.....สติ.....

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 26 พฤศจิกายน 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    สติ...มีความไม่เลอะเลือนเป็นลักษณะ...

    สติ...ชื่อว่า มีความไม่เลอะเลือนเป็นลักษณะ เพราะมีสภาวะไม่เลอะเลือน คือ มีสภาวะหยั่งลงจับเอาอารมณ์ตามที่ได้เห็นแล้ว ตามที่ได้ถือไว้แล้ว

    สติ...เมื่อเกิดขึ้นย่อมไม่เลอะเลือนซึ่งธรรมที่เป็นกุศล ธรรมที่เป็นอกุศล

    สติ...เมื่อเกิดขึ้นย่อมไม่เลอะเลือนอย่างนี้ว่า "นี้กุศล ควรเสพ, นี้อกุศล ไม่ควรเสพ, นี้มีโทษ คือเป็นอกุศล ไม่ควรเสพ, นี้ไม่มีโทษ คือเป็นกุศล ควรเสพ, นี้เลว คือเป็นอกุศล ไม่ควรเสพ, นี้ประณีต คือเป็นกุศล ควรเสพ, นี้ดำ คือเป็นอกุศล ไม่ควรเสพ, นี้ขาว คือเป็นกุศล ควรเสพ, นี้เหมาะสม คือเป็นกุศล ควรเสพ, นี้ไม่เหมาะสม คือเป็นอกุศล ไม่ควรเสพ." ดังนี้

    สติ...ย่อมไม่เลอะเลือนธรรมทั้งหลายว่า นี้คือ สติปัฏฐาน

    สติ...ย่อมไม่เลอะเลือนธรรมทั้งหลายอย่างนี้ว่า "นี้คือ สติปัฏฐาน ๔ เป็นกุศลที่ควรเสพ" ดังนี้

    ในบรรดาขันธ์ ๓ คือสีลขันธ์ (กองศีล) สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ) และปัญญาขันธ์ (กองปัญญา).

    สมถะ มีอันสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ คือ ศีลขันธ์ และสมาธิขันธ์.

    วิปัสสนา มีอันสงเคราะห์ได้ขันธ์เดียว คือ ปัญญาขันธ์.

    [​IMG]

    คำว่า วิชชา ได้แก่ ผลญาณ (ญาณที่ประกอบร่วมกันกับพระอริยผล)
    คำว่า วิมุตติ ได้แก่ พระนิพพาน โดยเป็นนิสสรณวิมุตติ (ธรรมที่หลุดพ้น คือที่สลัดออกแห่งสังขารทั้งปวง)
    อีกนัยหนึ่ง คำว่า วิชชา ได้แก่ สัมมาญาณ(ญาณที่รู้ชอบ) โดยความเป็นญาณที่ละมิจฉาญาณ(โมหะที่รู้ผิด).

    คำว่า วิมุตติ ได้แก่ สัมมาวิมุตติ(ความหลุดพ้นชอบ) โดยความเป็นวิมุตติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมิจฉาวิมุตติ(ความหลุดพ้นโดยไม่ชอบ คือไม่ด้วยดี)
    เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าว สัมมัตตธรรม(ธรรมซึ่งมีสภาวะอันชอบ คือถูกต้อง) ๑๐ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ แล้วด้วยคำว่า "พระอริยมีองค์ ๘" ด้วยคำว่า "วิชชา" และด้วยคำว่า "วิมุตติ" นี้.
    สติ...เมื่อเกิดขึ้นย่อมรับรู้คติแห่งธรรมทั้งหลาย ที่เกื้อกูล และไม่เกื้อกูล
    สติ...เมื่อเกิดขึ้น ย่อมรับรู้คติ คือความเป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายว่า "นี้เกื้อกูล คือเป็นกุศล ควรถือเอา, นี้ไม่เกื้อกูล คือเป็นอกุศล ไม่ควรถือเอา ควรขจัดไป, นี้มีอุปการะ คือเป็นกุศล ควรถือเอา, นี้ไม่มีอุปการะ คือเป็นอกุศล ไม่ควรถือเอา ควรขจัดไป.


     

แชร์หน้านี้

Loading...