สติปัฏฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 7 มิถุนายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ควรทราบว่าพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประกอบด้วย

    ปิฎก ๓ พระพระวินัยปิฎก พระสุตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ความลึกซึ้ง

    ของปิฎกทั้ง ๓ จึงต่างกัน คือ พระวินัยลึกซึ้งโดยกิจ พระสูตรลึกซึ้งโดยอรรถ

    พระอภิธรรมลึกซึ้งโดยสภาวะ พระวินัยลึกซึ้งโดยกิจ คือ พระภิกษุที่ศึกษา

    ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยจะเห็นความละเอียดลึกซึ้งโดยกิจต่างๆในพระวินัย

    ที่ทรงบัญญัติไว้ว่ากิจเล็กกิจน้อยหรือกิจสำคัญที่สงฆ์พึงประพฤติปฏิบัติมีคุณ

    ประโยชน์อย่างไร ส่วนพระสูตรทั้งหลายลึกซึ้งโดยอรรถ คือเนื้อความที่ลึกถึง

    โลกุตตระ ไม่ใช่แสดงเพียงพยัญชนะเรื่องราวบุคคลต่างๆเท่านั้น ส่วนพระ

    อภิธรรมลึกซึ้งโดยสภาวะ เพราะพระอภิธรรมปิฎกที่ทรงแสดงนั้นลึกซึ้งโดยสภาวะ

    ผู้ที่ศึกษาและรู้ตามย่อมทราบความลึกซึ้งด้วยปัญญา ถ้าปัญญาไม่เกิดก็ไม่เห็นความ

    ลึกซึ้งของพระธรรมได้..

    ปรกติในชีวิตประจำวัน อกุศลเกิดบ่อยมาก อกุศลไม่เลือกสถานที่เกิด ไม่เลือก

    อิริยาบถเพราะได้สะสมอกุศลมามากจนมีกำลัง อันเป็นปัจจัยให้อกุศลเกิดได้ทุกที่

    ทุกเวลาฉันใด การอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้ความจริงของสภาพธรรมก็เช่นกัน สามารถ

    รู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาเพราะว่าสภาพธรรมที่มีจริง มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวันไม่เปลี่ยนไป

    ไหน แต่ขาดเพียงสติและปัญญาที่ไม่รู้ในสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เท่านั้น ซึ่งการ

    ศึกษาการฟังพระธรรมย่อมเป็นปัจจัยให้สติและปัญญาจากที่ไม่เคยมี มีขึ้น เมื่อความ

    เข้าใจเจริญขึ้นจนมีกำลังเหมือนอกุศลที่เสพคุ้นจนมีกำลังแล้ว สติและปัญญาก็เกิดขึ้น

    ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ทุกที่ ทุกเวลาเพราะสติและปัญญามีกำลัง ที่สำคัญ

    สภาพธรรมเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไมได้ แม้สติและปัญญาก็เช่นกัน จึงแล้วแต่ว่าเมื่อ

    เหตุปัจจัยพร้อมสติและปัญญาจึงเกิดขึ้นเองและก็สามารถบรรลุธรรมได้ในที่ทุกสถาน

    ดังเรื่องราวในพระไตรปิฏก ซึ่งเป็นคนเล่นศิลปะเป็นนักกายกรรม เมื่อพระพุทธเจ้า

    แสดงธรรม ขณะที่กำลังเล่นกายกรรม ยืนอยู่บนแป้นที่เล่น ฟังธรรมได้บรรลุเป็นพระ-

    อรหันต์ทันที สติจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ -หน้าที่ 306

    เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน

    " เชิญเถิด อุคคเสน บุตรคนฟ้อน ผู้มีกำลังมาก

    เชิญท่านจงดู, เชิญท่านทำความยินดีแก่บริษัทเถิด,

    เชิญท่านทำให้มหาชนร่าเริงเถิด."

    เขาได้ยินถ้อยคำของพระเถระแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี หวังว่า " พระศาสดามีพระ

    ประสงค์จะดูศิลปะของเรา " จึงยืนบนปลายไม้แป้นแล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-

    " เชิญเถิด ท่านโมคคัลลานะ ผู้มีปัญญามาก มี

    ฤทธิ์มาก เชิญท่านจงดู, กระผมจะทำความยินดีแก่

    บริษัท, จะยังมหาชนให้ร่าเริง."

    ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ก็กระโดดจากปลายไม้แป้น ขึ้นสู่อากาศ หก

    คะเมน ๑๔ ครั้งในอากาศแล้ว ลงมายืนอยู่บนปลายไม้แป้น(ตามเดิม).

    ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า " อุคคเสน ธรรมดาบัณฑิตต้องละความ

    อาลัยรักใคร่ในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันเสียแล้ว พ้น

    จากทุกข์ทั้งหลายมีชาติเป็นต้นจึงควร ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

    " ท่านจงเปลื้อง (อาลัย) ในก่อนเสีย จงเปลื้อง

    (อาลัย) ข้างหลังเสีย, จงเปลื้อง (อาลัย) ในท่าม-

    กลางเสีย, จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้นใน

    ธรรมทั้งปวง จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก."

    ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ แล้ว.

    อุคคเสนทูลขอบรรพชาอุปสมบท

    ฝ่ายบุตรเศรษฐี กำลังยืนอยู่บนปลายไม้แป้น บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

    ปฏิสัมภิทาแล้ว ลงจากไม้แป้นมาสู่ที่ใกล้พระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางค

    ประดิษฐ์ ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์

    เบื้องขวาตรัสกะนายอุคคเสนนั้นว่า " ท่าน จงเป็นภิกษุมาเถิด." อุคคเสนนั้นได้

    เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ ประหนึ่งพระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ ในขณะนั้นนั่นเอง
     
  2. ปัทมินทร์

    ปัทมินทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +1,393
    สิ่งใดเกิดขึ้นแล้วเป็นธรรมดา ย่อมดับไปเป็นธรรมดา "พระอัญญาโกญทัญญะ"

    เวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง ของเราตั้งแต่รู้สึกตื่น จนถึงยามเข้านอนและหลับไป เราสร้างมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ไปโดยมีสติรู้ตัวอยู่เสมอหรือไม่ ถ้าไม่มีสติรู้สึกตัว ความบกพร่องของศีล (ความเป็นปกติ) ก็ง่ายที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อศีลไม่บริสุทธิ์ ใจก็ขุ่นมัวหมอง ความสงบก็ยากที่จะเกิด ปัญญาก็ไม่แสดงตัว

    ดังนั้น ใน 1 วัน ตั้งแต่เราตื่นขึ้น สติเราก็ตื่น เรามาลองสำรวจดูจิตของเรากัน กำหนดรู้ดูใจของเรา ดูซิว่า วันนี้เราจะเปิดอายตนะทั้ง 6 หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส ใจ ดูซิมันจะมีอะไรผ่านเข้ามาบ้าง ใช้ชีวิตไปตามปกติ ใช้สติคอยดูอย่างปกติ อย่าบังคับสติแบบคอยเฝ้าคอยดูอย่างเอาเป็นเอาตาย เพราะหากว่าเราเพ่งสติจดจ่อใจเกินไป เราจะพบว่ามันไม่มีอะไรผ่านเข้ามาเลย นั่นคือเราหลงคิดผิดไปว่า ไม่เห็นมีอารมณ์ใดเกิดขึ้นเลยนี่ เรามีมหาสติแล้วล่ะมั้ง อันนี้ไม่ถูกนะครับ ที่ถูกคือ ดูมันอย่างเป็นธรรมชาติ อย่าฝืนดูอย่างเคร่งเครียด เอาเป็นเอาตาย เพราะมันฝืนธรรมชาติ ของจริงจึงไม่เกิดขึ้น มันจึงดูว่าจิตว่างดีจัง ดังนั้น คุณจะทำอะไร ขอให้มีสติ รู้งานปัจจุบัน อยู่กับปัจจุบัน หากมีอารมณ์หรือความคิดฟุ้งซ่านใดมาแทรกในขณะที่เราอยู่กับงานปัจจุบัน ก็กำหนดรู้ ปล่อยวางมันไป (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ทำแบบนี้ไปทุกวันๆ ขอให้ลองทำดู สติของเราจะรู้ไวขึ้นจริงๆ ผมเองก็เดินทางนี้อยู่ มีบ้างที่อารมณ์เกิดขึ้น โดยสติล่องลอยหายไป เผลอไปก่อกรรมด้วย มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ที่ไม่ดี

    หวังว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับนักภาวนาไม่มากก็น้อยนะครับ ไม่ได้มีคุณเพียงผู้เดียวในการภาวนา ยังมีนักภาวนาอีกมากมาย รวมถึงผมด้วย มีความรู้ใดช่วยแนะนำกันด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...