ศาลพระภูมิเจ้าที่ เทพ และพรหม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย เฮียปอ ตำมะลัง, 31 มกราคม 2008.

แท็ก: แก้ไข
  1. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#aab5df><TD width=500 height=41>
    ศาลพระภูมิเจ้าที่ เทพ และพรหม
    </TD></TR><TR><TD width=500 height=349>
    ความเชื่อเรื่องพระภูมิในไทยระบุถึงการอวตารของพระนารายณ์ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสวรรค์ ส่วนทางพุทธจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า โดยตำนานหนึ่งในคัมภีร์อ้างว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลก ท้าวทศราชแห่งกรุงพาลีกับมเหสีมีโอรส 9 องค์ ให้ไปดูแลสถานที่ต่างๆ ดังนี้


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=224 height=24>พระชัยมงคลดูแลเคหะสถาน ร้านโรงหอค้า</TD><TD width=276 height=24>พระคนธรรพ์ดูแลโรงพิธีอาวาห์และวิวาห์ </TD></TR><TR><TD width=224 height=24>พระนครราชดูแลค่ายทหาร และบันได</TD><TD width=276 height=24>พระเยาวแผ้วดูแลป่าเขาทุ่งนาและลานข้าว</TD></TR><TR><TD width=224 height=21>พระเทวเถรดูแลคอกสัตว์ ช้างม้าวัวควาย</TD><TD width=276 height=21>พระวัยทัตดูแลอารามวิหาร ปูชนียสถาน</TD></TR><TR><TD width=224 height=22>พระชัยสพดูแลรักษายุ้งข้างเสบียงกรัง</TD><TD width=276 height=22>พระธาษธาราดูแลห้วยหนองคลองบึงแม่น้ำ </TD></TR><TR><TD width=224 height=17>พระธรรมิกราชดูแลอุทยาน พืชพรรณสวนผลไม้ </TD><TD width=276 height=17> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกพระองค์เห็นว่า พฤติกรรมของท้าวทศราชคล้ายว่าเบียดเบียนประชาชน จำเป็นต้องปราบให้หลาบจำ โดยออกอุบายตรัสขอแผ่นดินจากท้าวทศราชเพียง 3 ก้าวแล้วใช้พุทธาภินิหารย่างเหยียบแค่ 2 ก้าวถึงขอบจักรวาล นับแต่นั้นท้าวทศราชกับโอรสต้องระเห็จออกนอกจักรวาล ท้าวทศราชจึงให้โอรสทั้ง 9 มาทูลขอเครื่องบัตรพลี และขอแผ่นดินคืน พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตว่าต่อไปใครจะสร้างบ้านเรือน ทำวิหาร หรือกระทำการใดๆที่เป็นมงคล ให้จัดตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ และศาลผีบรรพบุรุษ ซึ่งส่วนหนึ่งก็กลายมาเป็นศาลพระพรหม ตามร้านค้า หรือสถานที่ใหญ่โตหลายแห่ง

    ในส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกันศาลพระภูมิ มีความจำเพาะ ไม่ธรรมดาคือผู้ทำพิธีตั้งศาล เรียกว่า หมอศาล โดยช่วงที่นิยมดำเนินการเป็นช่วงก่อนเข้าพรรษา 1 อาทิตย์ แต่ถ้าไม่สะดวกจะเป็นช่วงใดก็ได้ ยกเว้นในพรรษา ส่วนทิศที่เป็นมงคลในการตั้งศาล บางตำราถือตามอาชีพเจ้าบ้าน

    <TABLE height=60 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=496 align=center border=0><TBODY><TR><TD height=26>ถ้าเป็นคนมีศักดิ์ต้องหันหน้าไปทางเหนือ</TD></TR><TR><TD height=19>ถ้าเป็นคฤหบดี เศรษฐี พ่อค้า ควรหันหน้าไปทางทิศใต้</TD></TR><TR><TD height=24>ถ้าเป็นคนทั่งไปหันหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือทิศตะวันออกเฉียงใต้</TD></TR><TR><TD height=21>ส่วนพระภูมินา พระภูมิสวน ควรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=120 align=left border=0><TBODY><TR><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE> ลักษณะศาลพระภูมิ โดยทั่วไปจะเป็นบ้านเรือนไทยน้อยๆ แต่ระยะหลังพัฒนารูปแบบคล้ายโบสถ์วิหาร ขนาดเล็กใหญ่จะตามกำลังทรัพย์และศรัทธา โดยศาลจะตั้งอยู่บนเสาต้นเดียว ในระดันสายตา ภายในศาลจะมีพระภูมิ หรือรูปเทพารักษ์ เรียกว่า เจว็ด ปั้นจากดิน หรือทำด้วยไม้ มือขวาถือพระขรรค์ ซ้ายถือสมุด นอกจากนี้ยังมีตุ๊กตารูปต่างๆ เป็นบริวารรับใช้ชายหญิง ช้างม้า พาหนะ ฯลฯ การบูชาจะใช้เครื่องบูชาเป็นอาหารจำพวกผลไม้และผัก


    คติความเชื่อของการนับถือผีของคนไทย จะถูกกำหนดให้เปลี่ยนแปลงตามภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะไม่เพียงแต่พระภูมิที่เกี่ยวพันเป็นเทพ และพรหม แต่ยังมีผีระดับผีคุ้มครองเมือง เช่น พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง พระ ทรงเมือง ซึ่งอาจเรียกต่างชื่อ เช่น ผีหลวงในภาคอีสาน อะฮักเมืองในภาคเหนือ ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผีดีที่การบวงสรวงเป็นภาระของกษัตริย์

    หอผี ศาลมีชีวิต

    [​IMG] ศาลผี ในสังคมบ้านเปรียบเสมือนศาลมีชีวิต เพราะศาลผีมีผลในทางควบคุมชีวิตชุมชนโดยผ่านกระบวนการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เกิดพลังบังคับ และทรงอานุภาพ พอที่จะทำให้คนในชุมชนนั้นๆปฏิบัติตาม ความแตกต่างของการนับถือระหว่างพุทธและผี โดยการนับถือผีเป็นเรื่องของปัจจุบัน ส่วนการนับถือพุทธเป็นเรื่องของอนาคต

    ศาลที่มีความใกล้ชิดกับสังคมบ้านมากที่สุด เห็นจะเป็นศาลเสาเดียวและหลายเสา โดยศาลเสาเดียว หมายถึง ศาลของพระภูมิเจ้าที่ ส่วนศาลหลายเสาน่าจะเป็นที่สิงสถิตของผีอีกระดับ บางพื้นที่เชื่อว่า ศาล 4 เสาเป็นศาลผีจำเพาะผีบรรพบุรุษ ส่วนศาล 6 เสาหรือ 8 เสาเป็นที่สิงสถิตของผีเร่ร่อน บริเวณที่ตั้งจะสร้างขึ้นตรงลานบ้าน โดยกำหนดที่ตั้งบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

    ผีบรรพบุรุษ การนับถือผีบรรพบุรุษของไทย อาจแตกต่างจากจีนและญี่ปุ่น โดยเฉพาของจีนจะเป็นการสืบสานตระกูลฝ่ายบิดา จึงกำหนดไว้แน่นอนมากกว่า ส่วนการนับถือผีบรรพบุรุษของไทยค่อนข้างจะเหมารวมแบบกว้างๆ เช่น ทางเหนือเรียก ผีปู่ย่า ภาคกลางเรียก ผีปู่ย่าตายาย หรือผีปู่ตา ภาคใต้เรียก ผีตายาย และปกติจะทำหิ้งบูชาไว้ที่ฝาเรือนด้านทิศเหนือในห้องนอนเจ้าของบ้าน ซึ่งผีปู่ย่าตายาย เป็นผีเชื้อที่มีอิทธิพลอย่างสูงในภาคอีสาน โดยเชื่อว่าผีเชื้อนี้จะคอยช่วยเหลือลูกๆหลานๆได้ยามจำเป็น

    การนับถือผีบรรพบุรุษที่เห็นเป็นรูปธรรมคือในหมู่บ้านแทบทุกแห่ง จะกำหนดให้ใจกลางหมู่บ้าน หรือเขตใดเขตหนึ่งที่เป็นที่บนดอนน้ำท่วมไม่ถึงเป็นที่ตั้งของสถานที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นศาลผีประจำหมู่บ้าน และมีการเซ่นไหว้ อาจปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งแรก หมายถึง ความสวัสดีของคนในหมู่บ้าน ครั้งหลังเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหาร โดยศาลดังกล่าวจะเป็นศาล 4 เสา

    แหล่งที่มา: กองบรรณาธิการ ศิลปวัฒนธรรม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...