สติปัฏฐาน4ยากเกินไปสำหรับผมครับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย yoottapong, 12 ธันวาคม 2011.

  1. yoottapong

    yoottapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +761
    สติปัฏฐาน4ยากเกินไปสำหรับผมครับทั้งกายทั้งเวทนาทั้งจิตทั้งธรรม
    รบกวนถามผู้รู้ถ้าผมจะเอาจิตไว้ปลายนิ้วชี้ได้ไหมครับทั้งเดินยืนนั่งนอนทุกวันเว้นไว้แต่การทำสมาธิของผม
     
  2. jakrapat

    jakrapat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +127
    สติปัฏฐานไม่ยากหรอกครับ กำหนดสติตามรู้ในอิริยาบถต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในปัจจุบันขณะครับ
    แล้วก็สติปัฏฐาน ไม่ได้เน้นให้เข้าถึงสมาธิถึงขั้นลึกซึ้งมากมายนักครับ แต่เพียงกำหนดรู้เท่านั้นครับ "อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือความจริง อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน อย่าบีบให้มั่น อย่าคั้นให้ตาย แล้วจะเสียใจ"..
     
  3. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    เอาไว้ที่นิ้วหรือมือได้ครับ แต่นิ้วหรือมือควรเคลื่อนไหวบ้าง จะได้มีสติจับอยู่กับการเคลื่อนไหว ไม่ใช่จับอย่กับสิ่งที่หยุดเคลื่อนไหวอย่างเดียว เช่น วิธีปฏิบัติของหลวงพ่อเทียน เอาสติจับอยู่กับเคลื่อนไหวของมือเป็นหลัก อาจจะไม่ต้องเน้นนั่ง หรือเดินจงกรมอะไรมาก เอาสติจับอยู่กับสิ่งที่อย่ตรงข้างหน้าเราก้พอ ก้ถือว่าได้ทำสมาธิแบบสติปัฏฐานเช่นเดียวกัน และมีสติอย่กับตัวไปด้วย

    กาย เวทนา จิต ธรรม โดยความหมายไม่ยาก แต่ในการปฏบัิตินั้นมันยากอีกขั้นหนึ่งของการร้ในนิยาม
    กาย คือ รุ้ในกาย เช่น เดิน ยืน เดิน นั่ง พลิกมือ หมุนนิ้ว จิตตามทัน ก้คือมีสติแล้ว
    เวทนา คือ เกิดความสุข ความทุกข์ หรือเฉยๆ ก้เอาสติร้ตาม ในสามเวทนาคือร้ในเวทนา ในการปฏบัติเวทนามีประโยชน์มาก ทำให้สามารถเกิดความก้าวหน้าในสติปัฏฐานได้
    จิต คือ การรับรู้อารมทางประสาทสัมผัสทั้ง5 ถ้าเคยเอาสติกำหนด ก้กำหนดร้ตามอายตนะทั้ง5 ไปได้เลย เหมือนกำหนดเวทนา กำหนดเหมือนกัน เพราะเวทนากับ จิต ล้วนเปนเจตสิก มีเกิดและดับเหมือนกัน เมือร้เวทนา และในจิตมากขึ้น จะเหนการเปลี่ยนแปลงมันเอง การเหนการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าหรือเร็วๆนั้น ทำให้เิกิดปัญญาภาวนาขึ้น ซึ่งคือรู้ธรรม คือ ตัวธรรมในข้อสุดท้าย
    ธรรม อันเกิดจากสติรู้ในธรรมอันเกิดฝึกสติในสติปัฏฐานครับ:boo:
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ................อย่าเพิ่งปิดกั้นการภาวนา ครับ ควรฟังพระสัทธรรมให้เข้าใจถึงการภานานั้นนั้นดีกว่าครับ...ค้นดูจากพระสูตร หรือ พระวจนะที่มีอยู่ถึงเรื่อง สติปัฎฐานสี่แล้วโยนิโสมนสิการไปครับ.........เหมือนที่ว่า "อกุศลราศีที่แท้จริงคือ นิวรณ์5"..........และกุศลราศีที่แท้จริง คือ "สติปัฎฐาน4"ฐานที่ตั้งแห่งสติ รู้ กายใจ หรือ รู้ รูป-นามเรานั้นเองครับ.........:cool:
     
  5. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    มันก็ไม่เป็นธรรมชาตินะซิ !
    ควรปล่อยให้เป็นเรื่องปกติในการ ดำรงค์ชีพ จะควรกว่านะ
    เพียงแต่เราไม่หลงไปกับความต้องการทางกาย จนเกินพอดี สติก็ตาม
    ระลึกได้ว่า นี่มันเกินพอดีแล้ว...ไม่ได้ๆ ปัญญามันก็แจ้งในเหตุนั้น ตัด
    ความอยากได้ในปัจจุบันขณะทันทีโดยไม่ได้บังคับ...(แรกๆมันยังดิ้นอยู่นะ)

    วิธีนี้ เรา ใช้แล้วได้ผล คุณลองดูซิ !
    และเดี๋ยว ปัญญาเขาจะ ค่อยๆ ขยายผลเองโดยอัตโนมัติ
    เริ่มจากการเรียนรู้ความต้องการของร่างกาย ว่าสิ่งไหนเรียกว่าความพอดี สิ่งไหนเกินพอดี เมื่อเราไม่ตกเป็นทาสของความอยาก(ตัณหา) เราก็เริ่มเห็น
    กระบวนการทำงานของ กิเลสชัดเจนยิ่งขึ้น....

    เมื่อจิตเกิดความฉลาดใน ฐานกาย แล้ว !
    การพิจารณา เวทนา จิต ธรรม มันก็เป็นเรื่องง่าย...

    สรุป คือฝึกความไม่หลงไปกับความต้องการทางร่างกาย จนเกินพอดี
    ( และเดี๋ยวคุณอาจมองเห็น อารมณ์ของตนเองได้ชัดเจนอีกด้วยนะนี่)...:cool:
     
  6. tuta868248

    tuta868248 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +1,116
    ม่คะ กำหนดทุกอริยบทคะ ไม่ยากคะ บุญรักษาคะ สติปัฏฐาน 4 ไม่ยากคะ มีกาย เวทนา จิต ธรรม คะ ให้รู้รูป รู้นาม กายเป็นรูป จิตเป็นนาม จิตรับรู้อารมณ์ กายไม่รับรู้อารมณ์คะ กายมี ยืน เดิน นั่งนอน เวทนามี ทุกข์ สุข เฉย จิตมี คิด ฟุ้ง ธรรมมี ชอบ ไม่ชอบ หง่วง ฟุ้ง สงสัยคะ คุณจะเจริญภาวนาคุณต้องกราบสติปัฏฐาน 4 ก่อนและเดินจงกรมเป็นการรวมจิตก่อนคะ แล้วนั่งภาวนาหายใจเข้าช้าให้ท้องพอง ดูที่ท้องกำหนดพองหนอ หายใจออกท้องแฟบกำหนดว่ายุบหนอก็ดูที่ท้องกำหนดไปเรื่อยๆ ดูอาการท้องพองท้องยุบคะ นั่งไปคุณปวดเข่า ( มันเกิดเวทนาคะ ) ก็กำหนดว่าปวดหนอๆๆ จนอาการปวดหายไป แล้วก็มากำหนดยุบหนอ พองหนอใหม่คะบุญรักษานะคะ
     
  7. อาหลี_99

    อาหลี_99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +2,992
    ก็ดูลมเข้าดูลมออกจิครับ คงง่ายกว่าดูปลายนิ้วชี้เยอะเลยเพราะไม่รู้จะดูไปเพื่อ.....
     
  8. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095

    ใช่ ๆ แบบนี้ ก็ใช้ได้ แนวทาง ของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม จ.สิงบุรี
    เราก็เคยฝึก...:cool:
     
  9. tuta868248

    tuta868248 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +1,116
    วิปัสสนาในแนวสติปัฏฐาน 4 ไม่ยากคะคือ
    1. กาย การพิจารณาอริยบท 4 ยืน เดิน นั่ง นอน
    2. เวทนา การเจริญสติ เอาเวทนา เป็นที่ตั้งมี สุข ทุกข์ เฉย
    3. จิต จิตคิด จิตตั้งมั่น จิตฟุ้งซ่าน
    4. ธรรม มีนิวรณ์ 5 ชอบ ไม่ชอบ หง่วง ฟุ้ง สงสัย
    ก่อนจะเจริญภาวนาต้องกราบสติปัฎฐาน 4 ก่อนเพื่อเป็นการรวมจิตแล้วเดินจงกรม
    นั่งภาวนา หายใจเข้าช้าๆดูที่ท้องให้ท้องพอง กำหนดว่าพองหนอ
    หายใจออกท้องแฟบกำหนดว่ายุบหนอ ดูที่ท้อง กำหนดพองหนอ ยุบหนอไปเรื่อยคะถ้านั่งไปปวดเข่า ( ม้นเกิดเวทนาคะ ) ก็ดูที่ปวดกำหนดปวดหนอๆๆ จนหายแล้วมาดูอาการท้องพองท้องยุบกำหนดพองหนอๆๆ ยุบหนอๆๆ ไปเรื่อยๆ หากคิดโน้นคิดนี่ก็กำหนดว่าคิดหนอๆๆ กำหนดตามอริยบทที่เกิดขึ้นคะ บุญรักษาคะ
     
  10. ืำีืneung48

    ืำีืneung48 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +7
    เอาแค่กายก่อน ลุก นั่ง ยืน นอน พอคล่องแล้ว ค่อยไปเวทนา ทำไปทีละระดับ ไม่ต้องรีบครับ
     
  11. suriyanvajra

    suriyanvajra Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    281
    ค่าพลัง:
    +67
    ดิฉันเห็นท่านโพสต์ข้อความไว้หลายกระทู้ นับถือลักษณะการใช้ภาษา มีเอกลักษณ์ดี รู้สึกอยากสนทนาธรรมด้วยจึงขออนุญาตเข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

    ตนเองก็รู้สึกเหมือนกันว่าสติปัฏฐานทำยาก เพราะไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร

    ดูกายในกาย ดูไปเพื่ออะไร ?
    ดูเวทนาในเวทนา ดูไปเพื่ออะไร ?
    ดูจิตในจิต ดูไปเพื่ออะไร ?
    ดูธรรมในธรรม ดูไปเพื่ออะไร ?

    ตนเองค่อนข้างโง่เรื่องนี้ ทำไปถึงเห็นหรือไม่เห็น ก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร มันจึงเป็นอะไรที่ไม่ค่อยมีแรงบันดาลใจในการฝึกค่ะ

    จากความเข้าใจของตนแล้ว (ซึ่งอาจผิดก็ได้เพราะพูดจากใจไม่ได้ดูหนังสือ) "สติปัฏฐาน" คือการนำ "สติ" ไปวางไว้ตามฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม แต่คำถามก็คือ วางไปเพื่ออะไร ? หากตอบว่าเพื่อให้รู้จักฐานต่างๆ คำถามต่อไปก็คือ รู้จักไปทำไม ? แล้วคำถามถัดมาก็คือ กายคืออะไร ? เวทนาคืออะไร ? จิตคืออะไร ? ธรรมคืออะไร ? และ สติคืออะไร ? หากยังไม่รู้ว่าฐานคืออะไรและสติคืออะไร แล้วเราจะวางอะไรลงไปบนอะไร ?

    สำหรับดิฉันแล้ว กายก็คือรูปกายเนื้อที่มองเห็นจับต้องได้ นั่งมองด้วยตามันก็เห็นอยู่แล้ว ไม่รู้ว่าจะทำอะไรกับสิ่งที่เห็นนี้ต่อไป มองไปนานๆชักเบื่ออยากจะเลิกมองเสียเหลือเกินแต่จะเลิกง่ายๆแบบนี้ก็เสียฟอร์มไปหน่อย....เลยสู้กันระหว่างความอยากรักษาฟอร์มกับอยากเลิก จึงเกิดเป็นความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์นี้แรกๆมันก็เบาๆ ต่อมาชักรุ่มร้อนจนตัดสินใจจะเลิกดูแน่แล้ว พอตัดสินใจเลิกได้เท่านั้นเองมันก็เบาลงไปอีก ก็เลยนั่งดูต่อไปอีก คราวนี้มันเริ่มคิดแล้วเอ...เราจะเลิกไม่เลิกดีหว่า เมื่อกี้ก็ว่าจะเลิกแล้ว แต่นี่ก็ตัดสินใจนั่งต่อไปอีก เอาไงดีน้อเรา ฯลฯ คิดไปคิดมาจนเหนื่อย เหนื่อยจนความคิดไม่มีเสียงออกมา (แต่ก็ดูเหมือนคิดอยู่) มีอาการงงๆละล้าละลังเป็นระยะๆ จนสุดท้ายขาก็พาตนเองเดินไปเข้าห้องน้ำโดยอัตโนมัติแล้วขึ้นเตียงนอนปราศจากการคิดหรือไม่คิดใดๆ (เพราะไม่สนใจอะไรแล้ว)

    ถามว่า กายในกายคืออะไร ?
    เวทนาในเวทนาคืออะไร ?
    จิตในจิตคืออะไร ?
    ธรรมในธรรมคืออะไร ?
    รู้แล้วจะเอาสิ่งที่รู้ไปทำอะไร ?

    จากประสบการณ์อันน้อยนิดของตนเอง พบว่าสติปัฏฐานนี้เวลาตั้งใจทำมันจะกลายเป็นอุปทานไปหมด แต่มันก็ได้วิริยะบารมีดี น่าฝึกแต่ตนเองไม่ค่อยมีแรงบันดาลใจในเรื่องนี้เท่าใด ตนพบว่าจะเห็นฐานต่างๆชัดตอนที่ตนไม่ค่อยตั้งใจทำค่ะ (แต่ก็ไม่ทราบว่าที่ตนเข้าใจจะตรงกับท่านอื่นๆหรือเปล่า) คิดว่าเวลาทำเราอาจทำเป็นปีๆแต่เวลาเห็นเราอาจเห็นเป็นวินาที แต่แม้กระนั้นก็คุ้มค่ายิ่งแล้วสำหรับท่านที่ทราบว่าจะนำสิ่งที่เห็นไปทำอะไรต่อไป ?
     
  12. yoottapong

    yoottapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +761
    คุณsuriyanvajraอยากคุยเรื่องการปฏิบัติธรรมกับผมก็ได้ครับที่ข้อความส่วนตัว
    เห็นด้วยกับ คุณอาหลี_99 มากครับ ดูลมเข้าลมออก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2011
  13. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    ถามว่า กายในกายคืออะไร ?
    เวทนาในเวทนาคืออะไร ?

    จิตในจิตคืออะไร ?
    ธรรมในธรรมคืออะไร ?
    รู้แล้วจะเอาสิ่งที่รู้ไปทำอะไร ?

    ขออธิบายตามความเข้าใจอีกเช่นเคย !!
    ก่อนอื่นต้องทราบในเหตุและผลก่อน
    เหตุเกิดจากการดู คือเห็น (แยกเป็น สัมมา กับ มิจฉา )
    เหตุเกิดจากการเห็น คือความรู้ (รู้จริงเรียกว่าวิชชา, รู้ไม่จริงเรียกอวิชชา)
    เหตุเกิดจากความรู้ คือความละ ความปล่อย ความวางอุปาทาน ความดับ ความว่าง

    ธรรมชาติสร้างฐานมาให้แล้ว คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
    แต่เรามิได้ฝึก จึงไม่สามารถพัฒนาสักยะภาพของความเป็นมนุษย์
    ให้ไปถึงจุดหมายสูงสุดได้ สมดังพุทธศาสนสุภาษิตบทที่ว่า "วิริเยนะ ทุกขมะเจติ
    บุคคลลวงพ้นจากความทุกข์ได้เพราะความเพียร"

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงอุบัติ จึงได้ชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึง อมตธรรม
    คือสอนให้มีสติ (ความระลึกได้)ปักลงไปในฐานทั้ง 4 ดังกล่าว จึงเรียกว่า "สติปัฏฐาน 4"
    ถ้าฝึกอย่างต่อเนื่องในทุกอริยาบทก็เรียกว่า "มหาสติปัฎฐาน 4" ดังนี้

    กายในกาย คือ ฝึกให้มีสติอยู่ในกาย ด้วยวิธีการ ดู เห็น รู้....
    จึงได้ผลที่ถูกต้องคือ ละ ปล่อย วาง ดับ ว่าง
    เวทนา จิต ธรรม มันก็ทำนองเดียวกันแล้วแต่ปัจจุบันขณะ เราแจ้งในฐานใด มันถึงกันหมด
    นั้นแหละ มันเป็นหนึ่งเดียวกัน แล้วแต่ความพิจารณาของแต่ละบุคคล ในการที่จะใช้ปัญญา
    เป็นเครื่องนำออก อย่างไร...
     
  14. โพธิ์แก้ว

    โพธิ์แก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    ปฏิบัิติธรรมนั้นไม่ยาก......ที่ยาก คือไม่ไ้ด้ทำ

    ไม่ได้ทำในที่นี้มีสองอย่าง......

    อย่างแรก....คือ ไม่สนใจทำ

    อย่างที่สอง.....คือ ทำผิดวิธี
     
  15. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    ผม ผ่านมาอ่านเเล้วก็ ขำ ดีครับ ผมปัญญาน้อย ไม่ได้คิดว่ายากหรือง่าย เลยเเฮะ
    ในความคิดผม นะครับ พระศาสดาตรัสไว้ค่อนข้างเเจ่มเเจ้ง สติ อยู่ที่ฐานทั้งสี่ ขอให้มีสติ จิตไปรับรู้สิ่งใดเข้าเเตะเบาๆ ก็รู้ไป ผมว่า ตามหาสติก่อน(ฝึกสติ)ก็ใช้ได้เเล้ว ขอให้มีสติเถอะเป็นอันใช้ได้ การปฏิบัติ ต่อให้นุ่งขาวหรือบวชพระไปเลยถ้าไม่มีสติ ก็เจริญสติปัฎฐานไม่ได้ การปฏิบัตินับเป็นเสี้ยววินาทีของจิต เเค่ ขาดจากสติ ไม่มีความรู้ตัว ก็ ขาดจากการปฏิบัติเเล้ว
    ผมก็ ปากดีไปงั้น ปุถุชนเเบบผมก็เเค่อยากดี ก็ปฏิบัติตามสติกำลัง ขาดๆตอนๆ ยังไม่ได้อะไรมากหรอกครับ เเค่เสนอข้อคิดเฉยๆ ไม่ต้องสนใจมากก็ได้55
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2011
  16. ปิจังงัง

    ปิจังงัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +29
    แนะว่า ควรวางจิตไว้ที่...จุดก่ออารมณ์ครับท่าน
    มันอยู่กลางๆอก จะสะดวกทั้งการทำสมาธิ หรือแม้แต่
    การขึ้นวิปัสสนาเช่นการพิจารณาการเกิด การดับของอารมณ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...