สงครามโลกคั้งที่3 ใครคือผู้เริ่ม.. อเมริกา?เยอรมัน? หรือจีน?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย หมูดิน1, 26 มกราคม 2011.

  1. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    [​IMG]


    สงครามโลกครั้งที่1 เยอรมัน ฮังการี ออสเตรีย ประกาศรบพุ่งกับอังกฤษและฝรั่งเศส แล้วขยายออกไป เป็นวงกว้าง จนกลายเป็นวงกว้าง จนเป็นสงครามโลก




    [​IMG]


    สงครามโลกครั้งที่2 เยอรมันนี เป็นผู้เริ่ม ผู้ฉีกสัญญาทิ้ง...............




    สงครามโลกครั้งที่3 ใครคือผู้เริ่ม คุณคิดว่าเป็นใคร?

    แล้วมันจะมีเกิดขึ้นหรือไม่? คุณคิดว่าอย่างไร?
     
  2. joselas

    joselas Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2008
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +98
    สงครามทางอาวุธผมคิดว่าคงไม่มีแล้วล่ะครับระหว่างมนุษย์โลกด้วยกัน เพราะหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ มานั้นก็มีพวก UN ที่ตั้งกฎอะไรขึ้นมามากมายผมเองก็ไม่สามารถอธิบายได้เพราะความรู้อันน้อยนิด แต่คิดว่าคงจะมีแต่ ประเทศมหาอำนาจที่ยังรังแกประเทศเล็กๆ หรือว่าไม่มีพวกพ้องครับ ตามความคิดของผมนะ ขอบคุณครับ
     
  3. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=MOe5zk4DOUo]YouTube - รักฉันนั้นเพื่อเธอ - พิงค์แพนเตอร์[/ame]
     
  4. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
  5. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    นี่ถ้าผมจะบอกว่าจะยุติปัญหาสงครามทั่วโลกด้วยคงไม่ว่ากันนะครับ
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สงครามควบคุมสภาพอากาศ โดยเครื่อง HARRP เริ่มอย่างเป็นทางการแล้ว
    ตอนนี้มีใช้ทุกประเทศแล้วมั้ง สงครามทำให้น้ำท่วมโลกรึเปล่าก็ไม่รู้ อัฟริกายังมีน้ำท่วมเลย
    ปล้วก็ยังมีแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดอีก ไม่รู้ว่าจะเข้าข่ายสงครามโลกครั้งที่3ได้ไหม
    <TABLE height=36 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="80%"><B><BIG><BIG>ยูเออีเฉลยฝนกระหน่ำอาบูดาบีปีที่แล้วเป็น'พายุเทียม'ฝีมือมนุษย์ </BIG></BIG></B></TD><TD vAlign=top noWrap align=right width="20%"></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <!--VoteBody--><!--MsgIDBody=0-->เทเลกราฟ/เดลิเมล์ - โครงการสภาพอากาศลับมูลค่า 7 ล้านปอนด์(ราว 330 ล้านบาท) คือเบื้องหลังของพายุฝนฝีมือมนุษย์ที่โหมกระหน่ำรัฐอาบูดาบี ของสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์หลายสิบลูกเมื่อปีที่แล้ว

    เหล่านักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นลูกจ้างของ ชีค คาลิฟา บิน ซาเยด อัล นาห์ยัน ประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และผู้ครองนครอาบูดาบี ประสบความสำเร็จในการสร้างพายุฝนมากกว่า 50 ลูก ในเขตอัล อิน เมื่อปีที่แล้ว โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ซึ่งตามปกติแล้วจะไม่มีฝนตกในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้เชื่อกันว่านี่เป็นครั้งแรกที่สามารถสร้างระบบผลิตฝนท่ามกลางสภาพท้องฟ้าที่แจ่มใส

    นักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องยิงประจุไฟฟ้าลบขนาดยักษ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายโคมไฟมหึมา ก่อกำเนิดสนามอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบซึ่งนำไปสู่กระบวนการเกิดเมฆในที่สุด

    เฮลมุต ฟลัชเรอร์ ผู้ก่อตั้งเมโทร ซิสเตมส์ อินเตอร์เนชันแนล บริษัทสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งดูแลโครงการนี้ เปิดเผยในวิดีโอที่เผยแพร่โดยซันเดย์ไทม์ส ว่า "เวลานี้เรากำลังดำเนินการนวัตกรรมเทคโนโลยีส่งเสริมพายุฝนที่เขตอัล อิน ในอาบูดาบี เราเริ่มลงมือในเดือนมิถุายน 2010 และประสบความสำเร็จในการสร้างพายุฝนหลายลูก"

    สถาบันเทคโนโลยี แมกซ์ แพลงค์ สถาบันชั้นนำที่ศึกษาด้านฟิสิกส์บรรยากาศ ซึ่งคอยสังเกตการณ์ปรากฎการณ์ดังกล่าวระบุว่าพายุฝนปลอมนี้ไม่ได้แค่ก่อความงงงวยแก่ราษฎรของอาบูดาบีเท่านั้น แต่ยังก่อกำเนิดลูกเห็บ ลมกรรโชกแรงหรือแม้แต่ฟ้าฝ่าด้วย

    "โครงการนี้มีประโยชน์อย่างมาก" ฮาร์ตมุต กราสเซฺล อดีตผู้อำนวยการสถาบันให้สัมภาษณ์กับเดลิเมล์ "หนึ่งในนั้นคือสามารถนำพาน้ำไปสู่พื้นที่แห้งแล้ง และบางทีนี่อาจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของมนุษยชาติก็ว่าได้"

    แหล่งข่าว: Manager ผู้จัดการออนไลน์

    น้ำท่วมแอฟริกาใต้ตายแล้ว 123 ราย



    [​IMG]


    แอฟริกาใต้ 25 ม.ค. - อุทกภัยในประเทศแอฟริกาใต้ คร่าชีวิตประชาชนไปแล้ว 123 คน รัฐบาลต้องประกาศให้เทศบาล 33 แห่งเป็นเขตภัยพิบัติ

    รัฐบาลแอฟริกาใต้กล่าวเมื่อสุดสัปดาห์ว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยในเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเป็น 123 คน ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดควาซูลู-นาทาล บ้านเรือนหลายพันหลังได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในพื้นที่นครโจฮันเนสเบิร์ก รวมไปถึงในจังหวัดทางภาคเหนือและตะวันออก ชาวบ้านกว่า 20,000 คน ได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลต้องประกาศให้เทศบาล 33 แห่งจาก 8 ใน 9 จังหวัดเป็นเขตภัยพิบัติ ส่วนที่ประเทศโมซัมบิกถูกน้ำท่วมหนักเช่นกัน ประชาชนกว่า 13,000 คน สูญเสียบ้านเรือนหรือได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมสูง

    ทรานสเนท กลุ่มศึกษาด้านการขนส่งลำเลียงของแอฟริกาใต้ กล่าวว่า ฝนที่ตกหนักในเดือนนี้กระทบต่อการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ส่งผลต่อการส่งออกถ่านหินและข้าวโพด. - สำนักข่าวไทย


    น้ำท่วมที่อื่นๆอีกมากมาย ออสเตรเลีย ยุโรป เยอรมัน บราซิล บังคลาเทศ ปากีสถาน ...
    <!--Richtext--><!--MsgEdited=0-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2011
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นอกจากนี้ ก็ยังมี สงครามค่าเงิน สงครามเศรษกิจ สงครามแย่งงาน
    สงครามส่งออกเงินเฟ้อไปที่ประเทศคู่แข่ง
    สงครามความเกลียด สงครามศาสนา สงครามระหว่างผู้ก่อการดี-ผู้ก่อการร้าย
    สงครามแบ่งแยกดินแดน สงครามกลางเมือง สงครามแย่งชิงทรัพยากร
    สงครามของคนเชื้อชาติเดียวกันแต่เกลียดกันเองเพราะความคิดความเชื่อต่างกัน
    สงครามแย่งประชาชน สงครามแบ่งแยกประชาชน สงครามปฏิวัติ สงครามแย่งดินแดน
    สงครามเย็น สงครามลัทธินิยม สงครามทุนนิยมกับไม่นิยมทุน
    ชักเยอะแระ เข้าข่ายสงครามโลกครั้งที่3หรือยังก็ไม่รู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2011
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กองทัพจีน ฤา จะท้าทายอำนาจใหญ่ในแปซิฟิกของสหรัฐฯ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>20 มกราคม 2554 08:11 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    เครื่องบินขับไล่เทคโนโลยีสเตลท์ J-20

    เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์/เอเจนซี--กระแสวิพากษ์วิจารณ์การขยายกองกำลังทหารจีนได้กลายเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังจากที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (พีแอลเอ) ทดลองเครื่องบินขับไล่เทคโนโลยีสเตลท์ J-20 ซึ่งมีความสามารถในการหลบหลีกเรดาร์ ในชั่วโมงก่อนหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกลาโหมแห่งสหรัฐฯโรเบิร์ต เกตส์ พบปะกับประธานาธิบดีหู จิ่นเทาระหว่างเยือนปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว(11 ม.ค.)

    เหล่านักสังเกตการณ์ด้านทหารมักออกข่าวเกี่ยวกับการซุ่มผลักดันโครงการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพจีน ที่ได้รับอานิสงส์จากงบประมาณมหาศาล ในขณะที่เศรษฐกิจจีนกำลังเฟื่องฟูถึงขั้นแซงหน้าญี่ปุ่นกลายเป็นชาติเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกในปีที่แล้ว และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่มีขนาดใหญ่สุดของโลกก็มีแต่ขยายใหญ่ โดยตัวเลขมูลค่าล่าสุด ถึง 2.874 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

    พีแอลเอเป็นกองกำลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนนายทหารประจำการ 2 ล้านกว่าคน และมีอาวุธพลังทำลายล้างสูงอย่างนิวเคลียร์ในครอบครอง ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ยังมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ชั้นยอด อาทิ ในปี 2550 จีนได้ทำการทดลองขีปนาวุธทำลายดาวเทียมที่ประจำการในอวกาศสำเร็จเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก

    และช่วงปลายปีที่ที่ผ่านมา พลเรือเอก โรเบิร์ต วิลลาร์ด ผู้บัญชาการกองเรือแปซิฟิกของสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์อาซาฮีของญี่ปุ่น ว่าจีนได้พัฒนาขีปนาวุธนำวิถีโจมตีเรือบรรทุกเครื่องบิน รุ่น ตงเฟิง 21 D คืบหน้าถึงขั้นนำมาใช้งานได้ในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งการพัฒนาฯดังกล่าวถือเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ ที่ท้าทายความเป็นเจ้าใหญ่ในแปซิฟิกของสหรัฐฯ และอาจพลิกโฉมหน้าความมั่นคงในเอเชีย

    อย่างไรก็ตาม อาจต้องใช้เวลาทดสอบอีกนานหลายปีกว่าจีนจะสามารถเคลื่อนย้ายขีปนาวุธตงเฟิงมาประจำการได้อย่างสมบูรณ์ โดยยังจำเป็นต้องติดตั้งระบบนำวิถี ซึ่งอาศัยเทคโนโลยีทันสมัยที่สุด ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า จีนต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปีในการสร้างให้ขีปนาวุธตงเฟิงเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว

    สำหรับเครื่องบินล่องหน J-20 ซึ่งจัดเป็นเทคโนโลยีชั้นยอดในปฏิบัติการสอดแนมนั้น นายพลเหอ เหวยหรง รองผู้บัญชาการกองทัพอากาศ แห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีน คาดหมายว่า J-20 น่าจะเข้าประจำการในกองทัพอากาศจีนได้ราวปี 2560-2562

    กลุ่มนักสงเกตการณ์ยังเชื่อว่าจีนกำลังต่อเรือบรรทุกเครื่องบินอย่างน้อยหนึ่งลำ

    พลเรือเอก ไมค์ มูลเลน เสนาธิการทหารร่วมฯแห่งกองกำลังสหรัฐฯ เตือนหลังจากวันที่จีนทดลองเครื่องบินขับไล่สเตลท์ J-20 ว่าเหล่าโครงการพัฒนาอาวุธทันสมัยใหม่ๆของกองทัพพญามังกรนั้น มีเป้าหมายโดยตรงในการต่อกรกับกองกำลังสหรัฐฯ

    “จีนส่งสัญญาณตอกย้ำทั้งผู้นำสหรัฐฯ และประเทศในอาณาบริเวณ ว่าการพัฒนาความทันสมัยแก่กองทัพกำลัง ดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง และจีนจะกลายเป็นผู้คุมเกมด้านความมั่นคงใหญ่ในอาณาบริเวณ แทนที่สหรัฐฯ” นั่นเป็นการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพจีน นาย อาร์เธอร์ ติง ซึ่งมีฐานในไต้หวัน

    กลุ่มนักวิเคราะห์อีกกลุ่มชี้ว่า “แม้ขณะนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดระดับความสามารถที่แท้ของของเทคโนโลยีด้านทหารของจีน แต่มันก็ได้แสดงถึงความทะเยอทะยานที่น่ากลัวทีเดียว” เป็นคำกล่าวของ Gareth Jennings ผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานของ นิตยสารMissiles & Rockets ของค่ายนิตยสารด้านการทหารชั้นนำ Jane

    จากการแถลงอย่างเป็นทางการ จีนประเมินตัวเองว่า เทคโนโลยีการทหารของตนนั้น ยังล้าหลังอเมริกัน 20-30 ปี ทั้งย้ำว่าการพัฒนาความทันสมัยแก่กองทัพ มีเป้าหมายพื้นฐานในการป้องปราม

    กระนั้น ญี่ปุนคู่ปรับทางประวัติศาสตร์ของจีน ก็แถลงในเดือนที่แล้วว่า การขยายกองกำลังของจีน เป็นเรื่องที่นานาชาติต้องติดตามและระวัง เนื่องจากมันเป็นการขยายเกมรุกในน่านน้ำทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้

    ผู้เชี่ยวชาญการทหารที่ประจำอยู่ในกรุงปักกิ่ง ที่ไม่เผยนาม ชี้ถึงสถานการณ์การพัฒนาด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของจีนว่า ก้าวล้ำเส้นของการป้องปรามไปไกลแล้ว โดยกองทัพจีนได้จัดหาเครื่องบินที่มีความสามารถในการโจมตีเป้าหมายบนพื้นดินมากขึ้นๆเกินความจำเป็นสำหรับกองกำลังเพื่อการป้องกันตัวเอง

    กลุ่มนักสังเกตการณ์ในวงการยังวิตกถึงการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจในเอเชียตะวันออก ที่มีเจ้าถิ่นได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยมีปมความขัดแย้งใหญ่ คือ ความขัดแย้งเหนือดินแดนไต้หวัน เกาหลีเหนือ และข้อพิพาทกรรมสิทธิเหนือดินแดนระหว่างชาติเพื่อนบ้านในอาณาบริเวณ

    และการแข่งขันด้านอาวุธ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว

    “ณ วันนี้ ไม่มีใครรู้ได้แน่นอนว่า กองทัพจีนจะค่อยๆระดม J-20 เข้าประจำการกี่ลำ และกองกำลังขีปนาวุธนำวิถีจะมีขนาดใหญ่แค่ไหน”

    เราไม่สามารถทั้งประมาณขนาดและองค์ประกอบของกองกำลังสหรัฐฯและพันธมิตรในช่วง 4-5 ปี ข้างหน้า”

    ในขณะนี้ มีการมองกันว่า ขีปนาวุธตงเฟิงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการวางยุทธศาสตร์ของพญามังกร เพื่อสกัดไม่ให้เครื่องบินและเรือของอเมริกันล้ำเส้นน่านน้ำทางทะเลของตนได้ โดยยุทธศาสตร์นี้วางแนวป้องกันซ้อนกันหลายชั้น ประกอบด้วยระบบป้องกันทางอากาศ และทางทะเล เช่นเรือดำน้ำ และระบบขีปนาวุธนำวิถี ที่ทันสมัย โดยทั้งหมดทำงานสอดประสานกันด้วยเครือข่ายดาวเทียม

    Dean Cheng ผู้เชี่ยวชาญจีนที่ Heritage Foundation หน่วยงานคลังสมองของสหรัฐฯ บอกว่า “ยังมีเวลาที่สหรัฐฯจะหยั่งวัด และระดมกำลังมาต่อกรกับจีน ทั้งด้วยกองกำลังของตัวเอง และสรรพาวุธที่ผู้นำวอชิงตันจัดหาให้แก่ไต้หวัน”
    [​IMG]

    ดุลด้านกองกำลังทหารระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา

    จีน งบประมาณ สหรัฐอเมริกา
    $78,000ล้าน รวมทั้งสิ้นในปี2010 $729,000ล้าน
    2.0% สัดส่วน%ต่อจีดีพีปี2008 4.3%

    นายทหารประจำการ
    2.26ล้านคน 1.58ล้านคน

    อาวุธยุทโธปกรณ์
    1,320 เครื่องบินขับไล่ 2,379
    0 เครื่องบินขับไล่สเตลท์ 139
    0 เรือบรรทุกเครื่องบิน 11
    65 เรือดำน้ำ 71
    27 เรือพิฆาต 57
    240 หัวรบนิวเคลียร์ 9,400

    แหล่งที่มา: HIS Jane’s/IISS/SIPRI
    China - Manager Online -<!-- google_ad_section_end -->
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไข่แดงของพม่าก็เรียบร้อยโรงเรียนจีนไปแระ

    พม่าช่างรวยอัศจรรย์ พบน้ำมันในแหล่งบนบกอีกอื้อ


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>26 มกราคม 2554 14:16 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    แผนที่ทำขึ้นใหม่จาก Google Earth Map แสดงที่ตั้งของแหล่งน้ำมันบนบก 2 แหล่งใหญ่ในภารคกลางกับภาคเหนือของพม่า บริษัทร่วมทุน Sinopec-MOGE สำรวจพบน้ำมันปริมาณมากที่จะนำขึ้นมาใช้ได้ พม่ารุ่มรวยด้วยก๊าซและน้ำมันดิบทั้งแหล่งบนบกและแหล่งในทะเล.

    ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- บริษัทร่วมทุนจีน-พม่า พบน้ำมันในบ่อเจาะทดสอบ 2 บ่อ ในแปลง D ในเขตมาเกว (Magwe) กับ สะกาย (Sagaing) เมื่อปีที่แล้ว พบทั้งน้ำมันดิบและก๊าซในปริมาณที่ผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ และบริษัทยังจะต้องเจาะทดสอบอีกหลายบ่อ เนื่องจากมีข้อบ่งชี้ว่ามีโอกาสที่จะพบพลังงานล้ำค่าอีก

    บริษัทลูกของกลุ่มซิโนเปก (Sinopec) กลุ่มผู้ผลิตและค้าน้ำมันรายใหญ่จากจีน ได้เซ็นสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์กับรัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซพม่า หรือ MOGE (Myanmar Oil and Gas Enterprise) เมื่อปี 2550

    ในปี 2553 ที่ผ่านมาได้เจาะทดสอบบ่อที่ 1 กับ บ่อที่ 2 ในหลุมปาโตโลง (Pahtolong) ต่อเนื่อง และพบมีก๊าซรวมกันประมาณ 909,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต น้ำมันดิบอีกราว 7.16 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้ เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์

    บริษัท Sinopec International Petroleum (Myanmar) จะเจาะทดสอบอีกหลายบ่อในหลุมเดียวกัน ซึ่งมีศักยภาพสูงมากที่จะพบทั้งก๊าซและน้ำมันดิบเพิ่มเติม

    มีบ่อน้ำมันที่อยู่ในแผนการเจาะทดสอบจำนวน 42 บ่อ ใน 6-7 หลุม ในแล่งมาเกว-สะกาย ซึ่งต้องเจาะลงไปลึกกว่า 20,000 ฟุต

    ตามรายงานการเจาะทดสอบในปี 2551 คาดว่า ในบ่อที่ 1 ของหลุมปาโตโลง จะผลิตน้ำมันดิบได้วันละ 61 บาร์เรล และก๊าซอีกวันละกว่า 5 ล้าน ลบ.ฟ.และบ่อที่ 2 น้ำมันดิบวันละ 30 บาร์เรล ก๊าซอีก 3.5 ล้าน ลบ.ฟ.

    บริษัทร่วมทุนต้องเตรียมการอีกหลายด้านก่อนจะนำพลังงานขึ้นมาใช้ได้ รวมทั้งการสำรวจศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม การปกป้องแหล่งน้ำลำธารในอาณาบริเวณ การกำจัดของเสียอย่างปลอดภัย รวมทั้งป้องกันการรั่วไหลด้วย หนังสือพิมพ์ของทางการ กล่าว

    พม่ารุ่มรวยด้วยน้ำมันดิบและก๊าซ มีทั้งแหล่งในอ่าวเมาะตะมะทางตอนใต้ และในทะเลเบงกอลนอกชายฝั่งรัฐระไค (Rakhine) หรือ “ยะไข่” นอกจากนั้น ยังมีแหล่งบนบกอีกนับสิบแหล่งที่กำลังอยู่ระหว่างการสำรวจ โดยบริษัท จีน อินเดีย เกาหลี และ รัสเซีย
    [​IMG]

    แท่นเจาะบนบกของบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติจีน หรือ CNPC กำลังเจาะสำรวจแหล่งบนบกในพม่า บริษัทนี้ยังเป็นเจ้าของก๊าซที่ผลิตจากแปลง A1 กับ A3 จากแหล่งในทะเลเบงกอลอีกด้วย การก่อสร้างท่อส่งก๊าซและน้ำมันดิบผ่านแดนพม่าเริ่มขึ้นปลายปีที่แล้ว.

    [​IMG]
    โรงกลั่นน้ำมันมหึมาของ Sinopec ที่เมืองเจ้อเจียง (Zhejiang) ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นแห่งแรกของจีนที่ได้มาตรฐานยุโรป ปัจจุบันกลุ่ม China Petrochemical Corp ลงทุนสำรวจและผลิตน้ำมันอยู่ทั่วโลกรวมทั้งในพม่าด้วย.-- ภาพ: Lou Linwei/Rex Features.

    IndoChina - Manager Online -

    โครงข่ายทางรถไฟ‘จีน’ออกสู่โลกภายนอกโดยผ่าน‘พม่า’ (ตอนแรก)
    โดย ไบรอัน แมคคาร์แทน 20 มกราคม 2554 21:39 น.

    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์
    Asia Times Online :: Asian news hub providing the latest news and analysis from Asia)

    China outward bound through Myanmar
    By Brian McCartan
    07/01/2011

    ประเทศพม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญ เป็นอย่างมาก ในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่งที่จะสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมต่อระหว่างจีนกับบรรดาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และดินแดนที่ อยู่ถัดออกไปอีก ถ้าหากแผนการนี้เสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่วาดวางเอาไว้ มันก็จะเป็นโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่โตที่สุดใน ประวัติศาสตร์ทีเดียว อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของโครงการนี้ ก็คือการที่ระบบรางรถไฟของพม่าและประเทศอื่นๆ ใช้ช่วงกว้างระหว่างรางที่แตกต่างกันอยู่

    *รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *

    เชียงใหม่ - พม่ากำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมด้วยระบบรางรถไฟแห่งสำคัญแห่งหนึ่งใน ระดับภูมิภาค โดยจะเป็นจุดเชื่อมต่อจีนและอินเดียเข้ากับตลาดต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนที่อยู่ถัดออกไปอีก ทั้งนี้ถ้าหากแผนการลงทุนต่างๆ ที่กำลังเสนอกันอยู่ในเวลานี้จักบังเกิดผลขึ้นมาได้จริง และก็เฉกเช่นเดียวกับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ จำนวนมากมายในภูมิภาคแถบนี้ ผู้ที่เป็นพลังขับดันอยู่เบื้องหลังการออกแบบอันใหญ่โตมโหฬารในเรื่องนี้ก็ คือปักกิ่งเจ้าเก่า

    จีนกำลังวางแผนการที่จะก่อสร้างเส้นทางรถไฟจำนวนมาก ซึ่งจะเชื่อมต่อภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้อันห่างไกลของตน เข้ากับเมืองท่าต่างๆ ในพม่า แล้วต่อไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการวางแผนกำหนดให้มีเส้นทางรถไฟสายสำคัญสายหนึ่งโยงต่อเมืองคุนหมิง (เมืองหลวงของมณฑลหยุนหนัน ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนมังกร) เข้ากับท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่รวมทั้งพื้นที่เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพิเศษ ซึ่งกำลังก่อสร้างกันอยู่ที่เมืองจ๊อกเปียว (Kyaukpyu) บนชายฝั่งด้านตะวันตกของพม่า

    แผนการสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ได้รับการกระจายข่าวเป็นครั้งแรกใน นิตยสารรายสัปดาห์ “วีกลี อีเลฟเวน นิวส์” (Weekly Eleven News) ของพม่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมปีที่แล้ว โดยเป็นที่คาดหมายกันว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2015 นอกจากนั้นจีนยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรมที่ จ๊อกเปียวด้วย ทั้งเส้นทางรถไฟ, ท่าเรือน้ำลึก, และเขตอุตสาหกรรมดังที่กล่าวมา ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของแดนมังกรที่จะพัฒนาช่องทางทางการค้าให้แก่ ภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่ไร้ทางออกทางทะเลของตน รวมทั้งยังจะใช้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าน้ำมันและก๊าซ โดยจะมีการเชื่อมต่อไปยังสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการ ก่อสร้าง

    นอกจากทางรถไฟคุนหมิง-จ๊อกเปียว ยังมีการวางแผนสร้างเส้นทางรางรถไฟอีกเส้นหนึ่งเชื่อมต่อเมืองคุนหมิงเข้า กับเมืองย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงเก่าและเมืองท่าใหญ่ของพม่า คิดเป็นระยะทาง 1,920 กิโลเมตร การก่อสร้างน่าที่จะอาศัยเส้นทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ที่มีอยู่แล้วของพม่า แทนที่จะต้องวางรางวางเส้นทางกันใหม่หมด

    ทางรถไฟเส้นนี้ยังจะต่อเข้ากับเส้นทางรถไฟสายซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ โครงการท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่เมืองทวาย (Dawei) บนชายฝั่งด้านใต้ของพม่า ทั้งนี้ส่วนประกอบสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของโครงการท่าเรือแห่งนี้ตามที่ได้ มีการแถลงกันไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ก็คือจะมีการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ระหว่างทวายกับกรุงเทพฯ

    ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีการวางแผนการสร้างทางรถไฟติดต่อระหว่างภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนมังกร กับดินแดนพม่าเส้นที่สาม โดยรางรถไฟของสายนี้จะทอดผ่านรัฐฉาน (Shan State) ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของพม่า ทั้งนี้จากจุดเริ่มต้นที่เมืองคุนหมิง ทางรถไฟสายนี้เมื่อผ่านรัฐฉานแล้วก็จะมาจนถึงจังหวัดเชียงรายทางภาคเหนือของ ประเทศไทย และจากเชียงรายก็จะโยงเข้าสู่โครงข่ายรางรถไฟของไทยได้ เส้นทางคุนหมิง-เชียงรายสายนี้เมื่อบวกเข้ากับอีกเส้นหนึ่งที่ปัจจุบันกำลัง อยู่ระหว่างการสำรวจวางแนวทางในประเทศลาว ก็จะทำให้สามารถขนส่งสินค้าด้วยรางรถไฟระหว่างจีน, กัมพูชา, พม่า, ไทย, ลาว, มาเลเซีย, และสิงคโปร์

    หวัง เมิ่งซู (Wang Mengshu) นักวิชาการของบัณฑิตยสถานทางวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Engineering) ได้กล่าวกับสื่อมวลชนจีนในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า “คณะผู้แทนที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงการรถไฟ (Ministry of Railroads) ได้ไปเยือน (พม่า) และลาวในกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการสำรวจ และทันทีที่มีการกำหนดแนวเส้นทางรถไฟระหว่างจีน-พม่าแล้ว การก่อสร้างก็สามารถเริ่มต้นได้อย่างเร็วที่สุดคือภายในเวลา 2 เดือน โดยที่เส้นทางสายนี้น่าที่จะกลายเป็นเส้นทางขนส่งสายหลักที่ทำให้จีนเชื่อม ต่อด้วยทางรถไฟกับประเทศทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

    นอกเหนือจากพวกเส้นทางรถไฟซึ่งออกมาจากเมืองคุนมิงดังกล่าวมาข้างต้น แล้ว ยังมีแผนการทำทางรถไฟเพิ่มเติมอีก 2 เส้นที่จะโยงภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเข้ากับโครงข่ายรางรถไฟของพม่า โดยเป็นเส้นทางจากเมืองตาหลี่ ของจีน ไปยังเมืองมีตจีนา (Myitkyina) และเมืองลาเฉียว (Lashio) ของพม่า เมืองทั้ง 2 แห่งนี้ของพม่าต่างก็เป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่และเป็นปลายทางของทางรถไฟ

    ไม่เฉพาะแต่เรื่องเส้นทางรางรถไฟผ่านพม่า แดนมังกรยังกำลังให้ความช่วยเหลือเพื่อยกระดับอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือ เกี่ยวกับรถไฟของแดนหม่องให้ทันสมัยยิ่งขึ้นด้วย เป็นต้นว่า ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ปักกิ่งได้บริจาคหัวรถจักร 30 หัวจากกรมการขนส่งทางรถไฟของจีน เพื่อเป็น “ของขวัญแห่งมิตรภาพ” ให้แก่พม่า ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน

    เมื่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ เส้นทางรถไฟใหม่ๆ เหล่านี้ก็จะยิ่งกระชับสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่จีนมีอยู่กับพม่าให้ แข็งแกร่งขึ้นอีกมาก อีกทั้งยังจะร่วมส่วนในการบูรณาการเศรษฐกิจของภูมิภาคแถบนี้ด้วย ประเทศจีนเองก็กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการที่ประมาณการกันว่ามี มูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขยายระบบทางรถไฟภายในประเทศ จากที่มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 78,000 กิโลเมตรในปัจจุบัน ให้เป็น 110,000 กิโลเมตรภายในปี 2012 และเป็น 120,000 กิโลเมตรภายในปี 2020 โครงการอันมหึมานี้ยังตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ว่า จะต้องทำให้เมืองใหญ่เมืองสำคัญทั้งหมดในแดนมังกรสามารถติดต่อเชื่อมโยงกัน ด้วยทางรถไฟความเร็วสูง (high-speed line) ซึ่งสามารถรองรับขบวนรถไฟที่แล่นด้วยความเร็วเกินกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมก็จะเห็นได้ว่า พม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญเป็นพิเศษในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่ง ที่จะก่อสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงซึ่งเชื่อมโยงจีนเข้ากับบรรดาชาติ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ตะวันออกกลาง, และยุโรป อันที่จริงหลายๆ ส่วนของโครงข่ายนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ผ่านประเทศพม่านั้น สอดคล้องต้องกันกับแผนการริเริ่มจัดทำเส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย (Trans-Asian Railway initiative) รวมระยะทางทั้งสิ้นราว 14,000 กิโลเมตร ซึ่งสำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific ใช้อักษรย่อว่า UNESCAP หรือย่อกันยิ่งกว่านั้นว่า ESCAP) ได้เสนอกันขึ้นมาเป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 ถ้าหากเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามแผนการได้เมื่อใด มันก็จะกลายเป็นโครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน ประวัติศาสตร์ทีเดียว

    เส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย จะมีแนวเส้นทางอย่างไรแน่ๆ เวลานี้ยังคงไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ย่อมหนีไม่พ้นว่าโครงข่ายนี้จะต้องไปตามทิศทางใหญ่ๆ รวม 3 ทิศทาง กล่าวคือ แนวเส้นทางสายเหนือจะแผ่ขยายผ่านมองโกเลีย, คาซัคสถาน, รัสเซีย, ยูเครน และต่อออกไปเชื่อมโยงกับโครงข่ายทางรถไฟของยุโรป สำหรับแนวเส้นทางสายกลางจะผ่านพม่า, บังกลาเทศ, อินเดีย, ปากีสถาน, อิหร่าน, ไปจนถึงตุรกี ส่วนแนวเส้นทางสายใต้จะออกจากจีนไปจนถึงสิงคโปร์ โดยผ่านพม่า, ลาว, เวียดนาม, และไทย ในปัจจุบันจีนมีเส้นทางรถไฟที่สามารถเชื่อมต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็คือผ่านไปทางเวียดนามเท่านั้น

    ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อเขาได้ทางอีเมล์ที่ brianpm@comcast.net
    (อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)

    Around the World - Manager Online -

    ความช่วยเหลือจาก‘จีน’ไหลทะลักท่วม‘กัมพูชา’

    โดย มารวาน มาแคน-มาร์คาร์ 18 มกราคม 2554 23:47 น.
    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์
    Asia Times Online :: Asian news hub providing the latest news and analysis from Asia)

    China aid floods Cambodia
    By Marwaan Macan-Markar
    11/01/2011

    ในบรรดาต่างชาติที่เข้ามาเป็นหุ้น ส่วนด้านการพัฒนากับกัมพูชา ประเทศจีนถือเป็นผู้ที่มาถึงค่อนข้างช้ากว่าเพื่อน อย่างไรก็ตาม เวลานี้ความช่วยเหลือจากแดนมังกร ซึ่งอยู่ในลักษณะที่ไม่มีเงื่อนไขข้อผูกมัดใดๆ กำลังไหลทะลักท่วมท้นกัมพูชา ทั้งนี้รวมทั้งเขื่อนใหญ่ 5 แห่งที่กำลังก่อสร้างกันอยู่ในประเทศที่ยากจนขาดไร้พลังงานแห่งนี้ สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลดีให้แก่นายกรัฐมนตรีฮุนเซน อีกทั้งยังกำลังกลายเป็นการท้าทายการผูกขาดของพวกประเทศผู้บริจาคจากโลก ตะวันตก

    กรุงเทพฯ - เขื่อนแห่งใหม่ๆ ที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในกัมพูชา กำลังกลายเป็นสิ่งรูปธรรมอันสำคัญยิ่ง สำหรับให้นายกรัฐมนตรีของประเทศนี้ใช้โอ่อวดคุยโตว่า สายสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้กับประเทศจีน กำลังบ่ายหน้าไปยังทิศทางใด

    “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งนี้เป็นเพียงแค่หนึ่งในความสำเร็จจำนวนมาก ที่บังเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างกัมพูชากับจีน” นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ในพิธีการซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่ของจังหวัดเกาะกง (Koh Kong) อันห่างไกล ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ และก็เป็นสถานที่ซึ่งกำลังมีการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ รุสสีชุมกรอม (Russei Chrum Krom) ที่มีความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้ในปริมาณ 338 เมกะวัตต์

    เขื่อนยักษ์มูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯแห่งนี้ กำลังก่อสร้างโดยบริษัท หวาเตี้ยน คอร์ป (Huadian Corp) บริษัทรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน และก็เป็นเขื่อนแห่งใหญ่ที่สุดในจำนวน 5 แห่งซึ่งแดนมังกรมุ่งที่จะสร้างขึ้นในกัมพูชาอันเป็นประเทศที่ยากจนขาดไร้ พลังงาน ทั้งนี้ในจำนวนประชากรร่วมๆ 14.5 ล้านคนของกัมพูชา ปัจจุบันมีเพียงประมาณหนึ่งในห้าเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงกระแสไฟฟ้าได้

    เวลานี้พวกบริษัทจีนกำลังดำเนินการศึกษาความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ ของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอีก 4 แห่งที่มีโครงการว่าจะก่อสร้างกัน ทั้งนี้จากการเปิดเผยของพวกนักเคลื่อนไหวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขณะที่เหล่านักเคลื่อนไหวระดับรากหญ้าต่างแสดงความวิตกกังวลด้วยความไม่ แน่ใจว่าโครงการไฟฟ้าพลังน้ำดังกล่าวเหล่านี้จะก่อให้เกิดอะไรขึ้นมาบ้างใน อนาคต

    “จีนกำลังแสดงบทบาทที่สำคัญมากๆ ในด้านการลงทุนและการพัฒนาในกัมพูชา ทว่าจีนก็ควรที่จะคำนึงถึงความสำคัญของ EIAs (environmental impact assessments การประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม) และ SIAs (social impact assessments การประเมินผลกระทบทางด้านสังคม) ด้วย”

    ชิต สัม อาต (Chhith Sam Ath) ผู้อำนวยการบริหารขององค์กร เวทีประสานงานเอ็นจีโอที่ทำงานเรื่องกัมพูชา (NGO Forum on Cambodia) กล่าวแสดงความคิดเห็นเช่นนี้ในระหว่างที่ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากกรุง พนมเปญ อันเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานของเครือข่ายรากหญ้าเพื่อการประสานงานบรรดา องค์กรพัฒนาเอกชน (non-governmental organizations หรือ NGOs) ในท้องถิ่นแห่งนี้ของเขา “มีหลายครั้งหลายคราวที่กระบวนการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ได้มีการเปิดให้สาธารณชนได้เข้าไปร่วมรับทราบ ตลอดจนแทบไม่มีเวลาที่จะให้สาธารณชนได้ออกความเห็นวิพากษ์วิจารณ์เอาเลย” อาต กล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS)

    พวกองค์กรล็อบบี้เพื่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก เป็นต้นว่า องค์การแม่น้ำระหว่างประเทศ (International Rivers ใช้อักษรย่อว่า IR) ที่ตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯ ก็ได้ยืนยันว่า เขื่อนกำจาย (Kamchay) ซึ่งเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่ง ชาติ จังหวัดกัมโป้ต (Kampot) แม้เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาได้ 4 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีรายงานผลการศึกษาประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ ออกมาเลย “เมื่อดูกันในเรื่องกระบวนการด้าน EIA แล้ว พวกบริษัทจีนเหล่านี้ไม่ได้คิดที่จะทำตามหลักปฏิบัติที่ถือกันว่าสมควร ดำเนินการกันเลย” นี่เป็นความเห็นของ เอมี แทรนเดม (Ame Trandem) นักรณรงค์เคลื่อนไหวประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์การแม่น้ำระหว่าง ประเทศ “การเข้ามีส่วนร่วมของสาธารณชนอยู่ในสภาพจำกัดมากหรือกระทั่งไม่มีส่วนร่วม ใดๆ เลยด้วยซ้ำ ขณะที่พวกนักพัฒนาผู้ดำเนินโครงการก็ไม่ได้ขบคิดพิจารณาทางเลือกอื่นๆ เผื่อเอาไว้”

    เขื่อนกำจายนั้นตั้งอยู่ “ภายในเขตอุทยานแห่งชาติโบกอร์ (Bokor National Park) และจะทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ป่าสงวนถึงประมาณ 2,000 เฮกตาร์ (12,500 ไร่)” องค์การแม่น้ำระหว่างประเทศตั้งข้อสังเกตไว้ในรายงานการกศึกษาของตนที่ใช้ ชื่อเรื่องว่า “การพัฒนาด้านไฟฟ้าพลังน้ำของกัมพูชาและการพัวพันเกี่ยวข้องของจีน” (Cambodia's hydropower development and China's involvement)

    อย่างไรก็ตาม ฮุนเซนกลับกำลังพยายามที่จะไม่ปล่อยให้เหลือช่องเหลือที่ทางสำหรับการ วิพากษ์วิจารณ์จีน ดังที่พวกนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังพยายามหยิบยกขึ้นมา “มีการพัฒนาที่ไหนบ้างที่เกิดขึ้นมาโดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มี ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เลย กรุณาให้คำตอบที่ชัดๆ กับเราด้วย” บุรุษซึ่งเป็นผู้บริหารปกครองประเทศที่อยู่ในตำแหน่งมาอย่างยาวนานที่สุด ยิ่งกว่าใครๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวเช่นนี้ในระหว่างทำพิธีที่เขื่อนรุสสีชุมกรอม ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมุ่งตอบโต้โจมตีกลับพวกกลุ่มสีเขียวทั้งหลาย

    ทางฝ่ายจีนที่เป็นผู้ออกทุนให้แก่โครงการพัฒนาต่างๆ ในกัมพูชานั้น เวลานี้มีบางรายเหมือนกันที่เริ่มเข้ามาติดต่อมีปฏิสัมพันธ์กับเหล่านัก เคลื่อนไหวในท้องถิ่น โดยที่นักเคลื่อนไหวเหล่านี้ต่างกังวลใจว่า กัมพูชาซึ่งยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวภายหลัง 2 ทศวรรษแห่งสงครามกลางเมืองและระบอบปกครองที่มุ่งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมร แดง จะต้องจ่ายในราคาแพงลิ่วขนาดไหน จากการที่เจีนกำลังขยายอิทธิพลบารมีของตนในปัจจุบัน

    “ผมบอกกับคณะผู้แทนชาวจีนคณะหนึ่งเมื่อตอนประชุมหารือกันเดือนที่ แล้วว่า โครงการต่างๆ ที่ทางจีนเป็นผู้ดำเนินการนั้นแทบไม่มีการศึกษาประเมินผลกระทบทางด้านสิ่ง แวดล้อมกันเลย” เมียส นี (Meas Nee) นักวิจัยชาวกัมพูชาที่ทำงานวิจัยด้านการพัฒนาสังคม บอกกับสำนักข่าวไอพีเอส ในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ “และแม้กระทั่งเมื่อมีการทำ EIA มันก็จะดูดีอยู่แค่บนกระดาษเท่านั้น มันมีข้อผิดพลาดมากมายเนื่องจากไม่เคยมีการทำกันอย่างถูกต้องเหมาะสม”

    “ท่านนายกฯ (ฮุนเซน) ยกย่องสรรเสริญความสนับสนุนของฝ่ายจีนเรื่อยมา และรัฐบาลก็นิยมชมชอบที่จะได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากจีนมากกว่า เนื่องจากมันไม่ได้มีการตั้งเงื่อนไขข้อผูกมัดอะไร ไม่เหมือนกับความช่วยเหลือที่มาจากพวกผู้บริจาคชาติตะวันตก” นี กล่าวต่อ

    ประเทศจีนเป็นผู้ที่เข้ามาร่วมส่วนช่วยเหลือการพัฒนาของกัมพูชา ล่าช้ากว่าประเทศฝ่ายตะวันตกมาก และอันที่จริง ความสามารถของฮุนเซนในการอาศัยความสนับสนุนทางเศรษฐกิจจากแดนมังกรที่ทะลัก เข้ามาในระยะหลังๆ นี้ เพื่อทำการต่อรองพลิกแพลงกับพวกหุ้นส่วนการพัฒนาหน้าเดิมๆ จากโลกตะวันตก ก็เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า วิธีดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาของสองฝ่ายนี้มีความแตกต่างกัน อย่างชนิดตรงกันข้ามกันเลย

    ก่อนหน้าปี 2006 อันเป็นเวลาที่จีนก้าวเข้ามาให้ความช่วยเหลือกัมพูชา วาระการช่วยเหลือและการพัฒนาในกัมพูชาถูกครอบงำบงการโดยพวกชาติตะวันตกซึ่ง ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของ “ฉันทามติวอชิงตัน” (Washington Consensus) ที่มุ่งส่งเสริมตลาดเสรี และมุ่งให้เกิดความนิยมฝักใฝ่โลกตะวันตก ชาติตะวันตกหล่านี้เข้ามาในประเทศที่เสียหายย่อยยับจากสงครามแห่งนี้ตั้งแต่ ตอนที่มีการทำข้อตกลงสันติภาพนานาชาติปี 1991 เพื่ช่วยเหลือการฟื้นฟูบูรณะกัมพูชา

    ในช่วงกลางปี 2010 พวกผู้บริจาคจากโลกตะวันตกได้ให้คำมั่นสัญญาแก่กัมพูชาว่าจะให้ความช่วย เหลือคิดเป็นมูลค่า 1,100 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ในระดับ 950 ล้านดอลลาร์

    การแสดงความใจกว้างเพิ่มขึ้นเช่นนี้ ยังคงบังเกิดขึ้นทั้งๆ ที่รัฐบาลกัมพูชายังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานในด้านต่างๆ ที่พวกรัฐบาลชาติตะวันตกกำลังพยายามผลักดันวางกรอบ ไม่ว่าจะเป็นด้าน “ธรรมาภิบาล”, การมีกฎหมายที่ยุติธรรมขึ้นกว่าเดิม, การลดการทุจริตคอร์รัปชั่น, ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ด้วยความแข็งขันยิ่งขึ้น

    เหตุผลสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ก็คือจีน ทั้งนี้แดนมังกรได้ทำการลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้นมาก ดังเห็นได้ว่าการลงทุนของจีนอยู่ในระดับเพียงแค่ 45 ล้านดอลลาร์ในปี 2003 แต่ในเดือนธันวาคม 2009 จีนได้ลงนามข้อตกลงด้านการลงทุนในกัมพูชารวม 14 ฉบับซึ่งมีมูลค่ารวมกันถึง 850 ล้านดอลลาร์ ไม่เพียงเท่านั้น แดนมังกรยังกำลังท้าทายฐานะการเป็นผู้ผูกขาดให้ความช่วยเหลือกัมพูชาของฝ่าย ตะวันตก โดยที่จีนใช้วิธี “ติดต่อทำความตกลงโดยตรงกับพวกผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองเท่านั้น” ทั้งนี้เป็นความเห็นของ ชาลมาลี กุตตัล (Shalmali Guttal) นักวิจัยอาวุโสขององค์การ โฟกัส ออน เดอะ โกลบอล เซาท์ (Focus on the Global South) หน่วยงานคลังสมองทางด้านการพัฒนา ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงเทพฯ

    จีนกำลังได้ฝ่ายได้เปรียบเหนือโลกตะวันตก จากการใช้วิธี “ไม่มีการตั้งเงื่อนไขข้อผูกมัดเชิงนโยบาย” กุตตัลกล่าว พร้อมกับชี้ด้วยว่าจีนยังไม่ได้เดินตามเส้นทางของพวกผู้บริจาคฝ่ายตะวันตก ซึ่งมุ่งผลักดันให้องค์กรเอ็นจีโอของกัมพูชาเข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบติดตาม กระบวนการให้ความช่วยเหลือ

    สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส

    Around the World - Manager Online - <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สงครามทรัพยากรธาตุหายากโต้ตอบสงครามปั๊มเงินกระดาษสงครามส่งออกเงินเฟ้อจากฝ่ายตรงข้าม
    จีนดึงเหมืองธาตุหายาก 11 แห่งมาเป็นของรัฐ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>21 มกราคม 2554 11:07 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    แฟ้มภาพ – การโหลดธาตุหายากขึ้นเรือบรรทุก ณ ท่าเรืออวิ๋นหนานกั่ง มณฑลเจียงซู (ภาพเอเยนซี)

    เอเอฟพี - จีนดึงเหมืองธาตุหายาก 11 แห่งมาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ตามนโยบายรวบรวมและสร้างความมั่นคงแก่อุตสาหกรรมเหมืองฯ ซึ่งนักวิเคราะห์ชี้ (20 ม.ค.) ว่า จะช่วยทำให้ธาตุหายาก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตไอพอด และรถยนต์ไฮบริด มีราคาเพิ่มสูงขึ้น

    กระทรวงทรัพยากรแผ่นดินจีน เผยว่า “เจ้าหน้าที่พุ่งเป้าไปที่เหมืองฯในแถบตะวันออกของมณฑลเจียงซี ซึ่งอุดมไปด้วยธาตุหายาก ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลปกป้องธาตุหายากและการพัฒนาอย่างมีเหตุผล”

    ทางการจีนได้ตรึงมาตรการควบคุมธาตุหายาก โดยตัดลดโควต้าการส่งออกไปยังต่างประเทศ พร้อมขึ้นภาษีการส่งออกและลงโทษเหมืองที่ปล่อยมลพิษอย่างหนัก

    จีนมีสัดส่วนการผลิตธาตุหายากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของทั้งโลก เมื่อธาตุหายากเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์ไฮเทค อาทิ รถยนต์ไฮบริดพรีอุส (ของโตโยตา) ไอแพด กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า โรงงานกลั่นน้ำมัน ไปถึงสมาร์ทบอมบ์ เพียงตัวอย่างรายการผลิตภัณฑ์ไม่กี่อย่างนี้ ก็ทำให้เหล่าชาติอำนาจทั้งหลายหนาวๆร้อนๆไปตามกัน

    กระทรวงทรัพยากรฯ กล่าวเมื่อวันจันทร์ (17 ม.ค.) เหมืองธาตุหายาก 11 แห่ง มีพื้นที่ 2,534 ตร.กม. จะเป็นกลุ่มแรกที่รัฐบาลวางแผนดำเนินการเข้าควบคุม

    นักวิเคราะห์ชี้ว่า ความพยายามที่จะนำเหมืองธาตุหายากมาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ เป็นก้าวสำคัญของการรวมอุตสาหกรรมที่แตกกระจายในแถบภาคใต้ และจะทำให้ราคาธาตุหายากเพิ่มขึ้นด้วย

    ซัง ย่งเหลียง นักวิเคราะห์ประจำสำนักความมั่นคงกั๋วไท่จวินอาน แห่งเซี่ยงไฮ้ เผยว่า “ราคาธาตุหายากจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เมื่อรัฐบาลควบคุมอย่างแข็งขัน”

    ซังกล่าวว่า รัฐบาลอาจจะพุ่งเป้าไปที่ธาตุหายากชนิดหนัก ซึ่งมีราคาแพงกว่าชนิดเบา เนื่องจากขาดแคลนและหายากกว่า

    เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (28 ธ.ค.2553) กระทรวงพาณิชย์จีนได้ประกาศลดโควตาส่งออกธาตุหายากลง 35 เปอร์เซ็นต์สำหรับช่วงครึ่งแรกของปี 2554 โดยในช่วงครึ่งหลังของปี2553 จีนได้ประกาศลดโควตาส่งออกไปแล้วถึง 72 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่า “โควต้าการส่งออกธาตุหายากทั้งปี 2554 จะลดลงไม่มากนัก” ทั้งนี้จีนแถลงว่า ไม่ได้ใช้ธาตุหายากมาเล่นเกมการเมืองโลกอย่างที่สหรัฐฯ เคยโจมตี
    China - Manager Online -<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2011
  11. ผู้เห็นภัย

    ผู้เห็นภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +476
    น่าสนใจมากครับ อ่านสะยาวเลย ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2011
  12. allfornine

    allfornine Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +38
    สงครามโลกครั้งที่3 ผมคิดว่าอาจจะเป็น เกาหลีเหนือ แต่ถ้าจะหักมุม ผมว่า การเกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดใน อินโดนิเซีย และนี่ คือสงครามโลกครั้งที่ 3

    แต่ในใจผม ผมคิดเรื่องการหักมุมนะ น่าจะเกิดจากเหตุการณ์เลวร้ายใน อินโด ชัวร์ๆ
     
  13. สิบหก

    สิบหก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    680
    ค่าพลัง:
    +603
    ไทยกะเขมร หละ จะชัดกันเมื่อไรยังไม่รู้เลย เอาใกล้ๆนี่แระ ....
     
  14. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    บทวิเคราะห์ต่างประเทศ..

    บทวิเคราะห์ต่างประเทศ มะกันชนเกินครึ่งเชื่อว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่3

    ภายในอีกสี่สิบปีข้างหน้า....

    จากผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุด ชี้ไห้เห็นมากกว่าครึ้งหนึ่งของชาวอเมริกาเชื่อว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สาม และเชื่อว่าสหรัฐ
    จะถูกโจมตีจากผู้ก่อร้ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์ภายใน ระยะเวลา 40ปี ข้างหน้านับจากนี้ไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2011
  15. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
  16. สวรรค์ค8

    สวรรค์ค8 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +8
    [​IMG]

    สันติ สันติ สันติ ภาวนากันเอาไว้นะ หุหุ
     
  17. Izen

    Izen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +48
    ตามทำเคยถูกทำนายไว้ ที่เปิดฉากก่อนเลยคือ จีน เปิดใส่ ไต้หวันก่อน แล้วลุกลาม

    แต่ปัจจุบัน ไม่น่าใช่ ออกๆไปทางเกาหลีเหนือมากกว่า

    พี่ไทยไม่ต้องห่วง โดน3ด้านครับ พม่า มาเล เขมร เละแน่ ต้องพึ่งUSA ถึงจะรอด
     
  18. pumm...

    pumm... สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +9
    FYI, วันนี้ (1/27/2011) มีข่าวค่อนข้างหน้ากลัวที่อเมริกา อาวุธเคมี (VX nerve gas )ได้หายไปจากคลังเก็บที่รัฐ Utah ได้มีการ Lockeddown และทำการตรวจค้น แต่ตอนนี้บอกว่าหาเจอแล้ว..จะเชื่อดีไหม..

    http://edition.cnn.com/2011/US/01/27/utah.base.lockdown/?hpt=T2
     
  19. คิดได้แค่นี้

    คิดได้แค่นี้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +352
    สงครามโลกครั้งที่1-2 เกิดเพราะเทคโนโลยี่ที่ไม่เท่าเทียมกัน ฝ่ายเหนือกว่าจึงกล้าบุกอีกฝ่ายด้วยข้ออ้างเรื่องดินแดนบ้าง เรื่องเศรษฐกิจบ้าง รู้ว่ารบเมื่อไรก็ชนะจึงกล้าบุก

    ปัจจุบันจีน อเมริกา รัสเซีย เกาหลีเหนือ อินเดีย ปากีสถาน ยุโรป ตะวันออกกลาง
    ไม่มีใครกล้าบุกใคร กล้าทำได้เพียงยิงตอบโต้กันบ้าง เพราะคนที่มีนิวเคลียร์ไม่กล้ารบกันเองแบบประกาศสงครามระหว่างกัน ไม่กล้า กลัวอีกฝ่ายใช้นิวเคลียร์ กลัวสงครามนิวเคลียร์

    อเมริกาบุกอิรักหลังจากตรวจสอบแน่ชัดแล้วว่าจะไม่โดนนิวเคลียร์ หาซื้อก็ไม่ทันใช้ พัฒนาเองก็ยังไม่ได้ อิรักจึงโดนบุกเข้าประเทศ

    อเมริกา จีน รัสเซีย จะไม่รบกัน พันธมิตรยุโรปจะไม่รบกับทวีปอื่น เกาหลีเหนือจะทำได้เพียงทดลองนิวเคลียร์และไม่มีใครประกาศสงครามกับเกาหลีเหนือ อินเดียจะไม่บุกปากีสถานจะตอบโต้กันตามชายแดนแค่นั้น ส่วนประเทศเล็ก(ไม่มีนิวเคลียร์)ใครอยากรบกับใครก็แล้วแต่ท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มกราคม 2011
  20. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    กระทู้นีเปิดสำหรับทุกท่านเลยครับ เป็นการสำรวจโพลไปในตัวด้วยว่า แน้วโ้น้ม ความคิดของพี่น้องชาวเรา เว็บพลังจิต มีความคิดอย่งาไร แบบไหนกับเรื่องสงครามในอนาคต มุมมองของแต่ละท่านเป็นอย่างไรกันบ้าง คิดว่าจะเกิดขึ้นจริงไหม หรือไม่เป็นความจริง
    ผมขอระดมความคิดจากทุกๆท่านเลย ขอ ทัศนะ ความคิด ความอ่าน มุมมอง หน่อยนะครับ.............


    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...