สติปัฏฐาน ๔ : พระอาจารย์ปสนฺโน ภิกขุ ลูกศิษย์หลวงปู่ชา สุภทฺโท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 23 ธันวาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn1.hikiwake.com/scripts/shared/enable.js?si=10186"></SCRIPT>


    พระอาจารย์ปสนฺโน ภิกขุ ได้เมตตานำการปฏิบัติ ‘หลักสูตรพิเศษพระวัดป่า’ ที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๑๗-๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ พระธรรมเทศนาที่ ท่านบรรยายนั้นลึกซึ้งประทับใจมาก คณะศิษย์ขอกราบขอบพระคุณ เป็นอย่างสูงที่พระอาจารย์อนุญาตให้นำมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อ เผยแพร่ออกไปในวงกว้าง อันจะเป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนใน การนำไปปฏิบัติต่อไป ขออนุโมทนาแก่ทุกท่านที่ร่วมในการจัดพิมพ์ เผยแพร่ครั้งนี้

    ขอขอบพระคุณอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ผู้มอบภาพ เขียนฝีมือของท่านมาประดับบนปกหนังสืออย่างงดงาม

    อานิสงส์อันใดที่เกิดขึ้นจากการจัดทำหนังสือเล่มนี้ คณะศิษย์ ขอน้อมถวายเป็นอาจาริยบูชาแด่พระอาจารย์ปสนฺโน ภิกขุ ด้วยความ เคารพศรัทธาเป็นอย่างสูง

    -----------------------------------------------

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นะมัสสามิ

    ต่อจากนี้ไปขอให้ตั้งใจฟังธรรมะกันก่อน การเข้ากรรมฐานก็ เป็นโอกาสที่ดีสำหรับเราทุกคน ในวันนี้อาตมาเองก็ได้ ที่จริงก็เข้ามา สายสักนิด มาตอนเช้าก็ได้ไปร่วมแสดงธรรมเทศนาที่สวนเบญจสิริ และก็ฉันที่โน่น เทศน์ธรรมะในสวนที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ก็เพิ่งมาถึงก่อนบ่ายโมง อาตมาเองก็ยังไม่ทันตั้งหลักเหมือนกัน พวกเราก็ต้องตั้งหลักพร้อมๆ กัน เราเข้ามาปฏิบัติธรรมก็เพื่อ แสวงหาความสงบ และแสวงหาความรู้ความเข้าใจในธรรมะ และก็ อย่างที่ได้กล่าวเมื่อตะกี้ก็ได้ตั้งเป้าหมายในการบรรลุพระนิพพานมันก็เป็นเรื่องที่อาจจะคิดว่าไปตั้งเป้าสูงเกินไปหรือเปล่าหนอ หรือจะได้มั้ย หรือมีมั้ยในโลกคนที่รู้ว่าพระนิพพานคืออะไร แต่เป็นเรื่องที่ เราควรเข้าใจพระนิพพานตามที่พระพุทธเจ้าท่านใช้ ก็เป็นคำศัพท์ที่มี ความหมายที่ใช้ทั่วๆ ไปในภาษาชีวิตประจำวันของชาวอินเดียสมัย ก่อน และก็เป็นการหมายถึงส่วนหนึ่งก็คือ การดับ และอีกส่วน หนึ่งคือความเย็นลง และที่ว่าดับนั้นดับคืออะไร ดับคือดับความร้อน การที่มาปฏิบัติในอาทิตย์นี้ เราก็ควรจะมุ่งหาความเย็นลง การดับ ความร้อน ไม่มากก็น้อย ให้มันเย็นลงสักนิดก็ยังดี มันเป็นเรื่อง เพราะว่าโลกเราและมนุษย์เราก็วุ่นวายมาก เร่าร้อนมาก โอกาสที่จะ ได้สัมผัสความเยือกเย็นและความดับซึ่งความร้อนภายในจิตใจก็เป็น สิ่งที่เราปรารถนากันทุกคน หรือควรจะปรารถนาทุกคน

    ในการปฏิบัติที่เราเข้ามาครั้งนี้ เราก็มาปฏิบัติคล้ายเป็น หลักสูตร คือ เราเข้ามาอยู่ในสถานที่นี้ เราก็จะมีการปฏิบัติอย่าง ต่อเนื่อง คือ ทุกคนที่มา เราก็มาจากต่างบ้าน ต่างคนมี ประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ต่างคนก็อาจจะมีความเข้าใจในการ ปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน แต่ที่เรามาอยู่ร่วมกันคือ เราตั้งอยู่ในพื้นฐาน อันเดียวกัน คือถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นหลัก ถือครูบา อาจารย์เป็นหลักในการแนะนำ ก็อย่างที่เราได้สมาทานมาเรียนวันนี้ เราก็ถือศีลเป็นหลัก คือในอาทิตย์นี้เราอยู่อย่างผู้ทรงศีล และก็เป็นศีล ๘ ซึ่งช่วยให้เรามีความเรียบง่ายในการเป็นอยู่และก็ไม่สับสน ไม่วุ่นวาย เพราะเรายกเว้นจากการเบียดเบียน ยกเว้นจากการเอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ยกเว้นจากการตามกระแสของกาม เรายกเว้นจากการพูด ยิ่งโดยเฉพาะคือในมุสาวาท ไม่ใช่เรายกเว้นจาก การพูดทั้งหมดในศีล แต่ว่าข้อวัตรในการเข้ากรรมฐานเราก็จะงดการ พูดในช่วงนี้ ก็ยิ่งไม่ได้พูดมุสาวาท ไม่ได้พูดส่อเสียด ไม่ได้พูดเพ้อ เจ้อ ไม่ได้พูดหยาบ เพราะว่าไม่ได้พูด ยิ่งดี และเรื่องของการดื่ม ของมึนเมาก็ยิ่งไม่มีโอกาสทีนี้ก็สบาย ยกเว้นจากการรับประทาน อาหารเลยจากเที่ยงไปถึงรุ่งใหม่ ยกเว้นจากการตกแต่ง ยกเว้นจาก การเพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นเครื่องบันเทิง และยกเว้นจากการนั่งและ นอนที่สะดวกสบาย เราอยู่อย่างเรียบง่าย

    คือสิ่งเหล่านี้ช่วยเราในการเป็นผู้อยู่ง่าย เป็นอยู่อย่างง่ายๆ ศีลและข้อวัตรช่วยให้เราอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ อยู่ด้วยกันอย่างเรียบ ง่ายโดยความราบเรียบ เพราะว่าการที่อยู่อย่างผู้ทรงศีล เราก็จะไม่ กระทบกระทั่งกัน เราจะไม่ได้เกิดความขัดแย้งกันอะไร เพราะว่าเรา มุ่งปฏิบัติมุ่งภาวนา เป็นโอกาสสำหรับเราทุกคนที่จะได้สัมผัสการ ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้เป็นโอกาสของเราที่วิเศษมาก โอกาส ที่จะปฏิบัติอย่างต่อเนื่องอาทิตย์หนึ่ง โดยไม่มีอะไรมาแทรกซ้อน ไม่มีอะไรดึงรั้งเราออกไป ก็เป็นเรื่องที่เรียกว่าวิเศษก็ว่าได้ เพราะว่า เรายิ่งมีโอกาสที่จะปฏิบัติธรรม พิจารณาในธรรม เราก็ยิ่งมีโอกาสที่ จะเห็นชัดเจนขึ้น ยิ่งมีโอกาสที่จะสัมผัสภายในจิตใจภายใน ประสบการณ์ของตัวเอง

    ขอให้เราทุกคน ตั้งอกตั้งใจที่จะปฏิบัติใน ๗ วันนี้ใน อาทิตย์นี้

    แง่หนึ่งที่มีความสำคัญ ก็คือการพูดกัน ก็จะได้คุยกันใน ภาคเช้าในเรื่องการพูดกันคุยกัน คือขอให้งดในช่วงนี้ โอกาสที่จะได้ พูดได้คุยกันตามวันธรรมดาๆ มากทีเดียว เราก็ใช้เวลานี้ในการพัก ผ่อนจากการคุยกัน เพื่อให้จิตของเรามีโอกาสทำงานภายใน เรา ทำงานโดยการภาวนา โดยการปฏิบัติ โดยการฝึกหัด โดยการ ศึกษาจิตใจของตัวเอง

    นอกจากนั้นคือ เราก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ภาวนาคือ เราพูด ในแง่ศีลก็เป็นแง่หนึ่งที่เรางดเว้นจากสิ่งที่จะทำให้จิตใจไขว้เขวอยู่ แต่ในโอกาสนี้เวลานี้เรามีโอกาสที่จะภาวนา เรามีโอกาสที่จะทำ เรา มีโอกาสที่จะได้ทำกรรมฐานอย่างเต็มที่ จะเดินจงกรมก็ดี จะนั่ง สมาธิก็ดี จะทดลองหรือจะฝึกหัดในเรื่องอานาปานสติก็ดี การ พิจารณาในข้อธรรมะต่างๆ ก็ดี เรามีโอกาสเต็มที่ ไม่มีอะไรขัดขวาง เลย นอกจากความวุ่นวายและความขี้เกียจของตัวเอง เลยเป็นส่วน ที่น่าภาคภูมิใจ เราก็มีโอกาสภาวนา มีโอกาสฝึกจิตของเจ้าของ เรา ก็ควรจะถือโอกาสในครั้งนี้ เพื่อให้ความสำคัญกับการภาวนา
    ภาวนา ก็เป็นคำศัพท์หนึ่งที่ใช้สำหรับการฝึกตัวเอง ภาวนาแปลว่าทำให้เจริญ แต่มันหมายถึงการทำให้จิตใจเจริญ เจริญด้วยสติ เจริญด้วยปัญญา เจริญด้วยสมาธิ และเวลาเราได้ กรรมฐาน เราใช้คำศัพท์ว่าวิปัสสนากรรมฐาน
    กรรมฐานก็เป็นคำศัพท์ที่หมายถึงพื้นฐานหรือบาทฐานของ การกระทำ เป็นคำศัพท์ง่ายๆ กรรมฐาน กรรมะ ก็เป็นคำศัพท์ เดียวกันกับที่เราเรียกกรรม ปกติเวลาเราใช้คำศัพท์ว่ากรรม เราก็นึกว่ามันเหมือนกับมันมีกรรมมาตาม กรรมอะไรที่เราไม่ปรารถนา ความชั่วมาตาม มันไม่ค่อยนึก มีอะไรดีขึ้นมา คนไม่ค่อยนึกว่า เป็นกรรม นึกว่าเทวดามาโปรดหรืออะไรมาโปรด นึกว่าพระเจ้ามา ช่วยอย่างนี้ มันไม่เห็นว่าเป็นกรรม

    แต่ที่จริงทั้งดีทั้งชั่ว ก็เป็นกรรมทั้งนั้น เพราะว่ากรรมที่จริง เป็นคำศัพท์ง่ายๆ เป็นคำกริยาที่แปลว่าการกระทำ การกระทำ ทั้งหมดก็เป็นกรรม แต่โดยปกติเราก็มีการกระทำที่ไม่ค่อยมีหลักเท่า ไหร่ ไม่ค่อยมีพื้นฐานเท่าไหร่ ทำไปก็มีความสุขบ้าง มีความทุกข์ บ้าง มีความสงบบ้าง มีความวุ่นวายบ้าง กรรมฐานคือการทำให้ มีฐาน ทำให้มีพื้นฐานที่มั่นคงหน่อยในการกระทำของเรา เพื่อให้ มันมีเป้าหมายก็คือความสงบ เป้าหมายคือความรู้ที่แท้จริง คำ ศัพท์ที่ใช้ในการฝึกหัดตัวเองคือกรรมฐานก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ควร สนใจในการฝึกการหัดตัวเอง

    แม้แต่วิปัสสนา ถ้าแปลโดยตรงวิปัสสนาแปลว่าความรู้แจ้ง โดยปกติคำศัพท์ที่ใช้วิปัสสนากลายเป็นวิธีการหรือวิธีหนึ่งในการนั่ง สมาธิ แท้จริงมันหมายถึงผลของการปฏิบัติ ผลที่เกิดขึ้นเวลาปฏิบัติ ให้ถูกต้อง เพราะว่าได้เกิดความรู้แจ้ง วิปัสสนาก็มีความรู้แจ้งขึ้นมา

    การปฏิบัติของเรา การภาวนาของเรา กรรมฐานของเราก็ ควรจะเป็นไปเพื่อความรู้แจ้ง ภาวนาไปปฏิบัติไปยิ่งสับสนยิ่งวุ่นวาย ไม่ค่อยเป็นวิปัสสนา บางทีเป็นวิปัสสนึก นึกไปวุ่นวายเลย นึกไปปรุงไปแต่ง นึกไปตามคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่ว่าเราก็ต้องกลับมาที่หลักความรู้แจ้ง ที่จะรู้แจ้งนั้นเราก็ต้องพยายามทำให้จิตใจ สงบ ความสงบจะต้องเกิดขึ้น อาศัยพื้นฐานของการฝึกให้มีสติ

    บางครั้งคนเราคิดว่าความสงบต้องเกิดจากการบังคับจิตของ เราไม่ให้มีการคิด ไม่ให้มีการนึก ไม่ให้มีอารมณ์ ไม่ให้มีความรู้สึก คือถ้าเราถือว่าอย่างนั้น การปฏิบัติของเรา การทำให้จิตสงบโดยการ พยายามที่จะบังคับไม่ให้มีการคิดนึกเลย ไม่ให้มีความรู้สึกเลย ไม่ ให้มีอารมณ์เลย จึงจะได้สงบ อย่างนี้ยิ่งเครียดใหญ่ ยิ่งอึดอัดใหญ่ เพราะว่าไม่เป็นไปตามคำสอนและไม่เป็นไปตามธรรมชาติของจิตเรา

    ส่วนที่สำคัญในการทำจิตให้สงบคือ เราต้องรู้จักทำจิตของ เราให้อิ่มด้วยความสุข อิ่มด้วยความสบาย อิ่มด้วยคุณธรรม ถ้า หากว่าเรายังมีการบังคับจิตในลักษณะที่จะอัดความสงบเข้าไปในจิต โดยหักห้ามความคิดนึก ความรู้สึกต่างๆ อย่างนี้ไม่น่าจะสำเร็จได้ มันจะอึดอัดและก็ไม่สงบ แต่ถ้าหากว่าเราทำสติให้บริบูรณ์ ทำสติ ยกขึ้นมาสู่จิตเสมอ เพื่อให้มีความเข้าใจและรู้เท่าทัน เพื่อให้ชักจูง คุณธรรมขึ้นมาสู่จิตใจของเรา ความสงบก็มีหวังอยู่ มันเป็นเรื่องพื้น ฐานของการฝึกตัวเอง เป็นเรื่องพื้นฐานวิธีที่เรามองดูการภาวนา
    <!--
    -->
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรมะ

    ผู้ฟัง : ขอคำแนะนำ นั่งสมาธิแล้วหลับเลย แก้ไขยังไงเจ้าคะ
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    พระอาจารย์ : คือ ถ้านั่งสมาธิหลับไปเลย ก็มีหลายวิธี วิธี หนึ่งก็คือ อย่าหลับตาไว้เลย ลืมตาไว้ เพราะว่าการนั่งถ้าหากว่าพอได้ มีการสัมผัสเพิ่มขึ้นมากขึ้น ก็ได้ช่วยให้ไม่หลับ ก็เป็นวิธีการที่ช่วย

    อีกแง่หนึ่งที่ต้องทดลองไว้ เวลานั่งสมาธิ เราต้องกำหนด คือ สิ่งที่กำหนดต้องชัดเจนมาก เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แทนที่จะกำหนดที่ปลายจมูก ก็ให้กำหนดทั้งร่างกาย ทั้งที่ปลาย จมูก ที่หน้าอก ที่หน้าท้อง คือเราให้มีความรู้สึกทั่วถึงร่างกาย ลมหายใจเข้าก็ตาม รู้สึกสัมผัสที่ปลายจมูก แล้วก็ลงมาที่หน้าท้อง ลมหายใจออกก็หน้าท้องปลายจมูก คือทั้งร่างกายให้มีการกำหนดที่ กว้างขวางจะดีกว่า แทนที่จะกำหนดในที่ที่แคบหน่อยแล้วก็ละเอียด

    อีกอย่างหนึ่งเราก็ใช้การบริกรรมพร้อมลมหายใจเข้าว่า พุท ลมหายใจออกว่า โธ คือมันเป็นสิ่งที่ให้มีงานทำ ช่วยให้มีงาน ทำเวลาเรากำหนด คือถ้าจิตใจนิ่งเกินไป หรือไม่มีงานทำเพียงพอมันก็หลับ เราก็ให้มีงานทำ หรือลมหายใจเข้าคือ ทำความรู้สึกของลมเข้า เราก็ให้มีการสำนึกทั่วถึงร่างกายว่า แขนของเราเป็นยังไง สันหลังของเราเป็นยังไง เรานั่งเที่ยงตรงมั้ย เราเอียงซ้ายเอียงขวามั้ย เรามีความตึงเครียดภายในร่างกายมั้ย เราหย่อนจนเกินไปมั้ย ขาของเรารู้สึกยังไง คือให้สร้างความรู้สึกทั่วถึงร่างกาย ใช้ร่างกาย เป็นที่กำหนด เพราะถ้าหากว่าเราปฏิบัติ เราต้องอาศัยทั้งกายทั้งใจ ไม่ใช่ว่าเพียงกำหนดที่ใจแล้วก็จะได้สงบ เหมือนเรานั่งก็ต้องอาศัย ร่างกาย เรามีร่างกาย เราก็ต้องกำหนดที่กายด้วย ทั้งกายทั้งใจก็ ทำงานพร้อมกัน

    ถ้าหากว่าใจของเรายังไม่ละเอียดพอเราก็ต้องอาศัยร่างกาย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเราในการภาวนาในการปฏิบัติ เวลาเรานั่งเราก็ ให้มีความรู้สึกทั่วถึง เราก็คอยทบทวนอยู่ตลอด ให้จิตของเรามีการ สังเกต การพิจารณา การทบทวนว่ากายของเราเป็นอย่างไร เพราะ ว่าการนั่งให้เที่ยงตรง ก็เป็นส่วนที่ช่วยให้มีกำลัง ถ้าหากว่าเรานั่ง แล้วก็ปล่อยร่างกายไปเลยมันก็หย่อน เดี๋ยวก็หมด หายไปเลย เราก็ นั่งให้เที่ยงตรงมันก็มีกำลัง เราต้องใช้กำลังที่จะยกร่างกายของเรา ขึ้นมา อย่างเราสังเกตดูพระพุทธรูป อาตมามั่นใจว่าพระพุทธรูปที่ เรากราบเราไหว้ คงนั่งเที่ยงตรง คงจะไม่มีพระพุทธรูปอย่างนี้ (พระ อาจารย์ทำท่าให้ดู) ใช่มั้ย มันไม่เป็นท่าของผู้ปฏิบัติ เวลาเรานั่ง เราก็ให้ร่างกายของเรานั่งให้เที่ยงตรง

    ที่ว่าเที่ยงตรง แต่ว่ายังสบายอยู่ มันพอดีอยู่ ไม่ใช่ว่าเครียด หรือตึงจนเกินไปหรือเกร็งตัว แต่เรานั่งให้สบาย นั่งให้เที่ยงตรง นั่งให้พอดี มันสมดุล เวลาร่างกายของเราสมดุล คือจะมีกำลังกายจะมีกำลังใจ ความง่วงก็จะค่อยหมดไป คืออาศัยกายช่วยใจให้สว่าง

    บางครั้งเราก็เอาเรื่องอื่นมากำหนด บางครั้งเราเอาใจมาช่วย เช่น เรากำหนดแสงสว่างภายในจิตใจของเรา เรากำหนดให้มันสว่าง ให้มันเบิกบาน บางทีเราก็หลับตาก็ได้ แต่เรากำหนดแสงสว่างเช่น ลมหายใจเข้ามันสว่าง มีความสว่างเข้ามาในร่างกายของเรา เข้ามา ในจิตใจของเรา ลมหายใจออกมันก็มีความสว่างรอบตัวเรา เรา กำหนด มันก็เป็นจินตนาการ มันเป็นการคิดนึก ใช้จิตใจของเรา แต่ว่ามันช่วยให้มีกำลังและช่วยให้มีความตื่นภายในจิตใจของเรา การกำหนดความสว่างก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วย

    หรือเรายกข้อธรรมะข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาทบทวน เช่น พระพุทธเจ้าสอนว่าความสำเร็จในการภาวนาหรือในการฝึกจิตก็ อาศัยอิทธิบาท ๔ มันเป็นข้อธรรมะ เราก็ทบทวนข้อธรรมะที่เราเคย ศึกษาที่เรารู้ เช่น เราทบทวนดูอิทธิบาท ๔ พื้นฐานของความ สำเร็จ เราก็อยากสำเร็จทุกคน แต่พระพุทธเจ้าสอนให้เราสำเร็จยังไง เราก็มาทบทวน คิดขึ้นมาในจิตใจว่า ท่านสอนอะไร มีใครรู้หรือ เปล่าอิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ฉันทะ คือ ความ พอใจ มีความอยาก มีความปรารถนา มีความจงใจ อยากจะได้ ความสำเร็จ อยากจะได้ประสบความสำเร็จ วิริยะ คือ ความ พากเพียร ถ้าหากว่าเราอยากจะมีความสงบ มันก็ต้องมีความ พากเพียร ไม่ใช่ว่านั่งปุ๊บมันจะสงบได้ มันก็ต้องมีความพากเพียรจิตตะ คือมันก็ต้องอาศัยจิตที่มาทำงาน วิมังสา ก็ต้องมีการทบทวนใคร่ครวญพิจารณา

    อันนี้เป็นคุณธรรมที่ต้องอาศัยอยู่ ถ้าเราทบทวน จิตของเรา ทำงาน มันก็ไม่มีโอกาสที่จะง่วง ก็เป็นส่วนที่ช่วย

    อีกอย่างหนึ่งถ้าหากว่าง่วงจริงๆ ทำอะไรก็ไม่เห็นหายง่วงสักที ก็อย่าไปปล่อยให้นั่งง่วง ยืนขึ้นมาก็ได้ ยืนดูลมหายใจเข้าลม หายใจออก ยืนทำกรรมฐาน ทำได้ หรือไปเดินจงกรม ทำได้ คือ บางคนคิดว่ายังไงนั่งก็ต้องนั่ง แต่ถ้านั่งง่วง นั่งจิตใจสะลึมสะลือ จิตใจไม่เบิกบาน คือนั่งเท่าไหร่ ไก่มันก็นั่งฟักไข่เท่าไหร่หลายชั่วโมง แล้วไม่เห็นเกิดสมาธิเกิดปัญญาสักที ถ้านั่งไม่มีหลักในธรรมะมันก็ จะไม่ได้ผลอะไร นั่งก็ได้นั่งละ แต่ว่าไก่ก็นั่ง เป็ดก็นั่ง หมาก็ยังนั่ง เราก็ไม่ได้แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ เราเป็นสัตว์มนุษย์ แต่เรามีโอกาสที่ จะปฏิบัติธรรม เราก็ทำให้เป็นมนุษย์ที่มีธรรมะอยู่ มนุษย์ที่ฝึกฝนให้ ได้มีสติปัญญา

    แต่ถ้าหากว่าลองแล้ว พระพุทธเจ้าอนุญาตให้กลับไปนอน ท่านสอนทำอย่างนี้ๆ ไม่สำเร็จก็ทำอย่างนี้ๆ ก็ตามที่อาตมาแนะนำ ถ้าหากว่าไม่สำเร็จอะไรสักอย่าง ก็กลับไปพัก

    แต่ว่าพักก็มีหลักการเหมือนกัน ไม่ใช่ว่ากลับไปปล่อยเลย เรานอนตะแคงขวาแล้วก็ตั้งสติไว้ เมื่อไรเราได้พักผ่อนหายง่วงหาย เหนื่อยแล้วจะได้ลุกขึ้นภาวนาต่อ
    <!-- </p>-->
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    นิวรณ์

    เวลาจิตใจมีนิวรณ์ ท่านเปรียบเทียบเหมือนกับลำธารหรือ ห้วยน้ำที่ลงมาจากภูเขา แต่ว่ามันลงมาจากภูเขามันก็ลงมา อย่าง เชี่ยวอย่างเร็ว แต่ว่ามันมีห้วยน้อยๆ หรือมีที่ที่จะระบายน้ำออก ข้างๆ มันระบายออกเรื่อยๆ และมันก็ไม่ค่อยแรง เพราะมันระบาย ออก กระแสน้ำมันจะระบายออกอยู่เรื่อย ออกไปข้างๆ ไม่ค่อยมี แรงเท่าไหร่นัก พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่างนี้แหละเป็นลักษณะของ จิตใจที่มีนิวรณ์ คือกำลังของจิตใจก็จะคอยระบายออกไปข้างๆ ออก ไปนอกๆ ไม่สามารถที่จะมีกำลังเพียงพอ ไม่สามารถมีกำลังที่จะรู้ ประโยชน์ตน ไม่มีกำลังพอที่จะรู้ประโยชน์ของผู้อื่น ไม่มีกำลังเพียง พอที่จะทั้งรู้ประโยชน์ตนทั้งประโยชน์ผู้อื่น และไม่มีกำลังเพียงพอที่ จะได้สัมผัสสิ่งที่เลิศประเสริฐของการเป็นมนุษย์คือความสงบและ วิมุตติสุข

    ส่วนจิตใจที่ไม่มีนิวรณ์ พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบเหมือนกับลำธารและห้วยที่ลงมาจากภูเขา แต่ว่าไม่มีอะไรระบายออกข้างๆ ลง มาอย่างรวดเร็ว เชี่ยวมาก มีกำลัง มีอะไรที่ขวางหน้าก็ถูกพัดไป ด้วย ไม่มีอะไรที่จะขวางหรือทำให้อ่อนกำลังลงได้เลย นี่เหมือนกับ จิตใจของเราที่แก้นิวรณ์ได้ จะเป็นจิตใจที่มีกำลัง จะมีจิตใจที่ไม่มี อุปสรรคเกิดขึ้นเลย ในเวลานั้นจิตมีกำลังมีแรงพอ มันก็มีกำลังพอที่ จะรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ทั้งประโยชน์ตนทั้งประโยชน์ผู้อื่น และก็รู้จักสิ่งที่เลิศประเสริฐของธรรมะหรือสิ่งที่สามารถที่จะได้ใน ฐานะที่เป็นมนุษย์ หรือที่ใช้ภาษาบาลีว่า อุตตริมนุสธรรม คือ ธรรมะที่เลิศประเสริฐ หรือสิ่งที่นอกเหนือจากมนุษย์ธรรมดา คือ มรรคผลนิพพาน หรือสภาพจิตที่สงบ เบิกบานมาก แต่ต้องมีกำลัง ถ้าหากว่าจิตของเรามีกำลังน้อย ก็ยาก เพราะว่าเดี๋ยวก็คิดเรื่องนี้คิด เรื่องนั้น กลับไปกลับมา ขึ้นๆ ลงๆ กับอารมณ์ต่างๆ

    นิวรณ์ที่พระพุทธเจ้าแนะนำ กามฉันทะ คือ ความพอใจใน กาม แต่ว่าเราก็ต้องเข้าใจคำศัพท์ภาษาบาลีที่ว่ากาม มันหมายถึง ความเพลิดเพลินยินดีในสิ่งภายนอกทั้งหมด ไม่มีความหมายแคบ เหมือนกับในภาษาไทย ในภาษาบาลีก็จะใช้คือ เพลิดเพลินยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในสิ่งภายนอกทั้งหมด มีจิตใจที่ประกอบด้วยตัณหาประกอบด้วยความอยากได้ เวลาจิตใจ มีความต้องการสนองอารมณ์เพื่อได้ความสุขสนุกสนานอย่างนั้น มัน ก็อ่อนกำลัง จิตมันไม่มีกำลังเต็มที่

    พระพุทธเจ้ายกเปรียบเทียบเหมือนกับคนที่ติดหนี้สิน คนที่เป็นหนี้มันก็ต้องมีความห่วงมีความกังวล เมื่อไหร่จะทวงหนี้ และก็ ตรงกันข้าม ถ้าหากสามารถจะขจัดหนี้ให้เสร็จสิ้น ไม่เป็นหนี้ใคร มันจะมีความอิ่มเอิบภาคภูมิใจ จิตใจจะมีความสุขไม่ต้องเป็น หนี้ใครเลย เวลาเราเป็นหนี้ เดี๋ยวคนมาทวงหนี้ เราก็อึดอัดลำบาก เป็นทุกข์

    พยาบาท ไม่พอใจ มีความขัดเคือง และอารมณ์ของโทสะ ประกอบด้วย พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบเหมือนคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายไม่สบาย เป็นไข้ เรียกว่ามีโทสะเหมือนกับไข้จริงๆ เพราะว่า ร้อนแรงโทสะร้อน ไม่ใช่ว่าจะสบาย แต่ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะ จัดการกับความไม่สบาย โรคที่มาเบียดเบียน เราหายโรค เราก็ สบาย มีความสุข ก็เหมือนกัน เราจัดการเรื่องโทสะหรือนิวรณ์คือ พยาบาท ถ้าเราจัดการได้ มันก็จะรู้สึกมีความสุข สบาย อิ่มเอิบ เพราะว่าโรคมันไม่เบียดเบียนแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่เป็นไร

    อย่างอาตมานึกถึงครั้งหนึ่งที่อาตมาเองไม่สบาย เป็นไข้สูง มาตั้งนาน เป็นโรคคล้ายๆ ไทฟอยด์ เป็นไข้สูง ๔๐ กว่า ตั้งเกือบ ๑๐ วัน ลำบากมาก วันที่ไข้มันลด และเรารู้สึกว่ากำลังหาย เอ้ มันรู้สึกสบาย ทั้งๆ ที่มันไม่ได้หลับมาตั้งนานหลายวันแล้ว เพราะ ว่าไข้มันสูง หลับไม่ได้ ปวดหัวอย่างแรง เรามีน้ำเกลือ หมอแทง พลาด แทนที่น้ำเกลือเข้าไปในเส้นเลือด มันเข้าไปในกล้ามเนื้อ แต่ ว่าเราได้หลับเป็นครั้งแรก ไม่ได้หลับมาหลายวันแล้วไข้ก็ลด ตื่นขึ้นมาแขนบวมใหญ่เลย ดูแล้วหัวเราะเยาะนะ ยังไงก็ได้ ไข้หมดแล้วคือมันมีความสุข มีอะไรเกิดขึ้นก็ดูแล้วก็ไม่เป็นไร

    นี่เหมือนกัน ถ้าเราสามารถที่จะจัดการเรื่องนิวรณ์ คือ โทสะ มีอะไรเกิดขึ้น ปกติจะเกิดความไม่พอใจ เกิดความรู้สึกว่า อารมณ์ฉุนเฉียว มันก็ไม่เกิด มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่เป็นไร เราก็มีเมตตา ต่อเขาได้ เราก็ไม่เป็นไร คืออะไรๆ ก็ไม่เป็นไรทั้งนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็มีความสุข จิตใจสงบได้ ปัญหาโทสะถ้าให้อภัยไม่ได้แล้วเรื่อง ‘ไม่ เป็นไร’ ไม่ต้องพูดถึงเลย มีแต่จะโกรธเอาทั้งนั้นแหละ แต่อย่างนี้ จิตใจสงบไม่ได้นิวรณ์คือถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน พระพุทธเจ้า เปรียบเทียบเหมือนกับเป็นคนที่อยู่ในเรือนจำ อยู่ในคุก คือ ตราบ ใดที่อยู่ในคุกไม่สามารถที่จะดำเนินชีวิตอย่างปกติ ไม่สามารถดำเนิน ชีวิตที่มีความสุขสบาย ไม่รับรู้โลกภายนอกเลย รู้แต่เรื่องที่อยู่ในคุก เรื่องที่อยู่ในเรือนจำ

    ความง่วงเหงาหาวนอนก็เช่นเดียวกัน คือ ความรู้และความ รู้เรื่องมันแคบลงนิดเดียว คิดแต่เรื่องทำยังไงจะหลับได้ ทำยังไงจึง จะได้พักได้ ทำยังไงจึงจะได้หาที่มุดเข้าไปนอนได้ อย่างนี้รับรู้มัน น้อยมาก ไม่ใช่อยู่อย่างสบาย
    ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะจัดการเรื่องจิตใจที่ชอบง่วงชอบที่ จะมีอารมณ์ที่สะลึมสะลือไม่เบิกบาน ถ้าเราจัดการได้ คือ มันจะ ปลอดโปร่งมากเหมือนกับคนที่เคยอยู่เรือนจำเป็นเดือนเป็นปี พอออกมาจะมีความรู้สึกเบา สบาย จะมีความสุขมาก จะได้กลับไปสู่โลกปกติ จะไม่อยู่อย่างจำกัดอย่างคับแคบ จิตใจที่มีความง่วง มี ความมืดมนครอบงำ เป็นจิตใจที่แคบไม่ปลอดโปร่งเลย

    แต่การฝึกหัดจัดการเรื่องนิวรณ์ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีจิตที่ ปลอดโปร่ง เราก็ต้องฝึกให้เห็นความสำคัญของการแก้ไขนิวรณ์ เพราะว่าถ้าเราแก้ไขได้ เหมือนออกจากเรือนจำเราก็มีความสุข

    กุกกุจจะ อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน พระพุทธเจ้าเปรียบ เทียบเหมือนกับคนที่เป็นทาสคือ ต้องรับใช้คนอื่น ไม่สามารถที่จะ ดูแลตัวเอง คือ จะต้องเฝ้าดูคนอื่นตลอด เป็นทาสเขา ก็คือใน ฐานะที่เราฟุ้งซ่าน หรือเมื่อไหร่ที่เราฟุ้งซ่านมีแต่คิดนี่คิดนั่น คือเรา ไม่สามารถที่จะดูแลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง เรามีแต่จะคิดปรุงแต่ง เรื่องข้างนอกบ้าง เรื่องคนอื่นบ้าง เรื่องต่างๆ ที่ไม่ค่อยเป็นสาระเท่า ไหร่ เหมือนกับเราเป็นทาสของอารมณ์ ทาสของความคิด ไม่เป็นผู้ มีความอิสระเลย นักปฏิบัติถ้าเราสามารถที่จะแก้ไขได้ พระพุทธเจ้า เปรียบเทียบเหมือนกับใครที่เคยเป็นทาสแล้วได้รับความเป็นอิสระ ผู้ ที่ได้รับความอิสระไม่เป็นทาส เขาก็จะมีความสุขความสบาย เขาจะ มีอิสระของตัวเอง จะไปไหนทำอะไรที่เป็นธุระส่วนตัว ที่เป็น ประโยชน์ของตัวเอง ที่เป็นประโยชน์ของผู้อื่นที่ตนเองพอใจที่จะทำ ก็ทำได้ทั้งนั้น ก็มีความสุข เป็นเรื่องที่ทำให้ความสบายเกิดขึ้น ใน การภาวนาเราก็ฝึกหัดให้พ้นจากอำนาจของนิวรณ์ เราก็จะเป็นผู้มี ความสุขมีอิสระเช่นเดียวกัน

    <!-- </p>-->
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรมะ

    ผู้ฟัง : วันนี้เป็นวันจันทร์ที่ ๑๘ ธันวาคม เป็นวันที่ ๒ ของการปฏิบัติธรรม ขณะนี้มีคำถามของผู้ปฏิบัติสอบถามมา ขอ อนุญาตกราบเรียนถามคำถาม คำถามนี้เป็นคำถามที่ค่อนข้างจะ กว้างและคงต้องการคำอธิบายที่ค่อนข้างละเอียดจากพระอาจารย์ คือเรื่องของสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานต่างกันอย่างไร

    พระอาจารย์ : คือชื่อมันต่างกัน ชื่อไม่เหมือนกัน แต่ถ้าพู ดกว้างๆ สมถะก็เป็นเรื่องความสงบ วิปัสสนาก็เป็นเรื่องของการรู้ แจ้งเห็นจริง ส่วนหนึ่งเป็นการทำให้จิตเกิดความสงบภายใน อีกส่วน หนึ่งเป็นการทำงานของปัญญา ถ้าเราพูดในการแยกออก

    แต่อีกแง่หนึ่ง มันต้องอิงอาศัยกัน เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะ ว่าสมถะที่ไม่มีวิปัสสนาก็ไม่ใช่หนทางที่พระพุทธเจ้าแนะนำไว้ วิปัสสนาไม่มีสมถะก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าไม่ค่อยได้แนะนำ ไม่ ค่อยได้พูดถึง ไม่ค่อยมีการแยกออก จึงเป็นเหตุ อย่างอาตมาพูดก็ คงจะไม่ค่อยพูดเรื่องสมถะกับวิปัสสนา พูดเรื่องภาวนาพูดเรื่องกรรม ฐาน พูดเรื่องสติ เพราะเราเห็นว่าหลักที่สำคัญอยู่ตรงนั้น การฝึกสติให้ดี ถ้าฝึกสติอย่างจดจ่อสักหน่อยก็เป็นสมถะ ถ้าฝึกสติด้วยการระลึกถึงสภาวธรรม หรือสภาพของความเป็นจริงก็เป็นวิปัสสนา แต่ ก็เป็นการฝึกสติเช่นเดียวกัน ก็ขอให้เข้าใจและอย่าได้สับสนเลยใน เรื่องชื่อที่เขาเรียกในการปฏิบัติ
    <!-- </p>-->
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ส ติ ปั ฏ ฐ า น

    หลักที่เราใช้ในการภาวนาและปฏิบัติในช่วงนี้ก็คือ สติปัฏ- ฐาน ซึ่งเป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ คนรุ่นหลังเราก็ใช้กันมา๒,๕๐๐ กว่าปี เป็นหลักที่สำคัญอย่างยิ่งที่ควรสร้างความเข้าใจ เวลาพระพุทธเจ้าเองท่านได้สอนสติปัฏฐานสูตร ท่านก็ได้ระบุถึงเป้า หมายที่ท่านตั้งไว้ว่า สติปัฏฐานมีไว้เพื่ออะไร เพราะอะไร ก็มีไว้ เพื่อการทำให้เกิดความบริสุทธิ์ เพื่อได้พ้นจากความเศร้าโศก พ้น จากทุกข์ทั้งปวง เพื่อได้เข้าสู่หนทางที่ถูกต้อง และเพื่อนิพพานใน ที่สุด

    ก็เป็นเป้าหมายที่น่าปรารถนาจริงๆ การฝึกในสติปัฏฐาน เราก็ต้องสำนึกเหมือนกันว่าเป้าหมายคืออะไร เพื่อเป็นกำลังใจ อีก อย่างหนึ่งก็สำนึกในอุบายต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ซึ่งท่านก็ได้ เริ่มต้นด้วยการพิจารณากาย

    ในการพิจารณากาย ท่านก็ยกอานาปานสติขึ้นมาก่อน ให้ผู้ปฏิบัติกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก คือรู้ทุกลมหายใจเข้ารู้ทุก ลมหายใจออก ลมหายใจเข้ายาว รู้ชัดว่าลมหายใจเข้ายาว ลม หายใจออกยาว รู้ชัดว่าลมหายใจออกยาว ลมหายใจเข้าสั้น รู้ชัดว่า ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น รู้ชัดว่าลมหายใจออกสั้น

    อันนี้เป็นพื้นฐานที่ควรจะตักเตือนเจ้าของ หรือเตือนสติของ เจ้าของ การที่ทำให้รู้ชัดภายในจิตใจของเรา ทั้งลมหายใจเข้าทั้งลม หายใจออก ยาวหรือสั้น ปรากฏในลักษณะไหน เราก็ต้องพยายาม ให้มีการรู้ชัด เป็นพื้นฐานของการฝึกหัด

    ในการฝึกต่อไป พระพุทธเจ้าให้เรากำหนดทั่วถึงร่างกาย ซึ่งท่านจะเปลี่ยนคำศัพท์ที่ท่านใช้ คำกริยาจะเปลี่ยนเป็นสิกขะติแทน ที่จะเป็นรู้ชัดว่า...สิกขะตินั้นที่เขาแปลว่าสำเหนียก แต่มันก็สำเหนียก ฝึกฝน มันต้องมีฝึกหัดด้วย เราฝึกหัดให้รู้ทั่วถึงร่างกายของเรา ภาษาบาลีว่าสัพพกายะคือกายทั้งปวง คือบางทีอรรถกถารุ่นหลัง อธิบายว่า...พระพุทธเจ้าหมายถึงเฉพาะลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แต่ถ้าเราดูหลักภาษาบาลีแล้วเทียบกับพระสูตรอื่นๆ ก็จะเห็นว่า คงจะไม่ได้เฉพาะกองลมอย่างเดียว หรือความรู้สึกเฉพาะลมอย่าง เดียว มันหมายถึงทั่วถึงร่างกายของเรา ซึ่งเป็นการเรียกว่าเราฝึกหัด ฝึกฝนสำเหนียกต่อร่างกายของเรา คือเราสามารถที่จะให้สติของเรา กว้างขวางออกไป ถ้ามันแคบจนเกินไปคล้ายๆ ว่า เราต้องมีความ สมดุลทั้งกายทั้งใจ และก็ทั่วถึงร่างกายของเรา เพราะว่าการฝึกหัดของเรามันไม่สร้างความแคบภายในจิตใจของเรา เราก็ต้องอาศัยความทั่วถึงทั้งของสติทั้งของการรู้ เราก็รู้ทั่วถึงร่างกายของเรา ซึ่ง การกำหนดสติคือ เราจะต้องชำนาญในการทำสติ บางครั้งเราก็ต้อง มีสติเฉพาะเรื่อง บางครั้งเราก็มีสติที่กว้างขวางออกไปสักหน่อย จึง ได้รับรู้และทำให้สติสอดคล้องกับการพิจารณาและการรับรู้ในสิ่งที่ เกิดขึ้น

    เช่น ยกตัวอย่างง่ายๆ เรารู้ในร่างกายของเรา ถ้าเรามีการ สังเกตภายในร่างกายของเรา เราก็จะคอยเห็นว่าเรามีความเครียด หรือมีความไม่เครียด เรามีความกังวลหรือมีความสบาย มีความ กลัว หรือมีความอาจหาญ มันจะรู้สึกภายในร่างกาย คือถ้าเราตั้ง สติไว้แคบเกินไป เราดูเฉพาะความรู้สึกที่แคบๆ บางทีอาจจะไม่ได้ สังเกตหรืออาจจะมองข้าม ยิ่งโดยเฉพาะเวลาเราสร้างพื้นฐานของ การปฏิบัติของการภาวนา เราก็ต้องให้สอดคล้องกัน คือ เราต้อง พยายามให้จิตมีความหนักแน่นและการจดจ่อก็จริงอยู่ แต่ว่าเราต้อง สามารถที่จะคอยสังเกตทั้งกายทั้งใจให้พร้อมๆ กัน ซึ่งกายมีส่วนที่ ช่วยให้เราได้รู้พื้นฐานของจิตอีกที

    อย่างเวลาเรานั่ง ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เวลานั่งเราเอากาย ตั้งให้เที่ยงตรง เอามือวางไว้ที่ตัก ก็เอามือวางไว้ เราก็เริ่มต้นนั่ง อย่างนี้ พอนั่งไปสักพักหนึ่ง บางทีสติมันก็พร่า มือก็วางไว้อย่างนี้ กายมันค่อยหย่อนลง ถ้าเราตั้งสติไว้ที่กาย มันก็จะคอยสังเกต เอ๊ะ เราสติเริ่มพร่าแล้ว เริ่มเลื่อนออกจากฐานจริงๆ เราก็ตั้งใหม่ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยประคับประคองสติ มันเป็นสิ่งที่ช่วยให้สติแก่กล้าขึ้นมาภายในจิตใจถ้าเราจดจ่อเฉพาะลม บางทีจิตของเราค่อนข้างละเอียด ลม มันมีหลายระดับที่กำลังจะทำงานพร้อมๆ กัน ในส่วนที่อย่างกาย ของเราตั้งเที่ยงตรงมั้ย คือ บางทีเราสามารถที่จะจับลมได้ เราอยู่ กับลม แต่ว่ากายมันก็เริ่มที่จะปล่อย คือมันเป็นเครื่องหมายว่า สติ เริ่มถอยแล้ว หรือความแก่กล้าของจิตความเบิกบานของจิตมันเริ่ม พร่าเริ่มเลือนออกจากฐานแล้ว ถ้าเจาะเฉพาะลม บางทีมันไม่ทันได้ สังเกต ยิ่งเฉพาะเวลาเราสร้างพื้นฐานของการฝึก เวลาเราเริ่มต้นเรา ก็ต้องมีการสังเกตที่ใกล้ชิด อาศัยกาย กายทั้งปวงหรือทั่วถึงร่างกาย เราต้องคอยสังเกตดู

    แม้แต่ความรู้สึกภายในกาย เราก็คอยดู พอบางครั้งมันมี อารมณ์ที่ค้างไว้ หรือมีพื้นฐานของจิต อย่างเมื่อวานก็พูดเรื่องนิวรณ์ บางครั้งเช่นความโลเลสงสัยหรือความฟุ้งซ่าน มันก็คือจิตมันมี เหตุผลของจิต เราก็เชื่อมานานแล้ว เราก็หลงตามกระแสของเหตุผล ของจิตของตัวเองโดยไม่รู้สึกตัว แต่ถ้าเรากลับมาดูที่ร่างกาย เราก็ จะเห็นว่า เอ๊ กายของเราไม่รู้สึกคลี่คลาย ไม่รู้สึกว่าปลอดโปร่ง สบาย มันมีความอึดอัดบ้าง มีความรู้สึกลมเข้าลมออกมันไม่ได้ สม่ำเสมอ เบาอย่างน่าจะเป็น

    มันจะเป็นเครื่องช่วยให้เราสังเกต เอ๊ เรามีอะไรไว้ตรงนั้น เรามีอะไรที่ควรสังเกต เรามีอะไรที่ควรปล่อยอยู่ตรงนั้น มีอะไรที่ควรแก้ไขที่ตรงนั้น จึงได้เกิด เพราะเราได้ตั้งข้อสังเกตจึงได้เห็นชัดขึ้นอ๋อ เรากำลังจะโลเลในเรื่องนี้ อ๋อ เรากำลังจะมีความฟุ้งซ่านใน เรื่องนี้ มันยังไม่ได้จัดการ คือบางครั้งเราทำจิตสงบกายก็สบาย แต่ บางครั้งเราทำกายสบาย จิตก็สงบ มันอิงอาศัยกัน มันแยกไม่ออก หรอก จึงเป็นเหตุที่ในการปฏิบัติ เราก็ควรจะให้ความสนใจกับข้อนี้ที่ พระพุทธเจ้าสอนให้ดูทั่วถึงร่างกาย สัพพกายะ

    ในภาษาบาลีคำศัพท์ที่ใช้สัพพกายะ ปฏิสังเวที ปฏิสังเวทิ เวทิมันรากศัพท์ของเวทนา คือมันรากศัพท์เดียวกัน เวทนากับปฏิสัง เวทิ ปฏิสังมันเป็นคำที่เพิ่ม เวทิแปลว่าสัมผัส คือสัมผัสอย่าง สมบูรณ์ สัมผัสอย่างเต็มที่ สัมผัสให้มันเข้าลึก มันเป็นคำที่เพิ่ม ความหมาย รากศัพท์มี แต่เพิ่มความหมาย ต้องทำให้มันสมบูรณ์ ต้องทำให้มันดี ขอเจาะลึกหน่อย คำศัพท์มันก็ค่อนข้างจะชัดอยู่ว่า เราต้องสัมผัสอย่างทั่วถึงเข้าใจ ไม่ใช่ว่าผิวเผิน หรือกำหนดอย่างแค่ ผ่านไปๆ เราก็ต้องเจาะลึกหน่อย ก็อย่างที่ว่าสำเหนียกฝึกฝนว่าลม หายใจเข้า เรารู้กายของเราทั่วถึงร่างกายยังไง ลมหายใจออก เรารู้ เราสัมผัส เราฝึกให้มีความรู้ สำเหนียกฝึกฝน

    นี่เป็นครั้งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าแนะนำไว้ ครั้งสุดท้ายในบท พิจารณาลมหายใจเข้าลมหายใจออกของร่างกาย
    กายในภาษาบาลี มันใช้คำศัพท์คนละศัพท์ กายสังขาร ทำ กายสังขารให้สงบ มันต่างกับคำศัพท์ที่ใช้ในบทก่อน ใช้คำว่ากาย สังขาร เวลาพระพุทธเจ้าพูดถึงกายสังขารในสูตรอื่นๆ ท่านจะหมาย

    ถึงอะไร หมายถึงลมเข้าลมออก คือกายและลมหายใจเข้าลมหายใจออกให้สงบระงับอยู่ คือมันเป็นสิ่งที่พอเรามีความรู้ให้ทั่วถึง รู้อย่าง เข้าใจอย่างเจาะลึก รู้อย่างสัมผัสอย่างใกล้ชิด จึงกลับมาที่การ ทำให้สงบทำให้ระงับอยู่ ตัวนี้แหละต้องทำให้มันเป็นขั้นตอนที่ถูกต้อง

    ถ้าเราพยายามให้มีความสงบโดยยังไม่รู้อย่างเจาะลึก ความ สงบมันจะมีความละเอียดที่แตกต่างกัน จะมีผลที่แตกต่างกัน ส่วน ที่เรามีพื้นฐานที่มีสติรอบรู้ภายในร่างกาย ลมหายใจเข้าลมหายใจ ออกอยู่ เราก็ค่อยทำให้มันละเอียดขึ้น เราจับจุดที่จุดใดจุดหนึ่งที่ ปลายจมูกก็ได้ที่หน้าท้องก็ได้ ที่ไหนก็ได้ไม่ว่าหรอก แต่ว่าขอให้เรา เริ่มรวบรวมความละเอียดและความสงบของจิตใจของเรา ขอให้มัน สงบลง เบาลง พยายามให้มีความระงับ ซึ่งการแส่ส่ายของจิต ของเรา รวบรวมอยู่ที่ผู้รู้ ลมหายใจเข้าก็รู้ ลมหายใจออกก็รู้

    เราอยู่ที่ตัวผู้รู้และความรู้สึกของลม แต่ว่าเราจะมีเป้าหมาย ในการทำให้ละเอียดและสงบในเวลานั้น ในขณะนั้น ในที่ที่เรา กำหนดตรงนั้น จบด้วยที่ปลายจมูก เราก็จับความรู้สึกตรงนั้น และ ก็ค่อยให้มีความละเอียดในการสังเกตและความรู้สึกเบา มันสงบมัน สบาย มันปลอดโปร่ง และเป็นความรู้สึกที่นำความสุขให้เข้ามาสู่ จิตใจของเรา เป็นสิ่งที่เรากำลังสัมผัสที่งดงาม

    คือโดยปกติเราก็คิดว่าลมไม่น่าจะงดงามนะ แต่แท้จริงเวลา เราทำจิตให้ละเอียด ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สบาย ทำจิตให้ปลอดโปร่ง มันมีความงาม มีความน่าดูน่าสนใจ เพราะความละเอียดของจิตที่กำลังจะเกิดขึ้น

    ลมหายใจเข้า เราก็มีความสนใจ มีความเอ็นดูกับความ งดงามของความรู้สึก ความงดงามของอารมณ์ ความงดงามของการ สัมผัส คือ มันสบาย มันงดงามทั้งหมด ลมหายใจเข้า ลมหายใจ ออก มันก็มีความเบิกบานภายในจิตใจจริงๆ ทั้งกายก็เบิกบาน ทั้ง ใจก็เบิกบาน ลมหายใจเข้าก็เบิกบาน ลมหายใจออกก็เบิกบาน เบิกบานแล้วก็อย่าปล่อยให้มันเป็นความรู้สึกที่มันปรุงที่มันแต่ง มัน เป็นความรู้สึกที่สงบระงับอยู่ มันสงบมันสบาย มันละเอียด มันนิ่ง มันหนักแน่น ลมหายใจเข้าเราก็มีความหนักแน่นอยู่ ลมหายใจออก เราก็มีความหนักแน่นอยู่ มันไม่อึดอัด มันสงบ หรือทั้งลมหายใจ เข้าทั้งลมหายใจออก เป็นสิ่งที่เราฝึกอยู่ เราสำเหนียกฝึกฝน เพราะ ว่าเดี๋ยวอารมณ์ก็เปลี่ยนเหมือนกัน สติก็ขาด อารมณ์อื่นก็เข้ามา นิวรณ์ก็เกิดขึ้น

    แต่ว่าเราก็รู้อยู่ อ๋อ นี่คือนิวรณ์ เราก็มีวิธี มีทางเลือก ๒ อย่าง คือ แก้ไขตรงที่นิวรณ์ หาอุบาย หรือเพียงแต่รับรู้ นิวรณ์มัน ก็เกิดขึ้น ช่างมันเหอะ เรากลับมาที่การทำจิตให้สงบดีกว่า ซึ่งเราก็ ดูที่ผล บางครั้งก็แค่รับรู้ด้วยสติ มันก็พอ เราก็ตั้งหลักใหม่ ลม หายใจเข้าลมหายใจออก กลับมาด้วยสติที่บริบูรณ์ก็ทำได้ แต่บาง ครั้งถึงจะมาตั้งหลักใหม่ มันก็ไม่อยู่ นิวรณ์มันมากระซิบใส่หูอีกละ มันมาหาเรื่องกับเราอีกแล้ว แต่ว่าเราต้องคอยหาอุบาย หาวิธีการที่ จะทดลองและแก้ไข
    <!-- </p>-->
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ก า ร เ จ ริ ญ เ ม ต ต า

    ในการภาวนาของเรา อย่างหนึ่งที่ควรให้ความสนใจก็คือ เรื่องการดำริไว้ในใจ พระพุทธเจ้าเรียกว่าสังกัปปะ ถ้าเราตั้งข้อ สังเกตไว้ที่ดำริ คือการคิดหรือความตั้งใจของเรา ก็จะคอยสังเกตพื้น ฐานของจิตใจ

    ก่อนอื่นก็ควรเข้าใจว่า มิจฉาสังกัปปะ กับสัมมาสังกัปปะ คืออะไร พระพุทธเจ้าท่านจะระบุไว้คือ ความดำริที่ไม่ถูกไม่ควร มิจฉาสังกัปปะคือ การดำริหรือคิดที่อาศัยกาม การเพลิดเพลินยินดี ในกามอารมณ์ เพราะจะเป็นเหตุยุให้ตัณหาเกิดขึ้น หรือมันคิดด้วย อำนาจของตัณหา และก็พยาบาทสังกัปปะ ความคิดที่อาศัยความ ไม่พอใจ ความขัดเคือง โทสะภายในจิตใจ และวิหิงสาสังกัปปะ คือความคิดที่ดำริในการเบียดเบียนก็มีก็เป็นส่วนหนึ่งของโทสะเช่น เดียวกัน แต่มันก็รุนแรงกว่า และความคิดที่สมควร ความคิดที่ถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบคือเนกขัมมะสังกัปปะ ดำริในการออกจากกาม อพยาบาทสังกัปปะ ดำริที่คิดออกจากอำนาจของ แรงโทสะ หรือความไม่พอใจ แล้วก็อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริที่ไม่ เบียดเบียน

    ก็เป็นเรื่องที่พูดในลักษณะที่ความคิดของเราค่อนข้างจะ หลากหลายมาก แต่พระพุทธเจ้าได้กลับมาให้ความสำคัญที่สุดใน เรื่องความคิดหรือความดำริ ๓ ประการนี้ เพราะว่าเป็นพื้นฐานของ จิตที่จะกุศลหรืออกุศล จะงามหรือไม่งาม จะเป็นประกอบด้วยบุญ หรือประกอบด้วยบาป ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าในเวลาพระพุทธเจ้า ปรารภเรื่องการดำริ ก็แค่ ๓ ประการที่ควรสนับสนุน ๒ ประการที่ เกี่ยวกับการไม่มีโทสะ ไม่มีการคิดเบียดเบียน ไม่มีการคิดด้วย อำนาจโทสะ

    ถ้าเราคิดในแง่มุมกลับ เราพูดเรื่องการคิดที่ไม่เบียดเบียน คิดที่ไม่มีโทสะ ถ้าคิดในแง่บวก ก็คือจิตใจที่มีเมตตา พื้นฐานของ จิตที่พระพุทธเจ้าสนับสนุนให้เราใช้ความคิด ใช้การดำริที่ปรารภ เมตตา ในการภาวนาที่จะทำให้จิตสงบ คือถ้าหากว่าเราคอยสังเกต ความคิดของเรา การดำริของเรา และให้เราระมัดระวังไม่ให้จิตตก อยู่ใต้อำนาจของการเพลิดเพลินในกามหรือเราคิดด้วยเนกขัมมะคือ การปรารภที่จะออกจากกาม ปรารภในสิ่งที่เป็นการสละทิ้งและก็เรา คอยสังเกตและพยายามยกจิตขึ้นไปสู่การดำริด้วยอำนาจของเมตตา จิตของเราก็จะคอยมีกุศลเป็นพื้นฐาน คือเราปรารภเรื่องมรรคเพราะว่าสัมมาสังกัปปะก็เป็นส่วนหนึ่งของมรรคสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะก็เป็นข้อที่ ๒ ในอริยมรรค ๘ ในการระลึกถึงและก็ พยายามให้จิตใจของเราอยู่ในขอบเขตของการปรารภในการดำริที่ งดงาม ในการฝึกจิตของเราเข้าสู่เมตตา มันจะเป็นสิ่งที่มีอำนาจ ช่วยให้เราเกิดความสงบให้จิตใจของเราเกิดความงดงาม จะเป็นจิตที่ สงบง่าย เป็นจิตที่ไม่ลำบากในการตั้งด้วยสมาธิ

    พระพุทธเจ้าเวลาท่านระบุถึงอานิสงส์ของเมตตา คือ อันนั้น เป็นข้อหนึ่งที่ท่านพูดอยู่ อยู่ในสูตรสูตรหนึ่งในอังคุตรนิกาย ท่านพูด ถึงอานิสงส์ ๑๑ ประการของการเจริญเมตตา ข้อหนึ่งก็คือจิตจะ สงบง่ายและเร็ว อย่างที่ถ้าเรามาปฏิบัติมาภาวนา อยากให้จิตสงบ และคนชอบถามวิธีที่เร็วที่สุดและง่ายที่สุดที่จะทำให้จิตสงบ คนชอบ ถามก็ต้องตอบว่า การทำจิตให้เต็มเปี่ยมด้วยความเมตตาคือวิธีที่เร็ว และง่าย คือจะสงบง่าย มันก็เป็นกำลังใจสำหรับพวกเราที่ปรารถนา ฝึกจิตให้เป็นสมาธิ เราก็ต้องคอยดูและคอยให้กำลังใจกับเมตตาจิต ของตัวเอง

    พระพุทธเจ้าท่านชอบพูดถึงอำนาจของเมตตาคือมันเป็นกุศล ที่ค่อนข้างจะแรงกล้าอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบ ในบรรดา การกระทำทั้งหลายที่พาเราเข้าสู่สวรรค์ เมตตาจะเป็นกำลังที่จะพา เราเข้าสู่สวรรค์ เราไม่จำเป็นต้องรอจนตายจึงขึ้นสวรรค์ เออ เราทำ จิตให้อิ่มด้วยเมตตา เต็มด้วยเมตตา เราก็อยู่เหมือนเราขึ้นสวรรค์ ในปัจจุบันในขณะนี้แหละ

    แต่พระพุทธเจ้าท่านเทียบไว้ ถ้าจะดูในกลางคืน แล้วก็ดูดวงดาวต่างๆ คือมันไม่สว่างเท่าพระจันทร์เต็มดวง ท่านก็เทียบการ กระทำทั้งหลาย กุศลทั้งหลายที่จะพาเข้าสู่สวรรค์ มันเทียบไม่ได้ เหมือนกับเมตตาคือมันเด่นกว่ามันงดงามกว่า มันมีแรงกว่ามีกำลัง มากกว่า หรือในกลางวันถึงจะมีความมืดเกิดขึ้นอย่างไร มันก็สู้ กำลังของพระอาทิตย์ไม่ได้ พระอาทิตย์ก็จะทำให้มีแสงสว่างเกิดขึ้น

    เช่นเดียวกันการกระทำทั้งหลายที่จะพาเราเข้าสู่สวรรค์ ก็ เทียบไม่ได้เท่ากับเมตตา เพราะมันแรงกว่า มันมีกำลังมากกว่า ก็ เป็นการคิดและระลึกถึงที่สำคัญ เพราะว่าเราทั้งในชาตินี้ก็ตามอยาก ให้มีจิตสงบอยากให้มีสมาธิ ชาติหน้าอยากจะไปสู่สุคติ เลยทั้ง ปัจจุบันเวลานี้ทั้งอนาคตก็ดี เราก็ต้องดู พระพุทธเจ้ายกเมตตาขึ้น มาเป็นกำลังที่จะพาเราเข้าสู่ที่หมายของเราที่เราปรารถนา

    เราผู้เป็นนักปฏิบัติควรที่จะให้ความสนใจและความสำคัญกับ การฝึกเมตตาของเราการฝึกเมตตาก็มีหลายวิธีการ แต่ส่วนมากอาศัยการยกจิต เข้าสู่เมตตา การสำนึกต่อเมตตาจิต เช่นเราเอ็นดู เราเอื้อเฟื้อ เรา มีความอ่อนโยนภายในจิตใจของเรา และก็พยายามที่จะถนอมไว้ สนับสนุนไว้ เป็นที่น่าสังเกตในบทสวดแผ่เมตตาที่เราสวดประจำ เราก็เริ่มต้นโดย อหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงสุข เราแผ่ ถึงตัวเองเสียก่อน มันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะว่าโดยปกติคน เวลาจะแผ่เมตตามันจะข้ามตัวเอง ขอให้คนโน้นมีความสุข ตัวเองยังทุกข์ยังเร่าร้อนอยู่ จิตใจยังหิวโหยอยู่ เหมือนกับว่าเดินทางโดยไม่มีเสบียง เราก็เดินทางไม่ไกลก็เหนื่อยก่อน หมดแรงก่อน แต่ถ้า หากเราทำเสบียงให้บริบูรณ์ เราเดินทางไปไหนก็สบายมีกำลัง

    เช่นเดียวกัน เวลาเราจะแผ่เมตตา เราก็ต้องแผ่เมตตาให้ตัว เองเสียก่อน ให้ตัวเองระลึกถึงสภาพของจิตของตัวเอง เวลาเราแผ่ เมตตา เรานำสภาพของจิตที่งดงามเข้าสู่ตัวเอง เราก็พยายามที่จะ กำจัดแหล่งโทสะก็ดี อำนาจของการคิดเบียดเบียนหรือคิดจองเวรก็ดี หรือการคิดที่ไม่พอใจต่อคนอื่นก็ดี หรือการเก็บอาฆาตต่อผู้อื่นก็ดี เราก็ต้องดูว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำลายคุณธรรมของตัวเอง เป็นสิ่งที่ ทำลายคุณงามความดีของตัวเอง และก็ต้องทำลายความสงบ ความ สว่าง ความปลอดโปร่งในจิตใจของตัวเอง มันเป็นสิ่งที่ถ้าเรา ปรารถนาความสุขและความสงบคือเรากำลังจะเบียดเบียนตัวเอง กำลังจะขัดขวางต่อความเจริญของตัวเอง สมควรที่จะละแล้ว สมควรที่จะทิ้งแล้ว สมควรที่จะยกจิตเข้าสู่เมตตาเอื้อเฟื้อต่อตัวเอง ทั้งๆ ที่มีเหตุผลมากน้อยแค่ไหนว่าเราก็เคยทำอย่างไร เขาก็เคยทำ อย่างไร เคยมีอะไรเกิดขึ้นในอดีตอย่างนี้อย่างนั้น เรื่องนี้มันสักแต่ ว่าเหตุผลที่เราอ้างอิงหรือพาดพิงสนับสนุนอกุศลมาเบียดเบียนตัวเอง เท่านั้น มันไม่เป็นไปเพื่อความเจริญ ไม่เป็นไปเพื่อความสบายของ ตัวเอง

    เรานึกขึ้นมา อหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ถึงสุข เราก็ต้องเมตตาตัวเองโดยการละและกำจัดแรงอกุศลที่อาศัยโทสะ อาศัยความไม่พอใจ อาศัยการคิดเบียดเบียน หรือคิดทำลายผู้อื่นเราก็จะต้องยกออกจากจิตใจทั้งหมด เพราะเราหวังความเจริญของตัวเอง เราหวังความสุขของตัวเอง ถ้าเราหวังความสุขของตัวเองมัน เกิดไม่ได้ ถ้าเรายังอุ้มไว้ซึ่งความดำริไว้ในใจที่มีโทสะอยู่

    เหมือนกับเรา พอถึงตอนเย็นก็ดี เราร้อน เราเหนียวเหนอะ ร่างกายรู้สึกสกปรก เราอยากจะอาบน้ำ ถ้าเราไปอาบน้ำ แต่แทนที่ จะเอาสบู่มาถู เราก็เอาขี้โคลนมาถู เราก็เอาความสกปรกมาถูตัวเอง ไม่มีใครทำอย่างนั้นเลย ถ้าหวังจะได้ความสะอาด เราก็หาน้ำที่ สะอาด หาสบู่ที่จะชำระร่างกาย ร่างกายจึงจะสะอาดสบาย

    เช่นเดียวกัน ถ้าภายในจิตใจของเรา เราหวังความสงบ เรา หวังความสุข แต่เรายังฉาบทาจิตของตัวเองด้วยความคิด ความ สำนึกระลึกถึงสิ่งที่ประกอบด้วยโทสะ สิ่งที่ประกอบด้วยการ เบียดเบียน สิ่งที่ประกอบด้วยการจองเวร หรือคิดมีความขัดเคือง น้อยใจต่อคนอื่น มันทำให้จิตของตัวเองยังทุกข์อยู่ ยังมีอกุศล ครอบงำ
    การยกเมตตาจิตขึ้นมาเป็นการชำระจิตใจของตัวเอง เป็นการฟอกจิตใจของตัวเอง เพื่อจะได้รับความสุข เพื่อจะได้รับ ความสงบ เพราะว่าแท้ที่จริงก็เป็นสิ่งที่เราปรารถนาอยู่แล้ว ถ้า หากว่าเรามีจิตใจที่ได้เริ่มมีเมตตาต่อตัวเอง เราก็ได้มีความปรารถนา ด้วยความจริงใจ ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงความสุข ขอให้ข้าพเจ้าจง เป็นผู้ไม่มีเวร ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เลย ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีทุกข์ ขอให้ข้าพเจ้ารักษาความสุขไว้

    ความปรารถนานั้นก็ค่อยๆ อิ่มในจิตใจ มีกำลังภายในจิตใจของเรา จิตของเราอิ่ม เราก็สามารถที่จะแผ่ไปถึงผู้อื่น และก็เป็นไป ด้วยความจริงใจ ความเต็มใจ ไม่เพียงแต่คำพูดอย่างเดียว ขอให้ สรรพสัตว์ทั้งหลายได้ถึงความสุขด้วย ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้เป็นผู้ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มี ความทุกข์ ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายรักษาตนให้เป็นสุข คือมันเป็นเอง เหมือนกับเราทำแก้วน้ำ เรารินน้ำใส่ พอเราเติมอีกมันก็ล้นออก เหมือนกัน ถ้าเมตตาเข้ามาสู่จิตของตัวเอง ยิ่งทำให้ตัวเอง มันก็ยิ่ง ล้นออก ยิ่งแผ่ออกไปให้ถึงผู้อื่น

    แต่ถ้าหากยังไม่มีความรู้สึกหวังความสุขต่อตัวเอง มันก็ยาก ที่จะหวังความสุขต่อผู้อื่น เพราะว่าอาจจะพูดได้อยู่ อาจจะคิดได้อยู่ แต่ว่ามันคิดด้วยหน้าที่หรือคิดด้วยความหวัง ถ้าเราทำด้วยจิตใจที่ อิ่มด้วยคุณธรรม มันเป็นด้วยธรรมชาติ และมันเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ จริงๆ มันเป็นส่วนที่เราก็ต้องอาศัยการฝึกการหัด ให้จิตใจของเรายก ขึ้นไปสู่เมตตา

    การที่ทำให้จิตมีเมตตาคือ ทำให้เรามีความมั่นคง ไม่หวั่น ไหว เป็นธรรมชาติของจิตที่มีเมตตา คือถ้าหากว่าคนจะมาพูดยังไง มาว่ายังไง มาทำอะไรกับเรา เราก็มีเมตตาไม่หวั่นไหว คนเขาทำ ด้วยความโง่ ความเขลา ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เราจะไปหวั่นไหว ทำไม เราจะไปกลัวทำไม เราจะไปสงสัยทำไม คือเรารักษาเมตตา ของเรา
    <!-- </p>-->
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรมะ

    ผู้ฟัง : กราบเรียนพระอาจารย์ปสันโนที่เคารพ วันนี้เป็นวัน อังคารที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ เป็นวันที่ ๓ ของการปฏิบัติ มี คำถามเกี่ยวกับที่พระอาจารย์ได้เมตตาอธิบายเมื่อเช้านี้ ก็ยังมีคำถาม เรื่องของการแผ่เมตตา อานิสงส์ต่างๆ จะขอยกคำถามขึ้นกราบเรียน พระอาจารย์นะครับ

    เวลาที่เราเดินทางไปต่างประเทศแล้วแผ่เมตตาให้วิญญาณ ทั้งหลายที่อยู่บริเวณนั้น เขาจะเข้าใจภาษาไทยหรือไม่ หรือควรแผ่ เมตตาเป็นภาษาบาลี หรือสันสกฤต

    พระอาจารย์ : ไม่สำเร็จโดยภาษาสักอย่าง มันสำเร็จโดย คุณธรรมภายในจิตใจ ไม่อยู่ที่ภาษา อยู่ที่เมตตาจิตจริงๆ สภาพ ของจิตใจ เมตตาอยู่ตรงนั้น มันไม่ได้อยู่ที่คำศัพท์ เหมือนเราใช้การ บริกรรม ใช้พุทโธ ลมหายใจเข้าว่าพุท ลมหายใจออกว่าโธ แต่พูด ตามจริงมันใช้อะไรก็ได้ มันไม่อยู่ที่ภาษา มันอยู่ที่ความตั้งใจเมตตา ถ้าหากว่าเรามุ่งแต่ภาษาอย่างเดียว ไปไหนก็ไม่เข้าใจกันได้ แต่ว่า ถ้าเราให้ความสำคัญกับความรู้สึก บางครั้งคนถามหลวงพ่อชาว่าท่านสามารถที่จะมีฝรั่งที่เป็นลูกศิษย์เยอะแยะได้อย่างไร เพราะว่าฝรั่งก็พูดภาษาไทยไม่ได้ ท่านเองก็พูดภาษาฝรั่งก็ไม่ได้ จะได้รู้เรื่อง เข้าใจยังไง หลวงพ่ออธิบายว่าธรรมะก็ไม่ได้อยู่ที่ภาษา ยกตัวอย่าง เช่น เอาน้ำ นี่เป็นน้ำร้อนใช่มั้ย น้ำร้อนอยู่ที่กรุงเทพฯ ไปอุบลฯ มันไม่ใช่น้ำร้อนแล้ว มันเป็นน้ำฮ้อน เราไปประเทศที่เขาใช้ภาษา อังกฤษก็เป็น Hot Water เป็นภาษาจีนก็เป็นอีกชื่อหนึ่ง ไปอินเดียก็ เป็นอีกชื่อหนึ่ง ไปฝรั่งเศสก็เป็นอีกชื่อหนึ่ง ถ้าเราอาศัยภาษามันก็ สับสนวุ่นวายไม่รู้เรื่องว่าน้ำร้อนคืออะไร

    แต่ถ้าหากว่าเราเพียงแต่เอานิ้วมือของเราจุ่มลงไปในน้ำ เรา รู้ทันที เออ อันนี้คือน้ำร้อนหลวงพ่อจึงบอกธรรมะคืออย่างนี้ มันไม่อยู่ที่ภาษา ธรรมะ อยู่ที่ความรู้สึก เราสนใจในธรรมะคือเราไม่ได้สนใจที่เขาเรียกอะไร แต่สนใจในความรู้สึกภายในจิตใจของตัวเอง เมตตาก็เช่นเดียวกัน มันก็ไม่ได้สำคัญที่ภาษา มันสำคัญที่ความรู้สึกภายในจิตใจว่าเรามี ความเอื้อเฟื้อมีความอารี มีความหวังดี มีความอ่อนโยนภายใน จิตใจ ไปไหนก็สบาย เทวดาเข้าใจกันนะ มนุษย์ก็เข้าใจกัน สัตว์ เดรัจฉานก็ยังพอเข้าใจได้
    <!-- </p>-->
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ส ติ ปั ฏ ฐ า น สู ต ร

    ในสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าให้เรามีสิ่งที่เราควรสังเกต หรือพิจารณา หรือตั้งเป็นพื้นฐานในการภาวนาของเรา มีกาย เวทนา จิต และธรรม เวลาพระพุทธเจ้าสอนสติปัฏฐานท่านเริ่มต้น ที่กาย ซึ่งมีความสำคัญเพราะว่า ถ้าเราตั้งสติ เวลาเราเริ่มต้น เรา ก็ต้องมีที่ที่เรากำหนดแล้วก็จะได้ชัดเจน ถ้าเราไปเริ่มกำหนดสติที่ ของละเอียด บางทีก็ตั้งไม่ทัน จิตมันก็ไม่อยู่กับการกำหนด เลย ท่านเอากายเป็นที่ตั้งแห่งสติ ก็เป็นพื้นฐานที่เราควรจะสำนึกอยู่ แล้วก็ตามลำดับที่พระพุทธเจ้าได้แนะนำ ท่านก็ให้กำหนดลมหายใจ เข้า ลมหายใจออกเป็นพื้นฐานไว้ก่อน

    พูดตามความเป็นจริง ก็มีสูตรอีกสูตรหนึ่งคือ อานาปานสติ สูตร ที่พระพุทธเจ้าแนะนำในการใช้คืออานาปานสติ การกำหนดลม หายใจเข้าลมหายใจออกเป็นพื้นฐานตลอดในการพิจารณาทั้งกายเวทนา จิต และธรรม โดยเราก็พอจะเห็นความสำคัญของการกำหนดอานาปานสติ

    แต่ในสติปัฏฐานท่านก็ให้มีฐานต่างๆ มีแง่มุมต่างๆ ที่เราให้ ความสนใจ และก็พอจะช่วยให้เราเกิดความสงบและเกิดความรู้ แง่ หนึ่งของการใช้กายเป็นที่ตั้งแห่งสติ คือมันก็กำหนดง่ายกว่า เพราะ ว่าเป็นรูปธรรมเป็นก้อนเป็นสิ่งที่มีน้ำหนัก เป็นสิ่งที่เราสัมผัสได้ง่าย เพราะว่าเราจำเป็นที่จะต้องค่อยๆ ทำให้มีกำลังของสติอย่างต่อเนื่อง อีกอย่างหนึ่ง เราก็ควรจะสนับสนุนจิตใจของเราให้อยู่ในปัจจุบันให้ มากที่สุด ซึ่งกายของเรา คืออยู่ในปัจจุบันตลอดเวลา บางทีจิตของ เรามันก็คิดออกไปนอก คิดเรื่องอดีตคิดเรื่องอนาคตบ้าง คิดเรื่อง ความห่วงกังวลต่างๆ ในที่อื่น ในเวลาอื่น แต่ถ้าเรากลับมาตั้งสติไว้ ที่กาย เราก็อยู่ในปัจจุบันทันทีก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้แยะ

    การตั้งสติถัดจากอานาปานสติ พระพุทธเจ้าแนะนำให้เรา กำหนดที่อิริยาบถคือการนั่ง เดิน ยืน นอน แค่นี้มันก็เป็นกรรมฐาน อยู่แล้ว คือให้รู้ว่าเรากำลังนั่งอยู่ ให้รู้ว่าเรากำลังเดินอยู่ ให้รู้ว่าเรา กำลังยืนอยู่ ให้รู้ว่าเรากำลังนอนอยู่ ให้รู้แค่นี้ ที่จริงก็เป็นเรื่องที่ช่วย ได้แยะเพราะว่าบางครั้งเรานั่งอยู่ในห้องกรรมฐานของยุวพุทธิก สมาคม แต่ว่าจิตของเราเดินไปถึงไหนก็ไม่รู้ หรือจิตของเราออกไป ข้างนอกห้องไปเรื่อยก็มีแต่ถ้าเรากลับมา เออ เรากำลังนั่งอยู่ตรงนี้ เรากำลังเดินอยู่ ตรงนี้ เรากำลังสัมผัสการเคลื่อนไหวอย่างนี้ มันก็เป็นส่วนที่ช่วยให้ จิตใจเกิดความสงบ แค่กำหนดว่ารูปร่างของเรากำลังจะนั่ง รูปร่างของเรากำลังจะเดิน รูปร่างของเรากำลังจะยืนอยู่ รูปร่างของเรากำลังจะนอนอยู่ เราได้กำหนดไว้อย่างนี้ให้เหมือนกับเราถอนความ รู้สึกต่อตัวตน แทนที่จะคิดว่า เป็นเรื่องเราเรื่องฉัน เรื่องของเจ้าของ เราก็เพียงแต่ดูว่ามีการยืนอยู่ มีการเดินอยู่ มีการนั่งอยู่ มีการนอนอยู่ เราไม่ต้องไปปรุงแต่งต่อว่าเป็นเราเป็นเรื่องของเรา ไม่ต้องเอา
    เรื่องของเรามาเกี่ยวข้องเลย เรามีแต่การนั่ง เวลาเรานั่งสมาธิก็เพียงแต่ว่าเป็นร่างกายที่กำลังนั่ง ไม่ต้องไปคิดว่า เป็นเราที่กำลังนั่ง เป็นเราที่กำลังจะประสบความสำเร็จ เป็นเราที่กำลังจะไม่ได้ประสบความสำเร็จ เป็นเราที่กำลังจะมีปัญหา เป็นเราที่กำลังจะมีอุปสรรค เป็นเราที่กำลังจะประสบความสำเร็จ ไม่ เรานั่ง เดินก็เช่นเดียวกัน ยืนก็เช่นเดียวกัน ไม่ต้องเอาเรื่องของความรู้สึกต่อตัวตนมาแทรกซ้อน เลย ค่อยฝึกค่อยหัดวิธีการที่ช่วยให้เราลดความรู้สึกต่อตัวตน

    เพราะว่าปัญหาของการเป็นมนุษย์ไม่ใช่ว่ามีปัญหา เพราะ ว่าเรามีร่างกาย หรือเรามีปัญหาเพราะเรานั่งหรือยืนหรือเดิน หรือ นอน ปัญหามีว่า เพราะเรามีความรู้สึกต่อตัวตนมาแทรกซ้อนอยู่ ตลอด มาคิดมาปรุงมาแต่ง บนพื้นฐานของความรู้สึกต่อตัวตน เป็นการกำหนดอิริยาบถ เป็นส่วนที่กลับมาให้สร้างความชัดเจนใน จิตใจว่ามันก็มีเท่านี้ มันก็แค่นี้ มีแค่นี้ก็สบายดีโขแล้ว

    อย่างที่หลวงพ่อชา ท่านชอบตีความหมายมนุษย์คืออะไร มนุษย์คือผู้หาเรื่อง มันหาเรื่องอยู่เรื่อย หาเรื่องวุ่นวาย หาเรื่อง สับสน หาเรื่องยุ่งยาก ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ เราไม่ต้องเอาเรื่องหรอก ให้เรานั่ง ให้เราเดิน ให้เรายืน ให้เรานอน แล้วก็คอยผลัดเปลี่ยนอย่างนี้แหละ เราก็คอยผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ มันก็เป็นเรื่อง ของความจำเป็น นั่งก็นั่งตลอดก็ไม่ได้ นั่งเดี๋ยวก็เจ็บเดี๋ยวก็ปวด เดี๋ยวก็เป็นโรคแทรกซ้อนเข้ามา เดินก็เดินตลอดไม่ได้ เราก็คอยผลัด เปลี่ยนเพื่อประคับประคอง แต่ว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องมาสร้างความ รู้สึกต่อตัวตน

    การที่พระพุทธเจ้าสอนคือ ท่านแจกอิริยาบถ ท่านสอนเรื่อง การตั้งสติสัมปชัญญะ ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำคือ อิริยาบถก็เป็น ประเด็นหนึ่ง ซึ่งก็มีความใกล้เคียงกับบทถัดไป คือการตั้ง สัมปชัญญะ คือความละเอียดของการเคลื่อนไหว เรากำลังนั่งอยู่ เวลาเราลุกที่จะยืนเราก็มีสัมปชัญญะ มีความสำรวมอยู่ เวลาเราจะ มีการเคลื่อนไหวอย่างไร เราก็มีสัมปชัญญะอยู่ เราจะนิ่งอยู่ เราก็มี สัมปชัญญะอยู่ สำรวมตลอด ทบทวนในสิ่งที่เรากำลังจะสัมผัส กำลังจะกระทำอยู่ จะยกอะไรขึ้นมา จะเหยียดขา จะเหยียดแขน จะเอาแขนเข้ามา เราก็มีสัมปชัญญะอยู่เรารู้สึกตัวอยู่ เราทันต่อ การกระทำที่เรากำลังทำอยู่

    เราก็จะสังเกตว่าการฝึกให้มีสัมปชัญญะในแง่สติปัฏฐานไม่มี อะไรที่ยกเว้นในการภาวนาในการปฏิบัติ แม้แต่การรับประทาน อาหารก็ดี การพูดก็ดี แม้แต่การเข้าห้องน้ำก็ดี มันก็ตั้งสติได้ทั้งนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ยกเว้น ท่านก็ระบุไว้ว่าเราต้องพยายามให้มี สัมปชัญญะ เวลาเรามีสัมปชัญญะอยู่กับสิ่งที่เราทำ อย่างที่อาตมา ที่จริงก็พูดหลายครั้ง คือการต่อเนื่องของสติ จะเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ

    คือเวลาเราทำสติให้ต่อเนื่อง ทำสติให้ถี่ถ้วน ทำสติให้ไม่ขาดสาย สมาธิก็ย่อมเกิด มันเป็นธรรมชาติของจิตและธรรมชาติ ของจิตอีกอย่างหนึ่ง เมื่อจิตของเรารั่วออกไปหาเรื่องข้างนอก มันก็ เป็นการกระเทือนต่อจิตภายใน จิตก็จะไม่สงบ อย่างเรามันรั่วออก การทำสัมปชัญญะมันก็เป็นการทำให้เราสะสมกำลังของสติ อย่าง สมมุติว่าเรามีถังสักถังหนึ่ง เราเอาน้ำเข้าไป เราก็อยากจะเก็บน้ำ แต่ปัญหามันมีว่าถังมันรั่วมันก็ไหลออก ส่วนหนึ่งใส่น้ำข้างบน มันก็ รั่วออกไปข้างๆ ออกไปข้างล่าง มันก็ไม่เต็มสักทีหนึ่ง

    จิตใจของเราก็เช่นเดียวกัน ความพยายาม ความปรารถนา ที่จะได้ความสงบก็มี แต่ว่าขาดความสำรวม จิตมันรั่วออกไป รั่ว ออกไปทางตา รั่วออกไปทางหู รั่วออกไปทางจมูก รั่วออกไปทางลิ้น รั่วออกไปทางกาย เวลารั่วออก เหลือใจที่ยังไม่รู้สึกอิ่ม ยังไม่รู้สึก เต็ม ยังไม่รู้สึกบริบูรณ์ ยังไม่สงบ ความสำรวมเป็นสิ่งที่ช่วยคอยปิด รูไว้ ไม่ให้มันรั่วออก คือความปรารถนาความสงบก็มี และการ กระทำในการฝึกสติก็มี เราก็มีความสำรวม มันก็เหมือนกับเราเอา น้ำใส่ในถัง มันไม่รั่ว ไม่นานถังนั้นมันก็จะเต็ม เหมือนกัน เราฝึก จิตของเรา เรามีความปรารถนาต่อความสงบ เราก็ให้มี สติสัมปชัญญะ ไม่นานจิตก็จะรู้สึกสงบ มันเป็นธรรมชาติของจิต เราก็คอยฝึกคอยหัด ให้เรามีความสำรวมสติสัมปชัญญะ

    ในสติปัฏฐานสูตร บทที่ถัดไปจากสติสัมปชัญญะ พระพุทธเจ้าสอนเรื่องอสุภกรรมฐานหรือที่เขาเรียกอสุภกรรมฐานเป็นการกำหนดร่างกาย ซึ่งโดยปกติจะเป็นอุบายที่ช่วยให้ลดกามตัณหา ความเพลิดเพลินในกามอารมณ์ มันก็ช่วยให้จิตใจเกิด ความเยือกเย็น ถ้าหากว่าตราบใดที่จิตของเรายังเสาะแสวงหาความ สุขความเพลิดเพลินจากสิ่งภายนอก มันก็ยังขาดความสงบภายใน ความเยือกเย็นภายใน

    การกำหนดที่ร่างกายก็เป็นอุบายที่ช่วย พระพุทธเจ้าสอนให้ เรากำหนดที่กาย จากผมจากเบื้องบนศีรษะก็ค่อยดูภายในร่างกายผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ซึ่งที่จริงที่เราเห็นมนุษย์หรือที่เรารู้ว่าเป็น มนุษย์ที่เราเห็นๆ อยู่ สิ่งที่เราเห็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนังเท่านั้น แหละ ไม่ได้เห็นอย่างอื่น เราก็ดูที่เราคิดว่ามนุษย์คืออะไรเป็นแบบ ไหน ก็คือเป็นการรวมของผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

    ถ้าคิดอย่างนี้ มันก็ทำให้เรามองคนละแบบแทนที่จะมีการคิด ในการวิพากษ์วิจารณ์ว่าสวยไม่สวย น่ารักใคร่น่าเกลียด เป็นคนสูง คนต่ำ เราก็เพียงแต่ดูว่าก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เท่านั้นแหละ ทำให้จิตใจเยือกเย็น

    อีกอย่างหนึ่งทำให้เราดู เออ คนเรานั้นชอบหาความสำคัญ กับอะไรบ้าง ที่เราให้ความสำคัญในสิ่งภายนอก แค่เราคิดในเรื่อง เศรษฐกิจของมนุษย์เรา มันลงทุนเยอะมากทีเดียว เพื่อให้ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ได้สะอาดบ้าง เปลี่ยนสภาพบ้างให้เป็นไปตามความ นิยมของสมัยบ้าง ให้มันเป็นไปตามที่คนอื่นเขาชอบบ้าง หรือคิดว่า คนอื่นชอบบ้าง แต่ว่าในที่สุด มันก็เป็นการยุ่งๆ เรื่อง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เท่านั้นแหละ

    ซึ่งถ้าคิดดูแล้ว มันไม่ใช่น้อยๆ นะ เรื่องเศรษฐกิจ ไม่ใช่เฉพาะแต่ง รักษาสุขภาพบริบูรณ์สมบูรณ์ มีการลดน้ำหนัก มีการ เพิ่มน้ำหนัก มีการออกกำลังกาย มีการตกแต่งเสื้อผ้า มีการทำผม ตัดผมต่อผม ทำฟันแต่งฟัน เยอะแยะ วุ่นวายมากเลย แต่มันก็แค่ เรื่องผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เท่านั้นแหละ มันก็เป็นส่วนที่ช่วยให้เรา คือไม่ใช่ว่าเราไม่ได้ใส่ใจเลย แต่ว่าคือเราไม่จำเป็นต้องหลง และไม่จำเป็นต้องเมา

    การที่ได้สำนึกต่อกรรมฐานคือ พระพุทธเจ้าตั้งชื่อว่า อสุภ กรรมฐาน แต่ที่ท่านว่าอสุภกรรมฐาน สุภะแปลว่างาม อสุภะแปล ว่าไม่งาม เราเห็นลักษณะที่ไม่งาม เพราะว่าโดยปกติมนุษย์เรามัน ชอบหาความงามเพื่อเพลิดเพลิน ชอบหาความงามเพื่อเป็นความตื่น เต้น ชอบหาความงามเพื่อมีการเปรียบเทียบ

    แต่ถ้าเรากลับมาสังเกตดูตามความเป็นจริง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันก็ไม่งาม ถ้าดูส่วนเดียวมันก็ไม่งาม อย่างผมมันก็ไม่ เห็นจะงาม แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันน่าเกลียดในตัวของมัน มันเพียงแต่ไม่ งาม อย่างผมเราเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหน แต่ว่าถ้าพอแค่เส้นหนึ่ง หลุดออกไป มันไม่อยากจะเก็บหรอก มันไม่งามหรอกดูๆ แล้ว

    อย่างอาตมาเอง สมัยก่อนอาตมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัด นานาชาติ ก็เป็นที่รู้กันว่า ถึงวันโกนที่พระท่านจะโกนผม จะ ปลงผม อาตมาจะตักเตือนเสมอ บางทีก็ว่าเลย ดุพระเลย เพราะว่าพอถึงวันโกนแล้วก็...ยิ่งสมัยก่อนที่วัดนานาชาติ เราไม่ค่อยมีห้องน้ำเท่าไหร่ คือจะอาบน้ำโกนผม ก็จะอยู่ตรงที่มีบ่อน้ำและมีโอ่งน้ำ มันมักจะมีนะ คือไปปลงผมแล้วก็คนหนึ่งให้ติดสบู่ก็มี คนอื่น มาใช้สบู่มันก็มีผมติดอยู่ในสบู่ อาตมาว่าไม่งาม หรือมันอยู่ในขันน้ำ คนก็ใช้ขันน้ำเอาไปตักใส่โอ่ง มันก็ลอยบนน้ำ คนที่มาทีหลัง มันก็มี ผมอยู่ตรงนั้นแหละ อาตมาก็ว่าไม่งาม ไม่มีใครอยากได้หรอก ผม มันไม่ใช่ว่าเป็นของงาม ไม่อยากจะมีไว้ในสบู่ ไม่อยากจะมีไว้ในน้ำ เวลาจะอาบน้ำ มันไม่งาม เลยเป็นที่รู้กัน พระเณรจะคอย ระมัดระวังอาตมา ยิ่งสมัยก่อนจะยังไม่ค่อยเยือกเย็นเท่าไหร่

    มีโยมคนหนึ่งเขามีรูปเก่าๆ ของอาตมา เขากลับไปวัด นานาชาติ ไปเยี่ยม พวกแม่ออกเก่าๆ อุบาสิกาเก่าๆ ที่บ้านบุ่ง หวาย ก็เห็นรูป แม่ออกก็เห็นเรายังหนุ่มๆ อยู่ เป็นเจ้าอาวาสใหม่ๆว่า “เอ้อ สมัยนั้นน่ะ ท่านยังด่าเก่งอยู่” คือเราไม่ค่อยระมัดระวัง ปากและยังไม่ค่อยเย็นเท่าไหร่ ยิ่งเห็นผมลอยอยู่บนน้ำ ยิ่งไม่ค่อย พูดไพเราะเท่าไหร่ ไม่เย็นละ

    แต่ว่าเป็นเรื่องที่ดูแล้ว เอ้อ มันไม่งามน่ะ ผมก็ดี ขนก็ดี เล็บก็ดี เช่นเดียวกัน เห็นเล็บในมือไม่เท่าไหร่ แต่ว่าไปตัดออกแล้ว ไม่มีใครอยากได้หรอก มันเป็นของต้องเก็บเอาไปทิ้งอย่างรวดเร็ว

    อย่างอาตมาจำได้ สมัยก่อนยังเป็นฆราวาส มีเพื่อนคนหนึ่ง ที่แคนาดา เพื่อนเขาก็มีพี่ชายคนหนึ่ง อายุก็ใกล้เคียงกัน พี่ชายจะ ชอบรังแกน้อง วิธีที่จะทำให้น้องเกิดอารมณ์เสียที่ง่ายที่สุด คือไปตัดเล็บ แล้วก็เอาเล็บนั้นไปวางไว้ตรงห้องนอนที่พื้น เวลาเดินมันโดนเล็บเก่าๆ ที่ตัดออก น้องจะเกิดโมโหทุกทีเลย จะเริ่มทะเลาะกัน ประจำในบ้าน เพราะว่าใครจะเอาล่ะเล็บ มันไม่น่าเก็บไว้ มันไม่น่า เห็น ไม่น่าออกไปโชว์ผู้อื่น

    เราพิจารณาร่างกาย ก็เห็นความไม่งาม แต่ที่ว่าไม่งามนั้น ในสติปัฏฐานสูตร การเปรียบเทียบที่พระพุทธเจ้ายกขึ้นมา ค่อนข้าง จะชัดเจนว่า ไม่ใช่ว่าไม่งาม แล้วก็เกิดอารมณ์เสีย เกิดอารมณ์ไม่ดี คือเห็นความไม่งามแล้ว มันเพียงแต่ว่าจิตใจเป็นกลางๆ เพราะว่าที่ ท่านยกขึ้นมา เหมือนกับเปิดถุงแล้วก็มีข้าวต่างๆ มีข้าวเจ้าหอมมะลิ มีข้าวเหนียว มีข้าวโพด มีงา มีถั่วเหลืองมีถั่วเขียว คือรู้ว่าเป็นข้าว เจ้า รู้ว่าเป็นข้าวเหนียว รู้ว่าเป็นข้าวโพด รู้ว่าเป็นข้าวสาลี รู้ว่าเป็น ถั่วเขียว รู้ว่าเป็นงา รู้ว่าเป็นถั่วเหลืองอย่างนี้ คือมันรู้ว่าเป็นอย่างนั้น มันไม่ใช่ว่า เห็นแล้วมันขยะแขยง มันน่าเกลียดอะไร แต่ว่ารู้ ว่าเป็นอย่างนั้น

    อันนี้เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าท่านให้พิจารณาในร่างกาย ของเรา อันนี้คือผม อันนี้คือขน อันนี้คือเล็บ อันนี้คือฟัน อันนี้คือ หนัง อันนี้คือเนื้อ อันนี้คือเอ็น อันนี้คือกระดูก อันนี้คือเยื่อใน กระดูก อันนี้คืออวัยวะภายใน อันนี้คือตับ อันนี้คือไต อันนี้คือ หัวใจ อันนี้คือลำไส้ อันนี้คือส่วนน้ำ อันนี้คือน้ำดี อันนี้คือน้ำตา อันนี้คือน้ำมูก คือน้ำต่างๆ ที่อยู่ในร่างกาย คือเรารู้ว่ามีอยู่ ส่วน ประกอบของร่างกายต่างๆ ทั้งหลายประการ แต่จิตใจเป็นกลางๆ จิตใจเห็นชัดไม่หลง คือมันไม่เกิดความเพลิดเพลินยินดี ไม่เกิดความเกลียดความกลัวอะไร เพียงแต่ว่าร่างกายมีส่วนประกอบ มันเป็นธรรมชาติของการมีชีวิต เราต้องอาศัยร่างกาย

    แต่ปัญหาของมนุษย์เราคือมีร่างกาย และร่างกายเป็นสื่อที่ จะพาไปเกิดความเพลิดเพลิน ยินดี มัวเมาในการสนองอารมณ์ คือ ร่างกายมันเป็นอุปกรณ์หรือเป็นเครื่องช่วยให้สนองความอยากของ ตัวเองแต่ถ้าในแง่ของธรรมะ เราต้องกลับมาดูว่าคือร่างกายของเรา เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่มีส่วนประกอบที่ภายในตัวของมันเองมัน ก็ไม่มีความงาม ไม่เป็นที่กระตุ้นให้เกิดตัณหาหรือเกิดอุปาทาน ถ้า เรามีตัณหาหรืออุปาทานมันเป็นส่วนเสริมของจิตใจ ไม่ใช่ว่ามีไว้ เพราะมันเป็นของปกติหรือของประจำภายในร่างกาย ร่างกายมีแต่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น คือไล่กันตามอาการ ๓๒

    การพิจารณาอาการ ๓๒ นั้น ก็เป็นส่วนที่ช่วยให้เรามีการ ถอนออกจากตัณหาการเพลิดเพลินในกามอารมณ์และอีกอย่างหนึ่ง คือ การเพลิดเพลินในความรู้สึกต่อตัวตน เราจะคอยสังเกตว่า เป้า หมายของสติปัฏฐานคือ นอกจากการช่วยกำจัดกิเลสที่เป็นเฉพาะ เรื่อง อีกแง่หนึ่งคือการกำจัดกิเลสที่เป็นพื้นฐานคืออวิชชาความไม่รู้ ตามความเป็นจริงเลยการกำจัดหรือการช่วยตัดให้เราเห็นว่า คือ อาการ ๓๒ นั้น มันก็ไม่สามารถที่จะเป็นตัวเป็นตนของเราได้ มัน สักแต่ว่าส่วนประกอบเท่านั้น

    การที่มีความรู้สึกต่อตัวตนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความไม่รู้ของเรา ความหลงของเรา ความเสริมความเพิ่มเติมของเราที่อาศัย อวิชชา เลยการปฏิบัติก็อย่างที่อาตมาพูดวันก่อน ปัญหาของมนุษย์ เราหรือที่เราติดอยู่ในวัฏสงสารก็เพราะกระแส ๒ กระแสมารวม คือ อวิชชากับตัณหา เวลามาบวกกัน มันทำให้เราพัวพันอยู่กับการเวียน ว่ายตายเกิดและเวียนว่ายด้วยความทุกข์

    กรรมฐานหรือการภาวนา การปฏิบัติก็ควรจะช่วย อย่าง หนึ่งเพื่อบรรเทาตัณหา การพิจารณาอิริยาบถก็ดี สัมปชัญญะก็ดี อสุภกรรมฐานก็ดี ก็เป็นสิ่งที่ช่วยลดตัณหา เพราะว่าตัณหาต้องมี เป้าหมาย เป้าหมายคือการสนองอารมณ์ แต่ถ้าเราเห็นว่า เออ มัน ก็สักแต่ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันก็ยากที่จะเกิดตัณหาอะไร มากมาย มันก็ดูแล้วคือได้อยู่เหมือนกัน แต่มันค่อนข้างจะแย่มาก

    นอกจากนั้นพอจิตใจเย็นลงจากการบรรเทาของตัณหา เราก็ ต้องมาทบทวนอีกทีหนึ่ง เพื่อแก้อวิชชา อวิชชาจะรวบรวมอยู่ที่ ความรู้สึกต่อตัวตน ความรู้สึกต่อการเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา เป็นของของเรา เราดูร่างกาย ก็สักแต่ว่าร่างกายที่มีส่วนประกอบ ส่วนประกอบเหล่านั้นล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง แต่ละอย่าง ผมก็ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด มันเป็นของไม่เที่ยง ขนก็เช่นเดียวกัน เล็บก็ เช่นเดียวกัน ฟันก็เช่นเดียวกัน หนังก็เช่นเดียวกัน แต่ละส่วนแต่ละ อย่างล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง ของที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา

    เมื่อส่วนประกอบทุกชิ้นทุกมุมทุกแง่ เป็นของไม่เที่ยง เราจะให้มีตัวตนที่เที่ยงแท้ได้ยังไง มันไม่มีพื้นฐานเลย ไม่มีหลักเลยที่จะได้ แต่โดยปกติเราก็ไม่พิจารณา มันเป็นความรู้สึกที่จะเรียกว่าใต้ สำนึกก็ได้ เป็นความรู้สึกที่ไม่ได้ใช้การคิด แต่เราก็ต้องใช้การ พิจารณาเพื่อคอยวิเคราะห์ให้มีกำลังปัญญาของตัวเอง และก็คอย ตัดกำลังของอวิชชาให้ได้ และยิ่งโดยเฉพาะการวางไว้ซึ่งความรู้สึก ต่อตัวตน

    การภาวนาของเรา ก็ขอให้เราตั้งใจกันนั่งสมาธิ เดินจงกรม ทั้งเพื่อให้บรรเทาตัณหาและเพื่อแก้อวิชชา มันก็เป็นส่วนที่เราก็ให้ กำลังใจกับตัวเอง การที่ปฏิบัติคือเราพยายามที่จะให้มีความสำรวม ตลอดเวลา ถึงเราอยู่นิ่งๆ ก็ยังต้องมีความสำรวมอยู่ แต่พอเรามี การเคลื่อนไหวทำอะไรก็รักษาความสำรวมไว้ เป็นส่วนที่ช่วยจิตใจ ของเราเกิดความสงบ เกิดความแจ้งขึ้นมา นั่นก็อีกแง่หนึ่ง

    ความสำรวมนั้น มันเป็นเอกลักษณ์ของผู้ปฏิบัติในพุทธ ศาสนาก็ว่าได้ เหมือนอย่างสมัยพุทธกาลที่พระสารีบุตร เวลาท่าน ยังไม่ได้บวชคือยังเป็นนักบวชในลัทธิอื่น ท่านได้เห็นพระองค์หนึ่งใน ปัญจวัคคีย์ คือ พระอัสสชิ ได้เห็นท่านเดินบิณฑบาตอยู่ พระสารี บุตรเกิดศรัทธา เห็นพระอัสสชิเดินบิณฑบาต เดินก็มีความสำรวม มีความระมัดระวัง จะเหยียดขา จะก้าวขา จะเหยียดแขน จะทำ อะไร มีความสำรวม มีความงดงาม ทำให้พระสารีบุตรเกิดความ ศรัทธาความเลื่อมใส ทำให้เกิดความมั่นใจว่า เอ องค์นี้ต้องเป็นพระอรหันต์ หรือถ้าไม่เป็นพระอรหันต์ก็ต้องเป็นลูกศิษย์ของพระอรหันต์ เกิดความมั่นใจจึงเข้าไปขอคำแนะนำในธรรมะจากท่าน ก็ จึงเป็นเหตุที่ได้รับคำสอน แล้วพระสารีบุตรที่จริงก็ได้บรรลุเป็นพระ โสดาบันตรงนั้นเลย แต่ว่าที่ได้บรรลุก็มีพื้นฐานที่ว่าพอใจในความ สำรวม ยินดีในความสำรวม เกิดศรัทธาในการปฏิบัติ เพราะเห็นผู้ ปฏิบัติที่สำรวม

    พวกเราที่เป็นรุ่นหลัง เราก็ยังมีโอกาสที่จะปฏิบัติตาม แนวทางเช่นเดียวกัน ก็ขอให้เรามีความตั้งใจในการปฏิบัติ จะนั่ง สมาธิ จะเดินจงกรม หรือแม้แต่จะเคลื่อนไหว ทำอะไรขอให้การ ภาวนาของเราต่อเนื่อง จะได้รับผลเอง ขอให้เราปฏิบัติกันต่อไป


    การปฏิบัติคือ
    เราพยายามที่จะให้มีความสำรวมตลอดเวลา
    ถึงเราอยู่นิ่งๆ ก็ยังต้องมีความ
    สำรวมอยู่ แต่พอเรามีการ
    เคลื่อนไหวทำอะไร ก็รักษาความ
    สำรวมไว้ เป็นส่วนที่ช่วยจิตใจเรา
    เกิดความสงบ
    เกิดมาแจ้งขึ้นมา
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ก า ร เ ม ต ต า ตั ว เ อ ง

    เมื่อวานได้พูดเรื่องความสำคัญของเมตตา ส่วนใหญ่ที่ได้พูด ถึงก็กลายเป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากภายนอกหรือต่อภายนอก แต่แง่ หนึ่งที่สำคัญของการแผ่เมตตา คือมันเป็นวิธีการที่เจริญภายใน สำหรับตัวเอง ยกตัวอย่างง่ายๆ คือถ้าในการภาวนาของเราในการ ปฏิบัติของเรา ถ้าหากว่าเราใช้การบังคับ ใช้การขู่จิตของตัวเอง ข่ม จิตของตัวเอง บางครั้งมันก็ไม่ใช่ว่า จิตของเราจะได้เจริญ

    แต่ถ้าหากว่าเรามีเมตตาต่อตัวเอง มันก็...คือไม่ใช่ว่าเรา อ่อนแอ หรือว่าเราไม่ทำไม่ขยัน แต่ว่าเป็นคนละความรู้สึกคนละ ลักษณะของการกระทำ เรื่องการเจริญเมตตาก็มีผลมาก อย่าง นึกถึงสมัยพุทธกาลที่มีช้างนาฬาคิรีที่พระเทวทัตได้ส่งมาให้ทำร้ายพระพุทธเจ้า เป็นช้างที่เมา เขาให้สุรามันกิน มันเป็นช้างที่ดุร้ายอยู่แล้ว แล้วก็ปล่อยวิ่งไปเพื่อจะทำร้ายพระพุทธเจ้า วิธีการที่ พระพุทธเจ้าใช้ คือท่านก็ใช้เมตตาตอนแรกพระอานนท์ก็เป็นพระอุปัฏฐากที่อยู่ประจำ ท่านก็ จะอยู่ข้างหน้าพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกัน พระพุทธเจ้าบอกไม่ต้อง พระพุทธเจ้าจะจัดการเอง ช้างกำลังวิ่งมาอย่างเต็มที่ ดุร้ายน่ากลัว แต่พระพุทธเจ้ามีแต่การแผ่เมตตา ก็แผ่เมตตาจนช้างนาฬาคิรีเข้าไป ข้างหน้าแล้วก็หยุด แล้วก็ก้มลงกราบ แล้วใช้งวงเอาขี้ฝุ่นจากบริเวณ เท้าของพระพุทธเจ้าแล้วเอามาใส่ศีรษะของเขาเองโดยความเคารพ

    คือเป็นวิธีการที่สำเร็จประโยชน์ ไม่ใช่ว่าการใช้เมตตาจะไม่ ได้ผล ก็ได้ผลอย่างยิ่ง ซึ่งก็เป็นวิธีการที่เราควรจะสังเกตดู เวลาเรา ภาวนา เราปฏิบัติ เรามีนิวรณ์เกิดขึ้น เราใช้วิธีการแบบไหน เราลุก ขึ้นโดยความ...เหมือนกับเราต่อสู้เพื่อจะฆ่ามันทำร้ายมัน แต่มันมัก จะทำโดยความรู้สึกต่อตัวตน มันก็ยากที่จะมีความสำเร็จถ้าหากว่าเราเป็นผู้มีเมตตา คือเราเห็นว่าแม้แต่กิเลสของตัว เราเอง ก็เป็นสิ่งที่มันก็น่าสงสาร คือไม่สมควรแก่เรา ไม่สมควรแก่ผู้ ที่ปรารถนาคุณธรรม คือให้เรามีเมตตาคอยหาทางแก้ไข มันก็มีผล ไม่น้อย

    ถ้าหากว่าเราไปเหมือนกับช้างนาฬาคิรี เราเอาตัวเองไปขวาง เอาอาวุธไปต่อสู้กับมัน จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหนก็คงจะไม่ค่อย สำเร็จเท่าไหร่ ก็เหมือนกัน เพราะว่ามันมีกำลังมาก มันต้องมีอุบายมีวิธีการที่ทำให้กำลังนั้นไม่มีความหมาย

    อย่างเคยอ่านเรื่องคนหนึ่งเป็นฝรั่งชาวอเมริกัน เขาไปศึกษา ที่ประเทศญี่ปุ่น เขาไปเล่นไอคิโด คล้ายๆ มวยไทย แต่เป็นของ ญี่ปุ่น เป็นวิธีการที่จะต่อสู้ที่จะรบกัน โดยใช้มือใช้เท้า แต่มันเป็นวิธี การที่ค่อนข้างจะมีอุดมการณ์อย่างหนึ่ง คือ เขาไม่ให้ต่อสู้โดยใช้ กำลังของตัวเองเพื่อทำลาย ต้องใช้กำลังของผู้อื่นให้เป็นสิ่งที่เขาจะแพ้ เป็นวิธีการที่ค่อนข้างจะนิ่มนวล แต่ว่าก็ยังเป็นการต่อสู้อยู่ เขา ก็ฝึกนานพอสมควร ก็คิดว่าตัวเองเก่ง แต่ว่าโดยอุดมการณ์ของ อาจารย์และสาย เขาก็ไม่สมควรจะต่อสู้กับใคร

    วันหนึ่งเขาก็ขึ้นรถไฟ เขากำลังจะนั่งที่รถไฟ เขาคงอยู่ ชนบท คนไม่มากนัก รถไฟไม่เต็ม มีคนหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้ชายรูปร่าง ใหญ่ๆ ดูลักษณะคงเป็นกรรมกรหรือคนทำงานหนัก รูปร่างใหญ่ แข็งแรง แล้วก็เมา ลักษณะสกปรก ทั้งเมาทั้งหน้าตาดุเดือดมาก ทั้งเมา ทั้งอารมณ์ไม่ดี ขึ้นมาก็ว่าคน พูดหยาบ ทำท่าจะตีคน ซึ่ง เขาก็เป็นคนตัวเล็กๆ ไม่ใช่ว่าคนใหญ่และแข็งแรง

    ฝรั่งก็คิด นี่แหละน่าจะเป็นเวลาที่ใช้วิชาของเรา เราจะได้ ทำร้ายเขา เขากำลังจะอันตรายต่อผู้อื่น เราสมควรที่จะตีเขา ซ้อม เขาสักหน่อย แต่โดยนโยบายของการฝึกหัดและการสอน เขารู้ว่าเขา ไม่สมควรที่จะลุกขึ้นไปตี แล้วเขาก็ยืนขึ้นมาเหมือนกับแสดงตัว แล้ว ทำให้คนเมาคนนั้นเห็นเขา เหมือนกับยุเขา ให้เขามามีเรื่อง แล้ว เขาจะได้ตีอย่างสบาย นี่ความคิดของเขา

    คนเมาเขาก็เห็น เขาก็พูดหยาบคาย ไอ้ฝรั่งมาทำอะไร มาขวางเรา เดี๋ยวจะตี คนนั้นเขาก็ทำท่าเฉยๆ แต่เฉยๆ ในลักษณะที่ยุ เขา ตอนนั้นมันใกล้จะมีเรื่อง แล้วก็มีผู้ชายแก่ๆ คนหนึ่งที่อยู่ข้างๆ เขาก็ร้องขึ้นมา เอ้ย เสียงร้องเขาก็เล็กๆ ทั้งฝรั่งทั้งคนเมาก็ชะงักดู ว่ายังไง แล้วเขาเริ่มพูดคุยอย่างธรรมดาๆ เออ ไปกินอะไรมาวันนี้น่ะ เอ้อ เขาก็งง อารมณ์ยังดุเดือด ก็ไปกินเหล้ามา เหล้าแบบไหน เหล้าสาเก เขาก็พูดอย่างดุเดือด ผู้เฒ่าคนนั้นก็ว่า เอ้อ เราก็ชอบ กินเหล้าเหมือนกันเป็นบางครั้ง ฤดูนี้เป็นฤดูที่เรามักจะนั่งกับภรรยา ตรงต้นไม้หลังบ้าน มันเป็นวันที่อากาศดีมาก ต้นไม้กำลังออกดอก เขาก็งง อารมณ์ก็ค่อยเปลี่ยน เอ๊ คุณก็คงจะชอบทำอย่างนั้น เหมือนกัน น้ำตาของคนเมามันก็แตก “ไม่ได้ ภรรยาของเราเพิ่ง เสีย” ผู้เฒ่าคนนั้นก็อ้าว เหรอ มานี่มาเล่าให้ฟังหน่อย คือ ด้วย ความเอ็นดู คนเมาก็นั่งลงแล้วก็เริ่มเล่าให้ฟัง แล้วก็ร้องไห้ ผู้เฒ่าก็ ปลอบใจ

    ฝรั่งยืนดู เขาอาย ทั้งอายทั้งประทับใจว่า คนนี้เป็นนักไอ คิโดที่เก่งกว่าเราตั้งแยะ เพราะว่ามันไม่ใช่เรื่องกำลังของกาย ไม่ใช่ เรื่องกำลังของอารมณ์ มันกำลังของสติปัญญา คือทุกคนมีจุดที่เขา มีจุดอ่อนก็ดี จุดที่มีทุกข์ก็ดี ถ้าเราใช้เมตตา เราสามารถที่จะหาได้ คือค่อยปรับได้

    แม้แต่ตัวเองก็เช่นเดียวกัน อย่างว่าเราเกิดอุปสรรคขึ้นมาใน การปฏิบัติเราเกิดนิวรณ์ขึ้นมาในการปฏิบัติ คือ ไม่ใช่เวลาที่เราควรที่มันจะรุมตีนิวรณ์ของตัวเอง มาใช้กำลัง ก็ต้องใช้จิตใจที่มีความอ่อนโยน คอยเมตตา เพราะว่าเราหวังต่อความสุข คือเมตตาเป็น กำลังที่คือ เรามีความหวังต่อความสุขของตัวเองก็ดีของผู้อื่นก็ดี

    กรุณาก็ใกล้เคียงกัน แต่เราหวังต่อการพ้นทุกข์ หวังต่อการ พ้นทุกข์ของตัวเอง หวังต่อการพ้นทุกข์ของผู้อื่น เลยเป็นกำลังที่ เราควรอาศัยอยู่ ถ้าหากว่าเราอาศัยกำลังเมตตา กำลังกรุณา ที่จริง เรามีกำลังมากกว่าอย่างอื่นในโลกนี้ เราสามารถจะจัดการช้างนา- ฬาคิรีได้อย่างสบาย มีความสามารถที่จะจัดการสิ่งที่มีกำลัง ที่โดย ปกติเราสู้ไม่ได้หรอก ถ้าจะใช้กำลังของร่างกาย กำลังของความ อยากความต้องการ ความเห็น ความคิดการนึกเพื่อต่อสู้ มันสู้ไม่ได้

    แต่เราเอาเมตตามา เหมือนกับกำลังของเขากลายเป็นกำลัง ของเรา คือ กำลังของกิเลสกลายเป็นกำลังของปัญญาได้ กำลังของ ความหลง เวลาเราใช้เมตตา เราเอากำลังของความหลงเปลี่ยน กลายเป็นกำลังของปัญญาของเราได้ เป็นสิ่งที่เป็นอุบายที่สำคัญ มาก เพราะโดยปกติเราชอบที่จะตั้งตัวเองเป็นศัตรู คือเราเห็นกิเลส เป็นศัตรูของเรา เราเห็นนิวรณ์เป็นศัตรูของเราและเราต่อสู้ แต่เวลา เราต่อสู้ เราต่อสู้โดยอำนาจของความรู้สึกต่อตัวตน ไม่มีโอกาสชนะ เลย เพราะเขามีกำลังมากกว่าเราเยอะเลย กิเลสมีมาแต่ไหนแต่ไร ไม่ต้องห่วงเลย กิเลสมันเก่งกว่าเรา พูดในลักษณะของการต่อสู้ จะ สู้คุณธรรมกับปัญญาไม่ได้เท่านั้น

    เราต้องเป็นผู้ที่หาอุบายที่จะถอนออกจากการถือหรือการยึดไว้ซึ่งตัวตน และการยึดไว้ซึ่งการมองว่าเป็นสิ่งนอกเรา ที่เราจะต้องทำลาย เราจะต้องพยายามให้เมตตาจิตขึ้นมาเพื่อดูว่า ตอนนี้มัน เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะต้องแปรให้เป็นประโยชน์กับเรา

    มันเป็นเรื่องที่น่าสังเกตในประวัติของพระพุทธศาสนา คือ เวลาเราอ่านประวัติของพระพุทธเจ้า เราจะเห็นว่าเวลาท่านไปไหน มักจะห้อมล้อมโดยสงฆ์มากมายเป็นส่วนใหญ่ คือท่านเป็นผู้มีบารมี มีวาสนาอย่างมหาศาล เลยมักจะมีบริวารอยู่รอบท่าน แต่ถ้าเรา อ่านดู เวลาท่านมีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ค่อนข้างจะอันตราย ท่านมัก เลือกที่จะไปองค์เดียว

    ยกตัวอย่างเช่น ท่านพิจารณาถึงองคุลิมาล เป็นผู้ที่กำลัง สร้างปัญหากับบ้านเมืองทั่วๆ ไปและฆ่าคนมาเยอะแล้ว ในชนบท ของบริเวณสาวัตถีก็กำลังกลัวกัน ได้รับความเดือดร้อน คนตายกัน เยอะ ท่านก็คิดจะแก้ไข แต่ท่านไปองค์เดียว เพราะว่าท่านไม่ได้ใช้ กำลังของบุคคล ท่านไม่ได้ใช้กำลังของการต่อสู้ ท่านใช้กำลังของ เมตตา แล้วท่านก็เห็นองคุลิมาล คือคนจะเห็นท่านเดินในที่ที่องคุลิ มาลอยู่ ชาวบ้านก็พยายามที่จะห้าม พระพุทธเจ้าก็ไม่เป็นไร เราไม่ เป็นไรหรอก องคุลิมาลเห็นก็ เอ๊ แปลกดี คนเคยมาเป็นกลุ่มตั้ง๒๐ คน ๓๐ คน เราก็ยังฆ่าได้ ทำไมคนนี้มาคนเดียว ยังไง ก็ตามเราก็ไปจัดการคนนี้แหละ เลยจะมาทำร้ายพระพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าด้วยจิตที่มีเมตตา องคุลิมาลก็วิ่งมาอาวุธก็ พร้อม ก็คงมีลักษณะอย่างน่ากลัว คนแข็งแรงขนาดนั้นพระพุทธเจ้าทำท่าเดินสบายๆ ของท่าน เยือกเย็น สบายๆ แผ่เมตตาไป องคุลิมาลวิ่งตาม ไล่ไม่ทัน เลยเกิดความสงสัย เอ๊ สมณะนี้ทำไมเราจับไม่ได้ แต่ก่อนขนาดช้างม้าเราสามารถที่จะจับได้ เลยร้องออกมา

    “หยุด สมณะหยุด”

    พระพุทธเจ้า “เราหยุดแล้ว ท่านนั่นแหละที่ยังไม่หยุด” องคุลิมาลก็ เอ๊ ปกติสมณะเขาพูดความจริง แต่นี่ไม่มี
    เหตุผล เลยถาม ทำไมพูดอย่างนั้น พระพุทธเจ้าบอกคือเราหยุดในการทำร้าย เราหยุดในการเบียดเบียน เราหยุดในการทำสิ่งที่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ท่าน เองนะที่ยังไม่หยุด พูดอย่างเอ็นดู พูดแค่นี้แหละองคุลิมาลจึงวาง อาวุธขอบวชกับพระพุทธเจ้า เกิดศรัทธา

    เกิดศรัทธาไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าไปบังคับไปตี แต่ด้วยอำนาจ เมตตาจิต เอ็นดู เอื้ออารี และหวังดี จึงได้บวช ก็เป็นเรื่องที่มีประเด็นที่น่าคิดอยู่ คือ เมตตาสามารถที่จะเอ็นดูต่อผู้ที่ฆ่าคนตั้งเกือบ ๑,๐๐๐ คน ๙๙๙ คน คืออำนาจเมตตา สามารถที่จะโอบอ้อมทุกสิ่งทุกอย่าง

    แม้แต่ในตัวเราเอง เราเอาเมตตาขึ้นมา ทำไมจะไม่สามารถเอ็นดูตัวเอง ไม่สามารถที่จะเอ็นดูหวังดีต่อคุณธรรมของตัวเอง มัน เป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะว่าเมตตามันไม่เลือกหรอก เราเป็นผู้เลือก โดยอำนาจของเมตตาสามารถที่จะรับได้ทุกอย่าง แต่ว่าเป็นความคิดความเห็นความรู้สึก ความยึดมั่นถือมั่นของเราเองที่ไม่ยอมรับ ไม่รับตัวเอง ไม่ยอมรับคนอื่น อำนาจของเมตตาสามารถที่จะรับได้ ทั้งหมด แม้แต่องคุลิมาลซึ่งเป็นผู้ที่ฆ่าคนตั้งมากมาย

    อีกแง่หนึ่ง ตัวองคุลิมาลเมื่อบวชแล้ว ก็ได้ประพฤติปฏิบัติ อย่างตั้งอกตั้งใจ และก็ได้รับผลของการปฏิบัติคือ ท่านก็ได้บรรลุ ธรรมะได้

    มีอยู่วันหนึ่ง เวลาท่านได้ไปบิณฑบาตในหมู่บ้านและบ้าน หนึ่งที่ท่านได้อาศัยบิณฑบาต จะมีผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังจะคลอดลูก แต่ว่ามีอุปสรรคในการคลอด ผู้หญิงคนนั้นกำลังได้รับความเจ็บปวด อย่างมาก และอันตรายต่อชีวิตของเขาเอง อันตรายต่อชีวิตของลูกที่ จะเกิดมา

    องคุลิมาลได้ยินเสียงร้องและถามว่าเป็นอะไรก็กลับไปที่วัด ได้เล่าให้พระพุทธเจ้าฟัง คือท่านก็มีความรู้สึกเอ็นดู มีความห่วงใย ต่อผู้หญิงคนนั้น สงสาร

    พระพุทธเจ้าจึงบอก ถ้าเราอยากจะช่วยเขาสงสารเขาอย่างนั้น ก็ควรจะกลับไปแล้วก็บอก คือตั้งสัจอธิษฐานแล้วก็บอกเขาว่า ตั้งแต่เราเกิดเราไม่เคยได้เบียดเบียนชีวิตของสัตว์ใดเลย โดยอำนาจ ของสัจจะความจริงอันนี้ ขอให้หายอันตราย ขอให้หายเจ็บ

    องคุลิมาลฟังแล้วงง เอ ถ้าไปพูดอย่างนั้น เราโกหกชัดๆ เลย จะมีผลอะไรถ้าเราพูดอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ให้พูดอย่างนี้ ถ้า เราสงสัย ตั้งแต่เราเกิดเป็นพระอริยะ เราไม่เคยเบียดเบียนชีวิตโดยอำนาจของสัจอธิษฐานนี้ขอให้หาย
    <!-- </p>-->
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรมะ

    ผู้ฟัง : ขอกราบเรียนพระอาจารย์ต่อ ถึงแม้ว่าคำถามนี้จะ เป็นคำถามส่วนตัว แต่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับท่านอื่นด้วย จึงขอ อนุญาตนำคำถามกราบเรียนพระอาจารย์เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ที่ปฏิบัติ อยู่ด้วย

    หากเรานั่งสมาธิ ตอนแรกกำหนดพองยุบที่กึ่งกลางท้อง จน กระทั่งรู้สึกโล่ง โปร่ง เย็น ว่างไปทั้งตัว ทำให้ไม่รู้ว่าจะกำหนดตรง ไหน พอกำหนด จะกำหนดที่ลมหายใจก็ไม่มี ที่กึ่งกลางตัวก็ไม่มี จนต้องลืมตาขึ้น ขอความกรุณาพระอาจารย์ช่วยแนะนำ

    พระอาจารย์ : คือปกติเวลาเราทำจิตสงบ จะเป็นขั้นตอน ของความสงบของจิต คือลมก็จะค่อยละเอียด ความรู้สึกของ ร่างกายก็จะค่อยละเอียด และก็อาจจะไม่ได้สังเกตก็มี หรืออาจจะ ไม่สังเกตเลยก็มี แต่สิ่งที่ต้องกำหนดคือตรงที่มีความรู้สึกต่อผู้รู้ คือ ถ้าผู้รู้ไม่มีก็จบ คือไม่มีโอกาสปฏิบัติต่อเลย

    แต่ว่าถึงจะไม่มีความรู้สึกต่อลม และมีความปลอดโปร่งว่าง แต่ว่าก็ยังมีผู้รู้ รู้ว่าว่าง รู้ว่าโปร่ง รู้ว่าเบา เราก็ต้องกำหนดที่ผู้รู้ตรงนั้น ผู้รู้นั้นจึงจะได้ช่วยให้เราเกิดความรู้อีกระดับหนึ่ง ว่าที่นี้มีความรู้สึกว่าง โปร่ง เบา มันก็สักแต่ว่าความรู้สึก เราก็รู้อยู่ รู้ว่าความ รู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้น มันก็ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป มันคอยเปลี่ยนแปลง แต่ ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนแปลงปุบปับ เราก็พอจะสังเกตได้คือ จะมีความรู้สึก ต่อร่างกาย หรือลมหายใจเข้าลมหายใจออก หรือไม่มีความรู้สึก เราก็ยังต้องให้ความสำคัญกับผู้รู้

    พูดในแง่หนึ่ง การกำหนดลมเข้าลมออก คือเราไม่ได้ภาวนา เพื่อการทำให้ลมเข้าออกสะดวกหรือเข้าออกอย่างชัดเจน เพราะว่า มันเข้าออกอยู่แล้ว แต่ว่าเราทำเพื่อให้มีผู้รู้ที่ละเอียด ผู้รู้ที่มีความ ชัดเจน เราก็ต้องถนอมและให้ความสำคัญกับผู้รู้ อย่างนี้แหละเป็น ขั้นตอนของการภาวนา
    <!-- </p>-->
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ก า ร พิ จ า ร ณ า ธ า ตุ ๔

    ในสติปัฏฐานสูตรหมวดธรรมะที่ถัดไปที่น่าสนใจสำหรับการ ภาวนาคือเรื่องการพิจารณาถึงธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุ ลม เป็นวิธีที่ช่วยให้เราสังเกตสภาพสิ่งที่เรา ยิ่งโดยเฉพาะเรื่อง ร่างกาย ปกติเรามักจะมองร่างกายว่าเป็นของของเรา และนอกจาก เป็นของเรา ก็เป็นฐานของการสร้างความรู้สึกต่อตัวตน ว่าเป็นตัว ตนที่มีอายุมากอายุน้อย มีความสูงมีความต่ำ มีความสวย มีความ ไม่สวย มีความน่ารัก มีความไม่น่ารัก มีความหลากหลาย ความ รู้สึกต่อตัวตนคือร่างกาย เป็นฐานอย่างหนึ่งที่สำคัญ และโดยความ รู้สึกต่อตัวตน เราก็จะมีการขึ้นๆ ลงๆ โดยอารมณ์ว่าสุขว่าทุกข์ แต่ ส่วนมากก็จะทุกข์ มีความสุขหน่อยหนึ่ง และก็มีความทุกข์เยอะแยะ เป็นปกติชีวิตของมนุษย์ทั่วๆ ไป

    ในการพิจารณาเรื่องธาตุ คือธาตุในแง่ของพุทธศาสนาที่ว่าธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คือจะหมายถึงลักษณะที่เราว่า ธาตุดิน ไม่ใช่ดินที่เราเอาดอกไม้ไปปลูก นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของดิน แต่ว่าทุกอย่างที่มีลักษณะของความแข็ง มีการกินเนื้อที่ เป็นสิ่งที่มี รูปมีลักษณะที่พอจะเห็นและสัมผัสได้ก็จะเรียกว่าธาตุดิน ธาตุน้ำคือ จะเป็นธาตุตามธรรมชาติ ที่มีลักษณะของความเหลว มีลักษณะที่ เอิบอาบ ซ่านไปซ่านมา และหลั่งไหลได้เรียกว่าธาตุน้ำ ธาตุไฟคือ ธาตุตามธรรมชาติหรืออาการของธรรมชาติที่มีความร้อนหรือความ เย็น มีอุณหภูมิจะมากหรือน้อยก็คือเรื่องของธาตุไฟ และธาตุลมเป็น อาการของธรรมชาติที่มีการพัดไปพัดมา มีการค้ำจุน มีลักษณะที่ ปลิวไปนี่ปลิวไปนั่น สายลม เช่น ความคิดของอินเดียสมัยพุทธกาล เช่นที่เราเหยียดขา เอาแขนเข้าหรือเหยียดออกอย่างนี้ คือเป็นธาตุ ลมที่ช่วยให้มีการพัดไปพัดมา มันเป็นอาการของธรรมชาติ

    ในสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้ายกการเปรียบเทียบ เหมือน กับพ่อค้าเนื้อที่เขาขายเนื้อ เขาก็ไปหั่นเนื้อ เขาก็จะตัดเนื้อหรือเอา โคมาขาย แต่ว่าไม่ได้ขายโค มันขายเนื้อ มันหั่นๆๆๆ เอาหนังออก เอาเนื้อออกเป็นชิ้นๆ เอากระดูกไปทางนี้ คือมันรู้ว่าเขากำลังทำ อะไร อันนี้คือเนื้อ อันนี้คือน้ำ อันนี้คือเลือด อันนี้คือกระดูก ก็ เหมือนกัน เราดูลักษณะของร่างกายของเรา แล้วเราก็สังเกตอันนี้ เป็นส่วนแข็งเป็นธาตุดิน อันนี้ส่วนเหลวอันนี้คือธาตุน้ำ อันนี้เป็น ส่วนที่มีอุณหภูมิ อันนี้เป็นธาตุไฟ อันนี้คือส่วนที่พัดไปพัดมา อย่าง ลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็เป็นธาตุลม เราก็แยกออกโดยการพิจารณา แยกออกเป็นธาตุ และก็เหมือนความรู้สึกของคนขายก็ดี คนซื้อก็ดี ความรู้สึกที่ว่าเป็นโคมันไม่มีแล้ว มันเป็นเนื้อ มันเป็นของ รับประทาน เป็นของเอาไปปรุง ความรู้สึกที่ว่าโคมีชีวิตอยู่ไม่มีแล้ว

    เช่นเดียวกัน ถ้าเราพิจารณาโดยการแยกออก เราก็จะถอน ความรู้สึกต่อตัวตน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะว่าที่เรามีความ รู้สึกว่าตัวตนมันก็มีความสำคัญมั่นหมายที่ขึ้นมาอาศัยส่วนประกอบ คือธาตุ ๔ ในแง่นี้

    สมัยก่อนเกือบ ๑๐ ปี มีหนังสำหรับเด็กเป็นเรื่องของหมูตัว น้อยๆ ชื่อ เบ็บ บางคนก็จะจำได้ คือหลังจากหนังนั้นได้เกิดความ นิยม มันเป็นที่เสียหายของอุตสาหกรรมขายเนื้อหมู มันขายไม่ ออกเท่าไรอยู่พักใหญ่ เพราะว่ามันเกิดความคิด เอ้ หมู เบคอนกับ แฮม มันมาจากที่เดียวกัน เลยเกิดความขยะแขยง มันกินไม่ลง พวกเด็กๆ สมัยนั้นน่ะ เดี๋ยวนี้ความรู้สึกเขาหายแล้วมั้ง กินกัน เหมือนเดิม แต่มันเป็นเรื่องความรู้สึกที่ว่าเป็นเนื้อเป็นชิ้นเป็นอัน โดยปกติเราก็ไม่คิด เดินไปในตลาดที่เขาขายเนื้อ ถ้าเรานึกว่าเป็น สัตว์เป็นสิ่งที่มีชีวิตอยู่มันกินลงยาก แต่นี่มันเป็นความรู้สึกถอนออก โดยธรรมชาติ เพราะว่าเราก็ไม่ได้คิด

    แต่เวลาเราพิจารณาถึงร่างกายของเรา มันก็เพื่อเปลี่ยน ความรู้สึกเช่นเดียวกัน เราเปลี่ยนความรู้สึกที่มีการยึดมั่นถือมั่น ความหลง โดยการพิจารณาถึงธาตุ ๔ เพราะว่าถ้าเราสัญญา สำคัญมั่นหมาย ความรู้สึกเกิดขึ้นจากสัญญาและการพิจารณาอย่างหนึ่ง เช่น เราพิจารณาว่าร่างกายนี้เป็นสิ่งที่ต้องห่วงใย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าตกแต่ง น่าประดับไว้ให้มีความสวยความงาม ความเพลิดเพลิน มันก็เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง แต่ว่าเราก็มาพิจารณาอีกอย่างหนึ่ง เมื่อ เราพิจารณาในลักษณะที่ เออ มันก็สักแต่ว่าธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม สัญญาก็จะเปลี่ยน ความรู้สึกเห็นว่าเป็นของที่น่าห่วงน่ากังวลน่า ตกแต่งน่าเพลิดเพลินนั้น มันก็สักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ มันก็ อาศัยอยู่จริง ต้องดูแลอยู่ก็จริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะปลุกเร้าให้มี ความหลงใหลด้วยความยึดมั่นถือมั่นไว้ เราอาศัยการพิจารณาเพื่อ ช่วยเปลี่ยนสัญญาของเรา อย่างว่ามันช่วยถอนตัวตัณหา และถอน อวิชชา ความหลงใหล

    การใช้ธาตุ ๔ เป็นกรรมฐานมีสูตรที่พระพุทธเจ้าสอนราหุล ท่านยกธาตุ ๔ เป็นประเด็นในการพิจารณา มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ราหุลได้ติดตามบิณฑบาต ด้วย ตอนนั้นราหุลกำลังจะหนุ่มเต็มที่ กำลังจะเป็นผู้ใหญ่ อายุตอน นั้นราว ๑๘-๑๙ ปี ตามที่เขาเล่ากัน กำลังหนุ่มเต็มที่ ก็ตาม บิณฑบาต คือสมัยนั้นพระพุทธเจ้าจะราว ๔๐ ปลายๆ ยังมี กำลังวังชามาก พระพุทธเจ้าก็สง่าโดยธรรมชาติอยู่แล้ว รูปร่างใหญ่ สง่า ราหุลก็เกิดความคิดในใจ พ่อของเราสง่า งดงาม เราเองก็เป็นลูก เราก็ไม่เบาด้วย พอคิดอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็หันมาตักเตือน ท่านก็ไม่ว่าโดยตรง แต่ก็ว่าในลักษณะว่าผู้ใดปรารภธรรมะ ก็ต้อง พิจารณาร่างกายเห็นรูปอย่างชัดเจน ราหุลก็รู้ตัว อาย ใครจะไป บิณฑบาตไปฉัน วันนี้หลังจากรับการตักเตือนจากพระตถาคตจากพระพุทธเจ้าเอง ยังไงก็กินไม่ลงแล้ว ท่านเลยไปภาวนา ปลีกตัวไปหาวิเวกในวันนั้น ตอนเย็นท่านเข้าไปกราบพระพุทธเจ้าแล้วขอคำ แนะนำในธรรม

    พระพุทธเจ้าจึงสอนยกเรื่องธาตุ ๔ เป็นประเด็นให้ท่าน พิจารณาเห็นส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็งที่กินเนื้อที่ เช่น เป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นหนัง เป็นเนื้อ เป็นกระดูก เป็น อวัยวะภายใน เป็นตับ เป็นไต เป็นปอด เป็นหัวใจ เป็นลำไส้ นี่ ถือว่าเป็นธาตุดิน

    ส่วนที่เป็นของเหลว เป็นน้ำ เป็นน้ำดี เป็นน้ำลาย เป็น น้ำตา เป็นน้ำมูก น้ำต่างๆ ที่อยู่ในร่างกาย ก็ถือว่าเป็นธาตุน้ำ มองเป็นธาตุแทนที่จะแยกออกจนมากเกินไป เราก็กลับมา อันนี้คือ ธาตุ อันนี้ธาตุดิน อันนี้ธาตุน้ำ

    ส่วนที่เป็นอุณหภูมิที่มีหน้าที่ในการทำให้เรามีความเจริญ คือ ร่างกายของเราค่อยเติบโตค่อยเจริญ เจริญอาหารบ้าง ย่อย อาหารบ้าง ทำให้มีความอุ่นภายในร่างกายก็ถือว่าเป็นธาตุไฟ

    ธาตุลมก็ลมในลำไส้ ลมที่ขึ้นเบื้องบน ลมที่ลงเบื้องล่าง ลม หายใจเข้า ลมหายใจออก ก็ถือว่าเป็นลมเป็นธาตุลมทั้งนั้น และ ท่านก็ให้พิจารณาต่อไปว่า ธาตุดินคือเราต้องพยายามทำจิตใจของ เราให้เหมือนกับธาตุดิน ในลักษณะที่ดิน หรือปฐวีธาตุ ใครไปเอา ของดีมาไว้ เอาของไม่ดีมาไว้ เอาของสะอาดมาไว้ เอาของสกปรก มาไว้ ธาตุดินมันก็ไม่ได้ว่าอะไร ไม่เกิดความตกใจยังไง ไม่ได้เกิดความรู้สึกน้อยใจเสียใจอะไร ไม่ได้เกิดความดีอกดีใจอะไร เพราะมันเป็นธาตุดิน

    เราต้องพยายามทำให้ใจเหมือนกับธาตุน้ำ น้ำทั้งหลายเรา เอาของดีมาใส่ เอาของไม่ดีมาใส่ ของสกปรกมาใส่ ของสะอาดมาใส่ มันก็ไม่ว่าอะไร ไม่เกิดความน้อยใจ ไม่เกิดความเสียใจ ไม่เกิด ความตื่นเต้น ไม่เกิดความดีใจ คือมันมีความมั่นคง เพราะมัน เป็นธาตุ

    ธาตุไฟก็เช่นเดียวกัน ธาตุลมก็เช่นเดียวกัน มันมีความ มั่นคงอยู่ในตัวมัน มันไม่หวั่นไหวต่ออะไรที่เกิดขึ้น เราก็ต้อง พยายามทำใจของเราให้มั่นคงเหมือนกับธาตุทั้งหลาย ก็เป็นการ พิจารณา

    อีกแง่หนึ่งที่พระพุทธเจ้าสอน คือ เวลาทำใจให้มั่นคงเหมือน กับธาตุทั้ง ๔ เราจะสามารถนำเมตตาจิตขึ้นมา เมตตาจิตนั้นเวลา อาศัยการพิจารณาธาตุ คือ จะไม่หวั่นไหว เช่นเดียวกัน จะมี เมตตาเอื้ออารี คนจะดีกับเราไม่ดีกับเราถูกใจเราไม่ถูกใจเรา ได้สิ่งที่ ปรารถนาไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็จะไม่หวั่นไหวเช่นเดียวกันเหมือนกับ ธาตุทั้ง ๔ ที่ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นการสอนที่พระพุทธเจ้า ได้ให้กับราหุล และท่านลงท้ายในการสอนอานาปานสติคือ หลังจาก ได้ให้พิจารณาเรื่องธาตุ ๔ เจริญการสังเกตด้วยธาตุ ๔ เป็นฐาน ท่านก็ได้แนะนำให้เจริญอานาปานสติ ซึ่งท่านสอนอย่างชนิดที่ว่า สมบูรณ์ อานาปานสติที่พระพุทธเจ้าสอนอย่างสมบูรณ์จะเป็น ๑๖ ขั้น ซึ่ง ๑๖ ขั้นที่แบ่งออกเป็น ๔ ภาค ภาคละ ๔ เรื่องและก็จะสอดคล้องกับสติปัฏฐาน ๔ จะมีหมวดเกี่ยวกับร่างกาย หมวดเกี่ยวกับเวทนา หมวดเกี่ยวกับจิต หมวดเกี่ยวกับธรรม ก็เป็น ๑๖ ขั้น ตอนทั้งหมด คือเป็นคำสอนที่น่าสนใจหลายประเด็น

    ประเด็นแรกพ่อสอนลูก ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจน่าประทับใจ ยิ่งโดยเฉพาะสำหรับวันนี้ ในการยกประเด็นเรื่องธาตุ ๔ เพราะเป็น ประเด็นที่ถ้าเราใช้ในการพิจารณา มันช่วยให้เราเสริมและสร้าง ปัญญาภายในตัวเอง เพราะว่าการภาวนาคือ เราภาวนาเพื่อให้จิต สงบ นี่ก็เป็นพื้นฐาน

    แต่ว่าจิตสงบต้องมีงานทำ ไม่ใช่ว่าเราปฏิบัติเพื่อให้มีจิตสงบ อย่างโดดเดี่ยว จิตสงบนั้นเราก็ต้องมีหลักสักอย่างที่ให้เราพิจารณา เพื่อรู้แจ้งเห็นจริง หรือช่วยให้เราถอดถอนสิ่งที่ทำให้เราหลง ยังหลง อยู่ในวัฏสงสาร เป้าหมายในพระพุทธศาสนา คือพระพุทธเจ้ามีเป้า หมายจะให้เราพ้นจากความทุกข์และพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง ไม่ใช่พ้นจากความทุกข์แล้วก็ทุกข์ ทุกข์แล้วยังทุกข์ต่อไป มันไม่ใช่ ลักษณะการสอนของท่าน ท่านก็จะมุ่งในการให้โอกาสกับเราที่จะได้ พ้นทุกข์อย่างเด็ดขาด การพิจารณาเรื่องธาตุ ๔ เป็นอุบายช่วยให้ เราพิจารณาเห็นความจริง และถอนตัณหาถอนอวิชชา แต่สิ่งที่เรา มักติดอย่างเหนียวแน่นที่สุดก็เรื่องความรู้สึกต่อตัวตน

    การยกประเด็นของการพิจารณาธาตุ ๔ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ เราถอนความรู้สึกต่อตัวตน เพราะว่าพอเรามองเห็นว่าสิ่งที่เราสัมผัสก็ดี ผู้ที่เป็นผู้สัมผัสก็ดี ก็ล้วนแต่เป็นธาตุ ๔ เท่านั้น มันสักแต่ว่า ธาตุเท่านั้น เราดูว่าอันไหนของเราที่ไม่ได้เป็นธาตุ มีอะไรที่เป็นตัว เป็นตนที่ไม่แปรปรวนตามสภาวะของธาตุก็ไม่มี เลยทำให้จิตเกิด ความปลอดโปร่งโล่ง เพราะเราสามารถที่จะวางความรู้สึกต่อ ตัวตนไว้

    ในการภาวนาพูดถึงวิธีการ คือนอกจากเรายกสัดส่วนของ ร่างกายแล้วค่อยพิจารณาเป็นธาตุ ๔ อีกแง่หนึ่งคือการยกลักษณะ ของธาตุ ๔ ขึ้นมา แทนที่จะเป็นการคิดนึกว่าเป็นธาตุ ๔ การ สัมผัสโดยตรง เออ นี้แหละในประสบการณ์ที่สัมผัสจริงๆ ก็คือธาตุ ๔ เท่านั้น เช่น ในการพิจารณาถึงธาตุดิน ธาตุดินก็จะมีลักษณะ ของความแข็ง ของหยาบ ของหนัก ของนิ่ม หรือของอ่อน ของนิ่ม นวล ของเบา คือมันเป็นลักษณะที่เราสัมผัสได้ เช่น เรากำลังนั่ง สมาธิอยู่ เราสัมผัสความแข็ง มันก็ไม่ยากนัก แค่เอาปากของเรา ฟันของเรามันแข็งที่สุดในร่างกาย เราก็รู้สึกสัมผัสของแข็ง อันนี้คือ ธาตุดิน ไม่ใช่ฟันของเรา ไม่ใช่ของแข็งของเรา มันเป็นของแข็งของ ธาตุดินเท่านั้น มันเป็นลักษณะของธาตุ ไม่ได้มีตัวตน ไม่ได้มีเราอยู่ ในนั้น เป็นการสัมผัสโดยตรง ของหยาบคือมันมีทั่วร่างกายเช่น ของแข็ง เราได้สังเกตมันก็มีอยู่ที่ฟันของเรา

    แต่ว่าเราก็คอยมาพิจารณาในร่างกายของเรา เราก็คอย สัมผัสภายในร่างกายของเรา ส่วนที่รู้สึกว่าแข็งที่อื่น ส่วนที่เป็น ความรู้สึกก็มี เช่น ตรงที่เราสัมผัส เช่น กระดูกของเรามันกำลังสัมผัสที่นั่ง เราก็รู้สึกว่าเออ มันมีความแข็งอยู่ตรงนั้น หรือเรามีอาศัยการคิดนึกว่า เอ้อ ที่เรานั่งอยู่ได้มันก็ต้องอาศัยธาตุดินคือ กระดูก ถ้ากระดูกของเราไม่แข็ง เราก็ไม่ได้นั่งอย่างนี้ คงเป็นก้อน น้อยๆ ก้อนหนึ่งมันค่อยยุบลงมา มันไม่มีรูปมีลักษณะเลย ที่เรามี รูปลักษณะ มันก็อาศัยความแข็งของธาตุดิน ก็เป็นการพิจารณาของ หยาบก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง ธาตุดินก็มีลักษณะของความหยาบ ที่ ใกล้ที่สุดในการสังเกตโดยการสัมผัส เช่น เราเอาลิ้นของเรามา สัมผัสที่ฟันข้างบน เอ้อ มันก็หยาบ เอาลิ้นมาเลียกลับไปกลับมาที่ ฟันของเรามันก็รู้สึกหยาบ มันมีของเหมือนกับขมนิดๆ มีความหยาบ มันเป็นลักษณะที่เราสัมผัสได้ เป็นอยู่ในร่างกาย อาศัยธาตุดิน แล้วเราก็คอยดูตามร่างกาย มันก็มีที่อื่นที่จะมีความรู้สึก ถ้าเอารูป ขันธ์มาดูบางแห่งเช่น ผิวหนังที่มือเรา มันจะไม่ค่อยนิ่มเท่าไหร่หรอก มันไม่ใช่นิ่มนวล หรือที่อื่นในร่างกาย เช่น ที่หัวเข่า ที่ศอกของเรา มันไม่ใช่ว่านิ่มนวล ก็เป็นของหยาบ ก็เลยเป็นส่วนพิจารณาเป็น ลักษณะของธาตุดิน เราก็คอยสังเกตคอยพิจารณา
    <!-- </p>-->
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ตั ณ ห า ๓

    เวลาเราปฏิบัติ บางครั้งอาจจะรู้สึกว่าธรรมะมันมาก เหลือเกิน ยากที่จะรู้ว่าจะหยิบธรรมะข้อไหนเมื่อไร อันไหนสมควร อันไหนจะมีประสิทธิภาพ อันไหนมันจะถูก แต่มีครั้งหนึ่งที่ พระพุทธเจ้าถูกถามว่า ธรรมะโดยย่อคืออะไร ธรรมะโดยย่อที่จะพา ไปที่สูงสุดของความประพฤติการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรม ทั้งหลายไม่ควรยึดมั่น แค่นี้พอ

    ถ้าเราเกิดความสงสัยเมื่อไร เกิดความรู้สึกว่าโลเล เอ จะ เอาข้อธรรมะเข้ามาปฏิบัติ เราจะใช้มุมไหนของข้อธรรมะก็เอาข้อนี้ ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่น เป็นธรรมะที่สอนตัวเองสอนเจ้าของ ก็ เป็นเครื่องเตือนสติว่าปัญหาทั้งหลายมันก็เกิดจากที่เรายึดมั่นถือมั่น เราหลงก็เกิดความยึดติด ที่พระพุทธเจ้าสอนภาษิตอันนั้น เป็นธรรมะที่ท่านสอนสักกะจอมเทพ ลงมาถวายการอภิวาทต่อพระพุทธเจ้า แล้วก็ถามอย่างนั้น ธรรมะโดยย่อที่จะเป็นธรรมะสิ้น ตัณหา เป็นธรรมะที่จะทำให้พรหมจรรย์บริบูรณ์ ทำให้เราถึงสุดยอด ของความบริสุทธิ์คืออะไร พระพุทธเจ้าก็ได้ตอบไปอย่างนั้น

    ความยึดมั่นความถือมั่น ความยึดติดด้วยตัณหาหรือด้วย อุปาทาน ก็เป็นปัญหาที่เรียกว่าเป็นแกนกลางที่ทำให้เรามีความทุกข์อยู่ แต่ความยึดติดบางทีก็เป็นด้วยความรู้ตัว บางทีก็เป็นด้วยความ ไม่รู้ตัว บางทีเราก็มีเหตุผลควรจะติดอยู่ยังละไม่ได้ แต่ก็เป็นส่วนที่ เราต้องพยายามพิจารณาเพื่อเห็น เพื่อเข้าใจว่าเรามีความยึดติดตรง ไหน เราก็จะยังมีความทุกข์อยู่ ตราบใดที่เรายังมีความทุกข์อยู่ ถ้า เราอยู่ในภาวะที่ยังหวั่นไหวอยู่ ยังลำบาก คือการเห็นโทษของการ ยึดติดจึงเป็นสิ่งที่เราต้องพยายามพิจารณา เพื่อเราจะได้คลายความ ยึดมั่นให้ได้ เราก็ต้องสังเกตดูมีโทษมีพิษมีภัย มีความลำบากเกิด ขึ้นอย่างไร และเรายังยึดติดในเรื่องอะไรบ้าง ถ้าเราสังเกตโดย ชัดเจนก็พอจะปล่อยได้ พอจะคลายความยึดมั่นได้

    อาตมาเพิ่งได้ยินเรื่องอย่างหนึ่งที่โยมคนหนึ่งเขาสามารถที่จะ คลายความยึดมั่นได้โดยการเห็นโทษ เขาเป็นชาวบ้าน เขามีลูกคน หนึ่งไปอยู่เมืองนอก อยู่ที่ประเทศอิตาลี ลูกสาวไปแต่งงานกับคน อิตาลีเขาก็ไปอยู่กันที่นั่น ลูกก็อยากให้แม่มาอิตาลี มาอยู่ด้วยสัก ระยะหนึ่ง อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง แม่ก็ไม่ยอมมาสักที เมื่อลูกถาม ทำไมไม่มาสักทีอยากให้มา แม่ก็พูดว่าไม่มีหมากเคี้ยวที่เมืองนอกไปอยู่อิตาลีเคี้ยวหมากไม่ได้เลยไปไม่ได้ เขาติด เขายึดติด ลูกก็อยู่ไปอยู่มาทุกปี พยายามให้แม่มาด้วย คือที่จริงเมืองนอกก็หาหมากได้ ไม่ใช่ว่าไม่มี มี หาได้

    ลูกก็ชวนมาหลายครั้งหลายหน จนปีนี้แม่ก็ได้ไปประเทศ อิตาลี ลูกกับลูกเขยก็ดูแลอย่างดี หาหมากให้เคี้ยวตามสบาย และ ก็ดูแลอย่างดี

    วันหนึ่งเขาไปในเมืองไปซื้อของ เขาไปในร้านอาหาร เขาไป จอดรถข้างหน้า แม่ก็บอกว่าไม่อยากเข้าไป ให้ลูกสาวกับลูกเขยไป ซื้อของตามสบาย เราก็จะนั่งอยู่ในรถ เขาก็นั่งอยู่ในรถรออยู่ เขาก็ เคี้ยวหมากอยู่อย่างนั้น เขาเปิดประตูถ่มน้ำลายออก ฝรั่งเห็น เขาก็ เกิดความห่วง เอ ผู้เฒ่าคนนี้กำลังไม่สบาย เลือดออกจากปากเลย แล้วพยายามพูดกับเขา สันนิษฐานว่าจะช่วยได้ยังไง สงสาร ก็พูด กันไม่รู้เรื่อง แม่ยายก็ไม่รู้ภาษาสักคำหนึ่ง ภาษาอังกฤษก็ไม่รู้ ภาษาอิตาลีก็ไม่รู้ พยายามพูด ปากก็เต็มอีกแดงๆ ฝรั่งก็ยิ่งสงสาร มันต้องมีอะไรที่ไม่สบายหนักมากเลย เขารีบโทรศัพท์ไปโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งรถฉุกเฉินมา รถฉุกเฉินมาเขาก็พยายามจะช่วยคนที่มี โรคที่ร้ายแรง ปากก็มีเลือดเยอะแยะ ของในปากก็เยอะแยะ มัน เป็นโรคแปลกๆ เขาไม่เคยเห็นอย่างนี้ เขาก็รีบให้รถฉุกเฉินพาไปโรง พยาบาล

    ตัวแม่ออกก็ไม่ไหวแล้ว เขาก็คิดว่าเป็นอาการของโรคอีกด้วย เขาพาไปโรงพยาบาล เขาก็ทำความสะอาดปาก แล้วก็ดู ก็ไม่แน่ใจ ว่าเป็นอะไร เขาก็ล้างท้องเลย

    ลูกสาวกับลูกเขยก็เดินออกจากที่ซื้อของ ก็ไปที่รถก็ไม่มีแม่อยู่ เขาก็ไม่รู้ว่าแม่ไปที่ไหน ใช้เวลาตั้งพรุ่งนี้แน่ะ แม่อยู่โรง พยาบาลตลอดคืน แล้วอีกวันหนึ่ง ลูกจึงเจออยู่โรงพยาบาล กำลัง รักษาโรคอยู่

    ตั้งแต่นั้นเขาไม่ได้เคี้ยวหมากสักคำหนึ่งเลย ก็เป็นวิธีแก้ไข ความยึดติดเหมือนกัน คือพอเขาเห็นโทษว่ามันยุ่งมันยากมากเลยไม่ เอาแล้ว

    สำหรับเราดูแม่ยายมันก็น่าขำที่เขายึดติดขนาดนั้น คนอื่นก็ เข้าใจว่าอยากช่วยเขา แต่ในลักษณะอีกแง่หนึ่ง เราเองก็ยึดติดอะไร หลายๆ อย่าง ก็ไม่ยอมปล่อยเลย คือมันเป็นส่วนที่เราก็ต้อง พยายามที่จะศึกษาสังเกตพิจารณา เพื่อได้เห็นว่าเรายึดตรงไหน เรา มีความผูกรัดไว้ด้วยตัณหายังไง มันก็เป็นทุกข์อยู่ลำบากอยู่ จน กระทั่งเรายอมสละทิ้ง เรายอมถอยออก เรายอมถอน

    ในการภาวนา ในการปฏิบัติ เราปฏิบัติเพื่อเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ในจิตของตัวเองว่าทุกข์ที่เรามีอยู่ มันเป็นทุกข์จริงๆ มันเป็นเรื่องที่ น่าคลี่คลาย น่าจัดการ น่าแก้ไขตัวเองให้ได้ เพื่อจะไม่ให้ตัวเอง แบกความทุกข์ไว้ตลอด

    ที่เรามีความทุกข์อยู่ หรือที่พระพุทธเจ้าสอนธรรมทั้งหลายไม่ ควรยึดมั่น คือมันทำให้เราต้องสังเกตตรงที่ตัณหา ตัณหาก็อย่างที่ เราสวดเมื่อคืน ตัณหาอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น ตัณหาความ อยากได้ ตัณหาเป็นเหตุ อุปาทานคือเรายึดไว้ซึ่งตัณหานั้น

    พระพุทธเจ้าระบุไว้ว่าตัณหามีอยู่ ๓ ประการ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    กามตัณหาเป็นความเพลิดเพลินในกามอารมณ์ เพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ภายใน

    ภวตัณหา คือ มีความยินดีในความมี ความเป็น อยากให้ เป็นอย่างนี้ อยากให้เป็นอย่างโน้น อยากให้ตัวเองเป็นอย่างนี้ อยากให้โลกเป็นอย่างนี้ อยากให้คนอื่นเป็นอย่างนี้ อยากให้สิ่งของ อยู่ในสภาพอย่างนี้ จึงจะได้พอใจ

    วิภวตัณหา ไม่อยากให้มีไม่อยากให้เป็น ไม่อยากให้ตัวเอง เป็นอย่างนี้ ไม่อยากให้มีอารมณ์อย่างนี้ ไม่อยากให้มีโลกเป็นอย่างนี้ ไม่อยากให้คนอื่นเป็นอย่างนี้ มันก็เป็นวิภวตัณหา

    เลยจิตใจของเรามันกลับไปกลับมากับตัณหาเหล่านี้ และเรา สร้างความทุกข์ ที่เราอาศัยตัณหา ตัณหาเหล่านั้นมีเป้าหมายที่จะ ได้มีความสุข แสดงออกในลักษณะไหน แต่ว่าเป้าหมายของตัณหา เราอยากจะมีความสุข อยากมีความสบาย จะเป็นด้วยสิ่งของที่เรา จะได้สนองอารมณ์ของเรา หรือจะเป็นด้วยการทำภาวะให้เกิดขึ้น หรือกำจัดภาวะที่เราไม่พอใจ แต่ว่าเป้าหมายคืออยากได้ความสบาย อยากมีความสุข

    ตราบใดที่เราอาศัยตัณหาอยู่ ความสุขก็ไม่เกิดขึ้น หรือเกิด ขึ้นก็ประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็หายไป ความทุกข์อย่างหนึ่งพระพุทธเจ้า ระบุไว้ คือ สภาพของความทุกข์ ท่านเรียกว่าวิปรินามทุกข์ คือ ทุกข์เพราะความพลัดพราก เราได้สิ่งที่ถูกใจ แต่เราต้องพลัดพราก จากสิ่งเหล่านั้น คือโดยธรรมชาติมันจะต้องสลายจะต้องเปลี่ยนแปลง ได้ความสุขยังไง คือมันได้อยู่ แต่ยังเป็นทุกข์อยู่เพราะมันต้องเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่รู้อย่างนี้ เราไม่เข้าใจ แล้วเราก็ มาคิดว่าได้ความสุขแล้ว จะรักษาไว้ เราก็จะเกิดความรู้สึกท้อใจ หรือเกิดความเสียใจ เกิดความหวั่นไหวภายในจิตใจ เพราะสิ่งที่ได้ แล้วมันกำลังจะอันตรธาน กำลังจะหาย กำลังจะเปลี่ยนสภาพ

    มันกลับมาที่ไม่ควรยึดมั่น พระพุทธเจ้าก็ไม่ห้ามให้เราที่อยู่ ในโลกมีความสุข ขอให้ไม่ให้ความสุขนั้นอาศัยการเบียดเบียน หรือ การเอาเปรียบ หรือสิ่งที่เป็นอธรรม ถ้าหากว่าเราได้ความสุข เราก็ ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจ ว่าเราไม่ควรยึดมั่นในความสุขนั้น เพื่อ จะได้ปรับตัวให้ถูกต้องกับความเป็นจริง คำว่าธรรมทั้งหลายไม่ควร ยึดมั่น ก็เป็นภาษิตที่กินเนื้อความได้เยอะมาก แล้วก็ทำให้เรามี ความปลอดภัย คือเราจะไม่ยึดมั่นในสิ่งที่ทำให้เราเกิดความทุกข์อยู่ เพราะว่าเราเห็นความทุกข์อย่างชัดเจน แต่เราจะไม่ยึดมั่นในความ สุขด้วย เรารู้ว่าความสุขนั้นถ้าเรายึดไว้ มันก็ยังจะต้องพลัดพราก จากเรา ยังจะต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไป ความ เข้าใจในภาษิตเดียวเป็นเรื่องที่มีความหมายลึกซึ้งมาก ควรจะศึกษา

    การที่ได้ให้มีการสังเกตการพิจารณาในเรื่องตัณหา ๓ ประการ มันเป็นประเด็นอย่างหนึ่งที่เราสามารถที่จะใช้ในการภาวนา ของเรา อย่างเราภาวนาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ตั้งสติไว้ แต่ เรายังควรสังเกตดูศึกษาดูว่าเมื่อมีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นภายในจิตใจ ของเรา เป็นกระแสของตัณหาหรือเปล่า และเป็นกระแสของตัณหาแบบไหน เพราะว่าบางครั้ง กามตัณหาก็พอจะเห็นไม่ยากนัก บางครั้งเราก็ยังสามารถจะหลอกตัวเองได้ แต่มันก็พอจะเห็นได้

    แต่ภวตัณหา บางครั้งเราก็ไม่สังเกต เพราะว่ามันคล้ายๆ มี เหตุผลที่ค่อนข้างจะน่าสนับสนุน เช่น เราเข้ากรรมฐาน ๗ วัน ๘ วัน เกิดความคิดในจิตใจว่าเรามี ๗ วัน ๘ วัน ยังไงเราต้องทำให้ ได้ดีที่สุดให้ได้ เราต้องทำให้ได้สมาธิอย่างนี้อย่างนั้น ทำให้ได้ ปัญญาอย่างนี้อย่างนั้น มันก็เป็นความปรารถนาที่ดี แต่ถ้าหากว่า เรายึดมั่นไว้เป็นสิ่งที่นำความทุกข์มาให้ด้วย คือไม่ใช่ว่าเราไม่มีเป้า หมายในการภาวนา แต่เราต้องสังเกตดูว่าเราทำด้วยความยึดมั่น มากน้อยแค่ไหน เพราะว่าเราตั้งเป้าหมายสูงเกินไปหรือทำ อุดมการณ์อย่างเดียว มันเป็นส่วนที่ทำให้จิตใจไม่สงบ มันอาศัย ความเป็นตัวตนภายในตัวเอง คือเราจะต้องได้อย่างที่เราปรารถนา

    ถ้าเป็นอย่างนั้นถึงจะเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ในแง่หนึ่งก็เรียกว่าถูก ต้อง แต่ว่าเพราะความยึดมั่นโดยอาศัยความเป็นตัวตน มันก็ยังเป็น ทุกข์อยู่

    วิภวตัณหาก็ใกล้เคียงกันในลักษณะที่เราก็ควรจะสังเกต เช่น เราบางครั้ง แม้แต่เกิดความสงบ คือวิภวตัณหาไม่อยากให้มี ไม่ อยากให้เป็น ไม่อยากให้มีความคิดที่เป็นอกุศล ไม่อยากให้มีความ คิดหรือความรู้สึกที่จะกวนความสงบของเรา และมันก็เป็นการข่มจิต โดยวิภวตัณหา บางทีสามารถที่จะทำให้มีความระงับของการคิดนึกความระงับของอารมณ์ภายในจิตใจ แต่ว่ามันได้โดยอำนาจของวิภว-ตัณหา คือ จิตจะมีความนิ่งอยู่ แต่มันจะไม่ค่อยปลอดโปร่ง ไม่ ค่อยจะแจ่มใส

    นี่มันเป็นเรื่องที่ต้องคอยสังเกตในการภาวนา เพราะว่ามันมี เหตุมีผลเหมือนกัน เอ่อ เราไม่ควรจะมีความคิดที่เป็นอกุศล ไม่ควร จะมีความคิดที่จะมีความฟุ้งซ่านในจิตใจ เราควรจะระงับกระแสของ จิตที่คิดนึกอยู่

    แต่ว่าตราบใดที่ต้องอาศัยกระแสของวิภวตัณหา มันเป็น อกุศล เลยไม่สามารถที่จะทำความผ่องใสให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ เรา ก็ต้องคอยสังเกตดูคอยเข้าใจ คือเราดูหน้าของตัณหา ๓ ประการนี้ ก็เห็นว่า เออ ยังไงก็ดี ความสงบที่พระพุทธเจ้าปรารถนา ไม่ใช่ว่า จะอาศัยอกุศล หรืออาศัยกระแสตัณหา หรืออาศัยความยึดมั่นไว้ คือจะต้องอาศัยสติ และปัญญาเท่านั้น

    เวลาเรามีสติกับปัญญากับคุณธรรมมาประกอบด้วย คือจิต สงบ ไม่มีการแส่ส่ายเท่าไหร่ แต่ว่าจะมีความเบิกบานจะมีความ แจ่มใส คุณภาพของจิตจะไม่เหมือนกัน เป็นส่วนที่นักปฏิบัติเรา... คือเราอยู่ในโลกก็ดี เราก็ต้องสังเกตดูว่าตัณหา ๓ ประการ มัน แสดงออกยังไง

    แม้แต่เวลาเราปฏิบัติ ตัณหา ๓ ประการมันก็ยังมีบทบาทอยู่ แล้วเราก็ต้องเป็นผู้พิจารณา คอยสังเกตให้ละเอียด แต่การ ปฏิบัติเพื่อเข้าใจในความทุกข์ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่เราควรจะให้ความ สนใจ ถ้าเราปฏิบัติอยู่
    <!-- </p>-->
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

    ผู้ฟัง : กราบเรียนพระอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง วันนี้เป็นวัน พฤหัสฯที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นวันที่ ๕ ของ การปฏิบัติ ขณะนี้เป็นเวลาของการถาม-ตอบปัญหา ขออนุญาตนำ คำถามขึ้นกราบเรียนพระอาจารย์ครับ

    คำว่าภาวนาในความหมายตรงๆ คืออะไร และการนั่งสมาธิ ทำสมาธิ ต้องภาวนาโดยใช้คำบริกรรมหรือภาวนาให้ในสิ่งที่เราอยากได้ หรืออยากสำเร็จหรือไม่

    พระอาจารย์ : ภาวนาถ้าแปลโดยตรงก็แปลว่าทำให้มีเกิดขึ้น คือเป็นการทำให้มีเกิดขึ้น ซึ่งเวลาเราใช้คำศัพท์หมายความว่า การทำให้เกิดซึ่งคุณธรรม การทำให้เกิดซึ่งความสงบ การทำให้เกิด ปัญญา ภาวนาไม่ได้หมายถึงการนั่งสมาธิอย่างเดียว ภาวนาหมาย ถึงความเจริญทั้งหมดในสิ่งที่จะทำให้จิตและชีวิตให้ได้เข้าใกล้ธรรมะ ให้มากขึ้น ให้ได้มีความสงบมากขึ้น ให้มีความสุขมากขึ้น ให้มี ความทุกข์น้อยลง เลยเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายที่กว้าง เพราะว่า แม้แต่การบูชาพระรัตนตรัยก็เป็นการภาวนา การมีการสำนึกระลึกถึงคุณธรรมหรือหมวดธรรมะต่างๆ ก็เป็นการภาวนา มันก็มีความหมาย เช่น ความเจริญหรือระลึกถึงศีลก็เป็นการภาวนา การระลึก ถึงเทวดาก็เป็นการภาวนา การระลึกถึงเมตตาก็เป็นการภาวนา อัน ใดที่เป็นไปเพื่อความเจริญของจิตใจ และก็ทำอย่างต่อเนื่องก็คือการ ภาวนา

    การกำหนดบริกรรมจะใช้หรือไม่ใช้ คือ มันเป็นอุบายหนึ่งใน การภาวนาที่ช่วยให้จิตใจมีความสงบมากขึ้น ทำให้มีสติต่อเนื่องมากขึ้น แต่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ต้องดูที่ว่าจิตของเรามีความเจริญมากขึ้น หรือไม่ ทำให้มีเกิดขึ้นซึ่งความสงบหรือไม่
    <!-- </p>-->
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ก า ร พิ จ า ร ณ า ค ว า ม ต า ย

    ตั้งแต่เริ่มการเข้ากรรมฐาน อาตมาได้ยกคำสอนออกจากสติ ปัฏฐานสูตรเป็นส่วนใหญ่ ในอาทิตย์หนึ่งที่จริงก็ไม่เพียงพอที่จะได้ อธิบายสติปัฏฐานสูตรให้สมบูรณ์ เราก็คอยยกแต่ละเรื่องขึ้นไปบ้าง ในหมวดเกี่ยวกับกายบทสุดท้าย ก็เกี่ยวกับการพิจารณาความตาย

    วิธีที่พระพุทธเจ้าให้เราพิจารณาเรื่องความตาย ซึ่งเป็นวิธีที่ สมัยนี้ไม่ค่อยจะมีโอกาสเท่าไหร่ คือเป็นการพิจารณาซากศพ เพราะ ว่าในสมัยอินเดีย การที่จะได้เอาซากศพไปไว้ที่ป่าช้าก็ถือเป็นเรื่อง ธรรมดา สำหรับสมณะผู้มุ่งในการถอนตัวออกจากโลก ก็จะมีโอกาส ได้เห็นและสังเกตซากศพที่ไปไว้ที่ป่าช้า แล้วก็จะได้เห็นกระบวนการ ของการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังจากที่ได้ตายแล้ว ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ก็ธรรมดาพอสมควร ก็ไม่ใช่สถานที่ที่คนจะไปเที่ยวมากนักหรอก แต่ว่ามันก็ยังมีพอจะได้เห็น

    สมัยนี้แทบจะไม่ค่อยเห็น ถ้าเป็นฝรั่งก็ไม่เห็นเลย ไม่ค่อยมี ถ้าเป็นคนไทยก็แทบจะไม่เหลือเหมือนกัน คนกรุงเทพฯไม่เห็นตั้งนาน แล้ว คำว่าป่าช้ากลายเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในพจนานุกรมแล้ว ไม่อยู่ใน ชีวิตประจำของคนทั่วๆ ไป ในกรุงเทพฯ ก็ไม่นานนัก ๑๐๐ กว่าปี ที่แล้ว วัดสระเกศก็ยังเป็นป่าช้า ๑๕๐ ปีที่แล้ววัดสระเกศอาจจะ เป็นป่าช้าที่อยู่ชานเมือง สัตว์ที่อยู่วัดสระเกศเยอะคือนกอีแร้ง เพราะ ว่าวิธีการบางครั้งที่ได้จัดการศพในวัดสระเกศคือจะทำเหมือนกับใน ทิเบต คือเอาซากศพไปหั่นแล้วก็ไปตั้งไว้ แล้วนกอีแร้งก็จะกิน ถือว่าเป็นการบริจาคร่างกายเพื่อประโยชน์ของสัตว์เหล่าอื่น คิดว่าใน ความคิดของคนกรุงเทพฯ ไม่ค่อยจะคิดแล้วล่ะ จะไม่ค่อยรู้ว่าที่จริง ก็ไม่นานนัก เคยทำอย่างนั้น

    แม้ในชนบททุกวันนี้ ไม่ค่อยเห็นนกอีแร้ง อาตมามาเมือง ไทยใหม่ๆ ยังเห็นนกอีแร้งอยู่ ทุกวันนี้ไม่เห็นนะ ไม่รู้หายไปไหน แล้ว

    ป่าช้ามันก็เป็นสถานที่ที่เราพิจารณาถึงความตายได้โดย สะดวก เพราะว่าเป็นที่เผาเป็นที่ฝังศพ ซึ่งในชนบทก็พอจะมีบ้าง แต่แม้ในชนบททุกวันนี้ ก็ไม่ค่อยจะทำเท่าไหร่ อย่างวัดนานาชาติ เวลาเราสร้างวัดนานาชาติ ก็ตั้งอยู่ในป่าช้า ตอนไปอยู่ใหม่ๆ เวลา จะเผาศพ คือไม่มีที่ประจำที่เผาศพน่ะ ทุกครั้งที่จะมีการเผาศพชาวบ้านมาแล้วก็จะต้องตัดต้นไม้ต้นหนึ่งมาปักเป็นหลัก ๔ หลักเอาฟืนมาตั้ง เสียดายต้นไม้ ทุกครั้งต้องเสียต้นไม้แหละ และก็ต้อง ต้นไม้ที่เนื้อแข็งหน่อย เวลาเผาจะได้เก็บฟืนไว้ แล้วจะตั้งหีบศพข้างบน มันเปิดโล่งจะได้เห็น ทีหลังเราทำที่ประจำ แต่ว่าทำแบบง่ายๆ เหมือนกับเป็นบันไดขึ้นมาแล้วก็มีช่องอยู่กลาง มันก็ยังเปิดโล่งอยู่ แต่มันเป็นที่ประจำ ทุกวันนี้ชาวบ้านไม่ค่อยอยากจะใช้ มันไม่สง่า ไม่ค่อยมีเกียรติ อยากมีเมรุเผาศพสวยๆ จึงจะได้เผา

    แต่ที่จริงเผาศพมันก็เป็นศพอยู่แล้ว ไม่รู้ศพมันจะว่ายังไง มันเป็นพวกเราที่ยังมีชีวิตกันอยู่ ที่มีการคิด คิดอยากไปเป็นอย่างนี้ อยากไปเป็นอย่างนั้น

    การพิจารณาถึงซากศพ มันก็เป็นที่สุดของชีวิตเรา มันก็ สมควรที่จะพิจารณา ที่จริงพระพุทธเจ้าให้เราสวด พระพุทธเจ้าว่า ควรจะสวดทุกวัน ควรจะพิจารณาทุกวัน คือพิจารณาถึงความแก่ พิจารณาถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย และพิจารณาถึงความตาย ก็เป็นสิ่ง ที่ควรพิจารณาทุกวัน

    พิจารณาเพื่อให้มีการรีบเร่งในการปฏิบัติ ในการทำความดี เพราะว่าในเมื่อเรามีชีวิตอยู่ เราก็พอที่จะทำความดีได้ พอที่จะสร้าง คุณธรรมได้ พอที่จะสร้างปัญญาได้ พอตายไปแล้ว มันก็ไม่รู้จะไป ไหน ไม่รู้มีโอกาสจะปฏิบัติมากน้อยแค่ไหน

    พระพุทธเจ้าท่านให้คำเปรียบเทียบครั้งหนึ่ง ท่านกำลังนั่งอยู่ กับพระ ท่านเอาเขี่ยดินใส่ปลายเล็บของท่าน ท่านว่าอันไหนจะมากกว่ากัน ดินที่อยู่ปลายนิ้วกับดินในบริเวณเมืองสาวัตถีนี้ ดินที่อยู่ในปลายเล็บน้อย ดินที่อยู่ในเมืองสาวัตถีก็เยอะมากมาย ท่านก็ ว่าเช่นเดียวกัน มนุษย์ที่ตายไปแล้วที่เกิดมาเป็นมนุษย์อีก เพื่อ ทำคุณงามความดีมันก็น้อยนัก ที่ตายไปแล้วก็ไปที่อื่นก็มีมากมาย ถ้าเทียบกันอย่างนั้น

    การเกิดในภูมิมนุษย์ก็ถือว่าเป็นภูมิที่สมควรในการทำคุณ ธรรม ทำปัญญาให้เกิดขึ้น ทำการหลุดพ้นให้เกิดขึ้นในเวลาเรามีการ เกิดเป็นมนุษย์ เราก็ควรที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่อย่าง บริบูรณ์ เพราะว่าเราตายไปแล้วก็รับรองไม่ได้ว่าเราจะเกิดที่ไหนอีก ถึงจะเกิดในที่สูง ก็ไม่เป็นภูมิที่จะ...คือมันเป็นภูมิที่เราเสวยผลของ การกระทำของเราที่ทำไว้ในสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล แต่ว่าน้อยนักที่ สามารถที่จะใช้ภูมิเทพเป็นภูมิในการสร้างปัญญาต่อไป

    ในการพิจารณาถึงความตายเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราระลึกถึง ความจำเป็นในการรีบการเร่ง เราก็พูดตามความเป็นจริง เราพูดถึง ความตาย เราก็มักจะคิดว่า โน้น โน้น เวลาเราแก่เต็มที่ มีโรค แทรกซ้อน ชีวิตจะค่อยดับไป พูดตามความเป็นจริง ความตายมันก็ เกิดขึ้นกับเราอยู่ตลอด

    อย่างหนึ่งความตาย ก็สามารถที่จะเกิดอย่างฉับพลันได้ รวดเร็ว พระพุทธเจ้าให้เราพิจารณาถึงความตาย ท่านพูดว่าถ้า หากว่าเราพิจารณาถึงความตาย นอกจากลมหายใจเข้ายังไม่ออก หรือการกลืนข้าวสักคำเดียว คือถ้าเราพิจารณาในอนาคตมากกว่า นั้นว่า เอ้อ เราก็จะมีประสบความตาย อันนี้ถือว่าประมาทแล้ว

    ถ้าเราพิจารณาตามหลักของหมอหรือหลักของวิทยาศาสตร์แล้วเราดูวิชาของหมอ คือชีวิตของเราสามารถจะดับ เช่น ถ้า หากว่าเส้นเลือดในสมองแตกปึ๊บ ลมหายใจเข้ายังไม่ทันออก สามารถที่จะไปแล้ว หรือเราประสบอุบัติเหตุปุ๊บ ชีวิตก็ดับลงไปได้

    นี่เป็นส่วนที่เราก็ต้องพยายามพิจารณาอย่างเนืองนิตย์ อีกแง่ หนึ่งที่จริงความตายไม่ใช่เป็นสิ่งที่มาจากข้างนอก แล้วก็มาประสบ กับเรา คือเราอุ้มความตายกับเราอยู่ตลอด เราก็มีอาการ เปลี่ยนแปลงภายในร่างกายตลอด คือที่จริงร่างกายของเรากำลังจะ ตายอยู่ตลอด แต่มันก็พอที่จะมีอะไรที่ช่วยทดแทน เช่น เราหายใจ เข้า หายใจออก ถ้าหากว่าหายใจเข้าไม่ออก ความตายก็ถึงตอนนั้น เลย หายใจออกก็ไม่เข้า คือความตายอยู่กับเราตลอด

    ภายในร่างกายเรากำลังมีความแตกสลายเกิดขึ้นอยู่ตลอด แต่มีการคอยซ่อมคอยแก้ภายในร่างกาย อันนี้เป็นเหตุที่เช่น เวลา พิจารณาซากศพ ก็เอาซากศพไปไว้ป่าช้า พอไม่นานมันก็พองขึ้นมา แต่พูดตามความเป็นจริงที่มีความเสื่อมไปในร่างกายหรือกระบวนการ ที่มันพองขึ้นมา อันนี้กำลังเกิดอยู่ในร่างกายตลอด เพียงแต่หน้าที่ ของชีวิตและการมีชีวิตอยู่มันจะคอยต้านเอาไว้ๆ แต่ว่าพอลมหายใจ ครั้งสุดท้ายมันก็ไม่สามารถที่จะต้าน คือต้านไม่อยู่แล้ว มันเริ่ม เน่าแล้ว
    แต่ที่จริงเรากำลังเน่าอยู่ตลอด ตามหลักของวิทยาศาสตร์ หรือของหมอ มันเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ที่เรามีตลอดที่ตายไปแล้วเป็นซากศพเปลี่ยนสีขึ้นมา อันนั้น มันเป็นเรื่องธรรมดาที่กำลังเกิดในร่างกายอยู่ตลอด เพียงแต่มันไม่ สามารถที่จะต้านเอาไว้หรือทำให้มันพอต่อชีวิตได้

    มันเป็นส่วนที่น่าคิดน่าพิจารณาอยู่ หรือแม้แต่ในเซลล์ทุก เซลล์ของเรา มันก็กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และก็พอไม่มีความอุ่น ไม่มีการหายใจเข้าหายใจออกมันก็ค่อยเริ่มแตกสลาย มันไม่ สามารถที่จะซ่อมได้ มันก็สลายนี่เป็นเหตุที่น้ำมันไหลออกจาก ร่างกาย เพราะว่าเซลล์มันกำลังแตกอยู่ แต่ที่จริงมันกำลังแตกอยู่ทุก วันทุกเวลาแหละ มันเป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยคิด แต่มันก็เป็นความจริง

    บางทีเราไม่ต้องไปป่าช้า ไปดูซากศพ ดูตัวเองก็ซากศพยัง เคลื่อนไหวอยู่ เป็นเรื่องที่มันไม่ห่างไกลหรอก

    เวลาเราพิจารณาถึงความตาย ก็เป็นสิ่งที่เราพิจารณาเพื่อให้ เรามีสังเวคะ ความรีบเร่งมีกำลังใจที่จะได้ปฏิบัติ มีกำลังใจที่จะ สร้างความดีเพื่อไม่ให้ประมาท สังเวคะ เป็นความรู้สึกภายในจิตใจ ที่มีความสำคัญมาก เพราะถ้าหากว่าเราไม่มีสังเวคะก็ปล่อยไปตาม ความหลงตามกระแสของโลก แต่สังเวคะ เป็นความรู้สึกในจิตใจที่ อยากจะได้รีบเร่งทำสิ่งที่มีสาระ ทำสิ่งที่มีประโยชน์อย่างสูงสุดให้เกิด ขึ้นในชีวิตของตน

    มีครั้งหนึ่งมีเทวดามาแสดงความเห็นหรือความรู้สึกต่อ พระพุทธเจ้า เพื่อพระพุทธเจ้าจะได้อนุโมทนาหรือจะเห็นชอบหรือจะชี้แจงในความบกพร่องของความคิดความเห็นความรู้สึก เป็นบทกลอนที่แสดงให้พระพุทธเจ้าฟัง คือชีวิตของเราทุกชีวิตมีความ ตายเป็นที่สุดรอบ มีความตายประจันหน้าเรา เราควรที่จะทำความดี เพื่อความสุขที่ไพบูลย์

    พระพุทธเจ้าฟังแล้ว ท่านก็ให้ความคิดอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่ง ท่านก็ใช้สำนวนเดียวกัน เรามีความตายครอบงำทุกคน ถูกชักลาก ไปด้วยความตาย เมื่อมีความตายเป็นที่สุดรอบ เราควรที่จะละเสีย ซึ่งเหยื่อของโลกและทำความสงบให้เกิดขึ้น

    เป็นประเด็นที่ยกระดับความคิด ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ สรรเสริญการทำความดีและการสร้างความสุขด้วยอาศัยบุญ แต่ว่า ในประเด็นที่เราอยากจะสร้างความมั่นคงจริงๆ คือเราจำเป็นที่จะ ต้องคือเห็นโทษเห็นพิษภัยและเห็นความขัดข้องของโลกและการหลง ในโลก เวลาเราถอนออกได้ เราก็สามารถที่จะมีความสงบที่มั่นคงได้ ความสงบนี้จึงเป็นเหตุให้เกิดความสุขที่ไม่หวั่นไหวต่ออะไรทั้งสิ้น

    พิจารณาถึงความตายที่จริงมันช่วยทั้ง ๒ ประเด็น ทั้งใน การสร้างความดี ทั้งในการหาความสงบ พระพุทธเจ้าจะยกเรื่อง ความสงบให้สูงกว่า

    ในเวลาเราพิจารณาถึงความตาย มันก็เป็นสิ่งที่เราพยายาม ที่จะเห็น คือมันเป็นของธรรมดา แต่ว่าเป็นสิ่งที่เราไม่ควรจะเพิกเฉย เรารู้อยู่ว่าความตายก็จะมาถึงเรา ก็ไม่ควรจะเฉยไม่ควรจะมีความ ประมาท
    <!-- </p>-->
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ก า ร ล ะ สั ก ก า ย ทิ ฐิ

    มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้ฟังการเสนอข้อคิดในธรรมะ ท่านได้แก้ไขความคิดในธรรมะนั้น คือคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าเสมือนถูก แทงด้วยมีด หรือเสมือนศีรษะกำลังจะลุกเป็นไฟ ต้องรีบเร่งปฏิบัติ เพื่อละความอยาก หรือละความต้องการต่างๆ หรือความอยากต่างๆ หรือตัณหาต่างๆ

    พระพุทธเจ้าจึงตอบในลักษณะปรับปรุงความคิดเสมือนถูก แทงด้วยมีด เสมือนศีรษะกำลังลุกเป็นไฟ หรือมีไฟกำลังเผาอยู่ ควรจะรีบเร่งเพื่อละสักกายทิฐิ คือเป็นการปรับปรุงความคิด เพราะ ว่าพระพุทธเจ้าสนับสนุนการละตัณหาก็จริงอยู่ ละความอยากต่างๆ แต่ถ้าจะพูดอย่างสั้นๆ กะทัดรัด พระพุทธเจ้าจะให้ความสำคัญที่ การละสักกายทิฐิ

    สักกายทิฐิเป็นภาษาบาลี ที่จริงก็ยากในการแปลสักนิด แต่ว่าต้องอธิบายคือ มันเป็นความเห็นที่ยึดไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น อัตตภาวะ หรือเป็นตัวตน ซึ่งจะเอาอย่างใดอย่างหนึ่งของขันธ์ ๕ เป็นที่ยึดไว้ เป็นความรู้สึกต่อตัวตน จะเป็นรูปคือรูปร่างกายก็ดี เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งเราจะยึดไว้เป็นความรู้สึกว่าเราอยู่ตรงนี้ เราคืออันนี้ ความรู้สึกต่อความเป็นตัวฉันอยู่อย่างนี้ คืออยู่ในขันธ์ ๕

    ขันธ์ ๕ ก็เป็นประเด็นหนึ่งในสติปัฏฐานสูตรที่พระพุทธเจ้าให้เราพิจารณาเข้าใจ ขันธ์ ๕ นั้น รูปก็หมายถึงร่างกายสิ่งที่เป็น ร่างกายทั้งหมด ที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือเป็นรูป

    เวทนาเป็นความรู้สึก รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ และก็รู้สึกที่เป็น กลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นความสามารถในจิตใจ คือรูปเวลาแบ่ง เป็นขันธ์ ๕ รูปก็เป็นส่วนที่เป็นร่างกาย เป็นรูป-ธรรม อีก ๔ ประการก็เป็นเรื่องด้านจิตใจ เวทนาความรู้สึก สัญญาความสำคัญ มั่นหมาย ความจำ คืออาศัยความจำ อาศัยสัญญาความสำคัญมั่น หมาย เวลาจะเห็นหรือได้ยินได้สัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็รู้ว่า หรือนึกอยู่ อันนี้ก็เป็น การสำคัญมั่นหมาย เช่น เราเห็นคนสักคนหนึ่ง คือ สัญญามันเป็นสิ่งที่บอกเราอย่างรวดเร็วนั่นคือคน เรา สะสมความรู้และความจำ เออ อันนั้นคือคน อันนั้นคือคนที่เรารู้จัก เป็นคนที่เราชอบหรือไม่ชอบ มันเป็นสัญญาความจำความสำคัญมั่น หมาย สัญญามีความสำคัญในการทำงาน ถ้าหากว่าเราไม่มีสัญญา คือเราไม่สามารถที่จะจำอะไรได้ ก็ไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลเพื่อจะได้เกี่ยวข้องกับโลก อย่างเช่นบางครั้งมีบางคนมีความ ขัดข้องทางสมองก็มี เช่นไม่สามารถเก็บความจำเอาไว้ ผู้เฒ่าบาง คนก็เป็น หรือไม่ต้องเฒ่าก็ได้ บางทีมีอุบัติเหตุหรือมีอะไรเกิดขึ้น เขาก็ไม่สามารถจะจำอะไรได้เลย บางทีบางคนเขาก็...อาตมาเคย อ่านโรคหรือบางคนที่ขัดข้องทางสมอง ไม่ใช่ว่าเขาโดยปัญญาโดย ความคิดหรือความฉลาด แต่เวลาจะพูดคุยกัน มันรู้เรื่องทุกประการ มีเหตุมีผล สามารถที่จะอธิบายได้ แต่ว่าพอถ้ากลับไปคุยกันอีกสัก นาทีหนึ่ง อีกสักชั่วโมงหนึ่ง หายไปหมดแล้ว ไม่เหลือ มันต้องพูด คุยกันใหม่ สัญญามันเป็นสมรรถภาพอย่างหนึ่งในจิตใจของเราที่จะ เก็บสะสมความจำและเอาความจำนั้นมีความหมายด้วย

    ถ้าเรามีแต่ความจำและไม่มีการแบ่งออกว่าอันไหนสำคัญ อันไหนมีความหมาย โอ้ย ยุ่งมากเลย ถ้าเราแยกไม่ออกอะไรมี ความสำคัญอะไรมีความหมาย มีแต่จำเอาหมดเลย อันนั้นไม่ใช่ว่า จะช่วยเรานะ มันจะทับถมคือมันมากจนเกินไป เลยสัญญามันเป็น ส่วนที่ให้มีความหมายให้มีความสำคัญ เป็นการทำงานของจิตใจที่ สำคัญมาก

    สังขารคือการคิดและปรุงแต่ง ยิ่งโดยเฉพาะที่เราคิดโดย อาศัยเจตนา เรามีเจตจำนงเราจะทำดี จะคิดดี จะพูดดี อาศัยสังขารคิดไว้ก่อนหรือได้ดำริไว้ในใจไว้ก่อน แล้วก็ความฉลาด ความสามารถที่จะคิดวิเคราะห์ก็เป็นตัวสังขาร อย่างสติเป็นสังขาร เพราะว่าเรามีเจตจำนงที่จะยกขึ้นมาให้อยู่ในจิตใจของเรา ไม่ใช่เฉพาะการคิดนึก การใช้จิตใจแม้แต่การตั้งสติไว้ ก็เป็นสังขาร การคิดนึกเพื่อเกิดเมตตา เกิดกรุณา เกิดมุทิตา เกิดอุเบกขา ก็เป็น สังขาร การคิดนึกเพื่อเกิดปัญญาก็เป็นสังขาร

    แต่ตรงกันข้าม การใช้ความฉลาดเพื่อคดเพื่อโกง เพื่อเอา เปรียบก็เป็นสังขารเหมือนกัน เป็นสังขารที่เป็นอกุศล มันใช้ในทาง ที่มันเป็นบาป เป็นสิ่งที่เกิดโทษหรือการคิดทำร้าย คิดเบียดเบียน มันก็เป็นสังขารเหมือนกัน มันได้อาศัยการคิดด้วยการดำริไว้ในใจที่ เป็นอกุศล

    วิญญาณคือการรับรู้ รับรู้ทางอายตนะ รับรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นการทำงานของจิตใจหรือ สมรรถภาพของจิตที่สามารถที่จะรับรู้เหมือนกับเป็นพื้นฐานของจิตที่ คอยมีการรับรู้ แล้วก็คอยมีความรู้สึก มีความจำ มีการคิดนึก มัน เป็นตัวพื้นฐานของจิต

    เวลาพระพุทธเจ้าจำแนกกายกับใจ ท่านก็จะจำแนกใน ลักษณะนี้ เพื่อความสะดวกในการแยกออกโดยหน้าที่ และเพื่อ พิจารณา แต่เวลาท่านได้อธิบายในลักษณะที่เช่นเราเกิดความยึดไว้ ต่อตัวตน ได้เกิดความหลงต่อความรู้สึกต่อตัวตน ต่อความรู้สึกที่ เป็นเรา เป็นของเรา เป็นของของเรา มันก็เกิดความรู้สึกในสิ่งเหล่านี้ มันไม่มีอะไรนอกจากนั้น คือจะเป็นรูปภายในรูปภายนอก จะ เป็นเวทนาภายในเวทนาภายนอก แต่มันเกิดความรู้สึกว่าอันนี้คือเรา นี่ก็ของเรา นี่ของของเรา ยิ่งโดยเฉพาะที่เป็นกายกับใจของเรา อันนี้ เรียกว่าสักกายทิฐิ ความรู้สึกต่อตัวตน

    บางครั้งพระพุทธเจ้าอธิบายอย่างละเอียดมากขึ้น ที่ความยึดไว้โดยการหลง คือได้คิดว่าเช่นรูป คือรูปร่างกายเป็นตัวตนหรือเป็น อัตตา หรืออัตตาตัวตนมีรูปคือเป็นเจ้าของของรูป หรือรูปมีอยู่ใน อัตตาตัวตน หรืออัตตาตัวตนมีอยู่ในรูป ก็เป็นความหลากหลายของ ความรู้สึก ซึ่งก็เป็นส่วนที่ในแง่หนึ่งบางทีฟังตอนแรกก็งง เอ้ ทำไม แต่ว่าเป็นความละเอียดที่พระพุทธเจ้าได้วิเคราะห์และสังเกตดู ความ รู้สึกต่อตัวตนมันละเอียดและซับซ้อนและมันก็เก่งในการยึดไว้ และก็ ไม่ได้เฉพาะรูปคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมด ความจริงสิ่งเหล่านี้เป็นตัวตน หรือตัวตนมีสิ่งเหล่านั้น เป็นเจ้าของ ของสิ่งเหล่านั้น ตัวตนมีอยู่ในขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือขันธ์ ๕ มีอยู่ในตัวตน

    ซึ่งถ้าเราค่อยๆ รับมาพิจารณาคอยสังเกตก็จะเห็นความที่ เราเกิดความรู้สึกต่อตัวตน คือเป็นปัญหาที่เป็นแกนกลางของความ เป็นมนุษย์ในการสร้างความทุกข์

    กลับมาที่สุภาษิตที่ได้เริ่มต้นเหมือนจะเป็นธรรมะที่สำคัญว่า เหมือนกับถูกมีดแทง เหมือนกับไฟไหม้กำลังเผาหัวเรา เราจะต้องรีบ กำจัดตัณหาต่างๆ แต่พระพุทธเจ้ากลับพูดว่า เราต้องรีบเร่งที่จะละ สักกายทิฐิ ความยึดไว้ต่อตัวตนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่มันค่อน ข้างหลากหลาย

    เราต้องจับประเด็นว่าความรู้สึกต่อตัวตน กำลังจะเกิดขึ้น อย่างไร มันกำลังจะหลอกลวงเราอย่างไร ตราบใดที่เรายังไม่จับจุดนี้ ความรู้สึกต่อตัวตน เรื่องตัณหาสบายมันจะออกมาสร้างความอยาก ความปรารถนา ความยึดถือ ความต้องการต่างๆ ที่ไม่มี สิ้นสุด

    เราต้องจับประเด็นของความรู้สึกต่อตัวตน หรือวิธีใดที่จะ ช่วยบรรเทาความรู้สึกต่อตัวตน เราจะไม่ถูกหลอกอีก เพราะว่า ปัญหาคือเราถูกหลอกกำลังถูกต้มอยู่ตลอด เราซื่อ เราโง่ เลยถูก ต้มอยู่ตลอด

    เหมือนอย่างแม่ของอาตมาเพิ่งมาเมืองไทย และก็มีฝรั่งอีก คนหนึ่งที่เดินทางกับแม่ บางครั้งจะไปซื้อของจะต้องมีคนไทยไปด้วย มันจะไปต่อราคา ฝรั่งมันซื่อ มันถูกต้มอยู่เรื่อย

    แต่อันนี้ลักษณะของการเป็นมนุษย์เรากำลังถูกต้มอยู่ กำลัง สร้างความทุกข์ เพราะเราไม่เข้าใจในการสร้างตัวตนภายในตัวเอง เราคิดว่าเป็นเรื่องจริงจัง คิดว่าเป็นเรื่องแก่นแท้จริงๆ ความรู้สึกของเรา ความรู้สึกตัวตนของเรา

    พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่างนี้เป็นต้นเหตุของการสร้างความ ทุกข์ และวิธีที่จะช่วยบรรเทาและดับทุกข์ในที่สุด คือเราก็จะต้องเป็น ผู้แก้ไขความหลงอยู่ตรงนี้ ในการแก้ไขความยึดไว้ซึ่งสักกายทิฐิ

    เราจะคลี่คลายออกจากความยึดมั่นถือมั่นต่อขันธ์ ๕ คือเรา จะต้องคอยศึกษาดูว่าขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งก็คือทำงานอะไร เป็นอะไร มีลักษณะอย่างไร เราก็เพียงแต่เห็นว่าเป็นขันธ์ ๕ เป็นส่วนหนึ่งของ ขันธ์ ๕ ก็เพียงพอ แทนที่จะสมมุติต่อไปว่ามันเป็นเราหรือเป็นของของเรา ก็เพียงแต่เห็น เออ อันนี้สักแต่ว่าเป็นรูปเป็นเวทนาเป็นสัญญาเป็นสังขารเป็นวิญญาณ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น มันตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ถ้าเห็นแค่นี้มันช่วยดับความรู้สึกต่อตัวตน หรือเราคอยสังเกตดู
    ว่า เอ้ มันต่อเติมให้เป็นตัวตนได้อย่างไร

    พระพุทธเจ้าให้เราสังเกตพิจารณาดูเห็นความไม่เที่ยง ไม่ เป็นแก่นแท้ของขันธ์ ๕ เหล่านี้ คือ มันไม่ได้เป็นเช่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าจะเป็นตัวตนที่น่ายึดไว้ คือน่าจะเป็น สิ่งที่เที่ยงแท้ถาวร น่าจะเป็นสิ่งที่เราจะไม่พลัดพรากจากมัน จะไม่ เปลี่ยนแปลงต่อหน้าเรา แต่ไม่มีอะไรสักอย่างที่เป็นไปได้อย่างนั้น เลยมันไม่สมควรจะยึดไว้เป็นตัวตน

    พระพุทธเจ้าให้เราเห็น วันหนึ่งท่านพาพระไปที่ใกล้ๆ แม่น้ำ คงคา มันมีฟองที่กำลังลอยตามน้ำ ท่านก็ยกขึ้นมา เห็นมั้ยนั่นที่ ลอยน้ำอยู่ตรงนั้น มันเป็นฟอง อันนั้นก็เหมือนกับรูปร่างกายของเรา ถ้าเราสังเกตด้วยดี มันไม่มีอะไรที่...คือเรารู้ว่ามันเป็นของที่มีสาระอยู่ เป็นของที่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่ว่าพอเรามาสังเกตจริงๆ มันเป็นฟอง มันไม่มีอะไรที่เป็นแก่นเลย ร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน อย่างที่ อาตมาอธิบายเมื่อวาน แค่แยกส่วนน้ำออกก็หมดไปตั้ง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย ที่เราคิดว่ามันเป็นของเที่ยงแท้ ถ้าเอาน้ำ ออกแล้ว เราเหลืออะไร ก้อนสักขนาดนี้ ไม่มากแล้ว ค่อยแยกออก
    อีก รูปลักษณะของเราก็หมดไปอย่างรวดเร็ว เราพิจารณาเหมือนกับ เป็นฟอง

    เวทนาพระพุทธเจ้าเทียบเหมือนกับเวลาน้ำตกหนักๆ ที่มีเม็ดใหญ่ๆ มันโดนน้ำแล้วมันจะมี...จะว่าฟองก็ไม่ใช่ คือมันเป็นลูก กลมๆ แค่นี้ มันขึ้นมาแล้วมันก็ค่อยๆ เปลี่ยน หรืออาตมานึกถึง สมัยเราเด็กๆ เราเอาสบู่ใส่น้ำแล้วก็มีวงกลมมาใส่แล้วก็เป่า มันจะมี ลูกกลมๆ ออกไป อันนี้แหละเวทนามันใกล้กับลูกกลมๆ อันนี้แหละ สักพักหนึ่งก็ป้อบล่ะ ป้อบ ป้อบ มันอยู่ไม่นานล่ะ เวทนาก็เช่น เดียวกัน มีความรู้สึก มันคอยเกิดแล้วดับ เกิดแล้วก็ดับ มันไม่มี อะไรที่เป็นแก่นจริงๆ

    สัญญาก็มีความเปรียบเทียบเหมือนกับพยับแดดที่เห็น อากาศร้อนๆ ฟ้าแจ้ง เราเห็นไกลๆ นึกว่าเป็นน้ำอยู่ตรงนั้น เราเห็น เป็นภาพอยู่ตรงนั้น แต่มันเป็นพยับแดดเฉยๆ เวลาเราเข้าใกล้มันก็ หาย หรือไม่หายมันก็ถอยออกไปอีก มันไม่มีสาระที่เราสามารถจะ สัมผัสได้ สัญญาก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่เราคิดว่าแน่นอนจริงจัง เป็น อย่างที่เรารู้สึกหรือเราจำได้ แต่มันก็ค่อยเปลี่ยน ไม่มีสาระ

    สังขารพระพุทธเจ้าเปรียบเทียบเหมือนกับต้นกล้วย ต้น กล้วยในลักษณะที่คนต้องการไม้ที่เป็นแก่นก็เข้าไปในป่า ก็เห็นกล้วย ป่ามันใหญ่ แต่ว่ามันก็มีลักษณะเหมือนต้นกล้วยทั่วๆ ไป พอตัดต้น ไปเราจะเอาแก่นมาใช้มันปอก ออกๆๆๆ ไม่มีแก่นอะไรเลยอยู่ในนั้น ความคิดของเราก็ใกล้เคียงกัน เพราะว่าเราแกะออกไปๆๆๆ คือมีแต่ความคิดไม่มีตัวตนอยู่ในนั้นเลย มันเป็นชั้นๆๆๆ แต่ไม่มีความเป็นตัวตนในนั้น

    วิญญาณ พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบเหมือนกับมายากล คือ คนที่เล่นมายากล สามารถที่จะหลอกคนได้ คือเราเห็นว่าเขาทำ อะไรปรากฏ ทำอะไรหาย คนที่เขาทำเก่งๆ เหมือนของจริง มัน ปรากฏ เหมือนของจริงมันหาย แต่จริงๆ มันก็สักแต่ว่ามันเป็นการ เล่นกล มันมีวิธีการ

    วิญญาณก็เช่นเดียวกัน นึกว่ามีมันก็มี นึกว่าไม่มีมันก็ไม่มี มันก็เป็นเรื่องวิญญาณทำงานอยู่ ซึ่งถ้าหากว่าเราไม่ทันเราไม่มีสติ เพียงพอ เราไม่มีปัญญาเพียงพอ เราจะคิดว่าเป็นเรื่องจริงจัง ยิ่ง เราถือว่าเป็นเรื่องเราเอง เราเป็นตัวเป็นตนของเรา

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ล้วนแต่เป็นของที่ไม่ สมควรและไม่สามารถที่จะยึดไว้เป็นตัวตนของเรา คือสมมุติได้ แต่ มันก็จะผิดจากความเป็นจริง จะเป็นสิ่งที่เราเองตั้งความหวัง หรือตั้ง ความสำคัญในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ

    ในเวลาเราเกิดความรู้สึกต่อตัวตน เกิดความรู้สึกต่อเรา เรา เป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น เรามีความรู้สึกว่าเราดี รู้สึกว่าเราไม่ดี รู้สึกว่าเรามีความเก่ง รู้สึกว่าเรามีความไม่เก่ง คือความรู้สึกต่อ ความเป็นตัวตน มันวนเวียนอยู่กับขันธ์ ๕ ทั้งนั้น ถ้าหากว่าเราปัก หลักอะไรไว้เช่นอย่างนี้ ปักหลักไว้ และมีสุนัข เราก็เอาเชือกผูกไว้ มันก็หมุนเวียนจะเดินก็เดินรอบเสานี้ จะนอนก็นอนที่เสาตรงนี้แหละ ที่ใดที่หนึ่งจะยืนจะนั่งก็รอบเสานี้แหละ มันถูกมัดไว้ที่เสา
    <!-- </p>-->
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรมะ

    ผู้ฟัง : กราบเรียนพระอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง วันนี้วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นวันที่ ๖ ของการ ปฏิบัติ ขณะนี้มีคำถามเข้ามาในเรื่องการปฏิบัติและอื่นๆ ซึ่งจะ จัดสรรและกราบเรียนพระอาจารย์เพื่อตอบปัญหา

    อยากเรียนถามพระอาจารย์ว่าการพิจารณาอาหารว่าเป็นสิ่งปฏิกูลนั้นคืออย่างไร เพราะผู้ปฏิบัติได้ทดลองเองแล้วยังมองไม่เห็น ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล

    พระอาจารย์ : คือปฏิกูล ถ้าแปลโดยตรงก็คงจะหมาย ความว่าน่าเกลียด ซึ่งเป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง ยิ่งโดยเฉพาะเกี่ยว กับอาหาร เราเห็นความน่าเกลียด เพราะโดยปกติคนส่วนใหญ่เรียก ว่าโลกทั้งโลกไม่ค่อยเห็นความน่าเกลียดของอาหารเท่าไหร่หรอก เรา ลองคิดดูสังคมไหนล่ะจะมาคุยกันในเวลาเพลิดเพลินก็มักจะมีการกิน อยู่ตรงนั้นแหละใช่ไหม ไม่เคยเห็นว่าเป็นของปฏิกูลเลย ในการ พิจารณาเห็นความน่าเกลียดที่จริงก็ไม่ยากที่จะเห็นความปฏิกูล ทิ้ง เอาไว้สักพักหนึ่งมันก็เริ่มเน่าเริ่มเหม็นแล้ว มันก็น่าเกลียดหรือแค่มารวมกันมาคลุกกันเข้า มันก็น่าเกลียดแล้ว คนส่วนใหญ่ก็ไม่ชอบ ยิ่งเห็นพระฉันในบาตร บางคนก็สยดสยองหวาดเสียว โอ้ น่าเกลียด มากเลย ทนไม่ได้

    ยกตัวอย่างอาตมาเองสมัยเป็นฆราวาสพิถีพิถันมากเรื่อง อาหาร ทำให้แม่ของเราเป็นทุกข์และรำคาญมาก ครั้งแรกที่โยมพ่อ โยมแม่มาเมืองไทย เห็นเราในฐานะที่เป็นพระ เราไปรับที่กรุงเทพฯ ก็ออกไปบิณฑบาต กลับมาก็ฉัน อาหารบิณฑบาตก็มีญาติโยมก็นำ อาหารมาถวายก็ตามธรรมดา ตอนนั้นอาตมาบวชราว ๘ พรรษา คือเป็นพระมานานพอสมควรแล้ว ก็ตามธรรมดาของเราถึงเวลาที่จะ ฉันก็เอารวมไว้ในบาตร ตอนนั้นแม่ก็ไม่เห็นว่าอะไร พอให้พรเสร็จ คนอื่นญาติโยมก็ลุกกันไปทานอาหารกันเอง ปล่อยให้พระฉันตาม สบาย แม่ก็อดไม่ได้ต้องมาดูภายในบาตร จริงหรือเปล่า มันคลุกกัน เพราะเมื่อก่อนเป็นฆราวาสจะมาเข้าใกล้กันไม่เอาแล้ว ต้องแยก กันทุกอย่าง ต้องระมัดระวัง เช่นจะเป็นน้ำราด เช่นเอาเกรวี่มาใส่ มันฝรั่ง ต้องทำให้มันมีที่เสียก่อนจึงจะใส่ ไม่อยากให้มันไหลไปไหน แม่เห็นแล้วก็อัศจรรย์ เออ สามารถที่จะเปลี่ยนได้ ไม่เบานะ

    โดยปกติคนเห็นว่าน่าเกลียด แค่คลุกกัน อาหารมันก็ดีๆ อยู่แล้วมันจะคลุกกันในท้องอยู่แล้วล่ะ คลุกกันข้างนอกสักหน่อย หนึ่งก่อนจะเป็นอะไรล่ะ คือเราเห็นความน่าเกลียด และแม้แต่พอมา ถึงร่างกาย แค่เข้าไปในปากของใครคายออกมา มันไม่มีใครแตะ ต้อง มันน่าเกลียด เรียกว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ คือเห็นว่ามัน น่าเกลียด ที่จริงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก

    นี่เป็นส่วนที่เป็นกรรมฐาน แต่มันเป็นเรื่องที่บางครั้งมันก็กลายเป็นการปะปนกันระหว่างอสุภกรรมฐานที่พิจารณาร่างกาย ซึ่ง พระพุทธเจ้าให้เราเห็น ยิ่งโดยเฉพาะในสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าไม่ ได้สอนว่าเป็นปฏิกูล แต่ว่าในสิ่งที่ว่าน่าเกลียด เพราะว่าการเปรียบ เทียบที่ท่านให้ไว้มันก็ค่อนข้างจะชัดเจน เพราะว่าเปรียบเทียบกับถุง ที่มีข้าวต่างๆ มีข้าวเหนียว มีข้าวเจ้า มีข้าวสาลี ถั่วเขียว ถั่วเหลือง มันไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องที่น่าเกลียด มันเป็นเรื่องที่เป็นกลางๆ เราเห็น เออ มันสักแต่ว่าผม ขน เล็บ ฟัน หนัง สัดส่วนต่างๆ ของร่างกาย คือทำให้ใจเป็นกลาง

    คือในบางสูตรท่านก็มีที่พูดถึงความปฏิกูลหรือน่าเกลียดของ ร่างกาย แต่มักจะระบุชัด เช่น ในส่วนต่างๆ แต่ว่าในสติปัฏฐาน เป็นอสุภกรรมฐานคือเห็นว่าไม่งาม ไม่ใช่เห็นว่าน่าเกลียด คือมัน เป็นคนละอย่างกัน บางประเด็นเราก็พอจะยกขึ้นมา เพราะว่าอย่าง ในบทพิจารณาธาตุที่เราสวดวันก่อนก็ได้พูดถึงความเป็นปฏิกูลหรือ ความน่าเกลียด แต่ว่าพูดถึงปัจจัย ๔ ของพระคือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ ยารักษาโรค แต่สำหรับฆราวาสก็เช่นเดียวกัน เสื้อผ้า อาหาร ที่อาศัย ยารักษาโรค

    เพราะว่าพอเรามีของใหม่มันก็สะอาดสะอ้าน พอเราใส่ใน ร่างกาย พอมันถูกร่างกายของเรามันก็ไม่นาน วันเดียวเราใส่เสื้อ ออกไปเดินในกรุงเทพฯ กลับมาให้คนอื่นใส่แทนเรา เขาไม่อยากใส่ หรอก มันถูกร่างกายของเรา เขาก็ไม่เต็มใจที่จะใส่ของเราอีก อัน นั้นเป็นของปฏิกูล คือมันน่าเกลียด มันไม่น่าใช้แล้ว

    ทุกอย่างก็เป็นอย่างนั้น ของใช้ของใหม่ๆ ก็จริงอยู่ แต่พอเราใช้ ถูกร่างกายของเรา มันกลายเป็นของที่ เออ มันเริ่มปฏิกูล แล้ว เริ่มจะมีความสกปรก มันไม่น่าใช้ เริ่มน่าเกลียดแล้ว
    <!-- </p>-->
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ท บ ท ว น ข้ อ ธ ร ร ม

    วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการปฏิบัติ คือที่เราจะปฏิบัติตลอดวัน ก็อยากจะทบทวนบางอย่างในการปฏิบัติหรือสิ่งที่เราควรจะให้ ความสำคัญและความสนใจ ตลอดอาทิตย์นี้ที่ผ่านมา อาตมาก็ให้ ความสำคัญที่สติปัฏฐาน ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ พระพุทธเจ้าเองให้ความสำคัญมาก ถ้าเราคิดในแง่หนึ่งก็เป็นสิ่งที่ ถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเป็นสิ่งที่ทำให้คำสอนของ พระพุทธศาสนามีความแตกต่างกับปฏิบัติและลัทธิในสมัยพุทธกาล หรือแม้แต่ในสมัยนี้ก็เช่นเดียวกัน เพราะสติปัฏฐานเป็นวิธีการในการ สังเกตการพิจารณาและการฝึกหัดที่ทำให้เรามีการวิเคราะห์และสร้าง ความเข้าใจในประสบการณ์ของตัวเอง

    แต่ว่าในการสร้างความรู้ความเข้าใจในประสบการณ์ของตัวเองก็สามารถที่จะเข้าใจลักษณะของโลกหรือมนุษย์อยู่ในโลกอย่างไร ทั้งในแง่ของการดำเนินชีวิตในโลกอย่างไม่สร้างความทุกข์ และอีก อย่างหนึ่งในลักษณะเรามนุษย์อยู่ในโลกนี้โดยเข้าใจตัวเองระหว่าง การเวียนว่ายตายเกิดในโลก คือเข้าใจกัน เข้าใจในปัจจุบันและ เข้าใจว่าปัจจุบันนี้มีการเกี่ยวข้องยังไงกับการเวียนว่ายตายเกิด หรือ ว่ามนุษย์เรามีความเกี่ยวข้องกับภูมิต่างๆ บางครั้งบางคนคิดใน ลักษณะเป็นสุดโต่ง เช่น หาทางออกจากทุกข์ คือหนีออกจากโลก ไปอยู่ในสวรรค์ชั้นไหนสักชั้นหนึ่ง หรือไปที่ใดสักแห่งหนึ่ง ที่ไม่ต้อง เกี่ยวข้องกับโลก ซึ่งนั่นก็เป็นสุดโต่งอย่างหนึ่ง

    สุดโต่งอีกแบบหนึ่งว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนเรื่องการ เวียนว่ายตายเกิด ไม่ได้สอนเรื่องโลกนี้โลกหน้าหรือภูมิต่างๆ ก็มีการ สอนอย่างนั้นบ้าง แต่ถ้าเรากลับไปดูที่พระพุทธเจ้าสอนก็ค่อนข้าง จะ...คือ ท่านก็ละเอียด คือเป็นส่วนที่ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธโลกหรือภูมิ ต่างๆ แต่ว่าสติปัฏฐานเป็นคำสอนที่ทำให้เรามีหลักที่จะอยู่ทั้งในโลก นี้ทั้งในโลกไหนก็มีหลักอยู่ คำหนึ่งที่เราเรียกพระพุทธเจ้าหรือ คุณสมบัติของพระพุทธเจ้าคือโลกวิทูผู้รู้แจ้งโลก เรียกว่าทั้งโลกนี้ทั้ง โลกไหนก็ตาม ท่านก็เข้าใจ เวลาท่านเข้าใจท่านก็ให้มีหนทางที่จะ ได้ฝึกหัดปฏิบัติตัวเอง อันนี้ก็คือสติปัฏฐานเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก

    ในการฝึกหัดของเรา อาตมาคิดว่าถ้าจับหลัก ๒ ประเด็น ในการภาวนาการปฏิบัติ คือสามารถที่จะมีที่พึ่งในตัวเอง และ สามารถที่จะพบประสบสิ่งที่จะให้ความมั่นคง สติปัฏฐานกับอนัตตา๒ หลักนี้ ถ้าเราสามารถที่จะฝึกหัดตัวเองสร้างความเข้าใจในตัวเอง เราก็จะได้มีพื้นฐานที่มั่นคงได้

    ที่เราว่าสติปัฏฐานกับอนัตตา คือไม่ใช่ว่าเราจะปฏิเสธคำ สอนอื่นๆ หรือความจำเป็นของแง่อื่นในพุทธศาสนา เช่น เรื่อง สมาธิ ไม่ใช่ปฏิเสธ แต่ว่าขอให้มีพื้นฐานในสติปัฏฐานเพื่อเป็นพื้น ฐานที่มั่นคง ถ้าเรามีพื้นฐานที่มั่นคงเรื่องสมาธิ มันก็จะค่อยเป็นไปเอง เราก็ตามวาสนาของแต่ละคน เพราะว่าบางคนเรื่องสมาธิก็ค่อน ข้างจะถนัดง่าย บางคนก็ โอ้ย หัดแทบตายไม่ค่อยเป็นเท่าไหร่ แต่ ว่าเรามีวาสนาแบบไหน มันไม่เป็นเกณฑ์ แต่ที่สำคัญว่าเรามี พื้นฐานในสติปัฏฐาน จึงจะได้สมาธิในระดับไหน เราก็สามารถที่จะ ให้ใช้เป็นประโยชน์ให้คุ้มค่า ถึงจะมีสมาธิน้อย ถ้าเรามีสติคุ้มครอง จิตใจของเรา เราสามารถที่จะเอาสมาธินั้นในระดับนั้นเอามาใช้ให้ คุ้มค่าให้เป็นประโยชน์ได้

    ถ้าได้สมาธิมาก เช่น เรามีความถนัดในการทำสมาธิ ถ้า หากว่าเรามีสติปัฏฐานคือสมาธินั้นจะไม่เป็นอุปสรรคในการเสียเวลา หรือหลงในประสบการณ์ในสมาธิ จะกลับมาที่หลักของการสร้าง ความเข้าใจในร่างกายนี้ในจิตใจนี้

    และยิ่งโดยเฉพาะเรื่องอนัตตา สำหรับการที่อยู่อย่างผู้ไม่มี ทุกข์ ความเข้าใจในอนัตตาเป็นหลักที่สำคัญมากและก็เป็นหลักที่จะ เรียกว่าเป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา แทบจะไม่มีศาสนา อื่นที่สอนเรื่องอนัตตา คือคำสอนทั้งหลาย ความเข้าใจและสันดานของมนุษย์ทั่วไปก็จะมีความรู้สึก เออ เรามีอะไรในตัวตนที่เป็นอัตตาเป็นของเที่ยงแท้เป็นแกนกลางที่ว่าเป็นของเราเป็นเราเป็นตัวตน ของเรา

    แต่พระพุทธเจ้าแทบจะเป็นพระศาสดาองค์เดียวที่กล้าทวน กระแส และมาท้วงติงว่า แน่นอนหรือเปล่า จริงหรือเปล่า เพราะ ถ้ามาวิเคราะห์อีกทีหนึ่ง ที่คนเราถือความรู้สึกต่อตัวตนมันไม่มี ไม่มี แก่นเช่นเดียวกัน การละความรู้สึกต่อตัวตนจึงเป็นการเบาปลอด โปร่งมาก สิ่งที่เรายึดไว้เป็นตัวเป็นตนของเรา ก็ล้วนแต่เป็นของหนัก ทั้งนั้น เหมือนกับที่มีบทสวด ภารหเว ปัญจขันธา ขันธ์ ๕ เป็น ภาระหนักมาก เราเกิดมาถือเอารูปเป็นเรา เอาเวทนาเป็นเรา เอา สัญญาเป็นเรา เอาสังขารเป็นเรา เอาวิญญาณเป็นเรา มันก็ลำบาก เหมือนถ้าหากว่าเราเดินทางไปไหน กระเปาหนึ่งมาใส่นี้ เอากระเปา หนึ่งมาใส่อันนี้ เป้มาใส่บ่าอีกอันหนึ่งแขวนคอไว้ อีกอันมาลากตาม หลัง โอ้ย ลำบากมาก เดินทางมีแต่ขลุกขลักเท่านั้น มันเป็นภาระ แบกไว้

    เราไม่มีเราก็เบาสบาย ไปไหนเราก็ไม่แบกไว้ แต่ว่ามนุษย์เรา พอเรารู้สึกว่าเป็นของเรา ร่างกายของเรามันก็แบกเอาไว้ ถ้ามัน สบาย รู้สึกว่าร่างกายสบาย เราก็แบกในลักษณะภูมิใจว่าเป็นของ เราที่สบาย ถ้าหากว่ามันไม่สบาย เราก็หนักใจว่า เอ ทำไมของเรา ไม่สบาย คือมันไม่มีอะไรได้ มีแต่เป็นภาระทั้งนั้น

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกัน ในการไม่แบกเห็นแล้วก็หลับตาทำให้เราเบา วิธีปฏิบัติก็อาศัยสติ ไม่ใช่เป็นทฤษฎีอย่างเดียว ไม่ใช่ว่าเป็นหลักปรัชญาว่าเป็นอนัตตาคือมันต้องเกิดจากสติที่กำหนดรู้ สติที่เห็นชัดเจน สติที่เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก การนึกคิดในปัจจุบัน

    สติจึงเป็นฐานของเรา หรือเป็นถิ่นของเรา เป็นที่อยู่ ที่ อาศัยของเรา อย่างพระพุทธเจ้าได้สอนเรื่องในภูเขาหิมพานต์ มันจะ มีบางแห่งที่ไม่มีมนุษย์ ไม่มีสัตว์อยู่เลย เช่นลิงมีบางแห่ง ที่มีเฉพาะ ลิงไม่มีมนุษย์ มีบางแห่งที่มีทั้งลิงทั้งมนุษย์อยู่ แต่เวลาอยู่ด้วยกัน คือถ้าหากว่าลิงไม่รู้จักถิ่นของตัวเอง มันเข้าไปในถิ่นที่มนุษย์อยู่มันก็ อันตราย เพราะมนุษย์ก็ชอบล่าชอบจับ มันอันตราย

    ที่จริงก็มีวิธีการง่ายๆ สำหรับการจับลิง สมัยก่อนที่อินเดีย วิธีการง่ายที่จะจับลิง คือเขาจะเอายางเหนียวๆ ก้อนหนึ่ง แค่วาง เอาไว้ตรงบริเวณที่เขาเคยเห็นลิงเดินไปเดินมา พอลิงเห็น ลักษณะ ของลิงมันไม่ค่อยสำรวม ระมัดระวังไม่เป็น เห็นอะไรก็ต้องสังเกต ต้องทำต้องเล่นกับมัน พอเห็นของใหม่ๆ ก็จับขึ้นมา มันเหนียว มัน ติดมือ มันตกใจ อยากจะเอาให้มันออก ก็เอามือดึงออก ก็ติดทั้ง๒ มือ ยิ่งตกใจจะทำยังไงดี เอาขาขึ้นมายันออก เอาขาขวามาก็ ติดอีก เอาขาซ้ายจะดันออกก็ติดอีก มันติดทั้งมือทั้งเท้าหมด ทำยัง ไงดีจะทำให้มันหลุด ก็กัดออก ก็ติดอีก ติดหมดเลย นายพรานมา ก็จับสบายๆ

    มนุษย์ก็เหมือนกัน ลิงมันไม่อยู่ในถิ่นของมัน มันไม่ ระมัดระวัง เช่นเดียวกัน ถ้ามนุษย์ไม่อยู่ในสติปัฏฐาน ๔ เดี๋ยวมัน จะเกิดความสนใจในสิ่งที่ไม่ควรสนใจ เกิดความไม่พอใจในสิ่งที่ไม่ควรไม่พอใจ เกิดความผูกมัดรัดไว้ นายพรานคือมัจจุราชมาจับเอาสบาย หรือมารมาจับเอาสบายมากเลย เพราะไม่มีหลัก

    มีอีกวิธีหนึ่งที่อินเดียเขาเคยจับลิง คือเราพูดในลักษณะของ สัตว์ทั้งหลาย ลิงที่จริงก็มีความฉลาด แต่มันก็ใกล้เคียงที่สุดกับ มนุษย์ แต่พร้อมกับความฉลาดเวลาไม่มีหลักในการตั้งความ ระมัดระวังในการตั้งสติไว้ มีตัณหามาผลักดัน มีอวิชชาความไม่รู้ เป็นพื้นฐาน มันก็ล่อแหลมต่ออันตราย

    ในอีกวิธีหนึ่งสมัยก่อนที่เขาทำ คือเขาจะเอากะลามะพร้าว มาทำ มีรูน้อยๆ เขาจะใส่เชือกแล้วก็มัดไว้กับต้นไม้หรือเสาที่ไหนล่ะ แล้วก็มีรูอยู่ภายในกะลามะพร้าว พอที่ลิงจะเอามือล้วงเข้าไปได้ ภายในกะลามะพร้าว จะเอาผลไม้หรืออะไรสักอย่างไว้ข้างใน ซึ่ง เวลาเขาเอามือเข้าไป ก็ต้องให้มันเล็กๆ แต่พอจับข้างในมันก็ ดึงไม่ออก

    แค่นั้นสามารถที่จะจับลิงได้ เพราะว่าลิงก็อยากจะได้ของที่ อยู่ในนั้น มันก็น่าสนใจเป็นของกิน พอเข้าไปได้มันก็จะเอาจะจับ มันก็จะดึง มันไม่ยอมปล่อย มันก็ติดกับต้นไม้อยู่ที่นั่นไปไหนไม่ได้ มันวิ่งหนีไม่ได้ นายพรานเดินเข้าไปสบายๆ เลย มันร้อง เอ๊ เอ๊ มันตกใจ มันรู้ว่าอันตราย แต่ไม่ยอมปล่อย มันไม่มีสติปัญญาเพียงพอ ไม่มีความรู้เพียงพอว่าเพียงแค่ปล่อย มันก็สบายแล้ว เลยมันก็ เข้าหม้อเข้าแกงแล้วล่ะ

    การมีสติคือเราต้องฝึกให้รู้ ฝึกให้เข้าใจทั้งในกาย เวทนาจิต ธรรม เรามีพื้นฐานในการตั้งสติไว้ แต่ตั้งสติไว้เพื่ออะไร ก็เพื่อ รู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวาง รู้จักเห็นอันตราย เพื่อเข้าใจในการไม่ เข้าไปอาศัยในสิ่งที่เป็นโทษและเพื่อสนับสนุนสิ่งที่เป็นคุณภายใน จิตใจของเรา

    ประเด็นหนึ่งที่อาตมายกขึ้นมาในอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่เป็น หลักที่สำคัญ คือการทำเมตตาจิตขึ้นมา เมตตาภาวนา หรือการ อาศัยเมตตาจิต เรารู้ว่าการฝึกหัดของเราก็ต้องอาศัยคุณธรรม จิตใจที่พร้อมที่จะละก็ต้องมีความสุขสบาย จิตใจที่ปรารถนาจะสงบ จะต้องมีพื้นฐานเช่นเดียวกัน โดยการที่เราฝึกเมตตา มันก็เป็นส่วน หนึ่งที่ช่วยให้เราละในสิ่งที่เป็นอกุศล สิ่งที่เป็นมลทินภายในจิตใจของเรา สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อความสบาย เราก็รู้จักละแล้วก็รู้จักสร้าง สภาพของจิตใจที่มีกำลังของกุศลธรรมก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ช่วย สนับสนุนการภาวนา การปฏิบัติของเรา

    วันนี้เราก็ทบทวนสักหน่อยตอนเช้า จะได้ยกขึ้นมาเพื่อสร้าง ความถนัดของตัวเอง

    ส่วนการภาวนาของเราก็อาศัยลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อานาปานสติ กับการเดินจงกรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม เวลานั่ง สมาธิก็กำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ซึ่งที่จริงก็มีวิธีการตั้ง เยอะแยะที่เราสามารถทดลองได้สามารถที่จะอาศัยได้

    เวลาเราเปลี่ยนอิริยาบถมีการเดิน คือแทนที่จะกำหนดลม หายใจเข้าลมหายใจออก เราก็กำหนดการเคลื่อนไหวย่างขวาย่าง ซ้าย เราก็กำหนดความรู้สึกไปที่ปลายเท้าก็ดี ความรู้สึกของการเคลื่อนไหวก็ดี ก็เป็นการกำหนด มีการกำหนดอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าหากว่าอิริยาบถอื่น ทั้งยืน ทั้งนอน เราก็ยังมีลมหายใจเข้าลม หายใจออก เรายังมีความรู้สึกภายในร่างกายของเราอยู่ เราก็อาศัย ความรู้สึกภายในร่างกาย ความรู้สึกของลมเข้าลมออกเป็นฐานใน การกำหนดเพื่อให้มีสติต่อเนื่อง

    เวลาสติของเราต่อเนื่อง เราก็สามารถที่จะคอยสังเกตดูว่า กายของเราเป็นของไม่เที่ยง เวทนาของเราก็เป็นไม่เที่ยง จิตของเรา ก็เป็นของไม่เที่ยง ก็เป็นที่น่าสังเกตของเช่นสติปัฏฐาน ในการ กำหนดจิต เวทนาก็เช่นเดียวกัน ที่จริงไม่ใช่ว่าเราต้องหาเวทนาไหน เป็นเวทนาที่ถูกต้องจึงจะกำหนด เพราะว่ามีเวทนาแบบไหน สุข เวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนา เวทนาที่เป็นกลางๆ มันก็คอยเปลี่ยนอยู่ตลอด แต่ว่าเราก็สามารถที่จะกำหนดได้ แบบ ไหนก็ได้ มีอะไรเกิดขึ้นให้กำหนดอยู่ตรงนั้น จิตของเราก็เช่นเดียวกัน อย่างในสติปัฏฐานสูตรพระพุทธเจ้าแนะนำให้จิตที่มีความโลภก็รู้จัก ว่าเป็นจิตที่มีความโลภ จิตที่ไม่มีความโลภก็รู้ว่าเป็นจิตที่ไม่มีความ โลภ จิตที่มีความโกรธก็รู้ว่าเป็นจิตที่มีความโกรธ จิตที่ไม่มีความ โกรธก็รู้ว่าเป็นจิตที่ไม่มีความโกรธ จิตที่มีโมหะความไม่รู้ก็รู้ว่าเป็นจิต ที่มีโมหะอยู่ จิตที่ไม่มีโมหะก็รู้ว่าเป็นจิตที่ไม่มีโมหะ จิตที่มีความ สงบก็รู้ว่าสงบ จิตที่ไม่สงบก็รู้ว่าไม่สงบ จิตที่มีความผ่องใสเบิกบาน กว้างขวางก็รู้ว่าเป็นจิตที่กว้างขวางอยู่ จิตที่รู้สึกคับแคบอยู่ก็รู้ว่าเป็น จิตที่คับแคบอยู่ จิตที่หลุดพ้นก็รู้ว่าเป็นจิตที่หลุดพ้น จิตที่ไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าเป็นจิตที่ไม่หลุดพ้น
    <!-- </p>-->
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    โพชฌงค์ ๗

    สติปัฏฐานคือโพชฌงค์ ๗ ซึ่งเป็นธรรมะ ๗ ประการ ที่นำ ไปสู่การตรัสรู้หรือการพ้นทุกข์ เป็นหมวดธรรมะที่มีบทบาทในการ ทำให้มีความตื่นเกิดขึ้นในจิตใจของเรา ทำให้เราตื่นจากกิเลส ตื่น จากวัฏสงสาร ตื่นจากการเวียนว่ายตามความทุกข์ ล้วนแต่เป็น ธรรมะที่พาเราเข้าสู่ความสว่าง

    พระพุทธเจ้าเคยถูกถามโดยปริพาชกในลัทธิอื่นว่า ท่านได้ อ า ศ ั ย จ ิ ต ห ร ื อได้เสวยความรู้สึกหรือผลยังไงในการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าตอบว่าเสวยผลของวิมุตติสุขและความรู้ที่แท้จริง ปริพา ชกจึงถามต่อว่า วิมุตติสุขและความรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นอาศัยอะไร พระพุทธเจ้าจึงตอบว่าวิมุตติสุข และความรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นอาศัย โพชฌงค์ ๗ ปริพาชกถามต่อว่า โพชฌงค์ ๗ เกิดขึ้นโดยอาศัยอะไร โพชฌงค์ ๗ เกิดขึ้นอาศัยสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เกิดขึ้นอาศัยอะไร อาศัยความประพฤติที่ดีงาม ศีลที่สมบูรณ์ และ อินทรียสังวร การสำรวมระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ปล่อยให้เกิดความยินดียินร้าย

    เราเห็นว่ากระบวนการของการปฏิบัติคือมันอาศัยเหตุปัจจัย ต่างๆ และวิธีปฏิบัติต่างๆ และมีเป้าหมายก็คือการพ้นทุกข์ ส่วนที่ เกี่ยวข้องโดยตรงก็โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ ก็อาศัยสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเราทำอยู่เดี๋ยวนี้ กำลังทำมาตั้งอาทิตย์หนึ่งแล้ว โพชฌงค์ ๗ มี อะไรบ้าง มีสติเป็นเบื้องต้น สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา เป็นธรรมะ ๗ ประการ

    สติเราก็อธิบายมามากแล้ว คือการรู้ในกาย เวทนา จิต และธรรม

    ธัมมวิจยะ ก็คือการใคร่ครวญโดยชอบธรรม ใคร่ครวญ สังเกตพิจารณาใช้วิจารณญาณ ใช้ปัญญาของตัวเอง คือเป็นการ ทำงานของปัญญาแล้วก็ใช้วิเคราะห์ใช้พิจารณา คือปัญญามันไม่ใช่ เป็นสิ่งที่อยู่นิ่งเฉย ปัญญาทำงานก็เป็นธัมมวิจยะ ก็มีการสังเกต อย่างใกล้ชิด อย่างถี่ถ้วน ถ้ามีการอธิบายในลักษณะของ กระบวนการที่ค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างตั้งสติไว้ก่อนตั้งสติไว้ดี และก็ทำ ธัมมวิจยะ ให้สังเกตให้พิจารณา ให้เป็นผู้ที่ใคร่ครวญคิดด้วยหลัก ธรรม เมื่อมีการใคร่ครวญด้วยหลักธรรม ก็เป็นส่วนที่ส่งเสริมให้มี วิริยะความพากเพียร คือไม่ใช่มีสติและก็มีปัญญา แล้วก็เพิกเฉย มันปลุกเร้าให้มีวิริยะให้มีความพากเพียร

    วิริยะความพากเพียรก็เป็นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติ คือมันไม่ ยากที่จะสังเกตนักปฏิบัติ ดูกุฏิก็พอ ถ้าหากว่าดูกุฏิที่อยู่ที่อาศัยของ ผู้ปฏิบัติ ถ้าหากว่าดูแล้วสกปรก ไม่ได้ดูแลความสะอาด ไม่ได้ดูแล ความเรียบร้อย ไม่มีความละเอียดในการจัดสถานที่ในการรักษา ความสะอาด ก็ถือว่าไม่มีความขยันของผู้ปฏิบัติ ไม่มีความวิริยะ ความพากเพียร

    หลวงพ่อชา ท่านจะเป็นนักสังเกตคนจริงๆ นะ ท่านก็เห็น เอ้อ ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ วิริยะความพากเพียรเป็นปัจจัยที่สำคัญ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ มันมีหมวดธรรมะที่โพชฌงค์ ๗ ก็เป็นส่วน หนึ่งเรียกโพธิปักขิยธรรม คือธรรมะ ๓๗ ประการ ปลายชีวิตของ พระพุทธเจ้า เวลาพระพุทธเจ้าเริ่มเห็นว่าอีกไม่นานเราก็ต้องจากโลก นี้ไป ท่านก็เริ่มรวบรวมคำสอนที่เคยสอนเอาไว้ ให้คนท่องเอาไว้จำ เอาไว้ เพื่อรู้ว่านี่แหละคือหนทางที่พระตถาคตสอนเอาไว้ จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ธรรมะที่มีการประกอบด้วยโพธิคือ ความตรัสรู้ ซึ่ง ก็มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค ๘ ทั้งหมดก็ธรรมะ ๓๗ ประการ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พวก เราส่วนใหญ่ก็คงจะมีความคุ้นเคย

    แต่เป็นที่น่าสังเกต ถ้าเราดูเรื่องที่เกี่ยวกับวิริยะจะมีใน แทบทุกข้อ ถ้านับทั้งหมดมันซ้ำในแง่ใดแง่หนึ่งตั้ง ๙ ครั้ง คือมัน มากกว่าเรื่องอื่น เรื่องวิริยะจึงเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญ ท่านก็เคยพูดว่า ธรรมวินัยนี้เป็นคำสั่งสอน เพื่อคนประพฤติปฏิบัติ ด้วยความเพียร ไม่ใช่สำหรับคนขี้เกียจ ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้รับรองว่า ถ้าเชื่อตามเราจะได้ขึ้นสวรรค์ จะได้เข้าสู่พระนิพพาน ถ้าหากว่ามีการบูชาเราจะได้เข้าสู่พระนิพพานไม่มีในลักษณะนั้น คือจะมีศรัทธาก็ดี จะบูชาท่านก็ดี จะยกย่อง สรรเสริญท่านมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าไม่ปฏิบัติก็เป็นอันว่าไม่ได้ลิ้มรส ของผล วิริยะความพากเพียรจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

    เมื่อเรามีวิริยะความพากเพียรที่อาศัยธรรมะ ก็เป็นที่น่า สังเกต เวลาเราพูดถึงวิริยะ คือไม่ใช่ว่าความขยันทุกอย่างทุกเรื่อง จะประสบผล เพราะว่าเวลาพระพุทธเจ้าระบุไว้ซึ่งความพากเพียร ชอบในอริยมรรค ๘ ต้องสังเกตดูต้องเป็นไปเพื่อความเจริญของกุศล ธรรม การลดลงของอกุศลธรรม คือถ้าหากว่ามีความพากเพียรแบบ ไหนยังไงวิธีไหนในลักษณะไหนยังไง กุศลธรรมก็จะต้องเพิ่มขึ้น อกุศลธรรมจะต้องลดลง มันเป็นข้อแม้อย่างหนึ่ง

    บางทีคนก็ชอบขยัน แต่ว่าขยันในการสร้างความวุ่นวาย มัน ก็ลำบากมากที่จะได้ประสบผลในพุทธศาสนา ถ้าหากว่าเราขยันหมั่น เพียรในความวุ่นวาย ระมัดระวังนะ มันจะมีผลเหมือนกัน แต่เมื่อ เรามีความพากเพียรที่อาศัยธัมมวิจยะและสติ มันจะมีผลปรากฏเป็นปีติ ปีติคือความอิ่มเอิบ ปีติจะเป็นความสุขใจอย่างหนึ่ง เป็นกำลังใจ เป็นความอิ่มเอิบใจ เมื่อเห็นผลหรือเห็นความถูกต้อง ก็ย่อมเกิดปีติ เห็นสิ่งที่ดีงาม เห็นสิ่งที่ถูกต้อง เห็นคำสอนเป็นคำสอนที่ถูก ต้อง ก็เกิดปีติ อิ่มเอิบ เห็นผู้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ก็เกิดปีติอิ่มเอิบ มันเป็นลักษณะธรรมชาติของจิต ในเมื่อมีกำลังของกุศลธรรม มันก็ พาให้เกิดความอิ่มเอิบอยู่

    เมื่อมีความอิ่มเอิบ มีปีติ บางครั้งปีติมันมีลักษณะของความตื่นเต้น มันเป็นกุศลก็จริง แต่บางทีมันก็ตื่นเต้น มันไม่สู้จะ สงบนัก จึงได้คอยกลั่นกรองธรรมะอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เป็นปัสสัทธิ ปัสสัทธิคือความคลี่คลาย ความสบายกายสบายใจ มันสบายทั้ง กายทั้งใจ กายก็มีความคลี่คลาย ใจก็มีความคลี่คลาย มีความรู้สึก ที่สบายปลอดโปร่ง เบา เมื่อมีความเบากาย เบาใจอย่างนั้น มันก็ เป็นสิ่งที่นำให้เกิดสมาธิ

    โพชฌงค์ประการที่ ๖ สมาธิแปลว่าความตั้งใจมั่น เรา ตั้งใจมั่นโดยไม่ค่อยวอกแวก จิตไม่ค่อยจะแส่ส่าย จิตมีความตั้งมั่น คือกายกับใจก็สบาย มันเป็นหน้าที่ของจิต เวลาเราค่อยพัฒนา เรา พยายามที่จะให้ถอนตัวออกจากความ...สิ่งที่จิตเราเริ่มเห็น จิตเริ่ม ละเอียด มันอยากจะถอนออกจากสิ่งที่มีความหยาบอยู่

    อันนี้ที่เราพูดถึงหยาบ มันไม่ใช่หยาบคาย ของเหล่านี้มันทิ้ง ตั้งนานแล้วล่ะ แต่เราพูดในลักษณะความหยาบคือ มันไม่ประณีต จิตที่ไม่ประณีตมันก็คือ...อย่างนิวรณ์มันก็ละในส่วนละเอียด คือจิต ไม่เข้าใกล้เลย ไม่มีความตื่นเต้นปรารถนา ด้วยความสุขตื่นเต้นกาม อารมณ์ คือจะไม่เข้าใกล้ความรู้สึกที่มีความไม่พอใจ มีความขัดเคือง ภายในจิตใจก็จะไม่ปรากฏเลย จิตที่มีความง่วงเหงาหาวนอน ไม่มี เลย คือจะละจะทิ้งเลยสิ่งเหล่านี้

    ดูแล้ว มันทำให้จิตไม่ปลอดโปร่ง จิตที่มีความฟุ้งซ่านหรือมี การคิดนึกต่างๆ เราเห็นว่านี่เป็นส่วนหยาบของจิต ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการคิดเลย เพราะว่าเรามีความอิ่มเอิบภายใน มันมีปีติมีปัสสัทธิที่เราอาศัยอยู่ อาศัยจิตที่เริ่มมีสมาธิที่ตั้งมั่น เวลาเราเลือก บางทีจะเลือกปรารภอะไรที่เป็นสังขารในจิต เราก็ไม่ปรารภ เราเอา ความหนักแน่นดีกว่า มันอยากอยู่ในความหนักแน่น มันเป็น ธรรมชาติของจิต บางทีเริ่มละเอียด ความสงสัย เราก็ไม่ได้สงสัย เพราะว่าเราเห็นชัด คำสอนของพระพุทธเจ้าก็มีอยู่อย่างนี้ ความถูก ต้อง ความจริง ก็เป็นอย่างนี้ กุศลธรรมก็เป็นกุศลจริงๆ อกุศล ธรรมก็เป็นอกุศลจริงๆ เป็นเรื่องเศร้าหมอง เราไม่เข้าใกล้และก็ไม่ สงสัย ไม่โลเล ในจิตก็มีความหนักแน่น ส่วนประกอบของจิตอย่างนี้ คือ สติจะสมบูรณ์ ความสุขกายสุขใจมีค่อนข้างจะละเอียด จะ มีความเบิกบานภายในจิตใจของเรา จิตก็มีความหนักแน่น

    เมื่อจิตมีความหนักแน่น มีความเบิกบานอย่างนั้น ก็จะมี อุเบกขา ที่เป็นประการสุดท้าย อุเบกขาในลักษณะนี้คือมันเป็นคุณ ธรรมของจิตที่เป็นกลาง เพราะว่าตั้งบนพื้นฐานของความหนักแน่น ต่างๆ และคุณธรรมต่างๆ พอไปถึงอุเบกขาที่พาเข้าสู่การตรัสรู้ มัน เป็นอุเบกขาที่อยู่กลางคือ ไม่ทุกข์ แส่ส่ายด้วยความดีความชั่ว ความถูกความผิด ความชอบหรือไม่ชอบ ไม่เข้าไป คือมันเห็น ชัดเจนและก็อยู่เป็นกลาง เราอยู่เป็นกลางและเห็นว่าทุกสิ่งทุก อย่างคือ ถ้าเราเข้าไปสุดโต่งอย่างหนึ่ง ก็พาให้เราทุกข์ ก็เลยไม่ เข้าไป มันอยู่กลางดีกว่า ที่ว่าอยู่กลางไม่ใช่ว่าเฉย อยู่กลางเพราะรู้ เรื่องเข้าใจ มันมีปัญญาหนุนด้วย ปัญญามันบอก เอ้ย อย่าไป ตะครุบเลย มันจะทุกข์เท่านั้นแหละถึงไม่เข้าใกล้
    <!-- </p>-->
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรมะ

    ผู้ฟัง : กราบเรียนพระอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง วันนี้เป็นวัน เสาร์ที่ ๒๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นวันที่ ๗ ของการ ปฏิบัติ

    ขณะนี้มีคำถามซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติบ้าง และก็สำหรับใน ส่วนที่จะเพิ่มเติม คือ เรื่องของการนำไปใช้และปฏิบัติต่อเนื่อง จะ ขอนำคำถามขึ้นกราบเรียนพระอาจารย์ดังนี้ครับ

    ได้ใช้วิธีกำหนดพองยุบที่ท้องในการเข้าสมาธิ พอทำจุดที่เริ่ม ได้สมาธิที่สบาย ยุบพองที่ท้องก็เบาจนตัวเองไปจับจังหวะของหัวใจ เอามากำหนดสมาธิ เลยทำให้ไม่โล่งสบาย แต่เป็นสมาธิที่จังหวะถี่ๆ แนบแน่น ไม่ทราบว่าจะยึดแนวนี้ต่อไปได้หรือไม่ครับ

    พระอาจารย์ : ยึดอะไรไม่ได้หรอก มันก็ของไม่เที่ยง มัน เป็นเรื่องที่เราต้องอาศัยสติปัญญาของตัวเอง เพราะว่าเป็นเรื่องที่ คล้ายๆ ว่า เรามีความตั้งใจว่า จะได้ยึดอะไรไว้สักอย่าง ยิ่งโดย เฉพาะเรื่องวิธีการ พอเรายึดวิธีการไว้ มันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ทั้งอารมณ์ก็ดี ภายในหรือของสิ่งแวดล้อมภายนอกก็ดี

    อีกอย่างหนึ่งคือ ลักษณะของจิตใจเรา พอทำอะไรไว้ไปนานๆ อย่างหนึ่งมันก็คุ้นเคย มันคุ้นเคยกับวิธีการ พอมันคุ้นเคยกับ วิธีการ กิเลสก็คุ้นเคยพร้อมๆ กัน มันก็หาทางจนได้ เราจำเป็นต้อง อาศัยความว่องไวของสติปัญญาของเรา อีกอย่างหนึ่งเราก็อาศัย วิธีการที่...ก็ช่วยได้ แต่ใช้ไปนานๆ มันก็มีความเคยชิน มันจะ มีความเคยชินจนเราแทบจะไม่ได้สังเกตความเปลี่ยนแปลง คือ เหมือนกับทำซ้ำๆ ซากๆ เราก็ไม่มีความสดชื่นภายในจิตใจ นี่เป็น ส่วนหนึ่ง คนทั่วๆ ไปก็มักจะเป็นอย่างนั้น คือทำอะไรเนืองๆ มันจะ เคยตัว มันจะไม่ได้สังเกต จะเป็นเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้ง คราว ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงหรือทดลอง วิธีใดวิธีหนึ่ง เป็นส่วนที่ทำให้เรามองมุมที่ต่างกัน ช่วยให้เรามีความ สดชื่นในการสังเกต

    แม้จะเป็นวิธีเดียว แต่ว่าเราก็ยังต้องตั้งหลักใหม่ในการ พิจารณา อย่างอาตมาเอง ที่จริงแล้วใช้อานาปานสติ มาตั้ง ๓๐ กว่าปีแล้ว แต่ว่าถึงเวลาที่อาตมาจะมีการเข้ากรรมฐานนานๆ เช่น ๓ เดือน หรือ ๖ เดือน หรือปีหนึ่งอย่างนี้จะมีการปฏิบัติต่อเนื่อง จะยกการทบทวนวิธีการใหม่ คือเรากลับมาดูเหมือนกับเรากำลัง ศึกษาใหม่ๆ เพื่อจะได้ทบทวนดูว่าเราได้มองข้ามอะไรบ้างมั้ย เรายัง ไม่เข้าใจในวิธีการ หรือเรามีความยึดถือเกิดขึ้นมั้ยที่เราไม่รู้ตัว มัน เป็นส่วนที่เราต้องอาศัยการทบทวนอยู่เสมอ


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    http://www.ruendham.com/<!--
    --></P>
     

แชร์หน้านี้

Loading...