ศีลที่ทุกท่านเข้าใจมีความหมายอย่างไร ทำไมเวลาทำผิดศีลจึงก่อให้เกิดความเดือดร้อน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ใจทุกข์, 28 เมษายน 2011.

  1. ใจทุกข์

    ใจทุกข์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +0
    มิลินทปัญหา : ปัญหาที่ ๙ ถามลักษณะศีล
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    " ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้ในข้อก่อน (ปัญหาที่ ๗) ว่า บุคคลไม่เกิดอีกด้วยได้กระทำ กุศลธรรมเหล่าอื่นไว้
    โยมยังไม่เข้าใจ จึงขอถามว่า ธรรมเหล่าไหน…เป็นกุศลธรรมเหล่านั้น ? "

    พระเถระตอบว่า
    " มหาราชะ ศีล ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เหล่านี้แหละ เป็นกุศลธรรมเหล่านั้น "

    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ศีล มีลักษณะอย่างไร ? "
    " มหาราชะ ศีล มีการ เป็นที่ตั้ง เป็นลักษณะ คือศีลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวงอันได้แก่ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ กุศลธรรมทั้งปวงของผู้ตั้งอยู่ในศีลแล้วไม่เสื่อม "
    " ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดอุปมา "

    อุปมา ๕ อย่าง
    " มหาราชะ อันต้นไม่ใบหญ้าทั้งสิ้น ได้อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดินแล้ว จึงเจริญงอกงามขึ้นฉันใด พระโยคาวจรได้อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงทำให้เกิด อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ขึ้นได้ฉันนั้น "

    " โปรดอุปมาให้ยิ่งขึ้นไป "
    " มหาราชะ การงานทั้งสิ้นที่ทำบนบกต้องอาศัยแผ่นดินตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงทำได้ฉันใด พระโยคาวจรก็อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล จึงทำให้เกิดอินทรีย์ ๕ ขึ้นได้ฉันนั้น "

    " โปรดอุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก "
    " มหาราชะ บุรุษที่เป็นนักกระโดดโลดเต้น ประสงค์จะแสดงศิลปะ ก็ให้คนถากพื้นดิน ให้ปราศจากก้อนหินก้อนกรวด ทำให้สม่ำเสมอดีแล้ว จึงแสดงศิลปะบนพื้นดินนั้นได้ฉันใด พระโยคาวจรก็อาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงทำให้เกิดอินทรีย์ ๕ ขึ้นได้ฉันนั้น "

    " นิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นกว่านี้ "
    " มหาราชนะ นายช่างประสงค์จะสร้างเมืองให้ปราบพื้นที่จนหมดเสี้ยนหนามหลักตอ ทำพื้นที่ให้สม่ำเสมอดีแล้ว จึงกะถนนต่าง ๆ มีถนน ๔ แพร่ง ๓ แพร่ง เป็นต้น ไว้ภายในกำแพง แล้วจึงสร้างเมืองลงฉันใด พระโยคาวจรก็อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงทำให้เกิดอินทรีย์ ๕ ขึ้นได้ฉันนั้น "

    " ขอจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นกว่านี้อีก "
    " มหาราชะ พลรบผู้เข้าสู่สงคราม ตั้งมั่นอยู่ในพื้นที่อันเสมอดี กระทำพื้นที่ให้เสมอดีแล้ว จึงกระทำสงคราม ก็จักได้ชัยชนะใหญ่ในไม่ช้าฉันใด พระโยคาวจรก็อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงทำให้เกิดอินทรีย์ ๕ ให้เกิดได้ฉันนั้น ข้อนี้ สมกับที่สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาตรัสไว้ว่า
    " ภิกษุผู้มีความเพียรรู้จักรักษาตัว มีปัญญาตั้งอยู่ในศีลแล้ว ทำจิตและปัญญาให้เกิดขึ้น ย่อมสะสางซึ่งความรุงรังอันนี้ได้ ศีลนี้เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งหลายเหมือนกับพื้นธรณี อันเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งหลาย ศีลนี้เป็นรากเหง้าในการทำกุศลให้เจริญขึ้น ศีลนี้เป็นหัวหน้าในศาสนาขององค์สมเด็จพระชินสีห์ทั้งปวง "
    กองศีลอันดี ได้แก่ พระปาฏิโมกข์ ขอถวายพระพร "
    " ชอบแล้ว พระนาคเสน "
    อธิบายความหมายของคำ
    อินทรีย์ หมายถึง สภาวะที่เกื้อกูลแก่ความเป็นใหญ่ในร่างกายมนุษย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อควบคุมอินทรีย์ต่างๆภายนอกเหล่าไว้นี้ดีแล้วจะทำให้เกิด อินทรีย์ ๕ ในกายชั้นใน

    พละ หมายถึง กำลังแห่งความเข้าใจที่ทำให้เกิดความสำเร็จ มีอยู่ด้วยกัน ๕ ประการ คือ
    ๑ .ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย
    ๒. วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
    ๓. สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ
    ๔. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน
    ๕. ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย

    โพชฌงค์ หมายถึง ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีอยู่ ๗ อย่าง คือ
    ๑. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
    ๒. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
    ๓. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
    ๔. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
    ๕. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
    ๖. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
    ๗. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

    สติปัฏฐาน หมายถึง การเข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ มีอยู่ ๔ ระดับ คือ
    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    ๔. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    สัมมัปปธาน หมายถึง การมุ่งมั่นทำความชอบ มีอยู่ ๔ ประการ คือ
    ๑. สังวรปทาน คือ เพียรระงับการกระทำอกุศล ไม่ให้เกิดขึ้น
    ๒. ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่กำลังกระทำอยู่
    ๓. อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
    ๔. ภาวนาปทาน คือ เพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรม ให้เจริญยิ่งขึ้น
    อิทธิบาท หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ มีอยู่ ๔ ประการ คือ
    ๑. ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
    ๒. วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
    ๓. จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
    ๔. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น

    ฌาน หมายถึง ความรู้ที่ทำให้เกิดโลกุตตรปัญญา

    วิโมกข์ หมายถึง สภาพที่จิตพ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งปวง การพ้นจากโลกีย์ การขาดจากความพัวพันแห่งโลก ความเป็นพระอรหันต์ ใช้หมายถึงพระนิพพานก็ได้ มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
    ๑. สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา
    ๒. อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง
    ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง

    สมาบัติ หมายถึง ภาวะสงบประณีตซึ่งพึ่งเข้าถึง มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ เป็นต้น

    โลกุตตรปัญญา หมายถึง ความรู้ที่พ้นวิสัยของโลก, ความรู้ที่ช่วยคนให้พ้นโลก
    จากหนังสือ:มิลินทปัญหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2011
  2. shaman loseless

    shaman loseless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +185
    อนุโมทนา
    หากแต่บัว 4เหล่านั้นใช้แบ่งแยกการสอนธรรม(แบ่งสติปัญญาผู้ที่เราจะสอนซึ่งพึ่งจะรับได้ในขณะนั้น)ใช่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะไม่ ธรรมนั้นลึกซึ่งใช่คนธรรมดาจะเข้าใจในธรรมที่พระอริยะเจ้านั้นทรงรู้ ถึงมีคำกล่าวไว้ว่า พระอรหันต์เท่านั้นที่จะรู้ว่าใครคือพระอรหันต์
    เรื่องศีลก็อธิบายง่ายๆคือ หลักเหตุและผล ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
    การกระทำของสิ่งต่างๆนั้นถูกต้องหมดไม่มีผิดแต่หากผลของมันต่างหากที่สำคัญ
    อยากได้สิ่งตอบแทนที่ดีก็ทำกรรมดี อยากได้สิ่งตอบแทนที่ไม่ดีก็ทำกรรมชั่ว

    กฎแห่งกรรม

    ชนะใจตัวเองคือยอดคน
     
  3. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234
    โมทนา สาธุค่ะ_/|\_
    ตามความเข้าใจของดิชั้น ศีลคือพื้นฐาน คือหลักสูตรของการเป็น"มนุษย์"คือเครื่องกั้น กายกรรม มโนกรรม วจีกรรม คือเครื่องกั้นไม่ให้ชีวิตตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่
    ศีล คือ ความปกติ (1)ปกติเราไม่อยากให้ใครมาประทุษร้ายเรา ไม่อยากให้ใครมาฆ่าเรา (2)ปกติเราไม่อยากให้ใครมาลักทรัพย์เรา (3)ปกติเราไม่อยากให้ใครมาล่วงละเมิด,สามี,ภรรยา ,ลูกหลาน, คนในปกครองของเรา (4)ปกติเราไม่อยากให้ใครมาโกหกเรา (5)ปกติเราไม่อยากให้ใครมามองเราว่าบ้าบอ... ประมาณนี้ค่ะ^_^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2011
  4. ระยับแดด

    ระยับแดด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +117
    สตรีใด ไร้ศีล ก็สิ้นสวย

    บุรุษด้วย ไร้ศีล ก็สิ้นศรี

    สมณะ ไร้ศีล ก็สิ้นดี

    คนมั่งมี ไร้ศีล ก็สิ้นงาม

    การรักษาศีล 5 ก็จะทำให้โลกนี้น่าอยู่ โลกไม่ร้อน
     
  5. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,705
    ค่าพลัง:
    +51,934
    ศีล คือ อะไร

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  6. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,705
    ค่าพลัง:
    +51,934
    *** ศีล ****

    การทำได้เป็นปกติ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  7. thunderstrom

    thunderstrom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    853
    ค่าพลัง:
    +62
    ขออนุญาติ แสดงความคิดเห็นครับ
    เมื่ออยู่ผู้เดียว ไม่มีการเชื่อมโยง ปลากัดแต่ละตัวอยู่ในโหลแต่ละใบ แม้การมองเห็นกันผ่านโห
    ลก็ทำให้เกิด ถนนหนึ่งสาย ถูกแบ่งงเส้นสมมุติ เพื่อใช้งานร่วม หากมีรถเพียง คันเดียวคนเพียงคนเดียว กฎหมายมิจำเปตองมี ข้อบ่งชี้ของ ศีลอยู่ที่ผลกระทบต่อสิ่งอื่น และกลับมามีผลกับจิต คล้ายปลากัด ในโหลแก้ว
     
  8. thunderstrom

    thunderstrom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    853
    ค่าพลัง:
    +62
    ขออนุญาติ แสดงความคิดเห็นครับ
    เมื่ออยู่ผู้เดียว ไม่มีการเชื่อมโยง ปลากัดแต่ละตัวอยู่ในโหลแต่ละใบ แม้การมองเห็นกันผ่านโห
    ลก็ทำให้เกิด ถนนหนึ่งสาย ถูกแบ่งงเส้นสมมุติ เพื่อใช้งานร่วม หากมีรถเพียง คันเดียวคนเพียงคนเดียว กฎหมายมิจำเปตองมี ข้อบ่งชี้ของ ศีลอยู่ที่ผลกระทบต่อสิ่งอื่น และกลับมามีผลกับจิต คล้ายปลากัด ในโหลแก้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...