สติปัฏฐาน 4 (แบบของพระพุทธเจ้า)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 12 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    -สติปัฏฐาน นิยมปฏิบัติกันมาก แต่ก็มีผู้เข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นกัน

    ดังที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ปรารภไว้

    ความเข้าใจไขว้เขว ก็อย่างที่ถาม-ตอบกันไว้=>


    ถาม จะทำสติให้เกิดได้อย่างไรครับ



    ตอบ ทำไม่ได้ เพราะสติจะเกิดหรือไม่เกิดเป็นไปตามที่มโนทวาราวัชชนะจิต/โวฏฐัพพนจิตสั่ง

    ไม่ใช่ตามที่เราอยากให้เป็น.... "สติ" ที่จงใจสร้างขึ้นมาด้วยอำนาจของตัณหา ไม่ใช่สติจริง

    จะมีลักษณะแข็งกระด้าง หนักแน่น ใช้ทำวิปัสสนาไม่ได้จริงหรอก


    http://palungjit.org/showthread.php?t=122311

    ท่านตอบธรรมะปนเปกัน คือนำเอาวิถีจิตในอภิธรรมปนกับการฝึกสติปัฏฐาน

    ที่ว่า สติฝึกไม่ได้ คำกล่าวนี้สำคัญมากๆ เพราะกระทบถึงวิปัสสนากรรมฐานทั้งระบบ

    แล้วพุทธพจน์ตรัสไว้อย่างไร

    หนังสือพุทธธรรมหน้า 804 นำมาอธิบายไว้อย่างละเอียดพร้อมหลักฐานในคัมภีร์
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สติฝึกได้ ซึ่งก็ฝึกตามหลักสติปัฏฐานนั่นเอง ดังหลักฐานในคัมภีร์)

    ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ ก็คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์ของสติ อรรถแห่งหนึ่งว่า ได้แก่

    โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ และโลกุตรธรรม 9 (สํ.อ.3/223)

    แต่ถ้ามองอย่างกว้างๆ ก็คือ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคและสัมโมหวิโนทนี แสดงธรรมที่ช่วยให้เกิดสติอีก 4 อย่าง คือ สติ

    สัมปชัญญะ การหลีกเว้นคนสติเลอะเลือน คบหาคนที่มีสติกำกับตัวดี และทำใจให้น้อมไป

    ในสติสัมโพชฌงค์
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ 2 ในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา

    มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้

    “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    1) พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

    และโทมนัสในโลกเสียได้

    2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

    และโทมนัสในโลกเสียได้

    3) พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ

    โทมนัสในโลกเสียได้

    4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

    และโทมนัสในโลกเสียได้

    (ที.ม. 10/299/349;..)
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ที่ว่า สัมมาสติเป็นองค์มรรคข้อที่ 2 ในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา

    ท่านจัดมรรคมีองค์ 8 เข้าในไตรสิกขา ดังนี้

    อธิศีลสิกขา (=ศีล) คือ

    3.สัมมาวาจา

    4. สัมมากัมมันตะ

    5. สัมมาอาชีวะ

    อธิจิตตสิกขา (=สมาธิ) คือ

    6.สัมมาวายามะ

    7.สัมมาสติ


    8.สัมมาสมาธิ

    อธิปัญญาสิกขา (=ปัญญา) คือ

    1 สัมมาทิฏฐิ

    2.สัมมาสังกัปปะ


    (นำมาพอเป็นตัวอย่าง)


    คำจำกัดความอีกแบบหนึ่ง ที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรม ว่า ดังนี้

    “สัมมาสติ เป็นไฉน ? สติ คือ การคอยระลึกถึงอยู่เนือง ๆ การหวนระลึก (ก็ดี)

    คือ ภาวะที่ระลึกได้ ภาวะที่ทรงจำไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืม (ก็ดี)

    สติ คือ สติที่เป็นอินทรีย์ สติที่เป็นสัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค

    นี้เรียกว่า สัมมาสติ”

    อภิ.วิ. 35/182/104...)
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ

    หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

    หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ

    1) กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)

    2) เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)

    3) จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)

    4) ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม)


    ที่นิยมใช้ในภาษาอังกฤษ สติใช้กันว่า Mindfulness

    อัปปมาทะ มีคำนิยมหลายคำ Heedfulness. Watchfulness



    เคยเห็นคำถามว่า ปฏิบัติธรรมแล้วทำยังไงจึงจะเกิดปัญญาบ้าง

    ทำยังไงจึงจะละกิเลสได้ บ้าง ทั้งๆ ที่ตนก็กำลังปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน

    กำลังปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกันอยู่นั่นแหละ จึงน่าจะเกิดข้อบกพร่องจากส่วนใดส่วนหนึ่ง

    คือ จากผู้ปฏิบัติเอง หรือ จากผู้แนะนำเค้า เป็นแน่

    เพราะคำถามได้แย้งกับพุทธพจน์ที่ว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก

    (ทางเดียว) เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศก และความร่ำไร

    รำพัน เพื่อความดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม

    เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน 4”



    พระพุทธพจน์นี้ก็บอกชัดเจนแล้วว่า เมื่อปฏิบัติสติปัฏฐานแล้วจะล่วงพ้นจากทุกข์โทมนัส ฯลฯ

     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    ก่อนจะพิจารณาความหมายของสัมมาสติตามหลักสติปัฏฐาน 4

    เห็นควรทำความเข้าใจทั่วๆไป เกี่ยวกับเรื่องของสติไว้เป็นพื้นฐานก่อน


    สติในฐานะอัปปมาทธรรม


    สติ แปลกันง่ายๆว่า ความระลึกได้ ความระมัดระวัง ความตื่นตัวต่อหน้าที่

    ภาวะที่พร้อมอยู่เสมอในอาการคอยรับรู้ต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

    และตระหนักว่าควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ อย่างๆไร

    โดยเฉพาะในจริยธรรม การทำหน้าที่ของสติ มักถูกเปรียบเทียบเหมือนกับนายประตู

    ที่คอยระวังเฝ้าดูคนเข้าออกอยู่เสมอ และคอยกำกับการโดยปล่อยคนที่ควรเข้าออก

    ให้เข้าออกได้

    และคอยกัน ห้ามคนที่ไม่ควรเข้าไม่ให้เข้าไป คนที่ไม่ควรออกไม่ให้ออกไป

    สติ จึงเป็นธรรมที่สำคัญในทางจริยธรรมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นตัวควบคุมการปฏิบัติ

    หน้าที่ และเป็นตัวคอยป้องกันยับยั้งตนเอง ทั้งที่จะไม่ให้หลงเพลินไปตามความชั่ว

    และที่จะไม่ให้ความชั่วเล็ดลอดเข้าไปในจิตใจได้

    พูดง่ายๆว่าที่จะเตือนตน ในการทำความดี และไม่เปิดโอกาสแก่ความชั่ว
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พุทธธรรมเน้นความสำคัญของสติเป็นอย่างมากในการปฏิบัติจริยธรรมทุกขั้น

    การดำเนินชีวิต หรือการประพฤติปฏิบัติโดยมีสติกำกับอยู่เสมอนั้น

    มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า อัปปมาท หรือ ความไม่ประมาท

    อัปปมาทนี้ เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง สำหรับความก้าวหน้าในระบบจริยธรรม

    มักให้ความหมายว่า การเป็นอยู่โดยไม่ขาดสติ ซึ่งขยายความได้ว่า การระมัดระวังอยู่เสมอ

    ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความเจริญก้าวหน้า

    ตระหนักดีถึงสิ่งที่จะต้องทำ และต้องไม่ทำ ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย

    กระทำการด้วยความจริงจัง และพยายามเดินรุดหน้าอยู่ตลอดเวลา

    กล่าวได้ว่า อัปปมาทธรรมนี้ เป็นหลักความรู้สึกรับผิดชอบตามแนวของพระพุทธศาสนา



    ในแง่ความสำคัญ อัปปมาทจัดเป็นองค์ประกอบภายใน เช่นเดียวกับโยนิโสมนสิการ

    คู่กับหลักกัลยาณมิตรที่เป็นองค์ประกอบภายนอก

    พุทธพจน์แสดงความสำคัญของอัปปมาทนี้ บางทีซ้ำกับโยนิโสมนสิการ เหตุผลก็คือธรรมทั้ง

    สองอย่างนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน แต่ต่างแง่กัน

    โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบฝ่ายปัญญา เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้กระทำการ

    ส่วนอัปปมาทเป็นองค์ประกอบฝ่ายสมาธิ เป็นตัวควบคุมและเร่งเร้าให้มีการใช้อุปกรณ์นั้น

    และก้าวหน้าต่อไปเสมอ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ความสำคัญและขอบเขตการใช้อัปปมาทธรรม

    ในการปฏิบัติจริยธรรมขั้นต่างๆ จะเห็นได้จากพุทธพจน์ตัวอย่างต่อไปนี้

    “ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลายชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้

    ทั้งหมด รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความเป็นของใหญ่

    ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล

    ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรม

    เหล่านั้น ฉันนั้น”

    (สํ.ม.10/253/65...)


    ----------------------------

    “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

    หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความไม่ประมาทเลย

    เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

    ย่อมเสื่อมไป”

    องฺ.เอก.20/60/13

     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    แม้ในปัจฉิมวาจา คือ พระดำรัสครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้าเมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

    ก็เป็นพระดำรัสในเรื่องอัปปมาทธรรม ดังนี้

    “สิ่งทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยัง

    ประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท”

    ที.ม.10/143/180

    ---------------------------------------------------

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสร้างอัปปมาท คือ การรักษาใจด้วยสติ โดยตนเอง ในฐานะ 4 คือ

    1. ...จิตของเรา อย่าติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ

    2. ...จิตของเรา อย่าขัดเคืองในธรรมที่ชวนให้เกิดความขัดเคือง

    3. ...จิตของเรา อย่าหลงในธรรมที่ชวนให้เกิดความหลง

    4. ...จิตของเรา อย่ามัวเมาในธรรมที่ชวนให้เกิดความมัวเมา

    เมื่อจิตของภิกษุ ไม่ติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ เพราะปราศจากราคะแล้ว

    ไม่ขัดเคือง...ไม่หลง...ไม่มัวเมาแล้ว ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นไหว ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง

    และไม่ (ต้อง) เชื่อถือแม้แต่เพราะถ้อยคำของสมณะ”

    องฺ.จตุกฺก. 21/117/161
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถาม “มีบ้างไหม ธรรมข้อเดียวที่จะยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง 2 อย่าง คือ

    ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ และสัมปรายิกัตถะ

    ตอบว่า “มี”

    ถาม “ธรรมนั้น คือ อะไร ?”

    ตอบ “ธรรมนั้น คือ ความไม่ประมาท”

    สํ.ส.15/378/125 ฯลฯ


    ทิฏฐธัมมิกัตถะ- ประโยชน์ในปัจจุบัน หรือ ประโยชน์เฉพาะหน้า

    สัมปรายิกัตถะ - ประโยชน์ในเบื้องหน้า หรือ ประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป


    ฯลฯ

    -----------------------------------------------------

    บทบาทของสติในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือ การกำจัดอาสวะกิเลส

    อัปปมาท หรือ ความไม่ประมาทนั้น หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างไม่ขาดสติ

    หรือ การใช้สติอยู่เสมอ ในการครองชีวิต

    อัปปมาท เป็นตัวการทำให้ระมัดระวังตัว ป้องกันไม่ให้พลาดตกไปในทางชั่วหรือเสื่อม

    คอยยับยั้ง เตือนไม่ให้เพลิดเพลินมัวเมาลุ่มหลงสยบอยู่ คอยกระตุ้น ไม่ให้หยุดอยู่กับที่

    และคอยเร่งเร้าให้ขะมักเขม้น ที่จะเดินรุดหน้าอยู่เรื่อยไป ทำให้สำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ

    โดยตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ ทำแล้วและยังมิได้ทำ และช่วยให้ทำการต่างๆด้วย

    ความละเอียดรอบคอบ จึงเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในระบบจริยธรรมดังกล่าวแล้ว
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    อย่างไรก็ดี ความสำคัญของอัปปมาทนั้น เห็นได้ว่าเป็นเรื่องจริยธรรมในวงกว้างเกี่ยวกับ

    ความประพฤติปฏิบัติทั่วๆไปของชีวิต กำหนดคร่าวๆตั้งแต่ระดับ ศีล ถึง สมาธิ

    ในระดับนี้ สติทำหน้าที่แทรกแซงพัวพันและพ่วงกันไปกับองค์ธรรมอื่นๆ เป็นอันมาก

    โดยเฉพาะจะมีวายามะหรือความเพียรควบอยู่ด้วยเสมอ

    ครั้นจำกัดการพิจารณาแคบเข้ามากล่าวเฉพาะการดำเนินของจิตในกระบวนการพัฒนา

    ปัญญา หรือการใช้ปัญญาเข้าชำระล้างภายในดวงจิต อัปปมาท ก็กลายเป็นตัววิ่งเต้น

    ที่คอยเร่งเร้าอยู่ในวงนอก

    เมื่อถึงขั้นนี้ การพิจารณาจึงจำกัดวงขอบเขตจำเพาะเข้ามา เป็นเรื่องกระบวนการทำงาน

    ในจิตใจ และแยกแยะรายละเอียดซอยถี่ออกวิเคราะห์เป็นขณะๆ

    ในระดับนี้เอง ที่สติทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ และเด่นชัด กลายเป็นตัวแสดง

    ที่มีบทบาทสำคัญที่เรียกโดยชื่อของมันเอง
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    ความหมายที่แท้จำเพาะตัวของสติ อาจเข้าใจได้จากการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของสติ

    ในกรณีที่มีบทบาทของมันเอง แยกจากองค์ธรรมอื่นๆอย่างเด่นชัด เช่น

    ในข้อปฏิบัติที่เรียกว่าสติปัฏฐาน เป็นต้น

    ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของสตินั้น คือ การไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่ปล่อยอารมณ์

    ให้ผ่านเรื่อยเปื่อยไป หรือ ไม่ปล่อยให้ความนึกคิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ

    แต่คอยเฝ้าระวัง เหมือนจับตาดูอารมณ์ที่ผ่านมาแต่ละอย่าง มุ่งหน้าเข้าหาอารมณ์นั้นๆ

    เมื่อต้องการกำหนดอารมณ์ใดแล้ว ก็เข้าจับดูติดๆไป ไม่ยอมให้คลาดหาย คือ

    นึกถึงหรือระลึกไว้เสมอ ไม่ยอมให้หลงลืม มีคำเปรียบเทียบว่า เหมือนเสาหลัก

    เพราะปักแน่นในอารมณ์ หรือเหมือนนายประตู เพราะเฝ้าอายตนะต่างๆที่เป็นทางรับ

    อารมณ์ ตรวจดูอารมณ์ที่ผ่านเข้ามา

    ปทัฏฐาน หรือ เหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดสติ ก็คือ สัญญา ที่มั่นคง หรือ สติปัฏฐานต่างๆ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พิจารณาในแง่จริยธรรม จะมองเห็นการปฏิบัติหน้าที่ของสติได้ทั้งในแง่ปฏิเสธ

    (negative)

    และในแง่ อนุมัติ (positive)

    ในแง่ปฏิเสธ สติเป็นตัวป้องกัน ยับยั้งจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้ก้าวพลาด

    ไม่ให้ถลำลงไปในธรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ยอมให้ความชั่วได้โอกาสเกิดขึ้นในจิต

    และไม่ยอมให้ใช้ความคิดผิดทาง


    ในแง่ อนุมัติ สติเป็นตัวควบคุมตรวจตรากระแสการรับรู้ ความนึกคิด และพฤติกรรม

    ทุกอย่างที่อยู่ในแนวทางที่ต้องการ คอยกำกับจิตไว้กับอารมณ์ที่ต้องการ และจึงเป็นเครื่อง

    มือสำหรับยึดหรือเกาะกุมอารมณ์อย่างใดๆ ดุจเอาวางไว้ข้างหน้าจิต เพื่อพิจารณาจัดการ

    อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป


    ในทางปฏิบัติของพุทธธรรมเน้นความสำคัญของสติมาก อย่างที่กล่าวว่า สติจำปรารถนา

    (คือต้องนำมาใช้) ในกรณีทั้งปวง เป็นทั้งตัวการเหนี่ยวรั้งปรามจิต และหนุนประคองจิต

    ตามควรแก่กรณี
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    เมื่อนำลักษณะการทำหน้าที่ของสติ ที่กล่าวแล้วนั้นมาพิจารณาประกอบ

    จะมองเห็นประโยชน์ที่มุ่งหมายของการปฏิบัติฝึกฝนในเรื่องสติ ดังนี้


    1. ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้และกระแส

    ความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ ตรึงกระแสความคิด

    ให้นิ่งเข้าที่ และทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

    2. ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าเป็นตัวของตัวเอง เพราะมีความโปร่งเบา

    ผ่อนคลาย เป็นสุขโดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ

    และจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกออย่างได้ผลดี

    3. ในภาวะจิตที่เป็นสมาธิ อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด

    ทำขอบเขตการรับรู้และความคิดให้ขยายออกไปโดยมิติต่างๆ หรือให้เป็นไปต่างๆได้

    4. โดยการยึด หรือจับเอาอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณาวางไว้ต่อหน้า จึงทำให้การ

    พิจารณาสืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่ เท่าที่เป็นพื้นฐานในการสร้างเสริม

    ปัญญาให้เจริญบริบูรณ์

    5. ชำระพฤติกรรมต่างๆ ทุกอย่าง (ทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) ให้บริสุทธิ์ อิสระ

    ไม่เกลือกกลั้ว หรือ เป็นไปด้วยอำนาจตัณหาอุปาทาน และร่วมกับสัมปชัญญะ

    ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไปด้วยปัญญา หรือเหตุผลบริสุทธิ์ล้วนๆ


    ประโยชน์ข้อที่ 4 และ 5 นับว่าเป็นจุดหมายขั้นสูง จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้เป็น

    พิเศษ ซึ่งตามคำจำกัดความในข้อสัมมาสติ ก็ได้แก่ สติปัฏฐาน 4
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ


    สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือ มีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ

    โดยหลักการ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด

    อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็น

    มรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ

    เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

    นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”

    --------------------------------------------------------------------------------

    การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ

    และวิปัสสนาในตัว
    ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา

    ตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็น

    มาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้

    วิปัสสนา เป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ได้ยินได้ฟังกันมาก

    พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน


    จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร จากการศึกษาคร่าวๆในเรื่องสติปัฏฐานต่อไปนี้

    จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดีขึ้น ทั้งในแง่สาระสำคัญขอบเขต

    ความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝนปฏิบัติ

    โดยสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป ว่าเป็นไปได้และมีประโยชน์เพียงใด เป็นต้น
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    (การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวพอง-ยุบ ฯลฯ เมื่อโยคีปฏิบัติอย่างถูกวิธีแล้ว

    สมถะ (=สมาธิ) กับ วิปัสสนา (= ปัญญา) จะเกิดเคียงกันจนถึงที่สุด

    โดยไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน

    สังเกตคาถานี้


    “เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้ แม้สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมถึงความเจริญ

    เต็มบริบูรณ์ แม้สัมมัปธาน 4...แม้อิทธิบาท 4...แม้อินทรีย์ 5...แม้พละ 5 ... แม้โพชฌงค์ 7

    ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เขาย่อมมีธรรม 2 อย่างนี้ คือ

    สมถะ และวิปัสสนา เข้าเคียงคู่กันไป
    ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา

    เขาก็กำหนดรู้ด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด พึงละด้วยอภิญญา

    เขาก็ละด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น

    ธรรมเหล่าใด พึงให้เกิดด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น

    ธรรมเหล่าใด พึงประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น”

    ม.อุ.14/828-831/523-6)


    -ธรรมที่พึงละ ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา

    -ธรรมที่พึงทำให้เจริญ ได้แก่ สมถะ และวิปัสสนา

    -ธรรมที่พึงทำให้แจ้ง ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    สาระสำคัญของสติปัฏฐาน โดยสังเขป คือ


    1. กายานุปัสสนา -การพิจารณากาย หรือตามดูรู้ทันกาย

    1. 1 อานาปานสติ

    คือไปในที่สงัด นั่งขัดสมาธิ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยอาการต่างๆ

    1.2 กำหนดอิริยาบถ

    คือ เมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ๆ ก็รู้ชัดในอาการ

    ที่เป็นอยู่นั้นๆ

    1.3 สัมปชัญญะ

    คือ สร้าง ในการกระทำทุกอย่าง และความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เช่น การก้าวเดิน

    การเหลียวมอง การเหยียดมือ นุ่งห่มผ้า กิน ดื่ม เคี้ยว ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

    การตื่น การหลับ การพูด การนิ่ง เป็นต้น

    1.4 ปฏิกูลมนสิการ

    คือ พิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า ซึ่งมีส่วนประกอบที่ไม่สะอาดต่างๆ

    มากมายมารวมๆ อยู่ด้วยกัน

    1.5 ธาตุมนสิการ

    คือ พิจารณากายของตน โดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ

    1.6 นวสีวถิกา

    คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กัน โดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตาย ใหม่ๆ ไปจนถึง

    กระดูกผุ แล้วในแต่ละกรณีนั้น ให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตน ว่าก็จะต้องเป็นเช่นนั้น

    เหมือนกัน
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    2. เวทนานุปัสสนา - การตามดูรู้ทันเวทนา

    คือ เมื่อเกิดรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นชนิดสามิส และนิรามิส

    ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    3. จิตตานุปัสสนา - การตามดูรู้ทันจิต

    คือ จิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ

    ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่

    ในขณะนั้นๆ


    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    4. ธัมมานุปัสสนา - การตามดูรู้ทันธรรม คือ

    4.1 นิวรณ์

    คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า นิวรณ์ 5 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด

    เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร

    รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

    4.2 ขันธ์

    คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่าง คือ อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร

    4.3 อายตนะ

    คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสัญโญชน์ที่เกิดขึ้น

    เพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่าสัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร

    ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร

    4.4 โพชฌงค์

    คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์ 7 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด

    เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร

    4.5 อริยสัจ

    คือ รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    ในตอนท้ายของทุกข้อที่กล่าวนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกาย

    ในกายภายใน (= ของตนเอง) อยู่บ้าง

    ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายนอก (= ของคนอื่น) อยู่บ้าง

    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่บ้าง

    พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง

    พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง

    พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง

    ก็แล เธอมีสติปรากฏชัดว่า กายมีอยู่ เพียงพอให้เป็นความรู้

    และพอสำหรับระลึกเท่านั้น แลเธอเป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย ไม่ยึดมั่นสิ่งใดๆในโลก


    (กาย เปลี่ยนเป็น เวทนา จิต ธรรม ตามแต่กรณีนั้นๆ)
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สาระสำคัญของสติปัฏฐาน


    ใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย)

    ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่า จะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม

    หรือจำเพาะในการเวลาตอนใดตอนหนึ่ง

    โดยเหตุนี้จึงมีปราชญ์หลายท่านสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

    ว่าโดยสาระสำคัญ

    หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับ

    ดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้นเอง คือ

    ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน 1

    เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ต่างๆ 1

    ภาวะจิต ที่เป็นไปต่างๆ 1

    ความนึกคิดไตร่ตรอง 1


    ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้ แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย

    ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...