ศาสนูปกรณ์ ของพระสงฆ์จีน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย horasarn, 22 พฤษภาคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. horasarn

    horasarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +3,255
    ศาสนูปกรณ์ในศาสนพิธีของพระสงฆ์จีนนิกาย

    ในการเจริญพระพุทธมนต์หรือสวดพระพุทธมนต์ในพิธีกรรมของพระสงฆ์จีนนิยมใช้อุปกรณ์ประกอบจังหวะและให้สัญญาณในการสวดมนต์ในอารามทั่วไป ทั้งการสวดมนต์ ทำวัตรเช้าเย็น หรือ พิธีถวายพุทธบูชาพิธีถวายพระพรชัยมงคลและในศาสนพิธีขนาดเล็กพระสงฆ์และสาธุชนทั้งหลายจะใช้วิธีสวดทำนองปากเปล่ามีเพียงอุปกรณ์ประกอบจังหวะเพียงเล็กน้อย โดยใช้เคาะหรือตีกำกับการสวดทำนองและยึดเป็นตัวกำกับการเริ่มต้น และสิ้นสุดในการสวด การเปลี่ยนทำนอง เป็นต้น
    aa111.jpg



    ๑.เกราะไม้ (บั๊กฮื้อ 木魚) หรือปลาไม้เป็นเครื่องเคาะจังหวะ ทำด้วยเนื้อไม้แข็งแกะสลักเป็นรูปทรงกลมเหมือนกระพรวนภายในกลวง ใช้เคาะประกอบการเจริญพุทธมนต์มีหลายขนาด เล็กจนใหญ่ เป็นเครื่องกำชับจังหวะเร็วช้า เพื่อให้สวดได้พร้อมเพรียงกันชื่อเรียกของเกราะไม้มักเรียกว่า บั๊กฮื้อ แปลว่า ปลาไม้เพราะมักแกะสลักรูปปลาไว้เสมอ มีความหมายในทางธรรมว่า ปลาเป็นสัตว์ที่ลืมตาอยู่เสมอดุจอาการตื่น ชาวพุทธควรถือเอาอาการอย่างปลา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานการถือขณะประกอบพิธีโบราณจารย์ในประเทศจีนวางแบบอย่างเพื่อสมณสารูปไว้ว่าต้องถือด้วยสองมือในระดับเดียวกับการพนมมือ (ฮะเจี้ยบั๊กฮื้อ 合掌木魚)

    1.jpg
    ๒.ระฆังกังสดาล (ตั่วเข่ง 大磬) มีรูปร่างเหมือนขันหรือบาตร ทำด้วยสัมฤทธิ์หรือทองเหลืองใช้เคาะบอกขึ้นต้นสวดมนต์หรือต่างๆแต่เดิมรูปร่างของเครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นรูปเหมือนตัวอักษร L ในภาษาอังกฤษแขวนคว่ำลง มักใช้หลายอันแขวนเป็นราวแต่ต่อมาในทางพุทธศาสนามักทำเป็นรูปทรงโอ คล้ายขันน้ำหรือบาตร
    2.jpg
    ๓.ระฆังมือ (อิ้งเข่ง 引磬)คือระฆังกังสดาลทรงกลมขนาดเล็ก มีด้ามมือถือด้านโลหะดีดประกอบกับจังหวะเป็นหลักในการสวดทำนองการถือขณะประกอบพิธีโบราณจารย์ในประเทศจีนวางแบบเพื่อสมณสารูปไว้ว่าต้องถือดีดด้วยมือซ้ายมือขวา ประคองสูงในระดับใกล้เคียงกับปากของผู้ถือ (ตุ้ยเข้าอิ้งเข่ง 對口引磬
    3.jpg
    ๔.ฆ้องมือ (ตั๊งจื้อ 鐺子หรือภาษากวางตุ้งเรียกว่า ต๊อง)เป็นฆ้องขนาดเล็ก มีด้ามจับ ใช้เคาะด้วยไม้ไผ่เหลา ประกอบกำกับจังหวะในการสวด ทำนองการถือขณะประกอบพิธีโบราณจารย์ในประเทศจีนวางแบบอย่างเพื่อสมณสารูปไว้ว่าต้องถือด้วยสองมือสูงในระดับคล้ายถือกระจกส่องหน้า (เจี้ยหมิ่งตั๊งจื้อ 照面鐺子)
    4.jpg
    ๕.ฉาบเล็ก (ปั๋ว , ฮะจื้อ 鉿子)เป็นฉาบขนาดเล็ก มีสองแบบ คือมีแบบนูนโค้ง (ของทางภาคเหนือ) และแบบนูนแบน (ของกวางตุ้ง)พระสงฆ์จะใช้ตีกำกับจังหวะขณะสวดมนต์การถือขณะประกอบพิธีโบราณจารย์ในประเทศจีนวางแบบอย่างเพื่อสมณสารูปไว้ว่าต้องถือด้วยสองมือสูงในระดับใกล้เคียงกับกลางหน้าอกของผู้ถือ (เพ้งเฮงฮะจื้อ 平胸鉿子)
    5.jpg



    ๖.กลองเล็ก (ฉิวโก้ว 手鼓) เป็นกลองขนาดเล็กพระสงฆ์จะถืออยู่ในมือขณะสวดมนต์ การถือขณะประกอบพิธี โบราณจารย์ในประเทศจีนวางแบบอย่างเพื่อสมณสารูปไว้ว่าต้องถือด้วยสองมือสูงในระดับหน้าอกคล้ายกับผู้ถือประคองดวงจันทร์ (เฮ่งง้วยฉิวโก้ว捧月手鼓)
    6.jpg



    7.jpg

    ๘.วัชระ (กิมกังซู่ 金剛杵) วัชระเป็นอาวุธที่มักปรากฎในทางศาสนาทั้งของ พราหมณ์และพุทธมักมีความหมายแทนสายฟ้า วัชระมักปรากฎในมือของพระอินทร หรือ เทพต่างๆในทางพุทธศาสนามหายาน วัชระเป็นธรรมศาสตราในพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์มีความหมายว่าแทนพระปัญญาธิคุณ คมประดุจเพชร (พัชระ) ตัดมวลกิเลสได้ลักษณะของวัชระในทางมหายานมักมีหลายรูปแบบ ประกอบด้วยก้านเป็นแฉกๆ มีรูปแบบต่างกันเช่น มียอดเดียว, สามแฉก, ห้าแฉก, เจ็ดแฉก, เก้าแฉก, วัชระไขว้, วัชระคฑา เป็นต้น

    8.jpg


    ๙.วัชรฆณฎา (กิมกังเล้ง 金剛鈴)กระดิ่งวัชระเป็นกระดิ่งใช้ในศาสนพิธี มียอดด้ามจับเป็นรูปวัชระมักปรากฎในพระหัตถ์คู่กับวัชรศาสตราเสมอ หมายถึง เสียงอันปลุกให้ตื่นจากกิเลส


    ๗.
    กลองพิธี (ตึ้งโก้ว 堂鼓) เป็นกลองขนาดใหญ่ตั้งบนขาหยั่งมีระฆังขนาดเล็ก (เรียกว่าเตี่ยวเจ็ง 吊鍾) แขวนอยู่ที่ปลายขาหยั่งกลองพิธีนี้ใช้ตีกำกับการสวดมนต์ เริ่มต้น และสิ้นสุดพิธีในการตีกลองผู้ตีจะต้องคุกเข่าหรือนั่งตีกลองประกอบกับการตีระฆังที่แขวนอยู่ด้วยจังหวะการตีกลองนี้โบราณเรียกว่า จังหวะเจ็ดดาว (ชิกแชปั้ง 七星板)

    อาศรมศรีจักรนารท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2020
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...