ศีลทั้ง ๓ ประการ พระธรรมเทศนา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 27 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    กัณฑ์ที่ ๑๙
    ศีลทั้ง ๓ ประการ
    วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๗


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ


    อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกฺขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตฺตพฺพนฺติ ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ณ บัดนี้อาตมภาพ จักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วย ศีลทั้ง ๓ ประการ ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงประทานเทศนาเรียกว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นศีลทางพุทธศาสนาต้องประสงค์ แม้ศีลตั้งแต่เป็นศีลต่ำลงไปกว่านี้ พุทธศาสนาก็นิยมยินดี เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ ประการได้แสดงมาแล้ว




    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ประสงค์เอาศีล ๕ ประการ
    ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ประสงค์เอาปาฏิโมกข์สังวรศีล และบริบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยทั้งหลายสมโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้ งหลาย เห็นศีลโดยปริยายเบื้องสูง



    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้สละอารมณ์ทั้งสิ้นหลุดขาดจากใจ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งของใจได้ นี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ
    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ทรงแนะนำให้ดำเนินถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อเข้าฌานใดฌานหนึ่งได้ เรียกว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง




    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปชัด และข้อปฏิบัติดำเนินถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ อันเป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง คือพระองค์ทรงแนะนำว่า ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้รู้ชัดว่านี่ทุกข์ นี่เหตุเกิดทุกข์ นี่ความดับทุกข์ นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ รู้ชัดในสัจจธรรมทั้ง ๔ นี้ นี่ทางปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูงนั้นได้แสดงแล้ว ในสัปดาห์ก่อนๆ โน้น

    บัดนี้จักแสดงใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต่อจาก ศีล สมาธิ ปัญญา โดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงเป็นลำดับมา
    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง
    อธิจิต แปลว่า จิตยิ่ง
    อธิปัญญา แปลว่า ปัญญายิ่ง
    แปลตามมคธภาษาประกอบตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า
    พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ในอันถือมั่นซึ่งศีลยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งจิตยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งปัญญายิ่ง ดังนี้
    เอวฺหิ โน สิกฺขิตฺตพฺพํ อย่างนี้ อย่างนี้แม้จริงอันเราทั้งหลายควรศึกษา แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายในเรื่อง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา สืบไปเป็นลำดับไป

    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง ศีลยิ่งนั้นเป็นไฉน
    ศีลตามปกติธรรมดาที่ได้แสดงมาแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูง ศีลยิ่งนะ ยิ่งกว่าเบื้องต่ำ เบื้องสูงไปกว่านั้นหรือ ศีลยิ่งน่ะ ต้องเห็นศีล ไม่ใช่รู้จักศีล เห็นศีลทีเดียว ศีลโดยปกติสำรวมกาย วาจา เรียบร้อยดีไม่มีโทษ งดเว้นเบญฺจวิรัติ ๕ ประการ ขาดจากจิตสันดาน บริสุทธิ์ดุจพระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระศาสดา นี่ศีลตามปกติธรรมดาไม่ใช่อธิศีล นี่ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ
    ศีลโดยปริยายเบื้องสูง เหมือนภิกษุสามเณร กำลังศึกษากันเช่นนี้ ปาฏิโมกข์สังวรศีล
    สำรวมตามพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต
    อาจารโคจรสมปนฺโน ถึงพร้อมด้วยมารยาทเครื่องมาประพฤติ โดยเอื้อเฟื้อและโคจร
    อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษแม้มีประมาณน้อย
    สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขา ปเทสุ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย
    นี่ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ไม่ใช่อธิศีล

    คือบริสุทธิ์ตลอดจนกระทั่งถึงเจตนา ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลจริงๆ ตรงตามวาระพระบาลีว่า
    เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เจตนาความคิดอ่านทางใจนั่นแหละเป็นศีล รับสั่งดังนี้ นี่ก็เป็น “เจตนาสีล” ความคิดอ่านทางใจ ศีลมีแต่กายกับวาจา เจตนาก็เป็นศีล ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลอีก เป็นศีลด้วย แต่ว่ายังไม่ถึงอธิศีล อธิศีล ศีลที่เห็น ไม่ใช่ศีลที่รู้ เจตนาความคิดอ่านปกติสละสลวยเรียบร้อย ก็มาจากศีล ศีลเป็นดวงใสอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงศีลอยู่ภายในนั้น ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั่นแหละ ถ้าผู้ปฏิบัติไปถึงไปเห็นเป็นปรากฎขึ้น ในศูนย์กลางกายมนุษย์เห็นเป็นปรากฏขึ้น ศีลดวงนั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นอธิศีล เป็นอธิศีลแท้ๆ

    เมื่อรู้จักอธิศีลดังนี้ละก็ ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงนั้น ปกติศีล ในศีลที่เห็นดวงใสในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั้นเขาเรียกว่าอธิศีล อธิศีลแปลว่าศีลยิ่ง ศีลที่ผู้ปฏิบัติและเห็นแล้วก็ ใจของผู้ปฏิบัติก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่นบ้าง ไม่ลอกแลกเหลวไหล เหลวไหลเลอะเลือน ใจเป็นหนึ่งลงไปกลางดวงศีลนั่น นั้นเป็น อธิศีล แท้ๆ

    ศีลนั่นจะบริสุทธิ์ ก็เห็นว่าบริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ก็เห็นว่าไม่บริสุทธิ์ จะสะอาดเพียงแค่ไหนก็เห็น ไม่สะอาดแค่ไหนก็เห็น ขุ่นมัวเศร้าหมองก็เห็นทั้งนั้น ศีลไม่เป็นท่อนเป็นช่อง
    อขฺณฑาเอฉิทฺท อสพลา เมื่อรักษาศีล ใจหยุดอยู่ในศีลนั้น ศีลไม่เป็นไปเพื่อกำลัง ต้องการรักษาศีลจะให้รวยเท่านั้นเท่านี้ มั่งมีเท่าโน้นมั่งมีเท่านี้ ศีลเป็นไปด้วยกำลังเช่นนี้ไม่มี ไม่ประสงค์เป็นอธิศีล ส่วน อธิศีล นั้น เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงศีลก็หยุดทีเดียว มุ่งแต่สมาธิต่อไปไม่ได้มุ่งสิ่งอื่น “อธิศีล” ที่ปรากฏนั่นแหละผิดปกติธรรมดา


    เมื่อเห็น ดวงศีล ขนาดนั้นแล้ว ผู้มีปัญญาก็ไม่ได้ถอยออก ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้นก็จะเข้าถึง ดวงสมาธิ อยู่กลางดวงศีลนั่น เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ดวงขนาดนั้น นั่น สมาธิ ที่เห็นดวงนั้นแหละ ดวงอธิจิต หละ จิตยิ่ง สมาธิยิ่ง หละ นั่นเป็นสมาธิยิ่ง ยิ่งกว่าที่ทำมาแล้ว เป็นมาแล้ว เห็นมาแล้ว นั้นเรียกว่าจิตยิ่ง

    จิตก็จะหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก เมื่อจิตหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ นิ่งพอถูกส่วนเข้า พอจิตที่หยุดนิ่งก็กลางของกลาง กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็น ดวงปัญญา อีกดวงหนึ่งอยู่กลางดวงสมาธินั่น นั่นแหละปัญญาดวงนั้น เขาเรียกว่า “อธิปัญญา” อธิปัญญาแท้ๆ อธิปัญญาในตอนต้นไม่ใช่ตอนปลาย มีตอนปลายอีก

    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง ๓ ดวงนี้ นี่แหละเป็นธรรมถ่องแท้ในพุทธศาสนา
    เมื่อผู้ปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเข้าถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงอธิศีล เข้าถึงอธิจิต เข้าถึงอธิปัญญา ถ้าจะดำเนินต่อไปตามร่องรอยของพระพุทธศาสนากลางดวงปัญญามีวิมุตติ กลางดวงอธิปัญญานั่นมีวิมุตติ วิมุตติอย่างไร วิมุตติหลุดทีเดียว หลุดจากศีล สมาธิ ปัญญา ลงไปทีเดียว วิมุตติแปลว่าวิมุตติหลุด แปลว่าหลุดพ้น กลางดวงวิมุตตินั้นจะเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะเป็นธรรมที่พึงจะรู้เห็นตามความเป็น จริง หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นก็จะเห็น กายมนุษย์ละเอียด เห็นกายมนุษย์ที่นอนฝันออกไป เห็นปรากฎทีเดียว ว่า อ้อ กายนี้เองที่เรานอนฝันออกไปเห็นปรากฏนี้เอง ไม่ฝันแล้วก็ไม่เห็น ฝันจึงเห็น เห็นปรากฏกายที่นอนฝันออกไป นี่อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่หยาบนี้

    ยังมี อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่ละเอียดนั่น ใจกายมนุษย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงอธิศีลหยุดอยู่กลางดวงอธิศีลอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิตนั้นอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญานั่นอีก พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นอีก ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ นี่เข้าถึง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอถูกส่วนเข้าเห็นอะไร
    เห็นอธิศีล
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางอธิศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิต
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ละเอียด
    ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให็เป็นกายทิพย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล
    หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิต
    หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดอยู่กลาวดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต
    หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหมละเอียด
    ใจกายรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิศีล
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิศีลถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิต
    หยุดอยู่กลางดวงอธิจิตถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิต
    หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็เห็นกายอรูปพรหมละเอียด
    ใจอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิศีล
    หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิต
    หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็น กายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กเท่าไร ตามส่วนของกายธรรมนั้น ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งดงามนัก นั่นแหละ กายธรรม นั่นแหละเรียกว่า พุทโธ หรือเรียกว่า พุทธรัตนะ กายธรรมนั่นเองเรียกว่าพุทธรัตนะ นี่ตรงนี้เป็นปัญหาอยู่ตรงนี้ เมื่อเราแสดงศีลของสามัญ สัตว์ที่ยังไม่เห็นหรือยังไม่รู้ เป็นสามัญศีล ไม่ใช่อธิศีล ศีลผู้ทำมี ทำเป็น ทำเห็น เป็นอธิศีล


    ตั้งแต่กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด การรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรม เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้วดวงศีลในกายธรรมยังมีอีก




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดถูกส่วนเข้าเห็นดวงศีลอีก ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายใหญ่กว้างแค่ไหน หน้าตักกว้างแค่ไหน ดวงธรรม ที่เป็นธรรมกาย กลมรอบตัวเหมือนยังกับลูกบิลเลียดกลมรอบตัว ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ยิ่งกว่านั้น ใสกว่านั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงศีลที่เห็นขึ้นในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเท่ากัน ดวงธรรมนั่นเท่าไร ดวงศีลนั่นก็เท่านั้น ดวงสมาธิก็เท่านั้น ดวงปัญญาก็เท่านั้น ดวงเท่ากันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นปัญหาสำคัญนัก ศีลนี้ เมื่อเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่ เมื่อเข้าถึงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่แล้วก็ควรจะขยับชั้นขึ้นไปใหม่

    ศีลที่แสดงมาแล้วนั้นเป็นปกติศีลไป หรือศีลขั้นต้น ยังไม่ถึงศีลเห็น นี่เป็นธรรมดาศีลไป หรือเป็นปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกาย พอไปเห็นดวงศีลในธรรมกายเข้า ใหญ่ขนาดวัดผ้าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ศีลขนาดนั้น ศีลที่ในกาย ๘ กาย กายมนุษย์ตลอดจนกระทั่งถึงกายอรูปพรหมละเอียด ๘ กายนั้น ควรเป็นปกติศีลเสีย ต้องขยับขึ้นดังนี้ ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เป็นอธิศีลไป สูงขึ้นขนาดนี้ นี่ได้แก่คนปฏิบัติเป็นสูงขึ้นไปต้องจัดดังนี้ เป็นอธิศีล เพราะศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นยิ่งกว่าดวงศีลในกายทั้ง ๘ กาย ที่แล้วมา



    เข้าถึงกายธรรมแล้ว กายธรรมไม่ใช่กายในภพ เป็นกายนอกภพ

    กาย ๘ กาย กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดเป็นกายในภพ กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด พวกนี้กายอยู่ในภพ กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดนี่เป็นกายอยู่ในรูปภพ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดอยู่ในอรูปภพ กายเหล่านี้อยู่ในภพ ศีลก็ควรจะเป็นปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้วศีลในกายทั้ง ๘ นั้นก็เป็นปกติไป ดวงศีลที่ใสวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย นั่นเป็นอธิศีลแท้ๆ ไม่เคลื่อนหละ คราวนี้ถูกแน่หละ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงสมาธิ นั่นอธิจิตแท้ๆ เข้าถึงดวงอธิศีลดวงอธิจิตได้ดังนี้แล้ว กลางดวงอธิจิตนั่นก็เป็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน ดวงเท่าๆ กัน
    หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญาถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิศีลอีก
    หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิตอีก ดวงเท่าๆกัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัวเท่ากัน
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิตอีก ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญาอีก ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป ใจกายพระโสดาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมทำให้เป็นกายพระโสดา
    หยุดนิ่งถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิศีลอีก วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
    หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิตอีกเท่ากัน
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน
    หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑0 วา สูง ๑0 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระโสดาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิศีล
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิต
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก ๑0 วา สูง ๑0 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระสกทาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิศีล
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิต
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดนิ่งอยู่ศูนบ์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายพระอนาคา หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิศีล
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิจิต
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒0 วา สูง ๒0 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล
    หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายพระอรหัตต์ หน้าตัก ๒0 วา สูง ๒0 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระอรหัตก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตต์ พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงอธิศีล ตรงนี้แหละเป็นปัญหาอยู่ที่เรียกว่าเป็นอธิศีล พอถึงพระอรหัตต์แล้วอีกชั้นหนึ่ง หมดกิเลสเสียแล้ว

    ถ้าหากว่า นี่เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม ดวงศีล ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตต์ ถ้าหากว่าเป็นอธิศีลจะซ้ำรอยกันไป ควรจะเป็นวิมุตติศีล เพราะท่านเป็นวิมุตติทั้งเรื่องเสียแล้ว พระอรหัตต์ควรเป็นวิมุตติศีล แล้วดวงนั้นวัดผ่าศูนย์กลาง ๒0 วา กลมรอบตัว ศีลดวงนั้นเป็นวิมุตติศีล เป็นวิมุตติเสียแล้ว ท่านหยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติศีลนั้น ถูกส่วนเข้าก็เข้าวิมุตติจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติจิตก็เข้าถึงวิมุตติปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติปัญญานั่นเข้าถึงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดยิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเห็น กายพระอรหัตต์ละเอียด หน้าตักขยายส่วนหน้าขึ้นไป ๓0 วาทีเดียว กลมรอบตัวเท่าหน้าตักธรรมกายละเอียด ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไรก็โตหนักขึ้นไป ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไร ก็โตหนักขึ้นไป นับอสงไขยไม่ถ้วน ละเอียดขึ้นไปดังนี้ แต่ว่าต้องเดินไปแนวนี้ ผิดแนวนี้แล้วก็ไม่ถูก อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถูกแนวนี้ละก็ถูก อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นลำดับไป


    ถูกหลักนี้จึงจะไปนิพพานได้ เมื่อถึงพระอรหัตต์ก็ไปนิพพานทีเดียว ทางอื่นไม่มีทางไป มีทางไปนิพพานเท่านั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อถึงพระอรหัตต์แล้ว พระพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติ ถึงพระอรหัตต์แล้วเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกแล้ว
    ท่านก็ส่องดูธรรมมุปนิสัยสัตว์ ว่านี่เราปฏิบัติมาถึงแค่นี้แล้วเราจะเคารพอะไร
    เราไม่เห็นมีใครควรเคารพใน ๓ ภพ
    กามภพเป็นกายมนุษย์ กายสัตว์นรก กายสัตว์เดรัจฉาน กายเปรต กายอสุรกาย หรือกายมนุษย์ก็ดี ในภพมนุษย์ กายมนุษย์ กายทิพย์ในจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี ในกามภพนี้ หย่อนกว่าเราทั้งนั้น ไม่ถึงเรา
    ท่านมาขยับขึ้นมาถึงรูปพรหม ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรมหา ปริตตภา อัปปมาณาภา อาภัสรา 11 ชั้นนี้กายต่ำกว่าเราทั้งนั้น
    อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา นี่เป็นที่อยู่ของกายพรหม ต่ำกว่าเราทั้งนั้น
    ที่ไม่ได้มรรคผล จนไปถึงกายอรูปพรหม ๔ ชั้น อากาสานัญจายตนะภพ วิญญาณัญจายตนะภพ อากิญจัญญาตนะภพ เนวสัญญานาสัญญายตนะภพ ก็ไม่ลดลงไปได้ เราสูงกว่าทั้งนั้น
    เราจะเคารพใคร สัการะใคร นับถือใคร จึงจะสมควร ท่านก็สอดธรรมกายพระอรหัตต์ถอยออกไปนิพพาน มีเท่าไรๆๆ ก็เข้ากลางหนักเข้าไป

    ถามพระพุทธเจ้าที่ไปนิพพานแล้วเก่าๆ มากน้อยมีเท่าไรรู้เรื่องหมด ว่าพระพุทธเจ้าเก่าๆ นับถือใคร บูชาใคร เคารพใคร มีตำรับตำรายืนยันเป็นเนติแบบแผนทีเดียว

    ท่านวางตำรับตำราไว้ว่า เย จ อตีตา สมฺพุทธฺาม, เย จ พุทฺธา อนาคต,โย เจ ตรํหิ สมฺพุทฺโธ, พหุนฺนํ โสกนาสโน, สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน, วิหรึสุ วิหาติ จ, วิหริสฺสนติ, เยสา พุทฺธาน ธมฺมตา, ตสฺมาหิ อตฺตกาเมน, มหตฺตมติกภิกา สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ, สรํ พุทฺธาน สาสนํตติ นี้ เป็นตำรับตำราพระพุทธเจ้า

    ท่านดำริเมื่อได้ตรัสรู้แล้วว่า พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดในอดีตกาลที่ล่วงไปแล้วทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่ปรากฏในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคข้างหน้า พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ซึ่งยังความโศกของประชาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้

    สพเพ สทธมม ครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น เคารพสัทธรรมทีเดียว

    วิหรึสุ วิหาติ จ อถาปิ วิหริสสฺนฺติ พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดมีอยู่แล้วด้วย มีอยู่ในบัดนี้ด้วย ทั้งจะมีต่อไปในภายภาคเบื้องหน้าด้วย
    เอสา พุทฺธาน ธมมตา ที่เคารพสัทธรรมเป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เคารพสัทธรรมอย่างเดียว ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน เพราะเหตุนั้นบุคคลผู้รักตน สงสารตน ยินดีต่อตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพสัทธรรม ควรทำการเคารพสัทธรรม นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายปรากฏอย่างนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เคารพสัทธรรม เคารพอย่างไร เคารพไม่ถูก ไม่ใช่เคารพง่ายๆ ที่ได้เข้ากายพระอรหัตต์ นี่มาอย่างไงล่ะ

    ใจก็ต้องหยุดนะซี เริ่มต้นก็ต้องหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    พอหยุดถุกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล หยุดอีกนั่นแหละ
    พอเข้าถึงดวงสมาธิ ก็หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก
    พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา
    พอเข้าถึงดวงปัญญาก็หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก หยุดที่ใจหยุด นั่นแหละ ถูกหละ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา หยุดอันเดียวเข้าดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะหยุดอันเดียว แหละหยุดในหยุดเรื่อยไป ก็เข้าถึง กายทิพย์


    ใจกายทิพย์ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์อีก
    หยุดนั่นแหละสำคัญ หยุดนั่นแหละเป็นตัวสำเร็จ หยุดอันเดียวเท่านั้นแหละ
    ทางพุทธศาสนาเป็นเป้าหมายใจดำ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ หยุดอันเดียวถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวเท่านั้นก็เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลก็เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึง กายรูปพรหม ใจกายรูปพรหม ก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม หยุดอันเดียว เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกาย รูปพรหมละเอียด

    พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ใจของรูปพรหมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิเข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละตัวสำเร็จ นี่แหละหัวใจเฉพาะพระพุทธศาสนาหละ อย่าไปเข้าใจอื่นนะ เข้าใจอื่นเหลวหละ ก็เข้าถึง กายอรูปพรหม ใจกายอรูปพรหมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึง กายอรูปพรหมละเอียด ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายธรรม หยุดอันเดียวอย่าเลอะ ทางอื่นไม่ได้ พอหยุดเข้าได้ละก็ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

    ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมละเอียด

    ใจกายธรรมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด หยุดอันเดียว พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะเ ข้าถึงกายพระโสดา ใจกายพระโสดาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายพระโสดาละเอียด

    ใจกายพระโสดาละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึง กายพระสกทาคา นี้ถ้าไม่หยุดแล้วเข้าไม่ถึงแท้ๆ ใจกายพระสกทาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมทีทำให้เป็นกายพระสกทาคา ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึง กายพระสกทาคาละเอียด

    ใจกายพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวนั่นแหละ ก็เข้าถึง กายพระอนาคา ใจกายพระอนาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด

    ใจกายพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอรหัตต์ ใจกายพระอรหัตต์ก็หยุดไม่ถอยเลย ไม่เขยื้อนทีเดียว
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ ไม่เขยื้อนทีเดียว
    เข้าถึงดวงวิมุตติศีล ใจพระอรหัตต์ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติศีล ก็เข้าถึงดวงวิมุตติสมาธิ ใจพระอรหัตต์ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติสมาธิ เข้าถึงดวงวิมุตติปัญญา หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญมณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่นั่นก็เข้าถึง กายพระอรหัตต์ละเอียด แบบเดียวกันอย่างนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Image-05x.jpg
      Image-05x.jpg
      ขนาดไฟล์:
      276 KB
      เปิดดู:
      53
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อรู้จักใจกลางพระศาสนาดังนี้ละก็ ปล้ำใจให้หยุดเท่านั้น ถูกทางไปพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา แต่ว่าต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องอาศัย วิมุตติศีล วิมุตติจิต วุมุตติปัญญา ถ้าไม่อาศัยทางนี้เดินละก็ไปไม่ได้
    ถ้าไม่อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่อาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา แล้วไปไม่ได้ ไปไม่รอดทีเดียว




    เหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางตำราไว้ว่า วินัยปิฎก คือศีลนั่นเอง ย่อลงใส่ศีลนั่นเอง สุตตันตปิฎก ย่อลงก็จิต ที่เรียกว่าสมาธินั่นเอง ปรมัตถปิฎก ย่อลงก็ปัญญานั่นเอง

    ตรงกับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา อันเดียวกันนั่นเอง

    นี่เป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้
    เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้ ต้องทำให้ถูกอย่างนี้ เมื่อทำให้ถูกอย่างนี้ก็ถูกใจดำทางพระพุทธศาสนา
    ถ้าไม่เดินทางนี้ก็ไม่ได้เรื่อง เอาหลักไม่ได้ เมื่อทำถูกต้องอันนี้ละก็พบพระพุทธศาสนา ก็ได้เรื่อง เอาตามหลักได้ ก็ถูกชายจีวรของพระพุทธเจ้าอยู่ ถ้าว่าทำไม่ถูกดังนี้ เหมือนอยู่คนละจักรวาล ถ้าว่าถูกหลักดังนี้แล้วดังนี้แหละ

    อวญฺหิ โน สิกฺขิตตพฺพํ จริงอยู่อย่างนี้แหละ
    ท่านทั้งหลายควรศึกษา ไม่ศึกษาอย่างนี้เอาตัวไม่รอด

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
    สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมิกถา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2015
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา


    [๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตาม
    กาล ความว่า
    เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ
    เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.

    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

    โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
    รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
    ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
    จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
    กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
    แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
    ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
    บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
    ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
    กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
    ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
    ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
    ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น ... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่า
    เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
    เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น
    ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.
    [๙๘๗] คำว่า มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้นในคำว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึง
    กำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้ ความว่า เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน
    มีใจไม่กวัดแกว่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า ภิกษุนั้นพึงกำจัด
    ความมืด ความว่า พึงขจัด กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดคือ
    ราคะ ความมืดคือโทสะ ความมืดคือโมหะ ความมืดคือมานะ ความมืดคือทิฏฐิ ความมืดคือกิเลส
    ความมืดคือทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ ดับปัญญา เป็นฝักฝ่ายความลำบาก
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง. ชื่อว่า
    ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลาย
    เสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส. เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงแจกแจง ทรงจำแนกเฉพาะซึ่ง
    ธรรมรัตนะ. เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย. เพราะอรรถว่า มีพระกายอันทรง
    อบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มี
    พระภาคทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียง
    กึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออก
    เร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต
    เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มี
    พระภาคทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะ
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูป
    สมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘
    อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค
    ทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปาณสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะ
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
    อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
    อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา
    พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้
    เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับแห่ง
    อรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์
    ของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น
    ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้
    ฉะนี้แล.
    จบ สารีปุตตนิทเทสที่ ๑๖.
    จบ สุตตนิทเทส ๑๖ นิทเทสในอัฏฐกวรรค.
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๗ - ๑๑๗๗๗. หน้าที่ ๔๒๖ - ๔๙๔.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    <CENTER>ปฐมเทศนา</CENTER>[๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น
    นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด
    ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?

    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ตั้งจิตชอบ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น

    ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน. [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหาภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑.


    [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาน ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.
    <CENTER>ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒</CENTER>

    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.

    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

    [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ... เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม

    พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้วณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล. ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
    <CENTER>ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>


    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...