สติปัฏฐาน 4 ข้อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 12 พฤษภาคม 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    [FONT=&quot](สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ , สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)[/FONT]


    [FONT=&quot]มรรคมีองค์ ๘ นั่น เมื่อว่าโดยภาคปฏิบัติจริงแล้วย่นย่อลงเหลือสามเรียก ไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา (เรียกกันสั้นๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา บางแห่งเรียก ศีล สมถะ วิปัสสนา)
    [/FONT]


    [FONT=&quot]แต่กระทู้นี้จะลงเรื่อง สติปัฏฐาน[/FONT]
    [FONT=&quot]หลายท่านสงสัย สติปัฏฐานเกี่ยวอะไรกับองค์มรรคนั่นเล่า ?[/FONT]
    [FONT=&quot]ตามคำจำกัดความสัมมาสติ ก็ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 จุดนี่เอง[/FONT]


    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;} </style> <![endif]-->
     
  2. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เชิญแสดง ที่คุณเข้าใจและทำมาได้นะครับ.....อย่าคิดเอาหรือตีความจากพระสูตรนะครับ...เชิญว่ามาครับ ผมจะอ่าน และซักถามครับ...
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สัมมาสติ

    คำจำกัดความ

    สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ ๒ ในหมวดสมาธิ จัดเข้าในอธิจิตตสิกขา มีคำจำกัดความในพระสูตร ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ เป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    1) ตามเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลก
    2) ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌาและโทมนัสในโลก
    3) ตามเห็นจิตในจิต มีความเพียรมีสัมปชัญญะมีสติ ปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
    4) ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    (ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๙..)

    คำจำกัดความอีกแบบหนึ่งที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมว่า ดังนี้

    “สัมมาสติ เป็นไฉน ? สติ คือการคอยระลึกอยู่เนื่องๆ การหวนระลึกก็ดี สติ คือภาวะที่ระลึกได้ ภาวะที่ทรงจำไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืม ก็ดี สติ คือ สติที่เป็นอินทรีย์ สติที่เป็นพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ”

    (อภิ วิ.35/182/140; 587/321)


    สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือหลักธรรม ที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ

    1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย
    2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา
    3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต
    4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ,การตามดูรู้ทันธรรม
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ที่กระทู้ http://palungjit.org/threads/จุดเริ่มของฌาน.549585/page-7#post9622138

    บอกวิธีปฏิบัติเบื้องต้นไว้บ้างแล้ว ส่วนกระทู้นี้ จะลงหลักเทียบไว้ด้วย พร้อมกันกับการถกข้อปฏิบัติกันด้วย

    แต่เบื้องต้นบอกก่อนนะครับ ผมยกให้คุณเป็นคนเก่งประจำบอร์ดพลังจิตไปแล้วนะครับ (deejai)
     
  5. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ที่ยกมาคือคำจำกัดความ...เช่นกายในกาย....จำกัดความแปลว่า ย่อมา แต่ยังไม่ขยาย.
    ดังนั้น ช่วยขยายความด้วย ครับ จะดี เพราะส่วนมากคนมันเอา คำจำกัดความนี่แหล่ะ มาตีความของใครของมัน แล้ว เถียงกัน...
     
  6. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เห็นมั้ยความเหมือนกันของสติปัฏฐานคือ...ล้วนเพื่อไร้อภิชชาและโทมนัส(อาสวะทั้งหลายที่เป็นเชื้อแห่งการมีอวิชชา)

    ทีนี้...สติปัฏฐานสี่ มีวิถี หรือกรรมฐานที่เหมือนกัน หมด ก็คือ..สติตามดู....และต้อง...รู้ทัน...ให้ได้...เหมือนกันหมด....ประเด็นที่สำคัญ ตรง รู้ทันนั่นแหล่ะ

    อธิบายกว้างเลยคือ....จะรู้ทันธรรมได้ ต้องรู้ทันจิตมาก่อน จะรู้ทันจิตได้ ต้องรู้ทันเวทนามาก่อน จะรู้ทันเวทนามาได้ ต้องรู้ทันกายมาก่อน....จะรู้ทันกายมาได้ ทั่ว จริง...ต้องมีสงบมาก่อน จะมีความสงบได้ ต้องมีสมาธิมาก่อน จะมีสมาธิมาได้ ต้องละวิตกวิจารมาก่อน...จะละวิตกวิจารได้ ต้องเริ่มต้น ตั้งฌานใหครบองค์5 ให้ได้ก่อน....ถ้าแค่เพียงนั่งสมาธิ ...งูๆปลาๆ....มันก็ไม่ถือว่า เป็นการฝึกสติไงครับ

    ผมไม่นับนะที่ว่า เอาสติดูเวทนาอย่างเดียว ดูจิตอย่างเดียว เลย....ผมไม่นับว่ามันเป็น สติปัฏฐานสี่..หรอกนะ
     
  7. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ทำไม สมัยนั้น คนมันฝึกอะไร ติดสมมุตฺบัญญัติอะไร ทำไมต้องแจกแจง

    สมัยนี้ ผมจะ รวมสรุปความมากกว่า และ..แจกแจงบ้าง เพื่อให้เข้าใจในความหมายที่ตรงกัน

    จะได้เลิกเถียง เพราะแปลใครแปลมัน
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ก่อนจะพิจารณาความหมายของสัมมาสติ ตามหลักสติปัฏฐาน 4 นี้ ควรทำความเข้าใจทั่วๆไป เกี่ยวกับเรื่องสติไว้เป็นพื้นฐานก่อน

    สติในฐานะอัปปมาทธรรม

    สติ แปลกันง่ายๆว่า ความระลึกได้ เมื่อแปลอย่างนี้ ทำให้นึกเพ่งความหมายไปในแง่ของความจำ ซึ่งก็เป็นการถูกต้องในด้านหนึ่ง แต่อาจไม่เต็มความหมายหลักที่เป็นจุดมุ่งสำคัญก็ได้ เพราะถ้าพูดในแง่ปฏิเสธ สตินอกจากหมายถึงความไม่ลืม ซึ่งตรงกับความหมายในทางอนุมัติข้างต้น (ได้ลงไว้ที่ http://palungjit.org/threads/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-5-%E0%B8%A1%E0%B8%B2.549396/page-2) ที่ว่า ความระลึกได้ แล้ว ยังหมายถึง ความไม่เผลอ ไม่เลินเล่อ ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลื่อนลอยด้วย พูดง่ายๆว่า ใจอยู่ ไม่ใจหาย ไม่ใจลอย

    ความหมายของสติ ในแง่ปฏิเสธเหล่านี้ เล็งไปถึงความหมายในเชิงอนุมัติว่า ความระมัดระวัง ความตื่นตัวต่อหน้าที่ ความมีใจพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับสิ่งที่ทำ ภาวะที่พร้อมอยู่เสมอในอาการคอยรับรู้ต่อสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และตระหนักว่า ควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆอย่างไร ซึ่งทำให้เกิดเป็นการดูแล รักษา คุ้มครองไว้ได้


    การทำหน้าที่ของสติ มักถูกเปรียบเทียบเหมือนกับนายประตู ที่คอยระวัง เฝ้าดูคนเข้าออกอยู่เสมอ และคอยกำกับการ โดยปล่อยคนที่ควรเข้าออกให้เข้าออกได้ และคอยกันห้ามคนที่ไม่ควรเข้า ไม่ให้เข้าไป คนที่ไม่ควรออก ไม่ให้ออกไป สติจึงเป็นธรรมที่สำคัญในทางจริยธรรมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นตัวควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นตัวคอยป้องกันยับยั้งตนเอง ทั้งที่จะไม่ให้หลงเพลินไปตามความชั่ว และที่จะไม่ให้ความชั่วเล็ดลอดเข้าไปในจิตใจได้ พูดง่ายๆว่า ที่จะเตือนตน ในการทำความดี และไม่เปิดโอกาสแก่ความชั่ว

    พุทธธรรมเน้นความสำคัญของสติเป็นอย่างมากในการปฏิบัติจริยธรรมทุกขั้น การดำเนินชีวิต หรือการประพฤติปฏิบัติโดยมีสติกำกับอยู่เสมอนั้นมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “อัปปมาท” หรือ ความไม่ประมาท

    อัปปมาทนี้ เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่งสำหรับความก้าวหน้าในระบบจริยธรรม มีความหมายหลักเหมือนเป็นคำจำกัดความว่า การเป็นอยู่โดยไม่ขาดสติ


    ความหมายของอัปปมาท ที่ว่า “การอยู่โดยไม่ขาดสติ” นั้น ขยายความว่า การระมัดระวังอยู่เสมอ ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความเจริญก้าวหน้า ตระหนักดีถึงสิ่งที่จะต้องทำและต้องไม่ทำ ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลยกระทำการด้วยความจริงจัง และพยายามเดินรุดหน้าอยู่ตลอดเวลา กล่าวได้ว่า อัปปมาทธรรมนี้ เป็นหลักความรู้สึกรับผิดชอบขั้นพื้นฐาน

    ในแง่ความสำคัญอัปปมาท จัดเป็นองค์ประกอบภายใน เช่นเดียวกับโยนิโสมนสิการ คู่กับหลักกัลยาณมิตร ที่เป็นองค์ประกอบภายนอก พุทธพจน์แสดงความสำคัญของอัปปมาทนี้ บางทีซ้ำกับโยนิโสมนสิการเหตุผลก็คือ ธรรมทั้งสองอย่างนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน แต่ต่างแง่กัน

    โยนิโสมนสิการเป็นองค์ประกอบฝ่ายปัญญา เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้กระทำการ ส่วนอัปปมาทเป็นองค์ประกบฝ่ายจิต คือ ด้านสมาธิ เป็นตัวควบคุม และเร่งเร้าให้มีการใช้อุปกรณ์นั้น และก้าวหน้าต่อไปเสมอ

    ความสำคัญและขอบเขตการใช้อัปปมาทธรรม ในการปฏิบัติจริยธรรมขั้นต่างๆ จะเห็นได้จากพุทธพจน์ตัวอย่าง ต่อไปนี้

    “ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้าง เรียกว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่า เป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น”

    “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความไม่ประมาทเลย เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป”

    “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความไม่ประมาทเลย”

    “โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความไม่ประมาทเลย”


    แม้ปัจฉิมวาจา คือพระดำรัสครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็เป็นพระดำรัสในเรื่องอัปปมาทธรรม ดังนี้

    "สิ่งทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่ง ขึ้น ย่อมมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่ มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความประไม่มาท"

    "เมื่อดวงอาทิตย์อุทัย อยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัว นำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอริยมรรคมีองค์ ๘ แก่ภิกษุ ฉัน นั้น"

    "ธรรมเอก ทีมีอุปการมาก เพื่อการเกิดขึ้นของอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็คือ ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท...เราไม่เล็งเห็นถึงธรรมอื่นแม้สัก อย่าง ที่เป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งยังไม่เกิด ก็เกิด ขึ้น หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้ เลย ภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ เธอจัก เจริญ จักกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค"

    "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ควรสร้างอัปปมาท โดยฐานะ ๔ คือ

    ๑. จงละกายทุจริต จงเจริญกายสุจริต และจงอย่าประมาทในการ (ทั้งสอง) นั้น
    ๒. จงละวจีทุจริต จงเจริญวจีสุจริต และจงอย่าประมาทในการ (ทั้งสอง) นั้น
    ๓. จงละมโนทุจริต จงเจริญมโนสุจริต และจงอย่าประมาทในการ (ทั้งสอง) นั้น
    ๔. จงละมิจฉาทิฐิ จงเจริญสัมมาทิฐิ และจงอย่าประมาทในการ (ทั้งสอง) นั้น

    ในเมื่อภิกษุละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ฯลฯ ละมิจฉาทิฐิ เจริญสัมมาทิฐิแล้ว เธอย่อมไม่หวาดกลัว ต่อความตายที่จะมีข้างหน้า"

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรสร้างอัปปมาท คือ การรักษาใจด้วยสติ โดยตนเองในฐานะ ๔ คือ

    ๑....จิตของเราอย่าติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ
    ๒. ..จิตของเราอย่าขัดเคืองในธรรมที่ชวนให้เกิดความขัดเคือง
    ๓....จิตของเราอย่าหลงในธรรมที่ชวนให้เกิดความหลง
    ๔....จิตของเราอย่ามัวเมาในธรรมที่ชวนให้เกิดความมัวเมา

    เมื่อจิตของภิกษุไม่ติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ เพราะปราศจากราคะแล้ว ไม่ขัดเคือง...ไม่หลง..ไม่มัวเมาแล้วเธอย่อมไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นไหว ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง และไม่ต้อง เชื่อถือ แม้แต่เพราะถ้อยคำของสมณะ

    ถาม “มีบ้างไหม ธรรมข้อเดียว ที่จะยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์บัดนี้ หรือที่ตาเห็น) และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า หรือที่เลยตามเห็น)
    ตอบ “มี”
    ถาม “ธรรมนั่นคืออะไร?”
    ตอบ “ธรรมนั้น คือความไม่ประมาท”

    “ดูกรมหาบพิตร ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วนั้น สำหรับผู้มีกัลยาณมิตร มีกัลยาณสหาย มีกัลยาณชนเป็นที่คบหา หาใช้สำหรับผู้มีปาปมิตร ผู้มีปาปสหาย ผู้มีปาปชนเป็นที่คบหาไม่...ความมีกัลยาณมิตรนั้น เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว”

    “เพราะเหตุนั้นแล มหาบพิตร พระองค์พึงสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้มีกัลยาณมิตร มีกัลยาณสหาย มีกัลยาณชนเป็นที่คบหา พระองค์ผู้มีกัลยาณมิตรนั้น จะต้องดำเนินจริยาอาศัยธรรมข้อนี้อยู่ประการหนึ่ง คือ ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมทั้งหลาย”

    “เมื่อพระองค์ไม่ประมาท ดำเนินจริยาอาศัยความไม่ประมาทอยู่ พวกฝ่ายใน...เหล่าขัตติยบริวาร...ปวงเสนาข้าทหาร...ตลอดจนชาวนิคมชนบท ก็จะพากันคิดว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ทรงดำเนินจริยาอาศัยความไม่ประมาท ถึงพวกเราก็จะเป็นผู้ไม่ประมาท จะเป็นอยู่ด้วยอาศัยความไม่ประมาทด้วย”

    “ดูกรมหาบพิตร เมื่อพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท ดำเนินจริยาอาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้ตัวพระองค์เอง ก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา แม้พวกฝ่ายใน ก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา ตลอดจนยุ้งฉาง พระคลังหลวง ก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา”

    (สํ.ส.15/381-384/127-129)
     
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ความไม่ประมาท แปลได้ว่า ถ้าเอาสติในกายใจ มาพูด...ก็แปลว่า ไม่เผลอตัว ไม่ลืมตัว ไม่เผลอใจ ไม่ลืมใจ....นั่นเอง...แปลว่า...รู้ตัว

    ใครที่ประมาทอยู่ ก็คือ เผลอคือลืมอยู่ ก็ต้อง มีความรักษาระมัดระวัง เรียกว่า มีศีล มาระวังรักษานั่นเอง

    ในการฝึกสติปัฏฐาน ก็คือ ฝึกเพื่อ ไม่ลืม ไม่เผลอ...ซึ่งก็คือ ไม่ประมาท...อันเดียวกัน
     
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    คำว่าจงเจริญในกาย ในวจี ในมโน ในสัมมา ก็คือ...รักษาในอารมณ์นั้นๆ ด้วยสติ เอาไว้ อย่าให้ สติเผล ขาด หลง...ในสิ่งที่กำลังเจริญ....ถ้าสติเผลอ ขาด หลง แปลว่า ลืมเจริญ นี่คือ ประมาท
     
  11. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เมื่อไม่เผลอ ไม่ลืม ก็คือ ไม่ประมาท

    เมื่อไม่ประมาท คือรู้ตัว ตื่นตัว...เมื่อรู้ตัวตื่นตัว จะกระทำกรรม กาย วาจา ใจ...มันก็จะรู้คุณรู้โทษ ความไม่ให้โทษแก่ตนเองและคนอื่น...เมื่อไม่มีโทษเกิด...ก็คือไม่มีอะไรผิด...เมื่อไม่มีอะไรผิดพลาด...ก็คือ อิสระจาก กรรมที่เคยทำผ่านมา คือไม่มีอดีต คือรู้ตัวอยู่กับปัจจุบัน มันก็ไม่อุปทานมีอนาคต

    เมื่ออิสระจาก อดีต จากอนาคต เพราะรู้ตัวในปัจจุบัน..ก็คือไม่ประมาท ก็อิสระจากปัจจุบันไปด้วย...นี่คือ ผู้เบิกบาน
     
  12. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    มาแปลไทยเป็นไทย กันสักหน่อย

    คำว่า พิจารณากายในกาย.....พึ่งสัมผัสในใจว่า...คือ พิจารณากายที่มี โดยพิจารณาสิ่งที่มีในกายทั้งหมด ทุกสิ่งที่เป็นกาย พิจารณาดูข้างในกาย...นั่นเอง..วา เรารู้ทันในทุกสิ่งที่เป็นกายหรือเปล่า รู้เวทนาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกายทันมั้ย รู้จิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกายทันมั้ย

    ส่วนพิจารณาเวทนาในเวทนา...ก็คือกัน คือ...ให้พิจารณาดูเวทนาที่มี ที่เกิดเวทนามาทั้งหมด คือ รู้ทันในเวทนาที่เกิดขึ้นมาในกายทั้งหมดทุกส่วนของกาย..ดูเวทนาในเวทนาคือ...ดูว่า เฉพาะที่เป็นเวทนานั้น มันเกิดมาดูทันหมดหรือเปล่า ว่าเวทนาที่เกิดทั่วกาย รู้ทันทั้งหมดหรือเปล่า

    ส่วนพิจารณาจิตใจจิต....ก็เหมือนกันคือ...ดูจิต ในจิตที่เกิดขึ้นทั้งหมดว่า จิตทั้งหมดเกิดขึ้นมาได้อย่างไร...พิจารณาจิต ในจิตที่มีทั้งหมด ว่ารู้ทันจิตที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด ทันหรือไม่...จิตทั้งหมดที่เกิดขึ้น มันล้วนเกิดมาได้จากอะไร

    ส่วนพิจารณาธรรมในธรรม ก็คือ ธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น เช่น เวทนากายทั้งหมด จิตหรือความคิดทั้งหมด ที่มันเกิดขึ้นในกายทั้งหมด..ความจริงมันเกิด ขึ้น มันทำงานร่วมกัน อย่างไร...ก็คือ ให้รู้เห็นความจริง ในกายโดยทั่ว ทั้งหมดให้ได้..แบบไม่ให้เผลอ ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ตกหล่น

    ส่วนคำว่า กายนอก กายใน....พระพุทธองค์ คงเอามาพูด จาก ที่ พราหมแถวนั้น นักพรต นักบวชแถวนั้น เขาใช้ภาษาพูดกันมั้ง...พระองค์จึงเอามาพูดมาอธิบาย

    เพราะสติปัฏฐานสี่ คือ สติดูฐานทั้งสี่...พร้อมกัน

    ส่วนเรื่องจิต คำว่าจิต...ก็เหมือนกัน นักบวชสมัยนั้น พราหมสมัยนั้น เขาก็คงจะ เถียงกันในคำว่าจิต..คืออะไร...เหมือนสมัยนี้หรือเปล่านะ

    รูป จิต เจตสิก นิพพาน.....จิต เจตสิกเนี่ย แตกกระจายได้มากมาย...แต่ทั้งหมดที่มันไม่เทียง ล้วนนิพพานได้...แบบนี้หรือเปล่านะ

    สมมุติบัญญัติเหล่านี้ จึง มีมาจนถึง ปัจจุบัน
     
  13. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    อนุโมทนา สาธุครับ นี้แหละทางเอกสายเดียวที่จะออกจากทุกข สาธุ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ

    ขณะประกอบอาชีพการงานก็ต้องใช้ต้องมีสติ คือ ใช้สติปัฏฐาน ดังเรื่องอาจารย์กับศิษย์นี้


    สติโดยคุณค่าทางสังคม

    พุทธพจน์แสดงคุณค่าของสติในเสทกสูตรต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นความหมาย และคุณค่าในทางปฏิบัติที่ใกล้ชิดกันของอัปปมาทกับสติ ช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมทั้งสองข้อชัดเจนยิ่งขึ้น และในเวลาเดียวกัน จะแสดงให้เห็นท่าทีของพุทธธรรมต่อชีวิตในทางสังคม ยืนยันว่า พุทธธรรมมองเห็นชีวิตด้านในของบุคคลโดยสัมพันธ์กับคุณค่าด้านนอก คือ ทางสังคมด้วย และถือว่าคุณค่าทั้งสองด้านนี้ เชื่อมโยงเนื่องถึงกัน ไม่แยกจากกัน และสอดคล้อง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    “ภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นักกายกรรม ยกลำไม้ไผ่ขึ้นตั้งแล้ว เรียกศิษย์มาบอกว่า มานี่แน่ะเธอ เจ้าไต่ไม้ไผ่ขึ้นไปแล้วจง เลี้ยงตัวอยู่เหนือต้นคอของเรา”

    “ศิษย์รับคำแล้ว ก็ไต่ลำไม้ไผ่ขึ้นไปยืนเลี้ยงตัวอยู่บนต้นคอของอาจารย์

    “คราวนั้น นักกายกรรม ได้พูดกับศิษย์ว่า ‘นี่แน่ะเธอ เธอจงรักษาฉันนะ ฉันก็จะรักษาเธอ เราทั้งสองระวังรักษากันและกันไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”

    “ครั้นอาจารย์กล่าวดังนี้แล้ว ศิษย์จึงกล่าวบ้างว่า ‘ท่านอาจารย์ขอรับ จะทำอย่างนั้นไม่ได้ ท่านอาจารย์นั่นแหละ จงรักษาตัวเองไว้ ผมก็จักรักษาตัวผมเอง เราทั้งสองต่างระวังรักษาตัวของเราไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย’

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า: “นั้นเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนั้น ดุจดังที่ศิษย์พูดกับอาจารย์นั่นเอง เมื่อคิดว่า ‘เราจะรักษาตัวเอง’ ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (มีสติไว้) เมื่อคิดว่า ‘เราจะรักษาผู้อื่น’ ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐานเหมือนกัน”

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน”

    “เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นนั้น อย่างไร ? ด้วยการหมั่นปฏิบัติ ด้วยการเจริญอบรม ด้วยการทำให้มาก อย่างนี้แล เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นด้วย”

    “เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน นั้น อย่างไร ? ด้วยขันติ ด้วยอวิหิงสา ด้วยความมีเมตตาจิต ด้วยความเอ็นดูกรุณา อย่างนี้แล เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย”

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคิดว่า ‘เราจะรักษาตน’ ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อคิดว่า ‘เราจะรักษาผู้อื่น ’ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่น เมื่อรักษาคนอื่น ก็ชื่อว่ารักษา ตนเอง”

    (สํ.ม.19/758-762/224-225)
     
  15. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    แปลกันเอาเองโลดเด้อ....ไม่แปลละ

    น่าจะพอเข้าใจ กันได้นะ...อิอิ จะดูหนัง...
    ดิอะเวนเจ้อ...อินเซอเจ้น...สงครามหุ่นเหล็ก คิงสะแมน..ฟาสเจ็ด(ดูในโรงมาละ ดูอีก)
    สกินเทรดคู่ฟัดอันตราย เทคเคนสาม นักฆ่าเอดโพดัม ฟิวรี่ กรัสุนเพื่อค่าน้ำตาเพื่อเทอ

    โอ้ย หลายเรื่อง
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    บทบาทของสติในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือการกำจัดอาสวกิเลส

    อัปปมาท คือความไม่ประมาทนั้น หมายถึง การมีชีวิตอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือการใช้สติอยู่เสมอ ในการครองชีวิต อัปปมาท เป็นตัวการทำให้ระมัดระวังตัว ป้องกันไม่ให้พลาดตกไปในทางชั่วหรือเสื่อม คอยยับยั้งเตือนไม่ให้เพลิดเพลินมัวเมาลุ่มหลงสยบอยู่ คอยกระตุ้น ไม่ให้หยุดอยู่กับที่ และคอยเร่งเร้าให้ขะมักเขม้น ที่จะเดินรุดหน้าอยู่เรื่อยไป ทำให้สำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ โดยตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ทำแล้วและยังมิได้ทำ และช่วยให้ทำการต่างๆ ด้วยความรอบคอบ จึงเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในระบบจริยธรรม ดังได้กล่าวแล้ว

    อย่างไรก็ดี ความสำคัญของอัปปมาทนั้น เห็นได้ว่าเป็นเรื่องจริยธรรมในวงกว้าง เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติทั่วๆไปของชีวิต กำหนดคร่าวๆตั้งแต่ระดับ ศีล ถึง สมาธิ ในระดับนี้ สติทำหน้าที่แทรกแซงพัวพัน และพ่วงกันไปกับองค์ธรรมอื่นๆ เป็นอันมาก โดยเฉพาะจะมีวายามะหรือความเพียรควบอยู่ด้วยเสมอ

    ครั้นจำกัดการพิจารณาแคบเข้ามา กล่าวเฉพาะการดำเนินของจิต ในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือการใช้ปัญญาเข้าชำระล้างภายในดวงจิต อัปปมาท ก็กลายเป็นตัววิ่งเต้น ที่คอยเร่งเร้าอยู่ในวงนอก

    เมื่อถึงขั้นนี้ การพิจารณาจึงจำกัดวงขอบเขตจำเพาะเข้ามา เป็นเรื่องกระบวนการทำงานในจิตใจ และแยกแยะรายละเอียดซอยถี่ออกวิเคราะห์เป็นขณะๆในระดับนี้เอง ที่สติ ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ และเด่นชัด กลายเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญ ที่เรียกโดยชื่อของมันเอง (ตัวอย่าง เช่น สติปัฏฐาน สตินทรีย์ สติพละ สติสัมโพชฌงค์ พุทธานุสติ กายคตาสติ...)

    ความหมายที่แท้จำเพาะตัวของสติ อาจเข้าใจได้จากการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของสติ ในกรณีที่มีบทบาทของมันเอง แยกจากองค์ธรรมอื่นๆอย่างเด่นชัด เช่นในข้อปฏิบัติที่เรียกว่า สติปัฏฐาน เป็นต้น

    ในกรณีเช่นนี้ พอจะสรุปการปฏิบัติหน้าที่ของ สติ ได้ดังนี้

    ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของสตินั้น คือ การไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่ปล่อยอารมณ์ให้ผ่านเรื่อยเปื่อยไป หรือไม่ปล่อยให้ความนึกคิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ แต่คอยเฝ้าระวัง เหมือนจับตาดูอารมณ์ที่ผ่านมาแต่ละอย่าง มุ่งหน้าเข้าหาอารมณ์นั้นๆ เมื่อต้องการกำหนดอารมณ์ใดแล้ว ก็เข้าจับดูติดๆไป ไม่ยอมให้คลาดหายคือนึกถึง หรือระลึกไว้เสมอ ไม่ยอมให้หลงลืม *

    มีคำเปรียบเทียบว่า เหมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ หรือเหมือนนายประตู เพราะเฝ้าอายตนะต่างๆที่เป็นทางรับอารมณ์ตรวจดูอารมณ์ที่ผ่านเข้ามาๆ ปทัฏฐาน หรือ เหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดสติ ก็คือ สัญญา ที่มั่นคง หรือสติปัฏฐานต่างๆที่จะกล่าวต่อไป

    พิจารณาในแง่จริยธรรม จะมองเห็นการปฏิบัติหน้าที่ของสติได้ทั้งในแง่ปฏิเสธ (negative) และในแง่อนุมัติ (positive)

    ในแง่ปฏิเสธ สติเป็นตัวป้องกัน ยับยั้งจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้ก้าวพลาด ไม่ให้ถลำลงไปในธรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ยอมให้ความชั่วได้โอกาสเกิดขึ้นในจิต และไม่ยอมให้ใช้ความคิดผิดทาง

    ในแง่อนุมัติ สติเป็นตัวควบคุมตรวจตรากระแสการรับรู้ ความนึกคิด และพฤติกรรมทุกอย่าง ที่อยู่ในแนวทางที่ต้องการ คอยกำกับจิตไว้กับอารมณ์ที่ต้องการ และจึงเป็นเครื่องมือสำหรับยึด หรือเกาะกุมอารมณ์อย่างใดๆ ดุจเอาวางไว้ข้างหน้าจิต เพื่อพิจารณาจัดการ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป

    ในทางปฏิบัติของพุทธธรรม เน้นความสำคัญของสติมาก อย่างที่กล่าวว่า สติจำปรารถนา (คือ ต้องนำมาใช้) ในกรณีทั้งปวง เป็นทั้งตัวการเหนี่ยวรั้งปรามจิต และหนุนประคองจิต ตามควรแก่กรณี

    เมื่อนำลักษณะการทำหน้าที่ของสติ ที่กล่าวแล้วนั้นมาพิจารณาประกอบ จะมองเห็นประโยชน์ที่มุ่งหมายของการปฏิบัติฝึกฝนในเรื่องสติ ดังนี้

    1. ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้ และกระแสความคิดเลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ ตรึงกระแสความคิด ให้นิ่งเข้าที่ และทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

    2. ทำให้ร่างกายและจิตใจ อยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า เป็นตัวของตัวเอง เพราะมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุขโดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกอย่างได้ผลดี

    3. ในภาวะจิตที่เป็นสมาธิ อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด ทำขอบเขตการรับรู้และความคิดให้ขยายออกไป โดยมิติต่างๆ หรือให้เป็นไปต่างๆได้

    4. โดยการยึด หรือจับเอาอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณา วางไว้ต่อหน้า จึงทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญา ดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่ เท่าที่เป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมปัญญาให้ เจริญบริบูรณ์

    5. ชำระพฤติกรรมต่างๆ ทุกอย่าง (ทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) ให้บริสุทธิ์ อิสระ ไม่เกลือกกลั้วหรือเป็นไปด้วยอำนาจตัณหา อุปาทาน และร่วมกับสัมปชัญญะ ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไปด้วยปัญญา หรือเหตุผลบริสุทธิ์ล้วนๆ

    ประโยชน์ข้อที่ 4 และ 5 นับว่าเป็นจุดหมายขั้นสูง จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ ซึ่งตามคำจำกัดความในข้อสัมมาสตินี้ ก็ได้แก่ สติปัฏฐาน 4

    .........

    อ้างอิง *

    มีคำเปรียบเทียบว่า สติ ไม่ได้มีความหมายตรงกับ ความจำ ทีเดียว แต่การระลึกได้ จำได้ (recollection หรือ remembrance) ซึ่งเป็นอาการแสดงออกของความจำ ก็เป็นความหมายแง่หนึ่งของสติด้วย และความหมายในแง่นี้ จะพบใช้ในที่หลายแห่ง เช่น ในคำว่า พุทธานุสติ เป็นต้น แต่ในความหมายที่แท้ เช่นที่กล่าวถึง ณ ที่นี้ มุ่งความหมายตามคำอธิบายข้างบน ซึ่งใกล้เคียงกับที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า mindfulness
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    คุณ sianns ไปไกลกว่าทีผมคาดคิดไว้อีก ผมยอมขอรับ :d(deejai)
     
  18. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมปฏิบัติฌานสมาบัติ โดยเพ่งที่จุดกลึ่งกลางใบหน้า ระหว่างดวงตาทั้งสองข้างที่จุดดั้งจมูกหัก จุดนี้เรียกว่าจุดมโนทวาร อธิบายเป็นฌานก็ตั้งแต่ฌาน 1-9 หรือจะอธิบายไปสู่หลักธรรมอื่นก็ได้ทั้งนั้น
    อธิบายเป็นสติปัฏฐานสี่ การปฏิบัติคล้ายแบบรถ 4 ผลัด
    1.จุดเพ่งเป็นธาตุสี่เมื่อเพ่งเข้าย่อมเป็นกายานุปัสสนา ฌาน1-4 เต็มฌานที่4 ละรูปแต่เวทนาที่จุดปราฏอยู่
    2.เมื่อเพ่งแล้วเกิดเวทนาตามหลักที่ปฏิบัติเวทนาที่เป็นองค์ฌานจะเกิดและลงรวมที่จุดตรงนี้เป็นเวทนานุปัสสนา เริ่มตั้งฌานที่1-8
    3.ในอรูปฌานจะปรากฎตัวนามรูปให้เห็น เด่นชัดที่ฌาน 6- 8 ดับไปเมื่อเข้าฌานที่ 9 ตัวนามรูปเป็นตัวปรุงแต่งของจิต เป็นจิตตานุปัสสนา
    4.สภาพธรรมทั้งกุศลและอกุศลทั้งสภาพการดับไปแห่งนามรูป ทำให้วงจรของปฏิจจสมุปบาทขาดสบั้น ตรงนี้เป็นธรรมมานุปัสสนา การบรรลุธรรมสู่อริยะบุคคลอยู่ที่ฌาน9 แล้วแต่สภาพการดับ
    โดยส่วนตัวมาได้เพียงฌานที่8 ที่เห็นก็ได้เห็นบางส่วน
    ยินดีให้ถาม ยินดีจะตอบตามที่รู้เพื่อเป็นประโยชน์เท่านั้น หากไม่เป็นประโยชน์ ก็จะไม่ตอบครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2015
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

    สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ บ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกำกับอยู่ บ้าง ฯลฯ ว่าโดยหลักการก็ คือ การใช้สติ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด ดังความแห่งพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน ๔"

    (ที.ม.10/273/245 ฯลฯ)

    การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌาน อย่างที่จะกล่าวถึงในเรื่องสัมมาสมาธิอันเป็นองค์มรรคข้อที่ ๘ ก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้

    วิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมาก พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร

    จากการศึกษาคร่าวๆ ในเรื่องสติปัฏฐานต่อไปนี้ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดีขึ้น ทั้งในแง่สาระสำคัญ ขอบเขตความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝนปฏิบัติ โดยสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป ว่าเป็นไปได้ และมีประโยชน์เพียงใด เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ ไม่ได้มุ่งศึกษาเรื่องวิปัสสนาโดยตรง คงมุ่งเพียงให้เข้าใจวิปัสสนา เท่าที่มองเห็นได้จากสาระสำคัญของสติปัฏฐานเท่านั้น

    สติปัฏฐาน ๔ มีใจความโดยสังเขป คือ

    1. กายานุปัสสนา การพิจารณากาย หรือตามดูรู้ทันกาย

    1. 1 อานาปานสติ คือไปในที่สงัด นั่งขัดสมาธิ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยอาการต่างๆ
    1.2 กำหนดอิริยาบถ คือ เมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ๆ ก็รู้ชัดในอาการ ที่เป็นอยู่นั้นๆ
    1.3 สัมปชัญญะ คือ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำทุกอย่าง และความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เช่นการก้าวเดิน การเหลียวมอง การเหยียดมือ นุ่งห่มผ้า กิน ดื่ม เคี้ยว ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะการตื่น การหลับ การพูด การนิ่ง เป็นต้น
    1.4 ปฏิกูลมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้าซึ่งมีส่วนประกอบที่ไม่สะอาดต่างๆ มากมายมารวมๆ อยู่ด้วยกัน
    1.5 ธาตุมนสิการ คือ พิจารณากายของตน โดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ
    1.6 นวสีวถิกา คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กัน โดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตาย ใหม่ๆ ไปจนถึงกระดูกผุ แล้วในแต่ละกรณีนั้น ให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตนว่าก็จะต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

    2. เวทนานุปัสสนา การตามดูรู้ทันเวทนา คือ เมื่อเกิดรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดีทั้งที่เป็นชนิดสามิส และนิรามิส ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

    3. จิตตานุปัสสนา การตามดูรู้ทันจิต คือ จิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มี ราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้นฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ ในขณะนั้นๆ

    4. ธัมมานุปัสสนา การตามดูรู้ทันธรรม คือ

    4.1 นิวรณ์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า นิวรณ์ 5 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
    4.2 ขันธ์ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่าง คือ อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
    4.3 อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายใน ภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสัญโญชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่า สัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร
    4.4 โพชฌงค์* คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์ 7 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร
    4.5 อริยสัจ คือ รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร

    ในตอนท้ายของทุกข้อที่กล่าวนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันว่า

    “ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายใน (= ของตนเอง) อยู่บ้าง ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอก (= ของคนอื่น) อยู่บ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอก อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมสิ้นไปในกาย อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไปในกาย อยู่บ้าง

    “ก็แล เธอมีสติดำรงต่อหน้าว่า “มีกายอยู่”* เพียงแค่เพื่อความรู้ เพียงแค่เพื่อความระลึก แลเธอเป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลก” .
    ……….

    อ้างอิง *

    * โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) คือ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา

    * คำว่า “กาย” เปลี่ยนเป็น เวทนา จิต และธรรม ตามแต่กรณี
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

    จากใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวม ทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่าจะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคมหรือ จำเพาะในกาลเวลาใดเวลาหนึ่งโดยเหตุนี้ จึงมีการสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

    ว่าโดยสาระสำคัญ สติปัฏฐาน ๔ บอกให้รู้ว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลทั้งหมดเพียง ๔ แห่งเท่านั้นเอง คือ ๑ ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน ๒ เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ ๓ ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ ๔ ความคิดนึกไตร่ตรอง ถ้า ดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้งสี่แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทานำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม

    จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐานแต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่าในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ ก็คือ “สมาธิ” ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ (เรียกว่าวิปัสสนาสมาธิ อยู่ในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ)


    ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

    1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง และละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)
    2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)
    3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)

    ข้อพึงสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ จะเห็นว่า สัมปชัญญะ คือปัญญานี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ สำหรับที่นี้คือบอกว่า การฝึกในเรื่องสตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

    สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือต่อการกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายอย่างไร สิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร พึงปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิด ใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ

    ข้อความต่อท้าย เหมือนๆกันของทุกข้อที่ว่า มองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไป แสดงถึงการเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์ จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือ การมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง เช่นที่ว่า "มีกายอยู่" เป็นต้น ก็หมายถึง รับรู้ความจริง ของสิ่งนั้นตามที่เป็นอย่างนั้นของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมติ และยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น ท่าทีอย่างนี้ จึงเป็นท่าที่ของความเป็นอิสระ ไม่องอิงอาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เป็นปัจจัยภายนอกและไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน

    เพื่อให้เห็นเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกบาลีที่สำคัญมาแปล และแสดงความหมายไว้ โดยย่อ ดังนี้

    กาเย กายานุปสฺสี แปลว่า "พิจารณาเห็นกายในกาย" นี้เป็นคำแปลตามแบบที่คุ้นๆกัน ซึ่งต้องระวังความเข้าใจไม่ให้เขว แต่ก็พึงเห็นใจท่านที่พยายามแปลกันมา เพราะบางคำบางข้อความนั้น จะหาถ้อยคำที่สื่อความหมายให้ตรงและชัดได้แสนยาก

    ความหมายของข้อความนี้ก็คือ มองเห็นโดยรู้เข้าใจทันความจริงทุกขณะหรือตลอดตลอดเวลา เห็นกายในกาย คือ มองเห็นในกายว่าเป็นกาย หมายความว่า มองเห็นกายตามสภาวะซึ่งเป็นที่ประชุมหรือประกอบกันเข้าแห่งส่วนประกอบ คืออวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ เห็นตรงความจริง และเห็นแค่ที่เป็นจริง ไม่ใช่มองเห็นกาย เป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่นนายนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้ หรือในผมในขนในหน้าตา เห็นเป็นชายนั้นหญิงนี้ เป็นต้น

    เป็นอันว่า เห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดู ตรงกันกับสิ่งที่เห็น คือ ดูกาย ก็เห็นกาย ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบ อยากชม บ้าง เป็นต้น เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า “สิ่งที่ดู มองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้”

    อาตาปี สัมปชาโน สติมา แปลว่า "มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ" ได้แก่ มีสัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ 3 ข้อ ที่ต้องใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์มรรคทั้งหลายทุกข้อ *

    ความเพียรคอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่ ไม่ให้รีรอ ล้า หรือถอยหลัง จึงไม่เปิดช่องให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น แต่เป็นแรง เร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ เจริญยิ่งขึ้น

    สัมปชัญญะ คือ ปัญญา ที่พิจารณา และรู้เท่าทันอารมณ์ที่สติกำหนด ทำให้ไม่หลงใหลไปได้ และเข้าใจถูกต้องตามสภาวะที่เป็นจริง

    สติ คือ การกำหนด หมายตัว คอยจับอารมณ์ไว้ ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน

    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ แปลอย่างสำนวนเก่าว่า กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ คือปลอดไร้ความยินดียินร้ายชอบชัง หมายความว่า เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จิตใจก็จะปลอดโปร่งผ่องใส ไม่มีทั้งความติดใจอยากได้ และ ความขัดใจเสียใจ เข้ามาครอบงำรบกวน

    อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย แปลว่า เธอมีสติดำรงตรงหน้า หรือมีสติพร้อมหน้ากับความรู้ว่า "กายมีอยู่" หรือมีกายเป็นกาย เพียงเพื่อเป็นความรู้ และแค่สำหรับระลึกเท่านั้น คือ มีสติตรงชัดต่อความจริงว่า แค่ที่ว่า มีกายเป็นกาย ไม่ใช่เลยไปเป็นสัตว์ บุคคล หญิง ชาย ตัวตน ของตน ของเขา ของใคร เป็นต้น ทั้งนี้เพียงเพื่อเป็นความรู้ และสำหรับใช้ระลึก คือ เพื่อเจริญสติสัมปชัญญะ หรือ เพื่อให้สติปัญญาเจริญเพิ่มพูน มิใช่เพื่อจะคิดฟุ้งเฟ้อละเมอฝัน ปรุง แต่งฟ่ามเฝือไป

    แม้ในเวทนา ในจิต และในธรรม ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกันนี้

    อนิสฺสิโต จ วิหรติ แปลว่า และเธอเป็นอยู่ไม่อิงอาศัย คือ มีใจเป็นอิสระ ไม่ขึ้น ต่อสิ่งใด ไม่ต้องเอาใจไปฝากไว้กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ บุคคลนั้นบุคคลนี้ เป็นต้น ว่าตามหลัก คือ ไม่ต้องเอาตัณหาและทิฐิเป็นที่อิง อาศัย หรือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐินั้น เช่น เมื่อรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ ก็ รับรู้โดยตรงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ ไม่ต้องอิงอาศัยตัณหา และทิฐิมาช่วยวาดภาพ ระบายสี เสริมแต่ง และกล่อมให้เคลิ้มไป ต่างๆ โดยฝากความคิดนึก จินตนาการ และสุขทุกข์ไว้กับตัณหาและทิฐินั้น เป็นต้น

    น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ แปลว่า อีกทั้งไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก คือ ไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดๆ ไม่ว่า จะเป็นรูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร หรือวิญญาณว่า เป็นอัตตา หรืออัตตนียา เช่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน เป็นต้น

    อชฺฌตฺตํ วา...พหิทฺธา วา...แปลว่า...ภายในบ้าง...ภายนอกบ้าง ข้อความนี้ อาจารย์หลายท่านอธิบายกันไปต่างๆ

    แต่มติของอรรถกถาทั้งหลายลงกันว่า "ภายใน" หมายถึง ของตนเอง "ภายนอก" คือ ของผู้อื่น

    มติของอรรถกถานี้ สอดคล้องกับบาลีแห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขยายความไว้ชัดแจ้ง เช่นว่า

    "ภิกษุตามเห็นจิตในจิต ภายนอก อยู่อย่างไร ? ในข้อนี้ ภิกษุ เมื่อจิตของผู้นั้น มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของผู้นั้นมีราคะ ฯลฯ"



    บางท่านอาจสงสัยว่า ควรหรือที่จะเที่ยวสอดแทรกตามสืบดูความเป็นไปในกาย ใจของคนอื่น และจะรู้ตามเป็นจริงได้อย่างไร เรื่องนี้ขอให้เข้าใจเพียงง่ายๆว่า ท่านมุ่งให้เราใช้สติกับสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง และกำหนดรู้เพียงแค่ที่มันเป็น

    เป็นการแน่นอนว่า ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นๆ เมื่อเราเกี่ยวข้องกับเขา ก็พึงเกี่ยวข้องโดยมีสติ รู้เขาตามที่เขาเป็น และตามที่ประจักษ์แก่ เราเท่านั้น คือ รู้ตรงไปตรงมา แค่ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องแค่ไหนก็แค่นั้น (ถ้ามีญาณหยั่งรู้จิตใจของเขา ก็รู้ตรงไปตรงมาเท่าที่ญาณนั้นรู้ ถ้าไม่มีญาณ ก็ไม่ต้องไปสอดรู้) จะได้ไม่คิดปรุงแต่งวุ่นวายไปเกี่ยวกับคน อื่น ทำให้เกิดราคะบ้าง โทสะบ้าง เป็นต้น ถ้าไม่รู้ หรือไม่ได้เกี่ยวข้องก็แล้วไป มิได้หมายความว่า จะให้คอยสืบสอดตามดูพฤติการณ์ทางกายใจของผู้อื่นแต่ประการใด

    ในทางตรงข้าม เวลาไปพูดกับคนอื่น เขามีอาการโกรธ ก็ไม่รู้ว่าเขาโกรธ แล้วจะมาบอกว่าปฏิบัติสติ-ปัฏฐานได้อย่างไร และสติปัฏฐานจะใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร

    อาจพูดสรุปได้แนวหนึ่งว่า การเจริญสติปัฏฐาน คือการเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งทำให้ภาพตัวตนที่จิตอวิชชาปั้นแต่ง ไม่มีช่องที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิดแล้วก่อปัญหาขึ้นได้

    การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิต วิเคราะห์ ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) สมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐานได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และ ใช้ในยามปรกติเพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะไม่วิจารณ์ความเห็นนั้น แต่จะขอสรุปสาระสำคัญของการเจริญสติปัฏฐานตามแนวความคิดเห็นแบบใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

    (มีต่อ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...