ศาสตร์ตะวันตก กับ ศาสนา พุทธ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 19 กันยายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ขอได้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านนะครับผม ทำใจให้เป็นกลางที่สุดครับ

    บทนำ


    ใน ทางศาสนาพุทธแล้ว การที่ดวงวิญญาณ/ใจ/จิต[1] จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ จะต้องมีคุณความดีหรือกรรมดีติดตัวมาพอสมควร จึงสามารถเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ ในกรณีนี้มิได้หมายความว่า กรรมชั่วไม่มีเลย กรรมชั่วก็ติดตามมนุษย์มาเช่นเดียวกัน แต่กรรมดีที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ได้มีเพียงพอแล้ว จึงมีโอกาสเกิดมาสร้างบารมีได้ สำหรับพวกที่กรรมดียังมีไม่เพียงพอก็อาจจะเกิดมาในโลกนี้ได้ แต่ต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเพื่อชดใช้กรรมเก่าให้บรรเทาเบาบางลง เมื่อกรรมเก่าลดน้อยลง ก็สามารถที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้อีก

    จากหลักการดังกล่าว มนุษย์จึงมีโอกาสที่จะสร้างกรรมดีได้ทุกคน แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า ทำไมมนุษย์จำนวนมาก จึงไม่สามารถกระทำกรรมดีต่อไปได้ เช่น นักการเมืองทุกระดับ ข้าราชการเป็นจำนวนมาก รวมถึงเจ้าของธุรกิจที่ขูดรีดเบียดบังประชาชน เป็นต้น ในกรณีนี้ ไม่ได้หมายความว่าบุคคลดังกล่าวนั้น กระทำความชั่วแต่เพียงสถานเดียว แต่หมายถึงว่า เมื่อพิจารณาถึงกรรมดีและกรรมชั่วแล้ว บุคคลเหล่านั้น กระทำความชั่วมากกว่า และกระทำความชั่วด้วยเจตนาที่จะกระทำเช่นนั้น ซึ่งแตกต่างจากคนจนที่ต้องหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอาจจะต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิตบ ้าง ลักขโมยเพื่อบรรเทาความหิวโหยบ้าง เป็นต้น

    ถ้าแบ่งพุทธศาสนิกชนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) พุทธวิชาการ 2) พุทธปฏิบัติธรรม และ 3) พุทธทั่วไป ซึ่งแต่ละกลุ่มมีลักษณะดังนี้

    1) พุทธวิชาการ หมายถึง พุทธศาสนิกชนที่ได้รับการศึกษาจากศาสตร์ตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาตะวันตกและวิทยาศาสตร์ จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิของความเป็นเหตุผล (Rationality) และประสบการณ์ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ตามวิธีการศึกษาของศาสตร์ตะวันตก ซึ่งส่งผลให้เกิดความคลางแคลงในคำสอนของพระพุทธเจ้า กล่าวคือ ไม่เชื่อในคำสอนที่เป็นพุทธพจน์ทั้งหมด แต่เลือกเชื่อเฉพาะคำสอนที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ (body of knowledge) ของศาสตร์ตะวันตกเท่านั้น

    2) พุทธปฏิบัติธรรม หมายถึง พุทธศาสนิกชนที่เชื่อในคำสอนที่เป็นพุทธพจน์ทั้งหมด ทั้งๆ ที่องค์ความรู้ดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักของความเป็นเหตุผล (Rationality) และไม่ใช่ประสบการณ์ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายเท่านั้น แต่ยังเน้นประสบการณ์ที่เกิดจากใจ/จิต/วิญญาณอีกด้วย กลุ่มนี้จะเน้นการปฏิบัติธรรมเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากพุทธวิชาการ ซึ่งจะไม่ปฏิบัติธรรม แต่จะเน้นการศึกษาด้วยหลักการของปรัชญาตะวันตกดังได้กล่าวมาแล้วในประเภทแรก

    3) พุทธทั่วไป หมายถึง พุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เห็นสิ่งใดมีความศักดิ์สิทธิ์ก็จะนับถือ พุทธกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ตัวอย่างที่เห็นในปัจจุบันก็คือ กลุ่มที่หันไปบูชาจตุคาม-รามเทพทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นพระหรือเป็นเกจิอาจารย์หรือเป็นฆราวาสผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแ ต่อย่างใด ซึ่งในความจริงแล้ว บุคคลเหล่านี้ไม่ได้สนใจประวัติความเป็นมาของจตุคาม-รามเทพเสียด้วยซ้ำ เมื่อมีกระแสความนิยมเกิดขึ้นก็นิยมบูชาไปตามกระแสดังกล่าว

    ในจำนวนพุทธศาสนิกชนทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าว กลุ่มที่เกิดมาชาตินี้แล้ว ไม่สามารถกระทำความดีเพิ่มขึ้นได้ มีแต่สะสมกระทำความชั่วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลับเป็นกลุ่มที่นับถือพุทธวิชาการ เพราะ คำสอนของพุทธวิชาการทำให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ ไม่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ไม่เชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ บุญกรรมใดๆ ในบทความนี้จึงจะชี้ให้เห็นว่า ศาสตร์ตะวันตกส่งผลให้พุทธวิชาการมีความเข้าใจผิดในศาสนาพุทธอย่างไร และควรจะแก้ไขอย่างไรด้วย

    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2007
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ศาสตร์ตะวันตก

    ศาสตร์ตะวันตกได้เริ่มเข้ามาแผ่อิทธิพลในเมืองไทย นักวิชาการเริ่มนับกันตั้งแต่เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงยอมรับสนธิสัญญาบาวริ่ง (Bowring treaty) ใน พ.ศ. 2398 และได้ไหลหลั่งท่วมวิชาความรู้ของไทยไปจนหมดสิ้น ถ้านับวิชาเรียนกันตั้งแต่อนุบาล-ปริญญาเอกจะเห็นว่า นักเรียนนักศึกษาของไทยต้องเรียนวิชาการจากตะวันตกแทบทั้งสิ้น แม้กระทั่งภาษาไทยเอง หลักการศึกษาก็นำมาจากตะวันตก เพียงแต่เนื้อหาเป็นภาษาไทยเท่านั้น

    ศาสตร์ตะวันตกจำนวนมากนั้น ไม่ใช่ว่าทุกสาขาวิชาส่งผลกระทบต่อศาสนาพุทธทั้งหมด สาขาวิชาเช่น รัฐศาสตร์ ตรรกวิทยา มานุษยวิทยา สังคมวิทยา ฯลฯ เป็นต้น ไม่ได้ส่งผลเสียให้กับศาสนาพุทธเท่าไหร่นัก มีเพียง 2 สาขาวิชาที่ทำให้การตีความเนื้อหาคำสอนของศาสนาพุทธบิดเบือนผิดเพี้ยนไปมากก ็คือ วิทยาศาสตร์กับปรัชญา


    ปรัชญาตะวันตก

    สาขาวิชาต่างๆ ของศาสตร์ตะวันตกนั้น แตกแยกมาจากปรัชญาทั้งนั้น ในปัจจุบันปรัชญาบริสุทธิ์ที่ยังมีการศึกษากันอยู่มี 4 สาขาคือ อภิปรัชญา (Metaphysics) ตรรกวิทยา (logic) ทฤษฎีความรู้/ญาณวิทยา (Epistemology) และคุณวิทยา (Axiology) สาขาวิชาที่ส่งผลกระทบต่อศาสนาพุทธเป็นอย่างมากก็คือ ทฤษฎีความรู้/ญาณวิทยา (Epistemology) สาขารองลงมาก็คือ ตรรกวิทยา แต่ตรรกวิทยาไม่ได้มีเนื้อหาวิชาเป็นของตนเอง ตรรกวิทยาเป็นเพียงกระบวนการในการหาความรู้ หรือเป็นกระบวนการโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อถือ ตรรกวิทยาจึงส่งผลเสียให้กับศาสนาพุทธไม่เท่ากับทฤษฎีความรู้/ญาณวิทยา

    ทฤษฎีความรู้/ญาณวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาว่าอะไรคือความรู้ อะไรคือความจริง ความรู้กับความจริงเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ เครื่องมือสำหรับทฤษฎีความรู้/ญาณวิทยาที่สำคัญที่สุดก็คือ ความเป็นเหตุผล (Rationality) ของตรรกวิทยา สิ่งไหนที่นักปรัชญาเห็นว่า ขาดความเป็นเหตุผล (Irrationality) สิ่งนั้นก็ไม่นับว่าเป็นความจริง (truth) นอกจากนั้นแล้ว นักปรัชญาจะไม่สนใจในการทดลอง สังเกตการณ์ หรือลงไปศึกษาในภาคสนามอย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์ทำ นักปรัชญาจะใช้วิธีคิดด้วยความเป็นเหตุผล (Rationality) แต่เพียงอย่างเดียว

    จากหลักความเชื่อดังกล่าว เรื่องนรก-สวรรค์ ผลกรรม อิทธิปาฏิหาริย์ ฯลฯ ของศาสนาพุทธจึงถูกปฏิเสธจากนักปรัชญา เพราะ พิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิง ในกรณีรวมถึงการปฏิบัติธรรมด้วยเช่นเดียว จะสังเกตได้ว่า ในงานเขียนของนักปรัชญามักจะไม่นำผลการปฏิบัติธรรมของพระปฏิบัติหรือพระป่าเ ข้ามาพิจารณา หรืออาจจะกล่าวได้ว่า นักปรัชญาตัดประเด็นการปฏิบัติธรรมออกไปจากวิธีการศึกษาพุทธศาสนาในทางปรัชญ า

    ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการศึกษาทางปรัชญาก็คือ นักปรัชญาไม่เชื่อว่าองค์ความรู้ใดในโลกนี้ สามารถเข้าถึงความจริง (Truth) ซึ่งตรงกับความเป็นจริง (Reality) แล้ว รวมถึงวิทยาศาสตร์ด้วย การที่มีความเชื่อเช่นนั้น นักปรัชญาจึงมีใจเปิดกว้าง (Inclusive) ยินดีที่จะรับองค์ความรู้ (body of knowledge) อื่นใดก็ได้ที่ตนเองเห็นว่าเป็นความจริง ดังนั้น เมื่อนักปรัชญาต้องการจะศึกษาสิ่งใด ก็จะไปศึกษาหาความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ เลือกสิ่งที่ตนเองคิดว่าเป็นความจริง นำมาผสมผสานและศึกษาตีความให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา

    เมื่อมีแนวทางในการศึกษาเช่นนั้น ปรัชญาตะวันตกนับตั้งแต่สมัยกรีกเป็นต้นมาจึงมีนักปรัชญาเป็นจำนวนมาก นับเป็นหลักร้อยหรืออาจจะเป็นหลักพันก็เป็นได้ ถ้านับรวมนักปรัชญาทั้งโลก วิธีหาความรู้ความจริงในทางปรัชญาก็มีเป็นจำนวนมากไปด้วย ทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎีก็ขัดแย้งกัน และนักปรัชญาก็ยังคงถกเถียงกันมาถึงปัจจุบัน

    ธรรมชาติของปรัชญาดังกล่าวนั่นเอง จึงเป็นจุดอ่อนในตัวปรัชญาเอง ในปัจจุบันนี้ นักปรัชญาหลายๆ ท่าน ยอมรับแล้วว่า วิธีการศึกษาทางปรัชญาไม่สามารถค้นหาความจริง (Truth) ที่ตรงกับความเป็นจริง (Reality) ได้ ปรัชญามีไว้เพียงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความคิดเท่านั้น

    อย่างไรก็ดี ยังมีนักปรัชญาที่ไม่สามารถรับความจริงที่ว่า ปรัชญาไม่สามารถค้นหาความจริง (Truth) ที่ตรงกับความเป็นจริง (Reality) ได้ ก็ยังคงที่จะศึกษาศาสนาพุทธโดยใช้วิธีการของปรัชญาเป็นเครื่องมือในการศึกษา นักปรัชญาเหล่านี้ จึงตัดเรื่องที่เห็นว่า “ไม่มีเหตุผล” ออกไปจากการวิเคราะห์ นอกจากนั้นแล้ว เมื่อจะศึกษาส่วนใดส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ นักปรัชญาก็จะไปเลือกหยิบข้อความของศาสนาพุทธในส่วนที่จะสนับสนุนความคิด/คว ามเชื่อของตนมาศึกษา โดยละเลยไม่ยอมกล่าวถึงเนื้อหาส่วนที่ขัดแย้งกับความคิด/ความเชื่อของตนเอง ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มีการตีความพระไตรปิฎกให้เข้ากับแนวคิดของตนโดยไม่คำนึงถึงหลักการในทางภาษา ศาสตร์แต่อย่างใด

    จะเห็นได้ว่า นักปรัชญาจำนวนมากเชื่อว่า ปรัชญาไม่สามารถค้นหาความจริง (Truth) ที่ตรงกับความเป็นจริง (Reality) ได้แน่ๆ ซึ่งก็เกิดจากการศึกษาและประสบการณ์ของนักปรัชญาเองที่พบว่า องค์ความรู้ของปรัชญาเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง นักปรัชญาก็มีเป็นจำนวนมาก ในปรัชญาสาขาเดียวกัน ความรู้ก็ยังไม่หยุดนิ่ง ยังเกิดการถกเถียงกันตลอดเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธแล้ว องค์ความรู้ทางศาสนาพุทธหยุดนิ่งแล้ว เพราะ พระพุทธองค์ตรัสแล้วว่า พระองค์ค้นพบความเป็นจริงแท้ (Ultimate Reality) แล้ว และความเป็นจริงแท้ (Ultimate Reality) ดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับตรรกวิทยา

    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    วิทยาศาสตร์ตะวันตก

    วิทยาศาสตร์ตะวันตกแยกตัวออกมาจากปรัชญาตะวันตก โดยปกติแล้วนักวิชาการเห็นว่า วิทยาศาสตร์ตะวันตกเริ่มถือกำเนิดตั้งแต่ ฟรานซิส เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษเสนอแบบแผนวิทยาศาสตร์แบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากวิทยาศาสตร์สมัยกรีก ในสมัยกรีกนั้น นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์จะเป็นบุคคลเดียวกัน เช่น อริสโตเติล เป็นต้น ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ก็จะใช้วิธีศึกษาตามหลักเหตุผลของตรรกวิทยา โดยไม่มีการสังเกตหรือทดลอง เช่นวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน
    ตั้งแต่มีวิทยาศาสตร์แบบใหม่เป็นต้นมา มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจดังนี้

    - ค.ศ. 1620 ฟรานซิส เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ เสนอแบบแผนวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

    - ค.ศ. 1638 กาลิเลโอ กาลิเลอี นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน เป็นคนแรกที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ คิดค้นวิชากลศาสตร์ (ว่าด้วยเรื่องของแรงและการเคลื่อนที่)

    - ค.ศ. 1665 ไอแซก นิวตัน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ตั้งกฎการเคลื่อนที่และแรงโน้มถ่วงของโลก

    - ค.ศ. 1776 เฮนรี คาเวนดิช นักเคมีชาวอังกฤษค้นพบ ไฮโดรเจน

    - ค.ศ. 1803 จอห์น ดาลตัน ชาวอังกฤษ เสนอทฤษฎีอะตอมยุคใหม่

    - ค.ศ. 1831 ไมเคิล ฟาราเดย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ และโจเซฟ เฮนรี นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ค้นพบวิธีใช้คุณสมบัติของแม่เหล็กผลิตกระแสไฟฟ้า

    - ค.ศ. 1843 เจมส์ จูล นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างความร้อน กำลัง และงาน

    - ค.ศ. 1888 ไฮน์ริช เฮิรตซ์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน พบว่าคลื่นส่งวิทยุมีอยู่ในธรรมชาติ

    - ค.ศ. 1894 กูกลิเอลโม มาร์โคนี นักประดิษฐ์ชาวอิตาเลียน สื่อสารทางวิทยุสำเร็จเป็นครั้งแรก

    - ค.ศ. 1895 วิลเฮลม์ เรินต์แกน นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ค้นพบรังสีเอกซ์

    - ค.ศ. 1896 อองตวน อองรี เบกเคอเรล นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ค้นพบผลของกัมมันตภาพรังสี

    - ค.ศ. 1897 โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ค้นพบอิเล็กตรอน

    - ค.ศ. 1898 มารี กูรี และ ปิแอร์ กูรี นักเคมีชาวโปแลนด์-ฝรั่งเศส แยกธาตุเรเดียม และพอโลเนียม

    - ค.ศ. 1900 แมกซ์ พลังค์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เสนอทฤษฎีควอนตัม

    - ค.ศ. 1905 แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ตีพิมพ์ทฤษฎีสัมพัทธภาพ

    - ค.ศ. 1911 รัทเทอร์ฟอร์ด เออร์เนสต์ นักฟิสิกส์ชาวนิวซีแลนด์ค้นพบนิวเคลียสของอะตอม

    - ค.ศ. 1931 เอิร์นสต์ รัสกา นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

    - ค.ศ. 1932 แชดวิก เจมส์ นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษค้นพบนิวตรอน

    - ค.ศ. 1938 ออตโต ฮาน นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันและไลซ์ ไมเนอร์ นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย ค้นพบการแยกของปรมาณู

    - ค.ศ. 1939 พอลิง ไลนัส นักเคมีชาวอเมริกันอธิบายถึงพันธะทางเคมีระหว่างอะตอมและโมเลกุล

    - ค.ศ. 1964 เมอร์เรย์ เกลล์มานน์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เสนอว่า ควากซ์ ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดในสสารมีจริง

    - ค.ศ. 1990 การค้นพบโดยดาวเทียมของคลื่นของการแพร่รังสีได้สนับสนุนทฤษฎีบิกแบงซึ่งว่าด้วยการกำเนิดจักรวาลและการขยายตัวของจักรวาล

    จากวิวัฒนาการของวิทยาศาตร์ดังกล่าว นักวิชาการในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ยุคคือ วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนของนิวตัน กาลิเลโอ และเดส์คารต์กับฟิสิกส์ใหม่ ซึ่งควรจะเริ่มนับตั้งแต่แมกซ์ พลังค์ เสนอทฤษฎีควอนตัมเมื่อประมาณ ค.ศ. 1900 แต่นักวิชาการส่วนใหญ่จะเริ่มนับตั้งแต่เริ่มคิดทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relative theory) ของไอน์สไตน์ (Einstein) เมื่อประมาณ ค.ศ. 1905 เป็นต้นมา

    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน

    วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนนี้เห็นว่า จักรวาลเป็นเสมือนเครื่องจักรกลชิ้นหนึ่ง เวลาจะศึกษาสิ่งใดต้องแยกศึกษาเป็นส่วนๆ การที่ศึกษาสิ่งใดโดยแยกเป็นส่วนๆ นั้นเป็นการลดทอนสิ่งที่ศึกษาให้เล็กลงไป ดังนั้น วิทยาศาสตร์แบบนี้ จึงมีชื่อเรียกดังกล่าว

    ก่อนหน้าที่วิทยาศาสตร์แบบใหม่ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์เก่าไปแล้ว นั้น องค์ความรู้ในทางตะวันตกจะได้มาจากศาสนาคริสต์ ซึ่งพระของศาสนาคริสต์ทำตัวเป็นเผด็จการ คำสอนของวิทยาศาสตร์ที่ไม่ถูกต้องกับหลักการทางศาสนาจะต้องถูกกำจัดออกไป นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากจึงถูกพระเหล่านี้จัดการ บางคนที่เป็นพระด้วย ถูกเผาไฟตายไปก็มี

    กาลิเลโอเองก็ถูกบังคับให้จำกัดบริเวณ และห้ามเผยแพร่ความรู้อย่างเด็ดขาด สำนักวาติกันเพิ่งมีหนังสือออกขอมาขอโทษเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง

    ความแม่นยำในความรู้ของวิทยาศาสตร์เก่าดังกล่าวได้สร้างเทคโนโลยี (Technology) ให้กับโลกอย่างมากมายมหาศาล มนุษย์จึงสามารถสร้างวัตถุอุปกรณ์มาสนองความต้องการจนโลกมนุษย์ มีความเจริญก้าวหน้าและความสะดวกสบายมาจนจึงปัจจุบัน จนกระทั่งศาสนาคริสต์ก็ต้องยอมรับ นักวิชาการทางศาสนาคริสต์ถึงกับตีความคัมภีร์ไบเบิลใหม่ให้สอดคล้องกับองค์ค วามรู้ของวิทยาศาสตร์เลยทีเดียว ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็เกิดกับนักวิชาการของศาสนาพุทธด้วยดังจะได้กล่าวต่อ ไปข้างหน้า

    เมื่อได้รับอำนาจมาเช่นนั้น วิทยาศาสตร์เก่าจึงมีความเข้าใจผิดไปว่า วิธีหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะหาความจริง (truth) ที่ตรงกับความจริงแท้ (Reality) ได้แล้ว ความหลงผิดดังกล่าวเลยเถิดไปถึงว่า องค์ความรู้อื่นๆ ที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถหาความจริง (truth) ได้

    ดังนั้น ในยุคที่วิทยาศาสตร์เก่ากำลังโด่งดังและได้รับความนิยม องค์ความรู้ทางศาสนา ไสยศาสตร์ นิทาน ความเชื่อ ฯลฯ ต่างๆ ต่างก็ถูกตราหน้าให้เป็น “ความไม่จริง” ทั้งสิ้น ในทางศาสนา ทุกศาสนาจึงมีความพยายามที่จะตีความศาสนาของตนให้เข้ากับวิทยาศาสตร์ให้ได้ ศาสนาพุทธก็เช่นเดียวกัน ต่างก็ไม่หลุดพ้นจากชะตากรรมดังกล่าว พุทธวิชาการจึงตีความพระไตรปิฎกแบบใหม่ ซึ่งส่งผลให้ศาสนาพุทธในมุมมองของพุทธวิชาการผิดเพี้ยนไปจากความจริงอย่างมา ก สิ่งที่เลวร้ายที่สุดก็คือ พุทธวิชาการกลับมีโมหคติคิดว่า การตีความของตนเองถูกต้อง องค์ความรู้ของศาสนาพุทธดั้งเดิมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

    อย่างไรก็ดี หลักการของศาสนาพุทธที่ว่า “อนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา” เป็นสิ่งที่แน่นอนและเป็นจริง ความอหังการ์ของวิทยาศาสตร์เก่าจึงลดลง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาฟิสิกส์ใหม่ขึ้นมาแทน องค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์เก่าไม่ใช่เป็นความจริงมากกว่าสิ่งอื่น แต่เป็นความจริงเฉพาะที่เท่านั้น

    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ฟิสิกส์ใหม่

    ในยุคของวิทยาศาสตร์เก่า ผู้ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดก็คือ นิวตัน ทฤษฎีของนิวตันที่ถูกไอน์สไตน์โค่นล้มก็คือ ทฤษฎีเวลา และทฤษฎีแรงโน้มถ่วง

    ทฤษฎีเวลา ตามทฤษฎีของนิวตันแล้ว เวลาของจักรวาลจะคงที่ตลอดไป ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งใด ยกตัวอย่างเช่น เวลาในโลกเป็นเช่นใด เวลาของดาวพุธก็เป็นเช่นนั้น เมื่อทฤษฎีเวลาของนิวตันเข้ามาในประเทศไทย เรื่องนรก-สวรรค์ของศาสนาพุทธได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะ พระพุทธเจ้าสอนว่า เวลาของสวรรค์ มนุษย์ อบายภูมิ พรหม อรูปพรหมนั้นไม่เท่ากัน การที่เวลาของแต่ละแห่งไม่เท่ากันจึงเป็นความไม่สมเหตุสมผล (Irrationality) ของวิทยาศาสตร์เก่า

    องค์ความรู้เรื่องเวลาของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนนั้น ทำลายความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ของพุทธวิชาการเป็นจนหมดสิ้น คำกล่าวที่ว่า “นรก-สวรรค์ไม่เป็นความจริงเพราะพิสูจน์ไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์” จึงได้ยินได้ฟังกันโดยทั่วไป เมื่อมีใครก็ตามพูดถึงเรื่องนรก-สวรรค์ขึ้นมา

    อย่างไรก็ดี ความรู้ของฟิสิกส์ใหม่ที่ศึกษากันมาตลอดศตวรรษที่ 20 มีหลักฐานยืนยันอย่างแน่นอนว่า เวลาไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับสถานที่และความเร็ว ดังนั้น เวลาของคนแต่ละคนในโลกนี้จึงไม่เท่ากันเลย พูดให้เข้าใจง่ายๆ อีกนิดหนึ่งก็คือ นาฬิกาของแต่ละคนจะเดินด้วยความเร็วที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่า บุคคลคนนั้นอยู่ที่ใด และกำลังเคลื่อนที่โดยความเร็วเท่าใด แต่เนื่องจาก มนุษย์แต่ละคนเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ช้ามากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของแสง ดังนั้น การที่นาฬิกาเดินช้าเร็วกว่ากัน จึงดูไม่แตกต่างด้วยความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ จะต้องใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพสูงจึงจะเห็นความแตกต่างเช่ นนั้นได้

    ถ้าจะกล่าวกันในทางฟิสิกส์ใหม่ก็คือ เวลากับอวกาศเป็นสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แยกจากกันอย่างที่นิวตันเข้าใจผิด นอกจากความเร็วที่จะส่งผลให้เวลาแตกต่างกันแล้ว แรงโน้มถ่วงก็ยังส่งผลต่อเวลาด้วย กล่าวคือ ถ้าเราอยู่ที่แรงโน้มถ่วงสูง เวลาของเราจะช้ากว่าเวลาที่อยู่ในแรงโน้มถ่วงต่ำ สถานที่ที่แรงโน้มถ่วงสูงก็คือพื้นดิน สถานที่ที่โรงโน้มถ่วงต่ำก็คือ วงโคจรของดาวเทียม

    ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง ตามทฤษฎีของนิวตันแล้ว วัตถุที่มีมวลมากก็จะมีแรงดึงดูดต่อกันมาก และระยะทางที่ใกล้กัน ก็จะส่งผลให้มีแรงดึงดูดต่อไปมากขึ้นไปด้วย ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตันดังกล่าวมีจุดอ่อนเมื่อใช้คำนวณวงโคจรของดาวพุธ กล่าวคือ เมื่อนำไปใช้คำนวณวงโคจรของดาวพุธ ปรากฏว่า ค่าที่ได้รับจากการคำนวณผิดพลาดไป 17 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับการจดบันทึกที่ได้จากการสังเกตการณ์มาเป็นเวลานับร้อยๆ ปีของนักดาราศาสตร์

    ตามทฤษฎีของนิวตัน การที่ดวงดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ไม่แยกกระจัดกระจายออกจากกันไป หรือไม่ถูกถึงจนยุบเข้ามาหากันก็เป็นเพราะแรงโน้มถ่วงดังกล่าวมีความพอเหมาะ พอดี ซึ่งในปัจจุบันนักฟิสิกส์ใหม่พบว่า ทฤษฎีดังกล่าวของนิวตันไม่ถูกต้อง องค์ความรู้ของฟิสิกส์ใหม่พบว่า การที่จักรวาลของเราไม่แยกตัวกันออกไป หรือยุบตัวรวมลงมาก็เป็นเพราะว่า จักรวาลโค้ง ไม่ใช่เป็นเพราะแรงดึงดูดระหว่างกันของดาวต่างๆ

    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ข้อพิสูจน์เรื่องทฤษฏีเวลาและทฤษฎีแรงโน้มถ่วง

    สิ่งที่จะพิสูจน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่าชัดเจนและพบเห็นกันโดยทั่วไปก็คือ ระบบ GPS ซึ่งปัจจุบันสามารถบรรจุลงไปในโทรศัพท์มือถือได้แล้ว ระบบ GPS
    ร ะบบ GPS เป็นระบบที่จะบ่งบอกว่า เราอยู่ที่ไหนในโลก ณ เวลาหนึ่งๆ นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาและนำมาใช้ประโยชน์มากมายในชีวิตประจำวัน เช่น ติดตามรถหาย บอกถึงทิศทางและสถานที่ในการขับรถ ฯลฯ เป็นต้น

    ระบบ GPS ดังกล่าว ถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันคำนวณ จะบอกตำแหน่งผิดไปเป็นไมล์ๆ เป็นกิโลเมตรๆ เลยทีเดียว ต้องใช้สูตรของทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ซึ่งนำเวลา ความเร็วของดาวเทียม ตำแหน่งของรถยนต์ (ในกรณีติดตามรถหาย) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความเร็วและแรงโน้มถ่วงของทุกสิ่งเข้ามาคำนวณด้วย จึงจะสามารถระบุตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง

    ระบบดังกล่าวนั้น เมื่อระยะแรกๆ ได้พัฒนามาใช้ในทางทหาร จะเห็นว่า เมื่อฝ่ายทหารของสหรัฐอเมริกาจะทิ้งระเบิดลงอัฟกานิสถาน หรืออิรักนั้น ทหารภาคพื้นดินจะระบุเป้าหมายให้ทราบก่อน ระเบิดจะมีความฉลาดสามารถถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ได้ว่า ทิ้งลงถูกตำแหน่งหรือไม่ กล่าวกันว่า แม้กระทั่งเหรียญบาทของไทย ถ้าทหารของอเมริกันจะทิ้งระเบิดลง ก็สามารถกระทำได้ นั่นก็คือ การใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์มาคำนวณ

    จะเห็นได้ว่า ความเข้าใจของวิทยาศาสตร์เก่าที่ว่า วิธีการหาความรู้ของตนเป็นสิ่งที่จริงแท้แล้ว สามารถค้นหาความจริงได้แล้ว เป็นความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง เพราะ วิทยาศาสตร์เก่าหาความจริงได้น้อยมาก และหาความจริงได้เฉพาะที่เท่านั้น

    ตัวอย่างอีกประหนึ่งก็คือ กรณีของดาวพลูโต ดาวพลูโตได้รับการจัดว่าเป็นหนึ่งในดาวนพเคราะห์มาหลายร้อยปี อยู่มาวันดีคืนดี นักวิทยาศาสตร์ได้เอาดาวพลูโตออกจากระบบดาวนพเคราะห์ และบอกว่าที่ผ่านมาเป็นเรื่องเข้าใจผิด นั่นก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่า วิทยาศาสตร์เก่าไม่ได้เป็นความจริงแท้แต่ประการใด

    เมื่อนักฟิสิกส์ใหม่ค้นพบข้อผิดพลาดของวิทยาศาสตร์เก่ามากขึ้นเรื่อยๆ อำนาจในการจัดการความรู้ของวิทยาศาสตร์เก่าจึงหลุดลอยไป หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ความยิ่งใหญ่ของวิทยาศาสตร์เก่าก็ถูกทำลายลงไปด้วยวิทยาศาสตร์ใหม่หรือฟิสิก ส์ใหม่นั่นเอง

    เป็นที่น่าสงสัยว่า ฟิสิกส์ใหม่เดินตามรอยของวิทยาศาสตร์เก่าหรือไม่ กล่าวคือแสดงความอหังการ์ว่า องค์ความรู้ของตนเป็นความจริงยิ่งกว่าองค์ความรู้อื่นใด
    ผลปรากฏว่า นักฟิสิกส์ใหม่รู้เห็นถึงความผิดพลาดของพระในศาสนาคริสต์และนักวิทยาศาสตร์เ ก่าได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแล้ว ทฤษฎีความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก หรือทฤษฎีโกลาหล (Chaos theory) ทำให้นักฟิสิกส์ใหม่เข้าใจดีว่า องค์ความรู้ใดๆ ก็ตามต่างก็มีแนวทางในการศึกษาของตน องค์ความรู้ใดองค์ความรู้หนึ่งไม่สามารถไปตัดสินว่าองค์ความรู้อื่นๆ ถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ ถ้าทำเช่นนั้น ผลของการศึกษาจะไม่ถูกต้องตรงตามความจริง (truth) ถ้าต้องการศึกษาให้ได้ผลที่ถูกต้องตามความจริงแล้ว จะศึกษาสิ่งใดก็ตามก็ควรที่จะศึกษาไปตามกลวิธีของสิ่งนั้นๆ

    ฟิสิกส์ใหม่จึงเปิดโอกาสให้องค์ความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาได้มีโอกาสโต้เถียงอย่างอิสรเสรีได้อีกครั้งหนึ่ง

    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ความเจริญอันได้จากเทคโนโลยีซึ่งเป็นผลของการพัฒนาความรู้จากวิทยาศาสตร์ได้ ส่งผลให้โลกเจริญในด้านวัตถุอย่างมากมาย ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่ได้จากวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ยุค ดังนี้

    เทคโนโลยีที่ได้จากวิทยาศาสตร์เก่า

    1) เครื่องจักรกลต่างๆ รวมถึงรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน เรือเดินสมุทรฯ
    2) สะพาน
    3) ตึกระฟ้าทั้งหลาย

    เทคโนโลยีที่ได้จากฟิสิกส์ใหม่

    1) อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด กล้องดิจิตอล อุปกรณ์เลเซอร์ในเครื่องเล่นดีวีดี ประตูปิดเปิดอัตโนมัติตามศูนย์การค้า
    2) ระบบจีพีเอส (GPS)
    3) คอมพิวเตอร์

    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ศาสนาพุทธ

    เมื่อเปรียบเทียบจุดกำเนิดระหว่างวิทยาศาสตร์ ปรัชญาตะวันตก และศาสนาพุทธจะเห็นได้ว่า ศาสนาพุทธมีความเก่าแก่มากกว่าวิทยาศาสตร์เก่าประมาณ 2000 ปี ส่วนปรัชญากรีกนั้น พระพุทธเจ้าประสูติก่อนโสเครติสหลายสิบปี เมื่อเปรียบเทียบวิธีหาความรู้ก็แตกต่างกันอย่างมาก พระพุทธเจ้าใช้วิธีปฏิบัติธรรม ส่วนวิทยาศาสตร์กับปรัชญาตะวันตกใช้ความเป็นเหตุผล (Rationality) ที่แตกต่างกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับปรัชญาตะวันตกคือ วิทยาศาสตร์เน้นประสบการณ์ในการศึกษาค้นคว้า ทดลองด้วย แต่ปรัชญาตะวันตกไม่

    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ในการศึกษาสาขาวิชาต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ถ้านำเอาวิชาอื่นๆ เช่นวิทยาศาสตร์หรือปรัชญาเข้าไปร่วมศึกษาด้วย ก็จะเป็นเหตุให้ ผลของการศึกษาไม่ตรงกับความจริง ดังนั้น ในการศึกษาศาสนาพุทธ สาขาวิชาที่ควรนำมาศึกษาก็คือ ภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาศาสตร์ และเนื่องจากการอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมธรรมปฏิบัติตามสายวิชชาธรรมกาย จะนำเสนอแต่เพียงการปฏิบัติธรรมตามสายวิชชาธรรมกายเท่านั้น


    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    วิชชา ธรรมกาย หน้าที่ 1

    สายปฏิบัติธรรมทั้งหมดในประเทศไทยทุกสาย ยกเว้นสายวิชชาธรรมกายจะปฏิเสธการเห็นในขณะการปฏิบัติธรรม กล่าว คือ ในการปฏิบัติธรรมนั้น จะไม่ยอมให้ภาพใดๆ เกิดขึ้น ถ้ามีภาพเกิดขึ้น ให้ขจัดออกไป เนื่องจากเห็นว่า ภาพดังกล่าวเป็นนิมิต ซึ่งจะขัดขวางการปฏิบัติธรรม แต่คำว่า “วิปัสสนา” นั้นแปลว่า เห็นแจ้ง เมื่อพิจารณาในทางภาษาศาสตร์แล้ว การปฏิบัติธรรมจะต้องมี “การเห็น” ซึ่งก็หมายความว่า วิปัสสนากรรมฐานต้องมีการเห็นเป็นหลักสำคัญเลย ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าก็ต้องทรงใช้ศัพท์อื่นไปแล้ว นอกจากชื่อจะบ่งแสดงให้เห็นว่า วิปัสสนาต้องมีการเห็นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ยังมีพระสูตรเป็นจำนวนมากที่สนับสนุนว่า วิปัสสนาต้องมีการเห็น

    ธัมมจักรกัปปวัตนสูตรเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกมาสอนปัจจวัคคีย์ และน่าจะเป็นพระสูตรที่สำคัญมาก เพราะ พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า พระองค์เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าแล้ว ด้วยวิธีการใด ในพระสูตรนี้พระองค์ได้ทรงกล่าวกับปัจจวัคคีย์ว่า ไม่ควรทรมาณ ตนเองให้ลำบาก และหมกมุ่นอยู่ในกาม เพราะไม่เป็นประโยชน์ ต่อจากนั้นพระองค์ทรงกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พระองค์มีดวงตาเกิดขึ้น แล้วญาณ/ความรู้จึงเกิดตามขึ้นมา ดังนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ


    พระองค์ตรัสข้อความดังกล่าว 3 รอบ รอบแรกทรงกล่าวว่า พระองค์รู้จักอริสัจ 4 รอบที่สองทรงกล่าวว่า จะทำอะไรกับอริสัจ 4 และรอบที่สาม ทรงกล่าวว่า ได้ทำอะไรไปแล้วกับอริยสัจ 4 ซึ่งเมื่อกระทำแล้วพระองค์จึงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ข้อความในส่วนนี้ก็เช่นเดีวกัน พระองค์ตรัสว่า ดวงตาของพระองค์เกิดขึ้น ลำดับญาณ/ความรู้จึงเกิดขึ้น ต่อจากนั้น ปัญญา วิทยา/วิชา และแสงสว่างจึงเกิดขึ้นมาตามลำดับ

    ต่อจากนั้นมา พระสูตรนี้กล่าวว่า

    ก ็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

    จะเห็นได้ว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสธัมมจักรกัปปวัตรสูตรอยู่นั้น ปัจจวัคคีย์ก็ปฏิบัติธรรมตามไปด้วย เมื่อใจสงบเป็นหนึ่งเดียว/เอกัคคตารมณ์แล้ว พระโกณฑัญญะจึงมีดวงตาเกิดขึ้น และเห็น “ธรรม” ซึ่งผ่องใส ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เมื่อพระโกณฑัญญะเห็นธรรมแล้ว จึงกล่าวขอบรรพชาอุปสมบท

    ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรม แจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าข้า.

    จากธัมมจักกัปปวัฒนสูตรข้างต้น คำว่าดวงตานั้นต้องไม่ใช่ดวงตาที่เป็นตาเนื้อของพระพุทธเจ้าและปัจจวัคคีย์ เพราะ ตาเนื้อนั้นมนุษย์ทุกคนต้องมีมาตั้งแต่เกิดแล้ว แสดงว่า ดวงตาในพระสูตรนี้ต้องเป็นดวงตาชนิดอื่น

    มีนักวิชาการเป็นจำนวนมากที่อธิบายคำว่า “เห็น” ในพระสูตรนี้เป็นไปในทำนองว่า “เข้าใจ” หรืออธิบายคำว่า “เห็น” เป็นเพียงชื่อของปัญญา บางท่านก็กล่าวว่า เป็นสภาวธรรม โดยไม่อธิบายให้ชัดเจนว่า เป็นสภาวธรรมอย่างไร ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าไม่ถูกต้อง คำว่าเห็นจะต้องอาศัยอายตนะตาเป็นเครื่องมือ ซึ่งตาหรือจักษุอื่นๆ ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระสุตตันตปิฎก เล่ม21 ขุททกนิกาย มหานิทเทส ดังนี้

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม ร่ำไรใกล้ปากมัจจุ. สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา

    คำว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู [ซึ่งหมู่สัตว์นี้] ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา

    จากพระสูตรดังกล่าวจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าตรัสก่อนว่า พระองค์เห็นหมู่สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา พระองค์ทรงใช้คำที่ต้องใช้ตาเป็นเครื่องมือแทบจะคลอบคลุมทั้งหมด คือ เห็น แลดู ตรวจดู พิจาณาดู ด้วยดวงตา 5 ประเภทคือ

    1) มังสจักษุ/ตาเนื้อ
    2) ทิพยจักษุ
    3) ปัญญาจักษุ
    4) พุทธจักษุ
    5) สมันตจักษุ

    ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าและพระปัจจวัคคีย์นั้น ต้องเห็นด้วยทิพยจักษุ, ปัญญาจักษุ, พุทธจักษุ หรือสมันตจักษุ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะหลายอย่างแต่ต่างกรรมต่างวาระกัน

    หลังจากทรงสอนธัมมจักรกัปปวัตนสูตรแก่ปัจจวัคคีย์ไปแล้ว ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 คนดังกล่าวมีดวงตาเห็นธรรมในระยะเวลาไล่เลี่ยกันแต่ไม่พร้อมกัน กล่าวคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรมก่อน หลังจากนั้นพระวัปปะกับพระภัททิยะมีดวงตาเห็นธรรมต่อมา และคู่สุดท้ายที่มีดวงตาเห็นธรรมก็คือ พระมหานามะกับพระอัสสชิ แต่พระปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 รูป ยังไม่มีใครบรรลุพระอรหันต์ หลังจากนั้นมา พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนอนัตตลักขณสูตร หลังจากได้ฟังพระสูตรนี้แล้ว พระปัจจวัคคีย์จึงบรรลุพระอรหันต์ทั้ง 5 รูป

    อนัตตลักขณสูตรเริ่มต้นด้วยคำสอนที่ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา ไม่ได้เป็นอัตตาอย่างที่พระปัจจวัคคีย์ยังมีความเห็นความเชื่อเช่นนั้นอยู่ การที่พระปัจจวัคคีย์เห็นว่า ที่ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอัตตาจึงทำให้ไม่สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้ หลังจากนั้นพระองค์จึงตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ ดังนี้

    ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

    ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

    ในข้อความข้างต้นนั้น มีคำว่า “ความเห็น” ซึ่งในภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจำวันจะตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า opinion; view; viewpoint; idea; suggestion; assumption; belief; thought เป็นต้น ความเห็นในภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะเกิดมาจาก การเห็น การอ่าน การฟัง แล้วมาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดเป็นความเห็นขึ้นมา แต่ในพระสูตรดังกล่าวนี้ พระพุทธเจ้ามีพระสงค์จะทรงถามความเห็นที่เกิดจากการ “เห็น” จริงๆ จะสังเกตได้จากข้อความ ที่ว่า “ควรหรือจะตามเห็น” สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

    หลังจากที่ตรัสถามความเห็นของปัจวัคคีย์จนครบทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณแล้ว พระองค์ตรัสต่อไปว่า

    ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่ สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.


    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    วิชชา ธรรมกาย หน้าที่ 2

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้นเมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    ขอให้สังเกตข้อความในพระสูตรส่วนนี้ จำนวน 3 ข้อความนี้ “ยถาภูตญาณทัสสนะ”, “เห็นรูปนั้น”, “อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้” คำว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ แปลว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งเมื่อคำนึงถึงธัมมจักกัปปวัตนสูตรที่กล่าวไปแล้วว่า พระองค์ทรงทำดวงตาให้เกิด หลังจากนั้นมาจึงทรงทำญาน/ความรู้ให้เกิด ดังนั้น การรู้เห็นในพระสูตรนี้จึงเกิดจาก “การเห็น” และ “การรู้” หรือเมื่อเห็นแล้วจึงรู้ และเป็นการรู้การเห็นตามความเป็นจริงด้วย ซึ่งสามารถยืนยันได้จากข้อความที่ต่อมาว่า เธอทั้งหลายพึงเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณด้วยปัญญาอันชอบ

    ข้อความที่ยืนยันได้อย่างชัดแจ้งที่สุดก็คือ ข้อความที่ว่า “อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้” ข้อความนี้แสดงว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศน์สั่งสอนอยู่นั้น พระปัจจวัคคีย์ได้ปฏิบัติธรรมตามไปด้วย ขณะที่หูได้ยินหรือกำลังฟังอยู่ ใจ/จิต/วิญญาณก็กระทำตามไปด้วย จึง “เห็น” ตามไปตามคำที่พระองค์สอน เมื่อทั้งฟังทั้งเห็นตามความเป็นจริง พระปัจจวัคีย์จึงบรรลุพระอรหันต์ทั้ง 5 รูป

    จากหลักฐานจากพระไตรปิฎกและที่อธิบายมาข้างต้น โดยยกธัมมจักกัปปวัตนสูตรและอนัตตลักขณสูตรซึ่งเป็นพระสูตรแรกและพระสูตรที่ สองที่พระพุทธเจ้านำมาทรงสอนปัจจวัคคีย์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ในการปฏิบัติธรรมให้เพื่อ “รู้” และ “เข้าใจ” ในหัวข้อธรรมะต่างๆ ต้องมี “การเห็น” ด้วยตา คือ ตั้งแต่ตาเนื้อของร่างกายตลอดจนตาภายใน อย่างไรก็ดี เพื่อให้ข้อเขียนของผู้เขียนมีน้ำหนักแน่นขึ้นไปอีก ผู้เขียนขอยกตัวอย่างสำคัญอีกสองตัวอย่างดังนี้

    ตัวอย่างแรก

    ในพระไตรปิฎก เล่ม 19 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หัวข้อนีวรณสูตร พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงนิวรณ์ 5 กับโพชฌงค์ 7 นิวรณ์ 5 ก็รู้กันทั่วๆ ไปว่าเป็นเครื่องกั้นคุณความดี สำหรับโพชฌงค์ 7 นั้น เป็นหัวข้อธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ซึ่งก็แสดงว่ามีความสำคัญมากเลยทีเดียว

    ในนีวรณสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า นิวรณ์ 5 ทำให้มืดเพราะ ไม่มีจักษุ และไม่มีญาณ/ความรู้ แต่โพชฌงค์ 7 นั้น กระทำสิ่งตรงกันข้ามกับนิวรณ์ 5 คือ ทำให้มีจักษุ ซึ่งก็หมายถึงว่า จักษุภายในเกิดขึ้น จึงมีการเห็นเกิดขึ้น เมื่อมีจักษุและการเห็นเกิดขึ้นแล้วญาณ/ความรู้ก็จึงเกิดขึ้น ด้วย ดังนี้

    [501] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ 5 เหล่านี้ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ........................................................................................................

    [502] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

    จากนิวรณสูตรดังกล่าว การปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเป็นสมถกรรมฐานหรือวิปัสสนากรรมฐาน (เห็นแจ้ง) จะต้องมีการเห็นเกิดขึ้น ถ้าไม่มีการเห็นเกิดขึ้น ญาณ/ความรู้ที่ถูกต้องไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ญาณ/ความรู้ที่เกิดขึ้นจากสมถกรรมฐานหรือวิปัสสนากรรมฐาน (เห็นแจ้ง) ที่ไม่มีการเห็นเกิดขึ้น จึงเป็นญาณ/ความรู้ที่ไม่ถูกต้องตามหลักของพระไตรปิฎก


    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    วิชชา ธรรมกาย หน้าที่ 3

    ตัวอย่างที่สอง

    ตัวอย่างแรกนั้น เป็นกระบวนการในการที่จะตรัสรู้ซึ่งก็ต้องมีการเห็น ญาณ/ความรู้จึงเกิดขึ้น พระสูตรต่อไป ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ยืนยันอีกว่า จะต้องมีการเห็น คือ มีจักษุเกิดขึ้น จักษุนี้มีประสิทธิภาพดีกว่าตาเนื้อ

    พระสูตรนี้กล่าวถึงความเป็นมาว่า มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อเวรัญชพราหมณ์ กล่าวหาว่า พระพุทธเจ้าทรงขาดสัมมาคารวะกับพราหมณ์ผู้ใหญ่ ซึ่งตามวัฒนธรรมประเพณีของอินเดียสมัยนั้น ผู้มีอายุน้อยกว่าต้องให้ความเคารพกับผู้มีอาวุโสกว่า

    พระพุทธเจ้าก็ทรงอธิบายเปรียบเทียบการกระทำของพระองค์กับการฟักไข่ ว่าไก่ที่ออกมาทีหลังๆ นั้น จะต้องเรียกไก่ที่ฟักตัวแรกว่าพี่ พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้ก่อนคนอื่น และนำมาสอน คนอื่นก็ต้องให้ความเคารพกับพระองค์ หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงบรรยายถึงเหตุการณ์ที่พระองค์ตรัสรู้วิชชา 3 วิชชาแรกก็คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ การรู้จักระลึกชาติได้ แต่เป็นการระลึกชาติของตนเอง ต่อมาวิชชาที่สองคือ จุตูปปาตญาณ คือ การรู้จักระลึกชาติของคนอื่นได้ ซึ่งมีข้อความบางส่วนดังนี้
    เราย่อมเล็ง เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการดังนี้

    จากข้อความดังกล่าว พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า พระองค์ทรงเห็นการเกิดของหมู่สัตว์ทั้งหลายด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าจักษุของมนุษย์ นี่ก็หมายถึงว่า ในการระลึกชาติของพระองค์เองก็ต้องเห็นในลักษณะนี้ ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือ เห็นเหมือนเราดูหนัง ไม่ใช่นึกเอาแบบมัวๆ ซัวๆ ไม่ได้เห็นเป็นภาพชัดเจน ในกรณีก็เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า สายปฏิบัติธรรมใดก็ตามที่ปฏิเสธการเห็น[3] ก็ไม่สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้เลย

    ต่อจากนั้นพระองค์ก็ทรงกล่าวถึงวิชชาสุดท้ายว่า

    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ

    ข้อความที่ว่า “รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้” ก็เป็นหลักฐานสำคัญว่า ในการพิจารณาหัวข้อธรรมะขั้นละเอียดลึกซึ้งจนถึงการบรรลุพระอรหันต์ต้องใช้ก ารเห็นเป็นสำคัญ พูดให้ง่ายเข้าก็คือ ทั้งเห็นทั้งรู้ และก็ทั้งรู้ทั้งเห็น จะรู้อย่างเดียวโดยปราศจากการเห็นไม่ได้ และจะเห็นอย่างเดียวโดยปราศจากการรู้ไม่ได้ เพราะ รู้อย่างนั้นไม่ใช่การรู้แจ้งเห็นจริง

    ในการสอนของวิชชาธรรมกายนั้น วิทยากรจะสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรม “นึกให้เห็น” โดยมีการนำเอาดวงแก้วมาแสดงให้เห็นก่อน การเห็นครั้งแรกนี้เป็น “ภาพนิมิต” จริงไม่ใช่การเห็นด้วยตาภายใน แต่เป็นการจำดวงแก้วที่เห็นด้วยตาเนื้อ แล้วใช้จินตนาการ

    การนึกให้เห็นดวงแก้วภาพนิมิตนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมจะนึกอย่างมีทิศทาง เพราะ ในการเห็นวัตถุของตาเนื้อนั้น จะต้องอาศัยแสงกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาของเรา

    ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นการจินตนาการก็เป็นการจินตนาการที่มีทิศทางในการเห็นกำกับ แต่เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมตามสายวิชชาธรรมกาย “เห็น” ดวงปฐมมรรคนั้น เป็นการเห็นโดยรอบ คือ เห็นดวงปฐมมรรคซึ่งมีลักษณะคล้ายดวงแก้ว แต่ใหญ่กว่า ใสกว่าเหมือนกับมีตาอยู่รอบทั้งภายนอกและภายใน การเห็นดวงปฐมมรรคนี้ไม่มีทิศทางที่กำกับการเห็น เพราะเป็นการเห็นด้วยตาภายใน

    สายปฏิบัติธรรมอื่นๆ ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการเห็นนิมิตกับการเห็นตามสายวิชชาธรรมกาย หลังจากนั้นไปแล้ว การเห็นของสายวิชชาธรรมกายจะมีหลักสูตรกำกับ เป็นระดับ เป็นขั้น เป็นตอน ไม่ใช่เห็นไปทั่วอย่างนิมิต เช่น เห็นป่าเขา ลำธาร ทะเล ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งก็ตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า “ปัจจัตตัง” คือ เป็นการเห็นด้วยตนเองของใครของมัน แต่การเห็นนั้น สอดคล้องกันเพราะมีหลักสูตรกำกับ ไม่ใช่ต่างคนต่างเห็นไปคนละเรื่อง คนละราวอย่างเช่นการเห็นนิมิต

    นอกจากนั้นแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเห็นดวงปฐมมรรคนั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายด้วย ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ปฏิบัติธรรมจะรู้สึก โปร่ง โล่ง สบาย และจะเข้าใจว่า “ความสุขที่เกิดจากความสงบ” นั้นเป็นอย่างไร ขั้นตอนในส่วนนี้ พุทธวิชาการที่ศึกษาปริยัติธรรมแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ปฏิบัติธรรมเลย หรือปฏิบัติธรรมอย่างผิวเผิน หรือตีความไปว่า การปฏิบัติตัวของท่านทุกวันนั้น เป็นการปฏิบัติธรรม โดยไม่ได้ปฏิบัติสมถ/วิปัสสนากรรมฐาน จะไม่มีทางเข้าใจเป็นเด็ดขาด

    โดยสรุป การเห็นเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเป็นสมถกรรมฐานหรือ วิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงหัวข้อธรรมะในระดับสูง ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าปฏิเสธการเห็นว่า ไม่ถูกต้อง ไม่จริง ก็เปรียบเสมือนกับคนที่มีตาพิการในโลกของเรานี้ ซึ่งไม่อาจจะเรียนรู้โลกได้ถูกต้อง เป็นจริงอย่างเช่นที่คนตาดีกระทำได้เลย ถ้าไม่อาศัยการเห็น ก็ไม่สามารถจะทำให้ใจ/จิต/วิญญาณ เบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณได้ เมื่อใจ/จิต/วิญญาณไม่เบื่อหน่ายในขันธ์ห้า ความกำหนัด ก็ไม่สิ้นไป ใจ/จิต/วิญญาณก็ไม่สามารถพ้นภพสามไปได้ การบรรลุพระอรหันต์ก็ไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้

    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เปรียบเทียบ องค์ความรู้ของ วิทยาศาสตร์ ปรัชญาตะวันตก และ ศาสนาพุทธ

    องค์ความรู้ทั้ง 3 ประการข้างต้น ศาสนาพุทธเกิดก่อนโดยวิธีการปฏิบัติธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับความเป็นเหตุผล (Rationality) สำหรับประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมนั้นก็จะแตกต่างไปจากวิทยาศาสตร์ เพราะ การปฏิบัติธรรมใช้ “ใจ” เป็นเครื่องมือ ส่วนวิทยาศาสตร์จะใช้ประสบการณ์ซึ่งรับได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย สำหรับสิ่งที่เหมือนกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับปรัชญาตะวันตกคือ องค์ความรู้จะต้องมีความสมเหตุสมผล จึงจะถือว่าความรู้นั้นเป็นความจริง

    วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนมีประสิทธิภาพในการหาความรู้คับแคบ เพราะ หาความรู้ได้เฉพาะในโลกนี้เป็นส่วนใหญ่เท่านั้น กล่าวคือ ไม่สามารถศึกษาเข้าไปลึกๆ ถึงสภาวะของอะตอมอย่างเช่นทฤษฎีควอนตัมได้ ไม่สามารถศึกษาในระดับพหุภพ (multiverse) ดังเช่นทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ได้

    สำหรับปรัชญาตะวันตกเนื่องจากวิธีการศึกษาจำกัดขอบเขตเฉพาะการใช้เหตุผล และไม่เชื่อว่ามีองค์ความรู้หาความจริง (truth) ที่ตรงกับความเป็นจริง (Reality) ได้แล้ว ในการศึกษาจึงจะดึงหรือหยิบส่วนที่นักปรัชญาพอใจมาศึกษา โดยทิ้งส่วนที่ไม่สนใจออกไป วิธีการศึกษาเช่นนี้จึงไม่สามารถหาความจริงได้ ซึ่งนักปรัชญาส่วนใหญ่ยอมรับกันแล้ว

    จะเห็นได้ว่า องค์ความรู้ของศาสตร์ตะวันตกคือ วิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ยุคและปรัชญาต่างก็มีวิธีการและมีประวัติความเป็นมาแตกต่างจากศาสนาพุทธโดยส ิ้นเชิง ศาสตร์ตะวันตกศึกษาไปนอกตัวเพื่อที่จะหาทางเอาชนะธรรมชาติ ส่วนศาสนาพุทธศึกษาเข้าไปในตัว เพื่อทำตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ และจะบรรลุจะมุ่งหมายสูงสุดได้ เมื่อพัฒนาจิตสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ศาสตร์ตะวันตก จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ทำให้มนุษย์เกิดกิเลส เกิดการสะสมและเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม สัตว์ และมนุษย์อื่นๆ ด้วย แต่ศาสนาพุทธจะสอนให้มนุษย์ละกิเลส ไม่เบียดเบียนให้ และให้ความรักความเมตตากับสิ่งแวดล้อม สัตว์ และมนุษย์อื่นๆ

    ในกรณีที่ความรู้บางประการของศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์สอดคล้องกัน เช่น ไอน์สไตน์พบว่า เวลาของแต่ละที่แต่ละแห่งไม่เท่ากัน ก็สอดคล้องกับเรื่องเวลาของนรก-สวรรค์ มนุษย์ พรหม อรูปพรหม หรือ นรก-สวรรค์ของศาสนาพราหมณ์ก็คล้ายกันกับของศาสนาพุทธ เป็นต้น

    ข้าพเจ้าขออธิบายดังนี้

    องค์ความรู้หลักๆ ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ต่างก็มีจุดหมายปลายทางเดียวกันคือ หาความเป็นจริงแท้ (Ultimate Reality) ธรรมชาติ ซึ่งก็คือ ความเป็นจริงแท้ของโลกหรือของจักรวาลหรือของภพ (Verse) นั่นเอง เพื่อให้คำอธิบายอ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น ผู้เขียนจึงขอตั้งสมมุติฐานแคบๆ ว่า “ศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ต่างก็ต้องการหาความเป็นจริงแท้ของโลก”

    สมมุติว่า ความเป็นจริงแท้ของโลกเป็นภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งสามารถเดินทางเข้าหาได้จากทุกทิศทุกทาง แต่สภาพของภูมิประเทศในการเข้าหาภูเขาลูกดังกล่าว ยากลำบากแตกต่างกันไป กล่าวคือ อาจจะมีหุบเหว อาจจะมีเทือกเขาสูงกั้นอยู่ระหว่างทาง อาจจะมีเมฆหมอกบดบังจนไม่เห็นทัศนวิสัยรอบข้างบ้างในช่วงหนึ่งของการเดินทาง ฯลฯ เป็นต้น

    การที่มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน ถึงหนทางเข้าหาจะแตกต่างกัน การที่ในระหว่างทางนั้น องค์ความรู้ต่างๆ จะพบความจริง (Truth) ที่สอดคล้องกัน จึงมีความเป็นไปได้


    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สรุป

    องค์ความรู้ทั้ง 3 ประการดังกล่าว ไม่ว่าใครจะสนใจหรือไม่ ก็ต้องส่งผลต่อบุคคลนั้นๆ เสมอ เพราะ มนุษย์ทั้งหลายต่างก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม ในเมื่อสังคมไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลขององค์ความรู้ทั้ง 3 นั้น การที่จะถูกอิทธิพลขององค์ความรู้ใดมากกว่าองค์ความรู้อื่นๆ นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง บางคนสมาทานศรัทธาเชื่อวิทยาศาสตร์เก่าอย่างหัวปักหัวปำ ปฏิเสธองค์ความรู้อื่นๆ ทั้งหมด บุคคลเหล่านี้ ถ้าพิจารณาในทางศาสนาพุทธแล้ว เกิดมามืดบอดเสียเวลาไปโดยปล่าวประโยชน์ ในทางที่ถูกต้องแล้ว เราควรที่จะเชื่อองค์ความรู้ใดก็ตามความเชี่ยวชาญขององค์ความรู้นั้นๆ

    ถ้าเป็นเรื่องกายภาพทั่วๆ ไปก็ควรจะที่เชื่อวิทยาศาสตร์ ถ้าเป็นเรื่องของจิตใจก็ควรที่จะเชื่อศาสนา ถ้ามีปัญหาที่ต้องการข้อยุติอย่างมีเหตุผลก็ควรที่จะเชื่อปรัชญา ไม่ควรนำองค์ความรู้ใดองค์ความรู้หนึ่งไปตัดสินองค์ความรู้อื่นๆ เพราะ ผลของการศึกษาจะไม่สามารถพบความจริงได้

    เชิงอรรถ

    [1] ในบทความนี้จะมีศัพท์ที่คล้ายกันอย่างนี้ 2 คำคือ “ดวงวิญญาณ/ใจ/จิต” กับ “ใจ/จิต/วิญญาณ” คำว่า “ใจ/จิต/วิญญาณ” หมายถึง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งรวมกันเป็น “ใจ” ใจกับจิตเป็นสิ่งเดียวกัน แต่จิตมีความละเอียดมากกว่า จิตกับวิญญาณก็เป็นสิ่งเดียวกันแต่ วิญญาณมีความละเอียดมากกว่า “ใจ/จิต/วิญญาณ” เมื่อเข้ามาประกอบกับรูปก็จะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม รวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วย

    “ใจ/จิต/วิญญาณ” เน้นถึงกระบวนการทำงานเมื่อเป็นสัตว์ประเภทใดประเภทหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เน้นมนุษย์ ส่วน “ดวงวิญญาณ/ใจ/จิต” นั้น ต้องการจะหมายถึง ดวงวิญญาณที่สามารถไปเกิดมาเกิดได้ คำทั้ง 2 ชุดนั้นคือ สิ่งเดียวกันแต่ผู้เขียนเน้นต่างกัน และขออธิบายเพิ่มเติมว่าเมื่อมนุษย์ตายแล้วจะไปเกิดใหม่นั้น ไม่ได้ไปเพียง “ดวงวิญญาณ/ใจ/จิต” เท่านั้น แต่มีกายด้วย กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ในนรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม อรูปพรหมต่างก็มีขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น แต่จะหยาบละเอียด ใสสว่างต่างกันเท่านั้น

    [2] ข้อความดังกล่าวนี้ สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิชชาธรรมกาย มีผู้ปฏิบัติธรรมสายวิชชาธรรมกายชั้นสูง เข้าไปดูดวงธรรมในท้องของสุนัขก็พบว่า ในดวงธรรมของสุนัขมีกายมนุษย์ละเอียดอยู่ แต่มีลักษณะที่หมองคล้ำ ไม่ใสสว่าง ในกรณีของสัตว์อื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

    [3] ผู้เขียนเคยสนทนากับผู้ปฏิบัติธรรมบางคนและได้ทราบว่า ท่านปฏิเสธการเห็นในการปฏิบัติธรรมเพราะพบว่า มีผู้ปฏิบัติตามสายพุทโธบางคน ระหว่างปฏิบัติธรรมเห็นภาพน่าหวาดกลัวจนเสียสติกลายเป็นบ้าไป ในการนี้ผู้เขียนขอยืนยันว่า ยังไม่พบว่า ผู้ปฏิบัติธรรมตายสายวิชชาธรรมกายกลายเป็นบ้าเพราะเห็นดวงธรรมหรือเห็นกายธร รมในตัว และการเห็นตามสายวิชชาธรรมกายนั้น เป็นการเห็นตามหลักสูตร ไม่ใช่เห็นเปรอะไป และไม่มีภาพน่ากลัวในการเรียนตามสายวิชชาธรรมกาย

    ----------------------------------------------------------------------------

    มนัส โกมลฑา
    Ph.D. (Integrated Sciences)
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
    Email: komoltha4299@gmail.com;komoltha4299@yahoo.com


    ที่มาของบทความ : http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67
     
  13. โตโต้

    โตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +610
    อ่านมาถึงตรงนี้
    ผมคิดเอาเองว่าผู้แต่ง/ผู้เขียน ยังไม่ได้ศึกษาวิธีปฏิบัติกรรมฐานอย่างครบถ้วน เพราะหากแม้จะยกเอา มหาสติปัฏฐาน 4 หรือ กรรมฐาน 40 ก็มีการสอนเรื่องการเห็นภาพหรือพิจารณภาพด้วย อย่างมหาสติปัฏฐาน 4 ในหมวดของ กายานุปัสสนา ก็จะมี ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ นวสีวถิกาบรรพ เป็นต้น หรือแม้ในกรรมฐาน 40 ก็มี กายคตานุสสติ อสุภกรรมฐาน หรือ กสิณ 10 เป็นต้น ฉะนั้นจะบอกว่าทุกสายปฏิเสธหรือห้ามมีการเห็นภาพหรือนิมิตย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง

    ซึ่งในวิธีการปฏิบัติกรรมฐานแต่ละอย่าง ครูบาอาจารย์ท่านก็บอกแต่เพียงว่า ถ้าเราถือเอานิมิตกรรมฐานกองไหนอยู่ หากมีภาพอื่นหรือนิมิตอื่นเข้ามาแทรก ท่านให้ละหรือไม่ต้องสนใจในภาพนั้น ให้สนใจเฉพาะสิ่งที่เราพิจาณาอยู่

    ขอแถมครับ
    แต่ละสาย แต่ละครูบาอาจารย์ท่านก็จะมีวิธีการสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาแตกต่างกันบ้างเหมือนกันบ้าง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบารมีของแต่ละท่านที่สั่งสมมา และหากจริตของเราเป็นแบบไหนหรือบารมีเราสั่งสมมาเน้นในด้านใด รวมทั้งในอดีตชาติที่ผ่านมาเราเคยมีกรรมสัมพันธ์กับครูบาอาจารย์ท่านไหน เราก็จะรู้สึกประทับใจหรือศรัทธากับคำสอนของครูบาอาจารย์ท่านนั้น หรือสายนั้นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2007
  14. นาย Touru

    นาย Touru เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +1,160
    หากต้องการการพิสูจน์ของการปฏิบัติธรรม เช่นเดียวกับการทดลอง พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์นั้น เราต้องนำตัวเราเองเป็นเครื่องมือวัดครับ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมเท่านั้นจะรู้ได้เอง จะทราบได้เอง ว่าเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้จริง ด้วยการเข้าไปสัมผัสทางจิตด้วยตนเองครับ

    เพราะ ณ เวลานี้ ยังไม่มีเครื่องมือวัดใด ๆ สามารถพิสูจน์ปรากฏการณ์ทางจิตได้ในทางวิทยาศาสตร์ แต่ทางการปฏิบัติเราสามารถทำได้ครับ

    (deejai)
     
  15. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ใน ทางศาสนาพุทธแล้ว การที่ดวงวิญญาณ/ใจ/จิต[1] จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ จะต้องมีคุณความดีหรือกรรมดีติดตัวมาพอสมควร จึงสามารถเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ ในกรณีนี้มิได้หมายความว่า กรรมชั่วไม่มีเลย กรรมชั่วก็ติดตามมนุษย์มาเช่นเดียวกัน แต่กรรมดีที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ได้มีเพียงพอแล้ว จึงมีโอกาสเกิดมาสร้างบารมีได้ สำหรับพวกที่กรรมดียังมีไม่เพียงพอก็อาจจะเกิดมาในโลกนี้ได้ แต่ต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเพื่อชดใช้กรรมเก่าให้บรรเทาเบาบางลง เมื่อกรรมเก่าลดน้อยลง ก็สามารถที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้อีก

    ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑ด้านบนนั้น เป็นบทความขึ้นต้นของเจ้าของกระทู้นี้

    ข้าพเจ้าใคร่ถามคุณว่า คุณไปเอาความรุ้อย่างด้านบนนั้นมาจากไหน คุณรู้ไหม คุณทำให้ศาสนาพุทธมัวหมองหรือเสื่อมลงได้ เพราะผู้เข้ามาอ่านก็จะคิดว่า ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาแห่งหลักธรรมชาติ
    แต่แท้ที่จริงแล้ว
    ศาสนาพุทธในยุคนี้ เป็นศาสนาแห่งหลักธรรมชาติ เพราะ ดวงวิญญาณ หรือดวงจิตที่จะปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น ย่อมต้องประกอบไปด้วยโคโมโซม ของบิดา มารดา ซึ่ง ย่อมเกี่ยวโยงถึงปู่ย่าตายาย ปู่ทวด ตาทวด ย่าทวด ยายทวด
    กรรมดีหรือกรรมชั่วของมนุษย์ที่ติดตัวมาตั้งแต่อยุ่ในครรภ์มารดา ก็คือ กรรมพันธุ์ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บิดามารดา ฯลฯ
    ส่วนเรื่องการเกิดเป็นเดรัจฉานนั้น ข้าพเจ้าเคยเขียนอธิบายไว้ในเวบฯนี้แล้ว ไม่รู้หายไปไหนคงถูกลบไปแล้ว
    มันเป็นเรื่องของหลักความจริง ไม่ใช่เรื่องอย่างที่คุณเข้าใจเอาเองดอกนะขอรับ
     
  16. โตโต้

    โตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +610
    อันที่จริงเจ้าของกระทู้ไม่ได้พิมพ์บทความนี้ขึ้นมาเอง แต่ได้ไปคัดลอกมาจากที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งจขกท. ก็ได้ให้ลิงค์ไว้แล้ว และก่อนที่จะเสนอบทความ จขกท.ก็ได้เน้นย้ำแล้วว่า
    ฉะนั้นพุทธบริษัททั้งหลาย เมื่อได้อ่านกระทุ้นี้แล้วก็จงใช้วิจารณญาณให้มาก แต่ละคนจะมีความคิดเห็นเป็นเช่นไรก็คงต้องบอกว่า นานาจิตตังครับ
    ไม่แน่ จขกท. อาจต้องการให้เราตระหนักถึงบางสิ่งบางอย่างก็ได้ ลองแวะเข้าไปที่ลิงค์ที่ จขกท ทิ้งไว้ให้หรือ http://th.wisdominside.org/index.php?option=com_content&task=view&id=352&Itemid=67 นี่สิครับ

    และเหนือสิ่งอื่นใด พุทธบริษัทเรามีศาสดา คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวกันครับ และหากได้มีโอกาสศึกษาธรรมะแล้ว ควรศึกษาให้ถ่องแท้และถึงแก่นกันนะขอรับ
     
  17. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    แล้วคุณคิดว่าคุณเข้าใจ เข้าถึง ธรรม ที่แท้จริง แล้วหรือ??????
    การจะติผู้ใด ต้องใช้สติ ควรติเพื่อก่อ
    ต้องใช้ มุทิตา อุเบกขาจิต เป็นที่ตั้งให้มาก
    อย่างสร้างสรร มันจึงจะเกิด ปัญญา?????
    (555) (555) (555) (b-glass)
     
  18. userx

    userx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +1,061
    อืม..
     
  19. Ishaya

    Ishaya สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +8
    เราติติงกันเพื่อก่อให้เกิดความคิด เห็น รู้ ตามที่เป็นจริงนะดีแล้ว ขออย่าได้มีอคติเพื่อเอาชนะว่าความคิด เห็น รู้ ของเราเป็นความจริงกว่าของผู้อื่น สาธุ
     
  20. siamgirl

    siamgirl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,682
    ค่าพลัง:
    +2,742
    บางอย่างวิทไม่สามารถพิสูจน์ได้เเต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มี....
     

แชร์หน้านี้

Loading...