สติปัฏฐาน 4 ตามหลักฐานในคัมภีร์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 11 สิงหาคม 2007.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top> สติปัฏฐาน 4 ตามหลักฐานในคัมภีร์

    (จะปูพื้นฐานทำความเข้าใจให้ จับเอาตั้งแต่ สัมมาสติ- ระลึกชอบ ไปเลย
    -จากหนังสือพุทธธรรมหน้า 804เป็นต้นไป)

    สัมมาสติ เป็นองค์มรรคที่ 7
    มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้
     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>พุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
     
  3. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

    ใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลัก
    การที่จำกัดว่า จะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือจำเพาะในการเวลาตอนใดตอนหนึ่ง โดยเหตุนี้จึงมีปราชญ์หลายท่านสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

    ว่าโดยสาระสำคัญ

    หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้นเอง คือ

    ร่างกายและพฤติกรรมของมัน 1

    เวทนาคือความรู้สึกสุข ทุกข์ ต่างๆ 1

    ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ 1

    ความนึกคิดไตร่ตรอง 1

    ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้ แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐาน แต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว
    แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย

    ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็ คือก็สมาธิ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ (เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ อยู่ในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ)

    ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

    1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวังและละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)

    2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)

    3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)

    สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ
    สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ
    สัมปชัญญะ ก็คือปัญญา ดังนั้น การฝึกฝนในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

    สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัด ในสิ่งที่ สติกำหนดไว้นั้น...

    หรือการกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ข้อความที่ว่า
     
  4. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>อาตาปี สัมปชาโน สติมา = แปลว่า มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

    ได้แก่ มีสัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ 3 ข้อที่ต้องใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์มรรคทั้งหลายทุกข้อ (ตรงกับหลักในมหาจัตตารีสกสูตร)

    ความเพียรคอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่ ไม่ให้รีรอล้าหรือถอยหลัง จึงไม่เปิดช่องให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น แต่เป็นแรงเร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ เจริญยิ่งขึ้น

    สัมปชัญญะ คือ ตัวปัญญาที่พิจารณาและรู้เท่าทันอารมณ์ที่สติกำหนดทำให้ไม่หลงใหลไปได้ และเข้าใจถูกต้องตามสภาวะที่เป็นจริง

    สติ คือ ตัวกำหนดจับอารมณ์ไว้ ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ = แปลว่า กำจัดอภิชฌา

    และโทมนัสในโลกเสียได้

    หมายความว่า เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จิตใจก็จะปลอดโปร่งเบิกบาน ไม่มีทั้ง

    ความติดใจ อยากได้และความขัดใจเสียใจ เข้ามาครอบงำรบกวน</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>-อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย = แปลว่า เธอมีสติ ปรากฏชัดว่า "กายมีอยู่" เพียงเพื่อเป็นความรู้ และพอสำหรับระลึกเท่านั้น

    คือมีสติกำหนดชัดเจนตรงความจริงว่า มีแต่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคลล หญิง ชาย ตัวตน ของตน ของเขา ของใคร เป็นต้น ทั้งนี้ เพียงเพื่อเป็นความรู้และสำหรับใช้ระลึก คือเพื่อเจริญสติสัมปชัญญะ หรือเพื่อให้สติปัญญาเจริญเพิ่มพูน มิใช่เพื่อจะคิดฟุ้งเฟ้อละเมอฝัน ปรุงแต่งฟ่ามเฝือไป
    แม้ในเวทนา จิต และธรรม ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกันนี้</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>อนิสฺสิโต จ วิหรติ = แปลว่า และเธอเป็นอยู่ไม่อิงอาศัย

    คือมีใจเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด ไม่ต้องเอาใจไปฝากไว้กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ บุคคลนั้นบุคคคลนี้ เป็นต้น ว่าตามหลักคือไม่ต้องเอาตัณหาและทิฐิเป็นที่อิงอาศัย หรือไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐินั้น เช่น เมื่อรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ ก็รับรู้โดยตรงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ ไม่ต้องอิงอาศัยตัณหาและทิฐิมาช่วยวาดภาพระบายสี เสริมแต่งและกล่อมให้เคลิ้มไป ต่างๆ โดยฝากความคิดนึกจินตนาการ และสุขทุกข์ไว้กับตัณหาและทิฐินั้น เป็นต้น </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ = แปลว่า อีกทั้งไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

    คือไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นรูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร หรือวิญญาณ ว่าเป็นอัตตา หรือ อัตตนียา เช่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน เป็นต้น </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>อชฺฌตฺตํ วา...พหิทฺธา วา...แปลว่า...ภายในบ้าง...ภายนอกบ้าง

    ข้อความนี้ อาจารย์หลายท่านอธิบายกันไปต่างๆ
    แต่มติของอรรถกถาทั้งหลายลงกันว่า ภายใน หมายถึง ของตนเอง
    ภายนอก หมายถึง ของผู้อื่น
    และมตินี้สอดคล้องกับบาลีแห่งพระอภิธรรมปีฏก ซึ่งขยายความไว้ชัดแจ้ง เช่นว่า "ภิกษุตามเห็นจิตในจิต ภายนอก อยู่อย่างไร ?
    ในข้อนี้ ภิกษุ เมื่อจิตของผู้นั้นมีราคาะก็รู้ชัดว่า จิตของผู้นั้นมีราคะ ฯลฯ"

    บางท่าน อาจสงสัยว่า ควรหรือที่จะเที่ยวสอดแทรกตามสืบดูความเป็นไปในกายใจของคนอื่น และจะรู้ตามเป็นจริงได้อย่างไร
    เรื่องนี้ขอให้เข้าใจเพียงง่ายๆว่า ท่านมุ่งให้เราใช้สติกับสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง และกำหนดรู้เพียงแค่ที่มันเป็น

    เป็นการแน่นอนว่า ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นๆ เมื่อเราเกี่ยวข้องกับเขา ก็พึงเกี่ยวข้องโดยมีสติ รู้เขาตามที่เขาเป็น และตามที่ประจักษ์แก่เราเท่านั้น คือรู้ตรงไปตรงมาแค่ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องแค่ไหนก็แค่นั้น
    (ถ้ามีญาณหยั่งรู้จิตใจของเขา ก็รู้ตรงไปตรงมาเท่าที่ญาณนั้นรู้ ถ้าไม่มีญาณ ก็ไม่ต้องไปสอดรู้ )
    จะได้ไม่คิดปรุงแต่งวุ่นวายไปเกี่ยวกับคนอื่น ทำให้เกิดราคะบ้าง โทสะบ้าง เป็นต้น ถ้าไม่รู้หรือไม่ได้เกี่ยวข้องก็แล้วไป
    มิได้หมายความว่า จะให้คอยสืบสอดตามดูพฤติการณ์ทางกายใจของผู้อื่นแต่ประการใด </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...