สติปัฏฐาน 4 คือการเห็นเป็นอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Ongsathit, 19 พฤศจิกายน 2010.

  1. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    เห็น กายในกาย
    เห็น จิตในจิต
    เห็น เวทนาในเวทนา
    เห็น ธรรมในธรรม
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ผมเคยสดับธรรม เรื่อง การเห็นนี้เห็นอะไร จากพระอาจารย์ มานพ อุปสัมโม

    โดยส่วนตัวผมว่า ท่านอธิบายได้ปริเฉทดี ลองหาดูนะครับ เพราะผมได้ยินผ่าน
    ทางทีวี เลยไม่สามารถนำข้อมูลอ้างอิงมาแสดงได้
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    มองกลับมาดูที่ตัวเองทุกอย่าง ไม่ว่า เราจะสัมผัสอะไร ไม่ว่าเราจะเคลื่อนไหวอย่างไร

    ไม่ว่าเราจะรู้สึกอะไร ให้ศึกษา สิ่งที่เกิดกับตนเอง ทุกอย่าง
     
  4. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    กายในกาย กายที่อยู่ข้างในกายเข้าไป คือ "กายทิพย์" ได้จากเคลื่อนไหวในทุกอริยาบท
    เช่น นั่ง นอน ยืน เดิน แล้วเอาสติยัดเข้าไปผูกไว้กับจิต ในทุกอริยาบถที่หยุดหรือเคลื่อนไหว
     
  5. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    คนทำงานเป็น นี่เค้าจะถามว่า
    1.ต้องทำอะไร
    2.วิธีการคือ
    3.แล้วมุมานะทำให้จบ
    อุปมาเหมือนทำงานจบก็พักผ่อน วางบิลเก็บเงินได้ฉันนั้น

    คำถามนี้เป็นคำถามที่ดีเพราะผมก็เคยถามตัวเองมาก่อน(มีสติก็จบเกมส์แล้วเหรอ)

    แต่จะไม่มีคำถามนี้ถ้ามีสติแล้ว
    พึงรู้ว่าต้องนั่งสมาธิให้มาก เจริญสติให้มากก่อน
    แล้วพิจารณาเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ
    ถ้าเจริญไม่ได้ให้รู้ว่าต้องทำบุญ สวดมนต์ ถือศีล เสียก่อนในเบื้องต้น

    สติจะพาไปต่อจนถึงที่สุด คือ เห็นรูป นาม ไตรลักษณ์ในแต่ละฐาน ทุกข์จะบาง กิเลสจะเบาไปเรื่อยๆเองรู้ได้เองตลอดทาง
     
  6. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    การมี สติ-สัมปชัญญะ เห็น ในที่ทั้ง 4 คือ เห็นใน กาย เวทนา จิต และธรรม...........

    เห็นอย่างไร??? เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อย่างแจ่มแจ้งในที่ตั้งดังกล่าวว่า ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ไมมีในตน นั้นแล........

    อ่านของเขามา ไม่ใช่ปัญญาตัวเอง.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2010
  7. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    เห็นกายว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เห็นเวทนาว่าเป็นของไม่เที่ยง
    เห็นจิตว่าไม่จีรัง เป็นทุกข์
    เห็นธรรมว่าไม่ใช่ตัวตน

    การเห็นโดยเอาใจไปเห็น เอาใจไปดู ทำสติให้เกิด รู้สภาพของเป็นไปของสิ่งต่างๆ ว่ามันย่อมมีเกิด มีการเสื่อม มีการพัง มีการสลาย ไม่คงตัว เกิด-ดับเสมอ ทั้งนามและรูป เราไม่ควรยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา ว่าเป็นเขา เป็นของเขา สรุปรวมในอริยสัจ และพิจารณาควบคู่บารมี ๑๐ และการตัดสังโยชน์ ๑๐ เพื่อเป็นเครื่องสังเกต สุดท้าย จงเตือนตนอยู่เสมอ ดูกำลังใจของเรา พัฒนากำลังใจของเราให้เข้มแข็งขึ้น และรักษากำลังใจไม่ให้หลงไปตามสิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย และใจ
     
  8. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676

    ในพระไตรปิฏกท่านก็กล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วครับ :cool:
     
  9. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,033
    สติปัฏฐาน 4 คือการเห็นเป็นอย่างไร
    กล่าวไว้ถูกต้องแล้วครับ ...

    เป็นการเห็นสภาวะธรรมในขอบเขตภายในของ กาย เวทนา และจิต ของเราเอง

    มันจะต้องเป็นการเห็นโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นให้เกิดอัตตา(ego)ในตัวตน
    ว่าสิ่งต่างๆนั้นเป็นของเรา โดยเข้าใจว่าสภาวะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
    เห็นแล้ว เมื่อเข้าใจแล้ว จึงเกิดภาวะปล่อยวาง โดยธรรมชาติ

    เห็นเบื้องต้นในสภาวธรรมเชิงที่หยาบ ที่สัมพันธ์กันระหว่างภาวะของกาย ความรู้สึกและจิตใจ ในชีวิตทั่วไปประจำวันภายในตัวเราเอง อย่างต่อเนื่องตามกำลังของสติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา

    จึงจะนำไปสู่เห็นสภาวธรรมในเชิงลึกที่ละเอียด ที่สัมพันธ์กันระหว่างภาวะของกาย ความรู้สึกและจิตใจ ในการปฏิบัติของตัวเราเอง ซึ่งควรจะเป็นการเห็นที่ผ่านการฝึกฝนด้วยหลักของมรรคมีองค์๘ จึงจะพบกับอริยสัจธรรม มรรค ผล นิพพาน ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสอนวางแนวทางไว้
     
  10. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    http://palungjit.org/threads/สติปัฏฐานสี่.131076/
     
  11. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สติปัฐฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม พิจรณาตามลำดับก็ได้ หรือยกขึ้นมาพิจรณาองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ในส่วนของกาย พิจรณาลงที่ปัญจกรรมฐานก็ได้ หรือกายคตายสติก็ได้ เวทนา ถอนอุปาทานในเวทนาเสีย เพื่อให้จิตจับอารมณ์พระนิพพาน คือความสงบ จิต ตามดูจิต เมื่อจิตมีราคะ โทสะ โมหะ มัจฉริยะ ฟุ้งซ่าน ความผูกโกรธ เป็นต้น เราก็ดับมันเสีย คือดับอุปาทานในธรรมนั้น ในส่วนของธรรม พิจรณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา.....
     
  12. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    สติปัฏฐาน 4 คือการเห็นเป็นอย่างไร

    คือการเห็น ตามความเป็นจริงในฐานทั้ง 4
    กาย
    เวทนา
    จิต
    ธรรม
     
  13. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,307
    เห็นกาย ในกาย คือขันธ์ 5
    เห็นจิตในจิต คือ สติ
    เห็นเวทนาในเวทนา คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    เห็นธรรมในธรรม คือ กฎไตรลักษณ์
     
  14. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เพิ่มเติมนะครับ ขอเลือกเพิ่มเติมในส่วนของเวทนา เมื่ออายะตนะภายในกระทบกับอายตนะภายนอก ตอนนี้เรียกว่าเกิดผัสสะ ใจของเราก็จะเกิดสังขารคือความปรุง (ภาวนาอีกแบบหนึ่งที่ไม่ตรงกับปฏิจจสมุปปบาท) ตอนนี้แหละที่ใจเราจะรู้สึกว่ามันกระทบ ถ้าเป็นธรรมารมณ์ที่ทำให้เรามีความสุขใจเราก็จะเป็นสุขและชอบ และอยากให้เกิดขึ้นเสมอ ถ้าเป็นธรรมารมณ์ที่กระทบกระทั่งใจที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ เช่น คำด่าว่า คำดุถูก โดนดูถูกว่าเป็นคนชั้นต่ำ โดนดูถูกว่าเป้นคนชั้นสอง โดนดูถูกว่าเป็นคนไม่มีการศึกษา หือโดนดูถูกว่าเป็นคนไม่ดี เป็นต้น ใจเราก็จะไม่ชอบ ก็คือเป็นทุกข์ ถ้าเราพิจรณาโดยใช้เวลาหน่อยก็ให้เราพิจรณาว่าคำดูถูกหรือคำด่านั้นมันไม่เที่ยง มันเป็นของผ่านมาแล้วก้ผ่านไป มันเป็นทุกข์ คือเป็นของทุกข์ เป็นของที่ไม่จีรังยั่งยืน และมันไม่ใช่เรา เราไม่ใช่คำด่านั้น คำด่านั้นไม่ใช่เรา คำด่านั้นไม่ว่าจะเป็นคำด่าของใครล้วนไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้เราย่อมไม่รับคำด่านั้น แล้วเราก้ปล่อยวางมันเสีย คือเราไม่เก้บมาใส่ใจ เพราะธรรมารมณ์ที่ทำให้เวทนาเราเป็นทุกข์หรือเป็นสุขก็ดี ล้วนไม่ใช่เรา เราก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งสอง พระพุทธเจ้าท่านเคยตรัสไว้ว่า ท่านไม่ยึดมั่นถือมั่นแม้ในพระนิพพาน เพราะอะไร เพราะท่านนิพพานแล้ว ดังนั้น เวทนาที่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ก้ดี สำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมขั้นสูงแล้ว ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่น อันนี้เป้นการภาวนาโดยใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าจะภาวนาสั้นๆลงมาอีก เมื่อมีธรรมารมณ์มากระทบใจ ทำให้เกิดสังขารคือความปรุง (ปฏิจจสมุปปบาท) เวทนาที่เกิดขึ้นเราก้ถอนอุปาทานในเวทนาเสีย ดับสังขารเสีย คือไม่ปรุง มีใจเป้นสมาธิ เราไม่มีอุปาทานในเวทนาทั้งสุขเวทนาและทุกขเวทนา แต่อันนี้เป็นภาษาธรรมะ ไม่ได้หมายความว่าเราปฏิบัติธรรมแล้วมีคนมาเบียดเบียนเราแล้วเราจะถอนทุกขเวทนา อันนั้นไม่ใช่ คนละความหมาย อย่างนั้นเราก้ต้องป้องกันตัว ถ้าเป็นพระอรหันต์ที่ท่านมีฤทธิ์ท่านก้เอาลงนรกก็เท่านั้นเอง คือหมายความว่าเราดับอุปาทานในเวทนาคือไม่ยึดมั่นถือมั่นในเวทนาเสีย ใจเราย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง แล้วเราก็ก้าวไปอย่างสมณะ และเพียรไปเพื่อพระนิพพานนั้นแล.....
     
  15. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    อุบายในการภาวนาหรือการบรรลุธรรม (อย่างหนึ่ง,การบรรลุธรรมมีหลายทางให้เลือกปฏิบัติ) ก็คือพิจรณาลงที่กายเรานี้แหละ พิจรณาตั้งแต่หัวจรดเท้า สำหรับผุ้ปฏิบัติธรรมที่มีเวลามากอยู่แล้วหรือตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ หลวงตาบัวท่านกล่าวว่า ให้ทำตัวเหมือนในโลกนี้มีเราอยู่คนเดียว คือเราไม่ต้องไปยุ่งกับใคร ไม่ต้องไปเพ่งเล็งผู้อื่น ท่านพระอาจารย์ท่านพุทธทาสเคยกล่าวไว้ไม่ใช่หรือว่า เขาจะเลวบ้างก็ช่างหัวเขา ให้เราเลือกดุเฉพาะส่วนที่ดีของเขา คนเราอยากได้อยากดี อยากเด่น อยากดังกันทุกคน ถ้าอยากดังก็ต้องปฏิบัติธรรมให้บรรลุธรรม เมื่อถึงเวลาลาภสักการะจะไหลมาเทมาเองโดยไม่ต้องไปประกาศตัว ธรรมดามันเป้นอย่างนั้น เพราะพุทธศาสนิกชนนั้นหุไวตาไว ใครปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเขาจะแห่แหนไปกราบไปไหว้เอง ให้ใจเย็นๆ เด๋วได้เกิดกันทุกคน แต่ตอนนี้ให้ท่องลงที่กายนครก่อน ภาษาธรรมท่านเรียกว่ากายคตายสติ คือสติอันเป้นไปในกาย เพ่งลึกสุดจนเห้นโครงกระดูก แล้วเอากระดุกไปเผาแล้วเอาเถ้าถ่านไปลอยอังคาร พิจรณาให้เห็นเป้นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา หลายท่านก้เก่งกว่าผม เชิญกล่าวเสริมนะครับ ผมแนะนำไว้แต่เพียงเท่านี้ สรุปคือให้ดุที่กายตนเป้นสำคัญ อันนี้แหละเรียกว่าอารมณ์กรรมฐานล่ะ ทำบ่อยๆจะเกิดความเคยชิน อารมณ์ชินหลวงพ่อฤษีลิงดำท่านเรียกว่าฌาณ เมื่อท่องกายนครแล้วก้ต้องมีดำริออกจากกามควบคู่กันไปด้วย อย่าให้ฟุ้งซ่าน ใครที่ฟุ้งซ่านหรือตรึกวิตกเรื่องกามมากแนะนำให้ทำสมถะกรรมฐานก่อนเจริญวิปัสสนานะครับ สาธุ
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    [๘๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกาย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกาย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    ...พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนา ..... ฯลฯ
    ... พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิต .......ฯลฯ
    ... พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐาน.

    [๘๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน.

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��
     

แชร์หน้านี้

Loading...