ศน.สาธยาย"พระไตรปิฎก" ชวนโจ๋เข้าวัด-ปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 19 กรกฎาคม 2008.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    ศน.สาธยาย" พระไตรปิฎก" ชวนโจ๋เข้าวัด-ปฏิบัติธรรม

    สดจากหน้าพระ




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    กรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิธีสาธยายพระไตรปิฎกเป็นพุทธบูชา เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นองค์อัครศาสนูป ถัมภก และส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมถึงยกย่อง เชิดชูพระไตรปิฎก ซึ่งถือเป็นคัมภีร์สูงสุดของพระพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้พุทธศาสนิกชนได้รับฟัง และอ่านพระไตรปิฎกในรูปแบบของภาษาบาลี ณ มณฑลพิธี วัดใหม่ยายแป้น กรุงเทพฯ

    นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธาน พระภิกษุ-สามเณร และพุทธศาสนิกชนจำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมพิธี

    พระไตรปิฎก ถือเป็นตำรา หรือคัมภีร์สูงสุดของพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับ ไตรเวท ของศาสนาพราหมณ์ ไบเบิล ของศาสนาคริสต์ อัลกุร อาน ของศาสนาอิสลาม เป็นต้น

    คำว่า พระไตรปิฎก แปลว่า 3 คัมภีร์ (พระ-ไตร-ปิฎก) พระ แสดงถึงความเคารพ หรือยกย่อง ไตร แปลว่าสาม ปิฎก แปลความหมายได้ 2 อย่าง คือ ตำรา หรือ คัมภีร์ และ กระจาด หรือ ตะกร้า

    ความหมายโดยรวมคือ เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจาย

    พระไตรปิฎก ประกอบด้วย 1. วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัย หรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี 2. สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วๆ ไป และ 3. อภิธัมมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วนๆ หรือธรรมะที่สำคัญ

    ก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ไม่ทรงแต่งตั้งพระภิกษุรูปใด เป็นศาสดา ปกครองคณะสงฆ์สืบต่อจากพระองค์ นอกจากประทานแนวทางไว้ว่า "โดยที่เราล่วงลับไป ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"

    ชาวพุทธจึงถือเอาพระธรรมวินัย เป็นเสมือนตัวแทนพระศาสดา แต่เนื่องจากพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ สมัยยังทรงพระชนมชีพอยู่นั้น ไม่ได้รับการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงเป็นไปได้ที่พระธรรมวินัยบางส่วน จะสูญหายไปภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีมาตรการเก็บรักษาที่ดี
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ส่วนมาตรการในการเก็บรักษาพระธรรมวินัย เรียกว่า "การสังคายนา" หมายถึง การประชุมสงฆ์ จัดระเบียบหมวดหมู่พระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ จนสรุปเป็นมติที่ประชุมว่า พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้แล้ว ก็มีการท่องจำถ่ายทอด สืบต่อกันมากว่า 2,500 ปี ล่วงมาแล้ว

    ทั้งนี้ การจัดสาธยายพระไตรปิฎก ได้รับความอนุเคราะห์จาก พระครูปลัดรัตนวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดใหม่ยายแป้น สำนักงานเขตบางกอกน้อย สถานีตำรวจนครบาลบางขุนนนท์ และโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและดำเนินงานในการจัดพิธีสาธยายพระไตรปิฎกทุกครั้ง ทำให้อุบาสก อุบาสิกา พุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้มีโอกาสร่วมสาธยายพระไตรปิฎก อันเป็นการช่วยดำรงไว้ซึ่งบวรพระพุทธศาสนาสืบทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลัง

    พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ ประธานโครงการสาธยายพระไตรปิฎกฯ กล่าวว่า การสาธยายพระไตรปิฎกในครั้งนี้ ได้อัญเชิญพระไตรปิฎกสมัยกรุงศรีอยุธยา อายุกว่า 400 ปี มาประกอบพิธี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระไตรปิฎกฉบับดังกล่าวปกติแล้วไม่เคยเปิดให้สักการะ เพราะทางวัดได้เก็บรักษาไว้นานแล้ว ตั้งแต่ปี 2549 โดยได้มาจากถ้ำแห่งหนึ่งในประเทศพม่า สันนิษฐานว่า พระไตรปิฎกฉบับนี้ เป็นของสมเด็จพระสุพรรณกัลยา พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในบันทึกของประเทศพม่าว่า สมเด็จพระสุพรรณกัลยา ทรงชอบสวดมนต์และอ่านพระไตรปิฎก

    "เมื่อปี 2548 อาตมาได้เดินทางไปร่วมสวดสาธยายพระไตรปิฎก ที่ประเทศอินเดีย และได้มีโอกาสไปนั่งสมาธิใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ที่วัดพุทธคยา เกิดนิมิตเห็นพระไตรปิฎกอยู่ในถ้ำของประเทศพม่า จึงได้ประสานให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารดำเนินการหาพระไตรปิฎกในถ้ำดังกล่าว ปรากฏว่า มีพระไตรปิฎกอยู่จริงถึง 200 เล่ม แต่สามารถนำออกมาได้เพียง 60 เล่มเท่านั้น ที่เหลือก็ยังอยู่ในประเทศพม่า ดังนั้น พระไตรปิฎกชุดดังกล่าวจึงมีความสำคัญกับคนไทยมาก เพราะตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทรงนำหลักธรรมในพระไตรปิฎก มาปกครองประเทศด้วยทศพิธราชธรรม ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน" พระมหาณรงค์ศักดิ์ กล่าว

    นายอนุสรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การสาธยายพระไตรปิฎก เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2549 และปฏิบัติสืบต่อกันเรื่อยมา ในครั้งนี้ เป็นการจัดสาธยายอย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่หยุดพัก โดยเริ่มตั้งแต่ วันที่ 12-20 กรกฎาคม 2551 รวมเป็นระยะเวลา 9 วัน 8 คืน ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ให้ความสำคัญ เพราะเชื่อว่าการสาธยายพระไตรปิฎกครั้งหนึ่งแล้ว จะได้บุญกุศลอันยิ่งใหญ่

    ชาวพุทธทั้งหลายก็ควรได้ปฏิบัติสักครั้งหนึ่งในชีวิต เป็นการร่วมจิต ร่วมใจในการทำบุญ เกิดความร่มรื่นเป็นสุข กระทรวงวัฒนธรรมพยายามจะเน้นย้ำและสนับสนุนให้เห็นความสำคัญของวันในพุทธศาสนา นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิธีหล่อเทียนพรรษา เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เพื่อเป็นแบบอย่างที่ถูกต้อง ณ ลานหน้ากระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งได้จัดติดต่อกันมาทุกปี

    สำหรับบุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกและได้ฟังธรรม มีอานิสงส์หาประมาณมิได้ จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับพุทธศาสนิกชน จะได้เจริญบุญกุศล อันเป็นภาวนากุศลส่วนสำคัญนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเราชาวไทย อีกทั้งยังเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ และเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

    "ส่วนการส่งเสริมให้จัดงานวันเกิดในวัดนั้น เป็นกุศโลบายที่จะทำให้เด็กหันมาเข้าวัดมากขึ้น แต่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องเป็นวันเกิดอย่างเดียว อะไรที่เป็นกุศลแก่ตัวเองเราก็อยากให้ทำ ปัจจุบันเยาวชนห่างวัดมากขึ้น ในฐานะกระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่หาหนทางเพื่อให้เด็กหันเข้าวัดมากขึ้น ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทางวัด เจ้าอาวาส ในการปฏิบัติธรรม ผู้ปกครองต้องให้เด็กมีโอกาสได้สัมผัสวัดบ้าง การที่จะไปต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตกทำได้ยาก เพราะการสื่อสารเข้ามาหมดแล้ว ดังนั้น เราต้องส่งเสริมและรณรงค์ของเราให้มากที่สุด ถ้าเรายอมรับวัฒนธรรมตะวันตกมากเกินไป วิถีชีวิตความเป็นไทยของเราจะเปลี่ยนไป"

    ด้านนายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า การสาธยายพระไตรปิฎก กรมการศาสนาได้จัดมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวร ประทับอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งก็ได้จัดพิธีรูปแบบนี้ต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน โดยมีพระภิกษุสงฆ์และประชาชนมาร่วมใจกันสาธยายพระไตรปิฎกเป็นจำนวนมาก ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ตนอยากให้ประชาชนคนไทยเห็นว่า เมื่อปี พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดพิมพ์พระไตรปิฎกจำนวน 39 เล่ม มอบให้วัดต่างๆ กว่า 500 วัดใน 260 ประเทศ ทำให้ประเทศไทยสามารถคงความเป็นเอกราชรอดพ้นจากอำนาจการยึดครองอธิปไตยโดยจักรวรรดินิยมตะวันตกในเวลานั้น จึงไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก จึงอยากให้ประชาชนร่วมสาธยายพระไตรปิฎกถวายเป็นพระราชกุศลและขออานุภาพแห่งคุณพระรัตนตรัยให้ประเทศชาติเกิดความสงบสุขโดยเร็ว


    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdOeTB4T1E9PQ==
     

แชร์หน้านี้

Loading...