ศรีจักรานี้เป็นยันต์ที่ถือว่าเป็นสุดยอดของยันต์ทั้งปวงของชาวภารตะ ซึ่งถูกลอกเลียนไปใช้ในทิเบตแต่ก็ได้ไปแบบไม่ครบถ้วน เนื่องจากคติยันต์ฝ่ายฮินดูนั้นผูกสร้างอำนาจจากเทวะต่างๆด้วย การบูชาเทวราชที่เป็นรูปแบบหนึ่งของธรรมชาติ หรือบางทีคัมภีร์โบราณก็มักกล่าวว่า ธรรมชาติที่เราเห็นอยู่สัมผัสอยู่นี่ละที่เป็นส่วนหนึ่งของพระเป็นเจ้าของพวกเขา ซึ่งตรงนี้ลุงกุสต้องขอบอกว่าเรื่องราวของเทพเจ้าทางพราหมณ์เขานั้นนะไม่ใช่สิ่งที่เหลวไหลไร้สาระนา แต่เป็นการศึกษาในระดับคลาสสิกทีเดียวเชียวซึ่งต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า เรื่องทรงเจ้าเข้าผีที่ก่อคดีสะเทือนขวัญที่เพิ่งผ่านมาเร็วๆนี้มันเป็นคนละเรื่องกับศาสตร์ของทางพราหมณ์เขา ซึ่งไม่นิยมยอมรับเรื่องการประทับทรงนี้เลย โดยยกเว้นพวกกลุ่มชาวทมิฬ(อินเดียใต้) ที่มักมีพิธีทรงเจ้าแต่คนฮินดูส่วนใหญ่เขาไม่ยอมรับเนื่องจากมีคติว่าร่างกายของมนุษย์นั้น หยาบเกินกว่าภาวะของเทพเจ้าจะเข้าทาบทับจนสนิทได้ซึ่งผู้ที่จะเข้าถึงเทพเจ้าได้ต้องบำเพ็ญตบะเฉพาะ และต้องแสวงสันโดษจนจิตยกระดับเป็นที่สมาคมกับมหาเทวะทั้งหลายได้ เรื่องการทรงเจ้าเข้าผีแบบดำน้ำลุยไฟนี่ละลุงกุสไม่ยอมรับกิจพิธีเหล่านี้ว่า เป็นเรื่องของเทพเจ้าหรอกเพราะจากตำรับตำราที่เชื่อถือได้พบว่าเป็นพิธีกรรมของพวกคนป่าด้อยอารยะธรรมแบบพ่อมดหมอผีวูดู ซึ่งลัทธินิยมเทวะเรียกพวกนี้ว่า
<TABLE class=r-navi-border cellSpacing=5 cellPadding=2 width="90%" border=0><TBODY><TR><TD class=r-navimain>ศรีจักรา มหายันต์ปาฏิหาริย์แห่งโลก มนุษย์ เทพ และจักรวาล (ตอนที่ ๒)</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px" vAlign=top> การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขกาลเวลาของยุคต่างๆที่ซ้อนมิติอยู่ในจักรวาล ซึ่งโดยปกตินั้น จะแสดงสถานะยุคทางกาลเวลานั้นสี่สถาน เริ่มตั้งแต่เริ่มต้นยุคสร้าง จนสิ้นสุด(มหากาลียุคคือปัจจุบันนั่นเอง) ซึ่งเป็นการดับยุคแล้วเกิดวัฏฏะยุคทางกาลเวลาใหม่ สิ่งเหล่านี้ได้ปรากฏในการเคลื่อนที่ของระบบสุริยะทั้งระบบที่โลก เป็นแกนในการสร้างความสัมพันธ์กับดาวเคราะห์อื่นๆนั้น ก็จะมีลักษณะการอย่างเช่นการเกิดจุดสุริยะฉายเป็นเสมือน ประตูสวรรค์สี่ครั้งตามที่กล่าวมานั้นก็ตาม ลักษณะดังกล่าวยังปรากฏให้เห็นเป็นฤดูในปีนั้นก็มีความแตกต่างตามสภาวะที่ปรากฏในธรรมชาติ ซึ่งบางคนอาจถกเถียงว่า บางส่วนอย่างพื้นที่ตรงใกล้เส้นศูนย์สูตร หรือบริเวณขั้วการหมุนของโลกนั้นจะมีฤดูกาลปรากฏให้เห็นไม่ถึงสี่ฤดูกาลก็ขอแก้ว่า ฤดูทั้งสี่นั้นยังมีอยู่แต่ช่วงที่ปรากฏในแต่ละพื้นที่นั้นเหมือนจุดเงา ที่บางบริเวณอาจเกิดการทาบซ้อนหรือมีระยะสั้นจึงไม่อาจสังเกตเห็น ความเป็นไปดังกล่าวย่อมแสดงให้ประจักษ์แจ้งถึงประตูแห่งจักรวาล ที่มีอยู่ถึงสี่ด้านและเป็นที่มาของเทพผู้พิทักษณ์ที่เรารู้จักในคติพุทธศาสนาว่า จตุโลกบาล ยังไงละหลานๆ ซึ่งกระบวนดาวฤกษ์ดาวเคราะห์ ทั้งหลายนี้จะมีแรงกระทำต่อกันอยู่ตลอดจึงรักษาสถานะที่เป็นในขณะนั้น ได้หากดาวใดหรือสิ่งใดมีการเปลี่ยนแปลงภายในที่รบกวนระบบใหญ่ก็จะเกิดการไม่สมดุล และดำรงอยู่ไม่ได้ ความรู้นี้จึงเกิดปรัชญาเรื่อง
<TABLE class=r-navi-border cellSpacing=5 cellPadding=2 width="90%" border=0><TBODY><TR><TD class=r-navimain>ศรีจักรา มหายันต์ปาฏิหาริย์แห่งโลก มนุษย์ เทพ และ จักวาล (บทสรุป)</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px" vAlign=top> (ศรีจักราบทสรุปต่อจากฉบับที่แล้ว) ........... การใช้ศรีจักราเพื่อสร้างความสมดุลในสถานที่ เพียงนำศรีจักราเล็กแบบติดตัวหรือจะเป็นแบบเฉพาะที่ใช้ตั้งก็ได้ซึ่งประการหลัง จะส่งผลที่ชัดเจนกว่าแต่ไม่จำเป็นเท่าจิตของเราที่สามารถต่อจิตถึงศรีจักราในมิติทิพย์ได้มากเพียงใด โดยนำศรีจักรามาตั้งในบริเวณที่คิดว่าเป็นย่านกลางของพื้นที่ อันนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแล้ววาง ศรีจักราให้สมมาตรกับแนวทิศเหนือใต้ออกตกโดยใช้แนวสุริยะวิถีเป็นแนวเทียบเคียงในกรณีนี้ บางคณะก็ดัดเเปลงอย่างแบบปิรามิดโดยใช้แนวเเกนสนามเเม่เหล็กของพื้นที่นั้นแต่ยากตรงที่ต้อง ใช้เเม่เหล็กหาแนวต่างๆในห้องซึ่งอาจไม่ใช่เเนวเดียวกันเนื่องจากในห้องนั้นอาจมีคานเหล็ก หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่ทำให้สนามแม่เหล็กภายในสถานที่นั้นเกิดการเบี่ยงเบนจากสนามแม่เหล็กโลก ก็อย่างที่ซินแซฮวงจุ้ยของจีนใช้หล่อแก(เข็มทิศฮวงจุ้ย) หาจุดมงคลของสถานที่ในห้องนั้นนั่นเเหละ อันนี้ แล้วแต่จะเลือกผลแตกต่างกันบ้างแต่ไม่ถือเป็นสาระสำคัญ แก่นเเท้คือที่ต้องใช้จิตมนุษย์เป็นตัวเหนี่ยวนำพลังงานผ่านสื่อคือศรีจักรายันตรา มีข้อห้ามอยู่อย่างคือเมื่อวางเเล้วห้ามถูกต้องสัมผัสอีกเสมือนเรา กำหนดจุดนั้นเป็นแกนพลังงานพื้นที่ถ้ามีใครไปถูกต้องเคลื่อนย้ายก็เป็นอันว่าอาจแปรปรวนต้องตั้งใหม่ ความเข้มข้นของพลังนั้นอย่างที่บอกก็คือจะกระจายออกจากมุมต่างๆของศรีจักราเเบบอิออนพลังจิตที่ ปรับเปลี่ยนออร่าในสถานที่นั้นให้เป็นไปตามประสงค์ที่ต้องต่อจิตคือกำหนดถึงศรีจักราเขาบ่อยครั้งเท่าไร ก็เท่ากับเปิดประตูให้ทิพยะอำนาจลงสู่สถานที่ซึ่งจะเปลี่ยนบรรยากาศในสถานที่นั้นให้มีพลังมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะเกื้อกูลต่อการสมาคมกับเทวะอำนาจที่มีภาวะละเอียด ส่วนจะสื่อกับเทวะในทิพยรูปได้หรือไม่ได้นั้น ขึ้นกับอายตนะของแต่ละบุคคลที่จะเปิดรับการสิ่อนั้นๆได้เเค่ไหนโดยพื้นที่บริเวณนั้นนับว่ามี ส่วนสำคัญหากพลังงานเข้มข้นสูงก็สื่อได้ง่ายอย่างบริเวณที่เรียกว่า "ลับแล" หรือ "บังบด" นั่นไงที่มีคนพบเรื่องราวนอกเหตุผลต่างๆก็เนื่องจากบริเวณนั้นอาจมี อะไรสักอย่างที่ทำให้มีพลังงานในพื้นที่สูง(อาจดำหรือขาวก็ได้) ก็จะเกิดอำนาจลี้ลับในพื้นที่นั้นอย่างกับที่เกจิสยามนิยมทำเครื่องรางที่บูชาเพื่อสร้างภาวะที่ต้องการ อย่างยันต์โชคลาภ ค้าขายแต่ไม่ได้โม้นะว่าศรีจักรานี่เหนือกว่า ซึ่งศรีจักรานี้นับว่ามีลูกเล่นลูกชนที่ครบด้านและเป็นไปแบบอัตโนมัติ คือหากกระเเสพลังรอบนอกแปรเปลี่ยนศรีจักรานี่จะปรับให้เสร็จศัพท์พลังงานจึงไม่ลดทอน การใช้ศรีจักราเพื่อเสริมพลังกับแท่นที่บูชา ก็เพียงแต่วางศรีจักรา ในทิศทางที่หันสามเหลี่ยมด้านบนสุดมาทางตัวเราก็จะสร้างอำนาจในเเท่นบูชา ขึ้นอย่างมากท่านที่เห็นออร่าจะสามารถสังเกตุได้ถ้าวางศรีจักราในบริเวณหิ้งพระ (เทพ) ประมาณหนึ่งสัปดาห์ลองดูออร่าที่หิ้งอีกทีจะเห็นเปลี่ยนแปลงไปมากเพราะบริเวณนั้นจะสื่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ดีขึ้นนั่นเอง (ถ้าเราบูชาพระพุทธจะเห็นออร่าสีฟ้าชัด ถ้าเป็นเทพชั้นสูงสีทอง ถ้ารองลงมาก็เป็นภาวะตามรัศมีกายเทพองค์นั้นๆ) การใช้ศรีจักราติดตัว ก็เพียงแขวนให้อยู่ระดับจักระที่สี่คือระดับหัวใจคือ สูงจากกระบังลมประมาณ ๒-๓ นิ้ว (sternum)แต่ถ้าจะใช้ขยายจักระบริเวณใด ให้วางบนจักระนั้นอย่างต้องการขยายจักระ ที่หกเพื่อเพิ่มสมรรถนะตาที่สาม คือความหยั่งรู้หรือปัญญาญาณที่ไม่ใช่เรื่องตาทิพย์เพียงอย่างเดียว ก็นอนหงายทำตัวสบายๆวางจิตใจให้สบายผ่อนคลายหายใจลึกๆสัก๑๐ครั้งวางศรีจักราขนาดติดตัว (อย่าใช้ขนาดตั้งโต๊ะวางนะจะเพราะเดี๋ยวหัวจะยุบมันหนักมาก) ให้จุดพินทุอยู่เหนือระหว่างกลางคิ้วประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร หลับตานอก(ปิดเปลือกตา) แล้วเหลือกตาในคือลูกตาเพ่งมองตรงจุดพินทุที่คะเนตามความรู้สึกว่าศรีจักราอยู่ จินตภาพให้เห็นจุดเเสงสีฟ้าอมม่วงลักษณะสว่างใสเป็นประกาย แล้วกล่าวมนตราอะไรก็ได้ที่คุณนับถือถ้ามีบทเฉพาะศรีจักราว่า "โอม ฮะรี ชะรีง นะมะฮา" ว่ายาวๆหายใจลึก ไปเรื่อยๆจะรู้สึกเหมือนเสียวตรงหน้าผาก หรือตึงตรงหน้าผากรักษาอาการนั้นไว้ ทำครั้งละไม่เกิน ๑๐ นาที ห้ามเกินเด็ดขาดเพราะอาจจะปวดศรีษะเนื่องจากจักระขยายเร็วเกินไป ให้หมั่นทำอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้งห้ามเกินวันละ๓ครั้ง ลองฝึกดูผลเป็นอย่างไรยังไม่บอก ของจริงจะรู้ด้วยตัวเองผู้ได้ประสบการณ์อะไรแปลกๆเขียนจดหมายมาจะตอบรายบุคคล การใช้ศรีจักราในการบำบัดอาการป่วยบางระดับ ที่อาจเป็นการผิดปกติจากความไม่สมดุลของร่างกายที่มีสาเหตุจากร่างกายเองหรือได้รับพลังแฝง วางศรีจักราบนฝ่ามือพินทุอยู่ตรงเส้นสุขภาพของลายมือคะเนกลางฝ่ามือ ให้กำหนดถึงศรีจักรา กล่าวมนตราจนรูสึกถึงพลังที่แผ่มาครอบคลุมจากนั้นนึกถึงเทวะที่ท่านศรัทธากล่าวบูชา(สรรเสริญคุณ) แล้วขออำนาจให้บำบัดอาการดังกล่าว หายใจเข้าออกยาวๆแบบสบายๆ ทำประมาณสิบห้านาทีกำหนดจิต ที่ศรีจักราดึงความศักดิ์สิทธิ์เข้าตัวกล่าวมนตราความเร็วระดับที่รู้สึกว่ากำลังสบายไม่เร็วช้าไป (ใช้ความรู้สึกเราเป็นตัวกำหนด) หากเจ็บปวดที่ไหนให้กำหนดนำ สิทธิอำนาจความศักดิ์สิทธิ์นั้นไปละลายจุดนั้นจินตภาพให้ความป่วยไข้ให้หายไปหายใจออกยาวๆ (ทำเสร็จแล้วควรอาบน้ำชำระไอโรคทันที) สำหรับการบำบัดอาการเจ็บป่วยให้ผู้อื่นทำลักษณะเดียวกับทำให้ตัวเราเองโดย ขอให้ศรีจักราคุ้มครองเราก่อนจินตภาพกำหนดรัศมีครอบคลุม จากนั้นขอพลังจากศรีจักรา(วางที่มือซ้าย) ให้ผ่านตัวเรา ออกทางมือขวา ห่างจากที่บำบัดประมาณ ๑ นิ้วหรือจะวางสัมผัสเบาๆก็ได้กำหนดพลัง ให้เล็กเเหลมเป็นเส้นปลายเข็มสีขาว (ขั้นต้น) ส่วนระดับกลางระดับสูงต้องแนะนำเฉพาะ กำหนดพลังให้พุ่งไปที่จุดที่ต้องการบำบัดละลายความเจ็บป่วยนั้นถ้าเป็นพลังแฝงพวกวิญญาณร้าย หรืออำนาจลี้ลับจะรู้สึกถึงการต่อต้านเช่นร้อนผ่าว เต้นตุ๊บตุ๊บ หรือ เหมือนเข็มเเทงสวนเจ็บจึกจึก ให้หายใจออกยาวๆ ช้าเร่งภาวนามนตราจะละลายพลังนั้น โดยไม่ยากเคล็ดคือคิดว่ากำลังที่ส่งไปนั้นเเข็งเหมือนหัวเพชร สามารถบดสลายพลังเหล่านั้นได้ทุกพลัง ระหว่างทำต้องต่อจิตกับศรีจักราตลอด(ควรชำนาญในขั้นอื่นๆมาก่อน) การบำบัดพลังแฝงควรขอพลังอำนาจจากเทพที่ชำนาญการปราบอำนาจชั่วร้ายอย่าง นารายณ์ ศิวะ ท้าวเวสสุวัณ พระขันธกุมาร เจ้าแม่กาลี เป็นต้น หลังการบำบัดทุกครั้งไม่ว่าตัวเองหรือทำให้ผู้อื่นต้องกล่าวขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ให้พลังอำนาจทุกครั้ง จากนั้นให้อาบน้ำเพื่อชำระไอโรค(อาจเตรียมน้ำโดยใช้อำนาจศรีจักราก็ยิ่งดี โบราณบ้านเราเรียกปรับธาตุ </TD></TR></TBODY></TABLE> (สามารถติดตามละเอียดเพิ่มเติมได้ในนิตยสารอุณมิลิต ฉบับที่ ๒๑ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)