นค่อนข้างชัน
    สร้างด้วยความอัศจรรย์และด้วยจิตที่เด็ดเดี่ยวของพระเณร
    ท่านพระอาจารย์จวนได้ทำทางขึ้นเป็นขั้นบันไดและทางเดินด้วยไม้รอบภูจนถึงยอด
    บริเวณหน้าผา ท่านใช้ไม้ ๒ ลำมัดให้แน่นยื่นออกไป ๔ เมตร
    เอาเชือกบังสุกุลผูกปลายไม้ที่ยื่นออกไป ตรึงใส่เสาที่ปักไว้ แล้วไปนั่งที่ปลายไม้นั้น
    เพื่อตอกหินเจาะหลุมที่หน้าผา ปรากฏว่า ถ้าให้ฆราวาสไปนั่งปลายไม้ครั้งใด
    ก็ไม่สามารถควบคุมสติสมาธิได้ เพราะมองไปข้างบ่างก็เกิดความหวั่นไหว
    จนไม่สามารถตอกหินได้สำเร็จ ผู้สร้างจึงเป็นพระและเณร สิ่งปลูกสร้างนี้มี ๗ ชั้น
    มีกุฏิที่พักเชิงเขาที่ชั้น ๒ หรือจะพักกุฏิว่างรอบเขาก็ได้ (ต้องขออนุญาตก่อน)
    เหมาะกับผู้ปฏิบัติที่ฝึกมาดีพอสมควร มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้
    เนื่องจากเปลี่ยวและสูงอยู่บนภูเขา แต่บรรยากาศเย็นสบาย เงียบสงบ

    ๓๖. วัดดอยธรรมเจดีย์

    หมู่ที่ ๓ บ้านนาสีนวล ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ๔๗๒๘๐
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    ปกติจะปฏิบัติที่ศาลา ส่วนที่พักมีกุฏิและอาคารซึ่งสะอาดทันสมัย

    ๓๗. วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง)

    ถนนรพช. หมู่ที่ ๑ ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ๔๗๑๙๐
    โทร. (๐๔๒) ๗๒๒-๐๐๒
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภาวนา “พุทโธ”
    ที่นี่มีหลายถ้ำ มีถ้ำหนึ่งชื่อถ้ำพวง ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า
    เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์ชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่

    ๓๘. วัดป่าสุทธาวาส

    ๑๓๙๖ หมู่ที่ ๑๐ บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร ๔๗๐๐๐
    โทร. (๐๔๒) ๗๓๓-๐๔๑, (๐๔๒) ๗๑๑-๕๗๓
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    มีอาคารเป็นตึกปูน ๓ ชั้นหลังใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคน เย็นสบาย

    ๓๙. วัดคำประมง

    ๒๐ หมู่ที่ ๔ บ้านคำประมง ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐
    โทร. ๐๘-๑๖๐๑-๖๙๖๐, ๐๘-๑๓๒๒-๗๑๐๗
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    เนื่องจากเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่น้อยในฤดูนอกพรรษา จึงเงียบสงบ
    มีเจ้าหน้าที่ตัดหญ้า ปลูกดอกไม้สวยงามอย่างดี
    มีพระพุทธรูปปางต่างๆ และสิ่งก่อสร้างสวยงาม มีสระน้ำทะเลสาบใหญ่
    ฝูงปลามากมาย มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมและให้อาหารปลาอยู่เสมอ

    ๔๐. สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)

    เขากิ่ว ต.ไร้ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี ๗๖๐๐๐
    โทร. (๐๓๒) ๔๒๘-๕๒๒
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อกนฺตสิริ (กนฺตสิริ ภิกฺขุ)
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติ
    เขากิ่วเป็นภูเขาเตี้ยๆ มีต้นไม้หนาแน่นมาก อยู่ใกล้เมือง เดินทางสะดวก
    บนเขามีลิงอยู่บ้าง แต่ไม่ทำร้ายคน บนสำนักฯ มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    ศาลา ถ้ำชี ซึ่งใช้เป็นอุโบสถ กุฏิที่พัก ห้องน้ำ-ส้วม พอสะดวกสบายแก่การปฏิบัติ
    ที่นี่เน้นการปฏิบัติเคร่งครัด กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก

    ๔๑. เสถียรธรรมสถาน

    ๒๔/๕ ซ.วัชรพล (รามอินทรา ๕๕)
    แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ ๑๐๒๓๐
    โทร. ๐๒-๕๑๐-๖๖๙๗, ๐๒-๕๑๐-๔๗๕๖
    วิปัสสนาจารย์ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
    ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โอเอซิสธรรมกลางกรุง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น
    สงบเงียบ สงบเย็น ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร สาธุชนทุกท่านสามารถ
    เข้าไปปฏิบัติธรรมได้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ที่เหมาะ
    อย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง

    ๔๒. บ้านซอยสายลม

    ๙ ถ.พหลโยธิน ซอย ๘ ซอยสายลม (ระหว่างตึกชินวัตร ๑ และตึกพหลโยธินเพส)
    แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
    วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”

    ๔๓. วัดพิชยญาติการาม

    ๖๘๕ ถ.ประชาธิปก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. ๑๐๖๐๐
    โทร. ๐๒-๘๖๑-๔๓๑๙, ๐๒-๔๓๘-๔๔๔๒
    วิปัสสนาจารย์ พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) และแม่ชีทศพร ชัยประคอง
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
    มีการปฏิบัติธรรม อบรมกรรมฐาน และดูกฎแห่งกรรม ทุกวันเสาร์-อาทิตย์

    ๔๔. วัดผาณิตาราม

    ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดผาณิตาราม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ๒๔๐๐๐
    โทร. (๐๓๘) ๕๐๒-๐๐๐, (๐๓๘) ๕๐๒-๐๘๗-๘
    วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
    แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
    ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
    มีการจัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานสำหรับเยาวชน และบุคคลทั่วไป
    สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก ที่พักสะอาด สะดวก ปลอดภัยดีมาก
    และที่ปฏิบัติมีเครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

    ๔๕. วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)

    ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ บ้านเขาวง ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ๑๘๑๒๐
    โทร. (๐๓๖) ๒๓๖-๕๐๐-๕, ๐๘-๖๑๓๓-๖๘๘๙, ๐๘-๔๓๑๐-๙๔๔๒
    วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”
    รับผู้เข้าพักปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก

    ๔๖. วัดสังฆทาน

    ๑๐๐/๑ หมู่ที่ ๓ บ้านบางไผ่น้อย ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐
    โทร. ๐๒-๔๔๗-๐๗๙๙, ๐๒-๔๔๗-๐๘๐๐
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก และหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
    มีการจัดบวชเนกขัมมปฏิบัติทุกวัน ทั้งบวชคนเดียวและบวชหมู่

    ๔๗. ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า

    ประเทศไทยมีศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า รวมทั้งหมด ๕ ศูนย์
    อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์

    (๑) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา
    กม. ๑๖๖+๙๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๓๓ (สุวรรณศร)
    ๒๐๐ บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ๒๕๐๐๐
    โทร. (๐๓๗) ๔๐๓-๑๘๕, ๐๘-๙๗๘๒-๙๑๘๐

    (๒) ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา
    กม. ๔๙+๔๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๑๒ (พิษณุโลก-หล่มสัก)
    ๑๓๘ แยกเข้าบ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ๖๕๒๒๐
    โทร. (๐๕๕) ๒๖๘-๐๔๙, ๐๘-๑๖๐๕-๕๕๗๖, ๐๘-๖๔๔๐-๓๔๖๓

    (๓) ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา
    ๑๑๒ หมู่ที่ ๑ ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ๔๐๒๔๐
    โทร. ๐๘-๖๗๑๓-๕๖๑๗, ๐๘-๔๗๙๖-๖๐๖๙

    (๔) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา
    ๒๐/๖ หมู่ที่ ๒ บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๔๐
    โทร. (๐๓๔) ๕๓๑-๒๐๙, ๐๘-๑๘๑๑-๖๔๔๗, ๐๘-๑๘๑๑-๖๑๙๖

    (๕) ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี
    ๔๒/๖๖๐ หมู่บ้านเค.ซี. การ์เด้นโฮม ถ.นิมิตใหม่
    แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐
    โทร. ๐๒-๙๙๓-๒๗๑๑, ๐๒-๙๙๓-๒๗๐๐, ๐๘-๑๘๔๓-๖๔๖๗

    วิปัสสนาจารย์ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
    มีการจัดการอบรมวิปัสสนา (หลักสูตรสติปัฏฐาน) หลักสูตร ๑๐ วัน
    สำหรับพระภิกษุ สามเณร และฆาราวาสทั่วไป รวมทั้งเด็กและเยาวชน
    เริ่มต้นในเย็นวันแรก และสิ้นสุดในตอนเช้าของวันสุดท้าย ตลอดทั้งปี

    ๔๘. มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    ๕๔๙/๙๔ ซ.ยิ่งอำนวย (จรัญสนิทวงศ์ ๓๗) ถ.จรัญสนิทวงศ์
    แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐
    โทร. ๐๒-๔๑๒-๒๗๕๒
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    มีการจัดกิจกรรมทุกเดือน ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม
    และปฏิบัติจิตภาวนา นำพาโดยครูบาอาจารย์พระวิปัสสนาจารย์สายหลวงปู่มั่น
    ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐-๑๑.๓๐ น. ซึ่งในแต่ละครั้งนั้นจะมีพระภิกษุมาหลายองค์

    ๔๙. วัดชลประทานรังสฤษฎ์

    ๗๘/๘ หมู่ที่ ๑ ก.ม.๑๔ ถ.ติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ๑๑๑๒๐
    โทร. ๐๒-๕๓๘-๘๘๔๕, ๐๒-๕๘๔-๓๐๗๔
    วิปัสสนาจารย์ พระพรหมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)
    แนวการปฏิบัติ แนวอานาปานสติภาวนา
    ทุกวันอาทิตย์สาธุชนจะมาทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก

    ๕๐. วัดเขาพุทธโคดม

    ศาลาธรรมสันติ ๔๒/๒ หมู่ที่ ๔ ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐
    โทร. (๐๓๘) ๗๗๒-๑๓๒, (๐๓๘) ๗๗๒-๙๔๔, (๐๓๘) ๓๑๒-๖๐๘
    วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
    แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
    ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
    ทางวัดได้จัดเครื่องนอนพร้อม อาหารเลี้ยงฟรี เป็นมังสวิรัติแต่รสดี
    ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ใดมีปัญหาสุขภาพรับศีล ๘ ไม่ได้
    ก็ขอให้รับศีล ๕ แทน จะมีการตระเตรียมอาหารเย็นไว้ให้
    ห้ามบอกบุญเรี่ยไรใดๆ ทั้งสิ้น จะทำบุญให้ไปที่กุฏิธุรการเท่านั้น
    และห้ามทรงเจ้าเข้าผี และงดพูดมาก

    ๕๑. วัดบูรพาราม

    ถ.กรุงศรีใน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ๓๒๐๐๐
    โทร. (๐๔๔) ๕๑๔-๒๓๔
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    แนวปฏิบัติ แนวดูจิต ตามหลักสติปัฎฐาน ๔
    วัดตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุรินทร์ หน้าศาลากลางจังหวัด
    แต่สงบเงียบ สงบเย็น สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
    เป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดสุรินทร์
    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ท่านมีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของจิต
    จนกระทั่งได้รับสมญาว่าเป็น ‘บิดาแห่งภาวนาจิต’

    ๕๒. วัดไตรสิกขาทลามลตาราม และวัดนิเพธพลาราม

    บ้านฝาง ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร ๔๗๒๕๐
    โทร. ๐๘-๑๘๗๒-๘๔๓๓, ๐๘-๑๓๒๐-๗๘๖๒, ๐๘-๑๘๗๑-๙๘๔๕
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
    แนวการปฏิบัติ แนวเจริญอานาปานสติกรรมฐาน
    วัดนิเพธพลาราม ตั้งอยู่ห่างจากวัดไตรสิกขาฯ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
    ทางวัดมีการจัดปฏิบัติธรรม เนื่องในโอกาสสำคัญ เช่น
    - งานเสขปฏิปทา เป็นงานปฏิบัติธรรมประจำปี
    - วิสาขบูชามหาพุทธชยันตี งานวันนัดพบผู้ใฝ่ธรรม ฯลฯ
    ซึ่งจะมีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จากทั่วทุกสานุทิศ
    เดินทางมาปฏิบัติธรรม เจริญจิตตภาวนา เป็นจำนวนมาก

    ๕๓. วัดปัญญานันทาราม

    ๑ หมู่ที่ ๑๐ ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๑
    โทร. ๐๒-๙๐๔-๖๑๐๑-๒, ๐๒-๙๐๔-๖๑๐๗ โทรสาร ๐๒-๙๐๔-๖๐๖๕
    วิปัสสนาจารย์ พระพรหมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)
    และพระครูสีลวัฒนาภิรม (พระมหาสง่า สุภโร)
    แนวการปฏิบัติ แนวอานาปานสติภาวนา
    วัดปัญญานันทาราม มีโครงการสําหรับสาธุชนทั่วไปมากมาย เช่น
    - โครงการเพิ่มโอกาสบวชธรรมจาริณี
    - โครงการสืบสานวัฒนธรรมรักษาอุโบสถ (วันพระ)
    - โครงการชีวิตใหม่ (บําเพ็ญบารมีวันอาทิตย์)
    - โครงการสร้างความสุขด้วยการบําเพ็ญบุญ (วันสําคัญต่างๆ)
    - โครงการวิปัสสนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ฯลฯ

    ๕๔. ศูนย์ศึกษาปฏิบัติธรรม “สวนสันติธรรม”

    บ้านโค้งดารา ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐
    (สาขาของวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์)
    โทร. ๐๘-๑๙๑๕-๗๓๐๐, ๐๘-๑๕๕๗-๙๘๗๘
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    แนวปฏิบัติ แนวดูจิต ตามหลักสติปัฎฐาน ๔
    บรรยากาศภายในสวนสันติธรรมสงบเย็น ร่มรื่น สัปปายะ
    ควรไปถึงวัดก่อนเวลา ๐๘.๐๐ น. เพราะเป็นเวลาที่พระฉัน
    จะมีการสอบถามถึงผลและปัญหาในการปฏิบัติธรรม ตามหลักสติปัฎฐาน ๔
    ตลอดจน รายงานผลการปฏิบัติของแต่ละคน ซึ่งเรียกว่า ‘ส่งการบ้าน’
    ไม่มีการแจกวัตถุมงคล ไม่มีการรดน้ำมนต์

    ๕๕. วัดป่าสุคะโต สถาบันสติปัฏฐาน

    หมู่ที่ ๘ บ้านใหม่ไทยเจริญ ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ๓๖๑๕๐
    โทร. ๐๘-๕๔๙๒-๗๗๐๙, ๐๘-๗๙๕๗-๑๖๘๔
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
    แนวปฏิบัติ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน ๔
    วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา
    มีการจัดอบรมเจริญสติภาวนา (หลักสูตร ๗ วัน) เป็นประจำทุกเดือน

    [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td class="postdetails" valign="bottom" height="40">

    ขอขอบคุณ
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1912

    _________________</td></tr></tbody></table>
     
  2. วรุณบุตร

    วรุณบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    926
    ค่าพลัง:
    +1,018
    ที่อยู่ และ แผนที่การเดินทางไปสถานที่ปฏิบัติธรรมต่าง ๆ<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • bestmed2.pdf
      ขนาดไฟล์:
      687.3 KB
      เปิดดู:
      175
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ๔๕. วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)

    ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ บ้านเขาวง ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ๑๘๑๒๐
    โทร. (๐๓๖) ๒๓๖-๕๐๐-๕, ๐๘-๖๑๓๓-๖๘๘๙, ๐๘-๔๓๑๐-๙๔๔๒
    วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม
    “พุทโธ” รับผู้เข้าพักปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]
    [​IMG]
    <!--img src="http://siangjaagtaum.com/images/left_pix_rule3.jpg" width="215" height="186">


    </TD><TD bgColor=#fef9e9>ปฏิปทาปฏิบัติ
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐาน
    สายพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง)

    ญาติโยมพุทธบริษัท และเพื่อนพระภิกษุสามเณรทั้งหลาย การที่บรรดาท่านพุทธบริษัทก็ดี ภิกษุสามเณรก็ดี ที่เข้ามา ปฏิบัติธรรมในวัดนี้ ทุกท่านมีความประสงค์ดีทั้งหมด นั่นก็คือทุกท่านมีความปรารถนา เพื่อพระนิพพาน การปฏิบัติ ทำความดีในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะสำหรับ พระภิกษุ สามเณร อย่าลืมคำว่า

    ‘นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตังกาสาวัง คะเหตะวา' (ข้าพเจ้าขอรับผ้ากาสาวพัตร์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน) เราจะทำความเห็นให้ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) ทำตามระเบียบวินัยนั้นให้ถูกต้อง อันไหนดีเราปฏิบัติตาม นอกจากนั้น เราก็คิดต่อว่าการเกิดแก่เจ็บตายเป็นของไม่ดี เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราไม่ต้องการเกิดต่อไป เราต้องการพระนิพพาน อย่างเดียว ตั้งใจให้ทานเพื่อตัดโลภะ ตั้งใจรักษาศีลเพื่อป้องกันโทสะ ตั้งใจปฏิบัติธรรมในด้าน สมถวิปัสสนาเป็นการ กำจัดโมหะ ตั้งใจปฏิบัติในพรหมวิหาร ๔ ให้ครบถ้วน คือ

    ๑. ด้านของความรัก เราจะรักคนอื่นเหมือนกับรักชีวิตของเรา จิตใจจะเยือกเย็น
    ๒. มีอารมณ์สงสารอยู่เป็นปกติ ถ้าไม่เกินวิสัยเราจะเกื้อกูลให้มีความสุขตามกำลัง
    ๓. เราจะไม่อิจฉาริษยาใครเมื่อบุคคลอื่นได้ดี เห็นเขาได้ดีพลอยยินดีด้วย
    ๔. ถ้าเขาพลาดพลั้งไป อาจจะต้องถูกลงโทษขับไล่ประการใดก็ตาม เราช่วยไม่ไหวเรา จะวางเฉย ไม่ซ้ำเติม
    นี่กำลังใจของทุกท่านที่มาอยู่ในที่นี้ ทั้งพระภิกษุสามเณรประจำ หรือท่านที่มาปฏิบัติชั่วคราว ให้มีกำลังใจตามนี้ อันดับแรกขอให้ปฏิบัติตามระเบียบและจารีตของวัดดังนี้ :


    ๑. กิจวัตรประจำวัน
    ๒. การใช้สถานที่
    ๓. มารยาท จารีตประเพณี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width=750 bgColor=#fef9e9 border=0><TBODY><TR><TD>๑. กิจวัตรประจำวัน

    ทั้งภิกษุสามเณร ฆราวาสที่มาปฏิบัติธรรม ทั้งที่อยู่ประจำ และที่มาพักชั่วครั้งคราว หรือเป็นกลุ่มนักปฏิบัต ิที่สำนักอนุญาตให้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม ต้องร่วมกันปฏิบัติตัวตามประเพณีกิจวัตร ดังนี้
    ๑. เมื่อมาพักปฏิบัติธรรม ต้องรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ ให้ครบถ้วน และรักษากรรมบท ๑๐* รวมเข้าไปด้วย
    ๒. ต้องร่วมกันปฏิบัติตัวตามประเพณีกิจวัตร:


    <TABLE width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>๐๓.๓๐ น.</TD><TD align=left>ระฆังเตือน ตื่นขึ้นเตรียมตัวพร้อม</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๐๔.๐๐ น.</TD><TD align=left>สมาทานพระกรรมฐานในถ้ำนารายณ์
    เจริญภาวนา, เดินจงกรม

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๐๕.๐๐ น.</TD><TD align=left>ทำวัตรเช้า พระภิกษุออกบิณฑบาตร
    ฆราวาสเตรียมตัวใส่บาตร หรือกวาดใบไม้ตามสะดวกใจ

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๐๗.๓๐ น.</TD><TD align=left>ฉันอาหารเช้า (พระในสำนักฉันมื้อเดียว ภาชนะเดียว)
    ฆารวาสรับประทานอาหารหลังพระภิกษุสามเณรฉันเสร็จแล้ว
    - ทำธุระส่วนตัว
    - กวาดใบไม้
    - บำเพ็ญกุศลตามอัธยาศัย

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๑๑.๐๐ น.</TD><TD align=left>รับประทานอาหาร</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๑๒.๓๐ น. </TD><TD align=left>อบรมวิปัสสนาญาณ และมโนมยิทธิ
    - พักตามอัธยาศัย

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๑๓.๓๐ น.</TD><TD align=left>เปิดเสียงตามสาย เจริญพระพุทธมนต์และคำเทศน์สอน
    - บำเพ็ญกุศล ถวายสังฆทานตามต้องการ
    - พักตามอัธยาศัย กวาดใบไม้ตามศรัทธา

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๑๕.๐๐ น.</TD><TD align=left>เลือกกิจกรรมตามชอบในใบลงทะเบียนเข้าพัก
    - เดินจงกรม
    - โยคะ

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๑๖.๐๐ น.</TD><TD align=left>ฟังคำสอนหลวงพ่อฤๅษีฯ เรื่องพระวินัย</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๑๗.๓๐ น.</TD><TD align=left>ระฆังเตือน เตรียมตัวพร้อม</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๑๘.๐๐ น.</TD><TD align=left>ทำวัตรเย็นในถ้ำนารายณ์ สมาทานพระกรรมฐาน
    -เจริญภาวนา, เดินจงกรม

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๒๐.๐๐ น.</TD><TD align=left>พระอาจารย์ตอบปัญหา สนทนาธรรม</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>๒๑.๐๐ น.</TD><TD align=left>พักตามอัธยาศัย ในระเบียบของสำนัก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ให้ร่วมเจริญพระกรรมฐานกันเป็นปกติ อย่าอยู่ในห้องพักขณะเวลามีกิจวัตร เพราะบางคนแฝงตัวเข้ามาหาประโยชน์ เวลาคนอื่นไม่อยู่ในห้อง ก็เข้าไปขโมยของ ก็ถือว่าถ้ามาดีต้องเจริญพระกรรมฐานร่วมกัน ถ้าไม่เจริญพระกรรมฐาน มีเหตุ ขัดข้องอย่างไรให้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ ที่สำนักงานกลางทราบล่วงหน้า
    ๓. หากอยากทรงอารมณ์สบายไว้ขณะที่พักอยู่ปฏิบัติธรรม ขอเชิญชวนให้ช่วยงานวัดเล็กๆน้อยๆ เช่นกวาดวัด พอหล่อเลี้ยงอิริยาบท ให้ใจเป็นสมาธิ สบายๆ



    </TD><TD>[​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=750 bgColor=#fef9e9 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>๒. การใช้สถานที่
    ทางวัดยังมีบุคคลากรที่จะอำนวยความสะดวกแก่ท่านไม่เพียงพอ จึงใคร่ขอความเมตตาจากญาติโยมทั้งหลาย ช่วยตัวเองและทางวัด ดังนี้:



    </TD></TR><TR><TD>๑. </TD><TD>ท่านที่ประสงค์จะเข้าพักปฏิบัติธรรม ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการมาลงทะเบียนเข้าพัก ด้วยทุกครั้ง หลังจากพักครบกำหนดแล้ว และท่านส่งคืนกุญแจห้องพัก เจ้าหน้าที่จะคืนบัตรให้ท่าน</TD></TR><TR><TD>๒.</TD><TD>จะไม่รับท่านที่ไม่ประสงค์จะมาปฏิบัติธรรมเข้าพัก เพราะเข้ามาสร้างความไม่สงบต่อส่วนรวม การเข้าพัก ปฏิบัติธรรมอยู่ได้คราวละ ไม่เกิน ๗ วัน เนื่องจากเคยมีคนมาฝังตัวเพราะเกียจคร้านในการประกอบอาชีพเลี้ยงตัว อาศัยวัดกิน</TD></TR><TR><TD>๓.</TD><TD>ช่วยกันรักษาความสะอาดอาคารและห้องพัก</TD></TR><TR><TD>๔.</TD><TD>เมื่อออกจากห้องพักห้ามเปิดไฟฟ้าทิ้งไว้ เมื่อเสร็จภารกิจหรือนอนหลับให้ดับไฟทุกครั้ง ทรัพย์สินที่เป็นของมีค่า สำหรับท่าน ให้นำติดตัวไปด้วยและต้อง รักษาของนั้นเอง เพราะถ้าเกิด สูญหายทางวัดไม่สามารถรับผิดชอบให้ท่านได้</TD></TR><TR><TD>๕.</TD><TD>ห้ามเข้าห้องของคนอื่นเป็นอันขาด ห้ามนำญาติหรือเพื่อนเข้าไปในห้องพักหรือเขตเฉพาะ ถ้ามีความจำเป็น ให้พบปะกันภายนอกห้องพัก หากเพื่อนหรือญาต ิที่เข้าไปในห้องทำความผิด จะถือว่า ท่านร่วมรับรู้การกระทำผิดนั้นด้วย</TD></TR><TR><TD>๖.</TD><TD>ของใช้ประจำอาคาร ทุกท่านที่มาอยู่ต้องช่วยกันรักษา ถ้าเสียหายในมือท่าน ต้องจัดการหามาทดแทน</TD></TR><TR><TD>๗.</TD><TD>เวลากลับขอให้จัดห้องพักให้เรียบร้อย ปิดไฟ ปิดน้ำ ปิดพัดลม ปิดหน้าต่าง ปิดบานเกล็ด ให้เรียบร้อย อย่าปล่อยให้รกรุงรัง อุปกรณ์ เครื่องนอนพับเก็บและส่งคืนที่เบิกอุปกรณ์ให้เรียบร้อย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=750 bgColor=#fef9e9 border=0><TBODY><TR><TD align=justify>๓. มารยาท จารีตประเพณี
    ๑. เมื่อจะออกไปนอกบริเวณวัดหรือกลับบ้าน ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ที่สำนักงานกลางให้ทราบก่อนทุกครั้ง (เพื่อตรวจสอบกรณีเกิดอุบัติเหตุ)
    ๒. ห้ามทำตัวเป็นหมอดูพยากรณ์ ห้ามทำการประทับทรง หรือทำการคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าด้วยอาการใดๆ เพื่อการใดๆ ทั้งสิ้น
    ๓. ห้ามทำการหรือขอรับการรักษาโรค ไล่คุณไสย หรือพิธีกรรม ใดๆ โดยอ้างพลังพิเศษพิสดารไม่ว่าอย่างใดๆ ทั้งสิ้น
    ๔.ครูอาจารย์ผู้แนะนำพระกรรมฐานของสถานที่นี้ ต้องได้รับการรับรองแต่งตั้งจากเจ้าอาวาส และคณะกรรมการ สงฆ์ของวัด และต้องนำสอนลูกศิษย์ตามปฏิปทาของพระคุณอาจารย์หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง (พระราชพรหมยาน) ต้องไม่สอนเพื่อติดพันฟั่นเฝือในความเป็นทิพย์ ในชาติภพอื่นใดนอกจากปัจจุบัน ซึ่งต้องพากันละให้สิ้นชาติขาดเชื้อ ต้องสอนและปฏิบัติกันในหัวใจพระพุทธศาสนา คือ พากันละความชั่ว ชวนกันทำความดีตามครรลองจารีตของสำนัก และ ทำจิตใจให้มีอารมณ์ผ่องใสเบิกบาน มีพระนิพพานเป็นที่มั่นหมายเท่านั้น
    ๕. เมื่อกระทำการอันใดเกิดขึ้น อันเป็นเหตุให้คณะกรรมการสงฆ์ เรียกตัวมาไต่สวนเพื่อหาข้อสรุป ต้องให้ความ ร่วมมือปฏิบัติตามโดย ไม่บิดพริ้ว

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://www.watkhaowong.com/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=53
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2009
  5. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">เนกขัมมปฏิบัติ </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2>[​IMG]
    ลูกรัก

    เจ้าจงสำนึกเถอะว่า ระเบียบปฏิบัติ อันเคร่งครัดเข้มงวด หยุบหยิบ หยุมหยิมเล็กน้อยนั้น พ่อคิดว่ามันสามารถปลุกให้เจ้าตื่นอยู่เสมอ ถ้าลูกปฏิบัติมันด้วยใจ
    ผู้ที่เข้ามาอยู่ที่นี่ จักต้องเพียรพยายามกระทำดังนี้
    ปราบ.....พยศ
    ลด.........มานะ
    ละ.........ทิฐิ
    ทรง......สติ
    ดำริ......เป็นสัมมา

    การเตรียมตัว
    ผู้ประสงค์ที่จะบวชเนกขัมมะ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์จากการบวช การที่จะสำเร็จประโยชน์ได้ก็ด้วยการพัฒนากายให้ศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่จิตอันศักดิ์สิทธิ์ และเกิดธรรมะอันศักดิ์สิทธิ์ จึงขอให้ท่านทั้งหลายร่วมใจกัน พัฒนาตนด้วยการจัดระเบียบของตนดังต่อไปนี้
    1. ก่อนกล่าวคำขอบวช เพื่อให้เกิดสำเร็จประโยชน์อย่างสมบูรณ์ในศีลข้อที่ 7 ขอให้ชำระล้างเครื่องย้อมทา (เครื่องสำอาง) ให้สะอาดหมดจด และงดเว้นการใช้เครื่องประดับ (สร้อยคอ แหวน นาฬิกา) ชั่วคราว ในขณะที่อยู่ระหว่างการถือบวช
    2. จัดระเบียบในการรับประทานอาหาร ด้วยการเข้าแถวตักอาหาร การตักอาหาร ตักให้พอควรกับความต้องการของร่างกาย เมื่อนั่งโต๊ะรับประทานอาหารแล้วไม่ควรลุกขึ้นตักอาหารเพิ่ม
    3. ก่อนขึ้นศาลาปฏิบัติธรรมหรือโบสถ์ทุกครั้ง ควรถอดวางรองเท้าอย่างเป็นระเบียบในบริเวณที่กำหนดไว้ให้วางรองเท้า
    4. ก่อนออกจากห้องน้ำตรวจดูความสะอาดปิดน้ำ ปิดไฟ ให้เรียบร้อยก่อนทุกครั้ง
    ขออนุโมทนากับทุกท่านที่ให้ความร่วมมือกับการพัฒนากายให้ศักดิ์สิทธิ์ ขอท่านทั้งหลายจงสำเร็จประโยชน์อย่างสูงสุด ในการบวชครั้งนี้ด้วยเทอญ
    ระเบียบปฏิบัติ
    1. ลงทะเบียนบวชกับเจ้าหน้าที่
    2. ขอรับเครื่องนอนจากเจ้าหน้าที่
    3. เข้าที่พักตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด หรือแนะนำ
    4. อย่าเคลื่อนย้ายสิ่งของ ของคนอื่น ก่อนได้รับอนุญาต
    5. แต่งกายชุดขาวให้สุภาพเรียบร้อย สตรีใส่เสื้อ และผ้าถุงพื้นเรียบ พร้อมสไบขาวพื้นเรียบ
    6. ห้ามนำสิ่งเสพติดทุกชนิดเข้ามาในวัด
    7. ไม่ควรนำสิ่งของมีค่าติดตัวเข้ามา หากมีการสูญหาย เจ้าของต้องรับผิดชอบเอง
    8. สำรวมกาย วาจา ใจ มารยาท และพยายามพูดเฉพาะที่จำเป็น
    9. ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น
    10. เมื่อตื่นนอน ต้องรีบเก็บเครื่องนอน ปัดกวาดเช็ดถูที่พัก
    11. ปิดสวิตช์ไฟฟ้าและพัดลม เมื่อไม่ต้องการใช้
    12. เข้าแถวตักอาหารให้เป็นระเบียบ
    13. ตักอาหารปริมาณเท่าที่สามารถรับประทานได้หมด
    14. ควรรักษาความสะอาดบริเวณวัด วันกลับควรสำรวจความเรียบร้อยบริเวณที่พัก และนำของส่วนตัวกลับบ้านให้ครบตามที่นำมาตั้งแต่วันเริ่มบวช
    15. เคารพเชื่อฟังผู้นำปฏิบัติธรรม และตรงต่อเวลาเสมอ
    16. ขณะประชุมปฏิบัติธรรม ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
    17. ตั้งใจฟังธรรมด้วยอาการสงบ สำรวม หากได้รับอนุญาตให้ถามปัญหาธรรม ควรถามอย่างสุภาพ/จริงใจ
    18. เมื่อลาบวชเนกขัมมะแล้ว ต้องเก็บเครื่องนอนส่งมอบคืนเจ้าหน้าที่ และช่วยกันทำความสะอาดที่พักให้สะอาดเรียบร้อย

    ข้อเตือนใจ
    จงระลึกอยู่เสมอว่า เราเดินทางแสนไกล มาวัดอ้อน้อย เพื่อบวชเนกขัมมะให้เกิดบุญต่อตนเอง พึงระวังรักษากาย วาจา ใจ ให้สมกับเป็นนักบวช
    การเข้าวัด
    ลูกรักการที่เจ้าเข้าวัด พ่อว่าเจ้าคงไม่โง่พอที่จักเก็บความเลว ระยำ อัปรีย์ ความไม่ดี ของใครต่อใครเขาเอามาใส่ตัวใส่ใจของตนเองหรอกนะ และถ้าเจ้าอยากจะรู้ว่า โบราณเขาพาลูกจูงหลานไปวัดกันทำไม พ่อก็จะบอกให้เจ้าฟังว่า โบราณเขาพากันเข้าวันนั้น
    ประการแรก เขาเข้าวัดเพื่อไปเลือกเก็บความดีของพระ ของวัด และของผู้ที่เข้าไปวัดด้วยกัน
    ประการที่สอง เขาพากันไปวัดเพื่อ จักฝึกหัด ดัดกาย วาจา ใจของตนให้เป็นผู้อ่อนควรแก่การงานและสังคม
    ประการที่สาม เขาเข้าวัดก็เพื่อจะได้มีโอกาสวัดกาย วาจา ใจของตน ที่ว่าวัดกายก็คือ เขาจะดูว่ากายของตนกับกายของชาววัดมีอะไรแตกต่างกัน และเมื่อเขาเห็นความแตกต่างแล้ว เขาก็พร้อมที่จะยอมรับฝึกหัด ดัดกายให้เข้ากฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ ของจารีตประเพณีอันมีอยู่ในวัดนั้นๆ
    ที่ว่าวัดวาจา ก็คือ เขาจะดูว่าวาจาที่ชาววัดกล่าวกับวาจาที่ตนกล่าวมีอะไรแตกต่าง คนโบราณจะปรับปรุงวาจาของตนเอง และสอนลูก สอนหลาน ให้เลือกกล่าววาจาที่นำมาซึ่งความถูกต้อง สุจริต ไม่เสแสร้งแกล้งกล่าววาจาที่พร้อมไปด้วยมายาสาไถย ไม่ทำให้ใครต้องเดือดร้อนด้วยวาจาของตน ไม่กล่าววาจาเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ไม่ให้มีวาจาหยาบและกระด้าง ไม่มีวาจาที่นำมาซึ่งความเคลือบแคลง ระแวงสงสัย คนโบราณมักสอนลูกหลานให้กล่าวแต่วาจาที่ถูกต้องเป็นความจริง
    ข้อที่ว่าวัดใจนั้น โบราณเขาเชื่อกันว่า ผู้ที่รวมอยู่ในสังคมวัดส่วนมากมักจะเป็นบัณฑิต เป็นปราชญ์ มีคุณธรรม ความรู้ดี รู้แจ้ง เป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ เป็นความรู้ที่เยื่อกเย็น เป็นความรู้ที่ปลอดภัย เป็นความรู้ที่ทำให้ผู้รู้ได้รับประโยชน์เป็นแก่นสารของชีวิตได้อย่างแท้จริง
    ผู้ที่อยู่ในสังคมของวัดในสมัยโบราณมักจะทำตัวเป็นกระจกเงาใสควรแก่การส่องให้ผู้ที่เข้าวัด ได้เห็นภัยของการกระทำ คำที่พูด สูตรที่คิดอันไร้สาระทั้งปวงได้อย่างถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ทั้งยังมีความสุจริตยุติธรรม ต่อการชี้นำนั้นๆ ด้วย เช่นนี้ผู้ที่เข้าไปสู่วัดก็มักจะได้มีโอกาสวัดดูความคิดจิตใจของตนจากการชี้นำด้วยคำของท่านผู้รู้ที่อยู่ในวัดนั้น และถ้าปรารถนาจะเปลี่ยนแปลง แก้ไขคความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ให้รู้ถูก รู้ผิด ผู้ที่เข้าวัดสมัยนั้นก็พร้อมที่จะยอมรับคำสอนสั่งด้วยความคิดจิตใจที่ยอมสิโรราบยอมรับโดยความบริสุทธิ์ใจ
    ฉะนั้นการพาลูกจูงหลานเข้าไปในวัดของคนโบราณจึงเต็มเปี่ยมไปด้วยสาระประโยชน์อันพึงได้ของชีวิตแห่งตน เพราะนอกจากจะเลือกเก็บเอาความดีบริสุทธิ์ของสรรพสิ่งต่างๆ ที่รวมอยู่ในคำว่าวัดเขายังมีโอกาสที่จะเรียนรู้ข้อเปรียบเทียบระหว่าง ความถูกกับความผิด ความดีกับความชั่ว ทั้งยังมีโอกาสได้รับการชี้นำ การที่กระทำ คำที่กำลังพูด สูตรที่คิดให้ไปสู่วิถีทางแห่งความถูกต้อง ตรงแนว บริสุทธิ์ยุติธรรมได้อย่างดีทีเดียวหละ ครั้นเมื่อพวกเขาพาลูก จูงหลานออกจากวัด พวกเขาก็เดินออกมาด้วยความอิ่มตัว ภาคภูมิ ยินดีกลับมาสู่บ้านเรือน ที่ทำงาน ท้องนา ไร่ สวน ด้วยความพร้อมที่จะต่อสู้กับสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตได้อย่างเป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญ และเบิกบาน
    นอกจากนี้คนโบราณยังเชื่อว่า วัดเป็นศูนย์รวมแห่งวิชาการ เป็นโรงเรียนแห่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จากไร้สาระไปสู่ความเป็นสาระ ทั้งยังเชื่อว่าเป็นที่เกิดและรวมแห่งพฤติกรรมที่เป็นกุศล เป็นคลังในการสะสมความดีเพื่อเป็นเสบียงคลังเอาไว้ชาติหน้าภพหน้า

    สถานที่ปฏิบัติธรรม (ศาลาปฏิบัติธรรม, โบสถ์)
    สถานที่พักผู้บวชเนกขัมมะ
    คำขอบวชเนกขัมมะ
    คำอาราธนา และคำกล่าวศีล 8
    บทพิจารณาปัจจัย 4
    สามัญญานุโมทนาคาถา
    คำแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล
    คำกล่าวขอขมาพระรัตนตรัย
    คำลาสิกขา
    มาลาบูชาคุณ


    ที่มา วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) - เนกขัมมปฏิบัติ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ๔๖. วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ)

    [​IMG]

    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%"><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2>
    [​IMG] แผนที่ไปศุนย์ธรรมชาติบำบัดทองผาภูมิ









    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top width="100%"><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">แผนที่ไปธุดงคสถานลำอีซู </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2>
    [​IMG]







    </TD></TR></TBODY></TABLE>ที่มา http://onoi.org/new/index.php?option=com_content&task=view&id=65&Itemid=348</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  7. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ๔๗. สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม

    ดับทุกข์-ทุกข์ดับ ที่..."อารามแห่งความดับทุกข์”




    [​IMG]


    ปัจจุบัน มีวัดร้างอยู่เป็นจำนวนมาก หลายแห่งกลายเป็นเพียงสถานที่ซึ่งมีไว้เพียงท่องเที่ยวเพื่อให้ระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา เมื่อครั้งที่เคยรุ่งเรือง

    ขณะที่แนวโน้มของพระภิกษุในประเทศไทยได้ลดจำนวนลงไปจากปีละ ๓ แสนรูป เหลือเพียงแสนกว่ารูป บางส่วนเบี่ยงเบนทางเพศ บางส่วนเป็นพระที่ศึกษาเพื่อเตรียมจะสึกออกไปทำงานประกอบอาชีพในทางโลก บางส่วนเตรียมสึกไปแต่งงาน นี่คือสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
    ท่านผู้รู้และปฏิบัติชอบท่านหนึ่ง แสดงทัศนะเอาไว้ว่า “ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากพระส่วนหนึ่งไม่มีความรู้ในพระธรรม จึงไม่สามารถครองตนรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ได้ ซึ่งสวนทางกับฆราวาส ที่อยู่ในยุคที่ต้องการไขว่คว้าหาธรรมะดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการนำทางชีวิต ดังนั้นสงฆ์ไม่ว่าพระภิกษุ หรือภิกษุณี ที่ถือเอาการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เดินตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด น่าจะเป็นที่พึ่งในยามยากให้แก่ชาวบ้านได้ดีในยามนี้”


    สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งที่จะเขียนถึง คือ สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม ต.ดอยแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “อารามแห่งความดับทุกข์”โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งสำนักมี ๒ ประการ คือ ๑.เพื่ออนุเคราะห์แก่สตรีที่ตั้งใจมาดำเนินชีวิตบนวิถีแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ตามรอยพระพุทธเจ้า โดยมี ท่านแม่ชี นันทญาณี เป็นผู้อบรมสั่งสอน ตามพระพุทธพจน์และ ๒.เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรมจากหน่วยงานราชการ เอกชน และผู้สนใจใฝ่ธรรมทั่วไป ที่ได้ติดต่อขอเข้ารับการอบรมธรรมะ ทั้งในรูปแบบค่ายอบรม และเข้ามาปฏิบัติเป็นการส่วนตัว

    สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม ประกอบไปด้วยภิกษุณี และสามเณรี ที่อยู่ร่วมกันกว่า ๒๐ รูป ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีนักบวชสตรีอยู่ร่วมเป็นคณะสงฆ์ โดยหากเป็นภิกษุณีจะถือศีล ๓๑๑ ข้อ ส่วนสามเณรีนั้น ถือศีล ๑๐ ข้อ ทั้งหมดยึดถือการปฏิบัติตนตั้งอยู่ในศีล ภาวนา สมาธิ อย่างเคร่งครัด กินอาหารมังสวิรัติวันละมื้อเดียว ไม่สวมใส่รองเท้า ไม่ใช้เงิน และฝึกฝนการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีวิถีชีวิตในแบบกินง่ายอยู่ง่าย เน้นความสมถะ ไม่เบียดเบียน มุ่งศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎก เพื่อการพ้นทุกข์ มี ภิกษุณีนันทญาณี หรืออดีต แม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ เป็นประธานภิกษุณีสงฆ์
    จากที่ได้เข้าร่วมค่ายปฏิบัติธรรมเป็นระยะเวลา ๕ วัน ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒ ร่วมกับกลุ่มนักศึกษาชายหญิง ของคณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กว่า ๑๐๐ ชีวิต และยังมีผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมอีกหลากหลายอาชีพ ที่เดินทางเข้ามาเพื่อศึกษาหาความรู้ทางธรรมเป็นการส่วนตัวอีกจำนวนหนึ่ง ท่ามกลางบรรยากาศของสถานที่ซึ่งสงบร่มรื่น และเป็นใจอย่างยิ่ง กับความตั้งใจมาใฝ่ดีให้สัมฤทธิผล


    การเข้ามาปฏิบัติธรรมที่ สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม นั้น สิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมควรเตรียมมา คือ ชุดสีขาว และของใช้ตามจำเป็น เช่นไฟฉาย รองเท้าแตะ และของใช้ส่วนตัว สำหรับทำความสะอาดร่างกายเท่านั้น ส่วนสิ่งฟุ่มเฟือย หรือเครื่องสำอาง เครื่องประดับต่างๆ ให้งดเว้น

    ในฐานะผู้ไม่เคยเข้าร่วมปฏิบัติธรรมมาก่อน ได้เคยผ่านเข้ามาสอบถามกับภิกษุณีปัญญาวรี ที่สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธารามครั้งหนึ่ง ท่านตอบสั้นๆ เพียงว่า
    “การมาปฏิบัติธรรมในที่แห่งนี้ เตรียมแต่ชุดขาวมาก็พอ แต่หากไม่มีก็ไม่เป็นไร วัดมีให้ ขอเพียงให้เตรียมใจมาปฏิบัติธรรมก็พอแล้ว”


    อย่างไรก็ตาม การเปิดค่ายปฏิบัติธรรมของนิโรธารามนั้น จะไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ากิน-อยู่ หรือค่าวิทยากร กับผู้เข้าปฏิบัติธรรม ที่ผ่านมาหากหน่วยงานใด จะติดต่อเข้ามาขอเปิดค่ายปฏิบัติธรรม ทางภิกษุณีนันทญาณีจะจัดสรรเวลาในการเปิดอบรมให้ แต่ในส่วนของค่าใช้จ่าย ในเรื่องอาหารการกิน การจัดการค่าย โดยใช้สถานที่ของนิโรธารามนั้น หน่วยงานผู้ร้องขอจัดค่าย จะเป็นฝ่ายดูแลจัดการค่าใช้จ่ายเอง ทั้งเรื่องการจัดจ้างแม่ครัวและค่าอาหาร วัดเพียงแต่มอบหมายให้นักบวชสตรีเข้ามาดำเนินการบรรยาย อบรมการปฏิบัติธรรมะ และให้โดยไม่รับค่าตอบแทน


    ส่วนเมื่อเข้ามาอยู่ร่วมค่าย หรือเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่นิโรธารามแล้ว ผู้นั้นจะต้องรักษาศีล ๘ คือ งดเว้นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ละเมิดประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มสุราเมรัย และเพิ่มเติมข้อปฏิบัตินอกเหนือจากศีล ๕ ขึ้นมาอีก คือ งดเว้นการร้องรำทำเพลง-ดูมหรสพ และฮัมเพลง งดเว้นนอนบนฟูก หรือที่นอนหมอนสูง งดเว้นการใช้เครื่องสำอาง แป้ง ของหอมทุกชนิด และงดสวมใส่เครื่องประดับต่าง ๆ


    กิจวัตรประจำวันของผู้ปฏิบัติธรรม ประกอบด้วย การสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็น ร่วมกับนักบวช ฝึกภาวนาด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิ บริโภคอาหารมังสวิรัติสองมื้อ คือ เวลา ๐๗.๐๐ น.และ ๑๑.๓๐ น.โดยงดรับประทานอาหารขบเคี้ยวทุกชนิด หลังเวลา ๑๒.๐๐ น.เป็นต้นไป


    ตารางชีวิตในสถานธรรมแห่งนี้ คือ การตื่นนอน ๐๓.๓๐-๐๔.๐๐ น. และเข้านอนไม่เกิน ๒๔.๓๐ น. ห้ามส่งเสียงดัง และทำความเพียรด้วยการช่วยเหลือทำความสะอาดวัดตามสมควร กรณีของผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นชาย นิโรธารามจะอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติธรรมภายในวัดได้แบบไปกลับ แต่จะอนุญาตให้ค้างแรมในวัดได้ เฉพาะช่วงที่มีการเปิดค่ายปฏิบัติธรรมเท่านั้น


    สำหรับตัวอย่างของการบรรยายธรรม ที่ภิกษุณีนันทญาณีได้สอนเรื่อง ความจริงไว้ว่า “ร่างกายเป็นเพียงกองดินน้ำลมไฟ ประกอบไปด้วยถุงทุกข์ เช่น ถุงเลือด ถุงขี้ ถุงน้ำเลือด ถุงน้ำเหลือง ที่ต้องคอยดับทุกข์ ด้วยการกิน ด้วยการถ่าย ไม่ควรยึดติด สุดท้ายก็ต้องตาย ดังนั้นไม่ควรไปยึดติด ไม่ควรไปยึดถือ ไม่ควรหลงใหลว่าเป็นของเรา "เมื่อชีวิตของทุกๆ คนเป็นถุงดินน้ำไฟลม เป็นถุงขี้ซึม และเป็นถุงทุกข์ ที่ต้องคอยดับทุกข์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่เราจะต้องมานั่งผ่อนบ้านราคาแพงๆ เพื่อให้ถุงขี้ซึมได้อยู่ หรือให้ถุงขี้ซึมต้องไปนั่งอยู่ในรถวอลโว่ราคาแพงๆ” ภิกษุณีนันทญาณี อธิบาย และยกตัวอย่างจนทำให้หลายคนเห็นภาพ

    นอกจากการเตือนสติ ให้เรามองกายเป็นเพียงกองดินน้ำไฟลม เพื่อที่จะไม่ต้องไปยึดติดว่า กายเป็นของเรา ภิกษุณีนันทญาณี และคณะนักบวชสตรีของนิโรธาราม ยังงดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ แต่บริโภคมังสวิรัติวันละมื้อเดียว เพื่อละเว้นการเบียดเบียนสัตว์ พร้อมกับยกตัวอย่างว่า
    หากใครกินกุ้งเต้น วันหนึ่งก็อาจจะต้องประสบเคราะห์กรรมเหมือนกุ้ง คือไปเต้นในซานติก้าผับ

    เรื่อง - ภาพ... "ขวัญดาว จิตรพนา"
    ศูนย์ข่าวเชียงใหม่
     

แชร์หน้านี้

Loading...