สติปัฏฐาน ๔ ที่สมบูรณ์ด้วย อานาปานสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พุืทธวจน000, 23 พฤศจิกายน 2012.

  1. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    สติปัฏฐาน

    อานาปานสติบริบูรณ์
    ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์

    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
    แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
    ให้บริบูรณ์ได้ ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
    ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
    ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร
    ให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ
    หายใจออก”;


    นี่คืออานาปานสติ

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
    เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
    มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ
    ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
    ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำมีความเพียร
    เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    ออกเสียได้


    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
    ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
    หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
    ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข
    หายใจออก”;

    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
    จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
    จิตตสังขารให้รำงับ” หายใจออก”;
    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
    เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
    เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    ออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็น
    อย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนา
    อันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
    ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทงั้ หลายอยเู่ ปน็ ประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.

    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
    หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
    ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
    หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
    ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
    ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่
    หายใจออก”;
    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น
    จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
    มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น
    สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
    ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
    เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกออกเสียได้.


    ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
    ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
    ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำหายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
    ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำหายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
    ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
    เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
    เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
    เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ
    โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
    ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.


    ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
    ให้บริบูรณ์ได้.


    มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๔/๑๔๐๒-๑๔๐๓.
     
  2. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    พระพุทธเจ้าสอนเพียง...สติปัฏฐาน ๔
    สงสัยมีคนเป็น..สัพพัญญู..เก่งเหมือนพระพุทธเจ้าสอน...มหาสติปัฏฐาน ๔
    พุทธวจน000...เคยได้ยิน...มหาสติปัฏฐาน ๔....บ้างหรือไม่ พุทธเจ้าของเราได้สอนไว้หรือเปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2012
  3. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    เขาก็แค่พิมพ์ผิด ยังไงก็ต้องเกิดเป็นมหาสติ..ก่อนใช่ไหมครับ ก่อนที่จะบรรลุธรรม..
    ผมเห็นคุณใช้ สติแยกจากสัมปชัญญะ แยกจากสมาธิ ..คุณยังเก่งกว่าพระพุทธองค์อีก ไม่เห็นมีตำราไหน พระสูตไหนสอนเลย
    :cool:สติเป็นอัญญะมัญญะกับสมาธิ ก็ไม่พูดถึง นี่ยังแยกสัมปชัญญะหายไปเลยต้องสร้างสติก่อน สัมปชัญญะจะเกิด
    สมาธิดันเกิดทีหลังสัมปชัญญะอีกมั๊ง ดูจากคำโพสต์คุณ สติ สมาธิ อัญญะมัญญะ หายไปเลยเหรอครับ
    ยังไงคุณยังตอบไมได้ไปเอาพระสูตรคนละเรื่องมาตอบ..
     
  4. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    หมายถึง...มหาสติปัฏฐาน ๔..ที่เขาทำออกมาขายตามร้านหนังสือ ตามที่สาวกสอนกันอยู่ปัจจุบัน ไม่ได้กล่าวพาดพิง

    พระสูตรที่ผมยกมาก (กระทู้อื่น) จะบอกว่า สติเป็นสังขารขันธ์ ถ้าน้ามาแนวจิตเกิดดับตลอดเวลา น้าจะรู้ว่าเวลา จิตไปรู้ที่ สังขาร ก่อนแล้วมารู้ กาย (ในที่นี้คือลมหายใจ)

    พอน้าบอกว่าเห้ยไม่มันไม่ใช่ ผมก็เลยต้องบอกว่า เราคนละแนวกันแล้ว แยกกันอยู่จะดีกว่า

    ผมไม่เคยบัญญิตอะไรขึ้นเอง เอามาจากพระสูตร ถ้ามันผิดนั่นแสดงว่าผมตีความในพระไตรปิฏกมาผิด หรือถ้ามันถูกแต่มีคนบอกว่าผิด นั่นแสดงว่าคนนั้นทรงจำมาผิด

    แต่เรื่อง มหาสติปัฏฐาน ๔ อันนี้ไม่ได้พาดพิงจริงๆ หมายถึงสาวก (พระ) ที่สอนกับอยู่ทั่วๆไป และทำหนังสือออกมาขาย

    พระวินัยปิฎก + พระสุตตันตปิฎก เท่านั้น ส่วน พระอภิธรรมปิฎก ไม่ขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2012
  5. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245

    จะเรียก สติปัฏฐาน 4 หรือจะเรียกมหาสติปัฏฐาน 4
    มันก็ไม่ต่างกันหรอกครับ
    ใช้ได้เหมือนกัน

    คุยกัน สนทนาบอร์ด คิดบวกเข้าไว้ก็จะเห็นคุณค่า
    หากมาเฟียมาจริง คงไม่ได้โพสแน่ๆ
    โพสแล้วหาย โพสแล้วหาย อย่างนี้น่าจะเรียกมาเฟียเวป
     
  6. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ***ดูตามหลักฐานนี้ครับ..คำว่ามหาสติปัฏฐาน ๔ ไม่มีครับ..แต่คำว่ามหาสติปัฏฐานมีครับ...แต่เป็นคำว่า มหาสติปัฏฐานสูตร...


    จากพระไตรปิฏกทั้ง 3 สำนักครับ

    ในบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น พระสูตรเหล่าใดที่คนเหล่าอื่นมิได้
    ทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยพระอัธยาศัยของพระ
    องค์แต่ลำพังอย่างเดียว มีอาทิอย่างนี้ คือ อากังเขยยสูตร วัตถสูตร
    มหาสติปัฏฐานสูตร มหาสฬายตนวิภังคสูตร อริยวังสสูตร ส่วนแห่ง
    สัมมัปปธานสูตร ส่วนแห่งอิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และ
    มรรค พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปตามพระอัธยาศัยของ
    พระองค์.
    พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่มที่ ๑


    **๙. มหาสติปัฏฐานสูตร
    การเจริญสติปัฏฐาน๑สูตรใหญ่
    {๒๗๓}[๓๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ
    แคว้นกุรุ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
    ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
    พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค


    **๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
    [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมา
    สทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
    ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ วามบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและ
    ปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
    พระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
    จบอุทเทสวารกถา
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค


    ***และเมื่อไปตรวจสอบที่ต้นฉบับที่เป็น บาลี..

    มหาสติปฏฺานสุตฺต
    [๒๗๓] เอวมฺเม สุต ฯ เอก สมย ภควา กุรูสุ วิหรติ
    กมฺมาสทมฺม ๑ นาม กุรูน นิคโม ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ
    ภิกฺขโวติ ฯ ภทนฺเตติ ๑ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ ภควา
    เอตทโวจ เอกายโน อย ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตาน วิสุทฺธิยา
    โสกปริเทวาน สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสาน อตฺถงฺคมาย ายสฺส
    อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิท จตฺตาโร สติปฏฺานา ฯ
    กตเม จตฺตาโร ฯ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส
    เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย
    โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี
    สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส ธมฺเมสุ
    ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก
    อภิชฺฌาโทมนสฺส ฯ
    อุทฺเทสวารกถา นิฏฺิตา ฯ
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๐
    สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกายสฺส มหาวคฺโค


    ***สรุปว่า คำว่ามหาสติปัฏฐาน มีครับ แต่เป็น มหาสติปัฏฐานสูตร
     
  7. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    มหาสติปัฏฐานสูตร ตัวนี้ อยู่ในส่วนของ...พุทธวจนะ..หรือป่าวครับ
     
  8. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ***ถ้าดูจากทั้งไทยและบาลี ที่นำเสนอให้ ผมไม่แน่ใจ เพราะคำว่ามหาสติปัฏฐานสูตร..ไม่ได้อยู่ในวลีคำพูดของพระศาสดา จึงไม่กล้าฟันธง ...

    เอาเป็นว่า การบ้านชุดนี้ ขอไปเรียนถามพระอาจารย์ก่อนครับ แล้วจะมาตอบในโอกาสต่อไป..
     
  9. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    ฝากด้วยครับอยากทราบเหมือนกัน บางทีผมอาจจะทรงจำมาผิด เลยคิดว่าไม่มี
     

แชร์หน้านี้

Loading...